Monday, 13 May 2024
ดร.ปุณกฤษ ลลิตธนมงคล

“The Roof Koreans” เมื่อชาวอเมริกันเชื้อสายเกาหลี ต้องจับปืนป้องกันตัวบนดาดฟ้า จากการจลาจลครั้งใหญ่ใน LA

Roof Koreans หรือที่เรียกว่า Rooftop Koreans เป็นศัพท์สแลงที่หมายถึงเจ้าของธุรกิจชาวเกาหลี-อเมริกันที่ปกป้องอาคารร้านค้าของพวกเขาในระหว่างการจลาจลในนครลอสแองเจลิส ในปี พ.ศ. 2535 ภาพของเจ้าของธุรกิจชาวอเมริกันเชื้อสายเกาหลีที่ยืนถืออาวุธปืนอยู่บนหลังคาถูกเผยแพร่อย่างกว้างขวางในสื่อต่าง ๆ ทำให้พวกเขาได้กล่าวถึงในความกล้าและห้าวหาญ โดยคนอเมริกันเชื้อสายเกาหลีพร้อมอาวุธปืนขึ้นไปตั้งหลักบนหลังคาดาดฟ้าอาคารที่พวกตนประกอบธุรกิจอยู่ เพื่อป้องกันอาคารร้านค้าตลอดจนทรัพย์สินให้พ้นจากการปล้นโดยผู้ก่อการจลาจล ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกัน และชาวอเมริกันเชื้อสายฮิสปานิก จากเหตุการณ์จลาจลกรณีตำรวจผิวขาวของกรมตำรวจแห่งนครลอสแองเจิลลิส (LAPD) 4 นายรุมทุบตี Rodney King ชายผิวสี และมีการการจลาจลในนครลอสแอนเจลิส ในปี พ.ศ. 2535 อันเป็นการก่อความไม่สงบที่เกิดขึ้นในเขตพื้นที่เทศมณฑลลอสแอนเจลิส ระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2535 

โดยความไม่สงบเริ่มขึ้นในวันที่ 29 เมษายน เมื่อมีคำพิพากษาให้ตำรวจ 4 นายพ้นผิดจากข้อหากระทำการเกินกว่าเหตุและทำร้ายร่างกายขณะจับกุม Rodney King ชายผิวสีที่ก่อเหตุเมาแล้วขับ การจลาจลดำเนินอยู่ 6 วันก่อนจะจบลงในวันที่ 4 พฤษภาคม มีผู้เสียชีวิต 63 คน ทรัพย์สินเสียหายคิดเป็นมูลค่ามากกว่าหนึ่งพันล้านดอลลาร์สหรัฐ (มูลค่าในขณะนั้น)

ภาพเหตุการณ์ที่ตำรวจผิวขาวของ Los Angeles Police Department (LAPD) 4 นายรุมทุบตี Rodney King ชายผิวสี จนทำให้เกิดการการจลาจลในนครลอสแอนเจลิส ในปี พ.ศ. 2535

Latasha Harlins (ซ้าย) เด็กสาวผิวสีวัย 15 ปี เสียชีวิตหลังจากถูก Soon Ja Du (ขวา) ยิง

การจลาจลในลอสแอนเจลิส ปี พ.ศ. 2535 เป็นผลพวงมาจากหลายสาเหตุ เดือนมีนาคม พ.ศ. 2534 ความขัดแย้งทางเชื้อชาติระหว่างชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกันกับชาวอเมริกันเชื้อสายเกาหลีเพิ่มสูงขึ้นเมื่อ Soon Ja Du เจ้าของร้านค้าผู้มีเชื้อสายเกาหลียิง Latasha Harlins เด็กสาวผิวสีวัย 15 ปีจนเสียชีวิตหลัง Soon Ja Du กล่าวหาว่า Harlins พยายามขโมยของในร้าน เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2534 คณะลูกขุนมีความเห็นให้ดูมีความผิดฐานฆ่าคนตายโดยไม่เจตนา (Voluntary manslaughter) มีโทษสูงสุดคือจำคุก 16 ปี แต่จอยซ์ คาร์ลิน ผู้พิพากษาตัดสินให้ Soon Ja Du ถูกคุมประพฤติ 5 ปี บำเพ็ญงานสาธารณประโยชน์ 400 ชั่วโมง และปรับ 500 ดอลลาร์สหรัฐ

ในเดือนเดียวกันกับที่ Soon Ja Du ก่อเหตุ Rodney King และเพื่อนอีก 2 คนถูกตำรวจจับกุมจากหลังเมาแล้วขับและพยายามหลบหนีการจับกุม King และเพื่อนถูกตำรวจรุมทำร้ายระหว่างการจับกุม ซึ่งมีผู้บันทึกวิดีโอเหตุการณ์ไว้ได้แล้วส่งไปให้สำนักข่าวท้องถิ่น KTLA เดือนเมษายน พ.ศ. 2535 หลังอัยการเขตเทศมณฑลลอสแอนเจลิสตั้งข้อหาตำรวจ 4 นายว่ากระทำการเกินกว่าเหตุและใช้กำลังประทุษร้าย คณะลูกขุนที่ส่วนใหญ่เป็นชาวอเมริกันผิวขาวมีความเห็นให้ตำรวจทั้ง 4 นายไม่มีความผิด หลังจากตีความเหตุการณ์ในวิดีโอว่า King พยายามขัดขืนการจับกุม

ตำรวจ 4 นายที่ร่วมกันทำร้าย King โดย 2 นายได้รับโทษจำคุก 30 เดือน ฐานละเมิดสิทธิพลเมือง ส่วนอีก 2 นายถูกไล่ออกจากกรมตำรวจลอสแอนเจลิส

หลังมีคำพิพากษาในวันที่ 29 เมษายน จึงเกิดการชุมนุมที่หน้ากรมตำรวจลอสแอนเจลิส และชาวผิวสีบางกลุ่มที่โกรธแค้นเริ่มไล่ทำร้ายชาวอเมริกันผิวขาวในนครลอสแอนเจลิสโซนใต้ ก่อนที่วันต่อมามีการประกาศเคอร์ฟิว และความรุนแรงแผ่ขยายไปเป็นการวางเพลิงและปล้นทรัพย์ในนครลอสแอนเจลิสโซนกลาง รวมถึงการปะทะกันระหว่างชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกันกับชาวอเมริกันเชื้อสายเกาหลีเมื่อมีผู้ก่อการจลาจลบุก Korea Town 

วันที่ 1 พฤษภาคม Rodney King เรียกร้องให้มีการยุติการจลาจล มีการเคลื่อนกำลังทหารจากรัฐแคลิฟอร์เนียและรัฐบาลกลางรวมกว่า 10,000 นาย เข้ามาในเมือง วันที่ 4 ของการจลาจล (2 พฤษภาคม) มีการเพิ่มกำลังเสริมรวมเป็น 13,500 นาย ทำให้ลอสแอนเจลิสกลายเป็นเมืองที่ถูกกองประจำการสหรัฐยึดครองมากที่สุดนับตั้งแต่การจลาจลในวอชิงตัน ดี.ซี. พ.ศ. 2511 การจลาจลจบลงในวันที่ 4 พฤษภาคม เมื่อกองกำลังรัฐบาลควบคุมสถานการณ์ไว้ได้ และมีการยกเลิกเคอร์ฟิว แต่ให้คงกำลังทหารไว้จนถึงวันที่ 27 พฤษภาคม

หลังเหตุการณ์สงบ มีผู้เสียชีวิต 63 คน บาดเจ็บ 2,383 คน และถูกจับกุม 12,111 คน อาคารบ้านเรือนถูกเผาทำลายกว่า 3,767 แห่ง กรมตำรวจลอสแอนเจลิสถูกวิพากษ์วิจารณ์ถึงบทบาทในการควบคุมและจัดการสถานการณ์ที่ผิดพลาด จน แดริล เกตส์ ผู้บัญชาการของกรมตำรวจลอสแอนเจลิสต้องประกาศลาออก ส่วนคดี Rodney King ได้รับการพิจารณาใหม่ในปี พ.ศ. 2536 นำไปสู่การตัดสินโทษตำรวจ 4 นายที่ร่วมกันทำร้าย King โดย 2 นายได้รับโทษจำคุก 30 เดือนฐานละเมิดสิทธิพลเมือง ส่วนอีก 2 นายถูกไล่ออกจากกรมตำรวจลอสแอนเจลิส ส่วน King ได้รับเงินชดเชย 3.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

Korea Town นครลอสแอนเจลิส

เหตุการณ์นี้ทำให้เกิด The Roof Koreans (The Rooftop Koreans) ด้วยนครลอสแอนเจลิสเป็นที่พำนักอาศัยของชาวเกาหลีกว่า 300,000 คน เป็นหนึ่งในศูนย์กลางที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐฯ ของผู้อพยพชาวเกาหลี หลายคนมาถึงในช่วงทศวรรษ 1970 และ 1980 เมื่อสภาพทางเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ในขณะนั้นมีความแตกต่างอย่างมากกับเกาหลีใต้ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เนื่องจากขาดโอกาสในการทำงานและเงินทุนที่จำกัด ชาวเกาหลีจำนวนมากจึงซื้อร้านค้าในพื้นที่ของคนผิวสีเป็นส่วนใหญ่ มักจะมาจากเจ้าของสีขาวย้ายออก นอกจากนี้ราคาค่าเช่าในพื้นที่เหล่านี้ยังถูกมากจนสามารถที่จะเปิดทำธุรกิจได้ด้วยเงินทุนไม่มากนัก

นครลอสแอนเจลิสกลายเป็นอนาธิปไตยอย่างรวดเร็ว มีทั้ง การลอบวางเพลิง การฆาตกรรม และการอาละวาดปล้นสะดม ตำรวจนครลอสแอนเจลิสละทิ้งย่าน Korea Town ตลาดแคลิฟอร์เนีย นครลอสแอนเจลิส ในระหว่างการจลาจลในปี 1992

เมื่อเกิดการประท้วงในเรื่องของการพ้นผิดของตำรวจที่รุมทำร้าย Rodney King นครลอสแอนเจลิสกลายเป็นอนาธิปไตยอย่างรวดเร็ว มีทั้งการลอบวางเพลิง การฆาตกรรม และการอาละวาดปล้นสะดม ความตึงเครียดทางชาติพันธุ์เริ่มก่อตัวขึ้นในชุมชนเกาหลี ชาวเกาหลีจำนวนมากถูกทำร้ายจนบาดเจ็บตายล้มตายระหว่างการปล้นตามร้านค้าต่าง ๆ และการจลาจลในนครลอสแอนเจลิสเริ่มเลวร้ายลง ชาวเกาหลีรู้แล้วว่าพวกเขาจะต้องทำอะไรบางอย่าง สถานีวิทยุเกาหลีในนครลอสแอนเจลิสเริ่มเรียกร้องให้อาสาสมัครชาวเกาหลีออกมาช่วยเจ้าของธุรกิจชาวเกาหลี ซึ่งไม่นานก็นำไปสู่กลุ่มอาสาสมัครที่บรรทุกทุกอย่างตั้งแต่อาวุธทำเองไปจนถึงปืนเล็กยาวจู่โจม ในช่วงเริ่มต้นของการจลาจล กรมตำรวจลอสแอนเจลิสได้รับคำร้องเรียนจากเจ้าของธุรกิจชาวเกาหลี โดยไม่ได้ให้ความช่วยเหลือใด ๆ และตำรวจส่วนใหญ่ล่าถอยออกจากทุกเรื่องเมื่อสถานการณ์ต่าง ๆ เลวร้ายลงเรื่อย ๆ และเมื่อสถานการณ์รุนแรงขึ้น ต้องใช้เวลาเกือบหนึ่งสัปดาห์ก่อนที่เจ้าของธุรกิจชาวเกาหลีที่ถูกปิดล้อมจะได้เห็นการบังคับใช้กฎหมายทุกรูปแบบ พวกเขาจึงเริ่มมาตรการปกป้องตนเอง ดังนั้นเรื่องของ The Roof Koreans จึงถือกำเนิดขึ้น

หนึ่งในตัวอย่างที่โดดเด่นที่สุดของหลังคาของชาวเกาหลีอยู่ที่ย่าน Korea Town ตลาดแคลิฟอร์เนียในนครลอสแอนเจลิส นักธุรกิจเจ้าของร้าน เสริมความแข็งแกร่งให้อาคารร้านค้าของเขา ด้วยการติดอาวุธปืนให้พนักงานครบทั้ง 20 คนผูกผ้าคาดหัวแบบเกาหลี ภาพลักษณ์นี้กลายเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ที่โดดเด่นที่สุดของ The Roof Koreans

Chang Lee ชาวเกาหลี-อเมริกัน กำปืนและตะโกนใส่ผู้ลักขโมยข้าวของจากดาดฟ้าของห้างสรรพสินค้าเล็ก ๆ ที่เขายืนอยู่ ชายวัย 35 ปีคนนี้ไม่เคยถือปืนมาก่อนการจลาจลในนครลอสแอนเจลิส Lee ได้กลิ่นไฟที่ลุกโชนในย่าน Korea Town ของนครลอสแอนเจลิส "ตำรวจอยู่ที่ไหน ตำรวจอยู่ที่ไหน" Lee กระซิบซ้ำแล้วซ้ำเล่าจากหลังคาร้านของเขา Lee จะไม่เห็นการบังคับใช้กฎหมายเป็นเวลาสามวัน มีเพียงเพื่อนชาวเกาหลี-อเมริกันเท่านั้นที่ถูกสำนักข่าวถ่ายภาพไว้ ซึ่งดูเหมือนทหารที่ติดอาวุธดูราวกับเป็นสงครามกองโจรบนท้องถนน วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2535 เมืองแห่งทูตสวรรค์ได้ถูกโหมกระหน่ำด้วยการปล้นสะดม เป็นวันที่สองของการโจมตีด้วยอาวุธและการลอบวางเพลิง ภายหลังการพ้นผิดของเจ้าหน้าที่ตำรวจของกรมตรวจนครลอสแอนเจลิสผิวขาวสี่นาย เนื่องจากใช้ความรุนแรงด้วยการทุบตี Rodney King ระหว่างการจับกุม

เพื่อนบ้านของ Chang Lee ออกมาช่วยเขาทำความสะอาดหลังจากที่ปั๊มน้ำมันของเขาถูกไฟไหม้

การจลาจลที่กินเวลานานเกือบสัปดาห์และคร่าชีวิตผู้คนไป 63 คน บาดเจ็บมากกว่า 1,000 คน และสร้างความเสียหายประมาณ 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งประมาณครึ่งหนึ่งเป็นธุรกิจที่ชาวอเมริกันเชื้อสายเกาหลีเป็นเจ้าของ ความขัดแย้งทางวัฒนธรรมที่คุกรุ่นมายาวนานระหว่างเจ้าของธุรกิจชาวอเมริกัน-เกาหลีผู้อพยพและลูกค้าชาวแอฟริกัน-อเมริกันที่มีอำนาจเหนือกว่า คำตัดสินของ Rodney King และการจลาจลที่ตามมามักถูกมองว่าเป็นจุดเปลี่ยนสำหรับการบังคับใช้กฎหมายและชุมชนชาวแอฟริกัน-อเมริกัน Edward Taehan Chang ศาสตราจารย์ด้านชาติพันธุ์ศึกษา และผู้ก่อตั้ง Young Oak Kim Center for Korean American Studies แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ริเวอร์ไซด์ กล่าวว่า งานดังกล่าวยังเป็นงานสมัยใหม่ที่สำคัญที่สุดเพียงงานเดียวสำหรับชาวเกาหลี-อเมริกัน “แม้ว่าพ่อค้าชาวเกาหลี-อเมริกันจะตกเป็นเหยื่อ แต่ไม่มีใครได้รับการดูแล เพราะขาดทั้งการมองเห็นและอำนาจทางการเมืองของเรา” Chang กล่าว “ผู้อพยพชาวเกาหลีจำนวนมากที่มาถึงในช่วงปลายทศวรรษ 1970 และต้นทศวรรษ 80 ได้เรียนรู้ความสำเร็จทางเศรษฐกิจเพียงลำพัง แต่จะไม่รับประกันตำแหน่งของพวกเขาในสังคมอเมริกัน เมื่ออะไรเริ่มเปลี่ยนไป อัตตลักษณ์ของเกาหลี-อเมริกันจึงถือกำเนิดขึ้น” และ “การจลาจลแอลเอคราวนั้น กลายเป็นเสียงปลุกอย่างโหด ๆ ให้ชาวอเมริกันเชื้อสายเกาหลีตื่นจากการหลับใหลและตื่นตัวขึ้นจากการนิ่งเฉยรอ

Richard Rhee เจ้าของร้านถือปืนพกและพกโทรศัพท์มือถือ ยืนเฝ้าระวังบนหลังคาร้านขายของชำของเขาในย่าน Korea Town ของนครลอสแองเจลิสเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2535

การจลาจลทำให้ย่าน Korea Town ตกเป็นเป้าของถูกทั้งเหล่าพวกแก๊งอันธพาลและพวกก่อการจลาจลในนครลอสแองเจลิสเล็งเอาไว้อย่างเจาะจง ด้วยหวังจะเข้าปล้นชิงฉกฉวยหาประโยชน์ระหว่างที่เกิดความวุ่นวายโกลาหล ในสภาพที่เวลานั้นทั้งกรมตำรวจนครลอสแองเจลิส (Los Angeles Police Department : LAPD) และทหารกองกำลังพิทักษ์ชาติต่างปฏิบัติภาระหน้าที่กันจนสุดกำลังอยู่แล้ว ชาวอเมริกันเชื้อสายเกาหลีเหล่านี้ซึ่งถูกปล่อยทิ้งไว้ให้ต้องหาทางป้องกันพวกเขากันเอง พวกเขาจึงใช้สิทธิของพวกเขาตามที่ระบุเอาไว้ในบทแก้ไขที่ 2 (Second Amendment) ของรัฐธรรมนูญสหรัฐฯ ด้วยการจัดตั้งกองกำลังอาสาสมัคร (Militia) ขึ้นมา โดยจัดวางกำลังคนติดอาวุธเข้ายึดที่มั่นเพื่อการป้องกันตัวตามยอดตึกดาดฟ้าหลังคาอาคาร ตลอดจนบริเวณรอบ ๆ อาคารห้างร้านอันเป็นที่ตั้งธุรกิจทั้งหลายของพวกเขา และได้สมญานามว่า “Roof Koreans” (ชาวเกาหลีบนดาดฟ้า/หลังคา/ยอดตึก)

ชาวอเมริกันเชื้อสายเกาหลียืนหยัดรักษาที่มั่น ณ ลานดาดฟ้าบนตึกของพวกเขาเอาไว้ และเริ่มต้นยิงตอบโต้กลับไปในทันทีที่พวกแก๊งอันธพาลและพวกก่อจลาจลเริ่มบุกเข้ามาปล้นชิงข้าวของ

พลเมืองในพื้นที่ 150 ช่วงตึกของ Korea Town แม้จะถูกปล่อยทิ้งโดยกรมตำรวจนครลอสแองเจลิส (Los Angeles Police Department : LAPD) และทหารกองกำลังพิทักษ์ชาติ ซึ่งพวกเขาได้รับแจ้งให้ขนข้าวของต่าง ๆ และอพยพออกจากพื้นที่ไปเสีย และผู้อพยพจำนวนมากซึ่งหลบหนีจากไปภายหลังก็พบว่า ธุรกิจของพวกเขาถูกเผาจบราบเรียบไปเสียแล้ว แต่ยังมีชาวอเมริกันเชื้อสายเกาหลีอื่น ๆ ที่ปฏิเสธไม่ยอมตกเป็นเหยื่อรับเคราะห์ และตัดสินใจที่จะอยู่จับอาวุธขึ้นมาปกป้องทรัพย์สินของพวกเขา และ “ปกป้องและรับใช้” กันและกันภายในชุมชนของพวกเขา ถึงแม้มีจำนวนน้อยกว่าพวกก่อจลาจลที่ติดอาวุธ ซึ่งพยายามเข้าปล้นชิงข้าวของจากธุรกิจต่าง ๆ ของ Korea Town แต่ชาวอเมริกันเชื้อสายเกาหลีเหล่านี้ก็ยังคงยืนหยัดรักษาที่มั่น และลานดาดฟ้าบนตึกของพวกเขาเอาไว้ และเริ่มต้นยิงตอบโต้กลับไป ในทันทีที่พวกแก๊งอันธพาลและพวกก่อจลาจลเริ่มบุกเข้ามาปล้นชิงข้าวของสมาชิกของ Roof Koreans ก็เริ่มต้นยิงปืนใส่ทันที

ชาวอเมริกันเชื้อสายเกาหลียืนหยัดรักษาที่มั่นบนตึกของพวกเขาเอาไว้ จนกลายเป็นตำนาน Roof Koreans

ชายอเมริกันเชื้อสายเกาหลีสมาชิกของ Korea Town เหล่านี้จำนวนมากทีเดียวเคยเป็นทหารผ่านศึกที่ประจำการอยู่ในกองทัพสหรัฐฯ หรือไม่ก็เป็นอดีตทหารเกณฑ์ในกองทัพเกาหลีใต้ ทั้งนี้เกาหลีใต้กำหนดให้ชายทุกคนต้องรับราชการเป็นทหารเป็นเวลา 2 ปี รวมทั้งชาวอเมริกันเชื้อสายเกาหลีด้วย ด้วยสภาวะขาดแคลนกำลังคน อาวุธปืนที่ชาวอเมริกันเชื้อสายเกาหลีเหล่านี้มีอยู่ในครอบครองมีทั้งพวกปืนเล็กยาวในรูปลักษณ์แบบปืนเล็กยาวแบบ AK-pattern, ปืนพก Glock 17, ปืนเล็กยาว Ruger Mini-14, ปืนเล็กสั้นแบบ SKS carbines, ปืนเล็กยาว AR-15, ปืนพกกึ่งอัตโนมัติ TEC-9, ปืนพกกึ่งอัตโนมัติแบบปืนกลมือ Uzi-pattern, ปืนลูกซอง Remington 870, ปืนเล็กยาวแบบ Bolt-action, ปืนพกนานาชนิด, และปืนเล็กสั้นกึ่งอัตโนมัติแบบ Daewoo K-1 ซึ่งเป็นอาวุธปืนประจำกายของทหารเกาหลีใต้ในสมัยนั้น

Charles Whitman มือปืนชาวอเมริกันที่เป็นฆาตกรสังหารหมู่ 18 ศพ (รวมทั้งตัว Whitman เอง) ซึ่งได้รับฉายาอันไม่น่าอภิรมย์ว่า “นักฆ่าแห่งตึกสูงของเท็กซัส” (Texas Tower Sniper)

ถึงแม้ข้อเท็จจริงปรากฏว่า พวกชาวบ้านซึ่งเป็นอเมริกันเชื้อสายเกาหลีของ Korea Town ถูกทอดทิ้ง โดยตำรวจของกรมตำรวจนครลอสแองเจลิสที่ทำตัวเหนียมราวกับลูกแกะเชื่อง ๆ แต่สื่อมวลชนกลับเสนอข่าวเกี่ยวกับกองกำลัง Roof Koreans ในเชิงวิพากษ์โจมตี โดยการกระทำของพวกเขาถูกระบุว่าเป็น “การก่อกวนความสงบเรียบร้อย” รวมทั้ง Roof Koreans ยังถูกนำไปเปรียบเทียบกับ Charles Whitman มือปืนชาวอเมริกันที่เป็นฆาตกรสังหารหมู่ซึ่งได้รับฉายาอันไม่น่าอภิรมย์ว่า “นักฆ่าแห่งตึกสูงของเท็กซัส” (Texas Tower Sniper) แต่ที่เลวร้ายยิ่งไปกว่านี้ก็คือ เมื่อในที่สุดกำลังตำรวจของ กรมตำรวจนครลอสแองเจลิสกลับเข้ามาหลังจากเรื่องราวต่าง ๆ สงบเงียบเรียบร้อยลงแล้ว ตำรวจได้จับกุมคุมขังสมาชิก Roof Koreans เอาไว้เป็นจำนวนมาก รวมทั้งยึดอาวุธปืนต่าง ๆ ของพวกเขาไปด้วย อย่างไรก็ตาม ผู้คนจำนวนมากยังคงยกย่องชมเชยสมาชิก Roof Koreans ในเรื่องความกล้าหาญและความยืดหยุ่นในระหว่างที่เกิดการจลาจลโกลาหลอลหม่านครั้งนั้น และภาพของกลุ่มชายถืออาวุธบนดาดฟ้ายอดอาคารห้างร้านต่าง ๆ ก็กลายเป็นภาพหนึ่งที่ได้รับการเชิดชูให้เป็น ICON อย่างถาวรของการจลาจลในนครลอสแองเจลิส ปี พ.ศ. 2535 และ Roof Koreans ยังคงเป็นที่รู้จักจดจำในคนรุ่นต่อ ๆ มา ทั้งถูกนำไปใช้ผลิตเป็นสินค้าที่ระลึกมากมาย

Roof Koreans ยังคงเป็นที่รู้จักจดจำในคนรุ่นต่อ ๆ มา ทั้งถูกนำไปใช้ผลิตเป็นสินค้าที่ระลึกมากมาย


โปรเด็ด! เทหมดตัว มาสด้า 2 และ นิสสันอัลเมร่า ทักเลย! ตอบไว! แอดเลย @TheShopsTimes 
คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

โศกนาฏกรรม “โคเรียนแอร์ไลน์” (Korean Air Lines) เที่ยวบิน 007 ปริศนา? หายนะกลางอากาศ

มีผู้อ่านท่านหนึ่งเขียน In box ใน Facebook ดร.โญ มีเรื่องเล่า ว่า “ สวัสดีครับอาจารย์ ผมอยากได้ข่าวเก่า ๆ อดีตสหภาพโซเวียตส่งเครื่องบินรบไล่ยิงเครื่องบินโดยสารเกาหลีใต้ อยากทราบว่ายิงทำไมครับ ? ” เรื่องนี้ ถือเป็นโศกนาฏกรรมระดับโลกในยุคนั้น (พ.ศ. 2526) เลย ขอจัดให้ในบทความนี้ ซึ่งผนวกเรื่องราวเช่นนี้ที่เคยเกิดขึ้นกับเครื่องบินโดยสารของ Korean Air Lines และโดยเครื่องบินรบของสหภาพโซเวียตแบบเดียวกันเมื่อ 5 ปี ก่อนหน้าเหตุโศกนาฏกรรมครั้งนี้จะเกิดขึ้น

เครื่องบินโดยสารแบบ Boeing 747-230B (HL-7442) ลำดังกล่าว

ข่าวใหญ่ระดับโลกที่โด่งดังมากที่สุดในปี พ.ศ. 2526 คือ ข่าวโศกนาฏกรรม Korean Air เที่ยวบิน 007 ซึ่งถูกเครื่องบินขับไล่ของสหภาพโซเวียตในขณะนั้นยิงตก ทำให้ลูกเรือและผู้โดยสารบนเครื่องบินโดยสารแบบ Boeing 747-230B (HL-7442) เสียชีวิตทั้งหมด ถึง 269 ราย และมีคนไทยรวมอยู่ด้วย 5 ราย

เครื่องบินโดยสารของ Korean Air แบบ Boeing 707 (HL-7429) ลำที่ถูกยิง

เหตุการณ์เครื่องบินขับไล่ของโซเวียต ยิงเครื่องบินโดยสารของ Korean Air ครั้งนี้ ไม่ใช่ครั้งแรกที่เกิดขึ้น โดย 5 ปีก่อนหน้านี้เมื่อวันที่  20 เมษายน พ.ศ. 2521 ก็มีเหตุเครื่องบินขับไล่ของสหภาพโซเวียตยิงเครื่องบินโดยสารของ Korean Airเที่ยวบินที่ 902 (KAL 902 หรือ KE 902) มาแล้ว ครั้งนั้นเป็นเครื่องบินโดยสารแบบ Boeing 707 (HL-7429) จากกรุงปารีส ฝรั่งเศส มุ่งหน้าสู่ท่าอากาศยานนานาชาติคิมโพ กรุงโซล เกาหลีใต้ โดยมีกำหนดแวะพักเติมน้ำมันที่ท่าอากาศยานนานาชาติเทด สตีเวนส์ เมืองแองคอเรจ มลรัฐอะแลสกา สหรัฐอเมริกา มีผู้โดยสาร 97 คน ลูกเรือ 12 คน

เครื่องบินสอดแนมแบบ Boeing RC-135 ซึ่งพัฒนาจากเครื่องบิน Boeing 707

เหตุการณ์ Korean Air เที่ยวบินที่ 902 มีผู้โดยสารเสียชีวิต 2 คน เครื่องบินถูกบังคับให้ลงจอดฉุกเฉินบนทะเลสาบน้ำแข็ง Korpijärvi ทางทิศใต้ของเมืองเมอร์มานส์ ใกล้ชายแดนฟินแลนด์

เครื่องบินโดยสาร Korean Air เที่ยวบินที่ 902 หลังจากถูกบังคับให้ลงจอดฉุกเฉินบนทะเลสาบน้ำแข็ง Korpijärvi

ต่อมาเมื่อ 38 ปีก่อน เครื่องบินโดยสารแบบ Boeing 747 -230B เที่ยวบิน KAL 007 สายการบิน Korean Air ของเกาหลีใต้ถูกสหภาพโซเวียตยิงตก หลังจากที่พลัดหลงเข้ามาในเขตน่านหวงห้ามของโซเวียต ถึง 2 ครั้ง ในช่วงเวลาประมาณ 2 ชั่วโมง และทั้ง 269 ชีวิตบนเครื่องเสียชีวิต โดยหาศพไม่เจอ และกระทั่งถึงปัจจุบันก็ยังสรุปไม่ได้แน่ชัดว่าใครผิดใครถูก ระหว่างโซเวียตที่เป็นคนยิง เกาหลีใต้ที่เป็นเจ้าของและผู้บังคับเครื่องบิน หรือสหรัฐอเมริกา เที่ยวบิน KAL 007 บินจากนครนิวยอร์กสู่กรุงโซล โดยแวะพักที่เมืองแองเคอเรจ มลรัฐอะแลสกา และในวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2526 เครื่องบินโดยสารเที่ยวบินดังกล่าวถูกเครื่องบินสกัดกั้น SU-15 ของสหภาพโซเวียตยิงตกใกล้เกาะโมเนรอน ทางตะวันตกของเกาะซาฮาลิน ในทะเลญี่ปุ่น นักบินของเครื่องบินสกัดกั้นลำนั้น คือ นาวาอากาศตรี Gennadiy Osipovich โดยผู้โดยสารและลูกเรือทั้ง 269 คนบนเครื่องเสียชีวิตทั้งหมด รวมทั้ง Larry McDonald สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ จากรัฐจอร์เจีย เครื่องบินลำดังกล่าวกำลังอยู่ในเส้นทางจากเมืองแองเคอเรจสู่กรุงโซลเมื่อบินผ่านน่านฟ้าโซเวียตซึ่งเป็นเขตหวงห้ามในเวลาไล่เลี่ยกับภารกิจของเครื่องบินสอดแนมสหรัฐฯ

โดยตอนแรก สหภาพโซเวียตปฏิเสธการรู้เห็นในเหตุการณ์ดังกล่าว แต่ภายหลังยอมรับว่า เครื่องบินขับไล่ของโซเวียตเป็นผู้ยิง โดยอ้างว่าเครื่องบินโดยสารลำดังกล่าวอยู่ระหว่างภารกิจสอดแนม คณะตรงโปลิตบูโรแถลงว่า เหตุการณ์ดังกล่าวเป็นการยั่วยุโดยเจตนาของสหรัฐ เพื่อทดสอบความพร้อมทางทหารของสหภาพโซเวียต หรือกระทั่งยั่วยุให้เกิดสงคราม ทำเนียบขาวก็กล่าวหาสหภาพโซเวียตว่า ขัดขวางปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัย กองทัพโซเวียตระงับการค้นหาหลักฐานขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) เพื่อใช้ในการสอบสวนสาเหตุ โดยเฉพาะ เครื่องบันทึกข้อมูลการบิน หรือกล่องดำ ซึ่งสุดท้ายก็มีการเผยแพร่ในแปดปีหลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียต เหตุการณ์ดังกล่าวเป็นช่วงเวลาที่ตึงเครียดที่สุดขณะหนึ่งของสงครามเย็นและส่งผลให้การต่อต้านโซเวียตทวีความเข้มข้นมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสหรัฐฯ มุมมองตรงข้ามต่อเหตุการณ์ไม่เคยยุติอย่างสมบูรณ์ ต่อมามีอีกหลาย ๆ กลุ่มได้ดำเนินการเกี่ยวกับรายงานอย่างเป็นทางการในกรณีพิพาทและเสนอทฤษฎีทางเลือกของเหตุการณ์นี้ มีการเผยแพร่เอกสารต่าง ๆ และข้อมูลเครื่องบันทึกของเที่ยวบิน KAL 007 ภายหลังโดยสหพันธรัฐรัสเซียซึ่งได้เปิดเผยรายละเอียดบางอย่างซึ่งยังไม่เคยเปิดเผยมาก่อน

