‘อัษฎางค์’ ชำแหละ!! ‘ข้อบิดเบือน-ดิสเครดิตชาติไทย’ โดย ‘ธนาธร’ ย้อนถาม ‘สถาบันพระปกเกล้า’ ใครเชิญคนแบบนี้มาเป็นวิทยากร

(28 ก.ย. 66) ‘เอ็ดดี้ อัษฎางค์ ยมนาค’ ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ระบุว่า…

‘สถาบันพระปกเกล้า’ กำลังเล่นอะไรกับ ‘ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ’ ประธานคณะก้าวหน้า ได้รับเชิญเป็นวิทยากรบรรยายหลักสูตรการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย สำหรับนักบริหารระดับสูง รุ่นที่ 27 (ปปร.27) โดยสถาบันพระปกเกล้า ภายใต้โจทย์ ‘การเมืองใหม่ในโลกปัจจุบัน’

คำถามคือ ใครในสถาบันพระปกเกล้าเป็นผู้เชิญธนาธรมาเป็นวิทยากรอบรมนักบริหารระดับสูง? ทั้งที่คนทั้งชาติทราบว่าธนาธรสนับสนุนให้มีการยกเลิก ม.112 และ ม.116 (ที่มา : https://www.thaipost.net/x-cite-news/307412/)

ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญเคยพิจารณา ข้อเรียกร้องของผู้ชุมนุมที่ ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ที่เสนอให้แก้ไขหรือยกเลิกกฎหมายดังกล่าว เป็นภัยต่อความมั่นคงอันนำไปสู่ล้มล้างการปกครองได้

ทั้งที่สถาบันพระปกเกล้า เป็นสถาบันวิชาการชั้นนำด้านการพัฒนาประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ธรรมาภิบาล และสันติวิธี มุ่งนำความรู้สู่สังคม เพื่อประโยชน์ส่วนรวม

ธนาธรบรรยายที่สถาบันพระปกเกล้า ด้วยการยกผลงานของก้าวไกลถือเป็นการมาหาเสียหรือไม่ นอกจากนี้ยังให้ข้อมูลที่ไม่ตรงกับสถานการณ์จริงหรือข้อมูลที่แสดงถึงความไม่เข้าใจสถานการณ์จริงในปัจจุบัน (ข้อมูลจาก https://thestandard.co/thanathorn-26092023/)

ธนาธร กล่าวหาว่า การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่ำกว่าอัตราเฉลี่ยของโลกหลายปีติดต่อกัน (ข้อมูลจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา https://www.krungsri.com/…/industry-outlook-2023-2025) ระบุว่า เศรษฐกิจโลกปี 2566-2568 ประเทศแกนหลักมีแนวโน้มชะลอตัว ท่ามกลางกระแส ‘Deglobalization’ หรือ ‘การทวนกระแสโลกาภิวัตน์’ เมื่อโลกไม่อภิวัฒน์ กันแบบเดิม โลกาภิวัตน์กำลังเปลี่ยนโฉมไปหลังจากสงครามการค้าระหว่างสองประเทศมหาอำนาจใหญ่ คือ สหรัฐอเมริกาและจีน ที่แสดงท่าทีล่าสุดออกมาชัดเจนว่า ต่างตั้งเป้าจะเป็นประเทศมหาอำนาจผู้นำของโลก และมีเจตนาจะแข่งขันกันจริงจังขึ้นอีกในระยะข้างหน้า เมื่อกระแสโลกาภิวัตน์กำลังจะเปลี่ยนภาพไปจากเดิม

‘Deglobalization’ หรือ ‘การทวนกระแสโลกาภิวัตน์’ คือ ‘โลกาภิวัตน์บนเงื่อนไขความเป็นมิตร’ การเชื่อมโยงการค้าการลงทุนระหว่างประเทศจะยังเดินหน้าไปได้ แต่จะไม่เน้นประสิทธิภาพสูงสุดของห่วงโซ่การผลิตเช่นเดิมแล้ว จะกลายเป็นเชื่อมโยงกับกลุ่มมิตรประเทศเท่านั้น
ธนาธรเข้าใจเรื่องดังกล่าวนี้หรือไม่? มากน้อยแค่ไหน? จึงออกมาโจมตีว่าประเทศไทยมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจต่ำกว่าอัตราเฉลี่ยโลกจริงหรือไม่?

อัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจโลก จะอยู่ที่ 2.7% ในปี 2566 และจะเพิ่มขึ้นเป็น 3.0% ในปี 2567-2568 ในขณะที่เศรษฐกิจไทยคาดว่าจะขยายตัวเฉลี่ย 3.5% ต่อปีในช่วงปี 2566-2568 ดังนั้น การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยต่ำกว่าอัตราเฉลี่ยของโลกตรงไหน?

มาดูรายละเอียดตรงนี้กัน

เศรษฐกิจโลกในระยะ 3 ปีข้างหน้ามีแนวโน้มเติบโตชะลอลงจาก 3.2% ในปี 2565 สู่ 2.7% ในปี 2566 ก่อนจะกระเตื้องขึ้นเล็กน้อยสู่ราว 3.0% ในปี 2567-2568 แม้ว่าผลเชิงลบจากโรค COVID-19 จะคลี่คลายลงแต่หลายปัจจัยยังคงกดดันเศรษฐกิจโดยเฉพาะประเด็นสงครามรัสเซีย-ยูเครนที่นำไปสู่มาตรการคว่ำบาตรทางการค้าและวิกฤตพลังงานที่มีแนวโน้มยืดเยื้อ การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน รวมถึงการแบ่งขั้วทางเศรษฐกิจซึ่งนำโดยสหรัฐฯ และจีน จะส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานโลก และอาจทำให้การทวนกระแสโลกาภิวัตน์ (Deglobalization) เข้มข้นขึ้น

เศรษฐกิจสหรัฐฯ มีแนวโน้มเติบโตต่ำในปี 2566-68 โดยคาดว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจจะชะลอลงจาก 1.6% ในปี 2565 เหลือ 1.0% ในปี 2566 และ 1.2% ในปี 2567 ก่อนจะกระเตื้องขึ้นสู่ 1.8% ในปี 2568

เศรษฐกิจของยุโรปจะเผชิญวิกฤตพลังงานที่รุนแรงและยืดเยื้อนาน โดยคาดว่าในช่วงปี 2566-2568 เศรษฐกิจจะขยายตัวเฉลี่ยเพียง 1.4% ต่อปี ชะลอลงแรงจากที่ขยายตัว 3.1% ในปี 2565 ผลพวงจากสงครามรัสเซีย-ยูเครนโดยเฉพาะปัญหาการขาดแคลนพลังงานที่เข้าขั้นวิกฤต

เศรษฐกิจญี่ปุ่นยังเติบโตต่ำจากปัจจัยเชิงโครงสร้างที่จำกัดการเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยคาดว่าขยายตัวเฉลี่ย 1.3% ต่อปีในช่วงปี 2566-2568 จาก 1.7% ในปี 2565 เศรษฐกิจจีนคาดว่าจะขยายตัวเฉลี่ย 5.4% ต่อปี ชะลอลงจาก 8.0% ในปี 2564

เศรษฐกิจจีน มีแนวโน้มเผชิญหลายปัจจัยกดดันให้การเติบโตต่ำกว่าช่วงก่อนการระบาดของ COVID-19 แม้เศรษฐกิจอาจปรับดีขึ้นจาก 3.2% ในปี 2565 สู่เฉลี่ย 4.5% ต่อปีในช่วงปี 2566-2568 แต่คาดว่าจะต่ำกว่า 6-7%

เศรษฐกิจไทย คาดว่าจะขยายตัวเฉลี่ย 3.5% ต่อปีในช่วงปี 2566-2568 ปรับตัวดีขึ้นจากที่เติบโต 3.2% ในปี 2565

ธนาธร กล่าวหาว่า ประเทศไทยติดอยู่ใน 5 อันดับแรกของประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำที่สุด

