Monday, 13 May 2024
ดร.ปุณกฤษ ลลิตธนมงคล

ไม่ทำผิด ไม่ต้องกลัว ทวนย้ำซ้ำๆ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ป้องกันการหมิ่นฯ เหมือน กม.อาญาธรรมดาทั่วไป

การเลือกตั้งครั้งนี้มีพรรคการเมืองนำเรื่องของกฎหมายอาญา มาตรา 112 มากล่าวถึงมากมาย ตามแต่แนวคิดและความเชื่อของแต่ละพรรค โดยเฉพาะสมาชิกที่เป็นแกนนำของพรรคนั้น ๆ ก่อนอื่นอยากผู้อ่านได้อ่านสามบทความก่อนที่มีความเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกับเรื่องนี้ ได้แก่ :

‘Thailand Spring’ ความพยายามที่ไม่มีวันสำเร็จ ตราบที่คนไทยยังยึดมั่นใน 3 สถาบันหลักของแผ่นดิน https://thestatestimes.com/post/2023040420

เปิดหลักฐานความพยายามให้สยามเกิด Thailand Spring เรื่องจริง!! อันตรายพุ่งเป้าต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ https://thestatestimes.com/post/2023041016

ปัญหาใหญ่ของโลก คนรุ่นใหม่คลั่ง ‘ลัทธิปัจเจกชนนิยม’ ขั้นรุนแรง จนขาดความเข้าใจใน ‘ลัทธิเสรีนิยม’ https://thestatestimes.com/post/2023041053

อันที่จริงแล้วประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 เป็นเพียงกฎหมายป้องกันการหมิ่นประมาทเช่นเดียวกับกฎหมายอาญาธรรมดาทั่วไปมาตราหนึ่งเท่านั้น หากไม่ทำผิดก็ไม่ผิดกฎหมาย แล้วกลัวไปทำไม เมื่อไม่ได้ทำผิดแล้ว...ทำไมจึงต้องกลัว

กฎหมายหมิ่นประมาทของไทยมีอยู่ 3 จำพวก เช่นเดียวกับกฎหมายหมิ่นประมาทของนานาประเทศได้แก่

1) หมิ่นประมาทบุคคลธรรมดา (มาตรา 326 ตามประมวลกฎหมายอาญาของไทย)

2) หมิ่นประมาทเจ้าหน้าที่ของรัฐ (มาตรา 136 ตามประมวลกฎหมายอาญา และหากหมิ่นประมาทศาลก็จะมีความเฉพาะเจาะจงลงไปอีก)

3) หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์หรือประมุขของรัฐ (มาตรา 112 ตามประมวลกฎหมายอาญาของไทย)

ขอบคุณภาพจากเพจ ‘ฤๅ’

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 บัญญัติไว้ว่า "ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปีถึง 15 ปี"

และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 133 บัญญัติไว้ว่า "ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้าย ราชาธิบดี ราชินี ราชสวามี รัชทายาท หรือประมุขแห่งรัฐต่างประเทศ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปีถึง 7 ปี หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงหนึ่งหมื่นสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"

บรรดาเด็กน้อย เด็กโข่งที่โดนหมายเรียกและหมายจับตามความผิดฐานนี้ เป็นเพราะ ได้กระทำการอันเป็นการ "หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท" ถ้าสิ่งที่พูดนั้นเชื่อไม่ได้พูดผิดก็สามารถพิสูจน์ตัวเองได้ในกระบวนการยุติธรรม ทำไม่ผิดย่อมไม่ต้องติดคุก หากแต่ทำผิดแล้วก็ย่อมต้องติดคุกเป็นปกติธรรมดาเช่นเดียวกับการทำผิดกฎหมายอาญาทั่วไปที่มีโทษหนักเบาเป็นไปตามโทษานุโทษ

ขอบคุณภาพจากเพจ ‘ฤๅ’

มาตรา 112 จึงเป็นเพียงกฎหมายที่มีไว้เพื่อปกป้องพระเกียรติของ ในหลวง พระราชินี และรัชทายาท เฉกเช่นเดียวกับ กฎหมายอาญา มาตรา326 อันเป็นการปกป้องการหมิ่นประมาทบุคคลธรรมดาทั่วไป และมาตรา 126 การปกป้องการหมิ่นประมาทเจ้าหน้าที่ของรัฐ และเหมือนกับกฎหมายปกป้องการหมิ่นประมาทต่อประมุขแห่งรัฐ (Head of State Defamation Law) ของทุกประเทศในโลกนี้

ส่วนคำว่า Lèse majesté Law ที่มักมีการนำมาเอ่ยอ้างนั้น ใน Wikipedia ระบุว่า หมายรวมถึงผู้นำที่เป็นทั้ง พระมหากษัตริย์ ประธานาธิบดี และตำแหน่งประมุขแห่งรัฐอื่น ๆ ด้วย และมักถูกนำมาแปลใช้เป็นคำว่า ‘กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ’ อันเป็นวาทกรรมที่บิดเบือน โดย นักการเมือง นักเคลื่อนไหว และกลุ่มบุคคลที่ไม่หวังดีต่อชาติบ้านเมือง เพราะประเทศไทยมีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2475 แล้ว จึงไม่มีกฎหมายนี้อยู่อีกต่อไป

สำหรับกฎหมายเกี่ยวกับการหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์หรือประมุขของรัฐ ในประเทศต่าง ๆ ที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข อาทิ

สเปน มาตรา 490 และ 491 ของประมวลกฎหมายอาญาควบคุมการหมิ่นพระมหากษัตริย์ บุคคลใดที่หมิ่นหรือดูหมิ่น พระมหากษัตริย์ พระราชินี บูรพกษัตริย์หรือรัชทายาท มีโทษจำคุกได้สองปี นิตยสาร El Jueves เคยลงบทความเสียดสีภาษาสเปน จึงถูกปรับในข้อหาละเมิดกฎหมายหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ของสเปน หลังจากตีพิมพ์ภาพล้อเลียนปัญหาเกี่ยวกับสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งสเปน (ในขณะนั้นยังทรงเป็นเจ้าชายแห่ง Asturias (องค์มกุฏราชกุมาร)) ในปี ค.ศ. 2007

บรูไน การหมิ่นสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งบรูไนถือเป็นอาชญากรรมในบรูไนดารุสซาลาม มีโทษจำคุกสามปี

กัมพูชา กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2018 รัฐสภากัมพูชาได้ลงมติให้การกระทำอันเป็นการหมิ่นพระมหากษัตริย์ใด ๆ ก็ตาม มีโทษจำคุกสูงสุดหนึ่งถึงห้าปี และปรับ 2 ถึง 10 ล้านเรียล โดยเมื่อมกราคม ค.ศ. 2019 ชายชาวกัมพูชาคนหนึ่งถูกตัดสินจำคุก 3 ปีจากการโพสต์บน Facebook

