Tuesday, 6 May 2025
GoodsVoice

‘รมว.ปุ้ย’ นำทีมเยือนญี่ปุ่น ศึกษา ‘โมเดลคิตะคิวชู’ เตรียมนำมาประยุกต์ใช้สร้าง ‘นิคมฯ Circular’ ในไทย

(26 ก.ค. 67) นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยถึงภารกิจการเยือนประเทศญี่ปุ่นในช่วงวันที่ 24 - 25 กรกฎาคมที่ผ่านมา ว่า ได้มีการประชุมหารือร่วมกับ อธิบดีสำนักสิ่งแวดล้อมเมืองคิตะคิวชู ประเทศญี่ปุ่น เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ว่า เมืองเชิงนิเวศคิตะคิวชู (Kitakyushu Eco-Town) เป็นหนึ่งในต้นแบบที่ดี ที่กระทรวงอุตสาหกรรมนำมาเป็นแนวทางพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศในประเทศไทย เพื่อพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมที่ได้รับความเชื่อมั่นจากนักลงทุนและประชาชนในพื้นที่โดยรอบ ให้ภาคอุตสาหกรรมสามารถอยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างยั่งยืน

นางสาวพิมพ์ภัทรา กล่าวอีกว่า กระทรวงอุตสาหกรรม โดยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) กับเมืองคิตะคิวชู มีความร่วมมือในการพัฒนาเมืองเชิงนิเวศ และได้ลงนามบันทึกความเข้าใจเพื่อร่วมกันพัฒนาพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด และมาบตาพุดคอมเพล็กซ์ จังหวัดระยอง ให้เป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2557 ซึ่งนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด และท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ได้รับการรับรองการเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ระดับ Eco World Class 

นอกจากนี้ รัฐบาลยังมอบหมายให้ กระทรวงอุตสาหกรรม โดย กนอ. และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ร่วมกันจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม Circular ในพื้นที่จังหวัดชลบุรี ซึ่งการเตรียมความพร้อมด้านองค์ความรู้และพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากร รวมไปถึงเทคโนโลยี เป็นส่วนสำคัญของการพัฒนานิคมอุตสาหกรรม Circular โดย กนอ. อยู่ระหว่างการหารือความร่วมมือกับสถานกงสุลใหญ่ฟุกุโอกะ กระทรวงการต่างประเทศ เมืองคิตะคิวชู เพื่อดำเนินโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน 

โดยเบื้องต้นกำหนดกรอบความร่วมมือ ดังนี้ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ปัจจัยความสำเร็จในการบริหารจัดการของเสียและวัสดุเหลือใช้ของญี่ปุ่น ประกอบด้วย 

(1) กฎหมายที่ใช้ในการกำกับดูแลโรงงาน ทั้งผู้ก่อกำเนิดของเสียและผู้รับกำจัดของเสีย 

(2) กฎหมายที่ใช้ในการกำกับดูแลนิคมอุตสาหกรรมให้เอื้อต่อการพัฒนารูปแบบเศรษฐกิจหมุนเวียน 

(3) บูรณาการความร่วมมือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อสนับสนุนการหมุนเวียนทรัพยากรตามแนวคิด end-of-waste และแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคของนิคมอุตสาหกรรมให้รองรับการตั้งอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการหมุนเวียนทรัพยากร

“เชื่อมั่นว่าความร่วมมือครั้งนี้จะเป็นประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมต่อภาคอุตสาหกรรมและประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนที่สนใจลงทุนในประเทศไทย ให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของภาครัฐในการสนับสนุน การประกอบกิจการที่คำนึงถึงความยั่งยืนตามเป้าหมายของประเทศและของโลก การหารือและดูงานครั้งนี้ยังเป็นส่วนสำคัญในการนำปัจจัยความสำเร็จจากเมืองคิตะคิวชูมาเป็นต้นแบบในการบูรณาการเพื่อสนับสนุนให้การทำ BCG Model เกิดขึ้นอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นหน้าที่สำคัญที่กระทรวงอุตสาหกรรมต้องขับเคลื่อนต่อไป เพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับภาคอุตสาหกรรมและประเทศไทย” นางสาวพิมพ์ภัทรา กล่าว

นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และคณะ ได้เข้าเยี่ยมชมกระบวนการรีไซเคิลแผงโซลาร์เซลล์ ที่ Recycle-Tech Corporation ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ บริษัท ชินเรียว คอร์ปอเรชั่น ตอกย้ำเป้าหมายของประเทศในการผลักดัน BCG Model (Bio-Circular-Green Economy) เพื่อลดปริมาณของเสียและส่งเสริมการนำวัสดุกลับมาใช้ประโยชน์ให้ได้มากที่สุด ซึ่งการเยี่ยมชมครั้งนี้มีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากในอนาคตอันใกล้นี้ โลกจะต้องเผชิญกับปัญหาของเสียจากแผงโซลาร์เซลล์จำนวนมาก การรีไซเคิลจึงเป็นกุญแจสำคัญในการแก้ไขปัญหานี้ และส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เศรษฐกิจหมุนเวียน และความเป็นกลางทางคาร์บอน

ขณะเดียวกันก่อนหน้านี้ (24 ก.ค.67) คณะของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ยังได้เข้าเยี่ยมชมกระบวนการรีไซเคิลหลอดฟลูออเรสเซนต์ ของบริษัท เจ-รีไลท์ สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เศรษฐกิจหมุนเวียน และความเป็นกลางทางคาร์บอน ซึ่งเป็นประเด็นที่ทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญ โดยมุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและส่งเสริมการรีไซเคิลเพื่อลดของเสีย ซึ่งนิคมอุตสาหกรรม Circular จะเป็นพื้นที่เป้าหมายสำหรับอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสีเขียวและเศรษฐกิจหมุนเวียนของประเทศไทย โดยนักลงทุนจะได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐในการดำเนินธุรกิจที่มุ่งสู่ความยั่งยืน

ด้านนางบุปผา กวินวศิน รองผู้ว่าการ กนอ. (สายงานพัฒนาที่ยั่งยืน) กล่าวเสริมว่า บทบาทของ กนอ. ต่อจากนี้ คือ การอำนวยความสะดวกให้แก่นักลงทุน ช่วยให้ผู้ประกอบการปรับตัวให้ทันกับกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก ควบคู่กับการสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นแก่ประชาชนที่อยู่โดยรอบโรงงานอุตสาหกรรม และนิคมอุตสาหกรรม เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างปลอดภัยและยั่งยืน โดยความร่วมมือที่กำลังจะเกิดขึ้นนี้จะเกิดประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมแก่ภาคอุตสาหกรรมและประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนที่กำลังจะตัดสินใจมาลงทุนในประเทศไทย ให้เห็นว่าประเทศไทยตั้งใจสนับสนุนและอำนวยความสะดวกการประกอบกิจการ รวมถึงให้ความสำคัญกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน ตามเป้าหมายของประเทศ รวมถึงเป้าหมายของโลก โดยมีภาครัฐที่พร้อมให้การสนับสนุนเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายเดียวกัน

ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และคณะ มีกำหนดการเยือนประเทศญี่ปุ่น ในระหว่างวันที่ 21 - 27 กรกฎาคม 2567 เพื่อร่วมศึกษาดูงานการพัฒนาการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม Circular ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลที่มอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรมดำเนินการ 

'พีระพันธุ์' เยือนซาอุดีอาระเบีย ปิดดีลใหญ่!! ยกระดับความร่วมมือด้านพลังงาน ‘ไทย-ซาอุฯ’

ไม่นานมานี้ นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยภารกิจภายหลังการเยือนประเทศซาอุดีอาระเบียอย่างเป็นทางการ พร้อมด้วยปลัดกระทรวงพลังงาน และคณะทำงาน ระหว่างวันที่ 15-16 กรกฎาคม 2567 ที่ผ่านมาว่า ในการเยือนประเทศซาอุดีอาระเบียครั้งนี้ มีภารกิจสำคัญอยู่ 2 ส่วน

ส่วนแรกคือ การกระชับความสัมพันธ์ระหว่างไทยและซาอุดีอาระเบีย

ส่วนที่สองเป็นการติดตามความคืบหน้าในเรื่องของการทำความตกลง (MOU) ระหว่างกระทรวงพลังงานไทยกับกระทรวงพลังงานของซาอุดีอาระเบีย ที่ได้มีการลงนามไปเมื่อปี 2565  โดยคณะของกระทรวงพลังงานไทยได้มีการหารือกับคณะเจรจาของกระทรวงพลังงานซาอุดีอาระเบีย นำโดย เจ้าชายอับดุลอาซิซ บิน ซัลมาน อัล ซาอุด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานซาอุดีอาระเบีย  และยังมีหน่วยงานชั้นนำของประเทศซาอุดีอาระเบียและของโลกเข้าร่วมหารือด้วย เช่น Saudi Aramco บริษัทน้ำมันชั้นนำระดับโลก บริษัท SABIC ผู้ผลิตเคมีภัณฑ์รายใหญ่ระดับโลก บริษัท ACWA Power  ผู้ประกอบธุรกิจด้านการผลิตไฟฟ้า และ SEEC หน่วยงานที่กำกับดูแลด้านการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตและการใช้พลังงานของประเทศ

นายพีระพันธุ์ กล่าวว่า ในด้านภารกิจกระชับความสัมพันธ์กับประเทศซาอุดีอาระเบียหลังจากที่มีการฟื้นความสัมพันธ์ระหว่างกันในรอบ 32 ปีนั้น ได้มีการพูดคุยกันในกรอบการค้า รวมถึงประเด็นอื่นๆ ที่จะเกิดประโยชน์โดยภาพรวมต่อทั้งสองประเทศ ส่วนภารกิจด้านการติดตามความร่วมมือด้านพลังงานตาม MOU เดิมทั้ง 8 ข้อนั้น ก็ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากทางซาอุดีอาระเบียในทุกข้อตกลง โดยทั้งสองฝ่ายได้จัดตั้งคณะทำงานร่วมกัน เพื่อติดตามและผลักดันความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างไทยและซาอุดีอาระเบียต่อไป

นายพีระพันธุ์ ได้เปิดเผยถึงข้อตกลงสำคัญๆ ในการหารือว่า ขณะนี้ทางซาอุดีอาระเบียได้ให้ความสำคัญอย่างมากในเรื่องของพลังงานแห่งอนาคต และกำลังพิจารณาที่จะเข้ามาลงทุนด้านนี้ในประเทศไทย โดยเฉพาะพลังงานไฮโดรเจน ซึ่งเป็นพลังงานเชื้อเพลิงที่ใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ทั้งรถยนต์ในอนาคต รวมถึงเรื่องของพลังงานเชื้อเพลิงในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ อีกทั้งสามารถนำมาผลิตไฟฟ้าได้ด้วย

"เรื่องนี้สำคัญมาก เพราะถ้าหากว่าเราสามารถพัฒนาไฮโดรเจนจนได้ต้นทุนที่ถูกลง ก็จะสามารถนำพลังงานส่วนนี้มาชดเชยก๊าซ ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญในการผลิตไฟฟ้า ช่วยลดต้นทุนผลิตไฟฟ้า และลดค่าไฟแก่พี่น้องประชาชนได้ ซึ่งทางซาอุฯ ก็รับปากที่จะมาลงทุนในไทยในเรื่องของพลังงานไฮโดรเจน"

นายพีระพันธุ์ กล่าวอีกว่า การลงทุนผลิตพลังงานไฮโดรเจนในประเทศไทยถือเป็นความร่วมมือระดับ 'บิ๊กดีล' ระหว่างไทยและซาอุฯ ซึ่งคาดว่าจะเกิดขึ้นเป็นรูปธรรมอย่างรวดเร็ว เพราะทั้งภาครัฐและภาคเอกชนของทั้งสองประเทศต่างก็มีเป้าหมายจะพัฒนาและลงทุนในด้านนี้

นอกเหนือจากข้อตกลงทั้ง 8 ข้อใน MOU เดิม นายพีระพันธุ์ยังได้เสนอให้เพิ่มเติมความร่วมมือในด้านอื่นๆ ซึ่งได้แก่ การถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีด้านพลังงาน รวมถึงการให้ความช่วยเหลือด้านโครงสร้างพื้นฐานในการจัดตั้งระบบสำรองน้ำมันทางยุทธศาสตร์ของไทย  ซึ่งทางซาอุดีอาระเบียก็ได้ให้การตอบรับเป็นอย่างดี โดยเฉพาะการให้การสนับสนุนด้านวิชาการแก่ 'วิทยาลัยพลังงานแห่งชาติ' ที่กำลังเตรียมจัดตั้งขึ้นในประเทศไทย เพื่อช่วยยกระดับองค์ความรู้และบุคลากรพลังงานที่จะสร้างประโยชน์ต่อประเทศไทยในอนาคตต่อไป

