Friday, 5 July 2024
แปรอักษร

'เพจก้าวไกลวันนี้โกหกอะไร' แฉ!! งานจตุรมิตร 30 มีกลุ่มไม่ประสงค์ดีแฝงตัว ยืนแจกใบปลิวยัดเยียดให้ยกเลิกแปรอักษร แต่น้องๆ นักเรียนโนแคร์

(12 พ.ย.66) เพจ 'ก้าวไกลวันนี้โกหกอะไร' โพสต์ข้อความกรณีมีกลุ่มคนมาปั่นและป่วนงานจตุรมิตร 30 ให้ยกเลิกการแปรอักษร ระบุว่า...

#ทุกคนคะ หนูได้สัมภาษณ์กลุ่มนักเรียนที่ขึ้นแปรอักษรงานจตุรมิตร 30 

น้องเล่าว่า ก่อนเริ่มงานมีกลุ่มคนใส่แจ๊คเก็ตดำมายืนแจกใบปลิวและติดป้ายยกเลิกแปรอักษรอยู่ไม่กี่คน

น้องบอกรับมาและฉีกทิ้งต่อหน้า พวกนี้มันยัดเยียดให้ไม่มีใครสนใจ

ส่วนประเด็น #เลิกบังคับแปรอักษร ไม่ได้สนใจเลย ส่วนใหญ่รู้ว่าเหนื่อย แต่มันคือประสบการณ์ที่หาที่ไหนไม่ได้ หลายคนอยากขึ้นแปรอักษร คนที่ต่อต้านน่าจะเป็นคนส่วนน้อย

สุดท้ายน้องบอกมีความภูมิใจมากๆ ทั้งช่วงก่อนขึ้น ช่วงแปรอักษรและช่วงลงเพราะมีรุ่นพี่และผู้ปกครองมาปรบมือให้กำลังใจ

กลุ่มน้อง ม.2 รร. เทพศิรินทร์

‘นร.อัสสัมชัญ’ แชร์ความรู้สึกหลังร่วมแปรอักษร แม้อากาศร้อน-แดดแรง แต่ภูมิใจที่ได้ทำเพื่อโรงเรียน

เมื่อวานนี้ (12 พ.ย. 66) เพจ ‘Assumption College • โรงเรียนอัสสัมชัญ’ ได้โพสต์ข้อความความรู้สึกของเด็กนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมการแปรอักษรในงานฟุตบอลประเพณี 'จตุรมิตรสามัคคี' ระบุว่า…

บางอารมณ์จากความรู้สึกของการร่วมแปรอักษรฟุตบอลจตุรมิตรสามัคคี ครั้งที่ 30 ของเด็กอัสสัมชัญ

"สนุกมากครับ ถึงจะเหนื่อย เเต่ถ้ามาทำเพื่อโรงเรียน ไม่ว่าจะเเปลอักษร ร้องเพลงเชียร์ ผมพร้อมหมดครับ เพราะผมภูมิใจในความเป็นอัสสัมครับ หลังจากนี้จะทำเพื่อโรงเรียนต่อไป"
ภัทรพล หังสพฤกษ์ ม.3/1

"แปรอักษรสนุกดี แต่วันนี้อากาศร้อน เป็นประสบการณ์ที่ต้องกินข้าวบนสแตนด์แปรอักษร แต่โดยรวมสนุกมากครับ ผมนั่งเกือบริมที่อยู่ใกล้เพื่อน ๆ จากโรงเรียนเทพศิรินทร์"
ปัณณเชษฐ์ สุรสรณเศรษฐ์ ม.3/7

"ผมนั่งสแตนด์ส่วนของสำรอง โดนแดดเผาจนผิว แต่ได้ร่วมตะโกนร้องเพลงเชียร์พี่ ๆ น้องฟุตบอล ก็รู้สึกดีมากครับ"
ชัยพฤกษ์  ปัญญาใส ม.2/4

"ผมบอกเลยว่ามันเป็นการเชียร์และแปรอักษรที่สนุก ผมร้องเพลงแบบสุดเสียง แต่ก็มีช่วงที่ท้อแท้ เพราะต้องทำหลาย ๆ อย่างพร้อมกัน แต่ก็เป็นช่วงเวลาในชีวิตที่ดีที่สุดสำหรับผมแล้วครับ"
ภัทรพล เจริญบุตร ม.1/5