มาเลเซีย มีพระราชบัญญัติการปลุกระดม ค.ศ. 1948 เพื่อตั้งข้อหาผู้ซึ่งถูกกล่าวหาว่า หมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ ในปี ค.ศ. 2013 Melissa Gooi และเพื่อนอีก 4 คนถูกควบคุมตัวเนื่องจากถูกกล่าวหาว่า ดูหมิ่นราชวงศ์ ในปี ค.ศ. 2014 Ali Abd Jalil ถูกคุมขังและถูกคุมขัง 22 วันในข้อหาดูหมิ่นราชวงศ์ยะโฮร์และสุลต่านแห่งสลังงอร์ มีการลงโทษจำคุกในยะโฮร์ในข้อหาดูหมิ่นราชวงศ์กับ Muhammad Amirul Azwan Mohd Shakri

โมร็อกโก มีชาวโมร็อกโกถูกดำเนินคดีจากข้อความที่ถือว่าเป็นการล่วงละเมิดต่อพระมหากษัตริย์ บทลงโทษขั้นต่ำสำหรับความผิดดังกล่าวคือ จำคุกหนึ่งปี หากคำแถลงดังกล่าวจัดทำขึ้นเป็นการส่วนตัว (เช่นไม่ออกอากาศ) และจำคุกสามปีหากเผยแพร่ในที่สาธารณะ ในทั้งสองกรณีสูงสุดคือ 5 ปี คดีของ Yassine Belassal และ Nasser Ahmed (อายุ 95 ปี ซึ่งเสียชีวิตในคุกหลังจากถูกตัดสินว่ามีความผิดฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์) และ Fouad Mourtada Affair ได้อภิปรายเกี่ยวกับรื้อฟื้นการกฎหมายเหล่านี้และการบังคับใช้งานของพวกเขา ใน ปีค.ศ. 2008

รู้ทันการเมืองไทย ชวนส่องนโยบาย ‘คิดใหญ่ ทำเป็น’ พรรคเพื่อไทย บนแนวคิด ‘หลักกู’ ที่ไม่คำนึงถึง ‘หลักการ’

หลายนโยบายก็เคยส่องแล้ว วันนี้ขอถือโอกาสส่องอีกที นโยบายก็เคยส่องแล้วขอส่องซ้ำด้วยบทความเดิม ส่วนอันไหนที่ไม่เคยส่องจะได้จัดการส่องใหม่สั้น ๆ เพื่อให้กระชับ ดังนี้ครับ

การกำหนดค่าแรงขั้นต่ำ 600 บาทต่อวัน ผู้เขียนเชื่อว่า เศรษฐกิจของประเทศน่าจะมีปัญหาอย่างแน่นอน เมื่อมีพรรคการเมืองหาเสียงด้วยการกำหนดอัตราค่าจ้างและเงินเดือนโดยไม่ได้คำนวณจาก ‘ดัชนีราคาผู้บริโภค’ (Consumer Price Index : CPI) วิธีคิดค่าจ้างขั้นต่ำที่ใช้ฐานคิดคำนวณจาก ‘หลักกู’ โดยไม่คำนึงถึง ‘หลักการ’ ซึ่งต้องนำข้อมูลและปัจจัยที่เกี่ยวข้องมากมายหลายตัวมาคิดคำนวณให้ได้ ‘ดัชนีราคาผู้บริโภค’ (CPI) แล้วจึงจะสามารถคำนวณค่าแรงขั้นต่ำได้ (เป็นไปได้ไหม? ค่าแรงขั้นต่ำ 600 บาทต่อวันของพรรคเพื่อไทย https://thestatestimes.com/post/2023033141)

นโยบายประชานิยมที่พรรคการเมืองต่าง ๆ นิยมนำมาหาเสียงกับเกษตรกรเสมอมาคือ การพักหนี้ การยกหนี้ แต่ต้องนำงบประมาณซึ่งมาจากภาษีอากรมาอุดหนุนช่วยเหลือธนาคารเจ้าหนี้เงินกู้ ซึ่งก็ได้แก่ธนาคารเพื่อเกษตรกร ส่วนวาทะกรรมที่ว่า “ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้” นั้น คงเคยเห็นแต่นโยบายจำนำข้าวของพรรคเพื่อไทยที่ทำให้เกิดการทุจริตอย่างมโหฬาร หนี้จากโครงการดังกล่าวยังใช้ไม่หมดจนทุกวันนี้ ทั้ง ๆ ที่นโยบายสำหรับเกษตรกรควรเป็นเรื่องของการพัฒนาให้เกษตรกรพึ่งตนเองได้ และสามารถใช้หนี้สินที่มีอยู่ได้จนหมด

ทุกวันนี้ผู้คนยังเข้าใจผิดคิดว่า ที่ดินหลวงมีอยู่เอามาแปลงเป็นเอกสารสิทธิต่าง ๆ กระทั่งเป็นโฉนดกันง่าย ๆ ไม่สนับสนุนเรื่องพวกนี้ครับ เพราะที่สุดเมื่อที่ดินที่พี่น้องประชาชนได้มามีมูลค่ามากขึ้นที่สุดก็จะถูกขายเปลี่ยนมือไปจนหมด แต่ควรสนับสนุนให้ที่ดินที่เป็นที่รกร้างว่างเปล่าที่หน่วยราชการต่าง ๆ ครอบครองอยู่ หากหน่วยงานนั้น ๆ ไม่ได้ใช้ประโยชน์แล้ว ควรส่งคืนกรมธนารักษ์ผู้ดูแลที่ดินราชพัสดุทั้งหมด เพื่อนำมาจัดสรรให้ประชาชนที่ขาดโอกาสและรายได้น้อย ได้เช่าเพื่อประกอบอาชีพตามแต่ความถนัดและเหมาะสม แบ่งสรรพื้นที่ของที่ดินอย่างบริสุทธิ์และยุติธรรม โดยคำนวณค่าเช่าจากรายได้ของผู้เช่า ห้ามการเช่าช่วง การโอนเปลี่ยนผู้ครอบครองเด็ดขาด ซึ่งภาครัฐก็ได้ผลประโยชน์อย่างเหมาะสม ประชาชนผู้เช่าก็จะมีความรับผิดชอบและรู้สึกหวงแหนสิทธิที่ได้รับมา ให้เป็นความเท่าเทียมทางสังคมที่เหมาะสมและเป็นที่ยอมรับให้เป็นบรรทัดฐานที่ถูกต้องของสังคมต่อไป

