Tuesday, 29 April 2025
TodaySpecial

1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 ‘รัฐบาลทักษิณ’ ประกาศสงครามกับยาเสพติด ส่งผลเกิดเหตุฆ่าตัดตอนนับพันราย

1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 วันนี้ในอดีต รัฐบาลโดยการนำของ ทักษิณ ชินวัตร ประกาศปราบปรามยาเสพติดในประเทศไทยชนิดเข้มข้น หลังการประกาศเพียง 3 เดือน เกิดคดีการฆ่าตัดตอนขึ้นนับพันราย

หลายคนจดจำ ‘รัฐบาลทักษิณ’ ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2544 - 2547 กับสโลแกน ‘คิดใหม่ ทำใหม่’ กันได้ดี แต่หนึ่งในเหตุการณ์ที่ต้องถือว่าเป็นไฮไลท์ในยุคที่ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกฯ นั่นก็คือ การปราบปรามยาเสพติด

โดยเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 อดีตนายกรัฐมนตรีคนนี้ ได้ประกาศตัวอย่างชัดเจนว่า จะทำสงครามกับขบวนการค้ายาเสพติดในประเทศไทยชนิดเด็ดขาด! และนับจากเดือนกุมภาพันธ์ ไปจนถึงเมษายนของปีนั้น เกิดการฆาตกรรมที่เชื่อมโยงมาจากการปราบปรามยาเสพติดกว่า 2 พันราย!

2 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็นวัน ‘นักประดิษฐ์’ เทิดพระเกียรติในหลวง รัชกาลที่ 9

วันนักประดิษฐ์ ตรงกับวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ของทุกปี ทั้งนี้เพื่อเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ได้ทรงประดิษฐ์ 'เครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย' หรือ กังหันชัยพัฒนา และทรงได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายสิทธิบัตรการประดิษฐ์ เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2536 

วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2536 เป็นวันที่สภาวิจัยแห่งชาติได้ทูลเกล้าฯ ถวายสิทธิบัตรการประดิษฐ์ 'เครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย' หรือ 'กังหันน้ำชัยพัฒนา' แด่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระมหากษัตริย์พระองค์แรกของโลกที่ได้รับสิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์ นับเป็นสิ่งประดิษฐ์เครื่องกลเติมอากาศ เครื่องที่ 9 ของโลกที่ได้รับการจดสิทธิบัตร และเป็นครั้งแรกที่ได้มีการจดทะเบียนออกสิทธิบัตรให้แก่พระราชวงศ์ 

มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2537 จึงได้กำหนดให้วันที่ 2 กุมภาพันธ์ ของทุกปีเป็นวันนักประดิษฐ์ เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในการที่ได้ทรงประดิษฐ์คิดค้น 'เครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย' หรือ 'กังหันน้ำชัยพัฒนา' และทรงได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายสิทธิบัตรการประดิษฐ์ เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2536 นอกจากจะเป็นการเทิดพระเกียรติแล้ว ยังเป็นวันที่ระลึกถึงวันประวัติศาสตร์ของการจดทะเบียนและออกสิทธิบัตรให้แก่พระมหากษัตริย์พระองค์แรกของโลก ที่ทรงคิดค้นประดิษฐ์สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ และทรงได้รับสมัญญาว่า 'พระบิดาแห่งการประดิษฐ์ไทย'

3 กุมภาพันธ์ ของทุกปี ‘วันทหารผ่านศึก’ ร่วมสดุดีวีรกรรมทหารกล้า

วันที่ 3 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็นวันทหารผ่านศึก เพื่อสดุดีวีรกรรมของทหารกล้า อีกทั้งให้ส่วนราชการ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไปมีส่วนร่วมในการส่งเสริมเชิดชูเกียรติและเอื้ออาทรต่อทหารผ่านศึก