‘พี่วัน’ ภูมิใจ!! เคยได้เป็นส่วนหนึ่งของ ‘บอลจตุรมิตร-แปรอักษร’ เชื่อ!! ‘นักเรียน-ศิษย์เก่า-อาจารย์-ผู้ปกครอง’ ทั้ง 4 รร. ล้วนภาคภูมิ

(14 พ.ย. 66) นายวัน อยู่บำรุง อดีต สส. พรรคเพื่อไทย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ‘วัน อยู่บำรุง’ ระบุว่า… 

การแข่งขันฟุตบอลจตุรมิตร การแปรอักษร คือความภาคภูมิใจของนักเรียน ครูบาอาจารย์ ศิษย์เก่า และผู้ปกครองของนักเรียนทั้งสี่โรงเรียน สวนกุหลาบวิทยาลัย เทพศิรินทร์ อัสสัมชัญ กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย

#อย่าไปเดือดร้อนแทน
#จตุรมิตรสามัคคี30
#Osk110

‘ผอ.เทพศิรินทร์’ เปิดใจ!! ดรามา ‘ค้านแปรอักษร’ งานจตุรมิตร ยัน!! กิจกรรมนี้คือความภาคภูมิใจของ ‘4 โรงเรียนสุภาพบุรุษ’

เมื่อวานนี้ (13 พ.ย.66) ช่องยูทูบ Top News Live ได้เชิญ ผู้อำนวยการ นายวิธาน พรหมสินธุศักดิ์ หรือ ผอ.โรงเรียนเทพศิรินทร์ มาพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับปมดรามา 3 นิ้ว ‘ค้านแปรอักษร’ ในงานจตุรมิตร ครั้งที่ 30 ว่า…

ยืนอยู่ตลอด ก็คอยสังเกตการณ์ ซึ่งเขาก็จะมีวิธีการประชาสัมพันธ์ในลักษณะเชิญชวนน้อง ๆ ว่า ‘มีสิทธิเสรีภาพอย่าให้ใครมาบังคับน้อง ๆ อะไรต่าง ๆ ไม่ได้’ แล้วก็แจกใบค้าน ซึ่งผมจะแจกก็แจก แต่อย่าไปเอาไปขวางเด็ก ๆ เพราะเด็กเขาจะเดิน แล้วมันจะเสียจังหวะเสียแถว ซึ่งก็ได้อธิบายขยายความไป และตอนแรกเขาก็คิดว่าผมคงเป็นพ่อแม่ของเด็ก ๆ เพราะผมเรียกเด็ก ๆ ว่าลูก แต่ก็ได้บอกไปว่าไม่ใช่ ผมเป็นครูและนี่คือลูกศิษย์ทั้งนั้น ผมก็ดูแลเหมือนลูก จากนั้นก็ได้ขอทาง เพื่อให้เด็ก ๆ ได้เดินไปสนาม แต่ผมก็พยายามที่จะไม่คุย เพราะรู้ว่าคนกลุ่มนี้ต้องการแสง ต้องการราคา ต้องการที่จะมีที่ยืนในสื่อ ผมก็อยากจะให้พวกเขาเห็นว่าสิ่งนี้มันไม่มีอะไรที่จะมามีอิทธิพลเหนือกิจกรรมดี ๆ ที่เขาสร้างสมกันมา…

