Tuesday, 22 April 2025
สถาบันพระปกเกล้า

สถาบันพระปกเกล้า ชวนกันมาวิ่งเพื่อสุขภาพและสันติสุข มุ่งสร้างสัมพันธ์ระหว่างรุ่นพี่-รุ่นน้อง

ที่บริเวณสวนหลวงพระราม 8 พล.อ.เอกชัย ศรีวิลาศ ผู้อำนวยการสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า เป็นประธานเปิดวิ่งเพื่อสุขภาพและสันติสุข ครั้งที่ 1 จัดโดย
ชมรมวิ่งเพื่อสุขภาพและสันติสุข ​

สำหรับกิจกรรมวิ่งเพื่อสุขภาพครั้งที่ 1 มีวัตถุประสงค์​ เพื่อให้ศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบัน หลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูง การเสริมสร้างสังคมสันติสุข (สสสส.) สถาบันพระปกเกล้า ได้ร่วมออกกำลังกาย เพื่อสุขภาพที่แข็งแรง และสร้างสัมพันธ์อันดีระหว่างรุ่นพี่และรุ่นน้อง ​ 

กิจกรรมครั้งนี้ พล.อ.เอกชัย ศรีวิลาศ ยังได้เปิดบ้านสองสีให้กับนักวิ่งชมรมวิ่งเพื่อสุขภาพและสันติสุข ​ได้รับประทานอาหารเช้าร่วมกัน ในบรรยากาศที่ชื่นมื่น 

‘สสสส.12 สถาบันพระปกเกล้า’ ลงพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ศึกษาการมีส่วนร่วมพัฒนาอย่างยั่งยืน ระหว่างชุมชนกับอุตสาหกรรม

พล.อ.เอกชัย ศรีวิลาศ ผู้อำนวยการสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล พร้อมคณาจารย์ นำคณะนักศึกษาหลักสูตรการเสริมสร้างสังคมสันติสุข รุ่นที่ 12 (สสสส.12) สถาบันพระปกเกล้า ลงพื้นที่จ.ชลบุรี เพื่อรับฟังการบรรยาย EEC สานพลังการมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน จากนางสาวทัศนีย์ เกียรติภัทราภรณ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการนโยบาย เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก

โดยสำนักคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.)หรือ อีอีซี นำเสนอ ถึงแนวคิดการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ที่มุ่งมั่นปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ ไปสู่ Value base economy เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรมภายใต้วิสัยทัศน์ มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน มีการปรับแผนการลงทุนในพื้นที่ อีอีซี ปี 2565-2569 เป็นการต่อยอดโครงสร้างพื้นที่ เป็นเมืองการบินภาคตะวันออก การดึงดูดอุตสาหกรรมเป้าหมาย ยานยนต์ที่สมัยใหม่ ดิจิทัลและอิเล็กทรอนิกส์ การแพทย์และสุขภาพ การขนส่งและโลจิสติกส์ การเกษตรสมัยใหม่และอาหาร

นอกจากนี้ได้มุ่งเน้นสร้างการมีส่วนร่วม โดยดึงพลังกลุ่มสตรีในพื้นที่ อีอีซี ให้มีความเข้มแข็ง มีการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรม รวมถึงการจัดทำและนำเสนอโครงการที่จะสร้างความยั่งยืนให้พื้นที่และชุมชน โดยมีบทบาทสำคัญในการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายการพัฒนา อีอีซี ควบคู่กับการพัฒนาพื้นที่ และการเฝ้าระวังในการใช้ประโยชน์ที่ดินและแผนผังการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และระบบสาธารณูปโภคเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือแผนผัง อีอีซี และการมีส่วนร่วมในเฝ้าระวังทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

จากนั้นคณะนักศึกษาหลักสูตรการเสริมสร้างสังคมสันติสุข รุ่นที่ 12 เดินทางต่อไปยังพื้นที่ จ.ระยอง โดยแบ่ง 4 กลุ่ม ลงพื้นที่รับฟังและร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น โดยกลุ่มแรกลงพื้นที่ศูนย์จัดการขยะครบวงจร เพื่อแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ "ระยองโมเคล" ต้นแบบบริหารจัดการขยะ เพื่อการพัฒนาพื้นที่ EEC อย่างยั่งยืน ณ ศูนย์จัดการขยะครบวงจร อบจ.ระยอง กลุ่มที่ 2 เข้าดูงานยัง สำนักงานท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพูด เวทีแลกเปลี่ยน "EEC หลังฟื้นฟูท่ามกลาง เวทีแลกเปลี่ยน วิกฤตโควิด-19” กลุ่มที่ 3 เปิดเวทีแลกเปลี่ยน "EEC Vs ท่องเที่ยวโดยชุมชน วิถีสู่ความยั่งยืน" ณ เทศบาลตำบลบ้านเพ อ.เมืองระยอง

