Wednesday, 7 May 2025
NewsFeed

ผอ.รพ.สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ ต้อนรับคณะหลักสูตรเวชศาสตร์ ทอ. ศึกษาดูงาน รพ.ฯ

พล.ร.ต.พัฒนชัย เฉลิมวรรณ์ ผอ.รพ.สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ กรมแพทย์ทหารเรือ ให้การต้อนรับคณะศึกษาดูงานหลักสูตร เวชศาสตร์ทหารอากาศ สำหรับผู้ปฏิบัติ กรมแพทย์ทหารอากาศ โดยมี น.อ.อัศวิน คนชม รอง ผอ.ศูนย์ปฏิบัติการแพทย์ทหารอากาศ เป็นหัวหน้าคณะในการศึกษาดูงานในครั้งนี้ ซึ่งกิจกรรมประกอบด้วย การรับฟังการบรรยายสรุป ณ ห้องประชุม ป.4 อาคารอำนวยการ และเยี่ยมชมศูนย์เวชศาสตร์ความดันบรรยากาศสูง ของ รพ.สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ โดยมีผู้แทนหน่วยงานของ รพ.สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ ร่วมให้คำแนะนำขีดความสามารถของหน่วยหน้างาน ในครั้งนี้ 

หลักสูตรเวชศาสตร์​ทหารอากาศ​สำหรับ​ผู้ปฏิบัติ​นี้ มีวัตถุประสงค์และความมุ่งหมาย เพื่อให้ผู้เข้ารับการศึกษามีความรู้ด้านเวชศาสตร์ทหารอากาศ สามารถนำหลักวิชาไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ด้านยุทธการและภัยพิบัติ มีทักษะการช่วยเหลือด้านการแพทย์ทหาร ในภาวะวิกฤติฉุกเฉิน ภัยพิบัติ และภัยคุกคามด้านเคมี ชีวะ กัมมันตรังสี สามารถตอบสนองต่อภารกิจของกองทัพอากาศ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีระยะเวลาการศึกษา 12 สัปดาห์ ระหว่าง 21 เมษายน ถึง 18 กรกฎาคม 2568    

ไม่ใช่เรื่องง่ายที่ ‘Apple’ จะย้ายโรงงานผลิต จากจีนไปอินเดีย ต้องผ่านมาตรการศุลกากร ข้อบังคับทางการค้า ด้านการส่งออก

(26 เม.ย. 68) เพจเฟซบุ๊ก ‘Ethan Hunts’ ได้โพสต์ข้อความระบุว่า ...

อินฟลูเปรียบเทียบประโยคที่ เมื่อครั้งนายเจียง เจ๋อหมิน อดีตประธานาธิบดีจีน และอดีตเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ สอนนักข่าวฮ่องกง ถามเรื่องการลงสมัครเป็นผู้ว่าการเกาะฮ่องกงของนายถัง ซึ่งเป็นผู้ว่าการฯในขณะนั้น โดยใช้มุกสัมภาษณ์ควาย ๆ ยิงคำถามเดิมซ้ำ ๆ และคาดเดานัยของคำตอบซึ่งไม่ถูกใจ ด้วยการถามใหม่ปรับเปลี่ยนบางคำในประโยคคำถามนั้น คล้ายว่าหากตอบไม่ตรงกับความตั้งใจที่แฝงมากับคำถาม ก็จะทู่ซี้ถามอีก นายเจียง ตัดบทหลายครั้งหลังตอบคำถามเมื่อถูกถามว่าตนสนับสนุนนายถังหรือไม่? และตอบไปแล้วว่าโดยส่วนตัวเขาสนับสนุน แต่นักข่าวต้องการคำตอบว่าจีนกดดันฮ่องกงให้เลือกนายถังหรือเปล่า? นายเจียงถามนักข่าวว่าไปเอาความคิดนี้มาจากไหน? นักข่าวชี้ว่ามาจากสื่อตะวันตก นายเจียงจึงสอนนักข่าวว่า “ในฐานะสื่อฯ คุณไม่ควรคาดเดาเอาเอง หรือมโนฯเพียงสัมผัสลม ก็ฟันธงว่ามีฝน พวกคุณต้องพิจารณาว่าแหล่งข่าวน่าเชื่อถือหรือไม่ แล้วตัดสินใจก่อนจะนำมา ต่อเรื่องเป็นตุเป็นตะ พวกคุณยังอ่อนวัยเกิน, คิดว่าทุกสิ่งทุกอย่างมันง่าย ๆ จนทำตัวเองให้ดูเหมือนพวกอ่อนต่อโลก (เอเคเอ ปัญญาอ่อน)” 

แอปเปิ้ลก็มีข่าวว่า วางแผนจะย้ายฐานการผลิตจากจีนไปอินเดีย จากนโยบายสุดระห่ำของไอ้บ้า 'คนขายส้ม' เอเคเอ ดิ ออเรนจ์แมน (ฉายาที่สื่อฯอเมริกันใช้นิยามทรัมป์) ซึ่งคาดว่าการย้ายฐานการผลิตจะเกิดขึ้นภายในปี 2026 แต่ที่ทิม คุ๊ก ซีอีโอแอปเปิ้ล อาจแสร้ง หรือคาดไม่ถึงคือ จีนเห็นการย้ายฐานการผลิตของแอปเปิ้ลเป็นเรื่องที่ “คิดได้ ถึงกล้าทำแต่มันไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ” แอปเปิ้ลอาจคิดว่าจีน เป็นแค่โรงงานรับจ้างผลิต ทั้งยังเป็นตลาดขนาดใหญ่รองรับสินค้านับหลายร้อยล้านเครื่องต่อปี จึงคิดว่าแค่ย้ายโรงงานไม่ใช่เรื่องใหญ่ หรือดำเนินการยากแต่อย่างใด

แต่เอาเข้าจริง การส่งออกวัตถุดิบตลอดจนเครื่องจักรจากจีน เพื่อที่จะย้ายไปอินเดียนั้น แบบไม่ต้องประกาศอย่างโจ๋งครึ่มแต่อย่างใด ทางการจีนสามารถใช้มาตรการทางศุลกากร และข้อบังคับทางการค้า ด้านการส่งออก เป็นเครื่องมือในการปิดประตูหน้า, ขวางประตูข้าง และทิ้งช่องประตูด้านหลังโรงงานเล็ก ๆ ไว้ให้ กว่าแอปเปิ้ลจะดำเนินการจนแล้วเสร็จคาดว่า อาจหมดสมัยทรัมป์ไปแล้ว หรือแย่กว่านั้น ระหว่างตั้งโรงงาน สหรัฐดันคุยกับจีนแล้วตกลงกันได้ ทิม คุ๊ก ก็อาจมีสภาพต้องกินอาหารเม็ดไปเลยก็เป็นได้