มันคือการเรียนรู้นอกห้องเรียน มันเป็นการเรียนรู้วิชาชีวิต วิชาความคิดสร้างสรรค์ วิชาการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน เพราะฉะนั้นแน่นอนเด็กก็คือเด็ก สามารถถูกชักจูงได้ เพราะฉะนั้นกลุ่มผู้ใหญ่ที่เห็นแก่ตัวพวกนี้จึงมักใช้เด็กเป็นฐานในการล้างสมองเปลี่ยนความคิด เพราะเด็กชอบความสบาย อย่างไม่ต้องแต่งชุดนักเรียน ไม่ต้องอยู่ในระเบียบ แต่พอวันนึงเมื่อเขาโตเป็นผู้ใหญ่ เขาจะรู้ว่าพวกนี้มันเป็นมารร้ายที่มาทำให้เขาไม่มีวินัย และประเทศชาติถ้าไม่มีวินัยสังคมไทยมันอยู่ไม่ได้… เพราะฉะนั้นวิธีการที่เราจะบอกเด็กคือการอธิบายว่า ถ้าเกิดไม่ร่วมกิจกรรมต่าง ๆ อะไรต่าง ๆ มันจะเป็นอย่างงี้นะ ซึ่งกล้ายืนยันตรงนี้ ที่ผ่านมาจนถึงวันนี้ ไม่เคยมีเด็กไม่จบจากการที่ไม่ผ่านกิจกรรม เพราะไม่ได้แปรอักษรจตุรมิตร แต่ถ้ามันเป็นเพียงกระบวนอย่างไม่เข้าเรียนหนังสือ มันก็ต้องตก ฉะนั่นมันคือวิธีการเพื่อให้เขาอยู่ในกรอบในระเบียบ ดังนั้นไม่มีพ่อแม่หรือครูบาอาจารย์คนไหนทำร้ายเด็กทั้งนั้น…

ประเด็นถัดมาคือเรื่อง ‘ศิษย์เก่า’ ที่โผล่ค้านแปรอักษร โดยเด็กคนนี้ ผมมองว่าเขามีประเด็นมาหลายเรื่องที่เกิดขึ้น ตั้งแต่ได้มารับตำแหน่งและที่ได้ทราบจากครูอาจารย์ว่าเขาเป็นมานานแล้ว เขาเป็นกลุ่มที่มีการประท้วงอะไรกันหลายครั้ง ตั้งแต่กลุ่มนักเรียนเลว อย่างล่าสุดตอนที่ผมมาก็คือเรื่องทรงผม สมัยตอนที่คุณตรีนุช เทียนทอง สั่งให้แต่ละโรงเรียนไปบริหารจัดการเรื่องทรงผม ซึ่งเขาก็พยายามที่จะตามหาข้อมูลต่าง ๆ เพื่อค้านให้เห็นว่าเด็กทุกคนคุณมีสิทธิไม่ต้องไปสนใจอะไรต่าง ๆ จากนั้นเขาก็ทำหนังสือไปถึงกรมคุ้มครองสิทธิต่าง ๆ เพื่อร้องเรียนว่าโรงเรียนไปละเมิดสิทธินักเรียน ทำให้เจ้าหน้าที่ทางกรมได้เข้ามาคุย ซึ่งก็ได้ชี้แจงอธิบาย และเอานักเรียนที่เกี่ยวข้องมานำเสนอพูดคุย จากนั้นทางกรมก็เข้าใจ

เพราะฉะนั้นจึงมองว่าในสังคมนี้เป็นอย่างที่พระเจ้าอยู่หัวเคยบอกว่ามีทั้งคนดีคนเลว ซึ่งทางโรงเรียนเทพศิรินทร์ก็สอน ‘น สิยา โลกวฑฺฒโน’ ความหมายคือ ‘ไม่ควรเป็นคนรกโลก’ แต่อย่างที่บอกนักเรียนเราตอนนี้เลขประจำตัว 50,000 กว่าคน ผมเชื่อว่ามันมีบางพวกที่เป็น ‘เทพศิรินทร์ปลอม’ ขออนุญาตใช้คำนี้ เป็นพวกที่ไม่ได้ได้ซึมซับความเป็นเทพศิรินทร์จริง ๆ แล้วมาอาศัยผืนแผ่นดินนี้เรียนเท่านั้น

ดังนั้น 4 โรงเรียนที่เป็นโรงเรียนจตุรมิตร คือ ‘โรงเรียนสุภาพบุรุษ’ ซึ่งชีวิตคนทุกคนไม่มีใครสุขสบายทั้งชีวิต พ่อแม่เลี้ยงลูกก็ต้องอยากให้ลูกสบาย สามารถเข้าใจได้ แต่ความลำบากต่าง ๆ ที่ลูก ๆ ผ่านมาจากอุปสรรคนั้น ความปลอดภัยก็สำคัญมาก ซึ่งมันเป็นหน้าที่ของครูบาอาจารย์ที่ต้องดูแล มันจะเป็นฐานที่สำคัญเลยที่จะทำให้เขายืนขึ้นไปเป็นผู้ใหญ่ที่มีความองอาจและมีความเข้มแข็ง แต่วันนี้…ถ้าเกิดว่าคนไม่เคยเจอความลำบากเลย แล้วไปเจอ บางทีสู้ไม่ได้ นี่คือวิชาชีวิต นี่คือวิชาของลูกผู้ชาย…ซึ่งยอมรับเลยว่า 4 สถาบันนี้มีอย่างเต็มเปี่ยม ผมตอบแทนทั้งโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โรงเรียนอัสสัมชัญ และโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยได้ว่าทั้ง 4 สถาบันเรามีเป้าหมายเดียวกัน เราเป็นโรงเรียนที่มีอายุเก่าแก่กว่าร้อยปี เป็นโรงเรียนที่สังคมให้การยอมรับและศรัทธา…เพราะฉะนั้นผมเชื่อมั่น…