นายพีระพันธุ์ กล่าวอีกว่า การเยือนซาอุดีอาระเบียในครั้งนี้ถือเป็นหน้าประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญของไทย ซึ่งเป็นผลจากการต่อยอดการฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศ โดยเจ้าชายอับดุลอาซิซ บิน ซัลมาน ในฐานะ รมว.พลังงานซาอุฯ รวมถึงบุคลากรระดับสูงของภาครัฐ และผู้นำของบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านพลังงานในซาอุดีอาระเบียต่างให้การต้อนรับคณะของกระทรวงพลังงานไทยเป็นอย่างดีในทุกๆ ด้าน

"การเยือนซาอุฯ ครั้งนี้ เราได้รับการตอบสนองอย่างดีในทุกๆ เรื่อง และเราได้รับการต้อนรับที่ดีจริงๆ เราได้ชมกระบวนการทำงาน เทคโนโลยี และนวัตกรรมขั้นสูงของบริษัทด้านพลังงานระดับโลก และทางซาอุฯ ก็ยินดีที่จะถ่ายทอดองค์ความรู้เหล่านี้ให้กับประเทศไทย เหล่านี้เปรียบเสมือนเป็นความตกลงข้อที่ 9 ที่เราได้มา นอกเหนือจาก MOU ทั้ง 8 ข้อ ซึ่งล่าสุดทั้งสองประเทศก็ได้ตั้งคณะทำงานร่วมกันในทุกๆ ประเด็นความร่วมมือที่มีการพูดคุยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว"

นอกจากนี้ นายพีระพันธุ์ยังได้เชิญชวนให้ซาอุดีอาระเบียพิจารณาเข้ามาลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงาน โรงกลั่นน้ำมัน คลังน้ำมัน ท่าเรือ และท่อขนส่งน้ำมันในพื้นที่ที่มีศักยภาพของประเทศ ทั้งนี้ เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานและการสำรองน้ำมันเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Petroleum Reserve : SPR) ให้กับประเทศไทย และสามารถเป็นจุดกระจายน้ำมันจากประเทศไทยไปยังประเทศอื่นๆ ในเอเชีย ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนค่าขนส่งลงได้ โดยทาง ซาอุฯ ได้ให้ความสนใจและพร้อมที่จะเข้ามาศึกษารูปแบบการดำเนินระบบ SPR ของไทยทันทีเมื่อไทยมีความพร้อม

ขณะเดียวกัน ทางซาอุดีอาระเบียก็พร้อมที่จะให้ความร่วมมือกับไทยในเรื่องของการผลิตพลังงานสะอาด และเน้นย้ำนโยบายการขับเคลื่อนพลังงานที่ต้องการผลักดันเพื่อไปสู่เป้าหมายสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน และ การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ด้วย

สำหรับโอกาสการลงทุนในซาอุดีอาระเบียนั้น นายพีระพันธุ์ เปิดเผยว่า ปัจจุบัน ซาอุฯ มีความต้องการใช้ไฟฟ้าในประเทศสูงมาก แต่ยังไม่สามารถผลิตได้เพียงพอกับความต้องการ จึงส่งสัญญาณผ่านทางกระทรวงพลังงานของไทยไปถึงนักลงทุนไทยที่สนใจจะมาลงทุนโรงไฟฟ้าให้ที่ซาอุฯ ด้วย

"การไปเยือนและเจรจาครั้งนี้ ถือเป็นการเปิดประตูครั้งสำคัญของสองฝ่าย หลังจากที่ทาง ซาอุฯ เอง ก็รอไทยมาตั้งแต่ปี 2565 ซึ่งเกือบสองปีเต็มนั้นยังไม่มีอะไร แต่วันนี้ความคืบหน้าของ 'ไทย-ซาอุฯ' เกิดขึ้นแล้ว และแสดงให้เห็นถึงความจริงใจของทั้งสองฝ่าย ซึ่งผมก็จะเร่งผลักดันให้เกิดเป็นรูปธรรมต่อไป นี่คือสัญญาณที่ดีมากๆ เพราะทุกการเจรจา ทุกความร่วมมือที่กล่าวถึง ทาง ซาอุฯ ไม่ได้มาเพียงเพื่อพูดคุยเล่นๆ แต่เขาเอาจริง" นายพีระพันธุ์กล่าวทิ้งท้าย

'อ.พงษ์ภาณุ' มอง!! รัฐคลอด Digital Wallet ในจังหวะ ศก.ตกต่ำ ถูกช่วง!! ห่วง!! อาจเกิดภาระการคลังเพิ่มเติม แต่ก็ต้องยอมในยามแบงก์ชาตินิ่งเฉย

(28 ก.ค. 67) ทีมข่าว THE STATES TIMES ได้พูดคุยกับ อ.พงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ อดีตปลัดกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา อดีตรองปลัดกระทรวงการคลัง และผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์ระดับประเทศ ในมุมมองของ 'ความชัดเจนจากภาครัฐในโครงการ Digital Wallet' โดย อ.พงษ์ภาณุ กล่าวว่า...

ในที่สุดข่าวดีที่คนไทยรอคอยก็มาถึง ขณะนี้มาตรการ Digital Wallet มีความชัดเจนมากที่สุด ทั้งในเรื่องของหลักเกณฑ์ ขนาดวงเงิน คุณสมบัติของผู้ได้รับสิทธิและร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการ กำหนดการลงทะเบียน ตลอดจนแหล่งที่มาของเงินที่จะใช้ในโครงการ

แม้ว่าเม็ดเงินจริงจะยังไม่ออกมาจนกระทั่งเดือนธันวาคม แต่ผลจากการประกาศความชัดเจนก็ได้ก่อเกิด Announcement Effect ขึ้นมาแล้ว ประชาชนผู้บริโภคเริ่มมีความคาดหวังจากกำลังซื้อที่จะมีมากขึ้น ผู้ผลิต/ผู้ประกอบการเริ่มเตรียมแผนเพิ่มกำลังการผลิตและแผนโปรโมชันต่าง ๆ นักลงทุนเริ่มมีความมั่นใจในภาวะเศรษฐกิจ/การลงทุนที่กำลังจะฟื้นตัวขึ้น แม้ว่าหน่วยงานสำคัญอย่างธนาคารแห่งประเทศไทยจะทำตัวเป็นทองไม่รู้ร้อน แถมยังออกมาแย้งและค้านอยู่เนือง ๆ เข้าทำนองมือไม่พายเอาเท้าราน้ำ