มหากาพย์แห่งสงครามอินโดจีน EP#15 ปฏิบัติการทางทหารครั้งใหญ่ที่สุด ในสงครามเวียตนาม

การรุกตรุษญวน (Tet Offensive) เป็นปฏิบัติการทางทหารครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในสงครามเวียตนาม เริ่มต้นขึ้นในวันที่ 30 มกราคม 1968 โดยกองกำลังเวียตกง (VC) และกองทัพประชาชนเวียตนามเหนือ (PAVN) กับกองกำลังเวียตนามใต้ สหรัฐอเมริกา และพันธมิตร เป็นการรบแบบการจู่โจมต่อที่ตั้งของกองบัญชาการทหารและพลเรือน ตลอดจนศูนย์ควบคุมและสั่งการทั่วประเทศเวียตนามใต้ การรุกนี้ได้ชื่อจากวันหยุดตรุษญวน (Tết) ด้วยกำลังผสมของกองกำลังเวียตกงและกองทัพประชาชนเวียตนามเหนือประมาณ 5 แสนนาย เปิดฉากการบุกโจมตีพร้อมกันหลาย ๆ จุดในหลาย ๆ เมืองของเวียตนามใต้ จนเป็นการสู้รบที่ดุเดือดต่อเนื่องยาวนานหลายเดือนไปจนถึงวันที่ 23 กันยายน 1968

ฝ่ายคอมมิวนิสต์ได้มีการตระเตรียมกำลังพลถึง 1 ใน 3 (กว่าสี่แสนนาย) ของกองทัพประชาชนเวียตนามเหนือ (PAVN) และระดมกำลังพลของเวียตกงอีกประมาณ 70,000 คน โดยผู้บัญชาการทหารของฝ่ายเวียตนามเหนือ พลเอกโวเหงียนเกี๊ยบได้เลือกเอาวันที่ 31 มกราคม ซึ่งเป็นวันปีใหม่ในปฏิทินจันทรคติของชาวเวียตนามเป็นการเปิดฉากจู่โจมในครั้งดังกล่าว โดยพลเอกเกี๊ยบได้วาดหวังผลทางยุทธศาสตร์เอาไว้ว่า การบุกจู่โจมดังกล่าวจะสามารถพิชิตกองทัพของฝ่ายเวียตนามใต้ (ARVN : Army of the Republic of Vietnam) ลงได้ ทั้งยังจะสามารถสร้างความวุ่นวายและปลุกปั่นกระแสต่อต้านรัฐบาลเวียตนามใต้ได้มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้เขายังต้องการที่จะกระตุ้นตอกย้ำรอยร้าวของความสัมพันธ์ที่ระหองระแหงระหว่างรัฐบาลเวียตนามใต้กับรัฐบาลสหรัฐฯ เพื่อให้สหรัฐฯ หาทางเจรจาและต้องถอนกำลังทหารออกไปจากเวียตนามใต้

ฝ่ายคอมมิวนิสต์ได้ทำการโจมตีเป็นระลอกในกลางดึกของวันที่ 30 มกราคมในเขตยุทธวิธีที่ 1 และที่ 2 ของกองทัพเวียตนามใต้ การโจมตีช่วงแรกนี้ไม่นำไปสู่มาตรการป้องกันอย่างกว้างขวาง เมื่อปฏิบัติการหลักของคอมมิวนิสต์เริ่มในเช้าวันรุ่งขึ้น การรุกก็ลามไปทั่วประเทศและมีการประสานงานอย่างดี จนสุดท้ายมีกำลังคอมมิวนิสต์กว่า 80,000 นายเปิดฉากโจมตีเมืองต่าง ๆ กว่า 100 แห่ง ซึ่งรวมเมืองหลักของ 36 จาก 44 จังหวัด เขตปกครองตนเอง 5 จาก 6 แห่ง เมืองรอง 72 จาก 245 แห่ง และกรุงไซ่ง่อน เมืองหลวงของเวียตนามใต้ ในเวลานั้น การโจมตีครั้งนี้เป็นปฏิบัติการทางทหารใหญ่ที่สุดของทั้งสองฝ่าย การโจมตีในระยะแรกทำให้กองทัพสหรัฐฯ และเวียตนามใต้สับสนจนเสียการควบคุมในหลายเมือไปชั่วคราว แต่ที่สุดก็สามารถจัดกำลังใหม่จนสามารถต่อต้านการโจมตีและตีโต้จนฝ่ายคอมมิวนิสต์ต้องล่าถอยกลับไป 

แผนการบุกจู่โจมของฝ่ายคอมมิวนิสต์เริ่มขึ้นตรงตามที่ได้มีการวางวางแผนไว้ ในกรุงไซง่อนซึ่งเป็นเมืองหลวงของสาธารณรัฐเวียตนาม ที่มั่นของฝ่ายรัฐบาลเวียตนามใต้ เช่น สถานทูตสหรัฐฯ ถูกก่อวินาศกรรมโดยหน่วยกล้าตายเวียตกงประมาณ 19 นาย หน่วยจู่โจมดังกล่าวปะทะกับทหารเวียตนามใต้และสหรัฐฯ และสามารถยึดที่มั่นสำคัญของฝ่ายเวียตนามใต้แห่งนี้ได้นานถึง 6 ชั่วโมง ก่อนที่จะถูกกราดยิงจากเฮลิคอปเตอร์ของฝ่ายเวียตนามใต้และสหรัฐฯ จนเสียชีวิตหมด หน่วยกล้าตายเวียตกงอีกหน่วยสามารถบุกไปยังทำเนียบประธานาธิบดี สถานีวิทยุ ศูนย์กลางกองทัพเรือ กองพลทหารพลร่ม ศูนย์กลางตำรวจ รวมถึงคลังน้ำมันที่ 4, 5. 6, 7, 8 ในกรุงไซง่อน ความสำเร็จในการบุกจู่โจมกรุงไซง่อนของเวียตกงได้แสดงให้ถึงสถานการณ์ที่แท้จริงของสงครามว่า ฝ่ายคอมมิวนิสต์ไม่ได้เป็นฝ่ายที่เพลี่ยงพล้ำอย่างที่ทางรัฐบาลสหรัฐฯ เคยบอกตลอดมา นอกจากนี้ความจริงดังกล่าวยังเป็นการทำลายขวัญกำลังใจของทหารอเมริกัน ในวันเดียวกันของการเริ่มปฏิบัติการที่เมืองเว้ ฝ่ายคอมมิวนิสต์สามารถบุกยึดเมืองดังกล่าวได้สำเร็จ และปล่อยนักโทษที่ถูกฝ่ายตรงข้ามคุมขังให้เป็นอิสระได้ถึง 2,000 คน