วันทหารผ่านศึก (The Thai Veterans Day) กำหนดขึ้นเพื่อเป็นการยกย่องทหารกล้าและให้ความช่วยเหลือครอบครัวทหารที่เสียชีวิตในการรบจากสงครามโลก ครั้งที่ 2 โดยยึดถือจากวันที่พระราชบัญญัติจัดตั้งองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกได้ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2491 ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2510 องค์การทหารผ่านศึก ได้เปลี่ยนมาเป็นองค์การกุศลของรัฐมาเป็นนิติบุคคล ตามกฎหมาย และกระทรวงกลาโหมจะจัดกองทุนรับเงินอุดหนุนขึ้น และปี พ.ศ.2511 ภริยานายทหารชั้นผู้ใหญ่ริเริ่มจัดทำดอกป๊อปปี้ออกจำหน่ายเพื่อหารายได้เข้ามูลนิธิ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2512 เป็นต้นมา

4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2445 ร.5 ทรงเปิดโรงกษาปณ์สิทธิการ แห่งที่ 3 พร้อมเครื่องจักรผลิตเหรียญกษาปณ์ไฟฟ้าครั้งแรก

ความเจริญก้าวหน้าด้านการค้าของประเทศ ส่งผลให้ความต้องการใช้ เหรียญกษาปณ์เพิ่มสูงขึ้นในขณะที่เครื่องจักรแรงดันไอน้ำที่มีอยู่เริ่ม ชำรุดเนื่องจากใช้ติดต่อกันมาเป็นเวลานาน ถึง 25 ปี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงกษาปณ์สิทธิการแห่งใหม่ขึ้นในบริเวณอันเป็นที่ตั้งของวังเจ้านาย 6 พระองค์ ซึ่งเรียกสถานที่นี้ว่า ‘วังสะพานเสี้ยว’ ริมคลองหลอดด้าน ถนนเจ้าฟ้าทางทิศเหนือของท้องสนามหลวง โดยมีลักษณะเป็นอาคาร ก่ออิฐถือปูน สูง 2 ชั้น มีรูปแบบเป็นสถาปัตยกรรมตะวันตก เมื่อย้ายโรงกษาปณ์ไปอยู่สถานที่แห่งใหม่แล้ว กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติคือ ‘หอศิลป์แห่งชาติถนนเจ้าฟ้า’ ในปัจจุบัน

พิธีเปิดโรงกษาปณ์แห่งที่ 3 อย่างเป็นทางการมีขึ้น เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2445 และได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น ‘กรมกษาปณ์ สิทธิการ’ ติดตั้งเครื่องจักรผลิตเหรียญกษาปณ์เครื่องใหม่ ซึ่งทำงานด้วยกำลังไฟฟ้าสามารถผลิตเหรียญได้ประมาณวันละ 80,000 ถึง 100,000 เหรียญ โดยไม่ต้องทำการล่วงเวลา ส่วนเงินพดด้วงได้ โปรดเกล้าฯ ให้เลิกใช้ภายในวันที่ 31 กรกฎาคม 2451

เมื่อมีการประกาศใช้ พระราชบัญญัติมาตราทองคำ รัตนโกสินทร์ศก 127 (พ.ศ. 2451) ได้ทรงพระกรุณาโปรด เกล้าฯ ให้ผลิตเหรียญกษาปณ์ชนิดราคา 1 บาทตราพระบรมรูปตราไอราพต จากโรงกษาปณ์ปารีส จำนวน 1,036,691 เหรียญ แต่ไม่ทันได้ประกาศใช้ก็สิ้นรัชกาลเสียก่อน โดยตราไอราพตได้ใช้เป็นตราประจำแผ่นดินเรื่อยมาจนสิ้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ประเทศไทยได้รับผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากสงครามโลกครั้งที่ 1 โลหะที่ใช้ในการ ผลิตเหรียญกษาปณ์มีราคาสูงขึ้น จึงต้องลดส่วนผสมของโลหะเงินลงและผลิตธนบัตร ราคา 1 บาทออกใช้แทน เหรียญกษาปณ์

5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2404 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้าง ‘ถนนเจริญกรุง’

วันนี้ เมื่อ 162 ปีก่อน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้าง ‘ถนนเจริญกรุง’ ถนนหลักสายแรกของประเทศไทย