เป็นนโยบายที่เห็นแล้ว ฮาสุด ๆ เลยต้องให้ภาพนี้เล่าเรื่องแทน

เป็นอีกนโยบายที่เห็นแล้ว ต้องอธิบายด้วยภาพเหล่านี้

ขอเน้นย้ำว่า หน่วยงานที่รับผิดชอบในการออกธนบัตรคือ ธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นหน่วยงานอิสระ ไม่ใช่กระทรวงการคลัง กระทรวงการคลังที่มีหน้าเพียงออกเหรียญกษาปณ์ กับส่งลายเซ็นของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสำหรับพิมพ์ลงบนธนบัตรเท่านั้น และสำคัญที่สุดเงินดิจิทัลที่ถูกต้องตามกฎหมายในประเทศไทยยังไม่มีมี เงินดิจิทัลทุกชนิดบนโลกใบนี้ธนาคารแห่งประเทศไทยไม่ได้ให้การรับรองว่าเป็นเงินที่ถูกต้องตามกฎหมาย เงินดิจิทัลที่ถูกต้องตามกฎหมายรับรองโดยธนาคารแห่งประเทศไทยอยู่ระหว่างการพัฒนาโดยธนาคารแห่งประเทศไทยเอง

ปัญหาใหญ่ของโลก คนรุ่นใหม่คลั่ง ‘ลัทธิปัจเจกชนนิยม’ ขั้นรุนแรง จนขาดความเข้าใจใน ‘ลัทธิเสรีนิยม’

คนรุ่นใหม่และพรรคการเมืองของคนรุ่นใหม่ ซึ่งคลั่งไคล่ใน Individualism (ลัทธิปัจเจกชนนิยม) อย่างรุนแรง มีวิธีคิดและการปฏิบัติที่ล้ำเส้นของ Liberalism (ลัทธิเสรีนิยม) ที่ได้นำมากล่าวอ้างจะทำให้สังคมอยู่อย่างสงบสุขได้ยากมากขึ้น

เมื่อมีคนกลุ่มหนึ่งในสังคมไทยกำลังพยายามทำให้ Individualism กลายเป็นกระแสหลัก ซึ่งที่สุดเมื่อเรื่องนี้เกิดขึ้น สังคมก็จะต้องพบกับปัญหาต่าง ๆ เยอะแยะมากมายที่จะตามมา

เรื่องแรกคือ...การตรากฎหมายใหม่ ๆ จะทำได้ยากมากขึ้น เพราะการตรากฎหมายมีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครอง Public interest (ผลประโยชน์สาธารณะ) ซึ่งตรงข้ามกับ Individual requirement (ความต้องการของแต่ละปัจเจก)

คนกลุ่มนั้นเองที่จงใจบิดเบือน โดยกล่าวอ้างถึงความเป็น Liberalism (ลัทธิเสรีนิยม) แต่เปล่าเลย สิ่งซึ่งคนเหล่านั้นแสดงออก และเรื่องต่าง ๆ ที่คนเหล่านั้นพูดและทำล้วนแล้วแต่เป็นเรื่อง Individualism ทั้งหมดทั้งสิ้น

อันที่จริงแล้ว Individualism เป็นลัทธิที่เบี่ยงเบนไปจาก Liberalism (ลัทธิเสรีนิยม) มาก เพราะแม้ Liberalism จะเน้นถึงเสรีภาพ แต่ก็ยังยอมรับว่า ทุกคนจะต้องอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายหรือกฎเกณฑ์ที่คุ้มครองประโยชน์ส่วนรวมของสังคม แต่ Individualism นั้นกลับไปเน้นที่เสรีภาพของปัจเจกบุคคล โดยยึดปัจเจก (ตนเอง) เป็นศูนย์กลาง โดยไม่ถึงความผิด ชอบ ชั่ว ดี ตามบรรทัดฐานของสังคม ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงมาก ๆ

เพราะกระแสของ Individualism จะทำให้เกิดปรากฏการณ์ฝ่าฝืนกฎหมาย โดยอ้างเหตุผลว่า การปฏิบัติตามกฎหมายหรือการบังคับใช้กฎหมายของเจ้าหน้าที่ตามอำนาจหน้าที่นั้น ขัดต่อ Free will (เจตจำนงเสรี) อันเป็น Fundamental right (สิทธิขั้นพื้นฐาน) ของ Free people (เสรีชน) ซึ่งจะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยพยายามเรียกกันให้ดูดีว่า อารยะขัดขืน (Civil disobedience) และใช้ช่องทางกฎหมายที่มีอยู่ในการต่อสู้ หากไม่ชนะคดีก็จะกล่าวหาว่า กฎหมายไม่เป็นธรรม หรือกระบวนการยุติธรรมไม่เป็นธรรม เพื่อสถาปนาความชอบธรรมให้แก่ข้ออ้างของตนเอง ซึ่งตอนนี้ก็เห็นกันมากมายเกิดขึ้นทั้งโลก และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในบ้านเมืองของเราในห้วงเวลาที่ผ่านมาไม่นาน

ภาวะเช่นนี้อันตรายต่อความเป็นอยู่ (Existing) ของรัฐ แต่ใครก็ตามที่โต้แย้งปรากฏการณ์เช่นนี้จะถูก Classify (จัดประเภท) ว่าเป็นบุคคลจำพวกอำนาจนิยมโดยอัตโนมัติ และเป็นฝ่ายตรงข้ามของคนรุ่นใหม่ เพราะแนวคิดของ Individualism จะให้น้ำหนักแก่ Individual interest (ผลประโยชน์ของแต่ละปัจเจก) โดยไม่สนใจ Public interest ระบบกฎหมายมหาชนจึงถูกท้าทายและทดสอบโดยมีความถี่มากขึ้น แล้วต่อไปการตรากฎหมายเพื่อกลุ่มผลประโยชน์ยิบย่อยก็จะมีมากขึ้นเรื่อย ๆ จนน่าจะทำให้เกิดความขัดแย้งกันเองระหว่างกฎหมายเก่าที่มุ่งรักษา Public interest กับกฎหมายใหม่ที่สนับสนุน Individualism เหล่านี้เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและกระจัดกระจาย แต่ก็ชัดเจนมากขึ้น

 

ถอดรหัส 'การเมือง' สไตล์ ์ Anthony Eden ไม่ใช่แกงถุงสำเร็จรูป ที่แกะหนังยางแล้วทานได้เลย

