Tuesday, 22 April 2025
ElectionTime

เปิดตัวเลข 'การเลือกตั้งประเทศไทย' ตลอด 90 ปี ที่ผ่านมา

ยุบ? ไม่ยุบ? ยุบ? ไม่ยุบ? นาทีนี้ เกจิแวดวงการเมืองไทย หลายคนคงกำลังวิเคราะห์ห้วงเวลาการ 'ยุบสภา' หลังราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศ กฎหมายลูก 2 ฉบับ ทั้ง 'พ.ร.ป.เลือกตั้ง - พ.ร.ป.พรรคการเมือง' เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2566 ที่ผ่านมา ประหนึ่งเป็นสัญญาณ 'ลั่นระฆัง' ว่า การเลือกตั้งทั่วไป 2566 กำลังจะเริ่มต้นขึ้นในเร็ววันนี้

ไม่ว่ารัฐบาล โดยการนำของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จะประกาศยุบสภาก่อนสภาผู้แทนหมดวาระ หรือการทำงานของรัฐบาลจะดำเนินไปจนถึงวาระหมดอายุของสภาในวันที่ 23 มีนาคม 2566 ทั้งหมดทั้งมวล ปักธงได้เลยว่า เลือกตั้งใหญ่มาแน่ราวเดือนพฤษภาคม 2566 นี้!

'อนุทิน ชาญวีรกูล' รมต.สาธารณะสุข 'หมอหนู' ผู้ฝ่าทุกดราม่า โควิด!

พูดถึง '8 ปีรัฐบาลลุงตู่' ส่วนหนึ่งต้องยกเครดิตให้กับ 'เหล่ารัฐมนตรี' ซึ่งหลาย ๆ คนสร้างผลงานโดดเด่นเป็นที่ประจักษ์ พูดให้เข้ายุคเข้าสมัย ต้องเรียกว่า มีหลายคนที่เป็น 'รมต.ตัวตึง' ตึงทั้งผลงาน ตึงทั้งชื่อเสียง แถมยังตึงทั้งเรื่องข่าวคราว 

ว่าแล้วจึงหยิบเอาเรื่องราว 'เหล่า รมต.ตัวตึง' 8 ปีที่ผ่านมารัฐบาลลุงตู่ มีรัฐมนตรีคนไหนผลงานตึง ๆ ปัง ๆ กันบ้าง เริ่มต้นที่ 'อนุทิน ชาญวีรกูล' รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข หรือ 'หมอหนู' ขวัญใจมหาชน นี่เอง 

ย้อนเวลากลับไปราวสามปีก่อน 13 มกราคม 2563 กระทรวงสาธารณสุขยืนยันพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายแรกในไทย เป็นนักท่องเที่ยวหญิงจีน อายุ 61 ปี และนับจากนั้น ถือเป็นการเริ่มต้นนับหนึ่ง 'มหากาพย์โควิด-19' 

แน่นอนว่า ด่านหน้าที่ต้องเสี่ยง ทำงานหนักในการรับมือและยับยั้งสถานการณ์ระบาด คือ เหล่าบรรดาบุคลากรใน 'กระทรวงหมอ' ภายใต้การนำของ 'อนุทิน ชาญวีรกูล' รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ที่ต้องมีวิธีสื่อสาร ฝ่าฟันอุปสรรคขวากหนามในสถานการณ์ระบาด โควิด-19 ด้วยวาจา ท่าที และแนวทางที่ "ถึงลูกถึงคน" แต่ทั้งหมดนำพาซึ่ง 'ผลงาน' ที่เป็นรูปธรรม จับต้องได้ แม้ว่าจะต้องฝ่าด่านอภิมหากระแสดรามา หลายช่วงหลายตอนทีเดียว

#ดราม่า1 จวกนักท่องเที่ยว ปัดรับหน้ากากอนามัย! 
ในช่วงเริ่มต้นของวิกฤติการระบาด ด้วยระยะฟักตัวของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ใช้เวลาเป็นสัปดาห์ ทำให้เชื้อเดินทางไปได้ไกล ทั้งยังไม่มียา และวัคซีน ดังนั้นมาตรการวัคซีนทางสังคม รักษาระยะห่าง  ล้างมือบ่อย ๆ และการสวมหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อคือวิธีที่พอทำได้  

นี่เอง จึงเป็นที่มาของภาพของ 'หมอหนู' ออกเดินรณรงค์แจกหน้ากากอนามัยบนสถานีรถไฟฟ้าถูกเผยแพร่ตามหน้าสื่อ 

แต่กลับกลายเป็นประเด็นดรามา หลังคำให้สัมภาษณ์ของเจ้าตัว ที่ออกปากตำหนิคนที่ไม่ไส่ - ไม่รับหน้ากากอนามัย ว่าเป็นคนทำร้ายบ้านเมือง รวมถึงต่อว่าถึงนักท่องเที่ยวชาวตะวันตกที่ปัดมือ ไม่ยอมรับหน้ากากอนามัย ว่าไม่มีความรับผิดชอบต่อส่วนรวม สมควรไล่ออกนอกประเทศไป