ทั้งนี้ อยากจะบอกทางน้องนักข่าวว่าถ้าจตุรมิตรไม่ดีจริง ถ้าการแปรอักษรการเชียร์มันเป็นเรื่องยากลำบาก ผมขออนุญาตเอาเหตุผลของเทพศิรินทร์เป็นตัวตั้งแล้วกัน…ทำไมนักเรียนเก่าถึงเอาลูกมาเรียน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักเรียนเก่าทั้งนั้นที่เอาลูกมาเรียน ครั้งนึงผมเคยคุยกับเขา เขาบอกว่าเขาเคยอยู่บนสแตนด์เชียร์ เคยตากแดดตากฝน วันนั้นตอนที่เป็นเด็กอาจจะมีความรู้สึกเหมือนกันทำไมมันร้อน ทำไมมันลำบาก…แต่วันนี้มันกลายเป็นเรื่องเล็ก เป็นเรื่องขี้ปะติ๋วที่คุยกัน คนที่ไม่ได้ไปเชียร์และแปรอักษรบางรุ่นบางช่วงบางเวลาเสียโอกาส…และบางคนถึงกับบอกเคยทำ 3 ครั้งเลย เพราะมีอยู่หลายช่วงเวลาที่โรงเรียนเทพศิรินทร์และโรงเรียนในเครือจตุรมิตรได้รับโอกาสจากประเทศไทย เป็นเจ้าภาพเอเชียนเกมส์ โดยเขาก็จะเอาตัวแทนจาก 4 โรงเรียนไปแปรอักษรในนามของประเทศไทย ซึ่งสิ่งนี้คือโอกาส…และจตุรมิตรยังเป็นฐานของฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ ธรรมศาสตร์ การพบเห็นการเชียร์การแปรอักษรต่าง ๆ มันเกิดขึ้นจากเด็ก 4 โรงเรียนนี้ และนี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นและเป็นสิ่งที่ดีงาม…

ซึ่งผมกำลังมองว่าการที่สอนหรือพยายามที่จะปลุกปั่นว่านี่คือการริดรอนสิทธิ ผมว่าสิทธิเสรีภาพมันต้องมากับ ‘หน้าที่’ และเชื่อว่าสิ่งต่าง ๆ ที่พวกเราทำ เราคิดเสมอ ซึ่งผมและลูกของผมก็เป็นนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์ บางคนอาจจะบอกว่า ครูทำได้สิ ก็ไม่ใช่ลูกครู…ลูกผมเมื่อตอนที่เป็นนักเรียนเก่ารุ่น 125 ก็ตากแดดตากลมตากฝนอย่างนี้เหมือนกัน และ ณ วันนี้ลูกครูบาอาจารย์หลายคนก็ขึ้นสแตนด์เหมือนกัน เราภาคภูมิใจ…ที่ลูกเรามีส่วนร่วมกับกิจกรรมดี ๆ อย่างนี้ เพราะฉะนั้นตรงนี้ตอบได้เลยว่าเป็นลูกผม ผมก็ให้ทำ…

‘รร.อัสสัมชัญ’ จุดเริ่มต้นการแปรอักษรในงานกีฬาฯ สู่การสานต่อในฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์

(16 พ.ย. 66) ผู้ใช้งานเฟซบุ๊ก ‘David Boonthawee’ โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก ระบุว่า…