ในกรุงไซง่อนการขับไล่กองกำลังฝ่ายคอมมิวนิสต์ของทหารเวียตนามใต้และอเมริกันเป็นไปด้วยความยากลำบาก หน่วยจู่โจมฝ่ายคอมมิวนิสต์แทรกซึมอยู่ทั่วกรุงไซง่อนมาหลายสัปดาห์แล้ว อาศัยเสบียงที่พอจะประทังชีวิตได้ รวมทั้งอาวุธยุทโธปกรณ์ต่าง ๆ กองทัพอเมริกันได้โต้กลับด้วยวิธีการที่รุนแรงด้วยการใช้เครื่องบินทิ้งระเบิดและปืนใหญ่เข้าทำลายพื้นที่ทั้งหมดในทั้งกรุงไซง่อนและพื้นที่อื่น ๆ ที่มีกำลังของฝ่ายคอมมิวนิสต์อยู่ ระหว่างยุทธการที่เมืองเว้มีการสู้รบอย่างดุเดือดกินเวลาถึงหนึ่งเดือน ทำให้กองกำลังสหรัฐต้องทำลายเมืองเว้จนเสียหายอย่างหนัก และระหว่างการยึดครองเมืองเว้ฝ่ายคอมมิวนิสต์ก็ได้ประหารชีวิตประชาชนหลายพันคน (เหตุการณ์การสังหารหมู่ที่เมืองเว้) 

ขณะเดียวกัน ยังมีการสู้รบบริเวณรอบ ๆ ฐานทัพสหรัฐฯ ที่เคซานต่อมาอีกสองเดือน แม้ว่าปฏิบัติการจู่โจมดังกล่าวจะไม่ได้ประสบกับความสำเร็จอย่างสมบูรณ์ ทำให้ฝ่ายคอมมิวนิสต์ต้องสูญเสียกำลังพลมหาศาล และถือเป็นความพ่ายแพ้ทางทหารสำหรับฝ่ายคอมมิวนิสต์ แต่กลับสร้างผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อรัฐบาลสหรัฐฯ เพราะทำให้สาธารณชนชาวอเมริกันต้องตกตะลึงจากความเชื่อซึ่งถูกผู้นำทางการเมืองและการทหารบอกว่า ฝ่ายคอมมิวนิสต์กำลังปราชัย และไม่สามารถดำเนินความพยายามขนาดมโหฬารเช่นนี้ได้ การสนับสนุนสงครามของสาธารณชนชาวอเมริกันจึงลดลงเรื่อย ๆ และในที่สุดสหรัฐฯ ต้องแสวงหาการเจรจาเพื่อยุติสงคราม

การรุกในวันตรุษญวนทำให้ทหารของกองทัพประชาชนเวียตนามเหนือ (PAVN) และเวียตกง (VC) เสียชีวิตกว่า 1 แสนนาย ทหารของกองทัพสหรัฐฯ เวียตนามใต้ และพันธมิตรเสียชีวิตกว่า 10,000 นาย เหตุการณ์นี้กองกำลังทหารไทยในเวียตนามใต้ได้มีส่วนร่วมในการสู้รบด้วย แม้ว่าฝ่ายคอมมิวนิสต์จะได้รับความเสียหายอย่างหนัก แต่การรุกในวันตรุษญวนส่งผลในทางจิตวิทยาเป็นอย่างมาก โดยเป็นการแสดงศักยภาพด้านการทหารของฝ่ายคอมมิวนิสต์ เป็นการจุดกระแสต่อต้านสงครามเวียตนามในสหรัฐฯ จนติด และนำไปสู่การถอนทหารสหรัฐฯ จากเวียตนามใต้ และที่สุดนำไปการล่มสลายของเวียตนามใต้ (สาธารณรัฐเวียตนาม) ในวันที่ 30 เมษายน ค.ศ.1975

หมายเหตุ ผู้เขียนใช้คำว่า “เวียตนาม” ตัว ‘ต’ สะกด เพราะเอกสารสมัยก่อนใช้เช่นนี้ ต่อมาภายหลังจึงเปลี่ยนมาเป็น “เวียดนาม” สะกดด้วยตัว ‘ด’

มหากาพย์แห่งสงครามอินโดจีน EP#16 ‘พลอากาศโท Pham Tuân’ เสืออากาศแห่งกองทัพอากาศเวียตนามเหนือ

สหรัฐฯ ถือเป็นผู้ครองอากาศทั้งหมดทั้งมวลเหนือดินแดนเวียตนามทั้งเหนือและใต้ในระหว่างสงคราม และแทบจะไม่มีปฏิบัติการทางอากาศของกองทัพอากาศเวียตนามเหนือในดินแดนเวียตนามใต้เลย และการปฏิบัติบนน่านฟ้าเวียตนามเหนือเป็นเพียงการต่อสู้กับเครื่องบินรบของสหรัฐฯ ซึ่งมาจากกองทัพอากาศ กองทัพเรือ และกองกำลังนาวิกโยธิน แต่กระนั้นแล้ว กองทัพอากาศเวียตนามเหนือก็ยังมีนักบินขับไล่ซึ่งสามารถยิงเครื่องบินรบสหรัฐฯ ตกตั้งแต่ 5 ลำขึ้นไปกลายเป็นเสืออากาศถึง 19 นาย ส่วนกองทัพสหรัฐฯ มีนักบินขับไล่ที่เป็นเสืออากาศในสงครามเวียตนาม 5 นาย

พลอากาศโท Pham Tuân เป็นหนึ่งในเสืออากาศอันดับต้น ๆ ของกองทัพอากาศเวียตนามเหนือ ด้วยผลงานยิงเครื่องบินของศัตรูตกไป 8 ลำ (อันดับหนึ่งมีสถิติ 9 ลำ) แต่เป็นนักบินขับไล่กองทัพอากาศเวียตนามเหนือคนแรกที่ยิงเครื่องบินทิ้งระเบิดแบบ B-52 ของสหรัฐฯ ตก และต่อมาเขาเป็นชาวเวียตนามคนแรกและเป็นคนแรกของภูมิภาค ASEAN ที่ได้เดินทางไปในอวกาศ