ระบบ GNSS ของกองทัพสหรัฐฯ ซึ่งยังเป็นความลับอยู่ในขณะนั้น (พ.ศ. 2526)

ผลของเหตุการณ์ สหรัฐอเมริกามีการเปลี่ยนวิธีดำเนินการติดตามเครื่องบินที่บินออกจากมลรัฐอะแลสกา พัฒนาโปรแกรมต่อประสานนักบินอัตโนมัติที่ใช้ในสายการบินโดยได้รับการออกแบบใหม่ให้สมบูรณ์มากขึ้น นอกเหนือจากนี้แล้วเหตุการณ์ดังกล่าวยังเป็นเหตุการณ์เดี่ยวที่สำคัญที่สุดเหตุการณ์หนึ่งที่ทำให้รัฐบาลของประธานาธิบดี Reagan อนุญาตให้ทั่วโลกเข้าถึงระบบ GNSS ของกองทัพสหรัฐฯ ซึ่งยังเป็นความลับอยู่ในขณะนั้น ปัจจุบันระบบดังกล่าวรู้จักกันอย่างกว้างขวางในชื่อว่า GPS (Global Positioning System)

เครื่องบินของ Korean Air เที่ยวบินที่ 007 คือ เครื่องบินพาณิชย์แบบ Boeing 747-230B ส่งมอบเมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2515 เลขทะเบียน CN20559/186 และ D-ABYH ซึ่งให้บริการโดยสายการบิน Condor ก่อนจะมาจดทะเบียนเป็น HL7442 ของ Korean Air KAL 007 ออกจากประตูที่ 15 ของท่าอากาศยานนานาชาติ จอห์น เอฟ. เคนเนดี นครนิวยอร์ก เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2526 มุ่งหน้าสู่ท่าอากาศยานนานาชาติคิมโพ ในเขตกังเซโอ กรุงโซล โดยออกเดินทางช้ากว่ากำหนด 35 นาที จากกำหนดเดิม 23:50 เขตเวลาตะวันออก (03:50 UTC ของวันที่ 31 สิงหาคม) เที่ยวบินนี้บรรทุกผู้โดยสาร 246 คนและลูกเรือ 23 คน หลังจอดเติมน้ำมันที่ท่าอากาศยานนานาชาติแองเคอเรจ ในเมืองแองเคอเรจ มลรัฐอะแลสกาแล้ว เครื่องบินดังกล่าว ซึ่งกัปตันของผลัดนี้คือ กัปตัน Chun Byung-in จึงได้ออกเดินทางสู่กรุงโซลเมื่อเวลา 04:00 ตามเวลาอะแลสกา (13:00 UTC) ของวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2526

Larry McDonald สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ จากมลรัฐจอร์เจีย หนึ่งในผู้โดยสาร

เที่ยวบินนี้มีสัดส่วนลูกเรือต่อผู้โดยสารสูงผิดปกติ โดยมีลูกเรือที่โดยสารแบบไม่เสียค่าใช้จ่าย (Deadheading) 6 คนบนเครื่อง ผู้โดยสาร 12 คนอยู่ในห้องผู้โดยสารชั้นหนึ่งส่วนบน ขณะที่ที่นั่งชั้นธุรกิจมีผู้โดยสาร 24 ที่นั่ง ในชั้นประหยัดว่างราว 80 ที่นั่ง บนเครื่องมีเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี 22 คน ผู้โดยสาร 130 คนมีกำหนดการบินเชื่อมไปยังจุดหมายอื่น เช่น กรุงโตเกียว นครฮ่องกง และกรุงไทเป Larry McDonald สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯจากมลรัฐจอร์เจีย ซึ่งขณะนั้นยังเป็นประธานคนที่สองของสมาคม John Birch Society อยู่บนเครื่องด้วย โซเวียตยืนยันว่า อดีตประธานาธิบดีสหรัฐ ริชาร์ด นิกสันจะนั่งติดกับ Larry McDonald บน KAL 007 แต่ CIA ได้เตือนไม่ให้ไป จากข้อมูลของ นิวยอร์กโพสต์ และสื่อของสหภาพโซเวียต แต่นิกสันปฏิเสธข่าวดังกล่าว

จุดอ้างอิงในเส้นทางการบิน R-20

หลังจากบินขึ้นจากท่าอากาศยานนานาชาติแองเคอเรจ เที่ยวบิน KAL 007 ได้รับคำสั่งจากการควบคุมจราจรทางอากาศ (ATC) ให้เลี้ยวหันหน้าไป 220 องศา ประมาณ 90 วินาทีต่อมา ATC สั่งให้เที่ยวบิน "มุ่งหน้าตรงสู่เบเธลเมื่อทำได้" เมื่อมาถึงเบเธล รัฐอะแลสกา เที่ยวบินที่ 007 จะเข้าสู่เหนือสุดของเส้นทางการบินกว้าง 80 กิโลเมตร ที่เรียก เส้นทาง NOPAC (แปซิฟิกเหนือ) ซึ่งเชื่อมชายฝั่งอะแลสกากับญี่ปุ่น เส้นทางการบินของ KAL 007 คือ R-20 (โรมีโอ 20) ผ่านห่างจากน่านฟ้าโซเวียตนอกชายฝั่งคัมชัตกาเพียง 28.2 กิโลเมตร ระบบนักบินอัตโนมัติที่ใช้ในขณะนั้นทำงานควบคุมระบบพื้นฐานสี่อย่าง ได้แก่ HEADING, VOR/LOC, ILS, และ INS สภาวะ HEADING รักษาเส้นทางแม่เหล็กคงที่ตามที่นักบินเลือก สภาวะ VOR/LOC รักษาเครื่องบินให้อยู่ในเส้นทางเฉพาะ การส่งสัญญาณจาก VOR ภาคพื้นดินหรือเครื่องบอกตำแหน่ง Localizer ตามที่นักบินเลือก สภาวะ ILS (ระบบลงจอดด้วยเครื่อง) ทำให้เครื่องบินติดตามทั้งเครื่องบอกตำแหน่งเส้นทางแนวตั้งและแนวระนาบ ซึ่งนำไปสู่ทางวิ่ง (Runway) ที่นักบินเจาะจงเลือกสภาวะ INS (Inertial navigation system : ระบบเดินอากาศยานเฉื่อย) ทำหน้าที่รักษาเครื่องให้อยู่ในเส้นทางแนวระนาบระหว่างพิกัดจุด (Waypoint) ตามแผนการบินที่เลือกที่ตั้งโปรแกรมเข้าสู่คอมพิวเตอร์ของระบบ INS

อุปกรณ์ HEADING Mode

ประมาณ 10 นาทีหลังจากเครื่องขึ้น โดยบินหันหัวทาง 245 องศา KAL 007 เริ่มเบี่ยงไปทางขวา (เหนือ) ของเส้นทางที่กำหนดไปยังเบเธล และยังคงบินต่อไปอีกห้าชั่วโมงครึ่ง การจำลองและวิเคราะห์เครื่องบันทึกข้อมูลการบินของ ICAO ระบุว่า การเบี่ยงเบนนี้อาจเกิดจากระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติของเครื่องบินที่ทำงานในโหมด HEADING หลังจากจุดที่ควรเปลี่ยนเป็นโหมด INS ตามที่ ICAO ระบุ นักบินอัตโนมัติไม่ทำงานในโหมด INS เนื่องจากนักบินไม่ได้เปลี่ยนระบบอัตโนมัติเป็นโหมด INS หรือพวกเขาเลือกโหมด INS แต่คอมพิวเตอร์ไม่ได้เปลี่ยนการนำทางไปที่โหมด INS เนื่องจากเครื่องบินได้เบี่ยงเบนออกนอกเส้นทางเกินพิกัดความเผื่อ 7.5 ไมล์ (12.1 กม.) ที่อนุญาตโดยคอมพิวเตอร์ INS ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม นักบินอัตโนมัติยังคงอยู่ในโหมด HEADING และนักบินไม่ได้พบปัญหา

หลังจากบินขึ้น 28 นาที เรดาร์ของพลเรือนที่คาบสมุทร Kenai บนชายฝั่งตะวันออกของ Cook Inlet และด้วยเรดาร์ที่ครอบคลุมพื้นที่ 175 ไมล์ (282 กม.) ทางตะวันตกของแองเคอเรจ ติดตาม KAL 007 5.6 ไมล์ (9.0 กม.) ทางเหนือของจุดที่ควรจะเป็น เมื่อ KAL 007 ไม่ถึงเบเธลในเวลา 50 นาทีหลังจากเครื่องบินขึ้น เรดาร์ของกองทัพสหรัฐฯที่ King Salmon รัฐอะแลสกา ได้ติดตาม KAL 007 ที่ระยะทาง 12.6 ไมล์ทะเล (23.3 กม.) ทางเหนือของจุดที่ควรจะเป็น ไม่มีหลักฐานที่บ่งชี้ว่า ผู้ควบคุมการจราจรทางอากาศพลเรือนหรือเจ้าหน้าที่ทหารประจำเรดาร์ที่ฐานทัพอากาศ Elmendorf (ซึ่งอยู่ในฐานะที่จะรับผลการวิเคราะห์จากเรดาร์ King Salmon) ทราบถึงความเบี่ยงเบนของ KAL 007 แบบเรียลไทม์ จึงสามารถเตือนได้ เครื่องบิน เพราะเกินค่าเบี่ยงเบนสูงสุดที่คาดไว้ถึงหกเท่า ข้อผิดพลาด 2 ไมล์ทะเล (3.7 กม.) เป็นค่าเบี่ยงเบนสูงสุดที่คาดหวังจากเส้นทางหาก INS (ระบบนำทางเฉื่อย) เปิดใช้งาน

ด้วย KAL 007 ไม่สามารถส่งตำแหน่งผ่านคลื่นความถี่สูงมาก (VHF) ที่มีช่วงสั้นกว่า ดังนั้นจึงขอให้ KAL 015 ซึ่งกำลังเดินทางไปยังกรุงโซลถ่ายทอดรายงานไปยังศูนย์ควบคุมการจราจรทางอากาศ KAL 007 ขอให้ KAL 015 ถ่ายทอดตำแหน่งสามครั้ง เมื่อเวลา 14:43 (UTC) KAL 007 ได้ส่งการเปลี่ยนแปลงเวลาที่ประมาณการมาถึงโดยตรงไปยังสถานีบริการเที่ยวบินระหว่างประเทศที่แองเคอเรจ แต่ได้ส่งผ่านคลื่นความถี่สูง (HF) ที่มีพิสัยไกลกว่า แทนที่จะเป็น VHF การส่งสัญญาณ HF สามารถไปได้ไกลกว่า VHF แต่เสี่ยงต่อการรบกวนทางแม่เหล็กไฟฟ้าและไฟฟ้าสถิต VHF มีความชัดเจนกว่าและมีสัญญาณรบกวนน้อยกว่า การที่ไม่สามารถติดต่อสื่อสารทางวิทยุโดยตรงเพื่อให้สามารถส่งตำแหน่งได้โดยตรง เพื่อเตือนนักบินของ KAL 007 ทราบถึงการเบี่ยงออกนอกเส้นทางที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งไม่ถือว่าผิดปกติโดยผู้ควบคุมการจราจรทางอากาศ ระยะครึ่งทางระหว่างเบเธลและจุดอ้างอิง NABIE KAL 007 ได้บินผ่านส่วนใต้ของเขตกันชนของหน่วยบัญชาการป้องกันการบินและอวกาศอเมริกาเหนือ โซนนี้อยู่ทางเหนือของเส้นทางการบิน Romeo 20 และจำกัดเฉพาะเครื่องบินพลเรือน หลังจากออกจากน่านฟ้าอเมริการะยะหนึ่ง KAL Flight 007 ได้บินข้ามเส้นแบ่งวันที่สากล วันที่ท้องถิ่นจึงเปลี่ยนจาก 31 สิงหาคม พ.ศ. 2526 เป็น 1 กันยายน พ.ศ. 2526 KAL 007 เดินทางต่อไป โดยความเบี่ยงเบนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนออกนอกเส้นทาง 60 ไมล์ทะเล (110 กม.) ที่จุดอ้างอิง NABIE และออกนอกเส้นทาง 100 ไมล์ทะเล (190 กม.) ที่จุดอ้างอิง NUKKS และออกนอกเส้นทางถึง 160 ไมล์ (300 กม.) ณ จุดอ้างอิง NEEVA จนกระทั่งบินถึงคาบสมุทรคัมชัตกา ซึ่งเป็นพื้นที่อันตรายและเป็นเขตหวงห้ามที่สำคัญที่สุดของสหภาพโซเวียตในเขตตะวันออกไกล

หมู่เรือในการซ้อมรบทางทะเล FleetEx '83 ระหว่างวันที่ 29 มีนาคม ถึง 17 เมษายน พ.ศ. 2526

ด้วยช่วงเวลานั้น ไม่ใช่ช่วงเวลาปกติ แต่เป็นช่วงระหว่างสงครามเย็นระหว่างเสรีนิยมกับสังคมนิยมกำลังตึงเครียดอย่างมาก จากการที่สหรัฐฯ นำขีปนาวุธ Pershing II มาประจำการในยุโรป การซ้อมรบทางทะเล FleetEx '83 ที่เป็นการซ้อมรบขนาดใหญ่ในแปซิฟิกเหนือ โดยเครื่องบินจากเรือบรรทุกเครื่องบินสหรัฐฯ USS Midway และ USS Enterprise บินเข้ามาในลักษณะยั่วยุถึงเขตที่มั่นทางการทหารของโซเวียตบนเกาะคูริลในช่วงการซ้อมรบดังกล่าว จนสหภาพโซเวียตสั่งปลดนายทหารที่รับผิดชอบด้านการป้องกันพื้นที่ที่ไม่สามารถยิงเครื่องบินสหรัฐให้ตกได้ ดังนั้นโซเวียตจึงต้องป้องกันน่านฟ้าของตนอย่างเต็มที่ และในวันเดียวกับที่เกิดเหตุ สหภาพโซเวียตก็มีแผนจะซ้อมยิงขีปนาวุธ จึงมีการเตือนภัยทั่วเขตคาบสมุทรคัมชัตกา ขณะที่สหรัฐฯ ก็ส่งเครื่องบินแบบ RC-135 ออกสอดแนม (เหมือนกับกรณี Korean Air เที่ยวบินที่ 902)

15:51 น. (UTC) KAL 007 ได้เข้าสู่น่านฟ้าหวงห้ามของคาบสมุทรคัมชัตกา ซึ่งห่างจากน่านฟ้าเขตชายฝั่ง 200 กิโลเมตร และตำแหน่งที่อีก 80 กิโลเมตร KAL 007 จะเข้าสู่น่านฟ้าของคาบสมุทรคัมชัตกา โซเวียตจึงได้ส่งเครื่องบินขับไล่ MiG-23 ลำหนึ่ง และ SU-15 Flagon อีก 3 ลำเข้าสกัด แต่ฝ่ายโซเวียตมีปัญหามากมาย ทั้งเรื่องการบัญชาการ เรื่องทางเทคนิค รวมถึงเรื่องสภาพอากาศ ทำให้ทั้ง 4 ลำไม่สามารถทำอะไรเครื่องบินโดยสารได้ จนกระทั่งมันออกจากน่านฟ้าของคัมชัตกา เข้าสู่น่านน้ำสากลโดยไม่มีปัญหาแต่ประการใด หลังจากพิจารณาถึงเส้นทางการบินของ KAL 007 ฝ่ายโซเวียตเห็นว่า KAL 007 น่าจะบินฝ่าเข้ามายังน่านฟ้าหวงห้ามของโซเวียตอีกครั้ง น่าจะเป็นบริเวณเกาะซาคาลิน จึงสั่งการให้เครื่องบินขับไล่จัดการทำลาย KAL 007 แม้ว่า KAL 007 จะอยู่ในเขตน่านฟ้าสากล หากสามารถแน่ใจว่า บนเครื่องบินไม่มีผู้โดยสาร แต่นายทหารระดับสูงอีกคนกลับบอกว่า ไม่จำเป็นต้องพิสูจน์อะไรกันอีกแล้วกับเครื่องบินที่ละเมิดน่านฟ้าของโซเวียตถึง 2 ครั้ง เมื่อ KAL 007 รุกล้ำน่านฟ้าเป็นครั้งที่ 2 โซเวียตได้ส่งเครื่องบินขับไล่ MiG-23 ลำหนึ่ง และ SU-15 Flagon อีก 3 ลำแบบเดิม รวม 4 ลำขึ้นไปเพื่อหาทางสื่อกับนักบิน KAL 007 แต่การติดต่อทางวิทยุ ไม่ประสบผล เพราะนักบินเกาหลีไม่ตอบกลับ เครื่อง บิน SU-15 ที่นำฝูง ก็ได้ยิงปืนเตือนไป 243 นัด แต่ก็ไม่มีการตอบสนอง ซึ่งกระสุนดังกล่าวเป็นกระสุนเจาะเกราะธรรมดา ไม่ใช่กระสุนส่องวิถี นักบิน KAL 007 จึงอาจจะไม่ทราบเรื่องการยิงเตือน

ในระหว่างนั้น กัปตัน KAL 007 ได้ติดต่อไปยังศูนย์ควบคุมการบินของญี่ปุ่น เพื่อขอเพิ่มเพดานบิน เพราะจะทำให้เครื่องบินประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง และเมื่อเพิ่มเพดานบินแล้ว พวกเขาจึงต้องลดความเร็วลงกะทันหัน แต่สำหรับนักบินเครื่องบินขับไล่ที่ติดตามอยู่ กลับเห็นว่าเป็นความพยายามในการหลบหนี เพราะทำให้เครื่องบินรบที่บินเร็วกว่า ต้องบินเลย KAL 007 ออกไป ขณะเดียวกันก็มีคำสั่งจากหน่วยบัญชาการให้จัดการกับ KAL 007 ก่อนที่ KAL 007 จะออกไปพ้นน่านฟ้าของโซเวียตเป็นครั้งที่ 2 นักบินจึงต้องบินวนกลับมาด้านหลังของ KAL 007 อีกครั้ง ด้วยการสั่งการ 6 ขั้นของสายการบังคับบัญชา หลังจาก KAL 007 รุกล้ำน่านฟ้าโซเวียตกว่า 2 ชั่วโมง ในเวลา 18.26 น. (UTC) เครื่องบินรบแบบ SU-15 ที่บินนำฝูง โดยนาวาอากาศตรี Gennadiy Osipovich ก็ได้ยิงขีปนาวุธแบบอากาศสู่อากาศ Kaliningrad K-8  จำนวน 2 ลูกใส่บริเวณส่วนหางของเครื่องบิน (เพราะกระสุนปืนถูกใช้ไปหมดแล้ว)  ทำให้เครื่องบินไม่สามารถควบคุมทิศทางได้ และที่สุดก็ตกลงในทะเลญี่ปุ่น ในเวลาต่อมา นาวาอากาศตรี Gennadiy Osipovich ได้เล่าถึงเหตุการณ์ครั้งนั้นว่า เขารู้แน่ว่า KAL 007 เป็นเครื่องบินโดยสารแบบ Boeing จากหน้าต่าง 2 แถว และรู้ว่า KAL 007 เป็นเครื่องบินพลเรือน แต่สำหรับเขาแล้วเรื่องนี้ไม่มีความหมายอะไร เพราะสามารถดัดแปลงเครื่องบินพลเรือนเป็นเครื่องบินทางการทหารได้ไม่ยาก รายละเอียดสัญชาติของผู้โดยสารและลูกเรือเที่ยวบิน : ออสเตรเลีย 4 ฮ่องกง 12 แคนาดา 8 สาธารณรัฐโดมินิกัน 1 อินเดีย 1 อิหร่าน 1 ญี่ปุ่น 28 มาเลเซีย 1 ฟิลิปปินส์ 16 เกาหลีใต้ 105 สวีเดน 1 ไต้หวัน 23 ไทย 5 สหราชอาณาจักร 2 สหรัฐอเมริกา 62 เวียดนาม 1 รวม 269 เป็นผู้โดยสาร 76 คน ลูกเรือ 23 คน และลูกเรือที่โดยสารแบบไม่เสียค่าใช้จ่าย (Deadheading) 6 คน

หลังเครื่องบินหายไป หลายฝ่ายก็มีการออกค้นหาซากเครื่องบินและศพผู้เสียชีวิต แต่โซเวียตก็ไม่ให้ความร่วมมือกับนานาชาติในการค้นหาภายในเขตของโซเวียตด้วย ในส่วนของการค้นหาในเขตน่านน้ำสากล เกาหลีใต้ในฐานะเจ้าของเครื่องบินมอบหมายให้ญี่ปุ่นและสหรัฐฯเป็นผู้ค้กนหาซากเครื่องบิน ในทางปฏิบัติก็เท่ากับว่าสหรัฐฯสามารถยิงฝ่ายโซเวียตได้ หากเข้ามาขโมยซากเครื่องบินในเขตน่านน้ำสากล ทำให้ทั้งสองฝ่ายส่งเรือรบเข้ามาในเขตมากมายราวกับเตรียมจะทำสงครามกัน นอกจากนั้นทั้งสองฝ่ายก็มีการก่อกวนยั่วยุกันตลอด แต่ในเขตน่านน้ำสากลไม่พบชิ้นส่วนอะไร ส่วนในฝั่งโซเวียตก็ไม่มีการแจ้งว่าพบอะไรบ้าง แต่ในปี พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1991) มีการเปิดเผยว่า ด้วยความช่วยเหลือของเครื่องมือที่ทันสมัย เจ้าหน้าที่ค้นหาของโซเวียตพบซากเครื่องบินอยู่ใกล้กับเกาะโมเนรอนที่ระดับความลึก 174 เมตร แต่เมื่อส่งประดาน้ำลงไปในอีก 2 สัปดาห์ต่อมา ก็ไม่พบว่ามีซากศพติดอยู่ภายในซากเครื่องบินแต่อย่างใด เท่าที่ฝ่ายโซเวียตพบก็มีเพียงแค่เศษซากชิ้นส่วนของมนุษย์ชิ้นเล็ก ๆ เท่านั้น

รองเท้าและเสื้อผ้าของผู้เสียชีวิต

8 วันต่อมาหลังการตก ศพผู้เสียชีวิตเริ่มลอยมายังญี่ปุ่น แต่อยู่ในสภาพชิ้นเล็กชิ้นน้อย และไม่สามารถพิสูจน์ทราบได้ว่าเป็นชิ้นส่วนของใคร และ 26 วันหลังการตกของ KAL 007 โซเวียตได้นำรองเท้าและเสื้อผ้าของผู้เสียชีวิตที่เก็บได้ส่งคืนให้ตัวแทนสหรัฐ – ญี่ปุ่น เมื่อรวมกับที่ค้นพบในน่านน้ำสากล รองเท้า เสื้อผ้าเหล่านี้เป็นของผู้ที่อยู่บนเครื่องบิน 213 คน ด้วยคำแนะนำจากรัฐมนตรีมหาดไทย ในเบื้องต้น ยูริ อังโดรปอฟ เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์โซเวียตในฐานะผู้นำประเทศ ปฏิเสธที่จะยอมรับว่าโซเวียตเป็นผู้ยิงเครื่องบิน KAL 007 เพราะเชื่อว่า คงไม่มีใครพิสูจน์เรื่องนี้ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ สหรัฐฯซึ่งเป็นคู่อริจึงใช้เรื่องนี้เป็นประเด็นในการโจมตีโซเวียต โดยการนำเทปบันทึกเสียงติดต่อของนักบินโซเวียตกับฐานที่ดักฟังได้ ไปเปิดในคณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติ เมื่อเจอเรื่องแบบนี้เข้าฝ่ายโซเวียตจึงต้องออกมายอมรับ แต่ในขณะเดียวกัน ก็แฉกลับว่า จนทำให้โลกรู้เป็นครั้งแรกว่า สหรัฐฯได้ส่งเครื่องบินลาดตระเวนแบบ RC-135 เข้ามาสอดแนมในน่านฟ้าของโซเวียต และเส้นทางการบินก็อยู่ในแนวเดียวกับ KAL 007 ที่ถูกยิงตก

ท่าทีของประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกน ผู้นำสหรัฐ ซึ่งจ้องจะเอาผิดกับโซเวียตในเรื่องนี้ยิ่งทำให้ฝ่ายโซเวียตเชื่อว่าเหตุการณ์ทั้งหลายทั้งปวงเป็นเจตนาร้ายและเป็นการวางแผนของฝ่ายตะวันตกโดยเฉพาะสหรัฐฯ ขณะที่สหรัฐฯเดินหน้าตอบโต้ฝ่ายโซเวียตต่อไป โดยการห้ามสายการบินแอโรฟล็อตบินเข้าสหรัฐฯ ทำให้รัฐมนตรีต่างประเทศโซเวียตต้องยกเลิกการเดินทางมาสหประชาชาติ และจากการที่สหรัฐฯไม่ยอมให้เครื่องบินของเจ้าหน้าที่โซเวียตที่จะมาร่วมประชุมสหประชาชาติลงจอด ซึ่งเป็นการละเมิดกฎบัตรสหประชาชาติ โซเวียตก็จึงแก้เผ็ดโดยการจุดประเด็นว่า ควรย้ายสำนักงานใหญ่สหประชาชาติไปที่อื่นน่าจะดีกว่า และเมื่อคณะมนตรีความมั่นคงจะมีมติประณามโซเวียตเรื่องการยิงเครื่องบิน โซเวียตจะใช้อำนาจ VETO ในการบล็อคมติดังกล่าวทุกครั้งไป

Gennadiy Osipovich ผู้ยิงขีปนาวุธแบบอากาศสู่อากาศ Kaliningrad K-8  จำนวน 2 ลูกใส่ KAL 007 จนตก

หลังสรุปเหตุการณ์ต่าง ๆ แล้ว ฝ่ายโซเวียตกล่าวหาว่า เป็นแผนการต่าง ๆ ของสหรัฐ ทั้งการซ้อมรบ การนำขีปนาวุธมาไว้ในยุโรป และอื่น ๆ บ่งบอกว่ากรณีแบบ KAL 007 จะต้องเกิดขึ้นแน่ โซเวียตบอกว่า ภารกิจของ KAL 007 คือการสอดแนม เป็นการยั่วยุของฝ่ายสหรัฐฯ และเพื่อทดสอบความพร้อมทางการทหารของโซเวียต หรือไม่ก็หวังให้เกิดสงครามขึ้น รัฐบาลโซเวียตขอแสดงความเสียใจต่อการสูญเสียชีวิต แต่ไม่ขอโทษ และไม่ชดเชยต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น นอกจากนั้นก็ยังตำหนิ CIA กลับไปด้วย โดยบอกว่า เรื่องที่เกิดขึ้นนั้นเหลือเชื่อมาก เพราะจากการตรวจสอบข้อมูลโดยผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงจากนักบินที่เคยบินกับเครื่องบิน Boeing เป็นพัน ๆ ชั่วโมง ต่างก็บอกว่า เครื่องคอมพิวเตอร์ 3 เครื่องบนเครื่องบิน ไม่น่าจะเสียได้ในเวลาเดียวกันได้  เช่นเดียวกับเครื่องส่งสัญญาณวิทยุทั้ง 5 เครื่อง จึงไม่ต้องสงสัยอะไรอีกเกี่ยวกับความตั้งใจของ KAL 007 ลำนี้ 

ส่วนนักบินที่บินขึ้นสกัดนั้น ก็อาจไม่รู้ว่าแน่ชัดว่า KAL 007 เป็นเครื่องบินพลเรือน เพราะ KAL 007 บินโดยไม่มีไฟนำร่อง ท่ามกลางสภาพทัศนวิสัยการมองเห็นที่ไม่ดี และการไม่ตอบสนองต่อสัญญาณวิทยุ ในรายงานของ ICAO ที่ตรวจสอบเรื่องนี้ สรุปในปีปลายปี พ.ศ. 2526 ว่า เรื่องนี้เป็นอุบัติเหตุ โดยมีสาเหตุมาตจากการใช้งานระบบ Auto pilot ของนักบิน แต่อีก 10 ปีต่อมา ICAO ก็ออกมาประณามโซเวียตที่ตอนแรกแจ้งว่า ไม่พบกล่องดำ แต่ต่อมามีการเปิดเผยเอกสารที่ระบุว่า โซเวียตพบกล่องดำของ KAL 007 และผลจากการตกของเครื่องบิน KAL 007 ทำให้สหรัฐฯต้องปรับเปลี่ยนวิธีการติดตามเฝ้าดูเครื่องบินที่บินออกจากน่านฟ้าของมลรัฐอลาสกา ในส่วนของเครื่องบินโดยสารเองก็มีการออกแบบหน้าปัดของระบบ Auto pilot ใหม่เพื่อให้มองเห็นความผิดพลาดได้ง่ายขึ้น นอกจากนั้น ประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกน ยังสั่งให้มีการพัฒนาระบบ GPS สำหรับกิจการพลเรือน เพื่อว่าจะได้ไม่เกิดความผิดพลาดในการนำร่องเช่นที่เกิดกับเที่ยวบิน KAL 007 อีกครั้ง

เส้นทางการบิน R-20 (เส้นประ) เส้นทางการบิน KAL 007 เส้นทึบ

องค์การบริหารการบินแห่งชาติ (FAA) ได้ปิดเส้นทางการบิน R-20 ชั่วคราว ซึ่งเป็นเส้นทางเดินทางอากาศที่ Korean Air Flight 007 ตั้งใจจะบิน ในวันที่ 2 กันยายน สายการบินต่าง ๆ คัดค้านการปิดเส้นทางยอดนิยมนี้อย่างดุเดือด ด้วยเป็นทางเดินอากาศที่สั้นที่สุดในห้าทางเดินอากาศระหว่างมลรัฐอลาสกากับตะวันออกไกล FAA จึงเปิดให้บริการอีกครั้งในวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2526 หลังจากมีการตรวจสอบความปลอดภัยและอุปกรณ์ช่วยนำทางแล้ว ต่อมา NATO ได้ตัดสินใจภายใต้แรงผลักดันของฝ่ายบริหารของประธานาธิบดีเรแกน ในการปรับใช้ขีปนาวุธ Pershing II และขีปนาวุธร่อนในเยอรมนีตะวันตก โดยการติดตั้งขีปนาวุธเหล่านี้นี้จะทำให้ขีปนาวุธอยู่ห่างจากกรุงมอสโกเพียง 6-10 นาที การสนับสนุนการปรับใช้กำลังถูกสั่นคลอนและน่าสงสัยว่าจะดำเนินการได้หรือไม่ แต่เมื่อสหภาพโซเวียตยิงเครื่องบิน KAL 007 ตก สหรัฐฯ ก็สามารถกระตุ้นการสนับสนุนทั้งในประเทศและต่างประเทศได้อย่างเพียงพอเพื่อให้การติดตั้งและใช้งานขีปนาวุธดำเนินต่อไปได้