การเลือกตั้งครั้งนี้ มีการเสนอนักการเมืองหน้าใหม่ที่เป็นคนรุ่นใหม่มากมายหลายคน แต่ความเป็นจริงแล้ว การทำงานทางการเมืองอย่างมีคุณภาพนั้น จำเป็นต้องสั่งสมทักษะและประสบการณ์มากมายหลายเรื่อง รวมทั้งคุณงามความดี (ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด) นโยบายประชานิยม ขายฝัน ใครก็พูดได้ เขียนได้ แต่จะทำได้หรือไม่ โดยไม่ทำให้ชาติบ้านเมืองมีปัญหา นั่นคือเรื่องที่สำคัญที่สุด

วันนี้จึงขอนำเอาเรื่องราวของเซอร์ Anthony Eden (12 มิถุนาน ค.ศ. 1897 - 14  มกราคม ค.ศ. 1977) หนึ่งในนายกรัฐมนตรีผู้มากความสามารถและประสบการณ์ในประวัติศาสตร์ของสหราชอาณาจักร ด้วยมีนายกรัฐมนตรีเพียงไม่กี่คนที่มีประสบการณ์เทียบเท่ากับเซอร์ Anthony Eden นายกรัฐมนตรีผู้นี้ได้เลย มาบอกเล่าให้ผู้อ่านได้พิจารณาประกอบในการเลือกพรรคและคนที่ดีที่ใช่ เพื่อให้บ้านเราอันเป็นที่รักยิ่งของพวกเราก้าวต่อไปได้

ก่อนที่จะได้ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี Eden เป็นทหารในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ด้วยอายุยังน้อยในปี ค.ศ. 1915 โดยเริ่มเป็นนายทหารยศร้อยตรีเมื่ออายุเพียง 17 ปี เมื่อสงครามสงบลงในปี ค.ศ. 1919 เขาอายุเพียง 23 ปี มียศเป็นร้อยเอกและได้รับเหรียญกล้าหาญ Military Cross

เขาเป็น ส.ส. นานถึง 32 ปี และเป็นรัฐมนตรีอีก 14 ปี ก่อนดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ไม่มีนายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักรคนใดที่มีประสบการณ์มากกว่าเขา เว้นแต่เพียง เซอร์ Winston Churchill นายกรัฐมนตรีในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เท่านั้นที่มีประสบการณ์มากกว่าเขา

Eden ยังดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศเป็นเวลา 12 ปีในช่วงเวลาที่สำคัญ ได้แก่ :
ค.ศ. 1935 - ค.ศ. 1938 ภายใต้นายกรัฐมนตรี Neville Chamberlain ค.ศ. 1940 - ค.ศ. 1945 ในรัฐบาลผสมของเซอร์ Churchill ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ค.ศ. 1951 - ค.ศ. 1955 ภายใต้นายกรัฐมนตรี เซอร์ Churchill อีกครั้งหนึ่ง

ก่อนที่เขาจะได้สืบต่อตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจากเซอร์ Churchill ในเดือนเมษายน ปี ค.ศ. 1955 และชนะการเลือกตั้งทั่วไปในอีกหนึ่งเดือนถัดมา งานเมืองของเขาก่อนตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนั้นยาวนานและประสบความสำเร็จมากมาย

Eden มีกิตติศัพท์ในระดับโลกจากการดำเนินนโยบายจำยอมสละ เขาพยายามหลีกเลี่ยงสงครามโดยการโอนอ่อนผ่อนปรนให้แก่ชาติก้าวร้าวอย่างเยอรมนี ช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งทำให้เขาได้รับการยกย่องให้เป็น 'บุรุษแห่งสันติภาพ' ซึ่งสามารถชะลอการเกิดมหาสงครามสงครามโลกครั้งที่ 2 ไปได้ชั่วระยะเวลาหนึ่ง

เขาเป็นบุคคลที่ได้รับความนิยมอย่างมากเนื่องจากการรับราชการในช่วงสงครามที่ยาวนานและรูปลักษณ์และเสน่ห์ที่โด่งดังของเขา

มิตรภาพไม่จืดจาง ‘Demi Moore’ ย้ายมาอยู่กับ ‘Bruce Willis’ อดีตสามี เพื่อร่วมต่อสู้กับอาการภาวะสมองส่วนหน้าเสื่อม

มีรายงานว่า Demi Moore นักแสดงสาวใหญ่ วัย 60 ปี ได้ย้ายมาอยู่กับครอบครัวของ Bruce Willis อดีตสามีของเธอ ซึ่งใช้ชีวิตอยู่กับ Emma Heming ภรรยาคนปัจจุบันของเขา และลูกสาวสองคนของพวกเขาเพื่อให้ความช่วยเหลือหลังจากการวินิจฉัยของ Willis พบอาการของภาวะสมองส่วนหน้าเสื่อม

นักแสดงหญิงวัย 60 ปี Demi Moore และ Bruce Willis อดีตสามีของเธอยังคงมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันนับตั้งแต่แยกทางกันและยังคงแบ่งปันการเลี้ยงดูลูกสาวสามคนด้วยกัน

Moore ย้ายเข้ามาเพื่อบรรเทาเบาคลายความกดดันของครอบครัว Bruce Willis เมื่ออาการของเขาแย่ลง ตามรายงาน หญิงทั้งสองทำงานร่วมกันเพื่อดูแล Bruce Willis ดาราฮอลลีวูดวัย 67 ปีให้ดีที่สุด

Emma Heming ภรรยาคนปัจจุบันของ Bruce Willis ซึ่งอายุ 44 ปี กล่าวว่า เธอหวังว่า จะใช้อาการป่วยของสามีและเสียงของเธอเพื่อช่วย ‘สร้างความตระหนัก’ ถึงอาการของภาวะสมองส่วนหน้าเสื่อม เธอยกย่องผู้ดูแลและเรียกพวกเขาว่า ‘วีรบุรุษที่ไม่มีใครรู้จัก’

แหล่งข่าวบอกระบุว่า Moore ย้ายเข้ามาแล้ว และเธอจะไม่จากไปจนกว่าจะถึงวาระสุดท้ายของ Willis

มีรายงานว่า Demi Moore นักแสดงสาวใช้เวลาส่วนใหญ่กับครอบครัวของ Willis ในช่วงที่ไวรัสโคโรน่าระบาด

แหล่งข่าวกล่าวเพิ่มเติมว่า ในตอนแรกไม่มีใครนอกครอบครัวสามารถเข้าใจได้ว่า Demi Moore กำลังทำอะไรอยู่กับอดีตสามีและภรรยาใหม่ของเขา แต่ตอนนี้เข้าใจเหตุผลแล้ว 

Moore ช่วยทำหน้าที่เป็นเสาหลักของครอบครัว และมุ่งมั่นที่จะทำให้แน่ใจว่า ทุกวันก่อนที่ Willis จะจากไป ในโลกของเขาจะเต็มไปด้วยความรัก