ถนนเจริญกรุง ถูกดำริให้สร้างขึ้นเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2404 โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นด้วยเหตุที่มีชาวต่างชาติ ได้เข้ามาทำธุรกิจห้างร้าน รวมถึงที่ทำการกงสุลต่าง ๆ ก็ถูกก่อสร้างขึ้นในย่านนี้ ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้ได้ขอให้สร้างถนนสายสำหรับขี่ม้า หรือนั่งรถม้า พระองค์จึงทรงดำริให้มีการสร้างถนนที่มีมาตรฐานขึ้น แล้วเสร็จเมื่อราวปี พ.ศ. 2407

แรกเริ่มเดิมที ผู้คนเรียกถนนสายนี้ว่า ‘ถนนใหม่’ ส่วนฝรั่งเรียกว่า ‘นิวโรด’ (New Road) และชาวจีนเรียกว่า ซินพะโล้ว แปลว่า ถนนตัดใหม่ เช่นกัน ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามถนนว่า ‘ถนนเจริญกรุง’ ซึ่งมีความหมายถึง ความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมือง

6 กุมภาพันธ์ ของทุกปี ‘วันมวยไทย’ มรดกภูมิปัญญาจากบรรพชน เทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าเสือ ‘พระบิดาแห่งมวยไทย’

วันที่ 6 กุมภาพันธ์ ของทุกปี ถือเป็น ‘วันมวยไทย’ เทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าเสือ ‘พระบิดาแห่งมวยไทย’ พระมหากษัตริย์ไทยที่มีพระปรีชาสามารถด้านมวยไทย ส่งต่อภูมิปัญญามาจวบจนปัจจุบัน

‘มวยไทย’ เป็นศิลปะการต่อสู้และการป้องกันตัวของชนชาติไทย มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมล้ำค่า ที่กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ได้ประกาศขึ้นทะเบียนมวยไทยเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ สาขากีฬาภูมิปัญญาไทย เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 เพื่อให้มรดกภูมิปัญญานี้ได้รับการยกย่อง ส่งเสริม และเชิดชูให้คนในชาติให้ความสำคัญต่อศิลปะการป้องกันตัวของชาติไทย ได้รับการสืบสาน รักษาพร้อมต่อยอด เป็น Soft Power พัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้ยั่งยืน 

7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 ในหลวง ร.9 เสด็จฯ ทรงเปิด ‘เขื่อนเจ้าพระยา’ เขื่อนทดน้ำขนาดใหญ่แห่งแรกของไทย

7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 ในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จทำพิธีเปิด ‘เขื่อนเจ้าพระยา’ เขื่อนทดน้ำขนาดใหญ่ที่ทำประโยชน์ให้พื้นที่เกษตรภาคกลาง

วันนี้เมื่อ 66 ปีมาแล้ว เป็นวันสำคัญเมื่อพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้เสด็จพระราชดำเนินไปในการทำพิธีเปิด ‘เขื่อนเจ้าพระยา’ ซึ่งเป็นเขื่อนทดน้ำแห่งแรกของประเทศไทย

กล่าวถึงเขื่อนเจ้าพระยา เริ่มสร้างเมื่อ พ.ศ. 2495 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2500 โดยเป็นเขื่อนทดน้ำ ที่ไม่ใช่สำหรับกักเก็บน้ำ สร้างขวางแม่น้ำเจ้าพระยา ทำหน้าที่ยกระดับน้ำให้สูงขึ้น +16.50 เมตร จากระดับน้ำทะเล เพื่อส่งน้ำเข้าไปยังลำคลอง ในพื้นที่การเกษตร ทั้งฝั่งซ้ายและขวาของแม่น้ำเจ้าพระยา

8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ‘จ่าคลั่ง’ ก่อเหตุกราดยิงที่โคราช หนึ่งในโศกนาฏกรรม ครั้งเลวร้ายที่สุดของไทย

