Tuesday, 29 April 2025
ECONBIZ NEWS

โลตัส เตรียมแจก ‘วัคซีนพาสปอร์ต’ ให้กับประชาชนที่ได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 สนับสนุนให้คนไทยเข้ารับการฉีดวัคซีน ด้วยคูปองแลกสินค้าฟรีและส่วนลดรวมมูลค่ากว่า 400 ล้านบาท เริ่มแจก 1 กรกฎาคมนี้

นายสมพงษ์ รุ่งนิรัติศัย ประธานคณะผู้บริหารธุรกิจโลตัส ประเทศไทย กล่าวว่า ‘โลตัส สนับสนุนการฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้กับประชาชนอย่างทั่วถึงและเร่งด่วน โดยเราได้ร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สนับสนุนพื้นที่ภายในสาขาและสำนักงานใหญ่เพื่อเป็นจุดฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้กับประชาชน โดยในกรุงเทพมหานคร โลตัส มีจุดฉีดวัคซีนทั้งหมด 3 จุด คือ โลตัส พระราม 4, โลตัส มีนบุรี และโลตัส สำนักงานใหญ่ ถนนนวมินทร์ นอกจากนั้น ยังมีสาขาในต่างจังหวัดที่เริ่มเป็นจุดฉีดวัคซีนโควิด-19 แล้วเช่นกัน เพื่อเป็นการรณรงค์ให้ลูกค้าและประชาชนฉีดวัคซีนโควิด-19 เราได้จัดทำวัคซีนพาสปอร์ตจำนวน 100,000 เล่ม มอบคูปองแลกสินค้าฟรีและส่วนลดมูลค่ากว่า 4,000 บาทต่อเล่ม เพื่อเป็นการขอบคุณประชาชนที่ร่วมใจกันฉีดวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ โลตัส ขอบคุณคู่ค้าของเราที่ให้การสนับสนุนสินค้าและส่วนลดต่างๆ มากมาย’

วัคซีนพาสปอร์ต จะถูกกระจายไปยังไฮเปอร์มาร์เก็ตทั่วประเทศ โดยประชาชนที่ได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว (เข็มแรกหรือเข็มที่ 2 ก็ได้) จากจุดฉีดวัคซีนใดก็ได้ ไม่จำกัดว่าต้องเป็นจุดฉีดในสาขาของโลตัส สามารถนำหลักฐานมาแสดงที่จุดบริการลูกค้าเพื่อรับวัคซีนพาสปอร์ต และสามารถใช้คูปองต่างๆ ภายในวัคซีนพาสปอร์ต ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2564 จนถึง 30 กันยายน พ.ศ.2564 หรือตามเงื่อนไขที่กำหนด

คูปองแจกสินค้าฟรีและส่วนลดในวัคซีนพาสปอร์ต อาทิ รับฟรี ขนมปลาเส้นแน็คซ์แน็คซ์, เจลล้างมืออนามัยเดทตอล, หน้ากากผ้าแม็คยีนส์, สติ๊กเกอร์เติมลมไนโตรเจนที่ค็อกพิท และคูปองส่วนลด ลดทันที 100 บาท เมื่อซื้อสินค้าครบ 400 บาท ที่โลตัส, ซื้อบัตรฟู้ดคอร์ท 120 บาท ในราคา 100 บาท, ส่วนลด 50 บาท เมื่อซื้อสินค้าภายใต้แบรนด์ 3M, ส่วนลด 100 บาท เมื่อซื้อสินค้าครบ 500 บาท ที่โอเรียนทอล พริ้นเซส และคูปองส่วนลดสินค้าอื่นๆ อีกมากมายทั้งในซูเปอร์มาร์เก็ต และศูนย์การค้า

“โลตัส หวังว่าวัคซีนพาสปอร์ตจะเป็นอีกหนึ่งแรงในการช่วยให้ประเทศไทยสามารถเอาชนะวิกฤติครั้งนี้ไปได้ด้วยกัน ด้วยการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับประชาชน ลดความเสี่ยงในการติดและแพร่เชื้อโควิด-19 และลดความเสี่ยงจากการป่วยหรือเสียชีวิตจากโรคโควิด-19” นายสมพงษ์ กล่าว

 

ที่มา : https://www.naewna.com/lady/580465


โปรเด็ด! เทหมดตัว มาสด้า 2 และ นิสสันอัลเมร่า ทักเลย! ตอบไว! แอดเลย @TheShopsTimes

คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

‘ดร.พิสิฐ’ ชี้ การจัดสรรงบประมาณลงธนาคารรัฐต่างๆ ไม่คำนึงถึงการฟื้นฟูเศรษฐกิจจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยในยุคโควิด วอนสำนักงบฯ นำไปพิจารณาโอกาต่อไป

ในการประชุมของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2565 ของสภาผู้แทนราษฎร วันที่ 15 มิถุนายน 2564 ภายหลังจากการประชุมร่วมกับธนาคารของรัฐทั้ง 6 แห่ง ดร. พิสิฐ ลี้อาธรรม ในฐานะรองประธานกรรมาธิการได้ชี้ให้เห็นว่า การจัดสรรงบประมาณ 2565 ท่ามกลางวิกฤติเศรษฐกิจโควิด ยังไม่ได้คำนึงถึงผลสัมฤทธิ์ในการก่อให้เกิดการกระตุ้นธุรกรรมเศรษฐกิจจากธนาคารต่างๆ ของรัฐ จากตัวเลขที่สรุปในตาราง พบว่าธนาคารที่มีกำลังมาก คือทุนและสินทรัพย์มากซึ่งน่าจะมีความสามารถในการกระตุ้นเศรษฐกิจได้มาก กลับได้งบประมาณน้อย แต่ธนาคารของรัฐที่มีทุนน้อยและงบดุลน้อยกลับได้รับงบประมาณมากกว่า อย่างเช่น ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ที่สามารถจะช่วยภาคอสังหาริมทรัพย์ อีกทั้งมีความเชื่อมโยงกับการผลิตและการจ้างงานมาก กลับได้งบประมาณน้อย เป็นต้น ยกเว้น ธนาคารเพื่อการเกษตรฯ (ธกส.) ซึ่งเป็นธนาคารที่มีนโยบายช่วยเกษตรกรโดยตรง ดังนั้น ดร.พิสิฐ จึงขอฝากเป็นประเด็นให้สำนักงบประมาณได้นำไปประกอบการพิจารณาการจัดสรรงบประมาณในโอกาสต่อไป