ในแง่จังหวะเวลา (Timing) Digital Wallet ออกมาในช่วงที่เศรษฐกิจไทยตกต่ำที่สุด แม้ว่าจะมีสัญญาณดีจากการท่องเที่ยวและการส่งออกที่เริ่มขยายตัวจากเศรษฐกิจโลกที่ยังดีอยู่ แต่อุปสงค์ในประเทศกลับหดตัวจากนโยบายการเงินที่ไม่มีทีท่าว่าจะผ่อนคลายแต่อย่างใด

ในแง่เป้าหมาย (Target) Digital Wallet มุ่งส่งเสริมการบริโภคและการผลิตสินค้าภายในประเทศอย่างชัดเจน มีการกำหนดเงื่อนไขการใช้จ่ายเงิน และมีการควบคุมด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลและ Blockchain ซึ่งป้องกันการรั่วไหล (Leakage) ออกจากการหมุนเวียนในประเทศ ซึ่งจะทำให้การใช้จ่ายของภาครัฐครั้งนี้มีพลังทวีคูณ (Multiplier) มากกว่าการใช้จ่ายทั่วไปของรัฐ

ในแง่ความโปร่งใส (Transparency) ต้องถือว่าการใช้จ่ายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งนี้ถูกควบคุมด้วยเทคโนโลยี Blockchain ข้อมูล/สถิติการใช้จ่ายเงินแผ่นดินสามารถติดตามตรวจสอบได้แบบ realtime และ online ไม่เพียงแต่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน แต่ประชาชนทั่วไปสามารถตรวจสอบการใช้จ่ายของรัฐบาลได้ว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์หรือไม่

สุดท้าย ความห่วงใยเกี่ยวกับความคุ้มค่าและภาระทางการคลัง ก็ไม่น่าจะเป็นประเด็นอีกต่อไป ต้องยอมรับว่า การใช้จ่ายที่มี Impact ตรงต่อการผลิต/การจ้างงานสูงสุดคือ การลงทุนภาครัฐ แต่เมื่อคำนึงถึงความเร่งด่วนแล้ว คงไม่มีอะไรที่ทำได้เร็วกว่าการแจกเงินตรงถึงประชาชน แล้วให้ประชาชนเป็นผู้ใช้จ่ายเองตามเงื่อนไขที่รัฐกำหนด นอกจากนี้ Application ที่สร้างขึ้นมาเพื่อโครงการนี้ ก็น่าจะถือเป็นนวัตกรรม ซึ่งสามารถนำไปใช้กับโครงการอื่นๆของรัฐในอนาคตอย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย

ในด้านภาระการคลัง ก็ต้องยอมรับว่ามาตรการนี้ก่อเกิดภาระการคลังเพิ่มเติมอยู่บ้าง รัฐบาลเองก็ยอมรับว่าหนี้สาธารณะจะกระเถิบสูงขึ้นบ้าง จาก 62% ของ GDP ในปัจจุบัน เป็นใกล้ ๆ 70% เมื่อจบโครงการ แต่ก็เป็นภาระที่คนไทยต้องยอมรับ ในภาวะที่ธนาคารกลางและนโยบายการเงินไม่ทำหน้าที่ของตนเองที่ควรจะทำ

Saudi Aramco บริษัทพลังงาน (มหาชน) อันดับหนึ่งของโลก วิสาหกิจของซาอุฯ ที่ ‘พีระพันธุ์’ นำคณะไปสานความสัมพันธ์

เมื่อวันที่ 15-17 กรกฎาคมที่ผ่านมา ‘รองพีร์ พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค’ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน หัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ ได้นำคณะข้าราชการและผู้เกี่ยวข้องกับกิจการพลังงานของไทยไปเยือนราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย เพื่อ...

(1) กระชับความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศ 

(2) หารือในประเด็นความร่วมมือต่างๆ ที่สำคัญ ตามที่มีความตกลงร่วมมือกันระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยโดยกระทรวงพลังและรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2565 โดยเฉพาะเรื่องของการลงทุนด้านพลังงานเพื่ออนาคตคือ ก๊าซไฮโดรเจน ซึ่งปัจจุบันได้ริเริ่มความร่วมมือผ่านการลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการพัฒนาโครงการไฮโดรเจนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Hydrogen) ในไทย รวมทั้งโครงการ Downstream partnership ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง ปตท. และ Saudi Aramco บริษัทด้านพลังงานที่ใหญ่ที่สุดในโลกของซาอุดีอาระเบีย ที่ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ เพื่อสํารวจศักยภาพความร่วมมือด้านพลังงานและการลดคาร์บอน ซึ่งจะช่วยยกระดับภาคอุตสาหกรรมและปิโตรเคมีร่วมกันในภูมิภาค

นอกจากนั้นแล้ว ‘รองพีร์’ ยังได้หารือกับซาอุดีอาระเบียในเรื่องของราคาน้ำมัน โดยหลังจากระบบการสำรองเชื้อเพลิงปิโตรเลียมทางยุทธศาสตร์ (SPR) ของไทยเกิดขึ้นแล้ว รัฐบาลโดยกระทรวงพลังงานจะสามารถจัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงราคามิตรภาพจากซาอุดีอาระเบีย เพื่อเก็บสำรองไว้ในคลัง SPR เพียงพอต่อการบริโภคในประเทศ 50-90 วันต่อไป 

ทั้งนี้ ฝ่ายซาอุดีอาระเบีย ซึ่งนำโดยเจ้าชาย Abdulaziz bin Salman Al Saud รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้ให้การต้อนรับคณะของ ‘รองพีร์’ เป็นอย่างดียิ่ง พร้อมทั้งจัดเครื่องบินพิเศษให้ ‘รองพีร์’ และคณะได้ไปเยี่ยมชมการทำงานของ ‘Saudi Aramco’ บริษัทพลังงาน (มหาชน) อันดับหนึ่งของโลก ณ สำนักงานใหญ่ของบริษัทฯ เมือง Dhahran จังหวัดตะวันออก (Eastern Province) ซึ่งรัฐบาลซาอุดีอาระเบียเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ (90.19%) กองทุนการลงทุนมหาชน (Public Investment Fund) 4% และ Sanabil 4% 

Saudi Aramco มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า Saudi Arabian Oil Group หรือเรียกสั้นๆ ว่า Aramco (ชื่อเดิมคือ Arabian-American Oil Company) เป็น บริษัทปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติ ที่รัฐบาลซาอุดีอาระเบียเป็นเจ้าของ ถือเป็นบริษัทน้ำมันแห่งชาติของซาอุดีอาระเบีย ในปี 2022 Saudi Aramco เป็นบริษัทที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลกเมื่อวัดจากรายได้ โดย Saudi Aramco ถือครองน้ำมันดิบสำรองมากเป็นอันดับสองของโลก มีปริมาณมากกว่า 270 พันล้านบาร์เรล (43 พันล้านลูกบาศก์เมตร) และเป็นผู้ผลิตน้ำมันรายวันที่ใหญ่ที่สุดในบรรดาบริษัทผู้ผลิตน้ำมันทั้งโลก 