ครบรอบ 3 ปี เหตุการณ์ จ่าคลั่ง ก่อเหตุกราดยิงผู้บริสุทธิ์ ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมาก

เรียกว่ายังคงจำฝังใจคนไทย สำหรับเหตุการณ์ กราดยิงที่จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2563 เป็นเหตุกราดยิงในจังหวัดนครราชสีมา ประเทศไทย เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 กรณีจ่าสิบเอก จักรพันธ์ ถมมา ใช้ปืนยิงผู้บังคับบัญชาและญาติถึงแก่ความตาย แล้วหลบหนีเข้ามาในตัวเมือง กราดยิงผู้คนตามรายทาง ก่อนเข้าไปซ่อนตัวหลบอยู่ในห้างสรรพสินค้าเทอร์มินอล 21 โคราช จับบุคคลในห้างเป็นตัวประกัน 

สำหรับเหตุการณ์ในวันนั้นเริ่มขึ้น เวลาประมาณ 15.30 น. 8 กุมภาพันธ์ 2563 จ่าสิบเอก จักรพันธ์ ใช้ปืนยิงผู้บังคับบัญชา คือ พันเอก อนันต์ฐโรจน์ กระแสร์ อายุ 48 ปี ผู้บังคับกองพันสรรพาวุธกระสุนที่ 22 กองบัญชาการช่วยรบที่ 2 และนางอนงค์ มิตรจันทร์ อายุ 65 ปี แม่ยายของพันเอก อนันต์ฐโรจน์ ถึงแก่ความตายที่บ้านพักในตำบลหนองจะบก อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ขณะที่นายหน้าวิ่งหนีไป จึงถูกไล่ยิงเข้าข้างหลังแต่ไม่เสียชีวิต

จากนั้น จ่าสิบเอก จักรพันธ์ ไปชิงอาวุธสงครามออกมาจากคลังอาวุธกองพันสรรพาวุธกระสุนที่ 22 กองบัญชาการช่วยรบที่ 2 ค่ายสุรธรรมพิทักษ์ ตำบลไชยมงคล โดยยิงทหารเวรกองรักษาการณ์ และทหารดูแลคลังอาวุธ มีพลทหารบาดเจ็บ 1 นาย เสียชีวิตอีก 1 นาย ต่อมา จ่าสิบเอก จักรพันธ์ ขับรถฮัมวีหลบหนีออกไปทางด้านหลังค่าย มุ่งไปทางวัดป่าศรัทธารวม ตำบลหัวทะเล เพราะทราบว่าภรรยาของผู้บังคับบัญชาออกไปทำบุญที่วัดป่าศรัทธารวม ได้กราดยิงผู้คนตามรายทางถึงแก่ความตายรวม 9 คน คนร้ายกราดยิงกระสุนนับร้อยนัด โดยยิงคนในรถเสียชีวิตและบาดเจ็บ ยังยิงเด็กนักเรียนที่ขับขี่รถจักรยานยนต์และยังเดินไปยิงซ้ำอีก จากนั้นมีตำรวจมา 2 นาย ไม่ทันลงจากรถก็ถูกยิงจนพรุนเสียชีวิต แต่ปรากฏว่า ได้ทราบว่า ภรรยาของผู้บังคับบัญชาไปกินข้าวที่เทอร์มินอล 21 โคราช

9 กุมภาพันธ์ ของทุกปี ถือเป็น ‘วันพิซซ่า’ ร่วมฉลองอาหารอิตาลีที่โดนใจคนทั่วโลก

วันพิซซ่า (Pizza) ตรงกับวันที่ 9 กุมภาพันธ์ ร่วมเฉลิมฉลองพิซซ่า อาหารอิตาลีชื่อดังที่คนทั่วโลกต่างหลงใหล ซึ่งมีลักษณะเป็นแป้งแผ่นกลมแบนราดด้วยซอสมะเขือเทศ แล้วทำให้สุกโดยการอบในเตาอบ

รู้หรือไม่ วันที่ 9 กุมภาพันธ์ของทุกปีเป็นวันพิซซ่า (Pizza) วันแห่งการร่วมเฉลิมฉลองพิซซ่า อาหารอิตาลีชื่อดังที่คนทั่วโลกต่างหลงใหล