ความดีที่ถูกมองข้าม เทียบมุมมองนักการเมืองที่ดีในทัศนะของคนอินเดีย ในขณะที่ไทยยังชิงอวด ‘ความเก่ง’ เหนือ ‘ความดี'

 

ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของการเลือกตั้งในบ้านเรา ระบอบประชาธิปไตยที่ดีจะอยู่รอดได้หรือไม่ แล้วเราคนไทยเคยนึกถึงนิยามของ ‘นักการเมืองที่ดี’ แล้วหรือยัง? ทุกวันนี้ทุกพรรคการเมืองในสนามเลือกตั้งบ้านเราล้วนแล้วแต่ขาย ‘ความเก่ง’ และแทบไม่มีพรรคการเมืองไหนขาย ‘ความดี’ เลย จึงขอนำเสนอบทความนี้ ซึ่งการกล่าวถึง นักการเมืองที่ดีในทัศนะของคนอินเดีย

ชาวอินเดียจะได้รับประโยชน์มากมายจากงานวิจัยในเรื่อง ‘ใครคือนักการเมืองที่ดี’ เพราะเราเคยถามกันไหมว่า ‘นักการเมืองที่ดีเป็นอย่างไร?’ อย่างไรก็ตาม ในประเทศอย่างเรา (อินเดีย) การถกเถียงกันเรื่องการเมืองเป็นเรื่องปกติที่แผงขายน้ำชาริมถนนและบนรถไฟ แต่เราบังเอิญหลีกเลี่ยงคำถามนี้ การอภิปรายเหล่านี้ส่วนใหญ่มีนัยยะเชิงวิพากษ์ มีการแบ่งขั้วตามอุดมการณ์ทางการเมืองที่ใคร ๆ มอบให้ และส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่ว่าด้วย ‘การเลือกคนที่เลวที่น้อยกว่า’ แล้วอะไรล่ะที่ขัดขวางไม่ให้เราปล่อยตัวปล่อยใจไปกับความจริงที่สำคัญของคำถาม?

ผู้คนต่างพากันคลั่งไคล้ในความคิดที่ว่า รัฐบาลปล่อยให้พลเมืองไม่มีการศึกษา เพราะมันง่ายที่จะปกครองพลเมืองที่ไร้การศึกษา แต่ในปัจจุบันด้วยความสามารถของอินเทอร์เน็ต อุปสรรคในการเข้าถึงข้อมูลได้ถูกทำลายลง และประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้เพียงแค่สัมผัสสมาร์ทโฟน สิ่งนี้น่าจะทำให้พลเมืองของประเทศหนึ่งหลงระเริงกับการคอร์รัปชั่น อัตราการเกิดอาชญากรรมสูง และทุกสิ่งที่ไม่ถูกต้องในประเทศกำลังพัฒนา เพื่อค้นหานักการเมืองที่เหมาะสมเป็นตัวแทนของพวกเขา

บางคนบอกว่า ‘นักการเมืองสมัยนี้ไม่ดีพอ’ สำหรับบางคน ‘การเมืองไม่เคยสร้างประโยชน์อะไรเลย’ และในขณะที่ยังมีคนอีกจำนวนหนึ่งบอกว่าเป็นพวกที่ ไม่ยุ่งกับการเมือง" แม้ว่าก่อนหน้านี้จะบ่งชี้ว่าผู้คนกำลังหมดความสนใจในการเมือง แต่การเปลี่ยนผ่านอย่างรวดเร็วสู่ยุคดิจิทัลทำให้ผู้คนหันไปสนใจเรื่องการเมืองในทันที แม้ว่าจะมีทั้งเรื่องแย่และแย่กว่าก็ตาม

ระบอบประชาธิปไตยของอินเดียที่ปรารถนาจะเป็นมหาอำนาจและศูนย์กลางความรู้ของโลกได้พยายามดิ้นรนเพื่อให้ทันกับธรรมชาติของการเมืองที่เปลี่ยนแปลงไป คนอินเดียเคยยกย่องชื่นชมนักการเมืองรุ่นแรกที่เติบโต และเป็นผลพวงของการต่อสู้เพื่อเอกราชกับการปกครองของอังกฤษ เราบูชาเสน่ห์และวิธีการของมหาตมะ คานธี ความเรียบง่ายของศาสตรี ความมุ่งมั่นของพาเทล ความรู้และวิสัยทัศน์ของอัมเบดการ์ ความซื่อสัตย์ของชอมธารี จรัล ซิงห์ และคนอื่น ๆ เรามีชีวิตอยู่ในความถวิลหาผู้นำที่เป็นไอดอลในสมัยก่อน แต่ไม่เต็มใจที่จะพัฒนาผู้นำสำหรับอินเดียในอนาคต หากรัฐบาลชุดก่อน ๆ หรืออย่างน้อยที่สุดพรรคการเมืองได้ลงทุนเพื่อหาผู้ที่เหมาะสมลงแข่งขันในการเลือกตั้ง ประเทศจะได้ประโยชน์มากมายจากมัน แต่เราจะไปจุดนั้นได้อย่างไร?

ประเทศที่พัฒนาแล้วได้มาถึงจุดที่พวกเขาอยู่ เพราะพวกเขาเข้าใจถึงความสำคัญของการวิจัยและได้ลงทุนกับมัน เราต้องเข้าใจว่าความรู้มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ ความรู้เกี่ยวกับกลไกที่ยั่งยืนในการระบุประเภทผู้สมัครรับเลือกตั้งที่เหมาะสมจะให้ผลลัพธ์ดังที่คาดหวัง แต่ในอินเดีย ทั้งประชาชนและพรรคการเมืองไม่ได้ทำงานเพื่อริเริ่มวาทกรรมว่า 'ใครเป็นนักการเมืองที่ดี' เป็นเพียงตำนานหรือสามารถกำหนดคุณลักษณะของ 'นักการเมืองที่ดี' ได้จริงหรือไม่?