ความจริงคือ ความเหลื่อมล้ำของไทยเคยติด TOP 5 โดยอยู่ในอันดับที่ 4 ประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำด้านความมั่งคั่งมากที่สุดในโลก จากข้อมูล Gini Wealth Index ปี 2018 ของ เครดิต สวิส (Credit Suisse) แต่อันดับของ Gini Wealth Index ในปี 2021 ไทยมีอันดับที่ดีขึ้นแบบก้าวกระโดด คือก้าวจาก อันดับ 4 มาอยู่ที่อันดับ 97 ของประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำมากที่สุด (ที่มา: https://theactive.net/data/inequality-index-truth/)

คุณไปอยู่ไหนมาธนาธร คุณยังหลงหรือจมปลักอยู่ที่ปี 2018 หรือ พ.ศ.2561 หรือ?

คุณจะบริหารประเทศด้วยข้อมูลที่ล้าหลังขนาดนั้นเลยหรือ แล้วประเทศจะเป็นอย่างไร?

สถาบันพระปกเกล้า ปล่อยให้คุณธนาธรเอาข้อมูลเก่าตกยุคไปอบรมข้าราชการที่เป็นนักบริหารระดับสูงแบบนี้ แล้วผลลัพธ์จะเป็นอย่างไร?

คุณกล่าวว่า ปัญหาความเหลื่อมล้ำ ผูกพันอย่างแยกไม่ได้ กับอัตราการเกิดของประชากรที่ตกต่ำลง ซึ่งสวนทางกับอัตราการตายของประชากร ซึ่งจะทำให้ประชากรวัยทำงานมีแนวโน้มต้องทำงานหนักขึ้นเพียงเพื่อให้ประเทศไทยยังยืนที่เดิมในด้านผลิตภาพ และการดูแลประชากรผู้สูงอายุที่มีสัดส่วนเพิ่มมากขึ้น

นี่เป็นการหาเสียงของคุณกับประชากรวัยทำงาน ด้วยการสร้างภาพว่ารัฐบาลบริหารประเทศผิดพลาดจนทำให้ประชากรวัยทำงานต้องทำงานหาเงินเลี้ยงประชากรผู้สูงอายุหรือไม่?

ธนาธร กล่าวหาว่า การที่ประเทศไทยมีการเปลี่ยนรัฐธรรมนูญเฉลี่ยทุก 4.5 ปี แสดงให้เห็นว่าเรายังไม่มีฉันทามติร่วมกันว่าจะอยู่ร่วมกันภายใต้กติกาอย่างไร?

ขอยกตัวอย่าง รัฐธรรมนูญปี 60 ประชาชนได้ร่วมกันทำประชามติว่าให้อำนาจ สว. เลือกนายกรัฐมนตรีแต่พรรคก้าวไกลกลับไม่ยอมรับรัฐธรรมนูญและประชามตินี้ แต่กลับเสนอให้ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าพรรคก้าวไกลก็เป็นหนึ่งในตัวปัญหาที่ต้องการเปลี่ยนรัฐธรรมนูญเพราะไม่ยอมรับในฉันทามติร่วมกัน ว่าจะอยู่ร่วมกันภายใต้กติกาที่กำหนดหรือไม่?

สถาบันพระปกเกล้าเปิดสถานที่ให้ธนาธรมาให้ข้อมูลที่ไม่ตรงกับสถานการณ์จริงหรือไม่ตรงกับความเป็นจริงหรือไม่?

นอกจากนี้ ยังมีถ่อยในลักษณะการเสียงกับผู้บริหารระดับสูงหรือไม่? เช่น เรื่องระบบการคิดค่าน้ำประปาเป็นระบบไอโอที! หรือเรื่องความสำเร็จของพรรคก้าวไกล คือความสำเร็จของการเมืองแบบใหม่ที่เป็นไปได้! และเรื่องที่คณะก้าวหน้าได้ทำร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลายแห่ง เช่น การทำน้ำประปาที่ดื่มได้! ระบบการคิดค่าน้ำประปาเป็นระบบไอโอที!