พล.อ.ท. Pạm Tuân เกิดที่เมือง Kiến Xương จังหวัด Thái Bình ทางตอนเหนือของเวียตนาม เข้าร่วม VPAF หรือกองทัพอากาศเวียตนาม (กองทัพอากาศเวียตนามเหนือ) ในปี 1965 เริ่มต้นจากนักเรียนช่างเรดาร์ จากนั้นก็ได้รับเลือกให้เข้ารับการฝึกเป็นนายทหารนักบินชั้นสัญญาบัตร เขาจบการศึกษาจากโรงเรียนการบิน Krasnodar ในสหภาพโซเวียต เป็นนักบิน MiG-17 ในปี 1967 จากนั้นจึงย้ายไปฝึกบิน MiG-21 และได้รับมอบหมายให้ประจำหน่วยฝึกบิน VPAF 910 ระหว่างปี 1968-69 เขามีส่วนร่วมในการพัฒนาเทคนิคการสกัดกั้นในเวลากลางคืนเพื่อต่อต้านการโจมตีทางอากาศของสหรัฐ จากนั้นจึงย้ายมาประจำกรมการบินที่ 932 ระหว่างปี 1969-1970 และสุดท้ายประจำกรมการบินที่ 921 ระหว่างปี 1970-1973

ระหว่างคืนวันที่ 18-27 ธันวาคม 1972 ในปฏิบัติการ Linebacker II (the Christmas Bombing) นาวาอากาศตรี Pham Tuân ได้นำเครื่องบินขับไล่แบบ MiG-21 ติดขีปนาวุธอากาศสู่อากาศแบบแสวงความร้อนเข้าต่อสู้กับเครื่องบินทิ้งระเบิดแบบ B-52 Stratofortress ของสหรัฐฯ ไม่ต่ำกว่า 12 ครั้ง วันที่ 27 เขาบิน MiG-21MF (หมายเลข 5121) ด้วยความเร็วเหนือเสียง และสามารถเจาะเข้าไปในขบวนบินของ B-52 ยิงขีปนาวุธ 2 ลูกในระยะน้อยกว่า 4 กม. ซึ่งสามารถมองเห็นได้ด้วยสายตาแล้วรายงานว่า ขีปนาวุธของเขายิงถูก B-52D จนตกเหนือเขตติดต่อของจังหวัด Hoa Binh กับ Vinh Phuc การอ้างชัยชนะนี้ ทำให้ B-52 ลำนี้เป็นเครื่องบินทิ้งระเบิดเพียงลำเดียวที่ถูกยิงตกในการสู้รบทางอากาศ แต่กลับถูกโต้แย้งโดยบันทึกของสหรัฐฯ ซึ่งอ้างว่า B-52 ลำนี้ถูกยิงโดยขีปนาวุธพื้นสู่อากาศเช่นเดียวกับ B-52 ลำอื่น ๆ ที่ถูกยิงระหว่างสงคราม ในหนังสือชื่อ "Hà Nội - Điện Bien Phủ trên không" (ฮานอย - ยุทธการเดียนเบียนฟูในอากาศ) โดย Nguyễn Minh Tâm จัดพิมพ์โดย Nhà xuất bản Quân đội Nhân dân Việt Nam (Viet Publishing House's) ผู้เขียนยืนยันว่า นต. Pham Tuân ยิง B-52 ด้วยขีปนาวุธอากาศสู่อากาศแบบ K-13 สองลูกภายในระยะ 4 กิโลเมตร

นต. Pham Tuân เล่าว่า “เมื่อผมตรวจพบเครื่องบินทิ้งระเบิด เครื่องบินของผมอยู่ห่างจากเครื่องบินทิ้งระเบิด B-52 ประมาณ 10 กม. ผมจึงทิ้งถังเชื้อเพลิงภายนอก และขอคำสั่งโจมตีทันที แม้ว่าผมจะเข้าใกล้เครื่องบินทิ้งระเบิดแล้ว แต่ก็รู้สึกว่าเวลาผ่านไปช้ามาก โชคดีที่ฝูงบินคุ้มกัน F-4 ของศัตรูก็ไม่มองเห็นผม แต่เพื่อความแน่ใจ ผมยังคงบินเข้าใกล้ต่อไปจนเหลือระยะ 3 กม. แล้วถึงได้ปล่อยขีปนาวุธ ในขณะที่ผมกำลังหลบหนี ผมก็เห็นตอนที่ขีปนาวุธทั้งสองพุ่งชนเข้ากับ B-52 แล้วระเบิด ซึ่งตอนนั้นไฟกำลังลุกไหม้ B-52 และมีเครื่อง F-4 พยายามไล่ตามผมมา แต่ตอนนี้ผมก็รอดแล้ว" Tuân เล่าว่า เนื่องจาก B-52 ติดตั้งอุปกรณ์ลวงอินฟราเรดจำนวนมาก เขาจึงต้องเข้าใกล้เป้าหมาย (ในระยะ 2-3 กิโลเมตร) เพื่อให้แน่ใจว่า จรวดจะไม่พลาด แม้ว่าระยะปลอดภัยขั้นต่ำสำหรับการยิงขีปนาวุธคืออย่างน้อย 8 กิโลเมตร การอ้างชัยชนะทางอากาศโดยนักบิน MiG ของ VPAF ต่อเครื่องบินรบของสหรัฐฯ มักได้รับการโต้แย้งว่าเป็นการสูญเสีย B-52 มาจากขีปนาวุธพื้นสู่อากาศหรือปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน เนื่องจากถือว่า "น่าอับอายน้อยกว่า" การที่ถูกนักบินฝ่ายศัตรูยิงตก ปฏิบัติการ Linebacker II มีนักบินและลูกเรือเสียชีวิต 33 นาย โดยเครื่องบินทิ้งระเบิดแบบ B-52 Stratofortress จำนวน 15 ลำถูกยิงตก และจนทุกวันนี้กองทัพอากาศสหรัฐฯ ก็ยังไม่ยืนยันว่า Tuân เป็นผู้ยิง B-52 ตกระหว่างปฏิบัติการ Linebacker II