“จุรินทร์” สั่งรื้อค่าบริการฟู้ด เดลิเวอรี่ ตั้งอนุฯ ทำราคาเหมาะสม

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พาณิชย์ เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้า (กกร.) ว่า ที่ประชุมเห็นชอบให้ตั้งคณะอนุกรรมการขึ้น 1 ชุด โดยมีอธิบดีกรมการค้าภายใน เป็นประธาน เพื่อพิจารณาโครงสร้างการจัดเก็บค่าส่วนแบ่งการขาย (จีพี) ใหม่ เพื่อให้ได้อัตราการจัดเก็บเหมาะสม หลังปัจจุบันแพลตฟอร์มสั่งอาหารออนไลน์ (ฟู้ด เดลิเวอรี่) ได้เรียกเก็บจากร้านอาหารในอัตรา 30-35% ของยอดขาย 

“คณะอนุกรรมการที่ตั้งขึ้น จะไปพิจารณาเรื่อง แพลตฟอร์มฟู้ดเดลิเวอรี่หรือแพลตฟอร์มให้บริการจำหน่ายอาหารผ่านระบบเดลิเวอรี่ ให้พิจารณาเรื่องค่าจีพี ค่าขนส่งหรือค่าใช้จ่ายอื่น เพื่อให้แพลตฟอร์มอยู่ได้และร้านอาหารและผู้บริโภคได้รับความเป็นธรรมยิ่งขึ้น พร้อมให้ไปหาจุดสมดุลของทั้ง 3 ฝ่าย คือ แพลตฟอร์มต้องทำธุรกิจต่อไปได้ ขณะที่ร้านอาหาร และผู้บริโภคที่สั่งอาหารผ่านแพลตฟอร์ม ต้องได้รับความเป็นธรรมต่อไป”  

นอกจากนี้ ยังมีมติให้ต่ออายุรายการสินค้าและบริการควบคุมปี 63 รวม 51 รายการ แบ่งเป็นสินค้า 46 รายการ และบริการอีก 5 รายการ อีก 1 ปี หรือตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค.64-30 มิ.ย.65 เพื่อให้กระทรวงพาณิชย์ ใช้มาตรการทางกฎหมายกำกับดูแลได้อย่างเหมาะสม และได้ปรับมาตรการดำเนินการสำหรับสินค้าและบริการควบคุมบางรายการให้เหมาะสมมากขึ้น โดยในสินค้า 4 รายการ คือ กากดีดีจีเอส (กากที่เหลือจากการผลิตเอทานอล) ข้าวสาลี ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และมันสำปะหลัง ที่กำหนดให้ต้องแจ้งขออนุญาตต่อ กกร.ก่อนการขนย้ายนั้น สามารถแจ้งขนย้ายผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ได้แล้ว   

ส่วนเหล็กเส้น กำหนดมาตรการเพิ่มเติมให้ผู้นำเข้าต้องแจ้งข้อมูลการนำเข้า ทั้งปริมาณการนำเข้า-จำหน่าย ปริมาณคงเหลือ เป็นประจำทุกเดือน เพราะขณะนี้ ราคาเหล็กในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นมาก ขณะที่เหล็กเคลือบดีบุกและเหล็กโครเมียม ที่ทำกระป๋องบรรจุอาหาร ผู้ผลิตต้องปรับมาตรฐานการผลิตให้สอดคล้องกับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) ใหม่ สำหรับบริการให้สิทธิในการเผยแพร่งานลิขสิทธิ์เพลงเพื่อการค้า กำหนดเพิ่มเติมให้เจ้าของลิขสิทธิ์ต้องแสดงรายละเอียดเพิ่มเติม 8 รายการ เช่น ชื่อผู้แต่งเนื้อร้องและทำนอง วันสิ้นสุดสัญญาอนุญาตให้จัดเก็บค่าตอบแทน เป็นต้น  

ศาลล้มละลายเห็นชอบเเผนฟื้นฟูการบินไทยฉบับเเก้ไข ตามมติของที่ประชุมเจ้าหนี้

ที่ศาลล้มละลายกลาง ถนนเเจ้งวัฒนะ ศาลนัดฟังคำสั่งชั้นพิจารณาให้ความเห็นชอบแผนฟื้นฟูกิจการในคดีฟื้นฟูกิจการของ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) คดีหมายเลขแดงที่ฟฟ 20/2563  คดีนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานว่าเมื่อวันที่19 พ.ค.64 ที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติพิเศษยอมรับแผนฟื้นฟูกิจการและแผนที่มีการแก้ไข ศาลกำหนดนัดพิจารณาแผนแล้วมีเจ้าหนี้ยื่นคำคัดค้านประกอบด้วยเจ้าหนี้รายที่ 11627,10320 และรายที่ 10341ยื่นคำคัดค้านว่าแผนฟื้นฟูกิจการไม่ชอบด้วยกฎหมาย

ศาลพิจารณาแผนคำคัดค้านรายงานผลประชุมเจ้าหนี้คำชี้แจงของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และผู้ทำแผนแล้วข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ดำเนินการจัดประชุมเจ้าหนี้โดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติพิเศษยอมรับแผนฟื้นฟูกิจการโดยถูกต้องตามมาตรา 90/46โดยแผนฟื้นฟูกิจการมีรายการครบถ้วนตามมาตรา 90/42 ทั้งลำดับและข้อเสนอการชำระหนี้ตามแผนฟื้นฟูกิจการได้กำหนดวิธีการชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ที่มีลักษณะเหมือนกันอย่างเท่าเทียมตามกฎหมายแม้การชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้บางกลุ่มจะแตกต่างกันอยู่บ้าง แต่ก็สืบเนื่องจากเจ้าหนี้แต่ละกลุ่มมีลักษณะสิทธิเรียกร้องที่ต่างกันและข้อกำหนดการชำระหนี้ดังกล่าวเป็นไปตามความจำเป็นในการประกอบธุรกิจของลูกหนี้ซึ่งไม่ขัดต่อมาตรา 90/42ตรี

ลำดับและข้อเสนอการชำระหนี้ตามแผนฟื้นฟูกิจการเป็นไปตามลำดับที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่าด้วยการแบ่งทรัพย์สินในคดีล้มละลายตามมาตรา 90/48(2) หากลูกหนี้สามารถดำเนินธุรกิจตามแผนลูกหนี้ย่อมมีรายได้จากการดำเนินกิจการสามารถชำระหนี้ได้แผนฟื้นฟูกิจการจึงแสดงให้เห็นโอกาสและแนวโน้มที่จะสำเร็จ