จากนั้นคณะนักศึกษา สสสส.12 ร่วมรับฟัง เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การแสวงหาจุดร่วมในการอยู่ร่วมกันระหว่าง ไออาร์พีซีและชุมชน ก่อนจะแบ่งกลุ่มศึกษาศูนย์เรียนรู้ท่องเที่ยวเชิงเกษตรสวนยายดา (ป้าบุญชื่น) เป็นสวนผลไม้ แบบผสมผสาน ที่มีผลไม้ให้กินตลอดทั้งปี จะผลัดเปลี่ยนออกผลไปตามฤดูกาล ทั้ง ทุเรียน เงาะ มังคุด สละ

คุณบุญชื่น โพธิแก้ว หรือ ป้าชื่น กล่าวว่า ไม่เคยคิดเลยว่า ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จะเป็นคำที่อมตะ และเปี่ยมคุณค่า จึงลงมือปลูกทุกอย่างที่กิน กินทุกอย่างที่ปลูก และใช้ประโยชน์พื้นที่ได้อย่างเหมาะสม ตามแนวคิด “สวนรกรุงรัง แต่ได้สตางค์ทุกด้าน”

ทั้งนี้ยังได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ "การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนกับ EEC เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน” ณ ศูนย์การเรียนรู้ตามศาสตร์พระราชา “ชุมชนเกาะกก” ซึ่งเป็นผืนสุดท้ายและชาวนาคนสุดท้ายที่มาบตาพุด อยู่ใกล้เขตนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด เป็นชุมชนศูนย์เรียนรู้ และสร้างจุดขายที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชน

 

4ส.12 “สถาบันพระปกเกล้า” ขึ้นดอย ศึกษาเครือข่าย “ฮักน่าน” ปลูกจิตสำนึกร่วมแก้ปัญหาเขาหัวโล้น-สู่ป่าต้นน้ำที่ยั่งยืน จาก “น้ำพางโมเดล” สู่ “น่านแซนด์บ๊อกซ์”

ระหว่างวันที่ 18-20 ธันวาคม นายวิทวัส ชัยภาคภูมิ รองเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า นำคณาจารย์ และคณะนักศึกษาประกาศนียบัตรชั้นสูงเพื่อการเสริมสร้างสังคมสันติสุข (4ส) รุ่นที่ 12 ดูงานในพื้นที่จังหวัดน่าน เพื่อศึกษา “วิกฤตจากเขาหัวโล้น..สู่ป่ายั่งยืน” 

วันแรก ที่ลานวัดอรัญญาวาส จัดเสวนาแลกเปลี่ยนความรู้ “ฮักเมืองน่าน” พลังจากศรัทธาและปัญญาท้องถิ่น โดยมี พระครูพิทักษ์นันทคุณ เจ้าอาวาสวัดอรัญญาวาส ซึ่งเป็นแกนนำที่ได้รวมกลุ่มเครือข่าย ในชื่อกลุ่ม “ฮักเมืองน่าน” เป็นกลุ่มองค์กรท้องถิ่นเมืองน่าน ที่สร้างกิจกรรมเพื่อการจัดการตนเองอย่างเข้มแข็งทั้งในด้านสังคม วัฒนธรรมและสภาพแวดล้อม โดยมีกลุ่มลูกหลานชาวบ้าน องค์กรพัฒนาเอกชน ข้าราชการในท้องถิ่น และหน่วยงานราชการที่สนใจในเรื่องทรัพยากรธรรมชาติ หลังพบความเสื่อมโทรมที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในระยะสามสิบปีที่ผ่านมา พื้นที่ดงดอยที่เคยเป็นป่าและแหล่งอาหาร ไม้ใหญ่ไม้เล็กถูกโค่นลง ป่าถูกถางจนเตียน จึงเกิดความคิดอยากจะฟื้นฟูจิตสำนึกชาวบ้านและฟื้นฟูสภาพป่า เริ่มต้นจากการจัดพิธีบวชป่าสืบชะตาแม่น้ำขึ้น ที่ป่าชุมชนบ้านกิ่วม่วง อำเภอสันติสุข เป็นครั้งแรกในจังหวัดน่าน 

สำหรับเครือข่าย “ฮักเมืองน่าน” มีต้นกำเนิดที่วัด มีสมาชิกเป็นพระ เณร ครู หมอ ข้าราชการ นักพัฒนา ผู้นำชุมชน บุคคลทั่วไป แล้วขยายตัวไปทั่วทั้งจังหวัดน่าน เกิดความร่วมมือกันโดยเฉพาะเรื่องการรักษาป่า ก่อนจะมาเป็น “มูลนิธิฮักเมืองน่าน” ในภายหลัง มีอาสาสมัครเข้ามาร่วมทำงานอย่างต่อเนื่อง และได้รับความสนใจจากองค์กรต่างๆ มาเยี่ยมชมกิจกรรม โดยมี “ศูนย์การเรียนรู้โจ้โก้” ที่พัฒนาทักษะการเกษตรเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็นการส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืน เป็นศูนย์การทำงานของอาสาสมัครมูลนิธิฮักเมืองน่าน ที่สนับสนุนการเรียนรู้ของเครือข่ายครอบครัวชาวนา ที่เก็บรวบรวมพันธุ์ข้าว ผัก พื้นเมือง มีการผสมข้าวและคัดเลือกพันธุ์ข้าวที่เหมาะสม