มีการเปิดเผยข้อมูลการสื่อสารที่ถูกเฝ้าฟังโดยสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน เปิดเผยให้เห็นข้อมูลจำนวนมากเกี่ยวกับระบบข่าวกรองและความสามารถของพวกเขา ต่อมาสมาคมเหยื่อผู้เคราะห์ร้าย KAL 007 อเมริกัน ภายใต้การนำของ Hans Ephraimson ประสบความสำเร็จในการเรียกร้องให้รัฐสภาแห่งสหรัฐฯและอุตสาหกรรมการบินยอมรับข้อตกลงที่จะรับประกันว่า ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของเหตุการณ์ของสายการบินในอนาคตจะได้รับการชดเชยอย่างรวดเร็วและเป็นธรรม โดยการเพิ่มค่าตอบแทนและค่าชดเชย ภาระการพิสูจน์การประพฤติมิชอบของสายการบิน กฎหมายฉบับนี้ส่งผลกระทบในทางบวกต่อผู้ที่ตกเป็นเหยื่อจากภัยพิบัติเครื่องบินต่อ ๆ มาเป็นอย่างมาก สหรัฐฯ ตัดสินใจใช้เรดาร์ทางทหารเพื่อขยายความครอบคลุมเรดาร์ควบคุมการจราจรทางอากาศจาก 200 ถึง 1,200 ไมล์ (320 ถึง 1,930 กม.) จากแองเคอเรจ โดย FAA ยังได้จัดตั้งระบบเรดาร์สำรอง (ATCBI-5) บนเกาะเซนต์พอล  ในปี พ.ศ. 2529 สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และสหภาพโซเวียตได้จัดตั้งระบบควบคุมการจราจรทางอากาศร่วมกันเพื่อตรวจสอบเครื่องบินที่บินเหนือมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ ซึ่งทำให้สหภาพโซเวียตมีความรับผิดชอบอย่างเป็นทางการในการตรวจสอบการจราจรทางอากาศของพลเรือน และตั้งค่าความเชื่อมโยงการสื่อสารโดยตรงระหว่างผู้ควบคุมการจราจรทางอากาศของทั้งสามประเทศ

ประธานาธิบดีเรแกนประกาศเมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2526 ว่า ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก (GPS) จะพร้อมใช้งานสำหรับพลเรือนโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเมื่อการติดตั้งระบบเสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้ว เพื่อหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดในการนำทางที่คล้ายกันในอนาคต นอกจากนี้อินเทอร์เฟซของนักบินอัตโนมัติที่ใช้กับเครื่องบินโดยสารขนาดใหญ่ได้รับการปรับปรุงเพื่อให้ชัดเจนยิ่งขึ้นไม่ว่าจะทำงานในโหมด HEADING หรือโหมด INS มีการเปิดเส้นทางการบินปกติระหว่างกรุงโซลและกรุงมอสโกเริ่มขึ้นในเดือนเมษายน พ.ศ. 2533 อันเป็นผลมาจากนโยบาย Nordpolitik ของเกาหลีใต้ ซึ่งดำเนินการโดยสายการบิน Aeroflot และKorean Air ในขณะเดียวกัน เส้นทางยุโรปทั้ง 9 เส้นทางของ Korean Air จะเริ่มบินผ่านน่านฟ้าของโซเวียต ซึ่งเป็นครั้งแรกที่เครื่องบินของ Korean Air ได้รับอนุญาตให้บินผ่านน่านฟ้าของโซเวียตอย่างเป็นทางการ

ในปี พ.ศ. 2558 กระทรวงการต่างประเทศของญี่ปุ่นได้ยกเลิกการจัดประเภทเอกสารทางการทูต ซึ่งเปิดเผยว่าสองเดือนหลังจากเหตุการณ์ KAL 007 เจ้าหน้าที่ระดับสูงของฝ่ายบริหารของสหรัฐฯ ได้แจ้งกับนักการทูตของญี่ปุ่นอย่างไม่เป็นทางการ ว่าสหภาพโซเวียตได้เข้าใจผิดว่า เครื่องบิน KAL 007 เป็นเครื่องบินลาดตระเวนแบบ RC-135 ของกองทัพสหรัฐฯ ปัจจุบัน Korean Air ยังคงให้บริการเส้นทางการบินจากท่าอากาศยานนานาชาติ จอห์น เอฟ. เคนเนดี นครนิวยอร์ก ไปยังกรุงโซล อย่างไรก็ตาม เที่ยวบินไม่ได้แวะหยุดที่แองเคอเรจหรือบินไปยังท่าอากาศยานนานาชาติคิมโพอีกต่อไป โดยตอนนี้ทำการบินตรงไปยังท่าอากาศยานนานาชาติอินชอน เที่ยวบินหมายเลข 007 ถูกยกเลิกตั้งแต่นั้นมา โดยใช้หมายเลขเที่ยวบินสำหรับสองเที่ยวบินแยกกันเป็นเส้นทางการบินจากท่าอากาศยานนานาชาติ จอห์น เอฟ. เคนเนดี นครนิวยอร์กไปยังกรุงโซล (KAL/KE 82, 85 และ 250)


โปรเด็ด! เทหมดตัว มาสด้า 2 และ นิสสันอัลเมร่า ทักเลย! ตอบไว! แอดเลย @TheShopsTimes 
คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

‘Checkpoint Charlie’ (เช็กพอยท์ชาลี) จุดตรวจต่างแดน ตัวแทนการแบ่งแยก ในยุคสงครามเย็น

ในยุคสงครามเย็นมีเรื่องราวของ Checkpoint Charlie มากมายด้วยจุดตรวจผ่านแดนในอดีต ที่กั้นประชาชนชาวเยอรมัน 2 ฝ่าย คือฝั่งเสรีประชาธิปไตย (ฝั่งของเยอรมันตะวันตก) และฝ่ายคอมมิวนิสต์ (ฝั่งของเยอรมันตะวันออก) ซึ่งอยู่ภายใต้สหภาพโซเวียต ปัจจุบันเมื่อรวมเป็นเยอรมันเดียวตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 แล้ว Checkpoint Charlie จึงกลายเป็น Landmark ของกรุง Berlin ที่นักท่องเที่ยวต้องไปเยี่ยมชม เลยขอนำมาเขียนเป็นบทความนี้ครับ

Walter Ulbricht ผู้นำเยอรมันตะวันออกในขณะนั้นได้รับความเห็นชอบจากสหภาพโซเวียต ให้สร้างกำแพงเบอร์ลินในปี พ.ศ. 2504 (ค.ศ. 1961)

Checkpoint Charlie เป็นจุดตรวจผ่านแดนที่รู้จักกันดีที่สุดระหว่างเบอร์ลินตะวันออก และเบอร์ลินตะวันตกในช่วงสงครามเย็น (พ.ศ. 2490-2534) ตามที่พันธมิตรตะวันตกตั้งชื่อ Checkpoint Charlie เกิดจากการที่ Walter Ulbricht ผู้นำเยอรมันตะวันออกในขณะนั้นได้รับความเห็นชอบจากสหภาพโซเวียตให้สร้างกำแพงเบอร์ลินในปี พ.ศ. 2504 (ค.ศ. 1961) เพื่อยุติการอพยพ และการหลบหนีไปเยอรมันตะวันตก เป็นการป้องกันการหลบหนีข้ามพรมแดนจากเบอร์ลินตะวันออกไปยังเบอร์ลินตะวันตก 

Checkpoint Charlie จึงกลายเป็นสัญลักษณ์ของสงครามเย็น ซึ่งเป็นตัวแทนของการแบ่งแยกระหว่างเยอรมันตะวันออกกับเยอรมันตะวันตก รถถังโซเวียตและอเมริกันเคยเผชิญหน้ากันในช่วงเวลาสั้น ๆ ณ จุดนี้ในช่วงวิกฤต Berlin ปี พ.ศ. 2504 (ค.ศ. 1961) และเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2506 ประธานาธิบดี John F. Kennedy แห่งสหรัฐอเมริกาได้เยี่ยมชม Checkpoint Charlie และมองเข้าไปใน Berlin ตะวันออกจากแท่นบนกำแพง Berlin

ชาวเยอรมันตะวันออกหลบหนีออกจาก Berlin ตะวันออกด้วยวิธีการต่างๆ

ในช่วงต้นทศวรรษ 1950 วิธีการจำกัดการย้ายถิ่นฐานของสหภาพโซเวียตได้รับการเลียนแบบโดยกลุ่มตะวันออกที่เหลือส่วนใหญ่ รวมทั้งเยอรมนีตะวันออกด้วย อย่างไรก็ตามในเยอรมนีที่ถูกยึดครองจนถึงปี พ.ศ. 2495 (ค.ศ. 1952) เส้นแบ่งระหว่างเยอรมนีตะวันออกกับเขตที่ถูกยึดครองทางตะวันตกส่วนใหญ่ยังคงสามารถข้ามไปมาได้อย่างง่ายดาย ต่อมาพรมแดนเยอรมันชั้นในระหว่างสองประเทศในเยอรมนีถูกปิด และมีการสร้างรั้วลวดหนามขึ้น

พรมแดนของเขต Berlin จึงเป็น "ช่องโหว่" ที่ประชาชนเยอรมันตะวันออกยังสามารถใช้หลบหนีได้

แม้หลังจากปิดพรมแดนเยอรมันชั้นในอย่างเป็นทางการในปี ปี พ.ศ. 2495 (ค.ศ. 1952) เขตแดนของเมือง Berlin ตะวันออกและ Berlin ตะวันตกยังคงสามารถข้ามไปมาได้ง่ายกว่าพรมแดนอื่น ๆ ที่เหลือ เนื่องจากถูกปกครองโดยพันธมิตรทั้งสี่ (สหรัฐฯ อังกฤษ ฝรั่งเศส และ สหภาพโซเวียต) ดังนั้น Berlin จึงกลายเป็นเส้นทางหลักที่ชาวเยอรมันตะวันออกออกอพยพเข้าเยอรมันตะวันตก ดังนั้นพรมแดนของเขต Berlin จึงเป็น "ช่องโหว่" ที่ประชาชนเยอรมันตะวันออกยังสามารถใช้หลบหนีได้

ทหารเยอรมันตะวันออก หลบหนีออกจาก Berlin ตะวันออก

ชาวเยอรมันตะวันออก 3.5 ล้านคน ที่อพยพออกมาในปี พ.ศ. 2504 คิดเป็นจำนวนรวมประมาณ 20% ของประชากรชาวเยอรมันตะวันออกทั้งหมด ผู้อพยพโยกย้ายถิ่นมักเป็นเยาวชนและผู้ที่มีการศึกษาดี ความสูญเสียดังกล่าวเกิดขึ้น ทำให้จำนวนผู้เชี่ยวชาญ วิศวกร ช่างเทคนิค แพทย์ ครู ทนายความ และช่างฝีมือ ไม่สมส่วนและขาดแคลน สภาวะสมองไหลของผู้เชี่ยวชาญได้ทำลายความน่าเชื่อถือทางการเมืองและความอยู่รอดทางเศรษฐกิจของเยอรมนีตะวันออกอย่างมาก จำเป็นต้องจัดตั้งด่านและระบบการควบคุมชายแดนตามแบบสหภาพโซเวียต ระหว่างปี พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949)  ถึง พ.ศ. 2504 (ค.ศ. 1961) ชาวเยอรมันตะวันออกกว่า 2.5 ล้านคน หลบหนีไปยังเยอรมันตะวันตก และจำนวนเพิ่มขึ้นในช่วงสามปีก่อนที่กำแพง Berlin จะถูกสร้างขึ้น โดยมีจำนวน 144,000 คน ในปี พ.ศ. 2502 (ค.ศ. 1959), และ 199,000 คน ในปี พ.ศ. 2503 (ค.ศ. 1960) และ 207,000 คน ในช่วงเจ็ดเดือนแรกของปี พ.ศ. 2504 (ค.ศ. 1961) เศรษฐกิจของเยอรมันตะวันออกได้รับความเดือดร้อน และเสียหายอย่างมาก

กำแพงลวดหนามกลายเป็นกำแพงที่แยก Berlin ตะวันออกและตะวันตกออกจากกัน ถูกสร้างขึ้นโดยเยอรมันตะวันออก

วันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2504 กำแพงลวดหนามกลายเป็นกำแพง ซึ่งแยก Berlin ตะวันออกและตะวันตกออกจากกัน ถูกสร้างขึ้นโดยเยอรมันตะวันออก สองวันต่อมาวิศวกรของตำรวจและกองทัพเริ่มสร้างกำแพงคอนกรีตถาวรขึ้นตลอดแนวเขตแดนยาว 830 ไมล์ (1336 กม.) ข้างกำแพงนั้นกว้าง 3.5 ไมล์ (5.6 กม.) ทางด้านเยอรมันตะวันออกในบางส่วนของเยอรมนี โดยมีรั้วตาข่ายเหล็กสูงทอดยาวไปตาม "แถบมรณะ" ที่ล้อมรอบด้วยทุ่นระเบิด เช่นเดียวกับช่องทางไถดินเพื่อชะลอการหลบหนี และแสดงรอยเท้าได้ง่ายขึ้น

Checkpoint Charlie เป็นจุดผ่านแดนของกำแพง Berlin ซึ่งตั้งอยู่บริเวณทางแยก Friedrichstraße กับ Zimmerstraße และ Mauerstraße (ซึ่งด้วยเหตุผลทางประวัติศาสตร์ที่เก่ากว่านั้นบังเอิญหมายถึง 'Wall Street') อยู่ในย่าน Friedrichstadt โดย Checkpoint Charlie ถูกกำหนดให้เป็นจุดข้ามแห่งเดียว (ด้วยการเดินเท้าหรือโดยรถยนต์) สำหรับชาวต่างชาติและสมาชิกของกองกำลังพันธมิตร (สมาชิกของกองกำลังพันธมิตรไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้จุดผ่านแดนจุดอื่น ๆ ที่กำหนดไว้สำหรับใช้โดยชาวต่างชาติ เช่น สถานีรถไฟ Friedrichstraße)

ชื่อ Charlie มาจากตัวอักษร C ตามอักษรรหัสของ NATO ในทำนองเดียวกันสำหรับด่านอื่น ๆ ของฝ่ายสัมพันธมิตรบน Autobahn จากตะวันตก เรียกว่า Checkpoint Alpha ที่ Helmstedt และ Checkpoint Bravo ที่เทียบเท่ากันที่ Drelinden, Wannsee ตรงมุมตะวันตกเฉียงใต้ของ Berlin และ โซเวียตเรียกว่า จุดผ่านแดน KPP Fridrikhshtr ชาวเยอรมันตะวันออกเรียก Checkpoint Charlie อย่างเป็นทางการว่า Grenzübergangsstelle ("Border Crossing Point") Friedrich-/Zimmerstraße

Cafe Adler ("Eagle Café") ตั้งอยู่ที่จุดตรวจ เป็นจุดชมวิวที่ยอดเยี่ยมที่สุดในการชม Berlin ตะวันออกขณะรับประทานอาหารและดื่มเครื่องดื่ม

Checkpoint Charlie เป็นจุดตรวจที่กำแพง Berlin ที่มองเห็นได้ชัดเจนที่สุด จึงปรากฏในภาพยนตร์และหนังสือ ร้านกาแฟที่มีชื่อเสียงและจุดชมวิวของเจ้าหน้าที่ฝ่ายสัมพันธมิตร กองกำลังติดอาวุธ และผู้มาเยือน Cafe Adler ("Eagle Café") ตั้งอยู่ที่จุดตรวจ เป็นจุดชมวิวที่ยอดเยี่ยมที่สุดในการชม Berlin ตะวันออก ขณะรับประทานอาหารและดื่มเครื่องดื่ม

Checkpoint Charlie มีความไม่สมดุลอย่างน่าประหลาด ในช่วงที่ใช้งาน 28 ปี โครงสร้างพื้นฐานทางฝั่งตะวันออก ได้ขยายให้ครอบคลุมไม่เพียงแค่กำแพง หอสังเกตการณ์ และแนวซิกแซกเท่านั้น แต่ยังมีโรงจอดรถหลายช่องทางสำหรับตรวจสอบรถยนต์และผู้โดยสาร อย่างไรก็ตามผู้มีอำนาจฝ่ายสัมพันธมิตรไม่เคยสร้างอาคารถาวรใด ๆ เลย และสร้างขึ้นเป็นเพิงไม้ที่มีชื่อเสียง ซึ่งถูกแทนที่ในช่วงทศวรรษ 1980 ด้วยโครงสร้างโลหะที่ใหญ่ขึ้น ซึ่งปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์พันธมิตรใน Berlin เหตุผลของพวกเขา คือพวกเขาไม่ได้ถือว่าเขตแดนของ Berlin ชั้นในเป็นพรมแดนระหว่างประเทศ

รถถังโซเวียตและอเมริกันเคยเผชิญหน้ากันในช่วงเวลาสั้น ๆ ณ จุดนี้ในช่วงวิกฤต Berlin ปี พ.ศ. 2504 (ค.ศ. 1961)

ไม่นานหลังจากการก่อสร้างกำแพง Berlin ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2504 เกิดการเผชิญหน้ากันระหว่างรถถังสหรัฐและโซเวียตที่ด่านชาร์ลีทั้งสองด้าน เริ่มเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม จากข้อโต้แย้งว่า เจ้าหน้าที่รักษาชายแดนของเยอรมันตะวันออกได้รับอนุญาตให้ตรวจสอบเอกสารการเดินทางของนักการทูตสหรัฐฯ ที่อยู่ใน Berlin ตะวันตกชื่อ Allan Lightner มุ่งหน้าไปยัง Berlin ตะวันออกเพื่อชมการแสดงโอเปร่าที่นั่นหรือไม่ เนื่องจากตามข้อตกลงระหว่างทุกฝ่าย สี่มหาอำนาจฝ่ายพันธมิตรที่ยึดครองเยอรมนี จะต้องอนุญาตให้กองกำลังพันธมิตรในกรุง Berlin เดินทางได้อย่างอิสระเสรี และไม่มีกองกำลังทหารเยอรมัน จากทั้งเยอรมนีตะวันตกหรือเยอรมนีตะวันออกมาประจำการในตัวเมือง และยิ่งไปกว่านั้นสหรัฐอเมริกา (ในขั้นต้น) ไม่ได้ยอมรับความเป็นรัฐตะวันออกของเยอรมนี และสิทธิที่จะคงอยู่ในเมืองหลวง Berlin ตะวันออกที่ประกาศตนเอง ในทางกลับกัน ชาวอเมริกันยอมรับเพียงอำนาจของโซเวียตเหนือเบอร์ลินตะวันออก มากกว่าความเป็นเยอรมันตะวันออก 

วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2504 รถถังโซเวียตสิบคันและรถถังอเมริกันจำนวนเท่ากันจอดห่างกัน 100 หลา ณ จุดตรวจทั้งสองฝั่ง การเผชิญหน้าครั้งนี้สิ้นสุดลงด้วยความสงบในวันที่ 28 ตุลาคม หลังจากการทำความเข้าใจระหว่างสหรัฐฯ-โซเวียตในการถอนรถถังและลดความตึงเครียด การเจรจาระหว่างรัฐมนตรียุติธรรม (อัยการสูงสุด) ของสหรัฐอเมริกา Robert F. Kennedy และหัวหน้า KGB Georgi Bolshakov มีส่วนอย่างสำคัญในการบรรลุข้อตกลงนี้โดยปริยาย

พลเมืองของเยอรมันตะวันออกได้ขับรถฝ่าสิ่งกีดขวางด้วยรถเปิดประทุน โดยถอดกระจกบังลมออกก่อน และพุ่งลอดใต้ที่กั้น

กำแพง Berlin ถูกสร้างขึ้นอย่างรวดเร็วโดยรัฐบาลเยอรมันตะวันออกในปี พ.ศ. 2504 แต่มีวิธีการหลบหนีมากมายที่ไม่คาดคิด ตัวอย่างเช่น Checkpoint Charlie ในขั้นต้นถูกปิดกั้นโดยประตูเท่านั้น และพลเมืองของเยอรมันตะวันออกได้ขับรถฝ่าผ่านเข้าไปเพื่อหลบหนี จึงมีการสร้างเสาที่แข็งแรงมั่นคง ผู้หลบหนีอีกคนหนึ่งพยายามฝ่าสิ่งกีดขวางด้วยรถเปิดประทุน โดยถอดกระจกบังลมออกก่อน และพุ่งลอดใต้ที่กั้น สิ่งนี้ถูกทำซ้ำในอีกสองสัปดาห์ต่อมา ดังนั้นเยอรมันตะวันออกจึงลดความสูงของเครื่องกั้น และเพิ่มเสากั้นให้มากขึ้น

เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2505 Peter Fechter วัยรุ่นชาวเยอรมันตะวันออกถูกยิงที่กระดูกเชิงกรานโดยทหารเยอรมันตะวันออกขณะพยายามหลบหนีจาก Berlin ตะวันออก ร่างของเขาติดอยู่ในรั้วลวดหนาม และเลือดออกจนตาย ในมุมมองของสื่อทั่วโลกทหารอเมริกันไม่สามารถช่วยชีวิตเขาได้ เพราะเขาอยู่ในเขตโซเวียตไม่กี่เมตร ทหารรักษาการณ์ชายแดนของเยอรมันตะวันออกไม่เต็มใจที่จะเข้าไปช่วยเขา เพราะเกรงว่าจะเป็นการยั่วยุทหารฝั่งตะวันตก ซึ่งหนึ่งในนั้นได้ยิงตำรวจชายแดนของเยอรมันตะวันออกเมื่อไม่กี่วันก่อน อีกกว่าหนึ่งชั่วโมงต่อมาร่างของ Fechter ก็ถูกทหารเยอรมันตะวันออกนำออกมา การประท้วงเกิดขึ้นเองที่จุดตรวจฝั่งอเมริกัน เป็นการประท้วงต่อต้านการกระทำของตะวันออกและความเฉยเมยของตะวันตก

อนุสรณ์สถานสงครามโซเวียต ซึ่งตั้งอยู่ใน Tiergarten ในเขตของอังกฤษ (ในขณะนั้น)

สองสามวันต่อมา ฝูงชนขว้างก้อนหินใส่รถบัสของสหภาพโซเวียตที่ขับไปยังอนุสรณ์สถานสงครามโซเวียต ซึ่งตั้งอยู่ใน Tiergarten ในเขตของอังกฤษ โซเวียตซึ่งพยายามคุ้มกันรถบัสด้วยรถหุ้มเกราะ (APCs) หลังจากนั้น โซเวียตได้รับอนุญาตให้ข้ามได้เฉพาะทางข้ามสะพาน Sandkrug (ซึ่งใกล้ Tiergarten ที่สุด) และห้ามมิให้นำรถหุ้มเกราะ (APCs) เข้ามา หน่วยทหารเยอรมันตะวันตกถูกส่งไปปฏิบัติการในตอนกลางดึกของต้นเดือนกันยายน พร้อมอาวุธยุทโธปกรณ์และยานพาหนะเพื่อบังคับใช้คำสั่งห้าม

คืนวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) ส่วนหนึ่งของกำแพง Berlin ถูกเปิดออก

ในคืนวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) ส่วนหนึ่งของกำแพง Berlin ถูกเปิดออก แม้ว่ากำแพง Berlin จะถูกรื้อทุบในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2532 และ ส่วนที่กำบังของ Checkpoint Charlie ถูกรื้อออกเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2533 เพิงตรวจของ Checkpoint Charlie ยังคงเป็นจุดผ่านแดนอย่างเป็นทางการสำหรับชาวต่างชาติและนักการทูต จนกระทั่งการรวมชาติเยอรมันสำเร็จในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2533 Checkpoint Charlie ได้กลายเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวหลักของกรุง Berlin ที่ซึ่งเศษชิ้นส่วนของจุดผ่านแดนดั้งเดิมบางส่วนผสมกับชิ้นส่วนที่สร้างขึ้นใหม่ เป็นอนุสรณ์สถานและสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการท่องเที่ยว อาคารหลังที่สองในฝั่งอเมริกันถูกย้ายออกไปในปี พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) 

เพิงตรวจปัจจุบันจัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง ของพิพิธภัณฑ์พันธมิตรใน Berlin-Zehlendorf ป้อมยามจำลองและป้ายที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นจุดผ่านแดนถูกสร้างใหม่ในภายหลัง ในขนาดเดียวกันโดยคร่าว ๆ คล้ายกับเรือนยามหลังแรกที่สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2504 โดยอยู่หลังแนวกั้นกระสอบทราย ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ป้อมนี้ถูกแทนที่หลายครั้งด้วยป้อมยามที่มีขนาดและรูปแบบต่างกัน ที่ถูกรื้อออกระหว่างปี พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) มีขนาดใหญ่กว่าอันแรกมาก และไม่มีกระสอบทราย นักท่องเที่ยวเคยสามารถถ่ายรูปได้โดยเสียค่าธรรมเนียม โดยมีนักแสดงที่แต่งตัวเป็น ตำรวจ ทหารฝ่ายพันธมิตรยืนอยู่หน้าป้อม แต่ทางการ Berlin ได้สั่งห้ามในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2562 (ค.ศ. 2019) โดยระบุว่านักแสดงได้เอาเปรียบนักท่องเที่ยวด้วยการเรียกร้องเงินเพื่อถ่ายรูป

ชิ้นส่วนและเศษซากของกำแพง Berlin ถูกนำมาตั้งแสดง

เส้นทางของกำแพงและชายแดนเดิม ตอนนี้ถูกทำเครื่องหมายไว้ที่ถนนด้วยหินปูถนน การจัดแสดงกลางแจ้งเปิดขึ้นในช่วงฤดูร้อนปี พ.ศ. 2549 ผนังห้องแสดงภาพตามถนน Friedrichstraße และ Zimmerstraße แสดงข้อมูลเกี่ยวกับความพยายามในการหลบหนี การขยายจุดตรวจ และความสำคัญในช่วงสงครามเย็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเผชิญหน้าของรถถังโซเวียตและอเมริกาในปี พ.ศ. 2504 (ค.ศ. 1961) นอกจากนี้ยังมี Gallery รวมภาพของอนุสรณ์สถานและพิพิธภัณฑ์ที่สำคัญอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการแบ่งประเทศเยอรมนีและกำแพง Berlin

Checkpoint Charlie ในปี พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000)

บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ได้มีการรื้อถอนหอสังเกตการณ์ของเยอรมันตะวันออกในปี พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) เพื่อเปิดทางสำหรับสำนักงานและร้านค้าต่าง ๆ หอสังเกตการณ์เป็นอาคารสุดท้ายของ Checkpoint Charlie ดั้งเดิมที่ยังหลงเหลืออยู่ เทศบาลกรุง Berlin พยายามรักษาหอคอยไว้แต่ล้มเหลว เนื่องจากไม่ได้ถูกจัดให้เป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ กระนั้น โครงการพัฒนานั้นก็ไม่เคยเกิดขึ้นจริงจนถึงทุกวันนี้ พื้นที่ระหว่าง Zimmerstraße และ Mauerstraße/Schützenstraße (จุดผ่านแดนทางฝั่งเยอรมันตะวันออก) ยังคงว่างอยู่ทำให้มีพื้นที่สำหรับนักท่องเที่ยวและอนุสรณ์สถานชั่วคราวจำนวนมาก แผนใหม่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 บนเว็บไซต์สำหรับโครงการโรงแรมทำให้เกิดการถกเถียงทางการเมืองเกี่ยวกับการพัฒนาพื้นที่อย่างเหมาะสม หลังจากการขึ้นทะเบียนสถานที่สุดท้ายให้เป็นพื้นที่มรดกที่ได้รับการคุ้มครองในปี พ.ศ. 2561 แผนต่าง ๆ ได้เปลี่ยนไปในแนวทางที่เป็นมิตรต่อความเป็นมรดกที่ได้รับการคุ้มครองมากขึ้น

นิทรรศการ “BlackBox Cold War”

นิทรรศการ “BlackBox Cold War” ได้จุดประกายให้กับรัฐบาลเยอรมันและนคร Berlin ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 การจัดแสดงกลางแจ้งฟรี นำเสนอส่วนกำแพง Berlin ดั้งเดิม และข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ทางประวัติศาสตร์ อย่างไรก็ตาม การจัดแสดงในร่มแสดงให้เห็นประวัติศาสตร์ร่วมสมัยของ Berlin ด้วยสถานีสื่อ 16 แห่ง โรงภาพยนตร์ วัตถุสิ่งของ และเอกสารต้นฉบับ (ซึ่งต้องเสียค่าเข้าชม) ดำเนินการโดย NGO Berliner Forum fuer Geschichte und Gegenwart e.V.