ประกอบกับเมื่อพิจารณาเปรียบเทียบหนี้ที่อาจขอรับชำระได้ในการฟื้นฟูกิจการแล้วเจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้ไม่น้อยกว่ากรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายตามหลักการในมาตรา 90/58(3) นอกจากนั้นเมื่อที่ประชุมเจ้าหนี้ได้ลงมติยอมรับแผนฟื้นฟูกิจการแสดงว่าบรรดาเจ้าหนี้ได้พิจารณาถึงคุณสมบัติความสามารถและความน่าเชื่อถือของผู้บริหารแผนแล้วว่ามีความเหมาะสมและการทำแผนเป็นไปโดยสุจริตไม่ต้องห้ามตามกฎหมาย ศาลจึงมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูกิจการและแผนที่มีการแก้ไขตามมติของที่ประชุมเจ้าหนี้

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ร่วมกับ PPP Plastics และ Alliance to End Plastic Waste (AEPW) จัดพิธีเปิดตัว “โครงการ ALL_Thailand เพื่อการจัดการพลาสติกอย่างยั่งยืน”

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ร่วมกับ PPP Plastics และ Alliance to End Plastic Waste (AEPW) จัดพิธีเปิดตัว “โครงการ ALL_Thailand เพื่อการจัดการพลาสติกอย่างยั่งยืน” โดยมีนายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ประธาน PPP Plastics และ มิสเตอร์เจค็อบ ดูเออร์ (Mr. Jacob Duer) ประธานบริหาร Alliance to End Plastic Waste (AEPW) ร่วมเป็นประธานในพิธี พร้อมผู้แทนจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และผู้บริหารจากหน่วยงานผู้สนับสนุนหลัก PPP Plastics ได้แก่ กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย, ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี, บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน), บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด และบริษัท สุเอซ เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) จำกัด

โครงการ ALL_Thailand มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาต้นแบบและนวัตกรรมในการนำพลาสติกที่ใช้งานแล้วกลับมาใช้ประโยชน์และป้องกันพลาสติกเหล่านั้นหลุดรอดไปสู่สิ่งแวดล้อม โดยเน้นการสร้างต้นแบบการจัดการตั้งแต่ต้นทางทั้งในระดับชุมชน ท้องถิ่น จนถึงระดับจังหวัด ในทุกไลฟ์สไตล์ ไปจนถึงระบบและนวัตกรรมที่จะช่วยนำพลาสติกเหล่านั้นกลับมาใช้ประโยชน์ตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเมื่อโครงการแล้วเสร็จภาครัฐสามารถนำไปขยายผลให้ครอบคลุมทั่วประเทศต่อไป สอดคล้องกับนโยบาย BCG ของทางภาครัฐและ Roadmap การจัดการขยะพลาสติกของประเทศไทย โดย ALL_Thailand ได้รับทุนสนับสนุนจาก AEPW เพื่อดำเนินงาน 3 โครงการย่อยในประเทศไทย ได้แก่ โครงการ Eco Digiclean Klongtoei (อีโคดิจิคลีนคลองเตย) โครงการ Rayong Less-Waste (ระยองลดขยะ) และโครงการ Paving Green Roads (เพฟวิ่งกรีนโรด) โดยมีระยะเวลาดำเนินงานรวมทั้งสิ้น 2 ปี

นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้ให้ความสำคัญกับการจัดการปัญหาขยะพลาสติกในประเทศไทยอย่างยั่งยืน จึงได้ร่วมมือกับกลุ่มพันธมิตร Alliance to End Plastic Waste (AEPW) และ PPP Plastics เพื่อดำเนินโครงการในครั้งนี้ ซึ่งจะทำให้เกิด Business Model ในการจัดการขยะ และสามารถนำไปขยายผล ในวงกว้าง เป็นประโยชน์ต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจของประเทศไทย ทั้งนี้ สภาอุตสาหกรรมฯ มีความพร้อมในการดำเนินโครงการเพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการขยะให้ครบวงจร และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับพลาสติกใช้แล้วในรูปแบบต่างๆ เช่น การนำไปใช้สำหรับงานสร้างถนนซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญของประเทศ ให้ประเทศไทยมีแนวทางในการจัดการขยะพลาสติกตลอด Supply Chain สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy : BCG Model) และยกระดับความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมไทย สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีในอนาคต

ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ประธาน PPP Plastics กล่าวว่า โครงการ ALL Thailand ประกอบด้วย 3 โครงการย่อย โดยโครงการอีโคดิจิคลีนคลองเตย Eco Digiclean Klongtoei เป็นการนำเทคโนโลยีดิจิตอล มาช่วยในการบริหารจัดการขยะพลาสติกตั้งแต่ต้นทาง เช่น การสร้าง Application เพื่อช่วยบริหารจัดการขยะ การพัฒนาถังขยะรูปแบบใหม่กึ่งอัตโนมัติ เพื่อช่วยแยกขยะประเภทพลาสติก เพื่อเพิ่มมูลค่าของขยะพลาสติก ในส่วน Rayong Less-Waste หรือ ระยองลดขยะ จะเป็นการขยายโมเดลการจัดการขยะระดับชุมชนและท้องถิ่นด้วยเศรษฐกิจหมุนเวียนไปให้ครอบคลุมทั้งจังหวัดระยอง โดยมีเป้าหมายที่จะสร้างชุมชนตัวอย่างในทั้ง 68 เทศบาลของจังหวัดระยอง เพื่อช่วยสร้างรายได้ สร้างอาชีพ สร้างคุณภาพชีวิตที่ดี และลดปริมาณขยะพลาสติกที่ไปหลุมฝังกลบในระยองที่นับวันจะมีพื้นที่ลดน้อยลง และ โครงการ Paving Green Roads (เพฟวิ่งกรีนโรด) เป็นโครงการศึกษาวิจัยเพื่อนำพลาสติกใช้แล้วมาเป็นส่วนผสมในถนนยางมะตอยอย่างมีประสิทธิภาพและไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยร่วมกับหลายประเทศ และในประเทศไทย เราได้ร่วมทำงานกับคณะอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อวิจัยด้านสิ่งแวดล้อมของการทำถนนที่มีส่วนประกอบของพลาสติกใช้แล้ว ทั้งในด้านอากาศและน้ำ รวมทั้งคุณสมบัติความแข็งแรงทนทาน และศักยภาพในการนำถนนพลาสติกที่ถูกรื้อถอนกลับมารีไซเคิลเพื่อสร้างเป็นถนนใหม่ เพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการสร้างถนนของประเทศไทยในอนาคตต่อไป