Tuân ได้รับรางวัลและคำชื่นชมในการปฏิบัติงานที่มีความโดดเด่นมากมาย ในปี 1973 Tuân ได้รับตำแหน่ง "วีรบุรุษแห่งกองทัพประชาชน" ของเวียตนามเหนือ รวมทั้ง Ho Chi Minh Order นอกจากนี้ เขายังได้รับรางวัล Order of Lenin และได้รับเกียรติอันหาได้ยากด้วยการเป็นหนึ่งในชาวต่างชาติไม่กี่คนที่ได้รับ "Hero of the Soviet Union" จากภารกิจในอวกาศ Interkosmos program โดยทำหน้าที่เป็นนักบินผู้บังคับยานอวกาศในเที่ยวบิน Soyuz 37 ซึ่งขึ้นสู่อวกาศเมื่อวันที่ 23  กรกฎาคม 1980 ไปยังสถานีอวกาศ Salyut 6 และกลับสู่เพื่อโลกเมื่อ 31 กรกฎาคม 1980 รวมเวลาที่เขาอยู่ในอวกาศ 7 วัน 20 ชั่วโมง 42 นาที Tuân นำสิ่งของหลายอย่างติดตัวไปด้วยในเที่ยวบิน Soyuz 37 ซึ่งรวมถึงรูปภาพของอดีตประธานาธิบดี Hồ Chí Minh, Lê Duân เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์เวียตนาม, ประกาศเจตจำนงของ Hồ Chí Minh, ธงชาติเวียตนาม โดยเขาได้นำสิ่งของทั้งหมดเอาไปไว้บนสถานีอวกาศแล้วนำพวกมันกลับมายังโลก ในปีเดียวกันนั้นเองเขาได้รับรางวัล "วีรบุรุษแรงงานแห่งเวียดนาม"  ต่อมาในปี 1989 เขาได้รับตำแหน่ง "รองผู้บัญชาการ" กองทัพอากาศเวียดนาม ได้รับการเลื่อนยศเป็นพลอากาศโทในปี 1999 และดำรงตำแหน่ง "อธิบดีกรมอุตสาหกรรมการป้องกันประเทศ" ในปี 2000 และเกษียณจากตำแหน่งในปลายปี 2007 ปัจจุบัน พลอากาศโท Pham Tuân ยังคงมีชีวิตอยู่ และใช้ชีวิตกับภรรยาอย่างมีความสุข

หมายเหตุ ผู้เขียนใช้คำว่า “เวียตนาม” ตัว ‘ต’ สะกด เพราะเอกสารสมัยก่อนใช้เช่นนี้ ต่อมาภายหลังจึงเปลี่ยนมาเป็น “เวียดนาม” สะกดด้วยตัว ‘ด’

ชาวโซเชียลหนุน ‘ทราย สก๊อต’ เพราะไม่เชื่อมั่น ในการทำหน้าที่ของภาครัฐ นักวิชาการ มธ. เสนอ ‘กรมอุทยานฯ’ ใช้ระบบ ‘E-Ticket’ แก้ทุจริตเรื้อรัง

(27 เม.ย. 68) รศ. ดร.สุรศักดิ์ บุญเรือง อาจารย์ประจำศูนย์กฎหมายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และผู้ช่วยคณบดีคณะนิติศาสตร์ ศูนย์ลำปาง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) เปิดเผยว่า ปรากฏการณ์แรงหนุน-ต้านของสังคมต่อการทำหน้าที่ของ ทราย สก๊อต อดีตที่ปรึกษาอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช (อส.) เป็นสิ่งที่น่าสนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่มีผู้เข้าข้างหรือเลือกอยู่ฝั่งเดียวกับ ทราย สก๊อต แรงหนุนส่วนหนึ่งอาจไม่ได้เห็นด้วยกับการแสดงออกของ ทราย สก๊อต ในทุกประเด็น แต่เขาเหล่านั้นอยากให้เกิดความตระหนักรู้ทางสังคมและมีการตรวจสอบการบริหารจัดการพื้นที่อุทยานแห่งชาติทางทะเล ตรงนี้สะท้อนว่าสังคมกำลังมีความรู้สึกคลางแคลงใจในเรื่องความไม่โปร่งใสในการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐ และ อส.

“ในปี 2567 อส. มีรายได้จากการจัดเก็บค่าเข้าชมของนักท่องเที่ยวทั้งประเทศราว 2,200 ล้านบาท เกินกว่าครึ่ง เป็นรายได้จากการจัดเก็บค่าเข้าอุทยานแห่งชาติทางทะเลอันสะท้อนว่าพื้นที่ทางทะเลเป็นพื้นที่ที่มีผลประโยชน์สูง ซึ่งที่ผ่านมาสังคมแทบไม่มีโอกาสได้รับรู้เลยว่ารายได้เหล่านั้นถูกนำไปใช้อย่างอย่างไร ส่วนตัวเห็นว่า อส. ควรพลิกเหตุการณ์ครั้งนี้ให้กลายเป็นโอกาสในการปรับปรุง และแสดงให้เห็นถึงความโปรงใส่ในการทำงานของ อส. จนกลับมาสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน เพื่อนำไปสู่การร่วมไม้ร่วมมือจากภาคประชาชนและภาคเอกชน สำหรับอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมต่อไป” รศ. ดร.สุรศักดิ์ กล่าว

นักวิชาการธรรมศาสตร์ กล่าวต่อไปอีกว่า แม้ว่าปัจจุบันอาจมีการใช้ระบบตั๋วอิเล็กทรอนิกส์ (E-Ticket) ในอุทยานแห่งชาติบางแห่ง แต่ยังพบปัญหาข้อติดขัดหลายประการ เช่น การใช้ E-ticket กับตั๋วหมู่คณะที่ซื้อทัวร์มาท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติทางทะเล จึงควรมีการปรับปรุงระบบดังกล่าวและนำมาใช้กับพื้นที่อุทยานต่างๆ ให้มากขึ้น ซึ่งแนวทางนี้จะช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงปัญหาการคอร์รัปชันกรณีจำหน่ายตั๋วเข้าอุทยานฯ ที่นับเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมาอย่างยาวนานเรื้อรังลงได้ 

มากไปกว่านั้น หากในอนาคตมีกระบวนการจัดเก็บรายได้ที่โปร่งใสแล้ว ลำดับถัดไปก็ควรจะมีการจัดสรรรายได้ส่วนหนึ่งเพื่อจัดสวัสดิการต่างๆ ให้พนักงานและเจ้าหน้าที่อุทยานในระดับปฏิบัติการให้ดีกว่าที่ได้รับ เช่น การใช้เป็นค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับเครื่องมือหรือปัจจัยขั้นพื้นฐานสำหรับใช้ในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ รวมไปถึงเงินค่าตอบแทนจากการทำงาน ที่มีความเหมาะสมกับหน้างานที่รับผิดชอบ สิ่งเหล่านี้จะเป็นส่วนหนึ่งในการลดเหตุจูงใจให้เจ้าหน้าที่กระทำการทุจริต ทั้งยังเป็นขวัญกำลังในการปฏิบัติหน้าที่