พิซซ่า (Pizza) เป็นอาหารอิตาลีและอาหารจานด่วนประเภทหนึ่งที่ชาวอิตาลีเป็นผู้คิดค้น มีลักษณะเป็นแป้งแผ่นกลมแบนราดด้วยซอสมะเขือเทศ แล้วทำให้สุกโดยการอบในเตาอบ โดยในประเทศอิตาลีจะมีการเสิร์ฟพิซซ่าในโอกาสที่เป็นทางการ เช่น การทานในภัตตาคาร ซึ่งจะเสิร์ฟโดยไม่หั่นและจะรับประทานโดยใช้มีดและส้อม ในขณะที่ชาวอิตาเลียนโดยทั่วไป เมื่อรับประทานพิซซ่าในโอกาสที่ไม่เป็นทางการ เช่น ทานกันเองที่บ้าน พิซซ่าจะถูกหั่นให้เป็นชิ้นพอดีคำและนิยมทานโดยใช้มือ

จากบันทึกทางประวัติศาสตร์ พบว่า พิซซ่า ได้รับการบันทึกครั้งแรกในช่วงศตวรรษที่ 10 ในบันทึกเอกสารภาษาละติน ณ เมืองกาเอตา (Gaeta) ทางตอนใต้ของอิตาลีในแคว้นลัตซีโอ บนพรมแดนติดกับกัมปาเนีย โดยพิซซ่าสมัยใหม่ได้ถูกคิดค้นขึ้นในเนเปิลส์ และได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในเวลาต่อมา

10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 ครบรอบ 69 ปี วันคล้ายวันสถาปนา ‘กองอาสารักษาดินแดน’

วันที่ 10 กุมภาพันธ์ ของทุกปี กำหนดให้เป็น ‘วันอาสารักษาดินแดน’

‘กองอาสารักษาดินแดน’ มีฐานะเป็นนิติบุคคลจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติกองอาสารักษาดินแดน พ.ศ. 2497 ซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2497 นับเป็นเวลายาวนานถึง 69 ปี มาแล้ว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีกำลังสำรองในการช่วยเหลือประชาชนและประเทศชาติ ทั้งในยามปกติ และในยามสงคราม โดยการรับสมัครจากราษฎรชายหญิงที่สมัครใจอาสาเข้ามาเป็นสมาชิกกองอาสารักษาดินแดน ภายใต้สังกัดกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย โดยแบ่งส่วนราชการกองอาสารักษาดินแดนออกเป็น 2 ส่วน คือ

ส่วนกลาง มีกองบัญชาการกองอาสารักษาดินแดน (บก.อส.) รับผิดชอบการบริหารงานในส่วนกลาง โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นผู้บัญชาการ

ส่วนภูมิภาค มีกองบังคับการกองอาสารักษาดินแดนจังหวัด (บก.อส.จ.) รับผิดชอบการบริหารงานในส่วนภูมิภาค โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นผู้บังคับการกองอาสารักษาดินแดนจังหวัด และกองร้อยอาสารักษาดินแดนอำเภอ (กองร้อย อส.อ.) โดยนายอำเภอเป็นผู้บังคับกองร้อยอาสารักษาดินแดนอำเภอ เป็นผู้ควบคุมบังคับบัญชา  

ปัจจุบันกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย มีจำนวนสมาชิกกองอาสารักษาดินแดน (อส.) สั่งใช้ทั่วประเทศทั้งสิ้น 25,925 นาย ประจำทั้ง 971 กองร้อยทั่วประเทศ มีหน้าที่ตามพระราชบัญญัติ กองอาสารักษาดินแดน พ.ศ. 2497 ดังนี้

(๑) บรรเทาภัยที่เกิดจากธรรมชาติและการกระทําของข้าศึก

(๒) ทําหน้าที่ตํารวจรักษาความสงบภายในท้องที่ร่วมกับพนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจ


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top