Tuesday, 2 July 2024
เอ็ดดี้อัษฎางค์

'อัษฎางค์ ' ฉะ 'ชัชชาติ' แก้น้ำท่วมแบบนี้ก็ได้เหรอ ไหนว่าศึกษามาถึง 2 ปีก่อนเลือกตั้ง

(18 ส.ค. 2565) นายอัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก "เอ็ดดี้ อัษฎางค์ ยมนาค" ว่า “ความสามารถพิเศษในแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ที่ถูกนำมาใช้แก้ปัญหาน้ำท่วมที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี ของท่านผู้ว่าฯชัชชาติ

ท่านผู้ว่าฯ : น้ำท่วมทุกปีมั้ย
ชาวบ้าน : ปี 54 กับปีนี้ครับ

ปี 54 คือปีที่ยิ่งลักษณ์เป็นนายกฯ และท่านผู้ว่าฯชัชชาติเป็นรัฐมนตรีในรัฐบาลยิ่งลักษณ์
ปีนี้ 65 ท่านชัชชาติเป็นผู้ว่าฯ กทม.

สถิตินี้ไม่ได้บ่งบอกว่า รัฐบาลยิ่งลักษณ์และตัวท่านผู้ว่าฯ ชัชชาติดวงซวย ที่มาบริหารราชการในปีที่มีน้ำเยอะ แต่สถิตินี้บ่งบอกว่า ท่านมีความพร้อมและมีความสามารถในการจัดการกับปัญหาเรื่องน้ำมากน้อยแค่ไหน

ชาวบ้านอีกคนถาม: ทำไมคราวนี้ ฝนตกแค่ 2 ชั่วโมง น้ำก็ท่วมแล้ว
ท่านผู้ว่าฯ : เป็นเพราะภาวะโลกร้อน

ภาวะโลกร้อนคืออะไร ? ภาวะโลกร้อน (Global warming) หมายถึงการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศใกล้พื้นผิวโลกและน้ำในมหาสมุทรตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20 และมีการคาดการณ์ว่าอุณหภูมิเฉลี่ยจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ภาวะโลกร้อน ไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้น แต่เริ่มมีการเฝ้าสังเกตมานับ 100 ปีแล้ว และเริ่มต้นศึกษาอย่างจริงจังโดยการสังเกตการณ์การเพิ่มอุณหภูมิโดยเฉลี่ยของโลกที่เกิดขึ้นตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 (ประมาณตั้งแต่ พ.ศ. 2490) ซึ่งผลจากการศึกษาพบว่าเกิดจากการ “เพิ่มความเข้มของแก๊สเรือนกระจก” ที่เกิดขึ้นโดยกิจกรรมของมนุษย์ที่เป็นผลในรูปของปรากฏการณ์เรือนกระจก

ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ มีหลายอย่าง หนึ่งในนั้นคือ การเปลี่ยนแปลงของหยาดน้ำฟ้าทั้งปริมาณและรูปแบบอาจทำให้เกิดน้ำท่วมและความแห้งแล้ง นอกจากนี้ยังเกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งความถี่และความรุนแรงของลมฟ้าอากาศสุดโต่ง

‘อัษฎางค์’ ติง!! อย่าเล่นของทำพิธีสาปแช่งใครเด็ดขาด ชี้!! มันจะเข้าตัว หากคนที่คิดเล่นงานนั้น มีบารมีสูงส่ง

(10 พ.ค.66) นายอัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ โพสต์ข้อความลงเฟซบุ๊ก ‘เอ็ดดี้ อัษฎางค์ ยมนาค’ ระบุว่า...