พิพิธภัณฑ์ Haus am Checkpoint Charlie

พิพิธภัณฑ์ Checkpoint Charlie ใกล้กับที่ตั้งของป้อมยามคือ Haus am Checkpoint Charlie " พิพิธภัณฑ์ Haus am Checkpoint Charlie" เปิดเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2506 ใกล้กับกำแพง Berlin แสดงให้เห็นภาพถ่าย และเรื่องราวของการแบ่งแยกเยอรมนี ป้อมชายแดนและ "ความช่วยเหลือของผู้มีอำนาจที่ปกป้อง" แสดงไว้ นอกจากภาพถ่ายและเอกสารประกอบความพยายามในการหลบหนีที่ประสบความสำเร็จแล้ว ยังมีการจัดแสดงอุปกรณ์หลบหนี เช่น บอลลูนลมร้อน รถหนีภัย ลิฟต์เก้าอี้ และเรือดำน้ำขนาดเล็ก ตั้งแต่ตุลาคม พ.ศ. 2547 ถึงกรกฎาคม พ.ศ. 2548 มีอนุสรณ์สถานเสรีภาพ (The Freedom Memorial) ซึ่งประกอบด้วยส่วนผนังดั้งเดิมและไม้กางเขนที่ระลึก 1,067 อันตั้งอยู่บนพื้นที่ (เช่า) พิพิธภัณฑ์ Haus am Checkpoint Charlie ดำเนินการโดยสมาคม Arbeitsgemeinschaft 13 สิงหาคม สมาคมจดทะเบียนก่อตั้งโดย Dr. Rainer Hildebrandt ผู้จัดการคือ Alexandra Hildebrandt ภรรยาม่ายของผู้ก่อตั้ง พิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่ในอาคาร "House at Checkpoint Charlie" โดยสถาปนิก Peter Eisenman ด้วยผู้เข้าชม 850,000 คนในปี พ.ศ. 2550 พิพิธภัณฑ์ Haus am Checkpoint Charlie จึงเป็นหนึ่งในพิพิธภัณฑ์ที่มีผู้เข้าชมมากที่สุดของนคร Berlin และเยอรมนี 

ไม้กางเขนที่ระลึก 1,067 อัน ใน The Freedom Memorial

Checkpoint Charlie มีบทบาทในการจารกรรมในยุคสงครามเย็นและนวนิยายและภาพยนตร์ทางการเมือง ตัวอย่างบางส่วน ได้แก่ 

James Bond (แสดงโดย Roger Moore) กับ Checkpoint Charlie

- James Bond (แสดงโดย Roger Moore) เดินผ่าน Checkpoint Charlie ในภาพยนตร์ 007 ตอน Octopussy (1983) จากเยอรมันตะวันตกไปเยอรมันตะวันออก

- Checkpoint Charlie เป็นจุดเด่นในฉากเปิดของภาพยนตร์ปี 1965 เรื่อง The Spy Who Came in from the Cold (นำแสดงโดย Richard Burton และ Claire Bloom) ซึ่งสร้างจากนวนิยายของ John le Carré ที่มีชื่อเดียวกัน

Francis Gary Powers (ซ้าย) กับ Rudolf Abel (ขวา)

- ในภาพยนตร์ Bridge of Spies นักศึกษาชาวอเมริกัน Frederic Pryor ที่ถูกคุมขังได้รับการปล่อยตัวที่ Checkpoint Charlie โดยเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงเพื่อแลกเปลี่ยนตัว Francis Gary Powers นักบินของ U-2 กับ Frederic Pryor โดยแลกกับ Rudolf Abel สายลับโซเวียตที่ถูกตัดสินว่ามีความผิด การปล่อยตัวไพรเออร์เกิดขึ้นนอกจอในขณะที่การแลกเปลี่ยน Francis Gary Powers กับ Rudolf Abel เกิดขึ้นที่สะพาน Glienicke

เกมอินดี้ Papers Please โดย Lucas Pope

- Checkpoint Charlie เป็นแรงบันดาลใจให้กับเกมอินดี้ Papers Please โดย Lucas Pope ที่ซึ่งผู้เล่นทำหน้าที่ของหน่วยยามชายแดนสำหรับเวอร์ชั่นสมมติของ Berlin ตะวันออก

ฉากเปิดตัวของ The Man from U.N.C.L.E ณ Checkpoint Charlie

- นอกจากนี้ยังปรากฎในฉากเปิดตัวของ The Man from U.N.C.L.E ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) อีกด้วย


โปรเด็ด! เทหมดตัว มาสด้า 2 และ นิสสันอัลเมร่า ทักเลย! ตอบไว! แอดเลย @TheShopsTimes 
คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

ทฤษฎีโดมิโน (Domino Theory) กับความเชื่อ 'ลัทธิคอมมิวนิสต์ครองโลก' และการสิ้นสุดที่หยุดลงตรงราชอาณาจักรไทย

คนที่อายุน้อยกว่าสี่สิบปีอาจไม่รู้ว่า โลกเคยผ่านช่วงของสงครามเย็น (Cold war) อันเป็นยุคสมัยที่ฝ่ายเสรีประชาธิปไตยนำโดยสหรัฐอเมริกากับฟากฝ่ายคอมมิวนิสต์แข่งขันในการเผยแพร่และต่อต้านความเชื่อและลัทธิทางการเมืองอย่างหนัก นับแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง และสิ้นสุดลงพร้อมกับความล่มสลายของสหภาพโซเวียต จึงขอเล่าเรื่องราวของทฤษฎีโดมิโนให้ทราบพอสังเขปด้วย บทความนี้

ผลกระทบแบบโดมิโน (Domino effect)

ทฤษฎีโดมิโนเป็นทฤษฎีเกี่ยวกับนโยบายด้านการต่างประเทศ โดยอุปมาขึ้นจากลักษณะของการตั้งเรียงของตัวโดมิโน ซึ่งถ้าตัวโดมิโนตัวแรกล้มลงแล้ว จะทำให้ตัวโดมิโนตัวอื่น ๆ ซึ่งตั้งเรียงถัดมาพลอยล่มด้วยทั้งหมด ทฤษฎีโดมิโนจึงมีความหมายว่า ถ้าประเทศหนึ่งประเทศใดหันไปใช้ระบอบการปกครองแบบคอมมิวนิสต์แล้ว จะส่งผลให้ประเทศรอบข้างก็จะกลายเป็นระบอบการปกครองแบบคอมมิวนิสต์ตามไปด้วย ซึ่งเรียกว่า "ผลกระทบแบบโดมิโน (Domino effect)” 

ทฤษฎีโดมิโนเกิดขึ้นในช่วงปี 1950 ถึง 1980 จากการขยายตัวของลัทธิและระบอบคอมมิวนิสต์ในทวีปยุโรปจากกลุ่มประเทศยุโรปตะวันตกกลายเป็นคอมมิวนิสต์ ส่วนในทวีปเอเชีย เมื่อจีน เกาหลีเหนือ และเวียตนามเหนือกลายเป็นคอมมิวนิสต์ จึงมีความเชื่อว่า ประเทศอื่น ๆ ทีเหลือ เช่น ลาว กัมพูชา เวียตนามใต้ ไทย มาเลเซีย ฯลฯ ที่สุดจะถูกครอบงำโดยระบบคอมมิวนิสต์ตามไปด้วย การล้มของแต่ละตัว “โดมิโน” จึงหมายถึงการล่มสลายของระบอบประชาธิปไตยในแต่ละประเทศ ทั้ง ๆ ที่ประเทศเหล่านั้นอาจไม่ได้มีความเป็นประชาธิปไตยเลยก็ตาม เพียงแต่รัฐบาลของประเทศนั้น ๆ เห็นดีและเห็นด้วยกับนโยบายต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ของสหรัฐอเมริกา 

ประธานาธิบดี Dwight D. Eisenhower

ทฤษฎีโดมิโนได้ถูกใช้โดยรัฐบาลสหรัฐอเมริกาอย่างต่อเนื่องในช่วงสงครามเย็น เพื่อแสดงให้เห็นถึงความจำเป็นในการการแทรกแซงประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกของสหรัฐอเมริกา เริ่มต้นจากประธานาธิบดี Dwight D. Eisenhower อธิบายทฤษฎีโดมิโนเมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2497 ในการแถลงข่าวเมื่อกล่าวถึงลัทธิคอมมิวนิสต์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ว่า “สุดท้ายเรามีข้อพิจารณาที่กว้างขึ้น ซึ่งอาจเป็นไปตามสิ่งที่เราจะเรียกว่า หลักการล้มของตัว "โดมิโน" เมื่อตัวมีโดมิโนที่ตั้งอยู่อันแรกล้มลง และสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับอันสุดท้ายคือความมั่นใจว่า มันจะเกิดขึ้นและผ่านไปอย่างรวดเร็ว ดังนั้นจึงอาจมีจุดเริ่มต้นของการล่มสลายที่จะมีอิทธิพลอย่างลึกซึ้งที่สุด แต่เมื่อเรามาถึงลำดับเหตุการณ์ที่เป็นไปได้ที่จะมีการสูญเสียอินโดจีน พม่า ไทย คาบสมุทรมาลายา (มาเลเซียและสิงคโปร์) และอินโดนีเซีย ตอนนี้เราพูดถึง…ผู้คนนับล้าน ๆ ๆ” 

พลเอก Douglas MacArthur

ยิ่งไปกว่านั้นด้วยความเชื่ออย่างลึกซึ้งของประธานาธิบดี Eisenhower เกี่ยวกับทฤษฎีโดมิโนในเอเชียทำให้เกิด “ต้นทุนการรับรู้ของสหรัฐอเมริกาในการไล่ตามลัทธิพหุภาคี” เนื่องจากเหตุการณ์ในหลายแง่มุมรวมถึง “ชัยชนะของพรรคคอมมิวนิสต์จีนในปี  พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949) การบุกเกาหลีใต้ของเกาหลีเหนือในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2493 (ค.ศ. 1950) วิกฤตการณ์เกาะนอกชายฝั่ง Quemoy ของไต้หวัน ในปี พ.ศ. 2497 (ค.ศ. 1954) และความขัดแย้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งถือเป็นความท้าทายในวงกว้างไม่เพียงแต่เป็นเพียงแค่เรื่องที่เกี่ยวกับประเทศเดียวหรือสองประเทศ แต่เป็นปัญหาของทั้งทวีปเอเชียและภูมิภาคแปซิฟิก” สิ่งนี้สื่อถึงพลังแม่เหล็กที่แข็งแกร่งที่กำลังจะถูกควบคุมโดยคอมมิวนิสต์ ซึ่งสอดคล้องกับคำอธิบายของพลเอก Douglas MacArthur ที่ว่า “ชัยชนะจะเป็นแม่เหล็กที่แข็งแกร่งในตะวันออก” 

ดร. Victor Cha

นอกเหนือจากคำอธิบายของประธานาธิบดี Eisenhower แล้ว ดร. Victor Cha นักวิชาการชาวอเมริกัน อดีตผู้อำนวยการฝ่ายกิจการเอเชียของสภาความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐฯ ยังได้อธิบายทฤษฎีโดมิโนในหนังสือ Powerplay : The Origins of the American Alliance System in Asia ซึ่ง ดร. Cha วิเคราะห์ทฤษฎีโดมิโน โดยอ้างอิงโดยยึดถือเอาภูมิภาคเอเชีย ซึ่งเขาได้ระบุว่า "การล่มสลายของประเทศเล็ก ๆ แห่งหนึ่งในเอเชีย อาจทำให้เกิดเครือข่ายของประเทศที่จะเข้าสู่ลัทธิคอมมิวนิสต์"

แม้ว่า ทฤษฎีโดมิโนจะเกิดในทศวรรษ 1950 แต่ประเทศเสรีตะวันตก มีความหวาดระแวงเกี่ยวกับลัทธิคอมมิวนิสต์ และด้วยวาระของความเป็นคอมมิวนิสต์สากลซึ่งมีมานานแล้ว ในช่วงปลายทศวรรษ 1940 ความหวาดระแวงนี้เริ่มก่อตัวขึ้นเป็นทฤษฎีโดมิโน อันเป็นผลมาจากการขยายตัวของพรรคคอมมิวนิสต์โซเวียต ซึ่งขณะนั้นนำโดย Josef Stalin ไปยังยุโรปตะวันออก และชัยชนะของลัทธิคอมมิวนิสต์ในจีน ผู้นำตะวันตกเชื่อว่า เมื่อลัทธิคอมมิวนิสต์ได้ตั้งหลักในประเทศหนึ่ง เพื่อนบ้านของประเทศจะถูกแทรกซึม บุกรุก และยึดครองโดยคอมมิวนิสต์อย่างรวดเร็ว เหมือนกับกลุ่มโดมิโนที่ยืนเรียงกันล้มลง คนหนึ่งล้มทับคนถัดไปจนทั้งหมดพังทลาย ไม่ชัดเจนว่าใครเป็นคนแรกที่ใช้การเปรียบเทียบของโดมิโนที่ล้มลงหรือเป็นผู้บัญญัติศัพท์ ทฤษฎีโดมิโน แต่การกล่าวถึงต่อสาธารณะครั้งแรกเกิดขึ้นโดยประธานาธิบดี Dwight D. Eisenhower ในสุนทรพจน์เมื่อปี พ.ศ. 2497 ซึ่งอธิบายว่า ทำไมอเมริกาจึงให้ความช่วยเหลือฝรั่งเศสในการต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ในอินโดจีน (เวียดนาม) ตามที่ได้กล่าวแล้วข้างต้น

Josef Stalin ผู้นำของสหภาพโซเวียตตลอดสงครามโลกครั้งที่สองและช่วงต้นของสงครามเย็น

สองฟากฝ่ายในสงครามโลกครั้งที่สอง “สัมพันธมิตร (Allies)” และ “อักษะ (Axis)”

ความกลัวของสหรัฐฯ ซึ่งอาจได้รับอิทธิพลจากเหตุการณ์ในยุโรปในช่วงทศวรรษที่ 1930 จากการที่ประเทศในยุโรปไม่อาจต้านทาน Adolf Hitler ได้ และสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกันที่เกิดขึ้นในเอเชีย ซึ่งการขยายตัวของจักรวรรดิญี่ปุ่นที่แม้แต่จีนก็ไม่สามารถต้านทานได้ จนกระทั่งกลายเป็นการรุกรานของกองทัพญี่ปุ่นไปทั่วทั้งเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งยังมีปัจจัยเพิ่มเติมคือความกังวลที่บางประเทศไม่สามารถต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีการยึดครองในภูมิภาคของตน ในขณะนั้นประเทศในยุโรปส่วนใหญ่เหนื่อยล้า และอ่อนล้าทางเศรษฐกิจหลังจากสงครามอีกหลายปี รัฐบาลอ่อนแอและประชาชนต่างก็ หดหู่ สิ้นหวัง และหิวโหย สิ่งนี้ทำให้ตกเป็นเหยื่อของการแทรกซึมและการโฆษณาชวนเชื่อของคอมมิวนิสต์ได้โดยง่าย

เอเชียอ่อนแอพอ ๆ กับการขยายตัวของคอมมิวนิสต์ รัฐบาลและกองกำลังทหารของประเทศในเอเชียส่วนใหญ่ค่อนข้างอ่อนแอ ประชากรส่วนใหญ่เป็น ชาวไร่ ชาวนา ซึ่งอ่อนไหวต่อการโฆษณาชวนเชื่อ และง่ายต่อการชักจูงให้เป็นแนวร่วมและสมาชิกของพรรคคอมมิวนิสต์ ทั้งขบวนการชาตินิยม และการเคลื่อนไหวเพื่อเอกราชในเอเชียถือเป็น "ที่หลบซ่อน" ในอุดมคติสำหรับผู้แทรกซึมของคอมมิวนิสต์ พรมแดนในเอเชียไม่ได้รับการดูแลอย่างดี และส่วนใหญ่ไม่ปลอดภัย ดังนั้นคอมมิวนิสต์จึงสามารถย้ายเข้าและออกจากประเทศเป้าหมายได้โดยแทบจะไม่มีความยากลำบากเลย ทั้งยังมีความเสี่ยงและความอ่อนแอต่อการรับมือของลัทธิคอมมิวนิสต์ในทวีปแอฟริกาและทวีปอเมริกาใต้

การขยายตัวของจีนทำให้ทฤษฎีโดมิโนได้รับแรงหนุนจากสมมติฐานจากการขยายตัวของจีน นักยุทธศาสตร์ตะวันตกเชื่อว่า สาธารณรัฐประชาชนจีนจะกลายเป็นแนวหน้าในการขยายลัทธิคอมมิวนิสต์ในเอเชีย เช่นเดียวกับที่สหภาพโซเวียตเคยทำในยุโรปตะวันออก เหตุการณ์สงครามเกาหลี (พ.ศ. 2493-2496) ดูเหมือนจะเป็นสนับสนุนความเชื่อนี้ จีนสนับสนุนการรุกรานเกาหลีใต้ของคอมมิวนิสต์เกาหลีเหนือ และขณะเดียวกันปักกิ่งก็ให้การสนับสนุนด้านอาวุธยุทโธปกรณ์และการขนส่งผ่านจากสหภาพโซเวียตแก่ Ho Chin Minh และขบวนการเวียตมินห์ที่เกิดขึ้นในภาคเหนือของเวียดนามอีกด้วย และเมื่อความสามารถทางเศรษฐกิจและการทหารของจีนเพิ่มมากขึ้น ทางตะวันตกเชื่อว่า ปักกิ่งจะขยายลัทธิคอมมิวนิสต์เพื่อสร้างกันชนระหว่างตัวเองและภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้น สิ่งนี้ทำให้หลายประเทศเสี่ยงต่อการรุกรานของคอมมิวนิสต์ ได้แก่ เกาหลีใต้ เวียดนาม ไต้หวัน ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ ไทย พม่า ทิเบต มาลายา สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย

Harry S. Truman, Dwight D. Eisenhower และ John F. Kennedy / Lyndon B. Johnson (ขวา) และ Richard M. Nixon

จากประธานาธิบดี Henry S. Truman จนถึงประธานาธิบดี Richard M. Nixon ต่างก็สนับสนุนทฤษฎีโดมิโน แม้ว่าประธานาธิบดี Truman จะไม่เคยใช้การกล่าวเปรียบเทียบแบบโดมิโน แต่ก็ยอมรับหลักการทั่วไปของทฤษฏีโดมิโน และใช้เป็นพื้นฐานในหลักการของ Truman (Truman doctrine) ประธานาธิบดี John F. Kennedy ได้กล่าวถึงทฤษฎีโดมิโน และบอกใบ้ถึงทฤษฎีนี้ในสุนทรพจน์เปิดตัวโดยเตือนว่า “ความปลอดภัยของเราอาจสูญหายไปทีละประเทศทีละประเทศ” ประธานาธิบดี Lyndon B. Johnson และประธานาธิบดี Richard Nixon ต่างยอมรับว่า ทฤษฎีโดมิโนเป็นความจริง ซึ่งเป็นจุดยืนในการสนับสนุนความต่อเนื่องและการลุกลามของสงครามเวียดนาม ความพ่ายแพ้ราคาแพงของอเมริกันในเวียดนามทำให้ทฤษฎีโดมิโนเป็นกลายเป็นเรื่องที่น่าอดสูอย่างยิ่ง ซึ่งทุกวันนี้ยังคงเป็นประเด็นความคิดที่มีการถกเถียงกันอยู่ทั่วไป โดยผู้คัดค้านจะมีจำนวนมากกว่าผู้สนับสนุน บางคนอ้างว่า ทฤษฎีโดมิโนนั้นถูกต้อง และได้รับการตรวจสอบ โดยการแพร่ขยายของลัทธิคอมมิวนิสต์ในเอเชีย การแทรกแซงของสหรัฐฯ ในภูมิภาคนี้เท่านั้นที่สามารถหยุดความคืบหน้า บ้างก็ว่า ทฤษฎีโดมิโนเป็นแนวคิดที่เรียบง่าย แต่ไม่เข้าใจธรรมชาติที่แท้จริงของขบวนการปฏิวัติในเอเชีย ซึ่งเป็นพวกชาตินิยมและสังคมนิยมมากกว่าคอมมิวนิสต์หัวรุนแรง

แนวคิดของทฤษฎีโดมิโนในระหว่างสงครามเย็น

1.) ทฤษฎีโดมิโนเป็นความเชื่อที่ว่า ลัทธิคอมมิวนิสต์จะแพร่กระจายจากประเทศหนึ่งไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เปรียบเหมือนตัวโดมิโนที่ล้มลงไล่เรียงต่อกันไป และเริ่มเป็นที่รู้จักและใช้อ้างอิงในการต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ตั้งแต่ช่วงต้นทศวรรษ 1950 กระทั่งสงครามเย็นสิ้นสุด

2.) ทฤษฎีดังกล่าวเกิดจากอุดมการณ์ของ Vladimir Lenin ผู้ซึ่งเรียกร้องให้มี “การปฏิวัติระหว่างประเทศ” และพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียตจะเป็นแกนในการสนับสนุนการปฏิวัติของกลุ่มคอมมิวนิสต์ในต่างประเทศ

3.) การใช้การเปรียบเทียบแบบโดมิโนครั้งแรกเกิดขึ้นโดยประธานาธิบดีสหรัฐฯ Dwight D. Eisenhower ซึ่งเตือนว่า ลัทธิคอมมิวนิสต์สามารถแพร่กระจายไปทั่วเอเชีย และเข้าควบคุมครอบงำผู้คนนับล้าน ๆ ได้

4.) ประเทศในเอเชียถูกมองว่า มีความอ่อนแอต่อการรับมือกับลัทธิคอมมิวนิสต์เป็นพิเศษ ด้วยรัฐบาลและกองทัพอ่อนแอ สังคมไร้การศึกษา และพรมแดนของประเทศเหล่านี้ไม่มีความมั่นคงแข็งแกร่ง

5.) ทฤษฎีโดมิโน ได้รับการยอมรับว่าเป็นความจริง โดยประธานาธิบดีสหรัฐฯหลายท่าน ด้วยความเชื่อจากการขยายตัวของลัทธิคอมมิวนิสต์ ซึ่งสนับสนุนต่อหลักการของ Truman รวมถึงองค์ประกอบอื่น ๆ ตามนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา

หลักการ Truman (Truman doctrine)

นายพล Lon Nol / เจ้าสุวรรณภูมา / นายพล Dương Văn Minh

หลังจากการล่มสลายของรัฐบาลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่สหรัฐฯให้การสนับสนุนซึ่งพ่ายแพ้แก้ฝ่ายคอมมิวนิสต์ อันได้แก่ รัฐบาลสาธารณรัฐกัมพูชานำโดยนายพล Lon Nol เมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2518 ต่อกองกำลังเขมรแดง รัฐบาลสาธารณรัฐเวียตนามนำโดยนายพล Dương Văn Minh เมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2518 ต่อกองทัพปลดปล่อยประชาชนเวียตนามและกองลำลังเวียตกง และรัฐบาลราชอาณาจักรลาวนำโดย เจ้าสุวรรณภูมา เมื่อ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2518 ต่อกองกำลังของขบวนการปลดปล่อยประเทศลาว ทั่วทั้งโลกต่างจับจ้องมายังราชอาณาจักรไทย ซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านของทั้งลาวและกัมพูชา และเวียดนามก็อยู่ถัดไปจากทั้งสองประเทศดังกล่าว ยิ่งไปกว่านั้นแล้วรัฐบาลไทยยังอนุญาตให้กองทัพสหรัฐฯ ใช้ฐานทัพในประเทศส่งเครื่องบินรบไปทิ้งระเบิดทำลาย สร้างความเสียหายแก่ทั้งสามประเทศดังกล่าวมากมายจนเหลือคณานับ

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและพระบรมวงศานุวงศ์ทรงงานเพื่อพสกนิกรอย่างหนัก

และไทยเองยังคงมีปัญหาความไม่สงบในประเทศจากการต่อสู้ระหว่างรัฐบาลและกองกำลังติดอาวุธของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยในแทบทุกภาคของประเทศนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2508 พอปี 2518 เมื่อกัมพูชาถูกเขมรแดงยึดครอง และเวียตนามใต้ก็พ่ายแพ้แก่เวียตนามเหนือและเวียตกง ผู้สังเกตการณ์ต่างชาติจำนวนหนึ่งคิดว่าไทยจะต้องกลายเป็นคอมมิวนิสต์ตามทฤษฏีโดมิโน แต่คนไทยมีชื่อเสียงในด้านการโอนอ่อนไปตามลมที่พัดผ่าน เช่นเดียวกับไม้ไผ่ที่จะไม่แตก และจะโค้งงอลู่ไปตามแรงของลมพายุ นักธุรกิจต่างชาติบางคนคิดว่า ประเทศไทยอยู่ในช่วงเวลาที่เลวร้ายถึงขนาดยอมขายบริษัทของตนในราคาที่ถูกมาก การลงทุนของต่างชาติในไทยซึ่งเป็นศูนย์กลางทางภูมิรัฐศาสตร์ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ลดลง ชาวอเมริกันเคยได้รับการบอกเล่าจากเหล่าบรรดาผู้นำของตนว่า ประเทศไทยจะล่มสลายหากเพื่อนบ้านในอินโดจีนกลายเป็นคอมมิวนิสต์ 

โดยที่ผู้นำอเมริกันได้ยืนยันซ้ำแล้วซ้ำเล่าในช่วงสงครามเวียดนามว่า จีนอยู่เบื้องหลังเวียดนามเหนือ และเรียกร้องให้ทำสงครามต่อไป ดังที่ Lyndon B. Johnson แถลงที่มหาวิทยาลัย John Hopkins ในปี พ.ศ. 2508 ว่า หากจีนและเวียดนามเหนือชนะในเวียดนามใต้ ''การต่อสู้จะเกิดขึ้นใหม่ในประเทศหนึ่งและจากนั้นอีกประเทศหนึ่ง” ทำให้ขณะนั้นเกิดปรากฏการณ์ “ฝันร้ายเกิดซ้ำในทุกวันของทั้งนักลงทุนต่างชาติและเหล่าคหบดีชาวไทยคือ พวกเขาอาจจะต้องต่อสู้แย่งกันเพื่อที่จะขึ้นเฮลิคอปเตอร์อพยพเที่ยวสุดท้ายที่ออกจากกรุงเทพฯ'' Jeffrey Race, นักวิชาการชาวอเมริกัน จาก Institute of Current World Affairs กล่าวในเดือนเมษายน พ.ศ. 2519 แต่เขาคาดว่าเรื่องเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้นในประเทศไทย ซึ่งเขาคาดการณ์ได้ถูกต้อง 

ฐานที่มั่นของกองกำลังติดอาวุธพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย

การที่ไทยไม่เป็นโดมิโนตัวต่อไป อันเนื่องปัจจัยภายในประเทศดังนี้ : 
(1) เพราะการทรงงานเพื่อพสกนิกรอย่างหนักในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและพระบรมวงศานุวงศ์ “ด้วยในแผ่นดินประเทศไทยนี้ไม่มีจังหวัดใด อำเภอไหน ที่ไม่เคยเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมเยือนอาณาประชาราษฎร์ของพระองค์” การเสด็จฯ เยี่ยมราษฎรทุกเชื้อชาติศาสนา ถือเป็นพระบรมราโชบายที่จะได้ทรงทำความรู้จักกับราษฎร ทรงรับฟังความทุกข์ และทอดพระเนตรสภาพปัญหาที่แท้จริงของราษฎรด้วยพระองค์เอง และเมื่อทรงทราบถึงปัญหาแล้วจะพระราชทานความช่วยเหลือ ทั้งพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ หรือพระราชทานพระราชดำริถึงวิธีแก้ปัญหา บางปัญหาทรงทดลองหาทางแก้ไขด้วยพระองค์เอง ก่อนจะพระราชทานเป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในด้านต่างๆ 

(2) การต่อสู้ระหว่างรัฐบาลและกองกำลังติดอาวุธของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยในแทบทุกภาคของประเทศ ต่างฝ่ายต่างไม่ยอมให้กองกำลังต่างชาติเข้ามายุ่งเกี่ยวหรือมีบทบาทในการสู้รบ กองทัพไทยได้รับความช่วยเหลือด้านอาวุธยุทโธปกรณ์ และการฝึกฝนอบรมจากรัฐบาลสหรัฐฯ เป็นสมาชิกองค์การสนธิสัญญาป้องกันภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEATO) แต่ไม่อนุญาตหรือยินยอมให้กองทหารหรือเจ้าหน้าที่ต่างชาติใด ๆ เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในปฏิบัติการต่อต้านความไม่สงบในประเทศเลย เช่นเดียวกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยก็ได้รับความช่วยเหลือด้านอาวุธยุทโธปกรณ์ปละการฝึกฝนอบรมจากพรรคคอมมิวนิสต์ต่างชาติ แต่ก็ไม่ยินยอมให้กองกำลังต่างชาติเข้ามายุ่งเกี่ยวกับการสู้รบกับรัฐบาลไทยด้วยเช่นกัน 

(3) คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 66/2523 เรื่อง “นโยบายการต่อสู้เพื่อเอาชนะคอมมิวนิสต์” คำสั่งนี้ได้วางแนวปฏิบัติสำหรับเจ้าหน้าที่ปฏิบัติต่อผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์หรือผู้หลงผิดที่เข้ามอบตัว หรือที่จับได้ อย่างเพื่อนประชาชนร่วมชาติ โดยไม่มีการดำเนินคดีย้อนหลัง ยกเว้นบางคนที่มีคดีอาญาร้ายแรง รวมทั้ง ช่วยเหลือให้ใช้ชีวิตใหม่ร่วมกันต่อไปในสังคมอย่างเหมาะสม อันเป็นแนวคิดของ พล.ต.เปรม (พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ อดีต นายกรัฐมนตรี ประธานองคมนตรี และรัฐบุรุษ) ตั้งแต่เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเป็นรองแม่ทัพภาคที่ 2 ต่อมาได้รับพระราชทานเลื่อนยศเป็น พล.ท. เป็นแม่ทัพภาคที่ 2 ระหว่างปี พ.ศ. 2517-2520 และต้องเผชิญสงครามแย่งชิงมวลชนกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย เมื่อท่านเป็นแม่ทัพภาคที่ 2 พล.อ.เปรม และคณะทำงานคือ พล.ต.ปฐม เสริมสิน, พ.อ.หาญ ลีนานนท์, พ.อ.เลิศ กนิษฐะนาคะ เริ่มตระหนักว่าวิธีการปราบปรามอย่างเดียวไม่น่าจะได้ผล เพราะชาวบ้านก็ไม่ไว้ใจเจ้าหน้าที่ จำเป็นต้องใช้วิธีต่อสู้ทางความคิด และดึงเอาประชาชนมาเป็นฝ่ายเดียวกับราชการ เดือนมีนาคม พ.ศ. 2523 พล.อ.เปรม ได้รับแต่งตั้งจากรัฐสภาให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พร้อมกับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก หลังจากนั้น 1 เดือน ในวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2523 จึงมีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 66/2523 หลังจากนั้นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์และมวลชนที่เข้าป่าไปจับปืนต่อสู้ทยอยเดินทางออกจากป่าในฐานะผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย ประเทศไทยจึงรอดพ้นจากการยึดครองของลัทธิคอมมิวนิสต์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการหยุดทฤษฎีโดมิโนไปอย่างถาวร

พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ อดีต นายกรัฐมนตรี ประธานองคมนตรี และรัฐบุรุษ ผู้ริเริ่มคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 66/2523 เรื่อง “นโยบายการต่อสู้เพื่อเอาชนะคอมมิวนิสต์”

กองกำลังเวียดนามในกัมพูชา

ไม่พียงแต่ปัญหาอันเป็นปัจจัยภายในที่ได้กล่าวมาเท่านั้น ยังมีปัจจัยภายนอกซึ่งเป็นปัญหาที่ใหญ่หลวงที่ไทยต้องประสบพบเจอคือ แผนตัดขาดและยึดภาคอีสานของไทยตามยุทธการตัว L (L Operation) และรวมภาคอีสานของไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม เป็นสหพันธ์อินโดจีน โดยมีเวียดนามเป็นผู้นำ โดยมีลักษณะภูมิประเทศรูปตัวแอลใหญ่ (L) คือพื้นที่ป่าภูเขาบริเวณรอยต่อจังหวัดพิษณุโลก จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดเลย ทอดตัวยาวลงมาทางใต้ตามแนวเทือกเขาเพชรบูรณ์ มาบรรจบกันบริเวณเขาใหญ่ บริเวณรอยต่อ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดนครนายก และจังหวัดสระบุรี ซึ่งทอดตัวยาวมาจากทิศตะวันตก ตั้งแต่จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดบุรีรัมย์ ตามแนวเทือกเขาพนมดงรัก เขาบรรทัด เขากำแพง และบรรจบกันที่เขาใหญ่ อ.ปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา 

ซึ่งต่อมากำลังทหารเวียดนามบุกเข้ากัมพูชาเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2521 เพื่อล้มล้างระบอบเขมรแดง กำลังทหารกัมพูชาส่วนใหญ่ได้อพยพมาอยู่ทางด้านตะวันตกและตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศที่ติดกับชายแดนไทย โดยมีกลุ่มชาวกัมพูชาที่ต่อต้านการยึดครองของเวียดนามอยู่ 3 กลุ่ม คือ กลุ่มกัมพูชาประชาธิปไตย (Democratic Kampuchea) หรือกลุ่มเขมรแดงของ พล พต และ เขียว สัมพันธ์ มีสมาชิกประมาณ 40,000 คน มีฐานที่ตั้งอยู่บริเวณพนมกระวันและบริเวณตะวันตกของจังหวัดพระตะบอง กลุ่มแนวร่วมปลดแอกแห่งชาติของประชาชนเขมร (Khmer People’s National Liberation Front - KPNLE) ภายใต้การนำของซอนซาน มีสมาชิกประมาณ 4,000-12,000 คน และกลุ่มแนวร่วมแห่งชาติเพื่อเอกราช ความเป็นกลาง และสันติภาพในกัมพูชา (Front d"union national pour un Cambodge independant, pacifiaue et cooperatif : FUNCINPEC) ภายใต้การนำของสมเด็จนโรดม สีหนุ การที่กลุ่มต่อต้านทั้งสามกลุ่มนี้มีฐานกองกำลังใกล้กับชายแดนไทยเพื่อเป็นง่ายต่อการหลบหนีเมื่อกำลังเวียดนามบุกเข้ามา กำลังกัมพูชาก็หลบหลีกเข้าสู่ดินแดนไทย ในการนี้เวียดนามเห็นว่าไทยยินยอมให้ชาวกัมพูชาฝ่ายต่อต้าน ใช้พื้นที่เป็นที่หลบหนีและคุ้มกันการโจมตีของกำลังเวียดนามและกำลังของ เฮง สัมริน 

ขณะนั้นกองทัพไทยเมื่อเปรียบเทียบกับเวียดนามแล้วนั้นถือได้ว่าเทียบกันไม่ติด ในขณะนั้นมีการจัดอันดับความเข้มแข็งทางทหารของเวียดนามว่า อยู่ในอันดับที่ 4 ของโลก ในขณะที่กองทัพไทยไม่ติดอันดับหนึ่งในยี่สิบเลย เนื่องจากกองกำลังทางทหารของฝ่ายไทยไม่เคยผ่านการรบมาก่อนหรือถ้าผ่านก็เป็นการรบแบบสมัยใหม่ ซึ่งมีแนวการรบแบบสหรัฐอเมริกาอันแตกต่างกับเวียดนามซึ่งกองกำลังของเวียดนามมีทักษะในการรบที่ดีกว่าและรู้วิธีการรบแบบกองโจร 

นอกจากนี้ทหารของเวียดนามก็ยังมีประสบการณ์รบจากสงครามเวียดนาม ขณะที่เวียดนามบุกกัมพูชานั้น กองกำลังทางทหารของเวียดนามมีจำนวนมากถึง 875,000 คน โดยที่ยังไม่รวมกำลังทหารของฝ่ายเฮง สัมริน ที่ไม่ทราบจำนวนที่แน่นอน ด้วยการรบทั้งแบบกองโจรและการรบแบบสมัยใหม่ ขณะที่ฝ่ายไทยนั้นมีประสบการณ์เพียงเรื่องการปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ และมีกำลังทหารที่ผ่านสงครามในลาวและเวียดนาม ซึ่งชำนาญการรบตามหลักนิยมของกองทัพสหรัฐอเมริกา ซึ่งต้องมีอำนาจการยิงที่เหนือกว่าจึงจะทำการรบได้ นอกจากนี้เวียดนามยังมีอาวุธยุทโธปกรณ์ที่เหลือจากสงครามเวียตนามอยู่มาก รวมทั้งในระหว่างปี พ.ศ. 2521 - 2531 นี้เวียดนามได้รับความช่วยเหลือทางทหารจากสหภาพโซเวียตเป็นจำนวนมหาศาล เพื่อพัฒนากองทัพให้ทันสมัยและเพื่อการปราบปรามฝ่ายต่อต้านในการกัมพูชา จึงกล่าวได้ว่า ขณะนั้นไทยมีขีดความสามารถที่ด้อยกว่าเวียดนามอยู่มาก