ภาพแรกการแปรอักษรในประเทศไทย

ปี พ.ศ. 2485 ในช่วงเวลาแห่งสงครามมหาเอเชียบูรพาและสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่แร้นแค้นขาดแคลน สินค้าแทบทุกชนิดหายาก แม้แต่ผ้าตัดเสื้อ ดังนั้นเสื้อผ้าที่สวมใส่กันส่วนมากจึงมีอยู่ไม่กี่สี

วันหนึ่ง มาสเตอร์เฉิด สุดารา ครูโรงเรียนอัสสัมชัญ สังเกตเห็นคนกลุ่มหนึ่ง แต่งตัวด้วยเสื้อสีฟ้านั่งกันอยู่เป็นกลุ่มใหญ่ จึงเกิดความคิดว่า ถ้านำเอาคนที่แต่งตัวเหมือน ๆ กัน มานั่งเป็นกลุ่มและจัดให้เป็นสัญลักษณ์อะไรก็คงจะทำได้ 

เวลานั้นโรงเรียนอัสสัมชัญมีการแต่งกายของนักเรียนอยู่ 2 แบบ คือ พวกที่เป็น ‘ยุวชนทหาร’ จะแต่งเครื่องแบบยุวชนทหารสีเข้ม ส่วนพวกที่ไม่ได้เป็นยุวชนทหารก็จะแต่งตัวด้วยเสื้อราชปะแตนสีขาว และใส่หมวกกะโล่สีขาวด้วย 

เมื่อถึงการแข่งขันฟุตบอลรุ่นกลางนัดชิงชนะเลิศ ระหว่างทีมโรงเรียนอัสสัมชัญ กับทีมโรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวาย

มาสเตอร์เฉิดจึงได้นำนักเรียนอัสสัมชัญที่แต่งชุด ‘สีขาว’ ไปรวมกันไว้ที่ตอนบนของอัฒจันทร์ก่อน แล้วค่อย ๆ นำนักเรียนลงมาทีละกลุ่ม จัดให้นั่งเรียงกัน โดยเว้นช่องว่างไว้บางส่วน 

จากนั้นก็ให้พวกแต่งชุดยุวชนทหาร ‘สีเข้ม’ เข้าไปนั่งเติมเต็มในช่องว่าง 

เมื่อมองจากด้านหน้าของอัฒจันทร์ ก็จะเห็นเป็นภาพตัวอักษร ‘อสช’ ขึ้นมาจากสีเสื้อยุวชนทหาร ซึ่งเป็นอักษรย่อของชื่อโรงเรียนอัสสัมชัญ 

นั่นคือปรากฏการณ์ครั้งแรกของการแปรอักษรในประเทศไทย ที่เกิดจากการนำคนที่ใส่เสื้อต่างสี มานั่งเรียงกันเพื่อ ‘แปร’ ให้เป็น ‘ตัวอักษร’

เหตุการณ์ครั้งนั้นสร้างความตื่นตะลึงและตื่นตาตื่นใจให้แก่ผู้ชมเป็นอย่างมาก

จากนั้นการแปรอักษรก็มีวิวัฒนาการเรื่อยมา จากสีเสื้อผ้า มาสู่การติดริบบิ้น แล้วใช้แผ่นกระดาษ จนกลายเป็น ‘เพลต’ ที่มีความซับซ้อนมากขึ้น กระทั่งมาถึงยุคที่ ‘ลงโค้ด’ ด้วยคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน 

การแปรอักษรมาถึงยุครุ่งเรืองสุดขีดเมื่อฟุตบอล ‘จตุรมิตรสามัคคี’ ถือกำเนิดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2507 
และสานต่อด้วยการนำมาใช้ในฟุตบอลประเพณี ‘จุฬาฯ-ธรรมศาสตร์’

ซึ่งผู้ที่นำการแปรอักษรไปเผยแพร่ในระดับมหาวิทยาลัยเป็นคนแรกก็คือ รศ.ดร. สุรพล สุดารา ศิษย์เก่าอัสสัมชัญ บุตรชายของมาสเตอร์เฉิด สุดารา นั่นเอง

อาจารย์สุรพล ขณะนั้นเป็นอาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ได้นำการแปรอักษรที่คิดค้นโดยบิดาตนเอง มาปรับใช้กับการเชียร์ฟุตบอลประเพณี