ตอนผมเป็นเด็ก ๆ มีผู้ใหญ่คนหนึ่ง ซึ่งผมเคยเห็นชีวิตเขารุ่งเรืองมาตลอด แต่ ณ เวลานั้นชีวิตเขาแย่มาก สภาพเขาก็แย่มาก ผมไม่รู้ว่าเกิดอะไรกับเขา ผมสงสัยแต่ไม่เคยถาม เพราะตัวเองก็ยังเด็ก

แต่อยู่มาวันหนึ่ง เขาคุยกับผม โดยบอกผมว่า เขา ‘เผาพริกเผาเกลือ’ สาปแช่งคู่อริคนหนึ่ง หลังจากนั้นชีวิตเขาก็พัง หน้าที่การงาน สุขภาพ ความรัก พังหมด

เขาย้ำกับผมว่า อย่าเล่นของทำพิธีสาปแช่งใครเด็ดขาด เพราะมันจะเข้าตัว

การกระทำของหนุ่มกู้ภัยคนนี้ อาจจะต้องถึงคราวที่ตัวเองจะเจอภัยเข้าแล้ว เพราะคนที่ตัวเองคิดจะเล่นงานนั้นมีบารมีสูงส่ง เป็นถึงอัครมหาเสนาบดี คนธรรมดาๆ คิดว่าการทำแบบนี้จะทำอะไรเขาได้หรือ

ผลของการกระทำในครั้งนี้ จะส่งผลให้ตัวได้หนุ่มคนนี้และพรรคที่หนุ่มกู้ภัยสนับสนุน เจอภัยย้อนกลับมาแน่นอน และมันกลับไปเพิ่มบารมีให้ลุงตู่

‘อัษฎางค์’ ชำแหละ!! ‘ข้อบิดเบือน-ดิสเครดิตชาติไทย’ โดย ‘ธนาธร’ ย้อนถาม ‘สถาบันพระปกเกล้า’ ใครเชิญคนแบบนี้มาเป็นวิทยากร

(28 ก.ย. 66) ‘เอ็ดดี้ อัษฎางค์ ยมนาค’ ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ระบุว่า…

‘สถาบันพระปกเกล้า’ กำลังเล่นอะไรกับ ‘ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ’ ประธานคณะก้าวหน้า ได้รับเชิญเป็นวิทยากรบรรยายหลักสูตรการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย สำหรับนักบริหารระดับสูง รุ่นที่ 27 (ปปร.27) โดยสถาบันพระปกเกล้า ภายใต้โจทย์ ‘การเมืองใหม่ในโลกปัจจุบัน’

คำถามคือ ใครในสถาบันพระปกเกล้าเป็นผู้เชิญธนาธรมาเป็นวิทยากรอบรมนักบริหารระดับสูง? ทั้งที่คนทั้งชาติทราบว่าธนาธรสนับสนุนให้มีการยกเลิก ม.112 และ ม.116 (ที่มา : https://www.thaipost.net/x-cite-news/307412/)

ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญเคยพิจารณา ข้อเรียกร้องของผู้ชุมนุมที่ ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ที่เสนอให้แก้ไขหรือยกเลิกกฎหมายดังกล่าว เป็นภัยต่อความมั่นคงอันนำไปสู่ล้มล้างการปกครองได้

ทั้งที่สถาบันพระปกเกล้า เป็นสถาบันวิชาการชั้นนำด้านการพัฒนาประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ธรรมาภิบาล และสันติวิธี มุ่งนำความรู้สู่สังคม เพื่อประโยชน์ส่วนรวม

ธนาธรบรรยายที่สถาบันพระปกเกล้า ด้วยการยกผลงานของก้าวไกลถือเป็นการมาหาเสียหรือไม่ นอกจากนี้ยังให้ข้อมูลที่ไม่ตรงกับสถานการณ์จริงหรือข้อมูลที่แสดงถึงความไม่เข้าใจสถานการณ์จริงในปัจจุบัน (ข้อมูลจาก https://thestandard.co/thanathorn-26092023/)