ไม่ทันข้ามวัน ก็เกิดกระแสดรามา วิจารณ์ถึงท่าทีกราดเกรี้ยวของรัฐมนตรีสาธารณสุข นักวิชาการบางคนโพสต์ข้อความติติงว่า จะไปตำหนิคนไม่ใส่หน้ากากอนามัยเป็นคนทำร้ายบ้านเมืองไม่ได้ และคนที่ไม่ป่วย ก็ไม่จำเป็นต้องสวมหน้ากากอนามัย

แม้ดรามานี้ จะจบลงที่ รมต.อนุทิน โพสต์ความผ่านเฟซบุกส่วนตัว ขออภัยที่มีอาการ 'หลุด' ใส่ชาวต่างชาติแถบยุโรปบางคนที่ไม่ให้ความร่วมมือ และแสดงอาการรังเกียจคนไทยที่สวมหน้ากากอนามัย แต่ก็ยังตอกย้ำแนวทางที่กระทรวงสาธารณสุขไทย กำลังเดินหน้าทำต่อเนื่อง 

"เราสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ดีกว่าหลายๆ ประเทศ เพราะเราตื่นตัวก่อน และทำงานจริงจังตั้งแต่เริ่มต้น" เป็นประโยคยืนยันจากเจ้ากระทรวง 

ไม่นานจากนั้น ทั่วโลก ไม่เว้นแม้แต่ชาติตะวันตก ก็ต้องประกาศใช้มาตรการ 'วัคซีนทางสังคม' โดยเฉพาะมาตรการบังคับ 'สวมหน้ากากอนามัย' เพื่อป้องกันการระบาด ในช่วงที่ยังไม่มีวัคซีนเสริมสร้างภูมิคุ้มกันหมู่นั่นเอง

#ดรามา2 โต้ข้อกล่าวหา วัคซีนล่าช้า - แทงม้าตัวเดียว 
วิกฤติการระบาดของโควิด-19 ที่ขยายวงเร็ว และรุนแรง ทำให้กระบวนการพัฒนาวัคซีน ที่ตามลูปปกติต้องใช้เวลาวิจัย พัฒนา และทดลองใช้ อย่างน้อย 4-6 ปี แต่สถานการณ์ระบาดโควิด- 19 ทำให้กระบวนการต้องถูกเร่งรัด ข้ามบางขั้นตอน หรือนำเทคโนโลยีใหม่เข้ามาใช้ เพื่อให้ทันกรอบเวลาไม่เกินปีครึ่ง แน่นอนว่าผลลัพธ์ของการเร่งกระบวนการพัฒนาวัคซีน ย่อมมาพร้อมกับความเสี่ยงและผลกระทบที่อาจจะตามมาด้วย 

27 พ.ย. 2563 รัฐบาลไทยลงนามสัญญาจัดหาวัคซีนโควิด-19 โดยจองล่วงหน้าระหว่างกระทรวงสาธารณสุขกับแอสตราเซเนกา โดยมี บริษัท สยามไบโอไซแอนซ์ จำกัด รับถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตวัคซีน ตั้งเป้าให้คนไทยมีวัคซีนใช้ ในต้นปี 2564 

แต่ด้วยสถานการณ์ความต้องการวัคซีนที่พุ่งสูง การบริหารจัดการวัคซีนโควิด- 19 ทั่วโลกไม่นิ่ง ทำให้แผนการจัดหาวัคซีนของไทย ต้องปรับเปลี่ยน และยืดหยุ่นไปตามสถานการณ์  

ระหว่างการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ในช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ส.ส.พรรคฝ่ายค้าน ล็อกเป้าถล่มนายกรัฐมนตรี  และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ว่าประเมินสถานการณ์และตัดสินใจผิดพลาด ทำให้การนำเข้าวัคซีนล่าช้า และการเลือกผูกสัญญากับแอสตราเซเนกา แทนการเลือกบริหารความเสี่ยง โดยจัดหาวัคซีนผ่านช่องทางอื่น ๆ นั้น มีนัย ไม่ต่างจากการ 'เลือกแทงม้าตัวเดียว' 

"วันนี้ต้องขออนุญาตใส่แมสก์ 2 ชั้น เพราะอีกสักพักจะมีหนูตายคลุ้งสภา" วิโรจน์ ลักขณาอดิศร ส.ส.พรรคก้าวไกล โหมโรงก่อนเข้าสู่เนื้อหาอภิปรายเผ็ดร้อน

และเมื่อถึงคราวที่ 'หมอหนู' ลุกขึ้นแจงปมต่าง ๆ ในช่วงท้าย ยังวกกลับมา ระบุว่า "กลิ่นหนูตายเน่าพอ ๆ กับกลิ่นปากเหม็นไม่ต่างกัน แต่ผมเชื่อว่าผมยังทำประโยชน์ให้บ้านเมืองและประเทศได้มากกว่า เอาไว้ท่านมีโอกาสเข้ามาก่อน ค่อยมาพิสูจน์กัน"

การอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งนั้น จบลงที่ 10 รัฐมนตรีที่ถูกซักฟอก รอดทุกคน! แต่ผลลัพธ์ และน้ำหนักของคำตอบจาก 'รมต.อนุทิน' ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งนั้น ถูกประทับตราด้วยคะแนนไว้วางใจสูงที่สุดคือ 275 ไม่ไว้วางใจ 201 และงดออกเสียง 6

#คลี่คลายดรามา จัดหาวัคซีนตามเป้า 
หลังผ่านวิกฤติ ความสูญเสีย และภาวะความยากลำบากจากการระบาดของโควิด- 19 ที่กินเวลายาวนานกว่า 2 ปี  สถานการณ์เริ่มกลับคืนสู่ภาวะปกติมากขึ้นเรื่อยๆ ปัจจัยสำคัญคือ การได้รับ 'วัคซีน' ครบโดสจนสามารถสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ได้ 

‘เพื่อไทย’ เปิดตัว ‘อ๋อม สกาวใจ’ ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. เขตสะพานสูง-ประเวศ

(6 ก.พ. 66) ที่พรรคเพื่อไทย นำโดยนายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน หัวหน้าพรรคเพื่อไทย นายประเสริฐ จันทรรวงทอง ส.ส.นครราชสีมา เลขาธิการพรรค และผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย นายภูมิธรรม เวชยชัย รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย นางพวงเพ็ชร ชุนละเอียด ประธานคณะกรรมการประสานงานด้านการเมืองพื้นที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) พรรคเพื่อไทย นายพิชัย นริพทะพันธุ์ กรรมการยุทธศาสตร์ พรรคเพื่อไทย นายวิชาญ มีนชัยนันท์ กลุ่มงานบริหารพื้นที่ กทม. ศูนย์ปฏิบัติการเลือกตั้ง ส.ส. พรรคเพื่อไทย นายวราวุธ ยันต์เจริญ กลุ่มงานบริหารพื้นที่ กทม. ศูนย์ปฏิบัติการเลือกตั้ง ส.ส. พรรคเพื่อไทย นางสาวธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ ส.ส.กทม.และโฆษกพรรคเพื่อไทย รวมทั้ง ส.ส.กทม. และสมาชิกพรรค เข้าร่วมแถลงข่าวเปิดตัวผู้ซึ่งประสงค์จะสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ภาคตะวันออก และ กทม.พรรคเพื่อไทย

นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน หัวหน้าพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า พรรคเพื่อไทยมีความภาคภูมิใจเปิดตัวผู้ซึ่งประสงค์จะสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. จันทบุรี ซึ่งถือเป็นพื้นที่ศักยภาพสูง มีความโดดเด่นด้านเกษตรกรรม ท่องเที่ยวและประมง เป็นพื้นที่หมุดหมายของพรรคเพื่อไทยในการส่งเสริมศักยภาพให้กลายเป็นเมืองแห่งผลไม้และอัญมณี จึงขอเปิดตัวผู้ซึ่งประสงค์จะสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. จันทบุรีในวันนี้ และเปิดตัวผู้ซึ่งประสงค์จะสมัครรับเลือกตั้ง กทม.อีก 3 คน ทำให้ กทม.เปิดตัวผู้ซึ่งประสงค์สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.ครบทั้ง 33 เขตแล้ว

สำหรับยุทธศาสตร์และเป้าหมายของพรรคเพื่อไทย ต้องชนะเลือกตั้งแบบแลนด์สไลด์ ต้องได้ ส.ส.มากกว่า 251 ที่นั่งขึ้นไป เพื่อปิดกั้นอำนาจเก่า กลไกที่บิดเบี้ยวในรัฐธรรมนูญ ไม่ให้มายื้อแย่งประชาชนในการจัดตั้งรัฐบาล ทั้งนี้พวกเขาต้องการ ส.ส.เพียง 25 ที่นั่งเท่านั้นก็สามารถโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีได้ แต่พรรคเพื่อไทยต้องการชนะเลือกตั้งแบบถล่มทลาย จาก 3 กลยุทธ์หลัก ได้แก่

1.) บุคลากรของพรรคเพื่อไทย และผู้แทนราษฎร ที่เข้าถึงพื้นที่ เข้าใจประชาชน 
2.) นโยบายที่เป็นประชาธิปไตยที่จับต้องได้ ทำได้จริง คิดใหญ่ ทำเป็น เพื่อไทยทุกคน เป็นสินค้าทางการเมืองที่พี่น้องประชาชนให้ความมั่นใจว่า เพื่อไทยประกาศแล้วทำได้จริง และเตรียมประกาศเพิ่มอีก 7 นโยบายหลังยุบสภา 
3.) แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรคเพื่อไทย ที่จะได้รับความเชื่อมั่นจากพี่น้องประชาชนและนานาอารยประเทศให้การยอมรับ ซึ่งมีครบตามกฎหมายจำนวน 3 คน เป็นบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ ประชาชนสามารถฝากความหวังและมอบความไว้วางใจเพื่อนำพาประเทศไทยผ่านพ้นวิกฤตได้ ที่จะเป็นผู้นำพาการเลือกตั้งให้สำเร็จตามเป้าหมาย ซึ่งพรรคเพื่อไทยพร้อมประกาศทั้ง 3 รายชื่อในเวลาอันใกล้นี้