งานวิจัยก่อนหน้านี้โดย ศ. Rainbow Murray (สำนักการเมืองและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ วิทยาลัย Queen Mary มหาวิทยาลัยแห่ง London) ในปี ค.ศ. 2010 และ ค.ศ. 2015 และ Reuven Hazan & Gideon Rahat ในปี ค.ศ. 2010 แสดงให้เห็นว่า บรรดาพรรคการเมืองใช้เกณฑ์อัตวิสัยหลายอย่างในการคัดเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้ง เช่น ฝีปาก ความฉลาด และความสามารถพิเศษ พวกเขาอาจเลือกผู้สมัครตามตัวแปรที่ไม่มีความชัดเจน เช่น ความภักดีต่อพรรค ความสัมพันธ์ในครอบครัว และอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม ศ. Murray ให้เหตุผลว่าการใช้ตัวแปรอื่นแทน เช่น 'ความสำเร็จทางการศึกษา' และ 'เส้นทางอาชีพ' เพื่อวัดความเก่งกาจและความสามารถพิเศษเป็นการสร้างปัญหา เนื่องจากการศึกษาที่ใช้เกณฑ์เหล่านี้อาจพบว่า เป็นการยากที่จะแยกแยะระหว่างผู้ที่ได้รับสถานะทางสังคมสูงระหว่างผู้ที่บรรลุและผู้ที่ได้รับมาโดยสิทธิพิเศษ การวิจัยของ ศ. Murray ทำให้เธอสรุปได้ว่า ผู้สมัครที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการเลือกตั้งคือ บุคคลที่มีความรู้จริง และพิสูจน์ได้สามารถจัดการปัญหา โดยเฉพาะปัญหาที่ผู้คนต้องเผชิญและอุทิศตนเพื่อจัดการกับปัญหาเหล่านั้น บุคคลนั้นควรมีทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ที่โดดเด่น และควรสามารถต่อสู้เพื่อให้ได้เหตุผลและสามารถเจรจาประนีประนอมได้เมื่อจำเป็น ซึ่งพอจะอนุมานได้ว่า คุณสมบัติที่เธอระบุสำหรับนักการเมืองที่ดีคือ ความรู้ ทัศนคติในการแก้ปัญหา ความตั้งใจในการทำงาน และทักษะในการสื่อสารและได้รับสนับสนุนที่ดี

เปิดวิธีคิด 'Yitzhak Rabin' อดีตนายกรัฐมนตรีแห่งอิสราเอล ผู้ยืนหยัดต่อสู้กับศัตรูที่รายล้อมรอบได้อย่างทะนง

ขณะที่ ปี่ กลอง ในการเลือกตั้งของบ้านเรากำลังโหมประโคมอย่างเมามัน ลองมาดูวิธีคิดของนักการเมืองในประเทศเล็ก ๆ แต่สามารถยืนหยัดต่อสู้กับศัตรูที่มีอยู่โดยรอบได้อย่างทะนงองอาจ ใช่แล้ว นั่นคือ อิสราเอล
.

ขณะที่ Yitzhak Rabin กำลังปราศรัยกับผู้สนับสนุนในเมืองไฮฟาในช่วงปี 1970 และผู้หญิงคนหนึ่งยกมือขึ้นแล้วพูดว่า “คุณ Yitzhak ดิฉันเป็นครู และดิฉันเชื่อว่า อนาคตของทั้งประเทศขึ้นอยู่กับการศึกษา ดิฉันอยากรู้ว่า คุณจะจัดการระบบการศึกษาอย่างไร?”

คำถามแบบนี้ แทบจะเป็นอาหารจานโปรดของนักการเมืองเลย นักการเมืองคนใดก็ตามสามารถตอบปัญหาเรื่องนี้ได้ โดยใช้เวลาเพียงไม่กี่นาทีโดยการพูดถึงงบประมาณที่มากขึ้น ชั้นเรียนที่เล็กลง โครงสร้างพื้นฐานที่ทันสมัย ฯลฯ แต่ Rabin ไม่ได้ตอบแบบนั้น เขาตอบว่า “คุณพูดถูกที่อนาคตของทั้งประเทศขึ้นอยู่กับการศึกษา น่าเสียดายที่อนาคตทั้งหมดของประเทศขึ้นอยู่กับรายการที่ยาวเหยียด และเราไม่สามารถพยายามจัดการทั้งหมดได้ในคราวเดียว มิฉะนั้นแล้วเราจะไม่ทำอะไรเลย เราได้ตัดสินใจว่า ลำดับความสำคัญสูงสุดสองประการของเราคือการป้องกันประเทศและเศรษฐกิจ เราอาจจะคิดผิด แต่การศึกษาคงต้องรอไปก่อน”

คำตอบที่ชัดเจนและตรงไปตรงมาเช่นนี้เป็นเพราะอิสราเอลเป็นประเทศเล็ก ๆ ที่ต้องยืนหยัดต่อสู้กับศัตรูที่มีอยู่โดยรอบนับตั้งแต่การก่อร่างสร้างประเทศ อิสราเอลยังไม่สามารถจัดการทุกอย่างได้ในคราวเดียว มีหลายอย่างที่รัฐบาลอิสราเอลยังไม่ได้จัดการ แต่ความสำคัญที่สุดคือการป้องกันประเทศและเศรษฐกิจ รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอีกด้วย จะมีใครบ้างที่สามารถแก้ไขพัฒนาระบบการศึกษา ปรับปรุงตลาดแรงงาน เพิ่มสวัสดิการ และจัดหาที่อยู่อาศัยที่ดีและราคาไม่แพง ในขณะที่ยังมีสิ่งที่สำคัญที่สุดสองเรื่อง ซึ่งหมายถึงความอยู่รอดของประเทศชาติที่ยังคงต้องรีบจัดการ หวังที่จะเห็นผู้นำทางการเมืองไทยมีวิธีคิดเช่นนี้ “เรื่องสำคัญที่จำเป็นของประเทศชาติต้องมาก่อนสิ่งอื่นใด...เสมอและตลอดไป”

‘Thailand Spring’ ความพยายามที่ไม่มีวันสำเร็จ ตราบที่คนไทยยังยึดมั่นใน 3 สถาบันหลักของแผ่นดิน


‘Thailand Spring’ ไม่ใช่ทฤษฎีสมคบคิด (Conspiracy theory) ที่ผู้เขียน มโน จินตนาการ ขึ้นมาเอง แต่ด้วยเหตุการณ์ เรื่องราวที่เกิดขึ้นในบ้านเมืองอันเป็นที่รักยิ่งของเราในห้วงเวลากว่าสิบปีที่ผ่านมา มีรูปแบบลักษณะความเป็นไปที่เป็นเช่นนั้น ซึ่งเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องจะได้นำเสนอดังต่อไปนี้

หลังจากเหตุการณ์ Arab Spring เมื่อราว 12 ปีก่อน อันเกิดจากสาเหตุมากมายหลายสาเหตุในประเทศต่าง ๆ ในตะวันออกกลาง อันได้แก่ ลัทธิอำนาจนิยม ระบอบเผด็จการ ปัญหาโครงสร้างประชากร ปัญหาพลังงานในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 2000 การทุจริตของนักการเมือง การละเมิดสิทธิมนุษยชน การว่างงาน ภาวะเงินเฟ้อ ความยากจน ฯลฯ 