ธนาธร กล่าวหาว่า การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่ำกว่าอัตราเฉลี่ยของโลกหลายปีติดต่อกัน (ข้อมูลจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา https://www.krungsri.com/…/industry-outlook-2023-2025) ระบุว่า เศรษฐกิจโลกปี 2566-2568 ประเทศแกนหลักมีแนวโน้มชะลอตัว ท่ามกลางกระแส ‘Deglobalization’ หรือ ‘การทวนกระแสโลกาภิวัตน์’ เมื่อโลกไม่อภิวัฒน์ กันแบบเดิม โลกาภิวัตน์กำลังเปลี่ยนโฉมไปหลังจากสงครามการค้าระหว่างสองประเทศมหาอำนาจใหญ่ คือ สหรัฐอเมริกาและจีน ที่แสดงท่าทีล่าสุดออกมาชัดเจนว่า ต่างตั้งเป้าจะเป็นประเทศมหาอำนาจผู้นำของโลก และมีเจตนาจะแข่งขันกันจริงจังขึ้นอีกในระยะข้างหน้า เมื่อกระแสโลกาภิวัตน์กำลังจะเปลี่ยนภาพไปจากเดิม

‘Deglobalization’ หรือ ‘การทวนกระแสโลกาภิวัตน์’ คือ ‘โลกาภิวัตน์บนเงื่อนไขความเป็นมิตร’ การเชื่อมโยงการค้าการลงทุนระหว่างประเทศจะยังเดินหน้าไปได้ แต่จะไม่เน้นประสิทธิภาพสูงสุดของห่วงโซ่การผลิตเช่นเดิมแล้ว จะกลายเป็นเชื่อมโยงกับกลุ่มมิตรประเทศเท่านั้น
ธนาธรเข้าใจเรื่องดังกล่าวนี้หรือไม่? มากน้อยแค่ไหน? จึงออกมาโจมตีว่าประเทศไทยมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจต่ำกว่าอัตราเฉลี่ยโลกจริงหรือไม่?

อัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจโลก จะอยู่ที่ 2.7% ในปี 2566 และจะเพิ่มขึ้นเป็น 3.0% ในปี 2567-2568 ในขณะที่เศรษฐกิจไทยคาดว่าจะขยายตัวเฉลี่ย 3.5% ต่อปีในช่วงปี 2566-2568 ดังนั้น การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยต่ำกว่าอัตราเฉลี่ยของโลกตรงไหน?

มาดูรายละเอียดตรงนี้กัน

เศรษฐกิจโลกในระยะ 3 ปีข้างหน้ามีแนวโน้มเติบโตชะลอลงจาก 3.2% ในปี 2565 สู่ 2.7% ในปี 2566 ก่อนจะกระเตื้องขึ้นเล็กน้อยสู่ราว 3.0% ในปี 2567-2568 แม้ว่าผลเชิงลบจากโรค COVID-19 จะคลี่คลายลงแต่หลายปัจจัยยังคงกดดันเศรษฐกิจโดยเฉพาะประเด็นสงครามรัสเซีย-ยูเครนที่นำไปสู่มาตรการคว่ำบาตรทางการค้าและวิกฤตพลังงานที่มีแนวโน้มยืดเยื้อ การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน รวมถึงการแบ่งขั้วทางเศรษฐกิจซึ่งนำโดยสหรัฐฯ และจีน จะส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานโลก และอาจทำให้การทวนกระแสโลกาภิวัตน์ (Deglobalization) เข้มข้นขึ้น

เศรษฐกิจสหรัฐฯ มีแนวโน้มเติบโตต่ำในปี 2566-68 โดยคาดว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจจะชะลอลงจาก 1.6% ในปี 2565 เหลือ 1.0% ในปี 2566 และ 1.2% ในปี 2567 ก่อนจะกระเตื้องขึ้นสู่ 1.8% ในปี 2568

เศรษฐกิจของยุโรปจะเผชิญวิกฤตพลังงานที่รุนแรงและยืดเยื้อนาน โดยคาดว่าในช่วงปี 2566-2568 เศรษฐกิจจะขยายตัวเฉลี่ยเพียง 1.4% ต่อปี ชะลอลงแรงจากที่ขยายตัว 3.1% ในปี 2565 ผลพวงจากสงครามรัสเซีย-ยูเครนโดยเฉพาะปัญหาการขาดแคลนพลังงานที่เข้าขั้นวิกฤต