“กทม.เป็นหัวใจของประเทศไทย เป็นศูนย์การการเมืองการปกครอง เป็นศูนย์กลางทางมิติสังคม สะท้อนทุกอย่างภายในประเทศ เป็นพื้นที่ที่เพื่อไทยให้ความสำคัญมาก เรามั่นใจว่า ส.ส. ว่าที่ผู้สมัคร และ ส.ส.ในอนาคต จะตอบโจทย์พี่น้องประชาชนทุกมิติ ฝากชาว กทม.ช่วยกันพิจารณาสร้างโอกาสร่วมกับพรรคเพื่อไทย เพื่ออนาคตของ กทม.และประเทศชาติ เพื่อไทยยึดมั่นถือประชาชนเป็นหัวใจ ร่วมชนะเลือกตั้งแบบแลนด์สไลด์ให้ถล่มทลาย” นายแพทย์ชลน่านกล่าว 

นายประเสริฐ จันทรรวงทอง ส.ส.นครราชสีมา เลขาธิการพรรค และผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า พรรคเพื่อไทยทำงานต่อเนื่องเพื่อประชาชน โดยวานนี้ที่ได้ลงพื้นที่ภูเก็ตและพังงา ขอขอบคุณพี่น้องประชาชนในพื้นที่เป็นอย่างมากที่ให้การตอบรับเป็นอย่างดี และในฐานะของ ส.ส.นครราชสีมาผู้แทนของคนโคราช ขอขอบคุณชาวโคราชที่สนับสนุนพรรคเพื่อไทยทั้งแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี ส.ส.แบ่งแขตและบัญชีรายชื่อ จากโพลนิด้าล่าสุด ทั้งนี้พรรคเพื่อไทยขอเปิดตัว ผู้ซึ่งประสงค์จะสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. ภาคตะวันออก 2 คน และ กทม. อีก 3 คน ได้แก่ 

ภาคตะวันออก 2 คน ได้แก่ 
>> จ.จันทบุรี
1.) นายวันทิตย์ ตั้งรักษาสัตย์ 
2.) นายนิติรุจน์ ศิระวิเชษฐ์กุล

>> กทม. 3 คน ได้แก่
1.) นางสาวสกาวใจ พูนสวัสดิ์ กทม. เขตสะพานสูง ประเวศ 
2.) นายเอกภาพ หงสกุล กทม. เขตสายไหม 
3.) นางสาวกมลพัฒน์ ปุงบางกระดี่ กทม. เขตบางขุนเทียน

‘ฉลอง เรี่ยวแรง’ ยกครอบครัวซบภูมิใจไทย เผยถูกใจ ‘อนุทิน’ ดำรงไว้ซึ่งมาตรา 112

(6 ก.พ. 66) เมื่อเวลา 11.50 น. ที่พรรคภูมิใจไทย นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.สาธารณสุข ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย พร้อมด้วยนายศุภชัย ใจสมุทร ส.ส.บัญชีรายชื่อ และนายทะเบียนพรรค ให้การต้อนรับนายฉลอง เรี่ยวแรง, นางเจริญ เรี่ยวแรง อดีต ส.ส.นนทบุรี พรรคพลังประชารัฐ และ น.ส.ปารมี เรี่ยวแรง บุตรสาว ที่มาเปิดตัวเข้าร่วมงานกับพรรคภูมิใจไทย

โดย นายอนุทิน กล่าวว่า "พรรคภูมิใจไทยยินดีต้อนรับสมาชิกใหม่ทั้ง 3 ท่าน ซึ่งจะเป็นว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.นนทบุรี ทั้ง 3 ท่าน มีประสบการณ์ทำงาน มีความสนิทคุ้นเคยกับผู้บริหารพรรคภูมิใจไทยมายาวนาน วันนี้เราดีใจมากที่ท่านนำครอบครัว 'เรี่ยวแรง' มาร่วมงานการเมืองกับพรรคภูมิใจไทย ซึ่งเชื่อว่า ทั้ง 3 ท่านจะทำงานให้ จ.นนทบุรี ได้อย่างเต็มที่ ทั้งนี้ ล่าสุดพรรคได้รับสำเนาจากคณะกรรมการเลือกตั้ง (กกต.) ว่าใบลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคเดิมของทั้ง 3 ท่าน ได้รับการประทับรับเอกสารเรียบร้อยแล้ว ขณะเดียวกัน นางเจริญ ก็ได้ทำหนังสือลาออกจากการเป็น ส.ส.ในวันนี้ (6 ก.พ. 66) เรียบร้อยแล้วเช่นกัน"