นอกจากนี้ Saudi Aramco ยังมีการดำเนินธุรกิจมากมายทั่วโลก ธุรกิจของบริษัทประกอบด้วย การสำรวจ การผลิต การกลั่น ปิโตรเคมีภัณฑ์ การจัดจำหน่าย และการตลาด ที่เกี่ยวข้องกับเชื้อเพลิงพลังงาน โดยกิจกรรมทั้งหมดของบริษัทจะถูกกำกับดูแลและตรวจสอบโดยกระทรวงพลังงานของซาอุดีอาระเบียร่วมกับสภาสูงสุดด้านปิโตรเลียมและเหมืองแร่ อย่างไรก็ตาม กระทรวงพลังงานของซาอุดีอาระเบีย ก็มีบทบาท อำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบใน Saudi Aramco มากกว่าสภาฯ 

Saudi Aramco มีมูลค่าบริษัทกว่า 7.6 ล้านล้านริยาล (หรือประมาณ 73 ล้านล้านบาท) และติดอันดับ 4 บริษัทที่มีมูลค่าสูงที่สุดในโลก เป็นรองเพียงบริษัทอเมริกันอย่าง Microsoft, Apple และ Nvidia ตามข้อมูลเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2024 เป็นหนึ่งในบริษัทพลังงานและเคมีภัณฑ์ครบวงจรรายใหญ่ที่สุดในโลกที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 90 ปี โดยเริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 1933 ที่ซาอุดีอาระเบียเซ็นสัญญาให้สัมปทานบ่อน้ำมันกับบริษัทน้ำมันสหรัฐฯ Standard Oil Company of California (SOCAL) หรือ Chevron ในปัจจุบัน 

ด้วยต้นทุนการผลิตน้ำมัน 1 บาร์เรลของ Saudi Aramco นั้นอยู่ที่ประมาณ 5-6 USD ต่อบาร์เรล ซึ่งต่ำกว่าต้นทุนการผลิตในสหรัฐฯ ถึง 10 เท่า ในฐานะบริษัทผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ที่สุดในโลกที่ส่งออกน้ำมันปริมาณมหาศาล จึงแตกต่างไปจากบริษัทน้ำมันส่วนใหญ่ โดยไม่จำเป็นต้องยึดราคาจำหน่ายที่อิงตามราคาน้ำมันในตลาดโลก สามารถคุมราคาน้ำมันในตลาดโลกได้ด้วยการเพิ่มหรือลดอุปทานอย่างรวดเร็ว และส่งผลกระทบต่อราคาน้ำมันในตลาดโลกอย่างรวดเร็วเช่นกัน ในปี 2023 Saudi Aramco ได้รับการจัดอันดับจาก Forbes ว่าเป็นบริษัทที่สามารถทำกำไรได้มากที่สุดในโลก

ในปี 2022 ยอดเงินในการลงทุน Saudi Aramco อยู่ที่ 3.7 หมื่นล้านดอลลาร์ (หรือประมาณ 1.3 ล้านล้านบาท) เพิ่มขึ้น 18% จากปี 2021 โดยประมาณการลงทุนของบริษัทฯ ในปี 2023 อยู่ที่ราว 4.5-5.5 หมื่นล้านดอลลาร์ (หรือประมาณ 1.6-1.9 ล้านล้านบาท) รวมการลงทุนนอกประเทศแล้ว 

ด้วยความแข็งแกร่งและมั่งคั่ง รวมทั้ง Saudi Aramco เอง ก็มีความสนใจในการลงทุนนอกประเทศอยู่แล้ว โดยเฉพาะภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กอปรกับมีการรื้อฟื้นความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยกับซาอุดีอาระเบียจนกลับมาสู่สภาวะปกติ จึงทำให้ ‘รองพีร์ พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค’ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้ใช้ความพยายามโน้มน้าวและชักจูงอย่างเต็มที่เพื่อให้ Saudi Aramco ได้เพิ่มการลงทุนในบ้านเรา โดยเฉพาะการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมในด้านพลังงานใหม่ 

โดยการหารือพูดคุยระหว่าง ‘รองพีร์’ กับเจ้าชาย Abdulaziz bin Salman Al Saud รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานของซาอุดีอาระเบียในครั้งนี้ ถือว่าเป็นไปได้ด้วยดี ได้รับการสนองตอบด้วยท่าที และมิตรภาพอันดียิ่ง 

ดังนั้นการเยือนซาอุฯ ของ 'รองพีร์' ในครั้งนี้ จึงนับเป็นโอกาสที่ดีมากของไทย ทั้งในด้านความร่วมมือระหว่างกัน และด้านการลงทุนในไทยจากนักลงทุนจากซาอุดีอาระเบีย ซึ่งนับว่าเป็นข่าวที่ดีมากๆ สำหรับเศรษฐกิจโดยรวมของไทยในอนาคต

‘Bitkub Chain’ โชว์ยอดธุรกรรมปี 67 แตะ 4 พันล้าน ยึดอันดับ 4 ของโลก ภายใต้ศักยภาพรองรับธุรกรรมเร็วถึง 5,000 ธุรกรรมต่อวินาที

เมื่อวานนี้ (26 ก.ค.67) บริษัท บิทคับ บล็อคเชน เทคโนโลยี จำกัด เผยความสำเร็จของ Bitkub Chain และแสดงสมรรถนะทางเทคโนโลยีใหม่ล่าสุด ในงาน Bitkub Chain Developer Meetup (BKCDM) ครั้งที่ 4 ที่รวมพลนักพัฒนาบล็อกเชนและเจ้าของโปรเจกต์ในระบบนิเวศบล็อกเชน เพื่ออัปเดตข้อมูลใหม่ในวงการบล็อกเชนให้เตรียมพร้อมนำฟังก์ชันใหม่ไปใช้งานต่อยอดกับโปรเจกต์ของตนต่อไป

ซึ่งมีนักพัฒนาและบริษัทผู้นำด้านเทคโนโลยีระดับโลก อาทิ ZetaChain บริษัทผู้นำด้านเทคโนโลยีบล็อกเชนรูปแบบ Omnichain ระดับโลก, บริษัท โทเคน เอกซ์ จำกัด และบริษัท Sowaka Pte. Ltd. เข้าร่วมงาน