รศ. ดร.สุรศักดิ์ กล่าวอีกว่า ส่วนตัวเชื่อว่าข้อพิพาทที่เกิดขึ้นระหว่างฝ่ายสนับสนุน ทราย สก๊อต กับพนักงานเจ้าหน้าที่กรมอุทยานฯ รวมไปถึงผู้ประกอบการและประชาชนในพื้นที่ เกิดจากการมีแนวคิดและจุดยืน หรือนิยามการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติซึ่งแตกต่างกัน กล่าวคือฝ่ายหนึ่งมีแนวคิดโน้มเอียงไปแบบอนุรักษ์สุดโต่ง (Deep Green) ที่เชื่อว่าการดำรงอยู่ของอารยธรรมอุตสาหกรรมเป็นภัยคุกคามที่ยิ่งใหญ่ที่สุดต่อสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ จึงเรียกร้องให้รื้อถอนและหวนคืนความเป็นปกติให้กับสิ่งแวดล้อมอย่างเข้มงวด 
ขณะที่อีกฝ่ายหนึ่ง มีแนวคิดสนับสนุนการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเลอย่างหลากหลายและเต็มรูปแบบตามแนวคิดเศรษฐกิจสีน้ำเงิน (Blue Economy) ซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจบนพื้นฐานการใช้ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอย่างยั่งยืน สิ่งเหล่านี้จึงนำไปสู่ความเห็นที่ไม่ตรงกันและความขัดแย้ง

ทั้งนี้ เพื่อป้องกันความสับสนและไม่ให้เหตุการณ์ดังที่ปรากฏตามสื่อเกิดขึ้นซ้ำรอย อส. ควรมีการทบทวนและสร้างระเบียบหรือมาตรการที่ชัดเจนว่าเส้นแบ่งของภาคประชาชน ภาคเอกชน ได้รับอนุญาตให้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในการปกป้องและอนุรักษ์ธรรมชาติมากน้อยแค่ไหน ยกกรณีตัวอย่างเช่น หากประชาชนพบเห็นผู้กระทำผิดกฎระเบียบอย่างชัดเจน บทบาทหน้าที่ในฐานะพลเมืองดี ที่จะกระทำการเพื่อปกป้องทรัพยากรธรรมชาติ ทำได้แค่ไหน สามารถถ่ายคลิปวิดีโอการคนที่ทำผิดนั้น โพสต์ลงโซเชียลมีเดียได้หรือไม่ เป็นต้น พร้อมกันนี้ควรกำหนดกฎระเบียบข้อควรปฏิบัติในการใช้พื้นที่อุทยานแห่งชาติทางทะเลให้ชัดเจน มีการเขียนป้ายทั้งในภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาอื่นๆ เพื่อความเข้าใจร่วมกัน ทั้งนักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างชาติ ไปจนถึงผู้ประกอบการในพื้นที่เช่นกัน

‘วาติกัน’ เปลี่ยนพิธีสาร!! เพื่อให้ ‘เซเลนสกี’ ได้นั่งแถวหน้า ในพิธีศพของ ‘สมเด็จพระสันตปาปาฟรานซิส’

(27 เม.ย. 68) เพจเฟซบุ๊ก ‘Jaroensook Limbanchongkit Pone’ ได้โพสต์ข้อความระบุว่า ...

หนังสือพิมพ์ The Telegraph ของอังกฤษระบุว่ากฎทางการทูตกำหนดให้ผู้นำโลกต้องนั่งตามลำดับตัวอักษรตามชื่อประเทศในภาษาฝรั่งเศส ซึ่งเป็นภาษาทางการทูตแบบดั้งเดิม ตามกฎเหล่านี้ เซเลนสกีน่าจะได้นั่งในแถวที่สามหรือถอยหลังลงไป

ตรงกันข้าม เขานั่งแถวหน้า ห่างจากทรัมป์ 11 ที่นั่ง ซึ่งนั่งอยู่ทางขวาของเขา
วาติกันไม่ปฏิเสธว่าได้มีการเปลี่ยนแปลงพิธีการดังกล่าว "ผมเชื่อว่าพวกเขาได้เติมเต็มตำแหน่งที่ว่างแล้ว" โฆษกวาติกัน มัตเตโอ บรูนี กล่าวกับเดอะเทเลกราฟ

ระหว่างเซเลนสกีและทรัมป์มีประธานาธิบดีของอินเดีย ฮังการี กาบอง รวมถึงมาครงกับภริยาของเขา และประธานาธิบดีของฟินแลนด์ อเล็กซานเดอร์ สตับบ์

ในภาษาฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกาถูกเรียกว่า États-Unis โดยเริ่มด้วยตัวอักษร E ผู้ที่นั่งทางขวาของทรัมป์และเมลาเนีย ภริยาคือ ประธานาธิบดีเอสโตเนีย อลาร์ คาริส และกษัตริย์เฟลิเปแห่งสเปน (Espagne ในภาษาฝรั่งเศส)

ประธานาธิบดีไมเคิล ดี. ฮิกกินส์ของไอร์แลนด์ นั่งอยู่ทางขวาของเซเลนสกี ซึ่งเป็นหลักฐานเพิ่มเติมว่าระเบียบการนั่งปกติได้รับการปรับเปลี่ยนโดยเจตนาเพื่อให้เซเลนสกีได้มีตำแหน่งที่โดดเด่นยิ่งขึ้น

ในที่อื่นๆ กฎเกณฑ์ดูเหมือนจะได้รับการปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด: ประธานาธิบดีอาร์เจนตินา ฮาเวียร์ ไมลีย์ นั่งทางด้านขวาสุดของแถวหน้า ถัดจากทหารรักษาพระองค์สวิสที่ยืนอยู่

ในเวลาเดียวกัน นักการเมืองอิตาลีวิพากษ์วิจารณ์การแต่งกายของ Zelensky ที่ไม่เป็นไปตามธรรมเนียมปฏิบัติ และวิพากษ์วิจารณ์การประชุมทางการเมืองในระหว่างพิธีศพอีกด้วย

‘ชูศักดิ์ ศิรินิล’ ผู้แทนพิเศษรัฐบาลไทย ร่วมถวายเกียรติ ในพิธีพระศพของ สมเด็จพระสันตะปาปา ณ นครรัฐวาติกัน

(27 เม.ย. 68) นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นผู้แทนพิเศษของรัฐบาลไทย ได้เข้าร่วมพิธีพระศพของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรันซิส ประมุขแห่งคริสตจักรนิกายโรมันคาทอลิกและนครรัฐวาติกัน ณ มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ นครรัฐวาติกัน ที่จัดขึ้นวานนี้ (วันเสาร์ที่ 26 เมษายน 2568) เวลา 10.00 น. ตามเวลาท้องถิ่นนครรัฐวาติกัน ซึ่งช้ากว่าประเทศไทย เป็นเวลา 5 ชั่วโมง  

นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ผู้แทนรัฐบาลไทย พร้อมด้วยนางสาวพรรณนภา จันทรารมย์ (ว่าที่) เอกอัครราชทูตประจำนครรัฐวาติกัน และนายธเนศ กิตติธเนศวร เลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้เข้าร่วมพิธีพระศพของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรันซิสที่จตุรัสเซนต์ปีเตอร์ นครรัฐวาติกัน ขณะที่นายธัชสิทธิ์ ประสิทธิรัตน์ อุปทูตฯ ประจำนครรัฐวาติกัน เข้าร่วมในส่วนของคณะทูตานุทูต

เมื่อคณะเดินทางถึงมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ นายชูศักดิ์ ศิรินิล และคณะได้เข้าพบพระคาร์ดินัล ปิเอโตร ปาโรลิน (Pietro Parolin) เลขาธิการสันตะสำนักในสมัยของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรันซิส

พิธีปลงพระศพของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรันซิส จัดขึ้นอย่างสมพระเกียรติบริเวณจัตุรัสเซนต์ปีเตอร์ โดยเริ่มขึ้นในเวลา 10.00 น. และเสร็จสิ้นเมื่อเวลา 12.10 น. โดยมีพระคาร์ดินัลโจวานนี บัตตีสตา เร (Carinal Giovanni Battista Re) ประธานพระคาร์ดินัลทั่วโลก เป็นประธานในพิธี

พิธีพระศพเริ่มต้นด้วยการเคลื่อนย้ายโลงพระศพจากมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ออกมายังหน้าวิหาร บริเวณลานด้านหน้า เพื่อประกอบพิธีปลงพระศพ จากนั้นเป็นพิธีกรรมทางศาสนา โดยมีการสวดมนต์เป็นภาษาละตินและภาษาหลักต่าง ๆ เพื่อรำลึกถึงคุณงามความดีของพระสันตะปาปา ผู้ทรงยึดมั่นในความเมตตาและความยุติธรรม โดยไม่มีเครื่องประดับหรือการตกแต่งที่หรูหราเกินจำเป็น ตามพระประสงค์ที่ระบุไว้ในพินัยกรรม ที่ต้องการให้งานศพสะท้อนความถ่อมตน ให้เน้นความเรียบง่ายและการมีส่วนร่วมของสาธารณชน ก่อนที่จะมีการเคลื่อนย้ายพระศพไปฝังที่วิหาร Santa Maria Maggiore Basilica ในกรุงโรม

พิธีในครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมจากกว่า 150 ประเทศ/องค์การระหว่างประเทศ รวมถึงเชื้อพระวงศ์ ประมุขของรัฐและผู้บริหารระดับสูงของรัฐบาลจำนวนมาก และยังมีประชาชนผู้ศรัทธาอีกกว่า 2 แสนคนเข้าร่วม อาทิ สมเด็จพระราชาธิบดีและสมเด็จพระราชินีแห่งสเปนเจ้าชายแห่งเวลส์ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาประธานาธิบดีฝรั่งเศสประธานาธิบดีบราซิลประธานาธิบดีอาร์เจนตินาประธานาธิบดียูเครนประธานาธิบดีสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร นายกรัฐมนตรีสวีเดน และนายกรัฐมนตรีฮังการี เป็นต้น

สมเด็จพระสันตะปาปาฟรันซิส ประมุขแห่งคริสตจักรนิกายโรมันคาทอลิกและนครรัฐวาติกัน พระสันตะปาปา องค์ที่ 266 ได้สิ้นพระชนม์ เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2568 ณ ที่ประทับ (Casa Sabta Marta) ในนครรัฐวาติกัน ด้วยพระชนมายุ 88 พรรษา โดยทรงเป็นผู้นำทางศาสนาที่ได้รับการเคารพอย่างสูงจากประชาคมระหว่างประเทศ ทรงอุทิศพระองค์ในการส่งเสริมสันติภาพ ความเมตตา และการสร้างความปรองดองและส่งเสริมสันติภาพในทั่วทุกมุมโลก จนได้รับการยกย่องว่า เป็นพระสันตะปาปาของผู้ยากไร้ (Pope of the Poor) โดยทรงปฏิบัติภารกิจจนถึงช่วงสุดท้าย เพื่อประทานพรให้แก่ประชาชนที่จัตุรัสเซนต์ปีเตอร์ ในช่วงเทศกาลอีสเตอร์ เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2568 ที่ผ่านมา

ทั้งนี้ สมเด็จพระสันตะปาปาฟรันซิส ได้เคยเสด็จเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการระหว่างวันที่ 20 – 23 พฤศจิกายน 2562 และได้เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี รวมถึงได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

โดยในโอกาสที่สมเด็จพระสันตะปาปาฟรันซิสสิ้นพระชนม์ นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีได้มีสารแสดงความเสียใจถึงประธานคณะพระคาร์ดินัลทั่วโลก เพื่อแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อการสิ้นพระชนม์ของ สมเด็จพระสันตะปาปาฟรันซิส ผู้เป็นดั่งดวงประทีปแห่งความเมตตากรุณา ความอ่อนน้อมถ่อมตน และจริยธรรม พร้อมกับนับถือความมุ่งมั่นของสันตะสำนักแห่งนครวาติกัน ภายใต้การนำของสมเด็จพระสันตะปาปาในการส่งเสริมสันติภาพ และความเข้าใจซึ่งกันและกัน โดยการเสด็จเยือนประเทศไทยของพระองค์เมื่อปี 2562 ยังคงเป็นความทรงจำที่มีค่าของประชาชนไทย

อนึ่ง ในช่วงเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2568 คณะผู้แทนพิเศษได้พบกับ พระคาร์ดินัลฟรังซิสเซเวียร์ เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช ที่นครรัฐวาติกันด้วย 

โดยภารกิจในครั้งนี้มีผู้แทนจากนครรัฐวาติกันมารับที่สนามบิน และมีรถตำรวจนำขบวน อำนวยความสะดวกคณะผู้แทนพิเศษของรัฐบาลไทยตลอดภารกิจ

‘นายกฯ อิ๊งค์’ พร้อมลงพื้นที่ อีสานตอนบน ริมแม่น้ำโขง จันทร์นี้ นำ!! คณะรัฐมนตรีสัญจร มั่นใจ!! แก้ไขปัญหาในพื้นที่ได้ทุกมิติ

(27 เม.ย. 68) นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจร ในวันอังคารที่ 29 เมษายน ที่จังหวัดนครพนม ซึ่งนายกรัฐมนตรี มีดำริให้รัฐมนตรี ทุกกระทรวง ลงพื้นที่ตรวจราชการและติดตามงานในทุกมิติ ในพื้นที่กลุ่มจังหวัด ภาคอีสานในวันอาทิตย์ที่ 27 เมษายน และวันจันทร์ที่ 28 เมษายน ก่อนการเข้าร่วมประชุม คณะรัฐมนตรีสัญจรอย่างเป็นทางการ