นายอนุทิน กล่าวต่อว่า ส่วนที่ทั้ง 3 ท่าน มาเปิดตัวร่วมงานกับพรรคภูมิใจไทยในวันนี้ (6 ก.พ. 66) เพื่อความไม่ประมาท เราจึงเชิญท่านมาสมัครวันนี้ เพื่อป้องกันเดดล็อกทางการเมืองเกี่ยวกับเงื่อนไขเวลา 90 วัน ในการสังกัดพรรคการเมือง กรณีหากนายกรัฐมนตรีไม่ประกาศยุบสภา ไม่ได้เป็นการออกปุ๊บเข้าปั๊บ แต่เพื่อป้องกันความเสี่ยง และการเกิดปัญหาในอนาคต

เมื่อถามว่า จะส่งผู้สมัคร ส.ส.นนทบุรี ครบทั้ง 8 เขตหรือไม่ นายอนุทิน กล่าวว่า เมื่อเราได้ผู้ใหญ่อย่างนายฉลอง และนางเจริญ เข้ามาร่วมงานกับพรรค ทำให้การบริหารจัดการ หรือการนำเสนอผู้สมัครท่านอื่น ๆ พรรคจะมอบความรับผิดชอบการดำเนินกิจกรรมทางการเมือง ให้ท่านได้พิจารณาตัดสินใจว่าจะส่งครบทุกเขตหรือไม่ เราเชื่อมือซึ่งกันและกัน

ย้อนตำนาน 'การเลือกตั้งครั้งแรก' ในประเทศไทย จุดเริ่มต้นของการใช้สิทธิ์ ของประชาชนไทย

หายใจอีกไม่กี่ที กะพริบตาอีกไม่กี่หนก็จะถึงช่วงเวลาที่ 'คนไทย' ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง กว่า 52 ล้านคน ซึ่งในจำนวนนี้ เป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งใหญ่ครั้งแรก หรือที่เรียกว่า 'นิวโหวตเตอร์' จำนวนกว่า 8.1 แสนคน จะได้ใช้อำนาจทางการเมืองผ่านปลายปากกา เลือกผู้แทนราษฎรเข้าสภาอีกครั้ง 

ไม่ว่าเงื่อนไขที่นำไปสู่การเลือกตั้ง จะเกิดจากการยุบสภา หรือ การสิ้นสุดวาระของสภาผู้แทนราษฎรก็ตาม หากไม่มีความผิดพลาดคลาดเคลื่อน หรืออุบัติเหตุเกิดขึ้น คาดว่าห้วงเวลาของการจัดการเลือกตั้งใหญ่ จะเกิดขึ้นในเดือนพฤษภาคมนี้ 

แต่ก่อนจะถึงวันเข้าคูหา กากบาทเลือกพรรคที่ชอบ & คนที่ใช่ The State Times ขอหยิบยกเอาเรื่องราวการเลือกตั้งของประเทศไทย นับจากอดีต สู่ปัจจุบัน มาบอกเล่ากัน โหมโรงเรื่องแรก #เลือกตั้งสตอรี่ เราพาย้อนเวลากลับไป ในวันที่คนไทยทุกคน เริ่มต้นเป็น 'นิวโหวตเตอร์' ในการเลือกตั้งครั้งแรก 

กว่า 90 ปีก่อน ห้วงเวลาแห่งการอภิวัฒน์สยาม 24 มิถุนายน  2475 คือวันที่นำความเปลี่ยนแปลงมาสู่ระบอบการเมืองไทย ซึ่งขณะนั้นยังใช้ชื่อสยาม จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช มาเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และเปลี่ยนรูปแบบการปกครองมาเป็นระบบรัฐสภา

กลไกการปกครองแบบประชาธิปไตยถูกประกอบสร้างและเริ่มวางรากฐานทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ไม่ว่าจะเป็นการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ การจัดการเลือกตั้ง การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น และการเปิดทางให้มีการจัดตั้งพรรคการเมือง

แค่ราว 1 ปี หลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 10 ธันวาคม 2475 รัฐบาลคณะราษฎร  ซึ่งมีพระยาพหล พลพยุหเสนาเป็นนายกรัฐมนตรี ได้จัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปขึ้นเป็นครั้งแรก ในวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 โดยเป็น 'การเลือกตั้งทางอ้อม' ครั้งเดียวในประวัติศาสตร์การเมืองไทย 

กรณ์’ ลงพื้นที่ ‘สาทร’ แจกใบปลิว ‘ลดภาษีบุคคล’ ชี้ ถึงเวลาสร้างความเป็นธรรมให้ ‘มนุษย์เงินเดือน’

เมื่อวันที่ (6 ก.พ.66) เวลา 18.00 น. นายกรณ์ จาติกวณิช หัวหน้าพรรคชาติพัฒนากล้า พร้อมด้วยว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.กทม.ได้เดินทางไปยังสถานีรถไฟฟ้า BTS ช่องนนทรี เพื่อแจกใบปลิวลดภาษีบุคคล โดยมีข้อความระบุบนใบปลิวว่า “ภาษีพูดเบา ๆ ก็เจ็บ” ให้กับประชาชนที่สัญจรไปมา 