เศรษฐกิจญี่ปุ่นยังเติบโตต่ำจากปัจจัยเชิงโครงสร้างที่จำกัดการเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยคาดว่าขยายตัวเฉลี่ย 1.3% ต่อปีในช่วงปี 2566-2568 จาก 1.7% ในปี 2565 เศรษฐกิจจีนคาดว่าจะขยายตัวเฉลี่ย 5.4% ต่อปี ชะลอลงจาก 8.0% ในปี 2564

เศรษฐกิจจีน มีแนวโน้มเผชิญหลายปัจจัยกดดันให้การเติบโตต่ำกว่าช่วงก่อนการระบาดของ COVID-19 แม้เศรษฐกิจอาจปรับดีขึ้นจาก 3.2% ในปี 2565 สู่เฉลี่ย 4.5% ต่อปีในช่วงปี 2566-2568 แต่คาดว่าจะต่ำกว่า 6-7%

เศรษฐกิจไทย คาดว่าจะขยายตัวเฉลี่ย 3.5% ต่อปีในช่วงปี 2566-2568 ปรับตัวดีขึ้นจากที่เติบโต 3.2% ในปี 2565

ธนาธร กล่าวหาว่า ประเทศไทยติดอยู่ใน 5 อันดับแรกของประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำที่สุด

ความจริงคือ ความเหลื่อมล้ำของไทยเคยติด TOP 5 โดยอยู่ในอันดับที่ 4 ประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำด้านความมั่งคั่งมากที่สุดในโลก จากข้อมูล Gini Wealth Index ปี 2018 ของ เครดิต สวิส (Credit Suisse) แต่อันดับของ Gini Wealth Index ในปี 2021 ไทยมีอันดับที่ดีขึ้นแบบก้าวกระโดด คือก้าวจาก อันดับ 4 มาอยู่ที่อันดับ 97 ของประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำมากที่สุด (ที่มา: https://theactive.net/data/inequality-index-truth/)

คุณไปอยู่ไหนมาธนาธร คุณยังหลงหรือจมปลักอยู่ที่ปี 2018 หรือ พ.ศ.2561 หรือ?

คุณจะบริหารประเทศด้วยข้อมูลที่ล้าหลังขนาดนั้นเลยหรือ แล้วประเทศจะเป็นอย่างไร?

สถาบันพระปกเกล้า ปล่อยให้คุณธนาธรเอาข้อมูลเก่าตกยุคไปอบรมข้าราชการที่เป็นนักบริหารระดับสูงแบบนี้ แล้วผลลัพธ์จะเป็นอย่างไร?

คุณกล่าวว่า ปัญหาความเหลื่อมล้ำ ผูกพันอย่างแยกไม่ได้ กับอัตราการเกิดของประชากรที่ตกต่ำลง ซึ่งสวนทางกับอัตราการตายของประชากร ซึ่งจะทำให้ประชากรวัยทำงานมีแนวโน้มต้องทำงานหนักขึ้นเพียงเพื่อให้ประเทศไทยยังยืนที่เดิมในด้านผลิตภาพ และการดูแลประชากรผู้สูงอายุที่มีสัดส่วนเพิ่มมากขึ้น

นี่เป็นการหาเสียงของคุณกับประชากรวัยทำงาน ด้วยการสร้างภาพว่ารัฐบาลบริหารประเทศผิดพลาดจนทำให้ประชากรวัยทำงานต้องทำงานหาเงินเลี้ยงประชากรผู้สูงอายุหรือไม่?

ธนาธร กล่าวหาว่า การที่ประเทศไทยมีการเปลี่ยนรัฐธรรมนูญเฉลี่ยทุก 4.5 ปี แสดงให้เห็นว่าเรายังไม่มีฉันทามติร่วมกันว่าจะอยู่ร่วมกันภายใต้กติกาอย่างไร?