โดยงาน BKCDM ครั้งที่ 4 นี้ ได้ประกาศความเคลื่อนไหวครั้งสำคัญของ Bitkub Chain ผ่าน 3 หัวข้อหลัก ดังนี้…

>> Future Trend for Developer & The Rise of Bitkub Chain

นายภาสกร ปานนอก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บิทคับ บล็อคเชน เทคโนโลยี จำกัด ได้นำเสนอความสำเร็จของ Bitkub Chain และเทรนด์ของเทคโนโลยีบล็อกเชนในปี 2567 โดยระบุว่าปัจจุบัน Bitkub Chain มีจำนวนธุรกรรมกว่า 4 พันล้านธุรกรรม ซึ่งมากที่สุดเป็นอันดับ 4 ในเครือข่ายบล็อกเชนชั้นนำทั่วโลก และได้ยกระดับความสามารถในการรองรับธุรกรรมสู่ขีดจำกัดใหม่ สูงถึง 5,000 ธุรกรรมต่อวินาที หรือ 25,000 ธุรกรรมต่อบล็อก

ทั้งนี้ตั้งเป้าพัฒนา Bitkub Chain สู่ 100,000 ธุรกรรมต่อบล็อกในเร็ว ๆ นี้ ซึ่งจะทำให้ Bitkub Chain สามารถรองรับการใช้งานจำนวนมากพร้อมกันได้อย่างสมบูรณ์ พร้อมเปิดตัว KUB Improvement Prosposal (KIP) เอกสารให้ข้อมูลหรืออธิบายรายละเอียดฟีเจอร์ใหม่ของ Bitkub Chain สำหรับคอมมิวนิตี และเปิดโอกาสให้คอมมิวนิตี เข้ามามีส่วนร่วมในการโหวตทิศทางของเครือข่ายโดยใช้เหรียญ gKUB อีกด้วย

ซึ่งสอดรับกับแนวโน้มการใช้งานบล็อกเชนในตอนนี้ที่ภาคธุรกิจหลายส่วนเริ่มนำบล็อกเชนเข้ามาประยุกต์ใช้งานเพื่อแก้ Pain point ต่าง ๆ มากขึ้น และเชื่อว่าจะแพร่หลายมากยิ่งขึ้นในอนาคต พร้อมกับเทคโนโลยี AI ที่ยิ่งสนับสนุนต่อการใช้งานเทคโนโลยีบล็อกเชนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น จึงนับเป็นโอกาสสำคัญของ Bitkub Chain ในการร่วมมือกับภาคธุรกิจเพื่อสร้าง Use Case และต่อยอดการใช้งานจริงต่อไป

>> The NEXT Generation of Blockchain Developer

การเสวนาจากเหล่านักพัฒนาบล็อกเชนชั้นนำ โดยมี Leow Liu, Partnership Lead จาก ZetaChain บริษัทผู้นำด้านเทคโนโลยีบล็อกเชนรูปแบบ Omnichain ระดับโลก, นายพนิต เวชศิลป์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี บริษัท โทเคน เอกซ์ จำกัด, Wataru Matsuda ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท Sowaka Pte. Ltd. และนายสำเร็จ วจนะเสถียร ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี บริษัท บิทคับ บล็อคเชน เทคโนโลยี จำกัด เข้าร่วม

โดยมีการแลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์เกี่ยวกับภาพรวมอุตสาหกรรมของเทคโนโลยีบล็อกเชน และเชื่อว่าบล็อกเชนมีการเปลี่ยนผ่านตามกาลเวลา โดยมีการใช้งานอย่างแพร่หลายเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงยังเชื่อว่าจะมีการยอมรับจากภาครัฐในอนาคต

ปิดท้ายด้วยการกล่าวถึง ความท้าทายของนักพัฒนาโปรเจกต์ที่ต้องพบในปัจจุบัน การทำงานร่วมกันระหว่าง AI และเทคโนโลยีบล็อกเชนที่จะสร้างนวัตกรรมและโซลูชันใหม่ ๆ รวมไปถึงการเตรียมตัวรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต

>> Bitkub Chain Beyond Limit

นายสำเร็จ วจนะเสถียร ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี บริษัท บิทคับ บล็อคเชน เทคโนโลยี จำกัด ที่เผยถึงฟีเจอร์สำคัญสำหรับนักพัฒนา ไม่ว่าจะเป็น NEXT SDK ซึ่งมีคุณสมบัติใหม่หลายประการ อาทิเช่น Server to Blockchain ที่จะเชื่อมต่อข้อมูลเซิฟเวอร์ของคุณกับบล็อกเชนแบบอัตโนมัติ, BKC Compatible ที่จะช่วยให้นักพัฒนาสามารถเชื่อมต่อกับกระเป๋า Bitkub NEXT ได้อย่างง่ายดาย สะดวก และปลอดภัย นอกจากนี้ ยังเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมงานร่วมทดสอบความสามารถในการรองรับธุรกรรมที่รวดเร็ว ถึง 5,000 ธุรกรรมต่อวินาที และ 25,000 ธุรกรรมต่อบล็อก ผ่านโปรแกรมการส่งธุรกรรมแบบจำลอง ก่อนปิดท้ายด้วย การเผยถึง Khaosan Network ซึ่งเป็นเครือข่ายบล็อกเชนแบบ Testnet ตัวใหม่ที่จะเปิดตัวและพร้อมใช้ในวันที่ 9 กันยายน 2567 นี้

นายภาสกร ปานนอก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บิทคับ บล็อคเชน เทคโนโลยี จำกัด กล่าวว่า Bitkub Chain จะผลักดันการใช้งานจริงในวงกว้างต่อไป โดยร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ทางธุรกิจในทุกภาคส่วน เพื่อต่อยอดความสำเร็จให้ Bitkub Chain มีระบบนิเวศที่แข็งแกร่งและเป็นรากฐานของนวัตกรรมที่ยั่งยืน ซึ่งความมุ่งมั่นของเรา ไม่เพียงแค่ขับเคลื่อนอนาคตของบล็อกเชน แต่จะทำให้บล็อกเชนเข้ามาช่วยเสริมสมรรถนะให้ทุกภาคส่วนในระบบเศรษฐกิจดิจิทัลได้อย่างยั่งยืน