มิสเตอร์เจค็อบ ดูเออร์ (Mr. Jacob Duer) ประธานและซีอีโอ Alliance to End Plastic Waste กล่าวว่า “ทั้ง 3 โครงการนี้มีเป็นตัวอย่างของกิจกรรมในพื้นที่ ที่มีเอกลักษณ์พิเศษที่แตกต่างกันไป แต่เมื่อนำทั้ง 3 โครงการมารวมกันภายใต้โครงการ ALL_Thailand จะสามารถสร้างแรงกระเพื่อมที่ยิ่งใหญ่ที่จะช่วยกระจายความรู้ สร้างความเข้าใจ เพื่อขับเคลื่อนให้เกิดผลกระทบเชิงบวกในชุมชน สิ่งเหล่านี้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของ AEPW ที่ต้องการขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียนและหยุดขยะพลาสติกในสิ่งแวดล้อม”

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า สายงานส่งเสริมสนับสนุนอุตสาหกรรม ภายใต้สภาอุตสาหกรรมฯ ได้ให้ความสำคัญกับการจัดการขยะพลาสติก พร้อมเป็นตัวแทนภาคธุรกิจร่วมกำหนดมาตรฐานขวด PET พลาสติก จากรูปแบบขวดสี สู่ขวดใส เพื่อส่งเสริมให้เกิดการนำขวดพลาสติกนำกลับมารีไซเคิลได้ใหม่ สร้างมูลค่าเพิ่มและส่งเสริมให้เกิดการจัดเก็บขวดพลาสติกที่ใช้แล้วเข้าสู่ระบบมากยิ่งขึ้น สอดคล้องกับทิศทางเทคโนโลยีในอนาคต ด้วยภารกิจการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy : BCG Model)

นายฉัตรชัย เลื่อนผลเจริญชัย ประธานบริหาร กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย กล่าวว่า “Dow เห็นความสำคัญของการทำงานร่วมกับทุกภาคส่วนเพื่อจัดการพลาสติกใช้แล้วอย่างยั่งยืน จึงร่วมเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้ง PPP Plastics ตั้งแต่ปี 2560 และขับเคลื่อนโครงการต่างๆ ภายใต้ PPP Plastics รวมทั้งโครงการ ALL_Thailand ในครั้งนี้ เพื่อช่วยขับเคลื่อนการจัดการขยะพลาสติกตามหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียนให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม DOW ยินดีให้การสนับสนุนโครงการและทำงานร่วมกับทุกภาคีเครือข่ายเพื่อให้โครงการบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้อันจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยอย่างยิ่ง”

นายศักดิ์ชัย ปฏิภาณปรีชาวุฒิ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี กล่าวว่า “ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี ดำเนินธุรกิจภายใต้กลยุทธ์ “ธุรกิจปิโตรเคมีเพื่อความยั่งยืน” ตามแนวทาง ESG (Environmental, Social and Governance) และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) โดยตระหนักถึงผลกระทบของพลาสติกใช้แล้วที่ไม่ได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม จนส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม จึงได้นำหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) เข้ามาขับเคลื่อนการทำธุรกิจ มุ่งเน้นไปที่การบริหารจัดการพลาสติกตลอดทั้งวงจรอย่างใส่ใจและรับผิดชอบ โดยมีการดำเนินการ 3 ด้านหลัก คือ

1.) การสร้างความรู้และความเข้าใจเรื่องเศรษฐกิจหมุนเวียน

2.) การประยุกต์หลักเศรษฐกิจหมุนเวียน ให้ครอบคลุมทุกมิติของการทำธุรกิจ

3.) การสร้างเครือข่ายและความร่วมมือ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ความร่วมมือระหว่างองค์กรและกับทุกภาคส่วน เพื่อดูแลและร่วมสร้างการเติบโตให้กับชุมชนและสังคมอย่างยั่งยืนไปด้วยกัน”

ดร.ชญาน์ จันทวสุ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานบริหารความยั่งยืนและภาพลักษณ์องค์กร บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “GC หนึ่งในบริษัทผู้ก่อตั้ง PPP Plastics มีความยินดีที่ PPP Plastics สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้ร่วมมือกับกลุ่มพันธมิตร Alliance to End Plastic Waste ในการแก้ปัญหาเพื่อลดปริมาณพลาสติกที่ใช้แล้วบนพื้นฐานของการจัดการขยะอย่างยั่งยืน ตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และหลักการ 3Rs บริษัทฯ เห็นความสำคัญของปัญหาต่างๆ ที่เกิดจากพลาสติกที่ใช้แล้ว จึงนำนวัตกรรมเทคโนโลยีมาปรับใช้ เพื่อสร้างทางเลือกให้กับผู้บริโภค ในรูปแบบที่หลากหลาย บริษัทฯ พร้อมให้ความร่วมมือในการศึกษา พัฒนาการวิจัย และนวัตกรรม เพื่อให้เกิดการสร้างมูลค่าเพิ่มจากขยะพลาสติกให้สอดคล้องกับแนวทาง BCG เพื่อยกระดับความเป็นอยู่ของพวกเราทุกคน GC หวังเป็นอย่างยิ่งว่าความร่วมมือกับ PPP Plastics และพันธมิตร จะช่วยขับเคลื่อนให้เกิดการจัดการพลาสติกที่ใช้แล้วอย่างเป็นระบบ และส่งผลให้โครงการสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ได้ตั้งเป้าหมายที่วางไว้ ในการลดปริมาณขยะพลาสติกในทะเลไทยลงไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 ภายใน ปี 2570”