โดยนายกรณ์ กล่าวว่า นโยบายภาษี ของพรรคชาติพัฒนากล้า ไม่มีความสลับซับซ้อน กล่าวคือ ใครที่มีเงินเดือน 40,000 บาทแรกไม่ต้องเสียภาษี ใครที่มีรายได้ที่สูงกว่า 40,000 บาท ก็จะได้รับปรับลดตามขั้นบันได ถามว่าจะมีผลต่อรายได้ของรัฐ หรือจะทำให้เสียวินัยทางการคลังไหม นายกรณ์อธิบายว่า สำนักงบฯ ได้ประมาณการณ์ว่า ในปีงบประมาณหน้า รายได้โดยรวมของรัฐบาล จะเพิ่มขึ้น 2.7 แสนล้านบาท จึงเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมอย่างมาก ในการสร้างความเป็นธรรมให้กับมนุษย์เงินเดือน

นายกรณ์ กล่าวว่า ต้องไม่ลืมว่า บริษัทขนาดใหญ่ โดยเฉพาะที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ ได้รับการลดภาษีนิติบุคคลจาก 30% เป็น 20% มานานกว่าสิบปีแล้ว ขณะที่มนุษย์เงินเดือนไม่ได้รับการช่วยเหลือมานานแล้ว ซึ่งเมื่อเทียบกับ ค่าครองชีพ ค่าความเป็นอยู่ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งค่ารถไฟฟ้าไปกลับวันละร้อยกว่าบาท ถ้าใครใช้รถ ก็มีทั้งค่าน้ำมัน ค่าทางด่วน ค่าประกัน ค่าซ่อมบำรุง ฯลฯ นี่ยังไม่รวมถึงค่าเลี้ยงดูบุตรหลาน ผู้สูงอายุ

‘อนุทิน’ ปราศรัยชุมชนบ่อนไก่ หยอดชาว กทม. ขอให้ลองใช้คนบ้านนอกอย่างภูมิใจไทย แล้วจะตอบแทนบุญคุณคน กทม. อย่างยิ่งใหญ่

เมื่อวานนี้ (6 ก.พ.66) ที่ศูนย์เยาวชนปทุมวัน กทม. พรรคภูมิใจไทย จัดเวทีปราศรัยย่อยช่วย น.ส.พัชรินทร์ ซำศิริพงษ์ ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.กทม. เขตปทุมวัน หาเสียง นำโดย นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.สาธารณสุข ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย พร้อมด้วย นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ หัวหน้าทีม กทม.พรรคภูมิใจไทย, นายสิริพงษ์ อังคสกุลเกียรติ ส.ส.ศรีสะเกษ, นายศุภชัย ใจสมุทร ส.ส.บัญชีรายชื่อ และนายทะเบียนพรรค, นายชาดา ไทยเศรษฐ์ ส.ส.อุทัยธานี และรองหัวหน้าพรรค, น.ส.กรณิศ งามสุคนธ์รัตนา ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.กทม. และสมาชิกพรรคร่วมขึ้นเวทีครั้งนี้

น.ส.พัชรินทร์ กล่าวว่า ขอบคุณประชาชนทุกคนที่สนับสนุนตนมาตลอดการเป็น ส.ส.เขตปทุมวัน ตนรู้สึกว่าทุกคนเป็นคนในครอบครัว และความตั้งใจของตนยังเหมือนเดิม คือต้องการรับใช้ประชาชน เพื่อเป็นกระบอกเสียงให้พี่น้องประชาชน 

ขณะที่ นายศุภชัย ปราศรัยตอนหนึ่งว่า ครั้งที่แล้วเราเลือกความสงบจบที่ลุงตู่ แต่ตอนนี้ความสงบมีเกินไปแล้ว แต่สิ่งที่ไม่มีคือเงินในกระเป๋า ถ้าจะให้คนเดิมบริหารประเทศ 8 ปีที่ผ่านมา ชี้ให้เห็นว่ามันไม่ได้แล้ว พล.อประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จะขายความสงบอยู่ ตนว่ามันไม่ได้แล้ว ขณะที่พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ที่ระบุว่ายังเป็นนายกฯ ได้ เนื่องจากอายุยังไม่ถึง 75 ปี ตนก็ว่ามันสามารถเป็นไปได้ตามสิทธิ์ แต่ส่วนตัวตนมองว่าคนที่เหมาะสม คือ นายอนุทิน 

จากนั้นเวลา นายอนุทิน ขึ้นปราศรัยเป็นคนสุดท้าย โดยกล่าวว่า พรรคภูมิใจไทยมีความแน่วแน่ในการจะมารับใช้ประชาชนชาวบ่อนไก่ และชาว กทม. ตนเป็น ส.ส. มาแล้ว 10 ปี แต่ไม่เคยได้ใจคน กทม. สักเท่าไหร่ แต่มั่นใจว่าการเลือกตั้งครั้งนี้ จะทำให้ชาว กทม. ใจอ่อนให้พรรคภูมิใจไทย เพราะพรรคได้นำเสนอเรื่องที่เป็นประโยชน์ให้ประชาชน พร้อมมั่นใจว่าวันนี้ภูมิใจไทยพร้อมรับใช้ชาว กทม. เหมือนที่รับใช้ประชาชนคนไทยตลอด 4 ปีผ่านมา ในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เช่น เรื่องคมนาคม สาธารณสุข และการท่องเที่ยว 