นายสำเร็จ วจนะเสถียร ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี บริษัท บิทคับ บล็อคเชน เทคโนโลยี จำกัด กล่าวเสริมว่า “ความสามารถในการรองรับธุรกรรมได้ถึง 5,000 ธุรกรรมต่อวินาที และ 25,000 ธุรกรรมต่อบล็อก เรียกได้ว่าเป็นก้าวใหม่ครั้งสำคัญสำหรับ Bitkub Chain ที่ยกระดับมาตรฐานใหม่ในเรื่องความเร็วและความสามารถในการรองรับธุรกรรมของเทคโนโลยีบล็อกเชน ความมุ่งมั่นของเราในด้านนวัตกรรมทำให้มั่นใจได้ว่าบล็อกเชนโซลูชันของเราจะไม่เพียงแค่รวดเร็ว แต่ยังมีความปลอดภัยและเชื่อถือได้ เปิดทางสู่ยุคใหม่ให้กับผู้พัฒนาโปรเจกต์ในอนาคต”

‘เศรษฐา’ โพสต์ข้อความผ่าน X เผย ‘นโยบายฟรีวีซ่า’ ทำท่องเที่ยวฟื้นตัว ชี้!! ยอดนักท่องเที่ยว ‘อินเดีย-ไต้หวัน’ พุ่งสูง คาดสิ้นปีนี้ มีทะลุ 2 ล้านคน

(27 ก.ค.67) นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี โพสต์ข้อความผ่าน X ว่า … 

ปีนี้นักท่องเที่ยวไต้หวัน และอินเดียเดินทางเข้ามาในประเทศไทยทำสถิติสูงสุดเมื่อเทียบจากจำนวนนักท่องเที่ยวหลังโควิด และมีแนวโน้มจะสูงกว่าปี 2019 ด้วย ซึ่งที่ผ่านมาเรามีมาตรการยกเว้นวีซ่าให้นักท่องเที่ยวชาวอินเดียและไต้หวัน โดยการขยายระยะเวลาพำนักเป็น 60 วัน (เริ่มไปตั้งแต่ช่วงปลายปี 2023 และขยายโครงการไปจนถึงวันที่ 11 พ.ย. 67) ความร่วมมือจากทุกภาคส่วนกำลังทำให้การท่องเที่ยวฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง เพียงครึ่งปี 2024 เราดึงนักท่องเที่ยวจากตลาดใหญ่อย่างอินเดียได้เพิ่มขึ้นมากกว่า 30% แล้ว และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นถึง 2 ล้านคนภายในสิ้นปีนี้

นายเศรษฐา ยังได้ระบุอีกว่า เรายังเดินหน้าขยายเวลาการพำนัก 60 วัน ให้อีก 93 ประเทศ เพื่อเพิ่มนักท่องเที่ยวที่มีกำลังใช้จ่ายต่อหัวสูงด้วย ขณะที่ทาง ททท. ก็เตรียมกิจกรรมดึงดูดนักท่องเที่ยวจากแต่ละประเทศตลอดทุกเดือนด้วย ขอให้ภาคธุรกิจท่องเที่ยวเตรียมตัวให้พร้อม วันนี้ประตูบานใหญ่ของประเทศไทยเปิดแล้ว

‘พีระพันธุ์’ ลั่น!! ตนทำงานแบบไม่เคยเกรงใจใคร

ย้อนไปเมื่อวันที่ 3 ม.ค. 67 ในการอภิปรายร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 ที่รัฐสภา นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พลังงาน ต้องลุกขึ้นมาแจงข้อเท็จจริง หลังถูกพรรคฝ่ายค้านโดยนายศุภโชติ ไชยสัจ สส.บัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล อภิปรายพาดพิงงบประมาณ ปี 2567 ด้วยข้อมูลที่ไม่ตรงข้อเท็จจริง

โดย สส.ก้าวไกล รายนี้ พาดพิงเรื่องที่รัฐบาลลดค่าไฟฟ้าให้ประชาชนว่า ทำให้เกิดเป็นปัญหาการเงินให้แก่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จนประสบปัญหาทางการเงิน

อย่างไรก็ตาม ตัวเลขที่ สส.ก้าวไกล ยกมาตั้งข้อสงสัยรัฐบาลในวันนั้น ก็ถูกตอกกลับด้วยข้อมูลจริงจากทาง รมว.พลังงาน เนื่องจาก สส.ก้าวไกล คนดังกล่าว เลือกเอาข้อมูลที่เป็นเพียง 'ข้อมูลคาดการณ์' ซึ่งทำไว้ล่วงหน้าก่อนของจริงตั้งแต่ตุลาคม 2566 มาพูด โดยมิได้นำ 'ข้อมูลจริง' ที่ 'เกิดขึ้นจริง' ณ เวลาดังกล่าว มานำเสนอกับประชาชนและสภาอันทรงเกียรติแห่งนี้

โดยเรื่องนี้ หากใครฟังแล้ว ก็จะรู้สึกตกใจว่ารัฐบาลไปยัดปัญหาให้ กฟผ. เพิ่มทำไม? และประชาชนทางบ้าน รวมถึงสื่อมวลชนที่ไม่รู้ข้อเท็จจริง ก็จะยิ่งตกใจตามไปด้วย ขณะที่ นายพีระพันธุ์ เองก็ยอมรับว่า ตกใจ แต่ไม่ใช่การตกใจในข้อมูลและตัวเลขที่ สส.ก้าวไกลคนดังกล่าวพูด แต่เป็นความตกใจที่ ทำไมกล้านำ 'ข้อมูลคาดการณ์' ไม่นำข้อมูลจริง ๆ มาพูดต่อหน้าสาธารณชน

‘พีระพันธุ์’ โต้ ‘สส.ก้าวไกล’ ปมกระแสเงินสด ‘กฟผ.’ ลดลงจนติดลบ เป็นไปไม่ได้

ย้อนไปเมื่อวันที่ 3 ม.ค. 67 ในการอภิปรายร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 ที่รัฐสภา นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พลังงาน ต้องลุกขึ้นมาแจงข้อเท็จจริง หลังถูกพรรคฝ่ายค้านโดยนายศุภโชติ ไชยสัจ สส.บัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล อภิปรายพาดพิงงบประมาณ ปี 2567 ด้วยข้อมูลที่ไม่ตรงข้อเท็จจริง

โดย สส.ก้าวไกล รายนี้ พาดพิงเรื่องที่รัฐบาลลดค่าไฟฟ้าให้ประชาชนว่า ทำให้เกิดเป็นปัญหาการเงินให้แก่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จนประสบปัญหาทางการเงิน