นายนภดล ศิวะบุตร ผู้อำนวยการบริหาร ฝ่ายองค์กรสัมพันธ์ บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด กล่าวว่า “ปัญหาขยะพลาสติกเป็นความท้าทายทางสิ่งแวดล้อมที่ใหญ่หลวงสำหรับทุกภาคส่วน เนสท์เล่ ในฐานะบริษัทอาหารและเครื่องดื่มรายใหญ่ที่สุดของโลก เราตระหนักดีถึงบทบาทและหน้าที่สำคัญของเราในฐานะผู้ผลิตที่ต้องมีส่วนร่วมในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อนำไปสู่อนาคตที่ปลอดขยะ เนสท์เล่ได้มีการเปลี่ยนแปลงบรรจุภัณฑ์ของเราให้สามารถนำไปรีไซเคิลหรือนำกลับมาใช้ใหม่ได้ นอกจากนั้นแล้ว เรายังเล็งเห็นความสำคัญของการทำงานร่วมกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และยินดีที่จะให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ เพื่อผลักดันให้เกิดการจัดการขยะพลาสติกอย่างมีประสิทธิภาพและขับเคลื่อนให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างเต็มรูปแบบโดยเร็ว”

Mr. Stephane Heddesheimer, CEO ของ กลุ่มรีไซเคิล และการนำกลับมาใช้ใหม่ ของสุเอซ เอเชีย กล่าวว่า "การรีไซเคิลพลาสติก มีบทบาทสำคัญในการเร่งให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว ของประเทศไทย และวิสัยทัศน์ในการเปลี่ยนผ่านไปสู่ การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน บริษัท สุเอซ มุ่งมั่นที่จะรีไซเคิลพลาสติก และเปลี่ยนขยะให้เป็นพลังงานสำหรับประเทศไทย และยังคงร่วมมือกับสภาอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย PPP Plastics และกลุ่มพันธมิตร ตลอดจนผู้นำอุตสาหกรรมอื่นๆ ทั่วทั้งห่วงโซ่คุณค่า เพื่อบรรลุเป้าหมายสูงสุด ในการยุติขยะพลาสติก และเชื่อมั่นว่าความร่วมมือของเราจะส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อม ความหลากหลายทางชีวภาพ และชุมชนของเรา”


โปรเด็ด! เทหมดตัว มาสด้า 2 และ นิสสันอัลเมร่า ทักเลย! ตอบไว! แอดเลย @TheShopsTimes

คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

ก.แรงงาน ชง ครม.ไฟเขียวกฎหมายช่วยผู้ประกันตน

การประชุมคณะรัฐมนตรี ที่ประชุมเตรียมหารือถึงวาระสำคัญของหน่วยงานต่างๆ หลายเรื่อง โดยกระทรวงแรงงาน เสนอร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดอัตราการจ่ายเงินสมทบของบุคคลซึ่งสมัครเป็นผู้ประกันตนในกรณีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. .... และร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราเงินสมทบที่รัฐบาลจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคมสำหรับบุคคลซึ่งสมัครเข้าเป็นผู้ประกันตน ในกรณีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ

พร้อมกันนี้ยัง เสนอร่างกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. .... ด้านกระทรวงสาธารณสุข เสนอการปรับปรุงหลักเกณฑ์เพิ่มเติมรองรับการทำประกันสุขภาพสำหรับชาวต่างด้าวผู้ขอรับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว Non-Immigrant Visaรหัส 0-A (ระยะ 1 ปี) ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2562

ขณะที่ กระทรวงการคลัง เสนอการยกเว้นอากรศุลกากรและภาษีสรรพสามิต สำหรับโครงการระบบดาวเทียมสำรวจพร้อมระบบภาคพื้นดินและระบบแอปพลิเคชันภูมิสารสนเทศสำหรับโครงการระบบดาวเทียมสำรวจเพื่อการพัฒนา (THEOS-2) รวมร่างประกาศกระทรวงการคลัง 2 ฉบับ 

ส่วนกระทรวงศึกษาธิการ เสนอ (ร่าง) แผนพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. 2564-2570 และสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เสนอขออนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อดำเนินโครงการสนับสนุนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ปี 2563/2564

“บิ๊กตู่” สั่งออกมาตรการช่วยแก้หนี้สินประชาชนรายย่อย

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม โพสต์เฟซบุ๊ก ยอมรับว่า ได้ประชุมกับนายสุพัฒนพงศ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พลังงาน ผู้แทนจากกระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย และผู้เกี่ยวข้อง เพื่อหาทางแก้ไขปัญหาหนี้สินของประชาชนรายย่อย ให้กับประชาชนกลุ่มต่างๆ ได้แก่ หนี้ กยศ. 3.6 ล้านคน ผู้ค้ำประกัน 2.8 ล้านคน หนี้ครู/ข้าราชการ 2.8 ล้านบัญชี หนี้เช่าซื้อรถยนต์และมอเตอร์ไซค์ 6.5 ล้านบัญชี หนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล 49.9 ล้านบัญชี และปัญหาหนี้สินอื่นๆ ของประชาชน 51.2 ล้านบัญชี

ทั้งนี้ที่ประชุมเห็นว่า การแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนให้เบ็ดเสร็จต้องทำ 3 เรื่องควบคู่กัน คือ การให้ความรู้ทางการเงินแก่ประชาชน การกำกับดูแลเจ้าหนี้ให้สินเชื่ออย่างเป็นธรรม และการปรับโครงสร้างหนี้และการไกล่เกลี่ยปัญหาหนี้สิน โดยมีมาตรการที่นำมาคุยกันในวันนี้ มีทั้งมาตรการระยะสั้นและระยะยาว 

สำหรับ มาตรการระยะสั้น เช่น ไกล่เกลี่ยปัญหาหนี้สินเพื่อลดการดำเนินคดีกับประชาชน เช่น หนี้ กยศ. หนี้สถาบันการเงินเฉพาะกิจ หนี้สหกรณ์ ลดภาระดอกเบี้ยของประชาชน ทั้งในส่วนสินเชื่อรายย่อย สินเชื่อพิโคไฟแนนซ์ PICO และนาโนไฟแนนซ์ สำหรับประชาชน, ปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้ของครูและข้าราชการ รวมถึงสหกรณ์ ปรับรูปแบบการชำระหนี้ รวมถึงปรับลดค่าธรรมเนียมต่างๆ ที่ไม่จำเป็น  

ยกระดับการกำกับดูแล เช่น สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) คุ้มครองความเป็นธรรมให้ประชาชนที่เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ธปท. ทบทวนเพดานอัตราดอกเบี้ยและการกำกับดูแลบัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคลและสินเชื่อจำนำทะเบียน, กำกับดูแลไม่ให้การบริหารความเสี่ยงด้านสินเชื่อของสถาบันการเงิน/สหกรณ์สร้างภาระแก่ผู้กู้จนเกินสมควร และเพิ่มการเข้าถึงแหล่งทุนให้ผู้ประกอบการรายย่อยและเอสเอ็มอี เช่น จัดให้มีซอฟต์โลน สำหรับเอสเอ็มอี เป็นหนี้เสีย เพื่อให้ธุรกิจดำเนินต่อไปได้ การเพิ่มจำนวนโรงรับจำนำและโรงรับจำนอง