โดยมีเป้าหมายคือ ลัทธิอิสลามนิยม ประชาธิปไตย การเลือกตั้ง เสรีภาพทางการค้า สิทธิมนุษยชน การเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง ฯลฯ ด้วยวิธีการในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การดื้อแพ่งขัดขืน การต่อต้านและการเดินขบวนประท้วงของประชาชน การนัดหยุดงาน การจลาจล การเคลื่อนไหวบนอินเทอร์เน็ตในสื่อสังคมออนไลน์ การประท้วงเงียบ การก่อจลาจล การเผาตนเอง การปฏิวัติ-รัฐประหาร การกบฏ และสงครามกลางเมือง ฯลฯ

ผลที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ Arab Spring ที่เกิดขึ้นในประเทศต่าง ๆ อาทิ : 

‘ตูนีเซีย’ เหตุการณ์เริ่มต้นเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม ค.ศ. 2010 รัฐบาลถูกโค่นล้มเมื่อวันที่ 14 มกราคม ค.ศ. 2011 ทำให้ นายกรัฐมนตรี Ghannouchi ลาออก ประธานาธิบดี Zine El Abidine Ben Ali ต้องลี้ภัยไปซาอุดีอาระเบีย มีการยุบสภาการเมือง เกิดการสลายตัวของพรรค RCD ซึ่งเป็นพรรคเก่าแก่ของตูนิเซียและมีการตรวจสอบทรัพย์สินของพรรค มีการปล่อยตัวนักโทษการเมือง และมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญในวันที่ 23 ตุลาคม ค.ศ. 2011

‘อียิปต์’ เหตุการณ์เริ่มต้นเมื่อวันที่ 25 มกราคม ค.ศ. 2011 ประธานาธิบดี Hosni Mubarak ถูกโค่น ต่อมาภายหลังถูกตัดสินว่า มีความผิดในข้อหาคอร์รับชัน (รวมทั้งครอบครัวของเขา และอดีตรัฐมนตรีของเขา) และถูกดำเนินคดีในข้อหาสั่งการให้ปราบปรามสังหารผู้ประท้วง หน่วยสืบสวนความมั่นคงของรัฐ การยุบพรรค NDP ซึ่งเป็นพรรคเก่าแก่ของอียิปต์ การยึดทรัพย์สินให้ตกเป็นของรัฐ การยกเลิกภาวะฉุกเฉินที่ใช้มา 31 ปี  

‘ลิเบีย’ เหตุการณ์เริ่มต้นเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2011 (การประท้วงครั้งใหญ่เริ่มขึ้นในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2011) รัฐบาลถูกโค่นล้มเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม ค.ศ. 2011 เกิดวิกฤติขึ้น Muammar Gaddafi ผู้นำเผด็จการถูกกองกำลังกบฏสังหาร เกิดการก่อจลาจลด้วยการแทรกแซงทางทหารที่ได้รับคำสั่งจากสหประชาชาติ จนกลายเป็นสงครามกลางเมืองเต็มรูปแบบในเวลาต่อมา  

‘ซีเรีย’ เหตุการณ์เริ่มต้นเมื่อวันที่ 26 มกราคม ค.ศ. 2011 (การประท้วงครั้งใหญ่เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม ค.ศ. 2011) ประธานาธิบดี Bashar al-Assad เผชิญหน้ากับการต่อต้านของพลเรือน ทำให้เกิด การจลาจลในเมือง เกิดการแปรพักตร์ครั้งใหญ่ของทหารจากกองทัพซีเรียและมีการปะทะกันระหว่างทหารของรัฐบาลและผู้แปรพักตร์ การก่อตัวของกองทัพซีเรียเสรีนำไปสู่สงครามกลางเมืองอย่างเต็มรูปแบบ ในเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม ค.ศ. 2011 เป็นต้นมา 

 

เหตุการณ์ Arab Spring มีทั้งทำเกิดการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ เปลี่ยนแปลงปานกลาง เปลี่ยนแปลงบ้างเล็กน้อย อาทิ ซาอุดีอาระเบีย ตามแต่ขนาดของความขัดแย้งและการประท้วง ซึ่งต่อมา Wael Ghonim ผู้นำเหตุการณ์ Arab Spring ในโลกโซเชียลของอียิปต์ ได้ออกมากล่าวว่า มีความท้าทายที่เข้าขั้นวิกฤตอยู่ 5 เรื่อง ในการเผชิญต่อสื่อสังคมออนไลน์เช่นทุกวันนี้ 

เจาะนโยบายยกเลิกการเกณฑ์ทหารและปฏิรูปกองทัพ พรรค 'ก้าวไกล-เพื่อไทย-เสรีรวมไทย' คิดอะไรกันอยู่?

วิเคราะห์นโยบายของพรรคการเมืองในการเลือกตั้ง พ.ศ. ๒๕๖๖

การเกณฑ์ทหารคือ การระดมและเตรียมพร้อมสรรพกำลังของชาติ เพื่อดำรงคงไว้ซึ่ง ‘ศักย์สงคราม’ (War Potential) เพื่อให้ประเทศชาติมีความพร้อมต่อภัยคุกคามจากอริราชศัตรู

หลาย ๆ คนที่ตั้งคำถามว่า เราจะเตรียมทหารให้พร้อมเพื่อรบกับใคร การรบครั้งล่าสุดของกองทัพไทยเกิดขึ้นเมื่อสิบกว่าปีที่ผ่านมาคือ กรณีการปะทะกับกัมพูชาตามแนวชายแดน อันเนื่องมากจากข้อพิพาทระหว่างกันในเรื่อง ‘เขาพระวิหาร’ พ.ศ. 2553 และพึ่งจะครบ 35 ปี ในกรณีการปะทะกับสปป.ลาว อันเนื่องมากจากข้อพิพาทระหว่างกันในเรื่อง ‘ชายแดนบริเวณบ้านร่มเกล้า อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก’   

อีกทั้งบนโลกใบนี้มีสงครามและความไม่สงบเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา การดำรงคงไว้ซึ่ง ‘ศักย์สงคราม’ เพื่อให้ประเทศชาติมีความพร้อมในการป้องกันประเทศจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ด้วยถือเป็นการประกันเอกราชและอธิปไตยของชาติ

นอกจากนั้นแล้ว หน่วยทหารของเราตลอดแนวชายแดนไม่ว่าทางบกหรือทางน้ำ ต้องทำหน้าที่สกัดกั้นหยุดยั้งภัยคุกความต่อความมั่นคงและสังคม ไม่ว่าจะเป็น การจับกุมคาราวานยาเสพติด การค้าอาวุธ การค้ามนุษย์ การจับกุมผู้ลักลอบเข้าเมือง สินค้าหนีภาษี การบ่อนทำลายทรัพยากรธรรมชาติของชาติ เช่น การลักลอบตัดไม้ การจับสัตว์น้ำ ฯลฯ ด้วยกำลังและยุทโธปกรณ์ของหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบภารกิจนั้น ๆ ไม่เพียงพอต่อภารกิจที่ต้องดูแลรับผิดชอบ