ขอยกตัวอย่าง รัฐธรรมนูญปี 60 ประชาชนได้ร่วมกันทำประชามติว่าให้อำนาจ สว. เลือกนายกรัฐมนตรีแต่พรรคก้าวไกลกลับไม่ยอมรับรัฐธรรมนูญและประชามตินี้ แต่กลับเสนอให้ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าพรรคก้าวไกลก็เป็นหนึ่งในตัวปัญหาที่ต้องการเปลี่ยนรัฐธรรมนูญเพราะไม่ยอมรับในฉันทามติร่วมกัน ว่าจะอยู่ร่วมกันภายใต้กติกาที่กำหนดหรือไม่?

สถาบันพระปกเกล้าเปิดสถานที่ให้ธนาธรมาให้ข้อมูลที่ไม่ตรงกับสถานการณ์จริงหรือไม่ตรงกับความเป็นจริงหรือไม่?

นอกจากนี้ ยังมีถ่อยในลักษณะการเสียงกับผู้บริหารระดับสูงหรือไม่? เช่น เรื่องระบบการคิดค่าน้ำประปาเป็นระบบไอโอที! หรือเรื่องความสำเร็จของพรรคก้าวไกล คือความสำเร็จของการเมืองแบบใหม่ที่เป็นไปได้! และเรื่องที่คณะก้าวหน้าได้ทำร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลายแห่ง เช่น การทำน้ำประปาที่ดื่มได้! ระบบการคิดค่าน้ำประปาเป็นระบบไอโอที!

‘เอ็ดดี้ อัษฎางค์’ โพสต์เฟซถึง ‘โม’ ที่ตามเทรนด์สามกีบ ไปอยู่ออสเตรเลีย เพื่อหนีลุงตู่ หลัง ‘ย้ายประเทศ’ ไปไม่สวยงาม โอด ‘ค่าครองชีพสูง-งานหายาก-มีแต่ความเครียด’

(1 มิ.ย.67) นายอัษฎางค์ ยมนาค หรือ ‘เอ็ดดี้’ นักวิชาการอิสระ ได้โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก เกี่ยวกับ ‘โม’ สาวไทยที่ตามเทรนด์ ย้ายประเทศไปอยู่ที่ ‘ออสเตรเลีย’ ตามกระแสคนรุ่นใหม่ที่อยากย้ายถิ่นฐานไปต่างประเทศ โดยเฉพาะในช่วงรัฐบาลของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จากการปลุกปั่นยุยงด้วยการบิดเบือนข้อเท็จจริงของ ‘ขบวนการสามกีบ’ ว่าเมืองไทยมีโครงสร้างทางสังคมและการปกครองที่มีปัญหาความเหลื่อมล้ำ การกดขี่ โดยได้ระบุว่า ...

ย้ายภพภูมิกันเถอะ

คนธรรมดามาอยู่ออสเตรเลียได้
แต่สามกีบ ไปอยู่ที่ไหนในโลกก็ไม่ได้
เพราะปัญหาไม่ได้อยู่ที่ประเทศ (ไทย, ออสเตรเลีย หรือประเทศอื่นๆ) แต่อยู่ที่ทัศนคติและความเป็นคนมีปัญหาของตนเอง

โม สาวไทยที่ตามเทรนด์ย้ายประเทศไปอยู่ออสเตรเลีย โอดครวญว่า ชีวิตลำบากด้วยค่าเช่าห้องขนาดเล็กเดือนละ 38,000 บาท และต้องแชร์ห้องพักกับรูมเมทคนอื่น 

ผมขออนุญาตไม่ได้จะโอ้อวดแต่อยากเล่าเป็นข้อมูลว่า สมัยก่อนตอนผมถือวีซ่านักเรียน ผมเคยเช่าบ้านเดือนละประมาณ 8 หมื่นบาท โดยไม่ได้หารค่าเช่าหรือให้ใครมาแชร์บ้านและค่าเช่าด้วย ก็ยังมีชีวิตอยู่ในออสเตรเลียมาได้กว่า 20 ปีจนถึงปัจจุบัน