สำหรับมาตรการระยะยาว ได้มีการพูดถึงหลักการสำคัญ คือต้องทำให้เกิดสภาพแวดล้อมของการเข้าถึงสินเชื่อได้ง่าย และมีการคุมยอดวงเงินกู้ที่เหมาะสม เช่น รัฐต้องเร่งส่งเสริมการแข่งขันให้อัตราดอกเบี้ยถูกลง เพิ่มระบบให้ผู้ฝากเงินมาเป็นผู้ให้สินเชื่อโดยรับความเสี่ยงมากขึ้นผ่านระบบดิจิทัล การจัดตั้งหน่วยงานขึ้นมาใหม่เพื่อกำกับดูแลสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์และสินเชื่อรายย่อยเป็นการเฉพาะ การจัดตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางธุรกิจและการเงิน เพื่อชะลอการฟ้อง อำนวยความสะดวกให้การฟื้นฟูหนี้รายบุคคลที่มีเจ้าหนี้หลายราย 

นอกจากนี้ ที่ประชุมยังมีการหารือในเรื่องการให้ความช่วยเหลือเด็กรุ่นใหม่/คนเกษียณที่มีภาระหนี้สิน โดยจะออกมาตรการเพื่อลดภาระค่าใช้จ่าย เรื่องที่อยู่อาศัย และค่าเดินทางระบบขนส่งมวลชนในราคาถูก โดยสิ่งที่คนไทยจะได้รับจากมาตรการดังกล่าว คือ มีเงินเหลือใช้จ่ายมากขึ้นจากภาระหนี้ที่ดอกเบี้ยลดลงได้ 2-3% ต่อปี, ลดปัญหาการสร้างหนี้เกินตัวลงได้ทันที, เพิ่มโอกาสทางสังคมและลดความเหลื่อมล้ำอย่างเป็นรูปธรรม และใช้การจัดการเพิ่มประสิทธิภาพของรัฐมาแก้ไขปัญหารากแก้วโดยใช้งบประมาณรัฐน้อยที่สุด

รัฐเร่งหาช่องอุ้มผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้ทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรมเสนอมาตรการเยียวยาเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนและแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม เพื่อเสริมสภาพคล่องทางการเงินให้สามารถฟื้นฟูกิจการได้เร็วขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นมาตรการเดิมจากปี 2563 ที่ขยายเวลาต่อเนื่อง ล่าสุด ได้เห็นชอบให้ สมอ. ยกเว้นค่าธรรมเนียมการตรวจโรงงานเพื่อการขออนุญาต มอก. โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 8 มิถุนายน 2564 ที่ผ่านมา 

นายวันชัย พนมชัย เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กล่าวว่า มาตรการยกเว้นค่าตรวจโรงงานเพื่อการขออนุญาต มอก. มีอัตราค่าใช้จ่ายที่ผู้ประกอบการจะต้องจ่ายให้ สมอ. 10,000 บาทต่อวัน ซึ่ง สมอ. มีผู้ประกอบการที่ได้รับใบอนุญาตกว่า 10,000 ราย ทั้งผู้ทำและผู้นำเข้า คาดว่ามาตรการดังกล่าวจะช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายให้ผู้ประกอบการเป็นมูลค่ากว่า 100 ล้านบาท โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 8 มิถุนายน 2564 จนถึงวันที่ 30 เมษายน 2565

อีกทั้งยังมีมาตรการเยียวยาอื่นๆ ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของ ครม. ได้แก่ มาตรการยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาต มอก. และใบแทนใบอนุญาตเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และมาตรการยกเว้นค่าธรรมเนียมใบรับรองระบบงาน ISO สำหรับผู้ประกอบการตรวจสอบและรับรอง หาก ครม. มีมติเห็นชอบแล้ว สมอ.จะดำเนินการต่อทันที ซึ่งจะช่วยเหลือผู้ประกอบการได้กว่า 110 ล้านบาท

ผู้ประกอบการร้านอาหารไทย โร่ขอคำแนะนำ “กรณ์-วรวุฒิ” ก่อนตัดสินใจกู้เงินจาก มาตรการช่วยเหลือกระทรวงพาณิชย์ หวั่นเผาเงินตัวเองหากรัฐมุ่งแก้ปัญหาระยะสั้น แนะรัฐเป็นหนี้ทางเดียว ประเทศชาติเดินได้ แต่ถ้าโยนหนี้มาภาคประชาชน อนาคตตายหมู่

สมาคมร้านอาหารไทยและสตรีทฟู้ดรวมตัวกัน จัดคลับเฮาส์เพื่อขอความเห็นและข้อเสนอแนะจาก นายกรณ์ จาติกวณิช หัวหน้าพรรคกล้า และ นายวรวุฒิ อุ่นใจ รองหัวหน้าพรรค ในฐานะกูรูทางการเงิน และกูรูด้านอีคอมเมิร์ส ที่สร้างธุรกิจเอสเอ็มอี สู่ธุรกิจขนาดใหญ่ เป็นผู้ที่มีประสบการณ์ตรง ทั้งนี้เพื่อหาแนวทางว่าต้องเตรียมตัวอย่างไร ก่อนยื่นกู้เงินจากกระทรวงพาณิชย์ที่มี