การคงอยู่ในกัมพูชาของกองกำลังเวียดนามในช่วงเวลาระหว่างปี พ.ศ. 2522–2532 ถือเป็นช่วงวิกฤตของไทยเลยทีเดียว การจัดการกับปัจจัยภายนอกในกรณีนี้ รัฐบาลไทยโดยกระทรวงต่างประเทศได้ทำงานอย่างหนักและได้ผล ด้วยการ 

(1) ใช้สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) ดำเนินการกดดันเวียดนามในกรณีนี้ในทุกเวทีนานาชาติ ซึ่งประสบผลสำเร็จโดยเวียดนามถูกโดดเดี่ยวในทางการเมืองและเศรษฐกิจ 

(2) ใช้ความสัมพันธ์กับประเทศมหาอำนาจที่เป็นคู่ขัดแย้งกับเวียดนามเช่น จีนดำเนินการกดดันเวียดนาม และยอมให้จีนส่งอาวุธยุทโธปกรณ์ผ่านไทยไปสนับสนุนกองกำลังกัมพูชาที่ต่อต้านเวียดนาม (รวมทั้งเขมรแดง) 

(3) สหประชาชาติยังคงให้การรับรองรัฐบาลเขมรสามฝ่าย ซึ่งเป็นฟากฝ่ายที่ต่อต้านเวียดนาม ประกอบกับนโยบายของนานาชาติเกี่ยวกับกัมพูชาส่งผลต่อเศรษฐกิจของเวียดนาม สหรัฐประกาศคว่ำบาตรเวียดนาม และมีหลายประเทศในสหประชาชาติไม่รับรองเวียดนามและสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชา และมีการปฏิเสธสมาชิกภาพขององค์กรระดับนานาชาติ เช่น ธนาคารโลก ธนาคารพัฒนาเอเชีย และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ใน พ.ศ. 2522 ญี่ปุ่นได้กดดันโดยลดความช่วยเหลือต่อเวียดนาม ความขัดแย้งระหว่างจีนกับสหภาพโซเวียต และปัญหาเรือมนุษย์ ทำให้สวีเดนที่เคยสนับสนุนเวียดนามถอนการรับรองด้วย การโดดเดี่ยวในระดับนานาชาติ และปัญหาทางเศรษฐกิจทำให้เวียดนามต้องพึ่งสหภาพโซเวียตมากขึ้น 

โดยเฉพาะหลังจากการทำสงครามกับจีนใน พ.ศ. 2522 สหภาพโซเวียตให้ความช่วยเหลือเวียดนาม 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และสูงที่สุดใน พ.ศ. 2524 – 2528 ใน พ.ศ. 2529 สหภาพโซเวียตประกาศลดความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจต่อเวียดนามลง 20% และลดความช่วยเหลือทางทหารลง 1 ใน 3 ต่อมา ในวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2531 คณะกรรมการโปลิตบูโรของเวียดนามได้ปรับนโยบายการต่างประเทศโดยจะเปิดประเทศรับการลงทุนและความช่วยเหลือจากต่างชาติ เวียดนามยุติการประณามสหรัฐอเมริกา จีน อาเซียน และเริ่มมีการถอนทหารออกจากกัมพูชาโดยลำดับ รัฐบาลเวียดนามได้ลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพเมื่อ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2534 เพื่อฟื้นฟูสันติภาพในกัมพูชา เวียดนามและจีนได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2533 การสิ้นสุดความขัดแย้งในกัมพูชา ทำให้ประเทศในอินโดจีนได้แก่ ลาว และกัมพูชา เข้าร่วมกับอาเซียน ในช่วง พ.ศ. 2534 – 2535 เวียดนามได้ฟื้นฟูความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศสมาชิกอาเซียน และการลงทุนของประเทศสมาชิกอาเซียนในเวียดนามระหว่าง พ.ศ. 2534 – 2537 คิดเป็น 15% ของการลงทุนของต่างชาติในเวียดนาม 

ต่อมาในวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 เวียดนามได้เข้าเป็นสมาชิกอันดับที่ 7 ของอาเซียนอย่างเป็นทางการ ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2538 เวียดนามได้ประกาศยกระดับจากตัวแทนจากเป็นสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาหลังจากที่มีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระดับปกติต่อกันตั้งแต่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 รวมทั้งการเข้าร่วมองค์การการค้าโลกเมื่อปี พ.ศ. 2550 และการเข้าร่วมลงนามความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 ทำให้การโดดเดี่ยวเวียดนามออกจากสังคมโลกสิ้นสุดลง และทฤษฎีโดมิโน ซึ่งว่าด้วยความเชื่อที่ว่า ลัทธิคอมมิวนิสต์จะครองโลก หยุดลงที่ราชอาราจักรไทยโดยสิ้นเชิง


โปรเด็ด! เทหมดตัว มาสด้า 2 และ นิสสันอัลเมร่า ทักเลย! ตอบไว! แอดเลย @TheShopsTimes 
คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

Operation Ranch Hand ปฏิบัติการ ‘ฝนเหลือง’ อาวุธเคมีของกองทัพสหรัฐฯ สู่สมรภูมิในเวียดนามใต้ ที่มากที่สุดในโลก    

สงครามเวียดนาม แม้จะจบลงไปแล้ว 46 ปีก็ตาม แต่เรื่องราวต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องไม่ได้จบตามไปด้วย ยกตัวอย่างเช่นเรื่องที่จะเล่าในครั้งนี้ คือ เรื่องของ “ฝนเหลือง (Agent Orange)” ซึ่งเป็นสารเคมีที่กองทัพสหรัฐฯ นำมาใช้ในสงครามเวียดนามด้วย และยังคงส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ของเวียดนามจนทุกวันนี้ ด้วยมีผู้เขียนเรื่องราวเกี่ยวกับฝนเหลืองมากมาย จึงขอเขียนเรื่องราวโดยรวมและประเด็นที่เกี่ยวข้องกับบ้านเราครับ

ฝนเหลือง (Agent Orange) เป็นสารกำจัดวัชพืชที่มีความเข้มข้นสูงที่กองกำลังสหรัฐฯ ใช้ในช่วงสงครามเวียดนามเพื่อกำจัด ต้นไม้ และวัชพืช ซึ่งปกคลุมป่า อันเป็นที่ซ่อนและซ่องสุมกำลังของกองกำลังเวียดนามเหนือและเวียดกง โดยมีชื่อรหัสปฏิบัติการว่า Operation Ranch Hand กองกำลังสหรัฐฯ ได้โปรยพ่นสารเคมีกำจัดวัชพืชหลายชนิดมากกว่า 20 ล้านแกลลอนทางอากาศใน เวียดนามใต้ กัมพูชา และลาว ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2504 ถึง พ.ศ. 2514

Agent Orange ซึ่งมีสารเคมีประเภท Dioxin ซึ่งมีความร้ายแรง และเป็นสารกำจัดวัชพืชที่ใช้กันมากที่สุด ในเวลาต่อมาได้รับการพิสูจน์แล้วว่าก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรง ซึ่งรวมถึง โรคมะเร็ง ความพิการ และปัญหาทางด้านจิตใจและระบบประสาทที่รุนแรงในหมู่ชาวเวียดนาม รวมถึงในกลุ่มทหารที่กลับมาสหรัฐฯ รวมถึงครอบครัวของทหารเหล่านั้นด้วย

ถังบรรจุ Agent Orange

สารกำจัดวัชพืชที่ใช้โปรยพ่น มีความเข้มข้นสูงกว่าที่ใช้ในการเกษตรทั่วไปถึงราว 50 เท่า สารกำจัดวัชพืชที่ใช้บ่อยที่สุดคือ Herbicide Orange หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า Agent Orange เป็นส่วนผสม 50 : 50 ของสารเคมีกำจัดวัชพืช 2 ชนิด 2,4 -D (2,4-Dichlorophenoxyacetic acid) และ 2,4,5-T (2,4,5-Trichlorophenoxyacetic acid) ผลิตตามคำสั่งของกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกา โดย Monsanto Corporation และ Dow Chemical เป็นหลัก สารกำจัดวัชพืชใน Operation Ranch Hand ใช้การกำหนดด้วยรหัสสี และที่พบมากที่สุดคือ Agent Blue (กรด Cacodylic) ซึ่งส่วนใหญ่ใช้กับพืชอาหาร และ Agent White ซึ่งมักใช้เมื่อ Agent Orange ไม่พร้อมใช้งาน

แผนที่แสดงเส้นทางการบินโปรยพ่น Agent Orange

Operation Ranch Hand เป็นปฏิบัติการทางทหารของสหรัฐฯโดยการโปรยสารกำจัดวัชพืชทางอากาศในช่วงสงครามเวียดนาม ซึ่งยาวนานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2504 (ค.ศ. 1961) ถึง พ.ศ. 2514 (ค.ศ. 1971) โดยได้รับแนวคิดจากการที่กองทัพอังกฤษใช้สาร 2,4,5-T และ 2,4-D (Agent Orange) ในช่วงภาวะฉุกเฉินในมาลายาในปี พ.ศ. 2493 (ค.ศ. 1950) เป็นส่วนหนึ่งของโครงการสงครามกำจัดวัชพืชโดยรวมในช่วงสงครามที่เรียกว่า "Operation Trail Dust" เป็นการฉีดพ่นสารเคมีกำจัดวัชพืชประมาณ 20 ล้านแกลลอน (76,000 ลบ.ม.) ในพื้นที่ชนบทของเวียดนามใต้ เพื่อพยายามกำจัดแหล่งอาหารและพืชผลของเวียดกง รวมทั้งพื้นที่ในลาว และกัมพูชา ก็ถูกพ่นด้วยในปริมาณที่น้อยกว่า มีการบินโปรยสารเกือบ 20,000 เที่ยว ในช่วงสิบปีของการบินโปรยพ่นในพื้นที่ป่ากว่า 5 ล้านเอเคอร์ (20,000 ตร.กม.) และไร่นาอีก 500,000 เอเคอร์ (2,000 ตร.กม. ) ซึ่งได้รับความเสียหาย หรือถูกทำลายอย่างหนัก ป่าไม้ของเวียดนามใต้ราว 20% ถูกโปรยพ่นอย่างน้อยหนึ่งครั้ง

หมู่บินของเครื่องบินลำเลียงแบบ C-123 นามเรียกขานว่า "Hades" ขณะทำการบินโปรยพ่น Agent Orange

สารเคมีกำจัดวัชพืชถูกโปรยพ่นโดยกองทัพอากาศสหรัฐฯ ที่ด้วยเครื่องบินลำเลียงแบบ C-123 โดยใช้นามเรียกขานว่า "Hades" เครื่องบินจะติดตั้งถังสเปรย์ที่พัฒนาขึ้นเป็นพิเศษ ซึ่งมีความจุสารเคมีกำจัดวัชพืช 1,000 แกลลอน (4 ลบ.ม.) เครื่องบินลำหนึ่งพ่นพื้นที่กว้าง 80 เมตร และยาว 16 กิโลเมตร (10 ไมล์) ในเวลาประมาณ 4½ นาทีในอัตรา 3 แกลลอนสหรัฐฯ (3.785 ลิตร) ต่อเอเคอร์ (3 ลบ.ม. / ตร.กม. ) การบินเรียงลำดับประกอบด้วยเครื่องบินสามถึงห้าลำที่บินเคียงกัน 95% ของสารเคมีกำจัดวัชพืชที่ใช้ในสงครามถูกฉีดพ่นโดยกองทัพอากาศสหรัฐฯซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Operation Ranch Hand ส่วนที่เหลืออีก 5% ได้รับการฉีดพ่นโดย US Chemical Corps และกองทัพสาธารณรัฐเวียดนาม โดยใช้เครื่องพ่นสารเคมี รถสเปรย์ เฮลิคอปเตอร์ และเรือ โดยส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ปฏิบัติงานทางทหารของสหรัฐฯ

หมู่บินของเครื่องบินลำเลียงแบบ C-123 นามเรียกขานว่า "Hades" ขณะทำการบินโปรยพ่น Agent Orange

Operation Ranch Hand หน่วยปฏิบัติตั้งอยู่ที่ฐานทัพอากาศ Bien Hoa (พ.ศ. 2509-2513) สำหรับปฏิบัติการในภูมิภาคสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงบริเวณที่เรือลาดตระเวนของกองทัพเรือสหรัฐฯ เสี่ยงต่อการถูกโจมตีจากพื้นที่พงป่าริมฝั่งน้ำ พื้นที่จัดเก็บ การผสม การบรรทุก และการล้างทำความสะอาด และทางลาดจอดรถตั้งอยู่ไม่ไกลจากฐานด้านในของทางเดินระหว่างทางระบายสินค้าและหอบังคับการบิน 

สำหรับการปฏิบัติการตามชายฝั่งตอนกลาง และพื้นที่เส้นทางโฮจิมินห์ (Ho Chin Minh Trail) Operation Ranch Hand ได้ปฏิบัติการจากฐานทัพอากาศ Da Nang (พ.ศ. 2507–2514) ส่วนฐานปฏิบัติการอื่น ๆ ได้แก่ ฐานทัพอากาศ PhùCát (พ.ศ. 2511-2513) ฐานทัพอากาศ Tan Son Nhut (พ.ศ. 2505–2509) ฐานทัพอากาศ Nha Trang (พ.ศ. 2511–2512) ฐานทัพอากาศ Phan Rang (พ.ศ. 2513–2515) และฐานทัพอากาศ Tuy Hoa (พ.ศ. 2514–2515) ฐานทัพอากาศอื่น ๆ ยังใช้เป็นพื้นที่ปฏิบัติการชั่วคราว สำหรับ Operation Ranch Hand ฐานทัพอากาศ Da Nang, Bien Hoa และ Phu Cat ยังคงมีการปนเปื้อนสารเคมีประเภท Dioxin จากสารเคมีกำจัดวัชพืชอย่างมาก และได้รับการจัดให้อยู่ในลำดับความสำคัญในการกันเขต และการทำความสะอาดโดยรัฐบาลเวียดนามจนปัจจุบัน

การโปรยพ่นสารเคมีกำจัดวัชพืชทางอากาศครั้งแรก เป็นการทดลองในวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2504 ในหมู่บ้านทางเหนือของอำเภอ Đắk Tô (เขตชนบทของจังหวัด Kon Tum ในภาคกลางของเวียดนาม) ด้วยสารเคมีกำจัดใบไม้ การทดสอบยังคงดำเนินต่อไปในปีต่อมา และแม้ว่าจะมีข้อสงสัยของกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงกลาโหม และทำเนียบขาวเกี่ยวกับประสิทธิภาพของสารเคมีกำจัดวัชพืช แต่ Operation Ranch Hand ก็เริ่มขึ้นในต้นปี พ.ศ. 2505 การบินโปรยพ่นจะต้องได้รับการอนุมัติจากประธานาธิบดี John F. Kennedy จนถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2505 เมื่อประธานาธิบดี Kennedy ให้อำนาจในการอนุมัติการโปรยพ่นส่วนใหญ่ไปยังหน่วยความช่วยเหลือทางทหาร กองบัญชาการทหารสหรัฐฯในเวียดนาม และเอกอัครราชทูตสหรัฐประจำเวียดนามใต้ Operation Ranch Hand ได้รับการอนุมัติขั้นสุดท้ายให้ทำการบินโปรยพ่นเป้าหมายในลาวทางตะวันออกในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2508 

Dean Rusk รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ กับประธานาธิบดี John F. Kennedy

ประเด็นที่จะอนุญาตให้ทำลายพืชผลได้หรือไม่นั้น มีการถกเถียงกันอย่างหนักเนื่องจากอาจละเมิดพิธีสารเจนีวา (Geneva Protocol) อย่างไรก็ตามเจ้าหน้าที่อเมริกันชี้ให้เห็นว่า ก่อนหน้านี้อังกฤษเคยใช้ 2,4,5-T และ 2,4-D (แทบจะเหมือนกับที่กองทัพอเมริกันใช้ในเวียดนาม) ในปริมาณมากตลอดช่วงสถานการณ์ฉุกเฉินมาลายาในทศวรรษ 1950 เพื่อทำลายพุ่มไม้, พืชผล, และต้นไม้ เพื่อพยายามที่จะปราบปรามผู้ก่อความไม่สงบคอมมิวนิสต์ด้วยการทำลายที่กำบังที่ใช้ซุ่มโจมตีขบวนรถที่ผ่านมา 

รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ Dean Rusk กล่าวกับประธานาธิบดี Kennedy เมื่อ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2504 ว่า “การใช้ยาละลายน้ำแข็งไม่ได้ละเมิดหลักกฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการทำสงครามเคมี และเป็นยุทธวิธีในการทำสงครามที่ได้รับการยอมรับ โดยอังกฤษในช่วงภาวะฉุกเฉินในแหลมมลายูโดยการใช้เครื่องบินด้วยการโปรยพ่นสารเคมีทำลายพืชผล

Ngo Dinh Diem ประธานาธิบดีเวียดนามใต้ เริ่มผลักดันให้เหล่าที่ปรึกษาทางทหารสหรัฐฯประจำเวียดนามใต้และทำเนียบขาว เริ่มทำการทำลายล้างการเพาะปลูกในเดือนกันยายน พ.ศ. 2504 แต่ยังไม่ถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2505 ทำเนียบขาวให้การอนุมัติสำหรับการทดสอบ Agent Blue กับพืชผลในพื้นที่ซึ่งเชื่อว่าถูกควบคุมโดยเวียดกง หลังจากนั้นไม่นานการโปรยพ่นสารเคมีทำลายพืชผลก็กลายเป็นส่วนสำคัญของ Operation Ranch Hand

เฮลิคอปเตอร์ติดอาวุธขณะโปรยพ่น Agent Orange

เป้าหมายสำหรับการฉีดพ่น ได้รับการคัดเลือกมาอย่างดีเพื่อตอบสนองเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ และปฏิบัติการทางจิตวิทยาของกองทัพสหรัฐฯ และเวียดนามใต้ มีการสำรวจเพื่อระบุพื้นที่เป้าหมาย จากนั้นจัดวางรายการลำดับความสำคัญ เนื่องจากระดับความสูงที่ต่ำ (150 ฟุต (46 ม.) จำเป็นสำหรับการบินโปรยพ่นของเครื่องบินลำเลียงแบบ C-123 จึงถูกนำมาโปรยพ่นโดยเครื่องบิน หรือเฮลิคอปเตอร์ติดอาวุธ เพื่อที่จะกราดยิงหรือทิ้งระเบิดในพื้นที่เป้าหมายเพื่อให้เกิดการทำลายเป้าหมายบนภาคพื้นดิน หากพื้นที่นั้น ๆ ซึ่งเชื่อกันว่า เป็น 'เป้าหมายที่มีความเร่งด่วน' มีการวางแผนการบินโปรยพ่นเพื่อให้สามารถบินเป็นเส้นตรงได้มากที่สุด เพื่อจำกัดระยะเวลาที่เครื่องบินซึ่งต้องบินในระดับความต่ำ ข้อมูลเกี่ยวกับการบินโปรยพ่น เป้าหมาย สารกำจัดวัชพืชที่ใช้ และปริมาณที่ใช้ สภาพอากาศ และรายละเอียดอื่น ๆ ได้รับการบันทึก และนำไปเก็บไว้ในฐานข้อมูลที่เรียกว่า แถบบันทึก Herbicide Reporting System (HERBS)

สภาพป่าโกงกางที่ถูกโปรยพ่นด้วย Agent Orange

ประสิทธิผลของการบินโปรยพ่นมาจากองค์ประกอบหลายปัจจัยรวมทั้ง สภาพอากาศ และภูมิประเทศ การบินโปรยพ่นเกิดขึ้นในช่วงเช้าตรู่ก่อนที่อุณหภูมิจะสูงกว่า 85 องศา และลมพัดแรง ป่าโกงกางในพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำต้องการการบินโปรยพ่นเพียงครั้งเดียว และไม่สามารถอยู่รอดได้เมื่อมีการผลัดใบ ในขณะที่ป่าทึบในพื้นที่สูงต้องใช้การบินโปรยพ่นอย่างน้อยสองครั้ง ภายในสองถึงสามสัปดาห์ของการบินโปรยพ่น ใบจะร่วงหล่นจากต้นไม้ ซึ่งจะยังคงไร้ใบจนถึงฤดูฝนถัดไป เพื่อที่จะทำให้ป่าไม้ลดลง จำเป็นต้องมีการบินโปรยพ่น และติดตามผลอย่างน้อยหนึ่งครั้ง ต้นไม้ที่ถูกโปรยพ่นประมาณร้อยละ 10 ตายจากการบินโปรยพ่นเพียงครั้งเดียว การบินโปรยพ่นหลาย ๆ ครั้ง ส่งผลให้ต้นไม้ตายเพิ่มขึ้น ดังที่การติดตามภารกิจกำจัดวัชพืชด้วยการทิ้งระเบิดนาปาล์ม (ระเบิดเพลิง) หรือการวางระเบิดทำลาย

ปฏิกิริยาของชุมชนทางวิทยาศาสตร์ การใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชในสงครามเวียดนามเป็นที่ถกเถียงกันมาตั้งแต่ต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการโปรยพ่นสารเคมีทำลายพืช ชุมชนวิทยาศาสตร์เริ่มประท้วงการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชในเวียดนามตั้งแต่ปี พ.ศ. 2507 เมื่อสหพันธ์นักวิทยาศาสตร์อเมริกันคัดค้านการใช้สารกำจัดวัชพืช หรือ American Association for the Advancement of Science (AAAS) ได้ออกมติในปี พ.ศ. 2509 เรียกร้องให้มีการตรวจสอบโครงการกำจัดวัชพืชในเวียดนามใต้ในภาคสนาม ในปี พ.ศ. 2510 ผู้ได้รับรางวัลโนเบล 17 คน และนักวิทยาศาสตร์อีก 5,000 คนลงนามในคำร้องเพื่อขอให้ยุติการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชในเวียดนามใต้โดยทันที มีการรายงานข่าวเกี่ยวกับการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชในเวียดนามเพิ่มขึ้นในช่วงปลายทศวรรษ 1960

สหพันธ์นักวิทยาศาสตร์อเมริกัน

ในปี 1970 AAAS ได้ส่งทีมนักวิทยาศาสตร์ - คณะกรรมการประเมินสารกำจัดวัชพืช (HAC) ซึ่งประกอบด้วย Matthew Meselson, Arthur Westing, John Constable และ Robert Cook ไปทำการทดสอบภาคสนามเกี่ยวกับผลกระทบทางนิเวศวิทยาของโครงการกำจัดวัชพืชในเวียดนาม รายงานในปี พ.ศ. 2512 (ค.ศ. 1969) ที่เขียนโดย K. Diane Courtney และคณะพบว่า 2,4,5-T อาจทำให้เกิดความผิดปกติและข้อบกพร่องของการคลอดในหนูได้ การศึกษาและการติดตามผลนี้ทำให้รัฐบาลสหรัฐฯ จำกัด การใช้ 2,4,5-T ในสหรัฐอเมริกาในเดือนเมษายน พ.ศ. 2513 (ค.ศ. 1970) ตามด้วยกระทรวงกลาโหมฯระงับการใช้ Agent Orange ในเวียดนามใต้เป็นการชั่วคราว แม้ว่าพวกเขาจะยังคงพึ่งพา Agent White จนกระทั่งอุปกรณ์หมด และการฉีดพ่นสำหรับการกำจัดใบครั้งสุดท้ายเกิดขึ้นในวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2513 การทำลายพืชผลแบบประปรายโดยใช้ Agent Blue และ Agent White ดำเนินต่อไปตลอดปี พ.ศ. 2513 (ค.ศ. 1970) จนกระทั่งครั้งสุดท้ายของ Operation Ranch Hand เมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2514 

ชาวเวียดนามราว 150,000 คน ที่พิการแต่กำเนิด ต้องเผชิญและทนทุกข์ทรมาน จากผลกระทบของสารเคมีต่าง ๆ ที่ถูกนำมาใช้

ผลกระทบต่อมนุษย์ การใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชมีผลในการทำลายล้างในระยะยาวต่อผู้คนในเวียดนามรวมถึงดินแดนและระบบนิเวศ รวมถึงผู้ที่อพยพจากพื้นที่ที่มีการโปรยพ่น Agent Orange จำนวนมาก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521 ตามรายงานของรัฐบาลเวียดนามเปิดเผยว่า ชาวเวียดนามราว 4.8 ล้านคนได้รับผลจาก Agent Orange ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 400,000 คน เนื่องจากโรคมะเร็ง และโรคอื่น ๆ 

การศึกษาเพื่อแก้ไขปัญหาในภายหลังระบุว่า การประมาณการก่อนหน้านี้ของการได้รับสาร Agent Orange มีความเอนเอียงจากการแทรกแซงของรัฐบาล และการคาดเดาที่ต่ำเกินไป ซึ่งทำให้การประมาณการในปัจจุบันสำหรับการล่อยสาร Dioxin นั้นสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้เกือบสองเท่า ข้อมูลการจากสำรวจสำมะโนประชากรระบุว่า กองทัพสหรัฐฯ ได้โปรยพ่นใส่ชาวเวียดนามหลายล้านคนโดยตรงระหว่างการใช้งาน Agent Orange ประชาชนเวียดนามได้รับความทุกข์ทรมานจากโรคต่าง ๆ 

ผลกระทบต่อมนุษย์ การใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชมีผลต่อการทำลายล้างในระยะยาว และต่อผู้คนในเวียดนามรวมถึงพื้นดินและระบบนิเวศน์ รวมถึงผู้ที่อพยพจากพื้นที่ที่มีการโปรยพ่น Agent Orange จำนวนมาก ตามรายงานของรัฐบาลเวียดนามเปิดเผยว่า ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521 ชาวเวียดนามราว 4.8 ล้านคนได้รับผลจาก Agent Orange ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 400,000 คน อันเนื่องมาจากโรคมะเร็ง และโรคอื่น ๆ การศึกษาเพื่อแก้ไขปัญหาในภายหลังระบุว่า การประมาณการก่อนหน้านี้ของการได้รับสาร Agent Orange มีความเอนเอียงจากการแทรกแซงของรัฐบาลฯ และการคาดเดาที่ต่ำเกินไป ซึ่งทำให้การประมาณการในปัจจุบันสำหรับการล่อยสาร Dioxin นั้นสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้เกือบสองเท่า ข้อมูลการจากสำรวจสำมะโนประชากรระบุว่า กองทัพสหรัฐฯได้โปรยพ่นใส่ชาวเวียดนามโดยตรงระหว่างการใช้งาน Agent Orange เป็นจำนวนหลายล้านคน ประชาชนเวียดนามได้รับความทุกข์ทรมานจากโรคต่าง ๆ โดยมีชาวเวียดนามราว 3  ล้านคนที่ประสบปัญหาสุขภาพ เจ็บป่วย และพิการ ฯลฯ อันเกิดจากการสัมผัสกับ Agent Orange โดยตรง และ 24% ของพื้นที่ของประเทศเวียดนามถูกทำลาย นอกจากนี้ค่าใช้จ่ายของรัฐบาลสหรัฐฯในการจัดการสารเคมีดังกล่าวข้างต้น รวมถึงผู้ที่เกิดในและรอบ ๆ พื้นที่โปรยพ่น Agent Orange เป้าหมายจำนวนมากตลอดช่วงสงครามเวียดนาม ซึ่งทำให้มีผลต่อประชาชนเวียดนามอย่างน้อย 2.8 ล้านคน  และเด็ก ๆ ลูกหลานของพวกเขาอีกราว 150,000 คนต้องพิการแต่กำเนิด ต้องเผชิญ และทนทุกข์ทรมานจากผลกระทบของสารเคมีต่าง ๆ ซึ่งถูกนำมาใช้ใน Operation Ranch Hand


ชาวเวียดนามราว 150,000 คนที่พิการแต่กำเนิด ต้องเผชิญ และทนทุกข์ทรมานจากผลกระทบของสารเคมีต่าง ๆ ที่ถูกนำมาใช้

โครงการกำจัด Agent Orange ปนเปื้อนที่สนามบิน Da Nang

United States Agency for International Development หรือ USAID แถลงว่า โครงการกำจัด Agent Orange ปนเปื้อนที่สนามบิน Da Nang เสร็จสิ้นเมื่อเดือน พ.ย. พ.ศ. 2561 ต่อเนื่องตามด้วยโครงการกำจัด  Agent Orange ที่สนามบิน Bien Hoa เวียดนาม ซึ่งเป็นพื้นที่ปนเปื้อน Agent Orange มากที่สุดในประเทศเวียดนาม โดยเป็นโครงการระยะ 10 ปี งบประมาณ 183 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 5,700 ล้านบาท สนามบิน Bien Hoa อยู่นอกนครโฮจิมินห์ เป็นพื้นที่ที่มีสาร Agent Orange ปนเปื้อนมากที่สุดในประเทศเวียดนาม ปนเปื้อนดิน และไหลซึมลงแม่น้ำใกล้เคียงหลายแห่งตรวจพบ Agent Orange ปนเปื้อนมากกว่า 4 เท่าของปริมาณที่พบที่สนามบิน Da Nang 

ส่วนในสหรัฐฯ นั้น ทบวงกิจการทหารผ่านศึกของสหรัฐฯ ประมาณการว่า ทหารอเมริกัน จำนวน 2.8 ล้านคน ที่เคยไปปฏิบัติการ หรือ เหยียบแผ่นดินเวียดนาม ระหว่างปี พ.ศ. 2505-2518 ล้วนมีโอกาสได้สัมผัสกับสารเคมีที่ใช้ในการกำจัดใบไม้ กระทรวงฯ ได้ระบุอาการที่อาจจะเกิดขึ้นได้จากการได้รับผลกระทบเอาไว้ส่วนหนึ่ง และถ้าหากทหารผ่านศึกคนใดมีอาการต่าง ๆ เหล่านั้น ก็จะสามารถขอรับการรักษาพยาบาลเป็นสวัสดิการจากรัฐได้ ซึ่งจำนวนผู้ที่เข้าขอรับการช่วยเหลือมีเพิ่มขึ้นทุกปี ที่ผ่านมารัฐบาลสหรัฐฯ ได้จ่ายชดเชยให้ทหารผ่านศึกชาวอเมริกันที่ได้รับผลกระทบจากสารเคมี แต่ไม่ได้จ่ายชดเชยให้กับฝ่ายเวียดนามแต่อย่างใด

ป้ายแสดงที่ระลึกโครงการกำจัด Agent Orange ปนเปื้อนที่สนามบิน Da Nang

Agent Orange ได้รับการทดสอบโดยหน่วยงานของสหรัฐอเมริกาในประเทศไทยในช่วงสงครามเวียตนาม ในปี พ.ศ. 2542 คลองที่ถูกกลบได้ถูกขุดออก และพบถังบรรจุสารเคมี ซึ่งได้รับการยืนยันว่าเป็น Agent Orange คนงานที่ขุดเปิดคลองนั้นล้มป่วยขณะปรับปรุงพื้นที่สนามบินบ่อฝ้ายใกล้อำเภอหัวหินทางใต้ของกรุงเทพฯราว 100 กม. ทหารผ่านศึกชาวไทยที่เข้าร่วมสงครามเวียตนามระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2504 ถึง 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2518 อาจได้รับสารเคมีกำจัดวัชพืช และอาจมีสิทธิ์ได้รับสิทธิประโยชน์จากทบวงกิจการทหารผ่านศึกของสหรัฐฯ รายงานของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯที่ไม่ได้รับการจัดประเภทชั้นความลับ ซึ่งเขียนขึ้นในปี พ.ศ. 2516 ชี้ให้เห็นว่ามีการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชอย่างมีนัยสำคัญรอบ ๆ ฐานทัพที่มีรั้วรอบขอบชิดในประเทศไทยเพื่อกำจัดใบไม้ที่อาจปิดบังการตรวจหากองกำลังฝ่ายศัตรู ในปี พ.ศ. 2556 ทบวงกิจการทหารผ่านศึกของสหรัฐฯ ระบุว่า สารเคมีกำจัดวัชพืชที่ใช้ในพื้นที่ฐานทัพในประเทศไทยอาจเป็นสารเคมีกำจัดวัชพืชชนิดเชิงพาณิชย์ที่มีฤทธิ์คล้ายสารเคมีกำจัดวัชพืชทางยุทธวิธีที่ใช้ในสงครามเวียดนาม ทุกวันนี้ยังมีหลาย ๆ ประเทศสะสมอาวุธเคมีชีวะเพื่อใช้ทำสงครามอยู่ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า บทเรียนจากเรื่องราวที่ผ่านมาจะทำให้โลกใบนี้ไม่ต้องประสบพบเจอกับเรื่องราวที่สุดจะเลวร้ายเช่นนี้อีก