ดังนั้น ปัญหาที่น้องโมเล่ามา เป็นประสบการณ์ที่ดีที่ช่วยเปิดหูเปิดตา เปิดเผยความจริงบางอย่างว่า กลุ่มคนรุ่นใหม่ที่โดนหลอกว่าเมืองไทยมีแต่ปัญหาจนต้องคิดย้ายประเทศนั้น เป็นเรื่องที่ถูกปลุกปั่นด้วยการบิดเบือนข้อเท็จจริง 

แต่การที่จะอยู่ที่ไหนไม่ได้ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอกเท่านั้น แต่ปัญหาใหญ่นั้นอยู่ที่ทัศนคติและลักษณะนิสัยของแต่ละคนเป็นหลัก คนที่คิดว่าชีวิตมีแต่ปัญหาอยู่ที่ไหนก็มีแต่ปัญหา และอยู่ที่ไหนก็อยู่ไม่ได้

เทรนด์ ‘ย้ายประเทศกันเถอะ’ เคยสร้างกระแสคนรุ่นใหม่อยากย้ายถิ่นฐานไปต่างประเทศ (โดยเฉพาะในช่วงรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา) จากการปลุกปั่นยุยงด้วยการบิดเบือนข้อเท็จจริงของขบวนการสามกีบ ว่าเมืองไทยมีโครงสร้างทางสังคมและการปกครองที่มีปัญหาความเหลื่อมล้ำ การกดขี่

Spring News รายงานว่า ‘โม’ พนักงานในองค์กรเอกชนเพื่อสาธารณประโยชน์ (NGO) คือหนึ่งในคนที่ต้องการย้ายประเทศ และได้ย้ายไปออสเตรเลีย ด้วยวีซ่า Work and Holiday ในปี 2566

ออสเตรเลียในจินตนาของเธอนั้นเป็นประเทศแห่งโอกาส ใครๆ ก็สามารถเติบโตในหน้าที่การงานได้ถ้าขวนขวาย ค่าแรงขั้นต่ำของออสเตรเลียสูงที่สุดในโลก

เธอเล่าให้ SPRiNG ฟังถึงประสบการณ์ย้ายประเทศในมุมที่ไม่ได้สวยงามเหมือนที่หลายคนคิด

เมื่อไปอยู่ที่นั่น กลับต้องเจอกับอุปสรรคอื่นๆ ได้แก่ เรื่องวัฒนธรรมและความสัมพันธ์ที่คนที่โน่นจะมีกำแพงในการพัฒนาความสัมพันธ์ ส่วนใหญ่จะเป็นได้แค่คนรู้จัก (Acquaintance) แต่พัฒนาเป็นเพื่อนหรือแฟนได้ยาก

นอกจากนี้ค่าครองชีพก็สูง ราคาอาหารอย่างต่ำมื้อละ 400 บาท ค่าเช่าห้องขนาดเล็กเดือนละ 38,000 บาท และต้องแชร์ห้องพักกับรูมเมทคนอื่น 

ขณะเดียวกันการหางานในออสเตรเลียก็ยาก ประกอบกับค่าครองชีพที่สูงทำให้คนส่วนใหญ่ต้องมีงานมากกว่า 2 งานถึงจะอยู่รอด และสำหรับผู้อพยพ การได้งานประจำเป็นเรื่องยาก 

ยิ่งไปกว่านั้น การต่อวีซ่า ขอสถานะผู้พำนักถาวร และการขอสถานะพลเมืองก็มีเงื่อนไขที่ยากขึ้นกว่าอดีต เพราะพลเมืองในออสเตรเลียที่มากขึ้นจนทำให้ค่าครองชีพขึ้นสูง รัฐบาลจึงเพิ่มเงื่อนไขมากขึ้น

โม กล่าวว่า ออสเตรเลียเป็นประเทศน่าเที่ยว แต่ตอนนี้ถ้าให้ไปอยู่ใช้ชีวิต คงไม่เอา เพราะภาวะความเครียดเคยทำให้หลายคนอยากจบชีวิตตัวเองที่นั่น รวมทั้งตัวเธอด้วย


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top