โดยนายกรณ์ กล่าวว่า ในฐานะที่เคยเป็น รมว.คลัง ก็พยายามผลักดันให้เกิดการปรับเปลี่ยนนโยบายเท่าที่เราจะทำได้ ที่ผ่านมาพยายามสื่อสารไปถึงฝ่ายบริการงบประมาณ งบประจำหรืองบเงินกู้ ที่ต้องหันมาช่วยผู้ประกอบการโดยตรงมากขึ้น ปีที่แล้วที่มา พรก เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำออกมา แต่โครงสร้างเงื่อนไขไม่เอื้อต่อคนตัวเล็ก มาครั้งนี้แบงค์ชาติ ได้ปรับเป็นโครงการ “จับคู่กู้เงิน” ที่ดูเหมือนมีความหวังมากขึ้นในการเข้าถึงการกู้อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ อย่างไรก็ตามสถาบันการเงินก็ต้องทำหน้าที่ของเขาตามกฎเกณฑ์พิจารณาถึงแผนธุรกิจ กระแสเงินสด รวมไปถึงโอกาสการสร้างรายได้ ตรงนี้ก็ยังเป็นประเด็นที่ท้าทายกับร้านอาหารซึ่งมีเกือบ 3 แสนล้านแห่งทั่วประเทศ บางร้านอาจจะยังเข้าถึงสินเชื่อได้ยาก ซึ่งต้องมาดูว่ามีประเด็นอะไรที่ภาครัฐต้องเข้ามาช่วยเรื่องเพิ่มโอกาสการสร้างรายได้ และลดค่าใช้จ่าย เพราะตอนนี้ข้อจำกัดก็มีมาก ทั้งเรื่องจำกัดการนั่งกินในร้าน ไม่เกิน 25% เวลาเปิดไม่เกิน 21.00 และการห้ามขายแอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นอุปสรรคในการหารายได้ 

นายกรณ์ กล่าวว่า มาตรการต่าง ๆ ที่รัฐบาลกำหนดมากเพื่อลดความเสี่ยงการติดเชื้อ ดังนั้นจึงมีความพยายามปลดล็อควัคซีนเพื่อให้เข้าถึงประชาชนให้มากที่สุด ซึ่งแม้จะเริ่มฉีดกันบ้างแล้ว แต่ก็ยังมีข้อจำกัดเรื่องประสิทธิภาพการเข้าถึงวัคซีน ซึ่งต้องทนสถานการณ์แบบนี้ไปอีกประมาณ 2-3 เดือน เมื่อถึงจุดที่มีประชาชนฉีดวัคซีนมากพอ จนสถานการณ์ดีขึ้น มาตรการต่าง ๆ เริ่มคลี่คลาย ดังนั้นผู้ประกอบการแต่ละราย ก็จะต้องประเมินสถานการณ์ว่า เราจะเปิดช่วงนี้คุ้มหรือไม่ หรือควรรอไปอีก 2-3 เดือน  อีกด้านคือมาตรการในการลดค่าใช้จ่าย ที่เชื่อว่ารัฐสามารถเข้ามามีบทบาทได้อีกมาก โดยเฉพาะเรื่องภาษีที่รัฐควรยื่นมีเข้ามาช่วยในจังหวะนี้ การช่วยผู้ที่เคยเสียภาษีให้รัฐ ซึ่งรัฐมีตัวเลขที่ชัดเจนว่า ผู้ประกอบการเคยมีรายได้และเสียภาษีเท่าไร และลดลงมาเท่าไร คิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ ก็จะสามารถคำนวณส่วนชดเชยได้อย่างค่อนข้างแม่นยำ 

“ผมอยากเห็นรัฐบาลมีการจัดสรรงบ โดยเฉพาะงบเงินกู้ก้อนใหม่ 5 แสนล้าน อยากเห็นการจัดสรรส่วนหนึ่งมาช่วยเหลือผู้ประกอบการที่เคยเสียภาษี ซึ่งการช่วยเหลือนี้ควรเป็นการช่วยเหลือนอกเหนือเงินกู้ เพราะการกู้ในภาวะนี้กับบางรายอาจเป็นการสร้างและสะสมปัญหาใหม่ซึ่งไม่ใช่การรอดอย่างยั่งยืน รัฐควรพิจารณาในการลดค่าใช้จ่าย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องภาระค่าเช่า ค่าน้ำ ค่าไฟ ซึ่งคือการจ่ายให้หน่วยงานรัฐวิสาหกิจอยู่แล้ว รัฐสามารถช่วยลดภาระส่วนนี้ได้หรือไม่ รวมถึงข้อเสนอการเข้าถึงเงินประกันสังคม หรือการลดภาระการจ่ายเบี้ยประกันสังคม ทั้งหมดนี้ต้องคิดให้ครบถ้วนทั้งเงินก้อนมาชดเชย รวมไปถึงการสนับสนุนลดค่าใช้จ่ายและในส่วนของเงินกู้ที่กำลังจะเกิดขึ้น” หัวหน้าพรรคกล้ากล่าว

ด้านนายวรวุฒิ รองหัวหน้าพรรคกล้า กล่าวว่า วิกฤตโควิดรอบนี้ ผู้ประกอบการทุกคนกำลังดิ้นรน หนีตาย คนที่ไม่เคยเป็นหนี้ก็ต้องเป็น มาถึงขั้นนี้ที่ไหนมีหนทางผู้ประกอบการไปหมด ซึ่งครั้งนี้นับเป็นปรากฎการณ์ที่ดี ที่ทั้งธนาคารพาณิชย์  หน่วยงานภาครัฐ เอกชนมาช่วยกัน ตอนนี้คนที่รอดคือคนที่ปรับตัวมากที่สุด หลายธุรกิจต้องจากไป มาตรการของรัฐต้องเข้ามาช่วยกิจการพวกนี้เพราะมันกระทบในวงกว้าง ดูได้จากมาตรการที่ประธานาธิบดีสหรัฐ โจ ไบเดน ออกมาอุ้มธุรกิจร้านอาหารโดยเฉพาะ เนื่องจากเป็นธุรกิจบริการสังคม ถ้าร้านอาหารอยู่ไม่ได้ ก็จะส่งผลกระทบภาคสังคมหลายส่วน ดังนั้นธุรกิจร้านอาหารต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ และเราก็อยากเห็นรัฐบาลดูแลเป็นพิเศษเช่นกัน แต่ขณะนี้ยังไม่เป็นเช่นนั้น อย่างไรก็ตามก็ยังมีหวังในช่วงโค้งสุดท้ายของการแพร่ระบาด เนื่องจากมีการทยอยฉีดวัคซีนกันแล้ว เราอดทนอีกนิด 