แหล่งรวม "บทความและคอนเทนต์แปลกใหม่!!!" แบบไร้ Toxic ติดตามได้ที่ THE STATES TIMES Blockdit
LINK : https://www.blockdit.com/pages/60583e7ff90e240c3e7f1c32

‘Chuck Feeney’ (ชัก ฟีนีย์) อภิมหาเศรษฐีใจบุญ ยอดนักบริจาค ผู้เป็นต้นแบบของ Warren Buffett และ Bill Gates

Chuck Feeney (ชัก ฟีนีย์) ชายชราที่มัธยัสถ์และสุดแสนที่จะธรรมดา แต่สิ่งที่เขาลงมือทำกลายเป็นแบบอย่างให้อภิมหาเศรษฐีของโลกอย่าง Warren Buffett และ Bill Gates ยอมรับ ยกย่อง ชื่นชม นับถือ และนำมาเป็นแบบอย่าง Chuck Feeney (เกิด 23 เมษายน พ.ศ.2474) เป็นผู้ก่อตั้งและเป็นเจ้าของ DFS บริษัทจำหน่ายสินค้าปลอดภาษีอันดับ 1 ของโลก (ปัจจุบันผู้ถือหุ้นใหญ่คือ LVMH : Moët Hennessy Louis Vuitton SE) ร่วมกับ Robert Warren Miller โดย Chuck Feeney ได้ขายหุ้นส่วนของตัวเองไปเพื่อนำเงินไปใช้ทำกองทุนการกุศล The Atlantic Philanthropies (AP)
 

DFS (DFS Group) ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2503 เครือข่ายประกอบด้วยสาขากว่า 420 แห่ง รวมถึงร้านค้าปลอดภาษีในสนามบินหลัก 18 แห่ง และร้านค้าในตัวเมือง 14 แห่ง ปัจจุบันบริหารโดย บริษัท Moët Hennessy Louis Vuitton (LVMH) ร่วมกับผู้ร่วมก่อตั้งและผู้ถือหุ้นของ DFS Robert Warren Miller เมื่อ วันที่ 11 มกราคม พ.ศ.2540 DFS Group ดำเนินธุรกิจในฐานะบริษัทลูกของ LVMH สำนักงานใหญ่ของ DFS ตั้งอยู่ในฮ่องกง และมีสำนักงานใน ออสเตรเลีย กัมพูชา จีน ฝรั่งเศส อินโดนีเซีย อิตาลี ญี่ปุ่น มาเก๊า นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สหรัฐอเมริกา และเวียดนาม DFS Group มีพนักงานมากกว่า 9,000 คนดำเนินงานใน 14 ประเทศทั่วโลก ในปี พ.ศ.2560 มีนักเดินทางเกือบ 160 ล้านคนเข้าเยี่ยมชมและใช้บริการในร้านค้าของ DFS

Chuck Feeney ใช้ชีวิตอย่างพอเพียง อาศัยอยู่ในอพาร์ทเมนต์ธรรมดา ๆ ในนครซานฟรานซิสโก มลรัฐแคลิฟลอเนีย กับภรรยา Helga Feeney

Chuck Feeney อาศัยอยู่ในนครซานฟรานซิสโก มลรัฐแคลิฟลอเนีย กับภรรยา Helga Feeney เขาใช้ชีวิตอย่างพอเพียง พำนักในอพาร์ทเมนต์ที่มีความเข้มงวดราวกับหอพักของนักศึกษาน้องใหม่ ไม่เคยสวมเสื้อผ้าแบรนด์เนม ไม่ชอบทานอาหารหรูหรา อาหารโปรดที่เขาชอบที่สุดคือแซนด์วิชชีสย่างมะเขือเทศราคาแสนถูก ใช้แว่นตาเก่า ๆ ใส่นาฬิกาธรรมดา และไม่มีรถขับ การเดินทางก็มักใช้บริการรถโดยสารสาธารณะ 

แต่เป็นผู้บุกเบิกแนวคิดในเรื่องการบริจาคขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ ใช้โชคที่ได้รับส่วนใหญ่มาก ๆ ไปกับการบริจาคให้กับการกุศลครั้งใหญ่ แทนที่จะเป็นการบริจาคเมื่อเสียชีวิตไปแล้ว “เพราะคนเราไม่สามารถนำเงินติดตัวไปในสัมปรายภพได้ ทำไมไม่บริจาคไปทั้งหมด ซึ่งจะสามารถควบคุมการบริจาคได้ว่า เงินบริจาคจะไปให้ใคร ที่ไหน อย่างไร และได้เห็นผลลัพธ์ด้วยตาของคุณเอง” Chuck Feeney กล่าวว่า “เราได้เรียนรู้เรื่องราวต่าง ๆ มากมาย เราจึงเลือกทำบางอย่างที่แตกต่างออกไป แต่ผมพอใจมาก และรู้สึกดีมากที่ได้ทำสิ่งนี้ได้เสร็จขณะมีชีวิตอยู่” Feeney กล่าวกับ Forbes ว่า “ขอขอบคุณทุกคนที่เข้าร่วมกับผมในการเดินทางครั้งนี้ และสำหรับผู้ที่สงสัยเกี่ยวกับ Giving While Living ขอให้ลองดู แล้วคุณจะชอบ”

ในช่วงสี่ทศวรรษที่ผ่านมา Chuck Feeney ได้บริจาคเงินกว่า 8 พันล้านเหรียญสหรัฐให้กับองค์กรการกุศล มหาวิทยาลัย และมูลนิธิต่าง ๆ ทั่วโลก ผ่านมูลนิธิ The Atlantic Philanthropies ของเขา เมื่อนิตยสาร Forbes พบเขาครั้งแรกในปี พ.ศ.2555 เขาคาดว่า เขาจะมีเงินเหลือประมาณ 2 ล้านดอลลาร์สำหรับการเกษียณอายุของเขาและภรรยา กล่าวอีกนัยหนึ่งเขาได้รับเงินมากกว่ามูลค่าสุทธิในปัจจุบันถึง 375,000% และเขาบริจาคไปโดยไม่ระบุชื่อ ในขณะที่ผู้ใจบุญที่ร่ำรวยหลายคนต่างก็เกณฑ์กองทัพนักประชาสัมพันธ์เพื่อปาวประกาศถึงการบริจาคของพวกเขา Chuck Feeney ก็พยายามอย่างมากที่จะเก็บงำการบริจาคของเขาไว้เป็นความลับ เนื่องจากการบริจาคเพื่อการกุศลที่เป็นความลับ และกระจายไปทั่วโลก นิตยสาร Forbes จึงเรียก Chuck Feeney ว่า James Bond of Philanthropy

“การให้ในขณะที่ยังมีชีวิต ทำให้เกิดความแตกต่าง”
Chuck Feeney

ก่อนชายผู้แสนมัธยัสถ์นี้จะอายุ 85 เขาได้ทำอะไรมาบ้าง ?

1.) บริจาคเงิน 588,000,000 เหรียญสหรัฐให้มหาวิทยาลัยคอร์แนล โดยห้ามไม่ให้มหาวิทยาลัยประกาศชื่อผู้บริจาค

2.) บริจาค 125,000,000 เหรียญสหรัฐ ให้มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย 

3.) บริจาค 60,000,000 เหรียญสหรัฐ ให้มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ต

4.) ลงทุน 1,000,000,000 เหรียญสหรัฐ เพื่อปรับปรุงมหาวิทยาลัยอีก 7 แห่ง และอีก 2 แห่งในไอร์แลนด์เหนือ

5.) จัดตั้งกองทุนการกุศล The Atlantic Philanthropies (AP) ให้การรักษาพยาบาลฟรีสำหรับเด็กปากแหว่งในประเทศที่กำลังพัฒนา

6.) ได้บริจาคเงินไปทั้งสิ้น 8,000,000,000 เหรียญสหรัฐ เมื่ออายุ 89 ปี

วันที่ 14 กันยายน 2020 Chuck Feeney พร้อมด้วยภรรยา Helga Feeney ได้ลงนามในเอกสาร ณ นครซานฟรานซิสโกอันเป็นการปิดการบริจาคให้ The Atlantic Philanthropies (AP)

แม้ว่า Chuck Feeney จะรักในการหาเงิน แต่ก็ใช้จ่ายเงินอย่างประหยัดมาก Chuck Feeney มีความปรารถนาว่า ก่อนปี พ.ศ.2559 เขาจะบริจาคเงินที่เหลือให้หมด เพื่อจะได้ตายอย่างตาหลับ โดยเงินของเขาได้กระจายไปทั่วโลกให้พื้นที่จำเป็นในอัตรา 400,000,000 เหรียญสหรัฐ ต่อปี และในเดือนกันยายน พ.ศ.2563 Chuck Feeney ก็ทำได้สำเร็จ โดยเขาเหลือเงินเพื่อใช้ดำรงชีวิตกับภรรยาเพียงสองล้านเหรียญเท่านั้น 

วันที่ 14 กันยายน ค.ศ.2020 Chuck Feeney พร้อมด้วยภรรยา Helga Feeney ได้ลงนามในเอกสาร ณ นครซานฟรานซิสโกอันเป็นการปิดการบริจาคให้ The Atlantic Philanthropies (AP) หลังจากบริจาคมาแล้วทั่วโลกเป็นเวลาสี่ทศวรรษ The Atlantic Philanthropies พิธีซึ่งกระทำบนระบบ Zoom กับ The Atlantic Philanthropies รวมถึงข้อความวิดีโอจาก Bill Gates และอดีตผู้ว่าการมลรัฐแคลิฟลอเนีย Jerry Brown ประธานสภาผู้แทนราษฎรของสหรัฐฯ Nancy Pelosi ส่งจดหมายอย่างเป็นทางการจากสภาคองเกรสแห่งสหรัฐอเมริกาเพื่อขอบคุณ Feeney สำหรับการบริจาคของเขา

“ผมมีหนึ่งความคิดในใจ ซึ่งไม่เคยเปลี่ยน นั้นคือ เราต้องใช้ความมั่งคั่งที่มีเพื่อช่วยเหลือผู้คน” Chuck Feeney

เขาเป็นตัวอย่างสำหรับคนรวยที่ว่า "ในขณะที่มีความสุขกับชีวิต ต้องแบ่งปันความสุขนี้ให้กับผู้อื่นด้วย" การทำการกุศลของ Chuck Feeney เป็นที่โด่งดังมาก ผู้สื่อข่าวจำนวนมากเดินทางไปยังบ้านของเขา แล้วทุกคนก็ล้วนแต่แปลกใจ และถาม Chuck Feeney ว่า “คุณมีทรัพย์สินมากมาย ทำไมถึงไม่ใช้ชีวิตที่สวยหรู" 

เพื่อตอบข้อสงสัยของทุกคน Chuck Feeney ยิ้ม และบอกเล่าเรื่องราว 

"สุนัขจิ้งจอก พบไร่องุ่นที่เต็มไปด้วยผลไม้ อยากจะเข้าไปในไร่ เพื่อกินองุ่นให้เต็มที่ แต่มันอ้วนเกินไป เลยมุดผ่านรั้วไร่องุ่นไปไม่ได้ ดังนั้นมันจึงไม่กินไม่ดื่มอยู่สามวัน และแล้วตัวมันก็ผอมลง จนมุดผ่านรั้วเข้าไปในไร่องุ่นได้ ! 

เมื่อกินอิ่มเป็นที่พึงพอใจแล้ว แต่…ตอนที่จะกลับออกไป กลับออกไม่ได้อีก ทำอย่างไรก็ไม่ได้ เมื่อไม่มีทางเลือก มันจึงต้องอดน้ำ อดอาหารอีกสามวันสามคืน จนสุดท้ายแล้ว ท้องของมันตอนที่ออกมาจากไร่องุ่น ก็เหมือนกับตอนที่มันเข้าไปในไร่องุ่น" 

เมื่อเล่าเสร็จ Chuck Feeney กล่าวว่า "บนสวรรค์นั้นไม่มีธนาคาร ทุกคนเกิดมากับความว่างเปล่า ในที่สุดก็จากไปแบบมือเปล่า ไม่มีใครสามารถนำความมั่งคั่งไปกับความตายได้" และเมื่อมีสื่อถาม Chuck Feeney ทำไมต้องบริจาคเงินออกไปจนหมด คำตอบของเขาง่ายมาก ๆ และไม่มีใครคาดถึง เขากล่าวว่า "เพราะถุงใส่ศพนั้นไม่มีกระเป๋า" อันที่จริงแล้วความจนของเขาเกิดจากการบริจาคเงินมหาศาล สิ่งที่เขาได้มา ได้ส่งคืนกลับไปสู่สังคมทั้งหมด มันช่วยทำให้เขามีความสุขมากกว่ามีเงินเป็นหมื่นเป็นแสนล้านเสียอีก


Chuck Feeney กับ Warren Buffett

Chuck Feeney จึงมีอิทธิพลต่อทั้ง Warren Buffett และ Bill Gates เมื่อพวกเขาเปิดตัว การให้คำมั่นสัญญาในปี พ.ศ.2553 ซึ่งเป็นการรณรงค์เชิงรุกเพื่อโน้มน้าวให้ผู้มั่งคั่งที่สุดในโลก บริจาคทรัพย์สมบัติอย่างน้อยครึ่งหนึ่งสำหรับการกุศล ก่อนที่พวกเขาจะเสียชีวิต “Chuck Feeney เป็นต้นแบบที่สำคัญในแง่ของแรงบันดาลใจในการให้และทำตามคำมั่นสัญญา” Warren Buffett กล่าวว่า “เขาเป็นต้นแบบสำหรับพวกเราทุกคน ซึ่งจะต้องใช้เวลาราว 12 ปีหลังจากที่เสียชีวิตเพื่อทำสิ่งที่เขาทำภายในช่วงชีวิตของเขา” สำหรับ Bill Gates ได้กล่าวถึง Chuck Feeney ว่า “Chuck ได้สร้างเส้นทางให้ผู้ใจบุญคนอื่น ๆ เดินตาม ผมจำได้ว่า พบเขาก่อนเริ่มการให้คำมั่นสัญญา เขาบอกผมว่า เราควรสนับสนุนผู้คน ไม่ให้เพียงแค่ 50% แต่ให้มากที่สุดในช่วงชีวิตของพวกเรา ไม่มีใครเป็นตัวอย่างที่ดีไปกว่า Chuck หลายคนพูดกับผมว่า Chuck Feeney เป็นแรงบันดาลใจให้พวกเขาได้อย่างไร ช่างน่าทึ่งจริง ๆ ”

“Chuck ได้สร้างเส้นทางให้ผู้ใจบุญคนอื่น ๆ เดินตาม ผมจำได้ว่า พบเขาก่อนเริ่มการให้คำมั่นสัญญา เขาบอกผมว่า เราควรสนับสนุนผู้คนไม่ให้เพียงแค่ 50% แต่ให้มากที่สุดในช่วงชีวิตของพวกเรา” Bill Gates
 

Second class citizen (พลเมืองชั้นสอง) ส่องด้านมืด จากโลกสวยในต่างแดน

ด้วยระยะนี้มีกระแสจากคนกลุ่มเล็ก ๆ กลุ่มหนึ่ง ซึ่งอยากย้ายประเทศ เลยต้อง Search หาข้อมูลสำหรับเขียนบทความสักเรื่อง ก็เจอะเจอกับเรื่องของ Second Class Citizen ซึ่งเป็นนวนิยายเขียนโดยนักเขียนชาวไนจีเรีย Buchi Emecheta ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2517 (ค.ศ. 1974) โดย สำนักพิมพ์ Allison และ Busby ในกรุงลอนดอน ต่อมาสำนักพิมพ์ George Braziller ได้รับลิขสิทธิ์การตีพิมพ์ในสหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2518 Second Class Citizen เป็นเรื่องราวที่น่าปวดหัวของหญิงชาวไนจีเรียผู้มีไหวพริบ สามารถเอาชนะการครอบงำของผู้หญิงในชนเผ่าที่เข้มงวด และเอาชนะความพ่ายแพ้นับไม่ถ้วน เพื่อให้มีชีวิตที่เป็นอิสระสำหรับตัวเธอเองและลูก ๆ ของเธอ นวนิยายเรื่องนี้มักอธิบายว่า เป็นอัตชีวประวัติของการเดินทางจากไนจีเรียไปยังลอนดอนตามวิถีของผู้เขียน Buchi Emecheta

Adah เกิดเป็นหญิง เมื่ออยู่ไนจีเรีย เป็นหญิงผิวสี จึงกลายเป็นพลเมืองชั้นสองของอังกฤษ เมื่อเธอแต่งงานก็กลายเป็นทาสของสามี ชะตากรรมของพลเมืองชั้นสอง ผู้ฉลาด และเข้มแข็ง ภายใต้การนำของสามีผู้โง่เขลาและอ่อนแอ 

Second Class Citizen ถือได้ว่าเป็นหนังสือที่บอกเล่าเรื่องราวของการเอาชนะการต่อสู้ และการใช้ชีวิตร่วมสมัยของสตรีแอฟริกันผิวสี ด้วยการตีพิมพ์เป็นนวนิยาย ซึ่ง Hermione Harris เขียนไว้ใน Race & Class ว่า "จากคะแนนของหนังสือเกี่ยวกับเชื้อชาติและชุมชนคนผิวสีในสหราชอาณาจักรที่ปรากฏในช่วงทศวรรษที่ 1960 และต้นปี 1970 ส่วนใหญ่เขียนโดยนักวิชาการผิวขาว ซึ่งท้ายที่สุดมักเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างสังคมสีขาว และ 'ผู้อพยพ' ผิวสี และมักจะจบลงด้วยการเหยียดเชื้อชาติ ซึ่ง Second Class Citizen เป็นเรื่องราวของการเปิดเผยเรื่องราวของเชื้อชาติและชุมชนคนผิวสีในสหราชอาณาจักรในแง่มุมตรงกันข้ามจากประสบการณ์จริงของผู้เขียน

นิยายเรื่องนี้เป็นเรื่องราวของ Adah เป็นบุตรสาวของ Ibo จากเมือง Ibuza ประเทศไนจีเรีย อาศัยอยู่ในเมืองหลวงคือกรุงลากอส ด้วยความใฝ่ฝันที่จะเป็นเด็กสาว ที่สามารถจะย้ายไปอยู่ในสหราชอาณาจักรได้ หลังจากบิดาของเธอเสียชีวิต Adah ถูกส่งไปอยู่กับครอบครัวของลุง เธอเรียนโรงเรียนในไนจีเรีย และต่อมาเธอก็ได้งานทำในสถานทูตอังกฤษในตำแหน่งเสมียนห้องสมุด ค่าตอบแทนจากงานนี้เพียงพอที่จะทำให้เธอเป็นเจ้าสาวตามที่ปรารถนาของ Francis (สามีของเธอในปัจจุบัน) 

ต่อมา Francis ต้องเดินทางไปสหราชอาณาจักรเพื่อศึกษากฎหมายเป็นเวลาหลายปี Adah ปลอบโยนครอบครัวของสามีว่า เธอและลูก ๆ ก็อยู่ในสหราชอาณาจักรเช่นกัน แต่ Francis สามีของเธอเชื่อว่า พวกเขาเป็นเพียงพลเมืองชั้นสองในสหราชอาณาจักรเท่านั้น เนื่องจากพวกเขาไม่ใช่พลเมืองของประเทศ ทำให้ต่อมา Francis มีปัญหากับ Adah มากขึ้นเรื่อย ๆ และในที่สุดชีวิตคู่ของทั้งสองก็จบลงด้วยการหย่าร้าง

 

Florence Onyebuchi "Buchi" Emecheta OBE (21 กรกฎาคม พ.ศ. 2487 - 25 มกราคม พ.ศ. 2560) เป็นนักประพันธ์ชาวไนจีเรียโดยกำเนิด ซึ่งตั้งรกรากอยู่ในสหราชอาณาจักรตั้งแต่ปี พ.ศ. 2505 มีงานเขียนบทละครและอัตชีวประวัติรวมทั้งผลงานสำหรับเด็กด้วย เธอเป็นผู้เขียนหนังสือมากกว่า 20 เล่มรวมถึง Second Class Citizen (พ.ศ. 2517), The Bride Price (พ.ศ. 2519), The Slave Girl (พ.ศ. 2520) และ The Joys of Motherhood (พ.ศ. 2522) นวนิยายเล่มแรก ๆ ของเธอส่วนใหญ่ได้รับการตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ Allison and Busby โดยเธอมี Margaret Busby เป็นบรรณาธิการ ซึ่งหนึ่งในนั้น Second class citizen เป็นเรื่องราวจากประสบการณ์ในชีวิตจริงของตัวเธอเอง เกี่ยวกับการเป็นทาสของลูก ๆ ความเป็นแม่ ความเป็นอิสระ และเสรีภาพของผู้หญิงที่มีการศึกษา ซึ่งได้รับการยอมรับจากนักวิจารณ์และผู้ทรงคุณวุฒิมากมาย 

บรรดาหนังสือที่ Buchi Emecheta แต่ง

Emecheta เขียนบทความเกี่ยวกับประสบการณ์ชีวิตของเธอใน Black British คอลัมน์ประจำของ New Statesman ผลงานส่วนใหญ่ของเธอมุ่งเน้นไปที่การเลือกปฏิบัติทางเพศและอคติทางเชื้อชาติจากประสบการณ์ของเธอเอง ในฐานะแม่เลี้ยงเดี่ยวและผู้หญิงผิวสีที่อาศัยอยู่ในสหราชอาณาจักร ด้วยผลงานด้านวรรณกรรม ทำให้เธอได้รับรางวัล Jock Campbell Prize ในปี พ.ศ. 2521 จาก New Statesman สำหรับนวนิยายเรื่อง The Slave Girl ของเธอ และยังอยู่ในรายชื่อ 20 "Best of Young British Novelists" ของนิตยสาร Granta ในปี พ.ศ. 2526 เธอเป็นสมาชิกของ British Home Secretary's Advisory Council on Race ในปี พ.ศ. 2522 และต่อมา Buchi Emecheta ได้รับการยกย่องว่าเป็น "นักประพันธ์หญิงผิวดำที่ประสบความสำเร็จคนแรกที่อาศัยอยู่ในสหราชอาณาจักรหลังปี พ.ศ. 2491" ทั้งยังเป็นสมาชิกของ British Home Secretary's Advisory Council on Race ในปี พ.ศ. 2522 ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2547 เธอเป็นบุคคลหนึ่งซึ่งปรากฏใน "A Great Day in London" ณ หอสมุดแห่งชาติอังกฤษ โดยมีนักเขียนผิวสีและเอเชีย 50 คนที่มีส่วนร่วมสำคัญในวรรณคดีอังกฤษร่วมสมัย เธอได้รับปริญญาอักษรศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัย Farleigh Dickinson ในปี พ.ศ. 2535 และในปี พ.ศ. 2548 เธอได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ OBE (The Most Excellent Order of the British Empire) จากสมเด็จพระราชินีนาถ Elizabeth II ด้วยผลงานด้านวรรณกรรม Buchi Emecheta ถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 98 ในรายชื่อผู้หญิง 100 คนที่ได้รับการยอมรับว่า มีส่วนในการเปลี่ยนโลก เมื่อสิงหาคม พ.ศ. 2561 โดยนิตยสาร BBC History วันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 ซึ่งเป็นวันเกิดครบรอบ 75 ปีของ Emecheta Google ได้รำลึกถึงชีวิตของเธอด้วยรูป Doodle ของวันนั้น และเดือนตุลาคม พ.ศ. 2562 พื้นที่จัดแสดงใหม่ในห้องสมุดสำหรับนักศึกษาที่ Goldsmiths มหาวิทยาลัยลอนดอนได้ถูกอุทิศให้กับ Buchi Emecheta

วันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 ซึ่งเป็นวันเกิดครบรอบ 75 ปีของ Emecheta Google ได้รำลึกถึงชีวิตของเธอด้วยรูป Doodle ของวันนั้น

Second class citizen (พลเมืองชั้นสอง) หมายถึง บุคคลที่ถูกเลือกปฏิบัติจากการแบ่งแยก เชื้อชาติ ศาสนา สีผิว ฯลฯ และถูกเลือกปฏิบัติอย่างเป็นระบบภายในรัฐหรือเขตอำนาจทางการเมือง หรืออื่น ๆ แม้ว่า พวกเขาจะมีสถานะเป็นพลเมือง หรือผู้อยู่อาศัยตามกฎหมายของรัฐนั้น ๆ แล้วก็ตาม แม้ว่าจะไม่ใช่ ทาส คนนอกกฎหมาย หรืออาชญากร แต่ Second class citizen ก็มีสิทธิทางกฎหมายสิทธิพลเมืองและถูกจำกัดโอกาสทางเศรษฐกิจและสังคม และมักจะถูกกระทำอย่างทารุณโหดร้าย หรือถูกทอดทิ้งละเลย ไม่ได้รับสวัสดิการทางสังคมตามที่ควรจะเป็น อีกทั้งยังถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้มีสถานะทางสังคมสูงกว่า ระบบที่มีพลเมืองชั้นสองโดยพฤตินัยมักถูกมองว่า ละเมิดสิทธิมนุษยชน จึงมักถูกปฏิเสธในการมีเรื่องราวเหล่านี้ในประเทศเสรีประชาธิปไตย นานาประเทศย่อมไม่อยากให้เกิดขึ้น เนื่องจากเป็นคำที่อยู่ในข่ายเดียวกับการรังเกียจเหยียด สีผิว-ชาติพันธุ์ สะท้อนความไม่เท่าเทียมทางสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศต่าง ๆ ในทวีปยุโรปและอเมริกาเหนือ แต่ความเป็นจริงแล้วเรื่องราวเหล่านี้ปรากฏให้เห็นอยู่เสมอ ๆ จนทุกวันนี้

เงื่อนไขทั่วไปที่พลเมืองชั้นสองต้องเผชิญ 
- การตัดสิทธิ์ (การขาดหรือสูญเสียสิทธิในการออกเสียง)
- ข้อจำกัด ในการเข้าทำงานภาครัฐทั้งพลเรือนหรือทหาร (ไม่รวมถึงการเกณฑ์ทหารในทุกกรณี)
- ข้อจำกัด ด้านภาษา ศาสนา การศึกษา
- ขาดอิสระ ในการเคลื่อนไหวและการรวมกลุ่ม
- ข้อจำกัด ในการเป็นเจ้าของอาวุธปืน
- ข้อจำกัด ในการสมรส
- ข้อจำกัด เกี่ยวกับที่อยู่อาศัย และการเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์

Second class citizen (พลเมืองชั้นสอง) คำนี้มักใช้ในเชิงการดูถูกเหยียดหยาม และรัฐบาลต่าง ๆ มักจะปฏิเสธการมีอยู่ของ Second class citizen (พลเมืองชั้นสอง) ในหลาย ๆ ประเทศมีการแบ่งแยก เชื้อชาติ ชนพื้นเมือง เช่น 
- ในออสเตรเลียก่อนปี พ.ศ. 2510 
- กลุ่มชาติพันธุ์ที่ถูกเนรเทศซึ่งถูกกำหนดให้เป็น "ผู้ตั้งถิ่นฐานพิเศษ" ในอดีตสหภาพโซเวียต 
- การแบ่งแยกสีผิวในแอฟริกาใต้ในอดีต 
- สตรีซาอุดีอาระเบียภายใต้กฎหมายซาอุดีอาระเบีย 
- Dalits (ทลิต) เช่น วรรณะจัณฑาลในอินเดียและเนปาล 
- ชาวโรมันคาทอลิกในไอร์แลนด์เหนือในอดีต 

ล้วนเป็นตัวอย่างของกลุ่มต่าง ๆ ที่ได้ถูกอธิบายในอดีตว่า เป็นพลเมืองชั้นสอง ในอดีตก่อนกลางศตวรรษที่ 20 นโยบายนี้ถูกนำมาใช้โดยจักรวรรดิอาณานิคมในยุโรปบางแห่งกับพลเมืองที่อาศัยอยู่ในดินแดนอาณานิคมในต่างแดน ปัจจุบันจากการระบาดของ Virus COVID-19 ชาวเอเชียในสหรัฐอเมริกามักจะถูกดูถูก เหยียดหยาม จนถึงการทำร้าย ด้วยความเชื่อที่ว่า คนเอเชียเป็นสาเหตุต้นตอในการระบาดของ Virus COVID-19

พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงติดตามการทดลองปลูกกาแฟของชาวไทยภูเขา ซึ่งในปีแรกของการปลูกปรากฏเหลือรอดเพียงต้นเดียวเท่านั้น

นับเป็นความโชคดีเป็นอย่างยิ่งที่บ้านเราไม่มีปัญหาความแปลกแยกแตกต่างในเรื่อง เชื้อชาติ ศาสนา และสีผิว ฯลฯ ดังเช่นที่ปรากฏเกิดขึ้นในประเทศต่าง ๆ กระทั่งประเทศเพื่อนบ้านจนทุกวันนี้ ก็ด้วยเพราะพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ตลอดจนพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ได้ทรงดูเอาพระทัยใส่และพัฒนาอาณาประชาราษฎร์โดยถ้วนทั่ว เพื่อไม่ให้มีการแบ่งแยกเป็นชาวเขาหรือชาวเรา พสกนิกรภายใต้ร่มพระบารมีล้วนแล้วแต่เป็นคนไทยโดยเสมอกัน ปัญหาความขัดแย้งแตกแยกในเรื่อง เชื้อชาติ ศาสนา และสีผิว ฯลฯ ดังที่เกิดขึ้นในประเทศอื่น ๆ จึงไม่เกิดขึ้นในบ้านเรา ชนชั้นของความเป็นพลเมืองจึงไม่มีในบ้านเรา 

พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ตลอดจนพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ได้ทรงดูเอาพระทัยใส่และพัฒนาอาณาประชาราษฎร์โดยถ้วนทั่ว เพื่อไม่ให้มีการแบ่งแยกเป็นชาวเขาหรือชาวเรา พสกนิกรภายใต้ร่มพระบารมีล้วนแล้วแต่เป็นคนไทยโดยเสมอกัน

 

ส่องประวัติศาสตร์ ‘ฟาโรห์’ ‘ความเชื่อ-คำสาป-ปาฏิหาริย์’ หลักฐานแห่งความลี้ลับจากแดนพีระมิด

บทความนี้ พาไปย้อนประวัติศาสตร์ของแดนพีระมิด ในประเทศอียิปต์กันเล็กน้อย โดยผมอยากมาเล่าเรื่องราวของฟาโรห์ที่เชื่อว่าหลายท่านคงพอผ่านหูผ่านตากันมาบ้าง แต่จริง ๆ แล้วเรื่องของ ‘ฟาโรห์’ ยังมีประเด็นที่น่าสนใจ และความอัศจรรย์ที่ซ่อนอยู่อีกมากครับ 

ฟาโรห์ (Pharaoh) เป็นชื่อตำแหน่งพระมหากษัตริย์อียิปต์โบราณของทุกราชวงศ์ มีรากศัพท์จากคำว่า ‘pr-aa’ แปลว่า ‘บ้านหลังใหญ่’ อันเป็นคำอุปมาหมายถึง ‘ปราสาทพระราชมนเทียร อียิปต์โบราณ’ หรือ ‘ไอยคุปต์’ ซึ่งเป็นหนึ่งในอารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปแอฟริกา มีพื้นที่ตั้งแต่ตอนกลางจนถึงปากแม่น้ำไนล์ โดยปัจจุบันเป็นที่ตั้งของประเทศอียิปต์