นายอนุทิน ระบุว่า ขอให้ลองใช้คนบ้านนอกอย่างพวกตน คือคนพรรคภูมิใจไทยบ้าง พร้อมถามว่าเคยได้ยินคำว่า “บ้านนอกเข้ากรุงไหม” ซึ่งถ้าคนบ้านนอกได้รับสิ่งที่คนกรุงเทพฯ หยิบยื่นให้ ก็ตอบแทนบุญคุณกรุงเทพฯ อย่างยิ่งใหญ่แน่

อดีตความรกรุงรัง สู่ปัจจุบัน เมืองไร้สาย

อีกราวๆ 3 เดือน ประเทศไทยจะมีการเลือกตั้งใหญ่อีกครั้ง แต่หากย้อนกลับไป ตลอด 8 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทย-ภายใต้การบริหารของนายกรัฐมนตรี ประยุทธ์ จันทร์โอชา มีเรื่องราวของ 'การเปลี่ยนแปลง' อยู่มากมาย และจนกว่าจะถึงการเลือกตั้งในเดือนพฤษภาคมที่จะถึงนี้ The State Times ขอนำมุมที่เปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะ 'มุมบวก' ของประเทศ มาบอกเล่ากัน 

เริ่มต้นที่เรื่องราว 'ความรกรุงรัง' ของสายไฟฟ้าและสายสื่อสาร ที่แม้จะเห็นจนเป็นความชินตา แต่ที่ผ่านมา เคยเป็นข่าวคราวดรามา เช่นครั้งหนึ่งในปี 2564 ดาราชื่อดัง 'รัสเซล โครว์' มาถ่ายทำภาพยนตร์ที่เมืองไทย พร้อมกับถ่ายภาพสายไฟฟ้าที่รกรุงรัง จนกลายเป็นข่าวครึกโครม ก่อนที่จะมีข่าวตามมาว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้สั่งการให้นำสายไฟลงใต้ดิน หลังจากที่ดาราคนดังโพสต์ภาพดังกล่าวออกไป 

ในความเป็นจริง ต้องย้อนกลับไปในปี 2559 รัฐบาลโดยการนำของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีนโยบายให้หน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ดำเนินโครงการเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าและสายสื่อสารโทรคมนาคมลงใต้ดินอยู่แล้ว ทั้งนี้เป็นโปรเจกต์เพื่อรองรับการเป็นมหานครแห่งอาเซียน ยิ่งหากสืบย้อนกลับไป โครงการนำสายไฟฟ้าลงใต้ดิน โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เป็นโครงการที่อยู่ในแผนการทำงานของการไฟฟ้านครหลวง หรือ กฟน.มาตั้งแต่ปี 2527 แล้ว

ย้อนตำนาน 'รัฐธรรมนูญ 3 ฉบับ' กับ 'รูปแบบการเลือกตั้ง' ที่เปลี่ยนไป

30 ปี นับตั้งแต่ปี 2535 จนกระทั่งปัจจุบัน ประเทศไทยผ่านเหตุการณ์การเมือง ที่นำมาสู่การจัดทำรัฐธรรมนูญ 3 ฉบับ คือ 2540 2550 และ 2560  โดยมีรูปแบบการเลือกตั้งที่แตกต่างกันออกไป วันนี้เราจึงขอย้อนรอยเรื่องราวการเลือกตั้งที่สะท้อนจากรัฐธรรมนูญทั้ง 3 ฉบับ ซึ่งนอกจากจะแตกต่างกันแล้ว ยังส่งผลต่อหน้าประวัติศาสตร์การเมืองอีกด้วย

#รัฐธรรมนูญ2540…จุดเริ่มต้นบัตร 2 ใบ "เลือกคนที่รัก เลือกพรรคที่ชอบ"
ปี 2538 ยุค นายบรรหาร ศิลปอาชา เป็นนายกรัฐมนตรี มีการตั้งคณะกรรมการปฏิรูปการเมือง (คปก.) ขึ้น และนำมาสู่การแก้ไขรัฐธรรมนูญ เปิดทางให้มี ‘สภาร่างรัฐธรรมนูญ’ ที่มีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ สสร.  99 คน  ประกอบด้วย สสร. 76 คนที่มาจากการเลือกตั้งจังหวัดละ 1 คน กับตัวแทนนักวิชาการและผู้เชี่ยวขาญในสาขาต่างๆ ที่มาจากการคัดเลือกกันเองของสภาสถาบันอุดมศึกษาให้สภาพิจารณา อีก 23 คน เพื่อจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เสนอต่อรัฐสภา จนได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญที่ได้ชื่อว่าเป็นฉบับประชาชน และเกิดการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนมากที่สุด 