ทั้งนี้ นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มีกำหนดเดินทางลงพื้นที่จังหวัดสกลนครและนครพนม เพื่อตรวจราชการและติดตามผลการดำเนินงานของส่วนราชการต่าง ๆ ในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2 (สกลนคร นครพนม และมุกดาหาร) ในวันจันทร์ที่ 28 เมษายน 2568 และนายกรัฐมนตรีจะเป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 2/2568 ในวันอังคารที่ 29 เมษายน 2568  ที่หอประชุมอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง มหาวิทยาลัยนครพนม จังหวัดนครพนม

“นายกรัฐมนตรีจะลงพื้นที่ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการก่อน 1 วัน โดยในวันจันทร์ที่ 28 เมษายน 2568 เวลา 08.45 น. นายกรัฐมนตรีพร้อมคณะ ออกเดินทางจากท่าอากาศยานทหาร 2 กองบิน 6 (บน.6) ดอนเมือง กรุงเทพฯ ไปยังสนามบินกองทัพบกค่ายกฤษณ์สีวะรา ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมืองสกลนคร จ.สกลนคร และเดินทางต่อไปยังสวนสาธารณะดอนเกิน อ.เมืองสกลนคร จ.สกลนคร เพื่อติดตามความก้าวหน้าการขับเคลื่อนแผนพัฒนาและฟื้นฟูพื้นที่บึงหนองหารและการบริหารจัดการน้ำ

จากนั้น นายกรัฐมนตรีจะไปศูนย์หัตถกรรมวัดธาตุประสิทธิ์ อ.นาหว้า จ.นครพนม เพื่อเยี่ยมชมศูนย์หัตถกรรมวัดธาตุประสิทธิ์ “นาหว้าโมเดล” ตามแนวพระดำริ “Sustainable Fashion : แฟชั่นแห่งความยั่งยืน” จากนั้นจะเป็นประธานการประชุมติดตามการแก้ไขปัญหายาเสพติดข้ามแดนในพื้นที่ ที่หน่วยเรือรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำแม่น้ำโขงนครพนม อ.เมืองนครพนม และในช่วงเย็นของวันเดียวกัน นายกรัฐมนตรีและคณะจะร่วมสักการะพญาศรีสัตตนาคราช พร้อมจุดเรือไฟบก ที่ลานพนมนาคา   ริมแม่น้ำโขง ในอำเภอเมืองนครพนม

นายจิรายุ กล่าวต่อไปว่า ในวันอังคารที่ 29 เมษายน 2568 เวลาประมาณ 10.00 น. นายกรัฐมนตรีจะเป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 2/2568 ที่หอประชุมอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง มหาวิทยาลัยนครพนม หลังเสร็จสิ้นการประชุมนายกรัฐมนตรีจะเดินทางไปที่ด่านศุลกากรนครพนม ซึ่งอยู่ริมแม่น้ำโขงตรงข้ามประเทศลาว เพื่อติดตามสถานการณ์การค้าชายแดนในพื้นที่ เนื่องจากด่านศุลกากรนครพนม มีจุดผ่านแดนถาวรทั้งหมด 2 แห่ง คือ สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 3 (นครพนม-คำม่วน ลาว ) ท่าเทียบเรือการท่องเที่ยวเทศบาลนครพนมรวมทั้งจุดผ่อนปรนการค้าอีก 4 แห่ง ได้แก่ จุดผ่อนปรนอำเภอท่าอุเทน จุดผ่อนปรนบ้านดอนแพง จุดผ่อนปรนอำเภอธาตุพนม และจุดผ่อนปรนบ้านหนาด

“การลงพื้นที่ภาคอีสานของนายกรัฐมนตรีในครั้งนี้ เพื่อติดตามความคืบหน้าของโครงการพัฒนาและแก้ไขปัญหาในพื้นที่ทุกมิติ ทั้งการค้าขายระหว่างประเทศ การท่องเที่ยว การพัฒนาเมืองเนื่องจากจังหวัด นครพนม และมุกดาหาร เป็นจังหวัดที่มีศักยภาพสูงเป็นจังหวัดที่มีพรมแดนติดกับประเทศลาวที่มีเส้นทางการคมนาคมหลักที่สามารถเชื่อมโยงไปยังประเทศเวียดนามตอนกลางที่เมืองดานังได้ ทั้งนี้ การลงพื้นที่ ของคณะรัฐมนตรี จะทำให้รัฐบาลสามารถเห็นถึงโอกาสในการพัฒนาต่อยอดทุกมิติ และแนวทางการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เพื่อให้จังหวัดสามารถเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันได้ ไม่ว่าเป็นการท่องเที่ยว การค้าการลงทุน รวมถึงการแก้ไขปัญหายาเสพติด ทั้งนี้เมื่อปัญหายาเสพติดลดลงคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ก็จะดีขึ้น” นายจิรายุ กล่าวทิ้งท้าย

Google เปลี่ยนคำว่า 'อ่าวเปอร์เซีย' เป็น 'อ่าวอาหรับ'

(27 เม.ย. 68) เพจเฟซบุ๊ก ‘Jaroensook Limbanchongkit Pone’ ได้โพสต์ข้อความระบุว่า ...

Google เปลี่ยนคำว่า 'อ่าวเปอร์เซีย' เป็น 'อ่าวอาหรับ' ตามคำขอจากประเทศในอ่าวอาหรับ
ผู้ใช้บางคนยังรายงานว่าเห็นชื่อเดิม แต่ตอนนี้แสดงอยู่ในวงเล็บ

Google changes 'Persian Gulf' to 'Arabian Gulf' following requests from Arab Gulf countries
Some users still report seeing the old name, but now listed in parentheses

รัสเซียยึดคืนพื้นที่คุสค์ ที่ถูกยูเครนรุกรานได้ 100% หลังถูกยึดครองนานกว่า 8 เดือน

(27 เม.ย. 68) เพจเฟซบุ๊ก ‘Ethan Hunts’ ได้โพสต์ข้อความระบุว่า ...

รัสเซียยึดคืนพื้นที่คุสค์ ที่ถูกยูเครนรุกรานได้ 100% หลังถูกยึดครองนานกว่า 8 เดือน พลเอกเจราซิมอฟ ผู้บัญชาการกองทัพรัสเซียรายงานปูติน เมืองโกนัล เป็นเมืองสุดท้ายที่กองกำลังยูเครนถอยมาปักหลัก ก่อนจะถูกกองทัพรัสเซียเข้ายึดคืน โดยยูเครนสูญเสียทหารในปฏิบัติการยึดคุสค์ มากกว่า 76,000 นาย


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top