อารยธรรมอียิปต์โบราณเริ่มขึ้นราว 3,150 ปีก่อนคริสต์ศักราช โดยการรวมอำนาจทางการเมืองของอียิปต์ตอนเหนือและตอนใต้ ภายใต้ฟาโรห์องค์แรกแห่งอียิปต์ และมีการพัฒนาอารยธรรมต่อเนื่องเรื่อยหลายพันปี 

ประวัติของอียิปต์โบราณที่เป็นช่วงที่โลกรู้จักกันอย่างมาก เป็นช่วงที่ ‘ราชอาณาจักร’ มีการแบ่งยุคสมัยของอียิปต์แบบมากมายไปตามราชวงศ์ที่ขึ้นมาปกครอง จนกระทั่งถึงราชอาณาจักรสุดท้าย หรือที่รู้จักกันในชื่อว่า ‘ราชอาณาจักรกลาง’ ซึ่งอยู่ในช่วงที่มีการพัฒนามากมาย และก็ค่อย ๆ ลดลง อันเป็นเวลาเดียวกันที่ชาวอียิปต์พ่ายในการทำสงครามกับชนชาติอื่น เช่น อัสซีเรีย และเปอร์เซีย จนกระทั่งเมื่อ 332 ปีก่อนคริสต์ศักราช ก็ถึงกาลสิ้นสุดอารยธรรมอียิปต์โบราณลง เมื่อพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชสามารถยึดครองอียิปต์ และจัดให้อียิปต์เป็นเพียงจังหวัดหนึ่งในจักรวรรดิมาซิโดเนีย

Maat เป็นทั้งเทพธิดาและตัวตนของความจริงและความยุติธรรม โดยขนนกกระจอกเทศของ Maat แสดงถึงความจริง

นอกจากนี้ ในสังคมอียิปต์โบราณ ‘ศาสนา’ เป็นศูนย์กลางของชีวิตประจำวัน โดยบทบาทหนึ่งของฟาโรห์ คือ การทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างเทพเจ้าและผู้คน ดังนั้นฟาโรห์ จึงเป็นตัวแทนของเทพเจ้าในบทบาทที่เป็นทั้งผู้ปกครองและผู้นำทางศาสนา รวมถึงเป็นเจ้าของดินแดนทั้งหมดในอียิปต์ สามารถออกกฎหมายเก็บภาษี และปกป้องอียิปต์จากผู้รุกรานในฐานะผู้บัญชาการทหารสูงสุด ส่วนในทางศาสนาแล้วฟาโรห์ทรงเป็นผู้นำในพิธีกรรมทางศาสนา และทรงเลือกสถานที่ตั้งของวัด มีหน้าที่รับผิดชอบในการรักษา Maat หรือ Maʽat (ระเบียบจักรวาลแห่งความสมดุลและความยุติธรรม) และรวมไปถึงการเข้าสู่สงครามเมื่อจำเป็น เพื่อปกป้องประเทศ หรือโจมตีผู้อื่นเมื่อเชื่อว่า สิ่งนี้จะมีส่วนช่วย Maat เช่น เพื่อการเพิ่มพูนทรัพยากร

ก่อนการรวมกันของอียิปต์ตอนบนและตอนล่าง Deshret หรือ "มงกุฎสีแดง" เป็นตัวแทนของอาณาจักรอียิปต์ตอนล่าง ในขณะที่ Hedjet ซึ่งเป็น "มงกุฎสีขาว" ถูกสวมใส่โดยกษัตริย์ของอาณาจักรแห่งอียิปต์ตอนบน หลังจากการรวมอาณาจักรทั้งสองเป็นหนึ่งเดียว จึงเป็นการรวมกันของมงกุฎทั้งสีแดงและสีขาวกลายเป็นมงกุฎของกษัตริย์อย่างเป็นทางการ เมื่อมีการเริ่มใช้ผ้าโพกศีรษะในช่วงระหว่างราชวงศ์ต่าง ๆ บางครั้งมีการพรรณนาถึงการสวมใส่เครื่องประดับศีรษะหรือมงกุฎเหล่านี้ด้วย

มัมมี่โบราณจากราชวงศ์ที่ 18 (1550 ถึง 1292 B.C.) เป็นหนึ่งในการค้นพบทางโบราณคดีจำนวนมากในสุสานที่อยู่ในเมืองลักซอร์ อียิปต์

แน่นอนว่าหากพูดถึงอียิปต์ อีกเรื่องที่ต้องพูดถึง คือ มัมมี่ (Mummy) หรือ ศพที่ดองหรือแช่ในน้ำยาพิเศษตามความเชื่อของอียิปต์โบราณ ที่มีการพันทั่วทั้งร่างกายด้วยผ้าลินินสีขาว เพื่อเป็นการรักษาสภาพของศพ ด้วยเชื่อว่า สักวันวิญญาณของผู้ตายจะกลับคืนร่างของตนเอง 

ตามความเชื่อของชาวอียิปต์โบราณ คำว่า ‘มัมมี่’ มาจากคำว่า ‘มัมมียะ’ (Mummiya) ซึ่งเป็นคำในภาษาเปอร์เซีย หมายถึง ร่างของซากศพที่ถูกดองจนกลายเป็นสีดำ ชาวอียิปต์โบราณจะทำมัมมี่ของฟาโรห์และเชื้อพระวงศ์ทุกพระองค์ และนำไปฝังในลักษณะแนวนอนภายใต้พื้นแผ่นทรายของอียิปต์ อาศัยแรงลมที่พัดผ่านในแถบทะเลทรายอาระเบียและทะเลทรายในพื้นที่รอบบริเวณสุสาน เพื่อป้องกันการเน่าเปื่อยของซากศพที่อาบด้วยน้ำยา 

อียิปต์โบราณนั้นมีความเชื่อในเรื่องของชีวิตหลังความตาย การที่วิญญาณหวนกลับคืนร่าง ด้วยเชื่อว่า เมื่อวิญญาณออกจากร่างไปชั่วระยะเวลาหนึ่งจะหวนกลับคืนสู่ร่างเดิมของผู้เป็นเจ้าของ จึงต้องมีการรักษาสภาพของร่างเดิมเอาไว้ โดยการแช่และดองด้วยน้ำยาขี้ผึ้งหรือบีทูมิน (ยางสีดำสูตรเฉพาะในการทำมัมมี่) ซึ่งจะช่วยรักษาและป้องกันไม่ให้ซากศพเน่าเปื่อยผุพังไปตามกาลเวลา

ค.ศ. 1922 Howard Carter ซึ่งได้รับการสนับสนุนทางการเงินจาก George Herbert, 5th Earl of Carnarvon เป็นผู้ค้นพบสุสาน KV62 ซึ่งเป็นสุสานของฟาโรห์ตุตันคาเมน

สำหรับ ‘ฟาโรห์’ ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักมากที่สุดได้แก่ ‘ฟาโรห์ตุตันคาเมน’ (Tutankhamen) ซึ่งเป็นฟาโรห์พระองค์หนึ่งในราชวงศ์ที่ 18 ของอียิปต์โบราณ มีพระชนม์อยู่ในราว 1341–1323 ปีก่อนคริสตกาล และเสวยราชย์ราวเก้าปีในช่วง 1332–1323 ปีก่อนคริสตกาลตามลำดับเวลามาตรฐาน อยู่ในช่วงที่ประวัติศาสตร์อียิปต์เรียกว่า ‘ราชอาณาจักรใหม่’ (New Kingdom) หรือ ‘จักรวรรดิใหม่’ (New Empire) นอกจากนี้ ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2010 ผลการตรวจสอบทางพันธุกรรมได้ยืนยันว่า ‘ฟาโรห์แอเคอนาเทิน’ (Akhenaten) มีความสัมพันธ์กับพี่สาวหรือน้องสาวของตน คือ ศพที่ตั้งชื่อว่า The Younger Lady จนมีโอรสด้วยกัน คือ ฟาโรห์ตุตันคาเมน 

ใน ค.ศ. 1922 Howard Carter ซึ่งได้รับการสนับสนุนทางการเงินจาก George Herbert, 5th Earl of Carnarvon เป็นผู้ค้นพบสุสาน KV62 ซึ่งเป็นสุสานของฟาโรห์ตุตันคาเมน ซึ่งมีสภาพที่ค่อนข้างสมบูรณ์ จึงกลายเป็นจุดสนใจของสื่อมวลชนทั่วโลก ทั้งทำให้สาธารณชนสนใจอียิปต์ และหน้ากากพระศพก็ได้ถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ของอียิปต์โบราณมาจนทุกวันนี้ ส่วนข้าวของเครื่องใช้จากสุสานของฟาโรห์ตุตันคาเมน ยังได้ถูกนำไปจัดแสดงทั่วโลก 

นอกจากนี้ยังมีการเชื่อมโยงการตายของบุคคลหลายคน นับแต่ค้นพบพระศพของพระองค์เป็นต้นมาว่าเกี่ยวข้องกับคำสาปฟาโรห์ ที่มีความเชื่อว่า สุสานฟาโรห์มีเวทมนตร์ที่ทรงพลังในตัวเอง และเชื่อว่ากษัตริย์ที่สิ้นพระชนม์แล้วจะมีวิญญาณที่ทรงพลัง โดยการฝังพระศพในหมู่บรรพบุรุษ อาจจะช่วยให้ฟาโรห์ตุตันคาเมนบรรลุชีวิตหลังความตายได้ 

ถึงกระนั้น ก็ดูเหมือนว่า ฟาโรห์ตุตันคาเมน จะทรงต้องการถูกฝังไว้ในหลุมฝังพระศพที่สวยงามทั้งในหุบเขาหลักหรือในทุ่งนอกหุบเขาตะวันตกที่ซึ่งเสด็จปู่ของพระองค์ ฟาโรห์อาเมนโฮเทปที่ 3 ทรงถูกฝังอยู่ แต่ไม่ว่าพระองค์จะทรงตั้งใจอะไรก็ตาม ก็เป็นที่ทราบกันว่า พระศพของฟาโรห์ตุตันคาเมนทรงถูกฝังอยู่ในหลุมฝังพระศพที่คับแคบ ซึ่งลึกลงไปในพื้นของหุบเขาหลัก

ฟาโรห์ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักมากที่สุดได้แก่ ฟาโรห์ตุตันคาเมน (Tutankhamen)

 

8 เรื่องที่เรา (อาจ) ไม่รู้เกี่ยวกับฟาโรห์ตุตันคาเมน

1.) พระนามเดิมไม่ใช่ ตุตันคาเมน แต่เป็น ตุตันคาเตน ซึ่งแปลตามตัวอักษรได้ว่า ‘ภาพที่มีชีวิตของเอเทน’ สะท้อนให้เห็นถึงความจริงที่ว่า พระบิดาและพระมารดาของฟาโรห์ตุตันคาเมนบูชาเทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์ที่เรียกว่า ‘เอเทน’ หลังจากนั้นไม่กี่ปีในบัลลังก์ ฟาโรห์ตุตันคาเมน กษัตริย์หนุ่มก็ทรงเปลี่ยนศาสนาละทิ้งเอเทน และทรงเริ่มบูชาเทพเจ้าอามุน [ซึ่งเป็นที่เคารพในฐานะราชาแห่งเทพเจ้า] สิ่งนี้ทำให้พระองค์ทรงเปลี่ยนพระนามเป็น ตุตันคาเมน ซึ่งแปลว่า “รูปชีวิตของอามุน”

2.) สุสานหลวงของฟาโรห์ตุตันคาเมนเป็นสุสานหลวงมีขนาดเล็กที่สุดในหุบเขากษัตริย์ ฟาโรห์พระองค์แรกสร้างปิรามิดที่อลังการจนสามารถมองเห็นกลางทะเลทรายทางตอนเหนือของอียิปต์ อย่างไรก็ตามเมื่อถึงยุคอาณาจักรใหม่ (1550-1069 ปีก่อนคริสตกาล) ความนิยมเช่นนี้สิ้นสุดลง และกษัตริย์ส่วนใหญ่ทรงถูกฝังอยู่อย่างเป็นความลับในสุสานที่สร้างด้วยด้วยหินตัดเป็นก้อน ซึ่งมีการขุดอุโมงค์เข้าไปในหุบเขากษัตริย์ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำไนล์ที่เมืองธีบส์ทางตอนใต้ (อันเป็นเมืองลักซอร์ในปัจจุบัน) สุสานเหล่านี้มีประตูที่ไม่สะดุดตา แต่ภายในทั้งกว้างขวางและได้รับการตกแต่งเป็นอย่างดี อาจเป็นไปได้ว่า ฟาโรห์ตุตันคาเมนสิ้นพระชนม์เสียชีวิตตั้งแต่ยังวัยเยาว์เกินไปที่จะทำตามแผนการอันยิ่งใหญ่ของพระองค์ได้สำเร็จ หลุมฝังพระศพของพระองค์ยังสร้างไม่เสร็จ ดังนั้นพระองค์เขาจึงต้องทรงถูกฝังไว้ในสุสานที่ไม่ใช่ของราชวงศ์แทน อย่างไรก็ตามดูเหมือนว่าไม่น่าเป็นไปได้ เนื่องจากกษัตริย์พระองค์อื่นทรงสามารถสร้างสุสานที่เหมาะสมได้ในเวลาเพียงสองหรือสามปี และดูเหมือนว่า ฟาโรห์เอย์ (Ay) รัชทายาทผู้สืบทอดราชบัลลังก์ของฟาโรห์ตุตันคาเมน ซึ่งเป็นกษัตริย์ที่สืบทอดบัลลังก์ในฐานะผู้อาวุโสทรงได้ใช้เวลาเพียงสี่ปีหลังจากการสิ้นพระชนม์ของฟาโรห์ตุตันคาเมน ฟาโรห์เอย์เองก็ทรงถูกฝังอยู่ในหลุมฝังพระศพที่สวยงามในหุบเขาตะวันตกใกล้กับหลุมฝังพระศพของฟาโรห์อเมนโฮเทปที่ 3 หลุมฝังพระศพของฟาโรห์ตุตันคามุนที่มีขนาดเล็กอย่างไม่เชื่อ นำไปสู่สมมติฐานที่ว่าอาจมีบางส่วนของสุสานที่ยังไม่ถูกค้นพบ ปัจจุบันนักไอยคุปต์วิทยากำลังตรวจสอบความเป็นไปได้ที่อาจจะมีห้องลับซ่อนอยู่หลังกำแพงฉาบปูนของห้องฝังพระศพของพระองค์

3.) ฟาโรห์ตุตันคาเมนทรงถูกบรรจุฝังในโลงศพใช้แล้ว มัมมี่ของฟาโรห์ตุตันคาเมนบรรจุอยู่ในโลงศพทองคำสามใบซึ่งประกอบเข้าด้วยกันเหมือนตุ๊กตารัสเซีย ในระหว่างพิธีพระศพจะมีการวางโลงศพไว้ในโลงศพที่ทำด้วยหินรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า น่าเสียดายที่โลงศพด้านนอกมีขนาดใหญ่เกินไปเล็กน้อย และส่วนนิ้วเท้าของโลงโผล่พ้นขอบโลงศพทำให้ไม่สามารถปิดฝาได้ ช่างไม้จึงถูกเรียกมาอย่างรวดเร็ว และส่วนนิ้วเท้าของโลงศพถูกตัดออกไป กระทั่งกว่า 3,000 ปีต่อมา Howard Carter จึงพบเศษชิ้นส่วนของโลงตกอยู่ที่บริเวณฐานโลงศพ

4.) ฟาโรห์ตุตันคาเมนทรงโปรดการล่านกกระจอกเทศ มีการค้นพบพัดขนนกกระจอกเทศของฟาโรห์ตุตันคาเมนอยู่ในห้องฝังพระศพใกล้ๆ กับพระศพของฟาโรห์ เดิมพัดประกอบด้วยด้ามจับสีทองยาวที่มี 'ที่จับรูปฝ่ามือ' ทรงครึ่งวงกลมรองรับขนนกสีน้ำตาลและสีขาวสลับกัน 42 อัน ขนเหล่านี้ร่วงโรยไปนานแล้ว แต่เรื่องราวของพวกมันถูกเก็บรักษาไว้เป็นลายลักษณ์อักษรบนด้ามจับของพัด สิ่งนี้บอกว่า ขนมาจากนกกระจอกเทศที่ฟาโรห์ทรงล่าเองในระหว่างการล่าสัตว์ในทะเลทรายทางตะวันออกของเฮลิโอโปลิส (ใกล้กับไคโรในปัจจุบัน) ฉากนูนบนที่จับรูปฝ่ามือแสดงให้เห็นใบหน้าของฟาโรห์ตุตันคาเมนทรงออกเดินทางบนราชรถเทียมม้าเพื่อล่านกกระจอกเทศ และในทางกลับกันฟาโรห์เสด็จนิวัติอย่างมีชัยพร้อมกับเหยื่อของพระองค์

5.) อวัยวะส่วนหัวใจของฟาโรห์ตุตันคาเมนขาดหายไป ชาวอียิปต์โบราณเชื่อว่าสามารถมีชีวิตได้อีกครั้งหลังความตาย แต่คิดว่าสิ่งนี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อร่างกายได้รับการรักษาให้อยู่ในสภาพเหมือนจริง สิ่งนี้ทำให้พวกเขาพัฒนาศาสตร์แห่งการทำมัมมี่ขึ้น โดยพื้นฐานแล้วการทำมัมมี่เกี่ยวข้องกับการผึ่งศพให้แห้งในเกลือเนตรอนจากนั้นพันด้วยผ้าพันแผลหลาย ๆ ชั้นเพื่อรักษารูปร่างให้เหมือนจริง อวัยวะภายในร่างกายถูกนำออกเมื่อเริ่มกระบวนการทำมัมมี่ และเก็บรักษาแยกกัน สมองซึ่งเป็นส่วนที่ไม่รู้จักในเวลานั้นว่าทำหน้าที่อะไรถูกทิ้งไป หัวใจในยุคนั้นถูกมองว่า เป็นอวัยวะแห่งการให้เหตุผลแทนที่จะเป็นสมอง ด้วยเหตุนี้หัวใจจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิตหลังความตาย ดังนั้นจึงถูกเก็บไว้ หรือถ้าเอาออกโดยไม่ได้ตั้งใจก็จะเย็บกลับทันที แม้ว่าจะไม่ได้อยู่ในตำแหน่งเดิมก็ตาม มัมมี่ของฟาโรห์ตุตันคาเมนไม่มีหัวใจ เรื่องนี้อาจเกิดขึ้นเพียงเพราะ ความประมาทของผู้ทำมัมมี่ แต่ก็อาจเป็นสัญญาณว่า ฟาโรห์ตุตันคาเมนสิ้นพระชนม์จากพระราชวัง เมื่อพระศพของพระองค์มาถึงห้องปฏิบัติการในการทำมัมมี่หัวใจของพระองค์อาจจะเน่าสลายจนเกินกว่าจะรักษาไว้ได้

6.) สมบัติชิ้นที่ทรงโปรดของฟาโรห์ตุตันคาเมนคือ กริชเหล็ก Howard Carter ค้นพบกริชสองเล่มที่ห่ออย่างระมัดระวังในผ้าพันแผลมัมมี่ของฟาโรห์ตุตันคาเมน กริชเล่มหนึ่งมีใบมีดสีทอง ส่วนอีกเล่มมีใบมีดที่ทำจากเหล็ก กริชแต่ละเล่มมีปลอกทอง กริชเหล็กทั้งสองมีค่ามากเพราะในช่วงชีวิตของฟาโรห์ตุตันคาเมน (ครองราชย์ตั้งแต่ 1336-1327 ปีก่อนคริสตกาล) เหล็กหรือ "เหล็กจากท้องฟ้า" ตามที่ทราบกันดีว่าเป็นโลหะหายากและมีค่า ตามชื่อของมันคือ "เหล็กจากท้องฟ้า" ของอียิปต์นั้นได้มาจากอุกกาบาตเกือบทั้งหมด

7.) เสียงแตรของพระองค์สร้างความบันเทิงให้กับผู้ชมมากกว่า 150 ล้านคน สมบัติจากหลุมพระศพของฟาโรห์ตุตันคาเมนมี เครื่องดนตรีชิ้นเล็ก ๆ ได้แก่ แคลปเปอร์ (Clappers) งาช้าง 1 คู่ ซิสตร้า (Sistra) 2 ตัว (เครื่องเขย่าแล้วเกิดเสียง) และทรัมเป็ตอีก 2 อัน อันหนึ่งทำจากเงินพร้อมปากเป่าสีทอง และอีกอันหนึ่งทำด้วยทองสัมฤทธิ์หุ้มด้วยทองคำบางส่วน และดูเหมือนว่า ดนตรีจะไม่ได้อยู่ในลำดับความสำคัญของชีวิตหลังความตายของฟาโรห์ตุตันคาเมนมากนัก ในความเป็นจริงแตรของพระองค์ควรได้รับการจัดประเภทให้เป็นยุทโธปกรณ์ทางทหารจะเหมาะกว่า วันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2482 แตรทั้งสองได้ถูกเล่นในรายการวิทยุถ่ายทอดสดของ BBC จากพิพิธภัณฑ์ไคโร ซึ่งมีผู้ฟังประมาณ 150 ล้านคน Bandsman James Tappern ใช้กระบอกเป่าแบบปัจจุบันที่ทันสมัย ซึ่งทำให้กับทรัมเป็ตตัวสีเงินเสียงหาย ในปี พ.ศ. 2484 มีการเล่นทรัมเป็ตสำริดอีกครั้ง และคราวนี้ไม่มีกระบอกเป่าแบบปัจจุบัน ที่ทันสมัยแล้ว บางตำนานใน “คำสาปของฟาโรห์ตุตันคาเมน” อ้างว่า ทรัมเป็ตมีพลังอำนาจในการทำให้เกิดสงคราม การออกอากาศในปี พ.ศ. 2482 จึงทำให้อังกฤษต้องเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่สอง

8.) ฟาโรห์ตุตันคาเมนทรงถูกบรรจุในโลงศพที่แพงที่สุดในโลก สองในสามโลงศพของฟาโรห์ตุตันคาเมนทำด้วยไม้ปิดด้วยแผ่นทอง แต่เป็นที่ประหลาดใจอย่างยิ่งของ Howard Carter ซึ่งพบว่า โลงศพด้านในสุดทำจากแผ่นทองหนา ๆ โลงศพนี้มีความยาว 1.88 เมตร และหนัก 110.4 กิโลกรัม ราคาในวันนี้จะมากกว่า 1 ล้านปอนด์ 

มัมมี่ในขบวนพาเหรดของผู้ปกครองอียิปต์สมัยโบราณเดินผ่านกลางกรุงไคโร

ปรากฎการณ์มัมมี่ในขบวนพาเหรดของผู้ปกครองอียิปต์สมัยโบราณที่เดินผ่านกลางกรุงไคโรนั้น ทางฟาโรห์ทั้งแปดและราชินีทั้งสี่จะถูกเชิญขึ้นยานพาหนะที่สั่งทำพิเศษ ซึ่งติดตั้งด้วยโช้คอัพพิเศษ โดยมีชาวอียิปต์ร่วมเป็นสักขีพยานในขบวนแห่ของผู้ปกครองอันเก่าแก่ผ่านกรุงไคโรนครหลวงของอียิปต์ 

มัมมี่ 22 ตัว เป็นของฟาโรห์ 18 พระองค์และราชินี 4 พระองค์ มูลค่าหลายล้านดอลลาร์ถูกเคลื่อนย้ายจากพิพิธภัณฑ์อียิปต์ไปยังสถานที่ตั้งแสดงแห่งใหม่ที่อยู่ห่างออกไปราว 5 กม. (สามไมล์) ด้วยการรักษาความปลอดภัยอย่างแน่นหนาสมกับเป็นราชวงศ์ และสถานะที่เป็นสมบัติของชาติ ซึ่งมัมมี่ทั้งหมดจะถูกย้ายไปยังพิพิธภัณฑ์แห่งอารยธรรมอียิปต์ของชาติที่ใหม่ ด้วยขบวนพาเหรดทองคำของฟาโรห์ และมัมมี่แต่ละตัวจะถูกเชิญขึ้นรถที่ได้รับการตกแต่งซึ่งติดตั้งโช้คอัพพิเศษ รวมถึงรถศึกที่ลากด้วยม้าจำลอง 

แต่เดิมบรรดามัมมี่จะถูกตั้งแสดงในพิพิธภัณฑ์อียิปต์อันเป็นสัญลักษณ์ และมีนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกมาเยี่ยมชมมากมายในช่วงศตวรรษที่ผ่านมา รัฐบาลอียิปต์หวังว่า พิพิธภัณฑ์แห่งใหม่ (Royal Hall of Mummies) ซึ่งเปิดให้บริการอย่างเต็มรูปแบบจะช่วยฟื้นฟูการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นแหล่งเงินตราต่างประเทศที่สำคัญของประเทศ โดยห้องโถงได้รับการออกแบบเพื่อให้ผู้มาเยือนได้สัมผัสกับภาพจำลองเสมือนจริงของหุบเขากษัตริย์ในเมืองลักซอร์ และพิพิธภัณฑ์ Grand Egyptian แห่งใหม่ โดยเป็นที่เก็บของสะสมของฟาโรห์ตุตันคาเมนที่มีชื่อเสียง เปิดให้บริการใกล้ๆ กับมหาปิรามิดแห่งกิซ่า จนกระทั่งอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของอียิปต์ได้รับความเสียหายจากความวุ่นวายทางการเมืองในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา และจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 

'คำสาปของฟาโรห์' (Pharaoh's curse) เคยถูกสร้างเป็นภาพยนตร์มาแล้ว

 

คำสาปของฟาโรห์
แม้ว่า ขบวนพาเหรดของฟาโรห์ผู้ปกครองอียิปต์สมัยโบราณผ่านกลางกรุงไคโร จะถูกมองว่า เป็นงานที่ยิ่งใหญ่และสนุกสนาน แต่มัมมี่ของอียิปต์มีความเกี่ยวข้องกับความเชื่อโชคลางและลางสังหรณ์ในอดีต ในห้วงเวลานั้นอียิปต์ต้องเผชิญกับภัยพิบัติหลาย ๆ อย่าง เช่น อุบัติเหตุรถไฟชนกันมีผู้เสียชีวิตหลายสิบคนในเมือง Sohag อียิปต์ตอนบน ขณะที่มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 18 คนเมื่ออาคารในกรุงไคโรถล่มลงมา จากนั้นเมื่อมีการเตรียมการเพื่อขนย้ายมัมมี่อย่างเต็มที่ คลองสุเอซก็ถูกเรือบรรทุกสินค้า MS Ever Given เกยฝั่งขวางกั้นเป็นเวลาเกือบหนึ่งสัปดาห์ 

จริยธรรมในการแสดงมัมมี่ของอียิปต์โบราณ จึงกลายเป็นที่ถกเถียงกันอย่างมาก โดยนักวิชาการมุสลิมหลายคนเชื่อว่า คนตายควรได้รับการปฏิบัติอย่างให้เกียรติและด้วยความเคารพ และไม่จัดแสดงเป็นสิ่งสนใจ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2523 อดีตประธานาธิบดีอันวาร์ ซาดัต ได้สั่งปิดห้องมัมมี่ที่พิพิธภัณฑ์อียิปต์ โดยอ้างว่าห้องนี้ทำให้ผู้ตายเสื่อมเสีย เขาต้องการให้มัมมี่ถูกฝังใหม่แทน แม้ว่าจะไม่สมปรารถนาก็ตาม

Vietnamese Boat People รำลึก ‘เรือมนุษย์เวียดนาม’ ชีวิตสุดสิ้นหวังของผู้อพยพลี้ภัยกลางทะเล

30 เมษายน พ.ศ.2518 (ค.ศ.1975) เป็นวันที่สาธารณรัฐเวียดนาม หรือ ‘เวียดนามใต้’ ล่มสลาย โดยกองกำลังของกองทัพปล่อยปลดประชาชนเวียดนามเหนือกับกองกำลังของเวียตกง สามารถยึดกรุงไซ่ง่อนหรือนครโฮจินมินห์ไว้ได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด (คำว่า “เวียด” สมัยก่อนสะกดด้วยตัว “ต” แต่น่าจะหลังจากสงครามเวียดนามสงบแล้ว ต่อมาจึงใช้ “ด” สะกดแทน) 

ว่าแล้ววันนี้ ผมขอรำลึกถึง 46 ปี การล่มสลายของสาธารณรัฐเวียดนามหรือเวียดนามใต้ แต่ขอถ่ายทอดผ่านเรื่องราวของอีกเรื่องสำคัญที่สะเทือนหัวใจชาวโลกกับ ‘เรือมนุษย์เวียดนาม’ หนึ่งในผลลัพธ์ตรงจากเหตุล่มสลายในครั้งนี้ครับ

Alan Kurdi เด็กน้อยชาวซีเรียวัยเพียง 3 ขวบ ซึ่งเสียชีวิตจากการจมน้ำ

ถ้ายังพอจำกันได้ เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีข่าวเรือมนุษย์จากตะวันออกกลางและแอฟริกาข้ามทะเลเมดิเตอร์เรเนียนปรากฏอยู่มากมาย ทั้งที่ได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลต่าง ๆ ในยุโรป ตลอดจนเหตุโศกสลดหลายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะภาพการเสียชีวิตของ Alan Kurdi เด็กน้อยชาวซีเรียวัยเพียง 3 ขวบ ซึ่งเป็นเรื่องราวที่สะเทือนใจไปทั่วโลก 

แต่อันที่จริงแล้ว เหตุการณ์นี้ เป็นไปตามวงล้อประวัติศาสตร์ เพราะเคยเกิดขึ้นภายหลังจากที่สาธารณรัฐเวียดนามหรือเวียดนามใต้ล่มสลาย เมื่อ 46 ปีก่อน

เรือมนุษย์เวียดนาม (Vietnamese Boat People)

สงครามเวียดนาม หรืออีกชื่อหนึ่งว่า ‘สงครามอินโดจีนครั้งที่สอง’ ส่วนในเวียดนามจะเรียก ‘สงครามต่อต้านอเมริกา’ (เรียกสั้น ๆ ว่า สงครามอเมริกา) เป็นสงครามที่เกิดจากความขัดแย้งในเวียดนาม, ลาว และกัมพูชา ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ2498 จนกรุงไซ่ง่อนถูกยึดโดยกองกำลังของกองทัพปล่อยปลดประชาชนเวียดนามเหนือกับกองกำลังของเวียดกง เมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ.2518 

จากเหตุการณ์ดังกล่าว ทำให้เกิด ‘เรือมนุษย์เวียดนาม’ (Vietnamese Boat People) หรือแปลตรง ๆ จากภาษาอังกฤษจะแปลได้ว่า “มนุษย์เรือเวียดนาม” (แต่ตามคำที่ใช้กันในบ้านเรามาอย่างต่อเนื่องจะใช้ว่า “เรือมนุษย์เวียดนาม” ซึ่งผู้เขียนก็ขอใช้คำว่า “เรือมนุษย์เวียดนาม” เช่นที่ใช้กันมา)

ชาวเวียตนามใต้จำนวนมากแออัดกันรอเฮลิคอปเตอร์บนดาดฟ้าสถานทูตสหรัฐฯประจำเวียตนามใต้ ณ กรุงไซ่ง่อน

ผู้อพยพลี้ภัย ‘เรือมนุษย์เวียดนาม’ หมายถึงผู้อพยพลี้ภัยที่หนีออกจากเวียดนามโดยทางเรือ หลังจากสิ้นสุดสงครามเวียดนามในปี พ.ศ.2518 โดยวิกฤตการอพยพครั้งนี้พุ่งสูงสุดในปี พ.ศ.2521 และ พ.ศ.2522 อันเนื่องมาจากความตึงเครียดที่เกิดจากข้อพิพาทระหว่างเวียดนามกับกัมพูชา และระหว่างเวียดนามกับจีน  แต่ยังคงมีการอพยพต่อเนื่องมาจนถึง พ.ศ.2538 ในช่วงการล่มสลายของสาธารณรัฐเวียดนามหรือเวียดนามใต้ มีการอพยพของชาวเวียดนามมากกว่า 130,000 คน ซึ่งทำงานเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับรัฐบาลหรือกองทัพสหรัฐอเมริกา และอดีตรัฐบาลของเวียดนามใต้ในระหว่างนั้น โดยรัฐบาลสหรัฐฯ ส่งผู้อพยพลี้ภัยจากเวียดนามทางเครื่องบินและเรือไปปักหลักชั่วคราวยังเกาะกวม ก่อนที่จะย้ายไปยังที่พักพิงซึ่งถูกจัดไว้ในสหรัฐอเมริกา ภายในปีเดียวกันกับกองกำลังคอมมิวนิสต์ได้เข้าควบคุมกัมพูชาและลาว จึงทำให้มีผู้อพยพลี้ภัยจำนวนมากที่หลบหนีออกจากทั้งสามประเทศ และในปี พ.ศ.2518 ประธานาธิบดีเจอรัลด์ ฟอร์ด ได้ลงนามในรัฐบัญญัติการอพยพและการช่วยเหลือผู้อพยพลี้ภัยในอินโดจีน โดยใช้งบประมาณประมาณ 415 ล้านดอลลาร์ในการจัดหาระบบการขนส่งลำเลียง การดูแลสุขภาพ และที่พัก เพื่อให้ผู้อพยพลี้ภัยจากอินโดจีนสามารถตั้งถิ่นฐานใหม่ในสหรัฐอเมริกาได้