วันที่สอง ศึกษาเรียนรู้ “น้ำพางโมเดล” บทพิสูจน์ความยั่งยืนจากมือประชาชน เป็นโครงการนำร่องเพิ่มสิทธิของเกษตรกร เป็นชุมชนที่มีการบริหารจัดการในการใช้พื้นที่สีเขียว การทำเกษตรเชิงนิเวศ การแก้ไขปัญหาเขาหัวโล้น จากเกษตรกรที่เคยปลูกข้าวโพด จนส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ ได้กลับมาร่วมใจดูแลป่าธรรมชาติที่หมดสภาพให้กลับมาเป็นผืนป่าที่อุดมสมบูรณ์

“น้ำพางโมเดล” นำหลัก 4 ประการมาจัดการคือ  “มีกิน” เพิ่มความมั่นคงทางด้านอาหาร “มีใช้” เพิ่มรายได้พัฒนาเศรษฐกิจที่มั้นคงในระยะยาว “มีสิ่งแวดล้อมที่ดี” เพิ่มพื้นที่สีเขียว และ ”มีกฏหมายและนโยบายที่เป็นธรรม” สอดคล้องกับวิถีวัฒนธรรมภูมินิเวศและรูปแบบการผลิตที่ยั่งยืน

นักศึกษา 4ส12 นำกระเช้าเข้าอวยพร 'เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า' เนื่องในโอกาสเทศกาลปีใหม่ 

นางวราภรณ์ ศรีธัญญาภรณ์ ประธาน 4ส12 พร้อมด้วยคณะกรรมการ นักศึกษา หลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูงการเสริมสร้างสังคมสันติสุข รุ่นที่ 12 สถาบันพระปกเกล้า นำกระเช้าของขวัญ เข้ามอบและอวยพร ศาสตราจารย์วุฒิสาร ตันไชย เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า นายวิทวัส ชัยภาคภูมิ รองเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า รศ.ดร.อรทัย ก๊กผล รองเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า นายศุภณัฐ เพิ่มพูนวิวัฒน์  ผอ.สำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล และพลเอก เอกชัย ศรีวิลาศ เนื่องในเทศกาลปีใหม่ 2565 

นักศึกษา 4ส. รุ่นที่ 12 ‘สถาบันพระปกเกล้า’ ลุยภาคอีสาน!! ‘ถอดบทเรียนเมืองขอนแก่น’ สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน - ศึกษาภูมิปัญญากลุ่มหัตถกรรมคุ้มสุขโขผ่านเส้นทางผ้าไหม

นายวิทวัส ชัยภาคภูมิ รองเลขาธิการ สถาบันพระปกเกล้า นายศุภณัฐ เพิ่มพูนวิวัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล พร้อมคณาจารย์ และนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูงการเสริมสร้างสังคมสันติสุข รุ่นที่ 12 (4ส12) ศึกษาดูงานพื้นที่จังหวัดขอนแก่น

>> จุดแรกที่ห้องออร์คิด บอลรูม 3 โรงแรมพูลแมน ขอนแก่น กับเวทีแลกเปลี่ยนประเด็นการบริหารจัดการเมืองอย่างยั่งยืน ถอดบทเรียน “Khon Kaen Smart City and Low Carbon City”  โดยนายธีระศักดิ์ ฑีฆายุพันธุ์ นายกเทศมนตรีนครขอนแก่น พร้อมผู้เกี่ยวข้อง อธิบายถึงโครงการขนส่งมวลชนรางเบา (LRT)  ของบริษัท ขอนแก่น ทรานซิท ซิสเต็ม จำกัด วิสาหกิจของ 5 เทศบาลในจังหวัดขอนแก่น ที่เป็นการพัฒนาด้านคมนาคมเพื่อรองรับการขยายตัวด้านการจราจรของเมือง

จังหวัดขอนแก่น มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 4 ของประเทศ อีกทั้งยังอยู่ตรงกลางของภาคอีสาน จึงเป็นเมืองศูนย์กลางของการพัฒนาในหลากหลายด้าน การที่เมืองขอนแก่นเติบโตอย่างรวดเร็ว ย่อมทำให้มีปัญหาอื่น ๆ ตามมา ทั้งปัญหามลพิษ ความเหลื่อมล้ำในสังคม โดยเฉพาะปัญหาด้านระบบขนส่งมวลชน และช่องว่างของรายได้ของประชากร ลำพังเพียงงบประมาณจากภาครัฐมักเป็นการกระจายงบแบบรวมศูนย์ ไม่เพียงพอสำหรับการแก้ไขปัญหาได้