และนั่นเองที่ทำให้การแปรอักษรไม่ได้เป็นเพียงแค่การเชียร์สถาบันตนเองอีกต่อไป แต่ขยายพรมแดนไปถึงการสร้างความบันเทิงสนุกสนานให้แก่ผู้ชมด้วยอารมณ์ขัน การล้อเลียนเพื่อนต่างสถาบัน กระทั่งการวิพากษ์วิจารณ์และสะท้อนถึงสถานการณ์ของสังคมโดยรวม

‘พิธา’ หน้าเสีย!! โดนศิษย์เก่า-กองเชียร์กรุงเทพฯ โห่ไล่ รีบแจง!! "ผมไม่เกี่ยว" หลังมี สส.ก้าวไกล หนุนยกเลิกแปรอักษร

(19 พ.ย.66) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เพจวันนี้ก้าวไกลโกหกอะไร โพสต์คลิปเมื่อวันที่ 18 พ.ย. เป็นเหตุการณ์ ขณะที่มีคนกลุ่มหนึ่งส่งเสียงโห่และลุกขึ้นมาชูเสื้อซึ่งเขียนว่า "อย่าเสือ... เรื่องแปรอักษรของพวก..ู..." ใส่นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ อดีตหัวหน้าพรรคก้าวไกล ศิษย์เก่าโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน ในงานการแข่งขันฟุตบอลประเพณีจตุรมิตรสามัคคี ครั้งที่ 30 โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย พบ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ณ สนามศุภชลาศัย กรีฑาสถานแห่งชาติ

พร้อมระบุข้อความว่า ทุกคนคะ พิธาถูกโห่ไล่ค่ะ เหตุการณ์เกิดช่วงพักครึ่งแรก ลุงที่เป็นศิษย์เก่าโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน ลุกขึ้นมาชี้ที่พิธาและโห่ไล่ กองเชียร์ที่นั่งอยู่ก็ร่วมกันโห่ค่ะ สักพักพี่อีกคนเดินมาจากฝั่งเทพศิรินทร์ชูเสื้อที่เขียนว่า "อย่าเสือ...!! เรื่องแปรอักษรของพวก...ู..." มาชูต่อหน้าพิธา ได้รับเสียงเชียร์เป็นอย่างมาก ส่วนพิธาหน้าเสีย และบอกว่าผมไม่เกี่ยว!!

ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ สส.พรรคก้าวไกล เคยแถลงเกี่ยวกับกิจกรรม ‘จตุรมิตรสามัคคี’ ว่า มีกลุ่มศิษย์เก่าโรงเรียนเทพศิรินทร์และโรงเรียนสวนกุหลาบ ออกมาเรียกร้องว่า มีการบังคับนักเรียนลงชื่อและเข้าร่วมทำกิจกรรม ละเมิดสิทธิเด็กโดยให้นักเรียนอยู่อย่างแออัด ให้แปรอักษรติดต่อนานหลายชั่วโมงโดยไม่มีเปลี่ยนตัว รวมถึงไม่อนุญาตให้นักเรียนไปเข้าห้องน้ำหรือไปรับประทานอาหาร สถานที่เสี่ยงไม่ปลอดภัย เพราะมีโอกาสที่ส่วนต่อเติมจะทรุดตัวลงหากต่อเติมไม่ดี หรือรองรับน้ำหนักของเด็กมากเกินไป ดังนั้นคณะทำงานการศึกษาก้าวไกลจึงห่วงใยต่อสวัสดิภาพและความปลอดภัยในชีวิตของเด็กนักเรียน พร้อมโพสต์รูปภาพติดแฮชแท็ก #เลิกบังคับแปรอักษร

'อ.เดวิด' ชี้!! คุณค่ายาวนานแห่ง 'จตุรมิตร-การร่วมทำงานแปรอักษร' หล่อหลอม 'สังคม-คน' คุณภาพ ยากที่ความแตกแยกจะแทรกแซง

(20 พ.ย. 66) อ.เดวิด บุญทวี นักวิชาการอิสระด้านประวัติศาสตร์ ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก 'David Boonthawee' ระบุว่า...