กองทัพไทยยังต้องรับผิดชอบดูแลสถานการณ์ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนใต้นับแต่เหตุการณ์ปล้นปืนจากกองพันพัฒนาที่ 4 ค่ายกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ หรือค่ายปิเหล็ง ต.มะรือโบออก อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส เมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2547 ซึ่งถูกมองว่า เป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยในระลอกใหม่ ต่อเนื่องยาวนานมากว่า 19 ปีแล้ว 

และปฏิเสธไม่ได้เลยว่า เมื่อเกิดบรรดาพิบัติภัยต่าง ๆ ขึ้น ก็ต้องอาศัยกำลังพลตลอดจนยุทโธปกรณ์ของกองทัพในการช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยพิบัติต่าง ๆ ในทุกมิติ

สานฝันก่อนสิ้นลม ‘Annie Wilkins’ หญิงผู้ทรหดแห่งยุค 50s เดินทางข้ามประเทศแรมปี ขณะป่วยโรคร้ายระยะสุดท้าย

สวัสดีนักอ่านทุกท่านครับ วันนี้ผมมีเรื่องราวน่าสนใจมาเล่าให้อ่านอีกเช่นเคยครับ บทความในครั้งนี้จะพาทุกท่านย้อนกลับไปในช่วงยุค 50s นะครับ ต้องบอกก่อนว่าในยุคนั้นไม่ได้มีเทคโนโลยีล้ำ ๆ เหมือนกับสมัยนี้ ถนนหนทางไม่ได้มีมากมาย รถยนต์ที่ใช้สำหรับเดินทางก็ไม่ได้แพร่หลายเท่าทุกวันนี้ และดูจะเป็นของแพงที่จับต้องได้ยากเสียด้วยครับ

ทำไมวันนี้ผมถึงเกริ่นถึงเรื่องการเดินทาง...เพราะวันนี้ผมจะเล่าเรื่องการเดินทางของหญิงคนหนึ่ง ที่มีชีวิตอยู่ในยุค 50s กอปรกับเธอป่วยเป็นโรคร้าย ซ้ำยังไม่มีเงินทองมากพอที่จะนำมารักษาตัวเอง แต่สิ่งที่เธอตัดสินทำกลับเป็นสิ่งที่หลายคนไม่คาดคิด เธอตัดสินใจออกเดินทางข้ามประเทศด้วยการขี่ม้าไปพร้อมกับสุนัขคู่ใจ 

บอกเลยว่า...การเดินทางครั้งนี้เป็นความฝันของเธอครับ

เกริ่นมามากขนาดนี้แล้ว เราไปทำความรู้จักผู้หญิงคนนี้กันดีกว่าครับ เธอมีชื่อว่า Annie Wilkins เดิมทีเป็นเกษตรกรจากมลรัฐ Maine เธอป่วยเป็นโรคร้ายที่ยากจะรักษา และเธอก็ไม่ได้แต่งงานมีครอบครัว Annie Wilkins นิยามตัวเองว่า เธอเป็นคนค่อนข้างนอกรีด ทำอะไรที่ผิดแปลกไปจากผู้หญิงในยุคเดียวกัน เช่น เธอสวมกางเกงเป็นประจำ ทั้งๆ ที่ผู้หญิงส่วนใหญ่นิยมสวมกางเกง เธอเขียนคิ้ว เธอขี่ม้าไปทำงานที่โรงงานรองเท้าในเมืองลูอิสตัน ทุกอย่างที่เธอทำเป็นจุดสนใจของผู้คน แต่ในทางกลับกัน ผู้คนก็มองไปที่เธออย่างระแวดระวังด้วย

ในปี ค.ศ.1954 ขณะนั้น Annie Wilkins มีอายุ 63 ปี เธอได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเธอป่วยเป็นโรคร้ายในระยะสุดท้าย และแพทย์ก็ระบุว่าเธอจะมีชีวิตอยู่ได้อีกเพียง 2 ปีเท่านั้น ความกลัวและความหดหู่ถาโถมเข้าหาเธอแบบไม่ยั้ง เธอไม่มีเงิน และลุงที่เป็นครอบครัวเพียงคนเดียวของเธอก็เพิ่งเสียชีวิตไป หนำซ้ำเธอยังต้องสูญเสียฟาร์มของเธออีกด้วย

Annie Wilkins ทบทวนเรื่องราวต่างๆ ในชีวิตของเธอ และก็คิดไปถึงแม่ของเธอที่เคยบอกไว้ว่า อยากจะไปเที่ยวที่มลรัฐแคลิฟอร์เนียนมาตลอด แต่ก็ไม่เคยมีโอกาสได้ทำ เนื่องจากความยุ่งเหยิงในชีวิตตลอดที่ผ่านมา 

Annie Wilkins ตัดสินใจจะใช้เวลาอีก 2 ปีที่เหลือให้เกิดประโยชน์สูงสุด และต้องการเดินทางข้ามประเทศเป็นครั้งสุดท้ายในชีวิต อีกทั้งเธอต้องการเห็นมหาสมุทรแปซิฟิกก่อนที่เธอจะตาย (มลรัฐ Maine อยู่ทางตอนเหนือของสหรัฐฯ ติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก) เธอจึงไม่สนใจคำแนะนำของคุณหมอที่จะให้เธอย้ายเข้าไปอยู่ในบ้านสงเคราะห์ของเทศมณฑลเพื่อใช้ชีวิตในวาระสุดท้าย

เมื่อตัดสินใจแน่วแน่แล้ว Annie Wilkins จึงซื้อม้ารูปร่างดีสีน้ำตาลมาไว้สำหรับเป็นยานพานะ โดยเธอตั้งชื่อให้มันว่า ‘Tarzan’ นอกจากนี้เธอยังต้องจำนองบ้านหลังเล็กของเธอเพื่อเปลี่ยนมาเป็นเงินไว้ใช้สำหรับการเดินทางอีกด้วย

Annie Wilkins เริ่มต้นเดินทางในวันที่ 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1954 โดยเธอสวมชุดเอี๊ยมของผู้ชาย และเดินมุ่งหน้าไปทางใต้พร้อมกับ ม้า 2 ตัว ได้แก่ Tarzan และ Rex และสุนัขชื่อ Depeche Toi (แปลว่า ‘เร็วเข้า’ ในภาษาฝรั่งเศส) โดยหวังเพียงว่าจะผ่านทุ่งหิมะก่อนฤดูหนาวไปให้ได้


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top