“ในมุมธุรกิจอยากแนะนำว่าคนที่จะรอดคือคนที่ปรับเปลี่ยนมากที่สุด รวมถึงสามารถวิเคราะห์ว่าทางไหนใช่ ทางไหนไม่ใช่ อาจต้องทำในสิ่งที่ไม่เคยทำมาก่อน ทำทุกทางให้รอด ถ้าปรับน้อยโอกาสรอดในภาวะวิกฤตก็จะยาก ภาวะวิกฤตขนาดนี้ บางรายปรับตัวไม่ทัน นั่นเป็นเหตุที่มีการเรียกร้องความช่วยเหลือจากภาครัฐ ทั้งลดค่าใช้จ่าย ลดภาษี และการเข้าถึงแหล่งทุน กลุ่มธุรกิจพวกนี้คือคนที่ดำเนินการตามมาตรการภาครัฐทั้งเว้นระยะห่าง จำกัดที่นั่ง 25% หรือจำกัดเวลาเปิด เขาได้รับผลกระทบโดนตรงจากการเป็นคนดีของรัฐบาล รัฐบาลควรหาทางชดเชยในการลดค่าใช้จ่ายให้พวกเขาด้วย” นายวรวุฒิ กล่าว 

ทั้งนี้ ในช่วงที่เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็น ก็มีการนำเสนอว่า ความสำคัญอยู่ที่การวางแผนเรื่องกระแสเงินสดเพื่อคาดการณ์อนาคตว่าการกู้ครั้งนี้เราสามารถชำระคืนได้หรือไม่ ต้องดูการวางแผนธุรกิจและดูกันยาวๆ เพราะการกู้ครั้งนี้ ไม่ใช่แค่กู้มาเพื่อแก้ปัญหาระยะสั้น ต้องอยู่ได้ระยะยาว และต้องไปต่อได้ ไม่เช่นนั้นก็เหมือนเผาเงินตัวเองไป และหากมองในฝั่งของรัฐบาล ครั้งนี้เป็นเรื่องของโรคระบาด ไม่ใช่ความผิดของใคร รัฐบาลก็หนี้สูง กู้มาหากช่วยไม่ถูกจุด เอกชนก็หนี้สูงเพื่อให้ตัวเองรอด จริงๆ ควรเลือกหนี้อันเดียว คือรัฐบาลต้องมีหนี้ต่อ GDP สูง แล้วเอามาดูแลเอกชนที่จะอยู่รอดผ่านวิกฤตได้ อย่างที่คุณกรณ์ กล่าวไว้ว่ารัฐมีตัวเลขภาษีในระบบ รัฐช่วยเหลือตามสัดส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีนิติบุคคลที่เคยจ่ายมาอย่างถูกต้องก็ควรดูแลเขา รวมไปถึงส่วนของประกันสังคมที่รัฐควรดูแล ส่วนร้านค้าที่ไม่อยู่ในระบบเอาตรงๆ ต่อไปก็ต้องเข้ามาในระบบมากขึ้น อาจจะช่วยได้ไม่เท่าคนที่อยู่ในระบบ ในวันนี้แต่เขาคือฟันเฟืองหนึ่งของระบบเศรษฐกิจ เรื่องที่ช่วยง่ายสุดตอนนี้คือเรื่องการดูแลเรื่องของแรงงาน เงินเดือนเพื่อให้มีการจ้างงาน เพราะช่วยให้เศรษฐกิจเดิน มีเงินเดือนเกิดการบริโภค เศรษฐกิจก็เดินต่อ รัฐบาลจะมาอุ้มคนตกงานมันไม่ใช่ 

“เราเห็นด้วยกับทางพรรคกล้ามาตลอดที่ตั้งใจช่วยคนตัวเล็ก เพราะเอสเอ็มอี เกิดยากตายง่าย ถ้าตายแล้วเกิดใหม่ไม่ได้ เขาสะสมทุนมาทั้งชีวิตมันยากมากมีพลังก็ไม่มีทุน อย่าให้เขาตายไป จึงอยากเสนอว่าภาครัฐอย่าสร้างสองหนี้พร้อมกัน อย่าบังคับให้ภาคประชาชนเป็นหนี้เป็นสิน ควรให้รัฐบาลเป็นหนี้คนเดียวไปเลยดูแลทั้งระบบ เพราะรัฐบาลสามารถสร้าง economic modeling และคาดการณ์ว่าจะกลับมาเก็บภาษีได้เมื่อไหร่มีแผน 5 ปี 7 ปี วางแผนไปว่าถ้าเศรษฐกิจรอด พยายามให้ทุกคน เข้าระบบ ก็ได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้ภาษีนิติบุคคลเอามา จ่ายชำระหนี้ได้”

ทั้งนี้ นายกรณ์ กล่าวแสดงความเห็นด้วยต่อความคิดเห็นดังกล่าว ว่ารัฐควรแบกรับภาระหนี้ เครดิตรัฐบาลดีกว่าของพวกเราทุกคน ความสามารถในการกู้ยืมของรัฐบาลได้ดอกเบี้ยต่ำกว่าเราทุกคน รัฐบาลยังมีศักยภาพในการช่วยเหลือเราได้อีกเยอะ

เงินบาทแข็งจากอานิสงส์รัฐปูพรมฉีดวัคซีนโควิด

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินค่าเงินบาทสัปดาห์ที่ผ่านมาเคลื่อนไหวในกรอบที่แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ โดยเงินบาทได้รับแรงหนุนจากสถานะซื้อสุทธิหุ้นและพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ ประกอบกับมีปัจจัยบวกตั้งแต่ในช่วงต้นสัปดาห์จากข่าวการปูพรมเร่งฉีดวัคซีนทั่วประเทศ 

ขณะที่เงินดอลลาร์ ทยอยอ่อนค่าลงตามทิศทางอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ โดยบอนด์ยีลด์สหรัฐ อายุ 10 ปี ร่วงลงมาอยู่ต่ำกว่าระดับ 1.50% เนื่องจากตลาดประเมินว่า แม้เงินเฟ้อสหรัฐ จะขยับขึ้น แต่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ก็อาจจะยังไม่รีบส่งสัญญาณคุมเข้มนโยบายการเงินในเร็วๆ นี้ ทำให้ปิดตลาดในวันศุกร์ (11 มิ.ย.) เงินบาทอยู่ที่ระดับ 31.06 บาทต่อดอลลาร์ เทียบกับระดับ 31.28 บาทต่อดอลลาร์ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (4 มิ.ย.)

สำหรับสัปดาห์ถัดไป (14-18 มิ.ย.) ธนาคารกสิกรไทยมองกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทที่ 30.90-31.30 บาทต่อดอลลาร์ ขณะที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ ผลการประชุมนโยบายการเงินและ Dot Plot ชุดใหม่ของเฟด รวมถึงสถานการณ์และแผนการกระจายวัคซีนต้านโควิด-19 ในประเทศด้วย


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top