เห็นภาพนี้แล้วก็นึกถึงสมัยตัวเองเรียนมอปลายนะครับ เคยมีสภาพอย่างที่เห็น 

สมัยผมเป็นนักเรียนอัสสัมชัญ ผมขึ้นสแตนด์แปรอักษรจตุรมิตรตั้งแต่ ป.6 จนถึง ม.3 ขึ้นทุกปี ก่อนที่จะมีการปรับให้เฉพาะนักเรียนมัธยมเป็นผู้ขึ้นแปรอักษร พร้อม ๆ กับเปลี่ยนการจัดงานจากทุกปี เป็น 2 ปีครั้ง ตั้งแต่ปี 2530

ตอนแปรอักษรนี่ผมหยิบขนมกินตลอดนะครับ อาหารน้ำท่าที่โรงเรียนจัดให้นี่บริบูรณ์มาก ไม่นับที่พ่อแม่ให้มาอีก แถมตลอดการแปรอักษรก็คุยเฮฮาบ้าบอกับเพื่อน ๆ จนรุ่นน้องที่นั่งอยู่แถวถัดๆ ไปหัวเราะตามกันเป็นที่ครึ้นเครง

ไม่มีใครมาดุด้วยนะครับ ขอให้แปรไม่ผิดเป็นใช้ได้ แต่ถึงแปรผิด ก็จะถูกตักเตือนเบา ๆ จากรุ่นพี่หน้าสแตนด์ แค่นั้นก็สะดุ้งโหยงแล้วครับ ไม่ใช่เพราะกลัว แต่เพราะไม่มีใครอยากทำผิดพลาด 

พอขึ้นมอปลาย ก็ไปช่วยเพื่อนเตรียมงานแปรอักษร ไปเองนะครับ ไม่มีใครบังคับ เพื่อน ๆ ที่เป็นทีมงานตัวจริงก็อาสากันเองทั้งนั้น 

ผมจำได้ว่าต้องขนเพลท ขนข้าวของสารพัดไปที่สนาม ถึงผมจะไม่ได้อยู่ค้างคืนเหมือนหลาย ๆ คน แต่กลับถึงบ้านก็สลบเหมือด

วันรุ่งขึ้นก็ไปสนามแต่เช้าเพื่อช่วยงานแปรอักษรต่อ ก่อนจะมาขึ้นอัฒจันทร์ด้านมีหลังคาช่วงบ่าย เพื่อเป็นหน่วยสนับสนุนและรอเชียร์ฟุตบอล 

ปีที่ผมเล่าให้ฟังนี้ อัสสัมชัญได้แชมป์ครั้งแรกร่วมกับสวนกุหลาบ ก่อนจะได้แชมป์เดี่ยวตามมาอีกหลายครั้ง สลับ ๆ กับเพื่อน ๆ อีก 3 โรงเรียนนั่นแหละครับ 

ย้อนกลับมาที่ภาพที่โพสต์ให้ดู 

อันนี้คือล่าสุดที่เพิ่งผ่านไปนี้เองนะครับ เป็นภาพนักเรียนมอปลายโรงเรียนอัสสัมชัญ ที่ใต้ถุนอัฒจันทร์ สนามศุภชลาศัย 

ภาพแบบนี้มีให้เห็นทั้ง 4 โรงเรียนจนเป็นเรื่องชินตาของพวกเรา 

น้อง ๆ ทุกโรงเรียนช่วยกันทำงานอย่างทุ่มเท ไม่มีใครมานั่งเกี่ยงงอน เรื่องมาก บ้า ๆ บอ ๆ ปัญญาอ่อน อ้างนั่นอ้างนี่หรอกนะครับ

ทุกคนประกาศความเป็น ‘คนจริง’ ของตัวเองผ่านการทำงาน ด้วยความเพียร ความรับผิดชอบ ความเสียสละ ความเหน็ดเหนื่อย 

แน่นอนว่าทั้งหมดนี้มาจากการอบรมบ่มเพาะของครูบาอาจารย์ชั้นยอด ความร่วมมือร่วมใจของพ่อแม่ผู้ปกครอง บวกกับความรักในสถาบัน ความรักในมิตรภาพของพี่น้องจตุรมิตรทั้ง 4 โรงเรียน  

ไม่มีใครประกาศตัวตนผ่านการสร้างความแตกแยก หรือต้อง ‘โกหก’ หรอกนะครับ มีแต่ลงมือทำกันจริง ๆ จัง ๆ ให้ปรากฏเป็นผลงาน แล้วผลงานทุกอย่างก็จะประกาศตัวมันเองให้โลกรับรู้ 