ทั้งนี้รัฐธรรมนูญปี 2540 พลิกโฉมการเมืองไทยไปจากเดิม ด้วยระบบบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ โดย ส.ส.  500 คน มาจากแบบเลือกตั้งเขตเดียวคนเดียว 400 คน และมาจากแบบบัญชีรายชื่อ 100 คน ใชับัตรเลือกตั้งสองใบ คือ ใบแรก 'เลือกคน' คือ ส.ส.เขต แบบเขตเดียวเบอร์เดียว และ ใบที่สองเลือก ส.ส. ระบบบัญชีรายชื่อ หรือ 'ปาร์ตี้ลิสต์' เป็นครั้งแรกเพื่อเพิ่มบทบาทของพรรคการเมืองและนโยบายของพรรค รวมถึง 'นายกรัฐมนตรี' ก็ต้องมาจาก ส.ส. เท่านั้น ขณะที่ ส.ว. 200 คน ที่เข้ามาทำหน้าที่ตรวจสอบ กลั่นกรองกฎหมาย รวมถึงมีอำนาจในการ 'ถอดถอน' ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ก็มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนทั้งหมด 

รัฐธรรมนูญ ปี 40 ยังเป็นจุดเริ่มต้นขององค์กรอิสระ อย่าง  กกต.  ป.ป.ช. ผู้ตรวจการแผ่นดิน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และศาลรัฐธรรมนูญ ที่เป็นองค์กรตรวจสอบการทำงานของฝ่ายการเมืองมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ กลไกระบบเลือกตั้งที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญปี 2540 ยังส่งผลให้พรรคการเมืองเข้มแข็ง และมีน้อยพรรค ทำให้การบริหารบ้านเมืองมีความต่อเนื่องมากขึ้น ปิดข่องรัฐบาลผสมที่มีหลายพรรคการเมือง 

แต่ระบบนี้ใช้ในการเลือกตั้งได้เพียงแค่ 2 ครั้ง คือในปี 2544 และ 2548 ก็เกิดปัญหาใหม่ เมื่อรัฐบาลพรรคไทยรักไทย ถูกตั้งคำถามเรื่องความโปร่งใส ในการบริหารประเทศ และเกิดปัญหาเกี่ยวกับกลไกตรวจสอบ ถ่วงดุล ที่ทำได้ยาก จนถูกขนานนามว่าเป็น 'เผด็จการรัฐสภา' กระทั่ง 19 กันยายน 2549 เกิดการรัฐประหาร นำมาสู่การกำเนิดรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ คือ ฉบับปี 2550

#รัฐธรรมนูญ2550 ปรับระบบ 'ปาร์ตี้ลิสต์' จากหนึ่งเขตประเทศ เป็น 8 กลุ่มจังหวัด
รัฐธรรมนูญฉบับนี้ถูกจัดทำขึ้นโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ และจัดให้มีการลงประชามติจากประชาชนผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งในวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ผ่านการเห็นชอบ ร้อยละ 57.81 ทั้งนี้มีการปรับระบบเลือกตั้ง กำหนดให้ ส.ส. มีจำนวน 480 คน มาจากแบบเลือกตั้งแบ่งเขตเรียงเบอร์ 400 คน และมาจากแบบบัญชีรายชื่อ จากเขตเลือกตั้งเดียวทั้งประเทศ มาเป็นกลุ่มจังหวัด 8 กลุ่ม กลุ่มละ 10 คน รวม 80 คน

ส่วน ส.ว. มีจำนวน 150 คน มาจากการเลือกตั้งใน 77 จังหวัด จังหวัดละ 1 คน และที่เหลือมาจากการสรรหา ส่วนการเลือกตั้ง ในช่วงของการใช้รัฐธรรมนูญปี 2550 เกิดขึ้น 2 ครั้ง โดยในครั้งแรก พรรคพลังประชาชนชนะการเลือกตั้ง ได้ 'สมัคร สุนทรเวช' เป็นนายกรัฐมนตรี ต่อมาเมื่อเปลี่ยนนายกรัฐมนตรี ในยุค 'อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ' สภามีมติแก้ไขระบบการเลือกตั้ง ส.ส. กลับไปใช้บัญชีรายชื่อบัญชีเดียวทั่วประเทศ 125 คน ก่อนมีการเลือกตั้ง และพรรคเพื่อไทย ภายใต้การนำของ 'ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร' ได้เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล

ต่อมา ประเด็นเรื่องการนิรโทษกรรมสุดซอย รวมถึงปัญหาทุจริตจำนำข้าว นำมาสู่ความขัดแย้งทางการเมืองระลอกใหม่ แนวโน้มเดินไปสู่ทางตันและความรุนแรง จึงนำมาซึ่งการยึดอำนาจอีกครั้งโดย พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และนำมาซึ่งการจัดทำรัฐธรรมนูญปี 2560


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top