ปี 2556 นักธุรกิจในจังหวัดขอนแก่น ได้รวมกลุ่มกันเพื่อจัดตั้ง บริษัท ขอนแก่นพัฒนาเมือง จำกัด (Khon Kaen Think Thank - KKTT) โดยมีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาเมืองขอนแก่นให้เติบโตอย่างมีศักยภาพ โดยระดมทุนร่วมกันจำนวน 200 ล้านบาท ก่อตั้งกองทุนพัฒนาเมือง บริหารเงินกองทุนโดย บริษัท ขอนแก่นพัฒนาเมือง จำกัด ในการขับเคลื่อนพัฒนา ระบบขนส่งมวลชนทางราง (Light Rail Transit system – LRT) ได้รับเงินสนับสนุนในการทำการศึกษาระบบรางที่เหมาะสมโดย สนข. และเกิดเป็นแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนของจังหวัดขอนแก่นขึ้นมา จำนวน 5 สาย พาดผ่านพื้นที่ 5 เขตเทศบาล

โดยรัฐบาลลงนามอนุมัติให้จัดทำ สายท่าพระ-สำราญ เป็นเส้นทางแรกเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2558 ต่อมาเดือนมีนาคม 2560 กระทรวงมหาดไทยอนุมัติให้ 5 เทศบาลในจังหวัดขอนแก่น จดทะเบียนจัดตั้ง บริษัท ขอนแก่นทรานซิสเต็ม จำกัด (KKTS) เพื่อบริการจัดการและจัดเก็บรายได้ระบบขนส่งมวลชนสาธารณะ

ขอนแก่น Smart City มาตรฐานสากลนั้นประกอบไปด้วย 6 สาขา ได้แก่ Smart Mobility, Smart Living, Smart Citizen, Smart Economy, Smart Environment และ Smart Governance เป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและเทคโนโลยีเพื่อให้เกิดความสะดวกสบายมากขึ้น และประชากรสามารถเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียม 

>> จุดที่สอง รับฟังการบรรยายถึงกระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน จ.ขอนแก่น (บ้านโฮมแสนสุข) เป็น ‘ศูนย์ตั้งหลักชีวิต’ ช่วยลดความเหลื่อมล้ำของสังคม และการสร้างโอกาสการเข้าถึงบริการของรัฐ  เพื่อให้เป็นสังคมที่ไม่ทอดทิ้งกันหรือไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ซึ่งในอนาคตศูนย์แห่งนี้จะเป็นที่ตั้งหลักของชีวิต พัฒนายกระดับคุณภาพชีวิตของคนไร้บ้านผ่านการทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นด้านความเป็นอยู่ ด้านกลุ่มอาชีพ ด้านสวัสดิการ การดูแลซึ่งกันและกัน เพื่อให้กลุ่มคนไร้บ้านมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

>> จุดที่สาม ลงพื้นที่ศึกษากลุ่มหัตถกรรมคุ้มสุขโข บ้านดอนข่า อ.ชนบท เรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นแบบยั่งยืนและความเข้มแข็งของชุมชนผ่านเส้นทางผ้าไหม” ซึ่งจุดเด่นกลุ่มหัตถกรรมคุ้มสุขโข ของผ้าไหมมัดหมี่ย้อมสี ธรรมชาติด้วยน้ำจุลุลินทรีย์ เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านมาตรฐาน เป็นสากล สร้างชุมชนให้ยั่งยืน เป็นการยกระดับความสามารถด้านการผลิต นวัตกรรม การเชื่อมโยง และพัฒนาการต่อยอดธุรกิจให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน รวมทั้งทำให้ชุมชนได้สร้างงาน สร้างผลิตภัณฑ์ เพื่อตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยว

 

สถาบันพระปกเกล้า เปิดแพลตฟอร์มสื่อสารข้อมูลการเลือกตั้งกรุงเทพมหานคร เพื่อนำเสนอข้อมูลและส่งเสริมการเรียนรู้ทางการเมืองและประชาธิปไตย 

สำนักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย สถาบันพระปกเกล้า จัดสัมมนา “แพลตฟอร์มสื่อสารข้อมูลการเลือกตั้งกรุงเทพมหานคร” (BKK Follow-up) เพื่อสร้างนวัตกรรมการนำเสนอข้อมูลและส่งเสริมการเรียนรู้ทางการเมืองและประชาธิปไตย ข้อมูลการเลือกตั้งท้องถิ่นในกรุงเทพมหานคร สภากรุงเทพมหานคร เพื่อจัดทำฐานข้อมูลผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล

ศาสตราจารย์วุฒิสาร ตันไชย เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า กล่าวเปิดงานสัมมนา ความสำคัญตอนหนึ่งว่า สถาบันพระปกเกล้า ตระหนักถึงความสำคัญของการเลือกตั้งท้องถิ่น โดยเฉพาะการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร แพลตฟอร์ม (BKK Follow-up) เป็นการนำเสนอข้อมูลพื้นฐานที่เกี่ยวกับโครงสร้าง อำนาจหน้าที่ และงบประมาณ และรวมถึงสถานการณ์ต่างๆ ในช่วง 8 ปีที่ผ่านมาของกรุงเทพมหานคร ทำให้เข้าใจง่ายและเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ เป็นฐานข้อมูลที่มีประโยชน์ของกรุงเทพมหานคร เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้เข้ามาศึกษาหาข้อมูลสำหรับเป็นความรู้เบื้องต้นและผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 

โดยในงานสัมมนา เป็นการนำเสนอเรื่อง “Explore Map … สถานการณ์งบประมาณในรอบ 8 ปีที่ผ่านมาของกทม.   BKK-Follow-up” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เกี่ยวกับสถานการณ์และบริบทด้านสิ่งแวดล้อม การเมืองท้องถิ่น ปัจจัยต่างๆที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจเลือกผู้ว่ากทม.ทั้งในส่วนผู้สมัครที่สังกัดพรรคการเมือง และผู้สมัครอิสระ

รวมถึงการวิเคราะห์และให้ข้อเสนอแนะ “แพลตฟอร์มสื่อสารข้อมูลการเลือกตั้ง กทม. BKK-Follow-up สู่เตรียมพร้อมการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.อรทัย ก๊กผล รองเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้าดร.สติธร ธนานิธิโชติ ผอ.สำนักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย สถาบันพระปกเกล้า และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทวิดา กมลเวชช คณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

สถาบันพระปกเกล้า ระดมสมอง จัดระเบียบการค้าออนไลน์ มุ่งปกป้อง สร้างภูมิคุ้มกัน เยียวยาผู้บริโภค

วันที่ 17 สิงหาคม ที่ห้องประชุมสัตมรามาธิราช สถาบันพระปกเกล้า นายถนัด มานะพันธุ์นิยม เลขานุการ คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนฯ และรองประธานคณะอนุกรรมาธิการด้านการคุ้มครองผู้บริโภค คนที่หนึ่ง กล่าวเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ การจัดระเบียบการค้าออนไลน์ :ความท้าทายในยุค Digital โดยกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา ร่วมกับ สถาบันพระปกเกล้า

ภายในกิจกรรม ผู้เข้าร่วมประชุมได้รับฟังการบรรยาย เรื่อง การจัดระเบียบการค้าออนไลน์ : ความท้าทายในยุค Digital โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิยะบุตร บุญอร่ามเรือง อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พร้อมทั้งผู้เข้าร่วมการประชุม ได้ระดมความคิดเห็นเชิงปฏิบัติการ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ระดมความเห็นใน 3 ประเด็นสำคัญ

1. การเสริมสร้างกลไก มาตรการ และแรงจูงใจให้ผู้ประกอบการค้าจดทะเบียนพาณิชย์

2. แนวทางการบูรณาการความร่วมมือเพื่อปกป้องคุ้มครอง และเยียวยาช่วยเหลือผู้บริโภคจากการซื้อสินค้าออนไลน์

และ3. การสร้างการรับรู้ ความเชื่อมั่นและเสริมภูมิคุ้มกันให้ประชาชนเกี่ยวกับการค้าออนไลน์

'วปอ. - สถาบันพระปกเกล้า' มอบเงินฟุตบอลประเพณี 'รักเมืองไทย' เพื่อสนับสนุนในการขับเคลื่อนภารกิจสภากาชาดไทย

วันที่ 15 กันยายน ที่อาคารเทิดพระเกียรติสมเด็จพระญาณสังวร สภากาชาดไทย นายเตช บุนนาค เลขาธิการสภากาชาดไทย รับมอบเงินจำนวน 150,000 บาท จาก พลโท อภิชาติ ไชยะดา ประธานนักศึกษาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 65 , พล.อ.ราชรักษ์ เรียนพืชน์ อดีตกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 , ดร.ดํารง ประทีป ณ ถลาง ผู้แทนหลักสูตรการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยสําหรับนักบริหารระดับสูง (ปปร.) รุ่น 26 เเละนายสมชาย จรรยา ผู้แทนหลักสูตรการเสริมสร้างสังคมสันติสุข (4 ส.) สถาบันพระปกเกล้า จากการจัดกิจกรรมแข่งขันฟุตบอลประเพณี “รักเมืองไทย” ระหว่างศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันของวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรฯ และสถาบันพระปกเกล้า เพื่อใช้ในการดำเนินภารกิจของสภากาชาดไทย ด้านการบริการทางการแพทย์และสุขภาพอนามัย การบรรเทาทุกข์ผู้ประสบภัย การบริการโลหิต และการส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่มุ่งหวังให้ประชาชนผู้ยากไร้ ผู้ด้อยโอกาส มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยมีนายกฤษฎา บุญราช ผู้ช่วยเลขาธิการสภากาชาดไทย เเละ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารกิจการเหล่ากาชาด สภากาชาดไทย ร่วมพิธีรับมอบในครั้งนี้ 