อย่างไรก็ตาม ตัวเลขที่ สส.ก้าวไกล ยกมาตั้งข้อสงสัยรัฐบาลในวันนั้น ก็ถูกตอกกลับด้วยข้อมูลจริงจากทาง รมว.พลังงาน เนื่องจาก สส.ก้าวไกล คนดังกล่าว เลือกเอาข้อมูลที่เป็นเพียง 'ข้อมูลคาดการณ์' ซึ่งทำไว้ล่วงหน้าก่อนของจริงตั้งแต่ตุลาคม 2566 มาพูด โดยมิได้นำ 'ข้อมูลจริง' ที่ 'เกิดขึ้นจริง' ณ เวลาดังกล่าว มานำเสนอกับประชาชนและสภาอันทรงเกียรติแห่งนี้

โดยเรื่องนี้ หากใครฟังแล้ว ก็จะรู้สึกตกใจว่ารัฐบาลไปยัดปัญหาให้ กฟผ. เพิ่มทำไม? และประชาชนทางบ้าน รวมถึงสื่อมวลชนที่ไม่รู้ข้อเท็จจริง ก็จะยิ่งตกใจตามไปด้วย ขณะที่ นายพีระพันธุ์ เองก็ยอมรับว่า ตกใจ แต่ไม่ใช่การตกใจในข้อมูลและตัวเลขที่ สส.ก้าวไกลคนดังกล่าวพูด แต่เป็นความตกใจที่ ทำไมกล้านำ 'ข้อมูลคาดการณ์' ไม่นำข้อมูลจริง ๆ มาพูดต่อหน้าสาธารณชน

‘พีระพันธุ์’ โต้กลางสภาฯ หลัง ‘สส.ก้าวไกล’ ยกตัวเลขการเงิน ‘กฟผ.’ มาตั้งข้อสงสัย

ย้อนไปเมื่อวันที่ 3 ม.ค. 67 ในการอภิปรายร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 ที่รัฐสภา นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พลังงาน ต้องลุกขึ้นมาแจงข้อเท็จจริง หลังถูกพรรคฝ่ายค้านโดยนายศุภโชติ ไชยสัจ สส.บัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล อภิปรายพาดพิงงบประมาณ ปี 2567 ด้วยข้อมูลที่ไม่ตรงข้อเท็จจริง

โดย สส.ก้าวไกล รายนี้ พาดพิงเรื่องที่รัฐบาลลดค่าไฟฟ้าให้ประชาชนว่า ทำให้เกิดเป็นปัญหาการเงินให้แก่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จนประสบปัญหาทางการเงิน

อย่างไรก็ตาม ตัวเลขที่ สส.ก้าวไกล ยกมาตั้งข้อสงสัยรัฐบาลในวันนั้น ก็ถูกตอกกลับด้วยข้อมูลจริงจากทาง รมว.พลังงาน เนื่องจาก สส.ก้าวไกล คนดังกล่าว เลือกเอาข้อมูลที่เป็นเพียง 'ข้อมูลคาดการณ์' ซึ่งทำไว้ล่วงหน้าก่อนของจริงตั้งแต่ตุลาคม 2566 มาพูด โดยมิได้นำ 'ข้อมูลจริง' ที่ 'เกิดขึ้นจริง' ณ เวลาดังกล่าว มานำเสนอกับประชาชนและสภาอันทรงเกียรติแห่งนี้

โดยเรื่องนี้ หากใครฟังแล้ว ก็จะรู้สึกตกใจว่ารัฐบาลไปยัดปัญหาให้ กฟผ. เพิ่มทำไม? และประชาชนทางบ้าน รวมถึงสื่อมวลชนที่ไม่รู้ข้อเท็จจริง ก็จะยิ่งตกใจตามไปด้วย ขณะที่ นายพีระพันธุ์ เองก็ยอมรับว่า ตกใจ แต่ไม่ใช่การตกใจในข้อมูลและตัวเลขที่ สส.ก้าวไกลคนดังกล่าวพูด แต่เป็นความตกใจที่ ทำไมกล้านำ 'ข้อมูลคาดการณ์' ไม่นำข้อมูลจริง ๆ มาพูดต่อหน้าสาธารณชน

‘พีระพันธุ์’ ยัน!! ‘กฟผ.’ ชำระหนี้ ‘ปตท.’ หมดสิ้นแล้ว

ย้อนไปเมื่อวันที่ 3 ม.ค. 67 ในการอภิปรายร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 ที่รัฐสภา นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พลังงาน ต้องลุกขึ้นมาแจงข้อเท็จจริง หลังถูกพรรคฝ่ายค้านโดยนายศุภโชติ ไชยสัจ สส.บัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล อภิปรายพาดพิงงบประมาณ ปี 2567 ด้วยข้อมูลที่ไม่ตรงข้อเท็จจริง

โดย สส.ก้าวไกล รายนี้ พาดพิงเรื่องที่รัฐบาลลดค่าไฟฟ้าให้ประชาชนว่า ทำให้เกิดเป็นปัญหาการเงินให้แก่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จนประสบปัญหาทางการเงิน

อย่างไรก็ตาม ตัวเลขที่ สส.ก้าวไกล ยกมาตั้งข้อสงสัยรัฐบาลในวันนั้น ก็ถูกตอกกลับด้วยข้อมูลจริงจากทาง รมว.พลังงาน เนื่องจาก สส.ก้าวไกล คนดังกล่าว เลือกเอาข้อมูลที่เป็นเพียง 'ข้อมูลคาดการณ์' ซึ่งทำไว้ล่วงหน้าก่อนของจริงตั้งแต่ตุลาคม 2566 มาพูด โดยมิได้นำ 'ข้อมูลจริง' ที่ 'เกิดขึ้นจริง' ณ เวลาดังกล่าว มานำเสนอกับประชาชนและสภาอันทรงเกียรติแห่งนี้

โดยเรื่องนี้ หากใครฟังแล้ว ก็จะรู้สึกตกใจว่ารัฐบาลไปยัดปัญหาให้ กฟผ. เพิ่มทำไม? และประชาชนทางบ้าน รวมถึงสื่อมวลชนที่ไม่รู้ข้อเท็จจริง ก็จะยิ่งตกใจตามไปด้วย ขณะที่ นายพีระพันธุ์ เองก็ยอมรับว่า ตกใจ แต่ไม่ใช่การตกใจในข้อมูลและตัวเลขที่ สส.ก้าวไกลคนดังกล่าวพูด แต่เป็นความตกใจที่ ทำไมกล้านำ 'ข้อมูลคาดการณ์' ไม่นำข้อมูลจริง ๆ มาพูดต่อหน้าสาธารณชน


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top