ยังไม่ต้องพูดว่า แต่ละคนที่ขึ้นแปรอักษรหรือทำงานเบื้องหลัง ล้วนมีประจักษ์พยานปรากฏรับรองกันทั้งนั้น ไม่ใช่พูดอะไรที ก็หาใครมายืนยันอะไรไม่ได้ 

เมื่อเวลาผ่านไป ทุกคนจะมี ‘เรื่องเล่า’ อันน่าจดจำและภาคภูมิใจ และไม่มีใครจะพรากมันไปได้ 

เชื่อผมเถอะครับ ทุกคนจะเติบโตขึ้นอย่างแข็งแกร่ง และฝ่าฟันปัญหาอุปสรรคของชีวิตจริงได้ไม่ยาก 

สนามของจตุรมิตร สนามของการทำงานแปรอักษรทั้งกระบวนการ มันหล่อหลอมขึ้นมาอย่างมีคุณภาพ 

ยังไม่นับความรัก ความสนิทสนมกลมเกลียวที่แต่ละคนมีให้กัน ทั้งกับเพื่อน ๆ ในโรงเรียนตัวเอง และกับพี่น้องโรงเรียนมิตรสหาย

มันคือสายสัมพันธ์หรือ ‘คอนเนกชั่น’ ที่เกิดขึ้นเองจากประสบการณ์ร่วม ที่ทุกคนแค่มองตาก็รู้ถึงหัวจิตหัวใจกันแล้ว และเป็นไปเองโดยธรรมชาติ 

เพราะฉะนั้นมันจึงงดงามครับ

เพื่อนช่วยยัน!! ‘พิธา’ ขึ้นแปรอักษรงานจตุรมิตรจริง ส่วนที่ไปเมืองนอก 11 ขวบ คือไปเรียนแบบซัมเมอร์

เมื่อวันที่ 20 พ.ย. 66 อดีตหัวหน้าห้องช่วยยืนยัน ‘พิธา’ ขึ้นแปรอักษรจริง เช็กชื่อทุกเช้า ส่วนไปเรียนเมืองนอกตอน 11 ขวบ เป็นแบบไปซัมเมอร์ เข้าแคมป์ช่วงปิดเทอม พอพร้อมค่อยไปเรียนต่อเต็มรูปแบบ วอนแยกแยะจบดรามา

จากกรณีดรามาเพจดังจับโป๊ะ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ อดีตหัวหน้าพรรคก้าวไกล ให้สัมภาษณ์ว่าได้ขึ้นแปรอักษร 2 ครั้ง สมัยเรียนโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน แต่เมื่อย้อนไปดูเทปที่เคยให้สัมภาษณ์บอกว่าไปเรียนต่อนิวซีแลนด์ตั้งแต่ 11 ขวบ จึงไม่น่าเป็นไปได้ที่จะได้ขึ้นแปรอักษร กระทั่งมีภาพยืนยันว่าความจริงแล้วนายพิธา ยังเรียน ม.3 ที่กรุงเทพคริสเตียน จึงถูกตั้งคำถามว่าแล้วจะพูดเท็จเรื่องไปเรียนต่อตั้งแต่อายุ 11 ขวบเพื่ออะไร

ล่าสุด ได้มีผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อว่า ‘Orio Piriyawat’ ได้โพสต์ภาพพร้อมระบุว่า…

“ในฐานะ อดีตหัวหน้าห้อง ม.2 ห้อง 25 กับ ม.3 ห้อง 35 ผม ‘โอ’ (เพื่อนเรียก ‘เตี้ย’) กท.22718 ‘ทิม พิธา’ เรียนอยู่กับผม ขึ้นแปรอักษรร่วมกัน เป็น BCC145 ตลอดกาล ผมเช็กชื่อนับจํานวนนักเรียนทุกเช้า ประเด็นเรื่องไปเรียนต่อเมืองนอกทับซ้อน โกหก ขออธิบายตรงนี้ เขาไปเรียนจริงแต่เป็นแบบไปเรียนซัมเมอร์ เข้าแคมป์ ตามประสา ปิดเทอม จนพร้อมก็ไปเรียนต่อต่างประเทศเต็มรูปแบบ ดังนั้น แยกแยะนะครับ จบดรามานะครับ #bcc145”


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top