นายเตช บุนนาค เลขาธิการสภากาชาดไทย กล่าวว่า ปัจจุบันงบประมาณด้านการบริการทางการแพทย์และสุขภาพอนามัยยังไม่เพียงพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์ที่มีพัฒการทางด้านเทคโนโลยีซึ่งมีราคาสูง หากจัดซื้อมาได้จะสามารถช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข

จึงขอเชิญชวนผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคสนับสนุนในโครงการต่างๆ ตามภารกิจของสภากาชาดไทย

ด้าน ดร.ดำรง ประทีป ณ ถลาง กล่าวว่า เงินที่นำมามอบผ่านสภากาชาดไทย เพื่อนำไปช่วยเหลือคนในชาติด้านสาธารณสุข นั้น เป็นการระดมทุนรับบริจาคจากศิษย์เก่าและปัจจุบัน ของสถาบันพระปกเกล้า เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อสาธารณะ ซึ่งกิจกรรมการแข่งขันฟุตบอลประเพณี “รักเมืองไทย” สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี นำมาซึ่งประเพณีที่ดีงาม สร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน สร้างความปรองดองสมานฉันท์ ความรัก ความสามัคคีในทุกภาคส่วน

'อดีตบิ๊กข่าวกรอง' ข้องใจ!! สถาบันพระปกเกล้าคิดอะไร? กล้าเอา 'ธนาธร' ไปบรรยายให้นักศึกษาของสถาบันฯ

(28 ก.ย.66) นายนันทิวัฒน์ สามารถ อดีตรองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก 'Nantiwat Samart' ระบุว่า...

สถาบันพระปกเกล้าต้องชี้แจง

สถาบันพระปกเกล้าคิดอะไร ถึงกล้าเอาคนอย่างนายธนาธร ไปบรรยายให้นักศึกษาของสถาบันฯ

พระนามพระปกเกล้า ซึ่งเป็นชื่อของสถาบัน ไม่มีความหมายในสายตาผู้บริหารฯ เลยหรือ ทุกคนในประเทศนี้...รู้กันดีว่านายธนาธร คิดอย่างไรต่อสถาบันพระมหากษัตริย์

ธนาธรเปลือยตัวตนชัดเจน ต้องการปฏิรูปสถาบัน แต่ทำไมผู้บริหารสถาบันพระปกเกล้า จึงเปิดเวทีให้คนอย่างนี้

อยากฟังคำชี้แจงจากพระปกเกล้า

‘อัษฎางค์’ ชำแหละ!! ‘ข้อบิดเบือน-ดิสเครดิตชาติไทย’ โดย ‘ธนาธร’ ย้อนถาม ‘สถาบันพระปกเกล้า’ ใครเชิญคนแบบนี้มาเป็นวิทยากร

(28 ก.ย. 66) ‘เอ็ดดี้ อัษฎางค์ ยมนาค’ ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ระบุว่า…

‘สถาบันพระปกเกล้า’ กำลังเล่นอะไรกับ ‘ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ’ ประธานคณะก้าวหน้า ได้รับเชิญเป็นวิทยากรบรรยายหลักสูตรการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย สำหรับนักบริหารระดับสูง รุ่นที่ 27 (ปปร.27) โดยสถาบันพระปกเกล้า ภายใต้โจทย์ ‘การเมืองใหม่ในโลกปัจจุบัน’

คำถามคือ ใครในสถาบันพระปกเกล้าเป็นผู้เชิญธนาธรมาเป็นวิทยากรอบรมนักบริหารระดับสูง? ทั้งที่คนทั้งชาติทราบว่าธนาธรสนับสนุนให้มีการยกเลิก ม.112 และ ม.116 (ที่มา : https://www.thaipost.net/x-cite-news/307412/)

ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญเคยพิจารณา ข้อเรียกร้องของผู้ชุมนุมที่ ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ที่เสนอให้แก้ไขหรือยกเลิกกฎหมายดังกล่าว เป็นภัยต่อความมั่นคงอันนำไปสู่ล้มล้างการปกครองได้

ทั้งที่สถาบันพระปกเกล้า เป็นสถาบันวิชาการชั้นนำด้านการพัฒนาประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ธรรมาภิบาล และสันติวิธี มุ่งนำความรู้สู่สังคม เพื่อประโยชน์ส่วนรวม

ธนาธรบรรยายที่สถาบันพระปกเกล้า ด้วยการยกผลงานของก้าวไกลถือเป็นการมาหาเสียหรือไม่ นอกจากนี้ยังให้ข้อมูลที่ไม่ตรงกับสถานการณ์จริงหรือข้อมูลที่แสดงถึงความไม่เข้าใจสถานการณ์จริงในปัจจุบัน (ข้อมูลจาก https://thestandard.co/thanathorn-26092023/)