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรือมนุษย์เวียดนาม

ผู้อพยพลี้ภัยอาศัยเรือขนาดเล็กหลบหนีออกมาจากระบอบการปกครองใหม่ของสาธารณรัฐเวียดนาม โดยการออกนอกประเทศในขั้นต้นถือเป็นสิ่งผิดกฎหมาย ถึงแม้ว่าสิ่งนี้จะเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา และการแทรกแซงของสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้อพยพลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) แต่การหลบหนีที่เกิดขึ้น ก็เป็นความผิดกฎหมายทางทะเล ผู้อพยพลี้ภัยมาจากครอบครัวเกษตรกร ชาวประมง และผู้ที่มีอาชีพในชนบทอื่นๆ จึงเข้าหาเรือที่ใช้สำหรับแล่นใกล้ชายฝั่ง แต่เรือเหล่านี้ไม่ได้ถูกออกแบบมาสำหรับการเดินทางในทะเลเปิด แต่มันก็เป็นทางเลือกเดียวในการออกเดินทาง จึงเกิดเป็น ‘การอัดยัดครอบครัวลงไปในเรือลำเล็ก ๆ’

แน่นอนว่า ชุมชนและเชื้อชาติที่หลากหลายต้องตกอยู่ในความเสี่ยง เหตุจากสงครามทำลายโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ซ้ำร้ายยิ่งกว่าคือในปี พ.ศ.2522 (ค.ศ.1979) ได้เกิดสงครามจีน-เวียดนาม ทำให้ผู้ที่มีเชื้อสายจีนหวาดกลัวต่อความปลอดภัยในชีวิต เนื่องจากเห็นตัวอย่างในการประหารชีวิตและการกวาดจับเข้าค่ายแรงงาน ส่งผลให้มีผู้อพยพลี้ภัยจากสาเหตุนี้ คิดเป็น 70 เปอร์เซ็นต์ของผู้อพยพลี้ภัยชาวเวียดนาม 

การหลบหนีออกจากเวียดนามเป็นเรื่องอันตราย โดยส่วนหนึ่งเป็นเพราะผู้อพยพลี้ภัยจำนวนมาก มาจากประเทศอื่นๆ ในอินโดจีนขณะนั้น ซึ่งยากที่จะคาดการณ์จำนวนผู้อพยพลี้ภัยหลบหนีออกจากเวียดนามได้อย่างแน่นอน แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ผู้เชี่ยวชาญประเมินได้ชัด คือ มีผู้อพยพลี้ภัยหลบหนีมากถึง 1.5 ล้านคน และกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ของผู้อพยพเสียชีวิตจากการจมน้ำ การขาดน้ำ และเจ็บป่วยระหว่างรอนแรมในเรือ ฯลฯ 

ผู้อพยพลี้ภัยเรือมนุษย์เวียดนามที่ต้องทนทุกข์ทรมานจากความหิวโหย โรคภัย และโจรสลัด

นอกจากนี้ คนบนเรือ ยังต้องเผชิญกับพายุโรคความอดอยากและการหลบหนีโจรสลัด เพราะอย่างที่บอกไปว่า เรือลำเล็ก ๆ ไม่ได้ถูกออกแบบไว้สำหรับการเดินเรือในน่านน้ำเปิด และโดยปกติแล้วเรือทุกลำมักจะมุ่งหน้าไปยังช่องทางการเดินเรือระหว่างประเทศที่พลุกพล่านทางทิศตะวันออกประมาณ 240 กิโลเมตร (150 ไมล์) ผู้โชคดีจะประสบความสำเร็จด้วยการได้รับการช่วยเหลือจากเรือบรรทุกสินค้า หรือถึงฝั่งหลังจาก 1-2 สัปดาห์หลังจากออกเดินทาง แต่ผู้โชคร้ายจะยังคงเดินทางต่อไปในทะเลที่เต็มไปด้วยอันตราย ซึ่งบางครั้งก็กินเวลานานสองสามเดือน โดยต้องทนทุกข์ทรมานจากความหิวโหย, โรคภัย และ ‘โจรสลัด’ 

ผู้อพยพลี้ภัยเรือมนุษย์เวียดนามหญิงรายหนึ่ง ซึ่งถูกโจรสลัดลักพาตัวไปตั้งแต่ปี พ.ศ..2527 และสาบสูญจนทุกวันนี้

มีเรื่องหนึ่งเกี่ยวกับกลุ่มผู้อพยพลี้ภัยเรือมนุษย์เวียดนามราว 17-18 คน ที่ต้องเผชิญกับโจรสลัดอย่างน่าเศร้า โดยกลุ่มนี้ โดยสารด้วยเรือยาว 23 ฟุต (7 เมตร) เพื่อพยายามเดินเรือระยะทาง 300 ไมล์ (480 กม.) ข้ามอ่าวไทยไปยังภาคใต้ของไทยหรือมาเลเซีย แต่ท้ายที่สุดเครื่องยนต์เรือสองตัวของพวกเขาเกิดขัดข้อง และในไม่ช้าก็ต้องลอยไปอย่างไร้เรี่ยวแรงและไร้จุดหมาย อาหารและน้ำหมด  

เหตุการณ์หลังจากนั้น คือ เรือดังกล่าวถูกโจรสลัดไทยขึ้นเรือสามครั้งในระหว่างการเดินทาง 17 วัน ข่มขืนผู้หญิงสี่คนบนเรือ และฆ่าคนไป 1 คน ปล้นเอาทรัพย์สินของผู้อพยพลี้ภัยทั้งหมด และลักพาตัวชายคนหนึ่งซึ่งไม่มีใครพบเห็นอีก 

ความโชคดีของผู้เหลือรอด (เรือของพวกเขาจม) คือ พวกเขาได้รับการช่วยเหลือจากเรือประมงไทย และจบลงที่ค่ายผู้อพยพลี้ภัยบนชายฝั่งประเทศไทย ซึ่งจริงๆ แล้วเรื่องโจรสลัดยังมีอีกพอสมควรที่ทางประเทศได้ทำการช่วยเหลือผู้ลี้ภัยที่เจอโจรสลัดเข้าปล้นจี้

จากปัญหาโจรสลัดระบาด ในปี พ.ศ.2525 กองทัพเรือจึงได้รับมอบเครื่องบินตรวจการณ์แบบ T-337 G จำนวน 2 เครื่อง จาก UNHCR ตามโครงการปราบปรามการกระทำอันเป็นโจรสลัดในทะเล โดยกองทัพเรือได้จัดตั้งหน่วยบินป้องกันและปราบปราม โจรสลัดขึ้นที่จังหวัดสงขลา เพื่อทำการปราบปรามการกระทำอันเป็น ‘โจรสลัด’ ในอ่าวไทย ซึ่งหน่วยบินดังกล่าว ได้ปฏิบัติงานอย่างได้ผลดี

อย่างไรเสีย วิบากกรรมของเรือมนุษย์เวียดนาม ช่างน่าสังเวชยิ่งนัก โดยจากข้อมูลของสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้อพยพลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) ที่เริ่มรวบรวมสถิติการปล้นจี้ของโจรสลัดต่อผู้อพยพลี้ภัยเรือมนุษย์เวียดนามในปี พ.ศ.2524 ในปีนั้นมีเรือ 452 ลำบรรทุกผู้อพยพลี้ภัยเรือมนุษย์เวียดนามเข้ามาในประเทศไทย โดยบรรทุกผู้อพยพลี้ภัย 15,479 คน เรือ 349 ลำถูกโจรสลัดปล้น หญิง 228 คนถูกลักพาตัว และผู้อพยพลี้ภัยเรือมนุษย์เวียดนาม 881 คน เสียชีวิตหรือสูญหาย 

การรณรงค์เพื่อปราบปรามโจรสลัดระหว่างประเทศ จึงเริ่มขึ้นในเดือนมิถุนายน พ.ศ.2525 และสามารถลดจำนวนการปล้นของโจรสลัดลงได้บ้าง แม้ว่าจะยังคงเกิดขึ้นบ่อยครั้งก็ตาม ประมาณการจำนวนผู้อพยพลี้ภัยเรือมนุษย์เวียดนามที่เสียชีวิตในทะเลสามารถประมาณได้ตามที่ UNHCR ระบุคือ มีผู้เสียชีวิตในทะเลระหว่าง 200,000 ถึง 400,000 คน หรือประมาณการอย่างกว้าง คือ 10-70 เปอร์เซ็นต์ ของผู้อพยพลี้ภัยเรือมนุษย์เวียดนามจะเสียชีวิตในทะเล

วิกฤตการณ์ดังกล่าวไม่เป็นที่รับรู้ต่อชาวโลก จนกระทั่งจำนวนผู้อพยพลี้ภัยเพิ่มมากขึ้น ผู้อพยพลี้ภัยประมาณ 62,000 คนได้ขอลี้ภัยไปทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งภายในปี พ.ศ.2521 จำนวนผู้อพยพลี้ภัยเพิ่มขึ้นเป็น 350,000 คนภายในกลางปี พ.ศ.2522 โดยอีก 200,000 คน ต้องย้ายไปพำนักถาวรในประเทศอื่น ทั้งๆ ที่ตอนแรกประเทศใกล้เคียงกับเวียดนามจะยอมรับผู้อพยพลี้ภัยและจัดหาที่ลี้ภัยให้ แต่อย่างไรก็ตาม ต่อมานโยบายของหลาย ๆ ประเทศเหล่านั้นก็เปลี่ยนไป

ถึงกระนั้นผู้อพยพลี้ภัย ก็มักเดินทางผ่านหลายประเทศ โดยเริ่มแล่นเรือไปยังประเทศที่ใกล้เคียงที่สุด เช่น มาเลเซีย, ฮ่องกง และอินโดนีเซีย ซึ่งทาง UNHCR ได้จัดทำข้อตกลงชั่วคราวขึ้นกับหลาย ๆ ประเทศเหล่านี้ที่เริ่มปฏิเสธรับลี้ภัย แต่จะยอมเป็น “โรงพยาบาลแห่งแรก” ให้ หรือหมายความว่าผู้อพยพลี้ภัยจะอยู่ที่นั่นชั่วคราวจนกว่าจะได้รับการคัดเลือกและเข้าสู่ประเทศต่าง ๆ เช่น สหรัฐอเมริกาและแคนาดา

แม้จะมีข้อตกลงในปี พ.ศ.2522 แต่ประเทศต่าง ๆ ก็เริ่มรับผู้อพยพลี้ภัยน้อยลง เพราะจำนวนผู้อพยพลี้ภัยเรือมนุษย์เวียดนามในประเทศแรกรับผู้อพยพลี้ภัยเพิ่มขึ้นเร็วกว่าที่พวกเขาจะสามารถบริหารจัดการได้ ในที่สุดความเป็นปรปักษ์ต่อผู้อพยพลี้ภัยก็เพิ่มขึ้น ในขณะที่สถานการณ์ทางการเมืองภายในแต่ละประเทศทวีความตึงเครียดมากขึ้นตาม ตัวอย่างเช่น ฮ่องกงปฏิเสธที่จะรับผู้อพยพทางเศรษฐกิจของจีน แต่ยอมรับผู้อพยพลี้ภัยชาวเวียดนาม ทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างชาติขึ้น

มาเลเซียเป็นอีกประเทศที่ต้องเผชิญกับทางเลือกที่ยากลำบากกับการมาถึงของผู้อพยพลี้ภัยเรือมนุษย์เวียดนาม สถานการณ์เลวร้ายลงจนถึงจุดที่ชาวมาเลเซียผลักดันเรือลำหนึ่งที่มีผู้อพยพลี้ภัยอยู่บนเรือราว 2,500 คน สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากความตึงเครียดทางชาติพันธุ์ระหว่างชาวมลายูมุสลิมและชาวจีนพื้นเมือง  ด้วย “เส้นแบ่งทางชาติพันธุ์ที่มีความยาวและความกว้างของประเทศระหว่างชาวมลายูมุสลิม และชาวจีนที่ทานหมู” ด้วยเหตุนี้ในที่สุดมาเลเซียก็จึงเหมือนกับประเทศอื่น ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ปฏิเสธจะรับผู้อพยพลี้ภัยเพิ่ม

UNHCR กับภารกิจดูแลช่วยเหลือผู้อพยพลี้ภัยเรือมนุษย์เวียดนาม

อย่างไรก็ตาม บทสุดท้ายของความเลวร้ายจาก ‘เรือมนุษย์เวียดนาม’ ก็มาถึง เมื่อองค์การสหประชาชาติได้จัดการประชุมระหว่างประเทศที่นครเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์ ช่วงเดือนกรกฎาคม ปีพ.ศ.2522 ระบุเรื่อง “วิกฤตการณ์ร้ายแรง ซึ่งเกิดขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากกรณีของผู้อพยพลี้ภัยจำนวนหลายแสนคน” และเพื่อแสดงให้เห็นถึงความใส่ใจต่อปัญหาดังกล่าวจากสหรัฐฯ ทางรองประธานาธิบดีวอลเตอร์ มอนเดล หัวหน้าคณะผู้แทนสหรัฐฯ จึงได้สรุปผลการประชุมว่า... 

“ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตกลงที่จะให้ลี้ภัยชั่วคราวแก่ผู้อพยพลี้ภัยเวียดนาม และจะสนับสนุนการเดินทางออกอย่างเป็นระบบ ส่วนบรรดาประเทศตะวันตกต่างตกลงที่จะเร่งการตั้งถิ่นฐานใหม่” 

ผู้อพยพลี้ภัยเรือมนุษย์เวียดนามจำนวน 346 คน ขณะได้รับการช่วยเหลือจากเรือสินค้า MV Wellpark ในทะเลจีนใต้ เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2521 (ค.ศ.1978)

จากผลการประชุมครั้งนั้น ทำให้เกิดโครงการออกเดินทางอย่างเป็นระบบ ที่ทำให้ชาวเวียดนามได้รับการอนุมัติให้เดินทางออกจากเวียดนาม เพื่อไปตั้งถิ่นฐานใหม่ในประเทศอื่นได้ โดยไม่ต้องเป็นผู้อพยพลี้ภัย ‘เรือมนุษย์เวียดนาม’ และส่งผลให้ผู้อพยพลี้ภัยเรือมนุษย์เวียดนามลดจำนวนลงเหลือไม่กี่พันคนต่อเดือน  แต่กลับเพิ่มการตั้งถิ่นฐานใหม่ขึ้นมาราว 9,000 คนต่อเดือน และในปี พ.ศ.2522 เป็น 25,000 คนต่อเดือน โดยชาวเวียดนามส่วนใหญ่เดินทางไป สหรัฐอเมริกา, ฝรั่งเศส, ออสเตรเลีย และแคนาดา 

ปิดฉากวิกฤตด้านมนุษยธรรมที่เลวร้ายที่สุดสิ้นสุดลง แม้ว่าจะยังคงมีผู้อพยพลี้ภัยเรือมนุษย์เวียดนามเดินทางออกจากเวียดนาม และต้องเสียชีวิตในทะเล หรือถูกกักขังอยู่ในค่ายผู้อพยพลี้ภัยเป็นเวลานาน ต่อมาอีกกว่าทศวรรษก็ตาม

ครอบครัวผู้อพยพลี้ภัยเรือมนุษย์เวียดนามครอบครัวหนึ่ง ซึ่งประสบความสำเร็จในการตั้งถิ่นฐาน นายแพทย์ Hung Nguyen (คนกลางแถวบน) ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ที่ได้รับการช่วยเหลือจากเรือ MV Wellpark ถ่ายกับครอบครัวหน้าคลินิกของเขา ในเขต Orange County มลรัฐ California

 

Nansen passports : หนังสือเดินทาง Nansen หนังสือเดินทางสำหรับผู้อพยพลี้ภัย และคนไร้สัญชาติแบบแรกของโลก

"Nansen passports" เล่มนี้ออกโดยรัฐบาลฝรั่งเศส

เรื่องราวบางอย่างไม่ได้เป็นเรื่องที่อยู่ ๆ ก็ปรากฏขึ้นมาให้เราได้รู้ได้เห็น เช่นเดียวกับเรื่องของ "Nansen passports" ขณะที่ผู้เขียนกำลังอ่านข้อมูลเพื่อจะหาเรื่องราวต่าง ๆ มาเขียนอยู่นั้นก็บังเอิญไปเข้ากับเจอคำว่า "Nansen passports" เมื่อได้ไล่เรียงอ่านดูจึงพบว่า "Nansen passports" เป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก โดยส่วนตัวผู้เขียนเองก็ไม่เคยได้รู้ได้ยินเรื่องราวนี้มาก่อนทั้ง ๆ ที่เล่าเรียนรัฐศาสตร์มาก ทั้งอ่านเรื่องราวทางประวัติศาสตร์มากพอสมควร เลยต้องขอนำเขียนเล่าใน Weekly Column ของ The States Times เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้ทราบพอสังเขป 

“Fridtjof Nansen”

เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดลง เกิดมีความวุ่นวายที่สำคัญอันนำไปสู่วิกฤตการณ์ผู้อพยพลี้ภัยนับเรือนล้าน เนื่องจากรัฐบาลของหลายชาติถูกโค่นล้ม และพรมแดนของหลาย ๆ ประเทศก็ถูกขีดวาดขึ้นมาใหม่ โดยทั่วไปมักจะเป็นไปตามชาติพันธุ์ ทั้งยังเกิดสงครามกลางเมืองในอีกหลายประเทศ ผู้คนมากมายต้องอพยพหลบหนีออกจากบ้านเกิดเมืองนอน เพราะเกรงภัยสงคราม หรือการกดขี่ข่มเหง หรือความหวาดกลัวต่อภัยต่าง ๆ ทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม จากความวุ่นวายต่าง ๆ จึงส่งผลให้ผู้คนจำนวนมากไม่มีหนังสือเดินทาง หรือแม้แต่การที่ประเทศต่าง ๆ ก็ไม่ยอมออกหนังสือเดินทาง ทั้งยังขัดขวางการเดินทางระหว่างประเทศจำนวนมาก โดยมักจะดักจับหรือสกัดกั้นบรรดาผู้อพยพลี้ภัยทั้งหลาย และมีความมุ่งมั่นตั้งใจของบุคคลผู้หนึ่งที่จะแก้ไขปัญหานี้ นั่นก็คือ “Fridtjof Nansen”


Fridtjof Nansen นักสำรวจขั้วโลก นักการทูต และรัฐบุรุษ

Fridtjof Nansen ชาวนอร์เวย์ เกิดในปี พ.ศ. 2404 เป็นนักการทูต รัฐบุรุษและนักมนุษยนิยมที่มีความเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์อย่างลึกซึ้ง ยังเป็นนักสัตววิทยา และสร้างชื่อเสียงให้กับตัวเองในฐานะนักสำรวจขั้วโลก โดยในปี พ.ศ. 2436 (ค.ศ.1888) Nansen ได้นำทีมสำรวจชุดแรกข้าม Greenland ด้วยการเดินเท้า และอีกสี่ปีต่อมา Nansen ก็ได้เดินทางข้ามมหาสมุทร Arctic ได้สำเร็จ โดยการจงใจทำให้เรือที่ใช้ในการเดินทางกลายเป็นน้ำแข็ง เมื่อเลิกราจากการผจญภัยที่ต่อเนื่องยาวนานแล้ว Nansen ก็ได้สร้างชื่อเสียงใหม่ด้วยอาชีพนักการเมือง โดยเริ่มจากเป็นตัวแทนของนอร์เวย์ในการเจรจากรณีพิพาทกับสวีเดน และรับตำแหน่งเอกอัครราชทูตนอร์เวย์ประจำอังกฤษในเวลาต่อมา

องค์การสันนิบาตชาติ (The League of Nations)

ในช่วงปลายของสงครามโลกครั้งที่ 1 Nansen ได้ทุ่มเทในความพยายามเท่าที่มีอยู่ในการสร้างองค์กรที่จะส่งเสริมการสร้างสันติภาพระหว่างประเทศ จนกลายมาเป็นการประชุมสันติภาพ ณ กรุงปารีสในที่สุด และจากนั้นก็เกิดเป็น “องค์การสันนิบาตชาติ (The League of Nations)” ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2463 องค์การสันนิบาตแห่งชาติได้มอบภารกิจที่ยิ่งใหญ่และแสนหนักหนาสาหัสครั้งแรกให้กับ Nansen โดยแต่งตั้งให้เขาเป็นผู้บริหารระดับสูงในการรับผิดชอบต่อการส่งตัวเชลยศึกประมาณ 500,000 นายของกองทัพเยอรมัน และออสเตรีย - ฮังการี จากโซเวียตกลับประเทศ แม้ว่ารัฐบาลโซเวียตจะไม่ให้การยอมรับในองค์การสันนิบาตชาติ แต่ด้วยการเจรจาเป็นการส่วนตัวของ Nansen เดือนกันยายน พ.ศ. 2465 เขาได้รายงานต่อที่ประชุมขององค์การสันนิบาตว่า งานของเขาเสร็จสิ้น และเชลยศึก 427,886 นายได้รับการส่งตัวกลับประเทศภูมิลำเนา 

สำนักงานผู้ลี้ภัยระหว่างประเทศ Nansen (Nansen International Office for Refugees)

ในปี พ.ศ. 2463 เช่นกัน องค์การสันนิบาตชาติก็ได้มอบหมายให้ Nansen เป็นผู้ดูแลปัญหาหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ที่ยุ่งยากที่สุดคือ การหาทางในการจัดการกับผู้อพยพลี้ภัยที่พลัดถิ่นจากความขัดแย้งจำนวนมหาศาล ด้วยเหตุการณ์เร่งด่วนที่ทำให้เกิด "Nansen passports" คือประกาศในปี พ.ศ. 2464 โดยรัฐบาลใหม่ของสหภาพโซเวียตได้ทำการเพิกถอนสัญชาติของชาวรัสเซียที่อาศัยอยู่ในต่างประเทศ หมายถึงผู้ลี้ภัยชาวรัสเซียราว 800,000 คนซึ่งหลบหนีภัยอันเกิดจากสงครามกลางเมืองในรัสเซีย ทำให้ “สถานะทางกฎหมายของคนเหล่านี้มีความคลุมเครือ และส่วนใหญ่ไร้ซึ่งปัจจัยในการยังชีพ” "Nansen passports" เล่มแรกได้ออกโดย สำนักงานผู้ลี้ภัยระหว่างประเทศ Nansen (Nansen International Office for Refugees) ตามข้อตกลงระหว่างประเทศที่บรรลุในการประชุมระหว่างรัฐบาลต่าง ๆ ว่าด้วยใบรับรองตัวตนสำหรับผู้ลี้ภัยชาวรัสเซีย จัดทำโดย Nansen ในนครเจนีวา ตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2465 จนถึง 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2465 ซึ่งจะอนุญาตให้ผู้ลี้ภัยเดินทางและปกป้องพวกเขาจากการถูกเนรเทศ หนังสือเดินทางนั้นเรียบง่ายโดยมีลักษณะบ่งบอกตัวตนสัญชาติและเชื้อชาติของผู้ถือหนังสือเดินทาง แต่ก็ตอบสนองจุดประสงค์ได้ดี ผู้ถือครองสามารถย้ายไปมาระหว่างประเทศเพื่อหางานทำหรือสมาชิกในครอบครัวและไม่สามารถเนรเทศได้ “นี่เป็นครั้งแรกที่คนไร้สัญชาติมีตัวตนตามกฎหมาย” Annemarie Sammartino ได้เขียนใน The Impossible Border: Germany and the East, 1914-1922 จากบทบาทและความพยายามของ Fridtjof Nansen ในฐานะข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยของสันนิบาตชาติ

Nansen passports ออกโดยรัฐบาลสหราชอาณาจักร

สำนักงานผู้ลี้ภัยระหว่างประเทศ Nansen เป็นหน่วยงานที่สืบทอดภารกิจต่อจากหน่วยงานระหว่างประเทศแห่งแรกที่จัดการกับผู้ลี้ภัยคือ สำนักงานข้าหลวงใหญ่ด้านผู้อพยพลี้ภัย  (High Commission for Refugees Office) ซึ่งจัดตั้งขึ้นในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2464 โดยองค์การสันนิบาตชาติภายใต้การดูแลของ Fridtjof Nansen สำนักเลขาธิการสันนิบาตได้รับหน้าที่รับผิดชอบต่อผู้ลี้ภัยระหว่างประเทศและบุคคลไร้สัญชาติและกำกับสำนักงานผู้ลี้ภัยระหว่างประเทศ Nansen ให้ดำเนินความรับผิดชอบในขอบเขตของภารกิจนี้ ด้วยความขาดแคลนเงินทุนที่จำเป็นในการดำเนินงานของสำนักงานผู้ลี้ภัยระหว่างประเทศ Nansen อย่างต่อเนื่อง และเงินทุนในการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ลี้ภัย สำนักงานผู้ลี้ภัยระหว่างประเทศ Nansen จึงได้ระดมทุนบางส่วนผ่านการบริจาค แต่ส่วนใหญ่มาจากค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจาก "Nansen passports" และจากรายได้ในการขายแสตมป์ในฝรั่งเศสและนอร์เวย์  "Nansen passports" มีตราประทับของสำนักงานผู้ลี้ภัยระหว่างประเทศ Nansen ทั้งยังเป็นวีซ่าซึ่งใช้เพื่อให้ผู้ลี้ภัยจากรัสเซียหรืออาร์เมเนียสามารถเดินทางได้ "Nansen passports" ได้รับการเก็บรักษาไว้ในจดหมายเหตุขององค์การสันนิบาตชาติ ซึ่งย้ายไปยังองค์การสหประชาชาติในปี พ.ศ. 2489 และจัดเก็บอยู่ที่สำนักงานสหประชาชาติในนครเจนีวา จดหมายเหตุดังกล่าวได้รับการจารึกไว้ในทะเบียน UNESCO Memory of the World ในปี พ.ศ. 2553 (ค.ศ. 2010) 

"Nansen passports" โดยปกติจะมีอายุไม่เกินหนึ่งปี โดยขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของหน่วยงานที่ออกใบรับรอง สามารถต่ออายุได้ แต่ไม่มีกำหนด เป็นการช่วยให้ผู้ถือ "Nansen passports" สามารถเดินทางไปยังประเทศที่สามเพื่อหางานทำ จุดประสงค์พื้นฐานคือเพื่อช่วยลดแรงกดดันต่อเมืองที่แออัดไปด้วยผู้อพยพลี้ภัย และยังมีการแจกจ่ายผู้ลี้ภัยชาวรัสเซียและอาร์เมเนีย “อย่างเท่าเทียมกัน” มากขึ้นในกลุ่มประเทศสมาชิกขององค์การสันนิบาตชาติ อย่างไรก็ตามไม่มีการให้การรับประกันเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยหรือสิทธิในการหางานของผู้อพยพลี้ภัยที่ถือ "Nansen passports" ในปี พ.ศ. 2469 ประเทศสมาชิกขององค์การสันนิบาตชาติกว่า 20 ประเทศต่างเห็นพ้องต้องกันว่า ผู้อพยพลี้ภัยที่ถือ "Nansen passports" สามารถที่จะออกจากประเทศที่ออก "Nansen passports" และได้รับอนุญาตให้กลับเข้ามายังประเทศที่ออก “Nansen passports” ได้ ตัวอย่างเช่น หากฝรั่งเศสออก "Nansen passports" ให้กับผู้อพยพลี้ภัยชาวรัสเซีย เขาหรือเธอก็สามารถเดินทางไปยังเบลเยี่ยมด้วย "Nansen passports" และจะถูกส่งกลับไปยังฝรั่งเศสได้อีก

แสตมป์ที่ระลึกครบ 60 ปีที่ Fridtjof Nansen ได้รับรางวัล Nobel สาขาสันติภาพประจำปี พ.ศ. 2465

"Nansen passports" เป็นรูปแบบที่ถูกต้องในการระบุตัวตน โดย Michael Marrus นักประวัติศาสตร์ได้สรุปความสำคัญไว้ในการสำรวจอ้างอิงผู้อพยพลี้ภัยในยุโรปของศตวรรษที่ 20 ว่า “เป็นครั้งแรกที่มีการอนุญาตให้มีการกำหนดสถานะทางกฎหมายของบุคคลไร้สัญชาติผ่านข้อตกลงระหว่างประเทศที่เฉพาะเจาะจง” ในสาระสำคัญซึ่งเป็นรูปแบบใหม่ในการคุ้มครองระหว่างประเทศและเหนือกว่าอำนาจของรัฐ มีผู้อพยพลี้ภัยประมาณ 450,000 คนซึ่งต้องการเอกสารการเดินทางแต่ไม่สามารถขอหนังสือเดินทางได้จากหน่วยงานของรัฐในประเทศที่มีถิ่นฐานได้ใช้ "Nansen passports" ซึ่งออกให้ผู้อพยพลี้ภัยจนถึงปี พ.ศ. 2485 และได้รับการยอมรับโดยรัฐบาลถึง 52 ประเทศ ภายหลังการเสียชีวิตของ Nansen ในปี พ.ศ. 2473 สำนักงานผู้ลี้ภัยระหว่างประเทศ Nansen เป็นผู้ดำเนินการในเรื่อง "Nansen passports" ต่อ โดยอยู่ภายใต้องค์การสันนิบาตชาติ ณ จุดนั้น "Nansen passports" ไม่ได้หมายรวมเพียงแค่การอ้างอิงถึงการประชุมในปี พ.ศ. 2465 (ค.ศ. 1922) อีกต่อไป แต่ "Nansen passports" ถูกออกในนามของสันนิบาตชาติ แม้ว่าสำนักงานผู้ลี้ภัยระหว่างประเทศ Nansen จะปิดตัวลงในปี พ.ศ. 2481 หลังจากนั้นก็มีการออกหนังสือเดินทางใหม่โดยหน่วยงานใหม่คือ สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยภายใต้สันนิบาตชาติในกรุงลอนดอนจนถึงปี พ.ศ. 2485  ในปี พ.ศ. 2465 Nansen ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ เขาใช้เงินรางวัลในการพัฒนางานบรรเทาทุกข์ระหว่างประเทศ และต่อมาสำนักงานผู้ลี้ภัยระหว่างประเทศ Nansen ก็ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในปี พ.ศ. 2481 (ค.ศ. 1938) จากความพยายามในการจัดทำและออก "Nansen passports" เพื่อช่วยเหลือผู้อพยพลี้ภัยและผู้ไร้สัญชาติจำนวนนับเรือนล้าน ทุกวันนี้ภารกิจของ Fridtjof Nansen ยังคงได้รับการสานต่อโดย สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (Office of the United Nations High Commissioner for Refugees : UNHCR) โดยทำหน้าที่ คุ้มครองผู้ลี้ภัย ชุมชนที่ถูกบังคับให้ย้ายถิ่น และบุคคลไร้รัฐ รวมถึงอนุเคราะห์ให้ผู้อพยพลี้ภัยได้รับการส่งกลับประเทศเดิมด้วยความสมัครใจ การเข้าอยู่ในท้องถิ่นอื่น ๆ (กรณีในประเทศ) หรือการอพยพไปตั้งรกรากใหม่ในประเทศที่สาม


สนับสนุนข่าวโดย : แหล่งรวม "บทความและคอนเทนต์แปลกใหม่!!!" แบบไร้ Toxic ติดตามได้ที่ THE STATES TIMES Blockdit
คลิก : https://www.blockdit.com/pages/60583e7ff90e240c3e7f1c32


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top