ธนาธร กล่าวหาว่า การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่ำกว่าอัตราเฉลี่ยของโลกหลายปีติดต่อกัน (ข้อมูลจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา https://www.krungsri.com/…/industry-outlook-2023-2025) ระบุว่า เศรษฐกิจโลกปี 2566-2568 ประเทศแกนหลักมีแนวโน้มชะลอตัว ท่ามกลางกระแส ‘Deglobalization’ หรือ ‘การทวนกระแสโลกาภิวัตน์’ เมื่อโลกไม่อภิวัฒน์ กันแบบเดิม โลกาภิวัตน์กำลังเปลี่ยนโฉมไปหลังจากสงครามการค้าระหว่างสองประเทศมหาอำนาจใหญ่ คือ สหรัฐอเมริกาและจีน ที่แสดงท่าทีล่าสุดออกมาชัดเจนว่า ต่างตั้งเป้าจะเป็นประเทศมหาอำนาจผู้นำของโลก และมีเจตนาจะแข่งขันกันจริงจังขึ้นอีกในระยะข้างหน้า เมื่อกระแสโลกาภิวัตน์กำลังจะเปลี่ยนภาพไปจากเดิม

‘Deglobalization’ หรือ ‘การทวนกระแสโลกาภิวัตน์’ คือ ‘โลกาภิวัตน์บนเงื่อนไขความเป็นมิตร’ การเชื่อมโยงการค้าการลงทุนระหว่างประเทศจะยังเดินหน้าไปได้ แต่จะไม่เน้นประสิทธิภาพสูงสุดของห่วงโซ่การผลิตเช่นเดิมแล้ว จะกลายเป็นเชื่อมโยงกับกลุ่มมิตรประเทศเท่านั้น
ธนาธรเข้าใจเรื่องดังกล่าวนี้หรือไม่? มากน้อยแค่ไหน? จึงออกมาโจมตีว่าประเทศไทยมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจต่ำกว่าอัตราเฉลี่ยโลกจริงหรือไม่?

อัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจโลก จะอยู่ที่ 2.7% ในปี 2566 และจะเพิ่มขึ้นเป็น 3.0% ในปี 2567-2568 ในขณะที่เศรษฐกิจไทยคาดว่าจะขยายตัวเฉลี่ย 3.5% ต่อปีในช่วงปี 2566-2568 ดังนั้น การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยต่ำกว่าอัตราเฉลี่ยของโลกตรงไหน?

มาดูรายละเอียดตรงนี้กัน

เศรษฐกิจโลกในระยะ 3 ปีข้างหน้ามีแนวโน้มเติบโตชะลอลงจาก 3.2% ในปี 2565 สู่ 2.7% ในปี 2566 ก่อนจะกระเตื้องขึ้นเล็กน้อยสู่ราว 3.0% ในปี 2567-2568 แม้ว่าผลเชิงลบจากโรค COVID-19 จะคลี่คลายลงแต่หลายปัจจัยยังคงกดดันเศรษฐกิจโดยเฉพาะประเด็นสงครามรัสเซีย-ยูเครนที่นำไปสู่มาตรการคว่ำบาตรทางการค้าและวิกฤตพลังงานที่มีแนวโน้มยืดเยื้อ การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน รวมถึงการแบ่งขั้วทางเศรษฐกิจซึ่งนำโดยสหรัฐฯ และจีน จะส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานโลก และอาจทำให้การทวนกระแสโลกาภิวัตน์ (Deglobalization) เข้มข้นขึ้น

เศรษฐกิจสหรัฐฯ มีแนวโน้มเติบโตต่ำในปี 2566-68 โดยคาดว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจจะชะลอลงจาก 1.6% ในปี 2565 เหลือ 1.0% ในปี 2566 และ 1.2% ในปี 2567 ก่อนจะกระเตื้องขึ้นสู่ 1.8% ในปี 2568

เศรษฐกิจของยุโรปจะเผชิญวิกฤตพลังงานที่รุนแรงและยืดเยื้อนาน โดยคาดว่าในช่วงปี 2566-2568 เศรษฐกิจจะขยายตัวเฉลี่ยเพียง 1.4% ต่อปี ชะลอลงแรงจากที่ขยายตัว 3.1% ในปี 2565 ผลพวงจากสงครามรัสเซีย-ยูเครนโดยเฉพาะปัญหาการขาดแคลนพลังงานที่เข้าขั้นวิกฤต

เศรษฐกิจญี่ปุ่นยังเติบโตต่ำจากปัจจัยเชิงโครงสร้างที่จำกัดการเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยคาดว่าขยายตัวเฉลี่ย 1.3% ต่อปีในช่วงปี 2566-2568 จาก 1.7% ในปี 2565 เศรษฐกิจจีนคาดว่าจะขยายตัวเฉลี่ย 5.4% ต่อปี ชะลอลงจาก 8.0% ในปี 2564

เศรษฐกิจจีน มีแนวโน้มเผชิญหลายปัจจัยกดดันให้การเติบโตต่ำกว่าช่วงก่อนการระบาดของ COVID-19 แม้เศรษฐกิจอาจปรับดีขึ้นจาก 3.2% ในปี 2565 สู่เฉลี่ย 4.5% ต่อปีในช่วงปี 2566-2568 แต่คาดว่าจะต่ำกว่า 6-7%

เศรษฐกิจไทย คาดว่าจะขยายตัวเฉลี่ย 3.5% ต่อปีในช่วงปี 2566-2568 ปรับตัวดีขึ้นจากที่เติบโต 3.2% ในปี 2565

ธนาธร กล่าวหาว่า ประเทศไทยติดอยู่ใน 5 อันดับแรกของประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำที่สุด

ความจริงคือ ความเหลื่อมล้ำของไทยเคยติด TOP 5 โดยอยู่ในอันดับที่ 4 ประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำด้านความมั่งคั่งมากที่สุดในโลก จากข้อมูล Gini Wealth Index ปี 2018 ของ เครดิต สวิส (Credit Suisse) แต่อันดับของ Gini Wealth Index ในปี 2021 ไทยมีอันดับที่ดีขึ้นแบบก้าวกระโดด คือก้าวจาก อันดับ 4 มาอยู่ที่อันดับ 97 ของประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำมากที่สุด (ที่มา: https://theactive.net/data/inequality-index-truth/)

คุณไปอยู่ไหนมาธนาธร คุณยังหลงหรือจมปลักอยู่ที่ปี 2018 หรือ พ.ศ.2561 หรือ?

คุณจะบริหารประเทศด้วยข้อมูลที่ล้าหลังขนาดนั้นเลยหรือ แล้วประเทศจะเป็นอย่างไร?

สถาบันพระปกเกล้า ปล่อยให้คุณธนาธรเอาข้อมูลเก่าตกยุคไปอบรมข้าราชการที่เป็นนักบริหารระดับสูงแบบนี้ แล้วผลลัพธ์จะเป็นอย่างไร?

คุณกล่าวว่า ปัญหาความเหลื่อมล้ำ ผูกพันอย่างแยกไม่ได้ กับอัตราการเกิดของประชากรที่ตกต่ำลง ซึ่งสวนทางกับอัตราการตายของประชากร ซึ่งจะทำให้ประชากรวัยทำงานมีแนวโน้มต้องทำงานหนักขึ้นเพียงเพื่อให้ประเทศไทยยังยืนที่เดิมในด้านผลิตภาพ และการดูแลประชากรผู้สูงอายุที่มีสัดส่วนเพิ่มมากขึ้น

นี่เป็นการหาเสียงของคุณกับประชากรวัยทำงาน ด้วยการสร้างภาพว่ารัฐบาลบริหารประเทศผิดพลาดจนทำให้ประชากรวัยทำงานต้องทำงานหาเงินเลี้ยงประชากรผู้สูงอายุหรือไม่?

ธนาธร กล่าวหาว่า การที่ประเทศไทยมีการเปลี่ยนรัฐธรรมนูญเฉลี่ยทุก 4.5 ปี แสดงให้เห็นว่าเรายังไม่มีฉันทามติร่วมกันว่าจะอยู่ร่วมกันภายใต้กติกาอย่างไร?

ขอยกตัวอย่าง รัฐธรรมนูญปี 60 ประชาชนได้ร่วมกันทำประชามติว่าให้อำนาจ สว. เลือกนายกรัฐมนตรีแต่พรรคก้าวไกลกลับไม่ยอมรับรัฐธรรมนูญและประชามตินี้ แต่กลับเสนอให้ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าพรรคก้าวไกลก็เป็นหนึ่งในตัวปัญหาที่ต้องการเปลี่ยนรัฐธรรมนูญเพราะไม่ยอมรับในฉันทามติร่วมกัน ว่าจะอยู่ร่วมกันภายใต้กติกาที่กำหนดหรือไม่?

สถาบันพระปกเกล้าเปิดสถานที่ให้ธนาธรมาให้ข้อมูลที่ไม่ตรงกับสถานการณ์จริงหรือไม่ตรงกับความเป็นจริงหรือไม่?

นอกจากนี้ ยังมีถ่อยในลักษณะการเสียงกับผู้บริหารระดับสูงหรือไม่? เช่น เรื่องระบบการคิดค่าน้ำประปาเป็นระบบไอโอที! หรือเรื่องความสำเร็จของพรรคก้าวไกล คือความสำเร็จของการเมืองแบบใหม่ที่เป็นไปได้! และเรื่องที่คณะก้าวหน้าได้ทำร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลายแห่ง เช่น การทำน้ำประปาที่ดื่มได้! ระบบการคิดค่าน้ำประปาเป็นระบบไอโอที!


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top