Sunday, 18 May 2025
ECONBIZ NEWS

BUSINESS+ PRODUCT INNOVATION AWARDS 2023 ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี-นวัตกรรมพลังงานสะอาด

เมื่อไม่นานมานี้ นายอมร ทรัพย์ทวีกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA รับรางวัลอันทรงเกียรติ BUSINESS+ PRODUCT INNOVATION AWARDS 2023 ในสาขาผลิตภัณฑ์กลุ่มยานยนต์ ประเภทรถกระบะไฟฟ้า จากความสำเร็จของสุดยอดสินค้าและบริการแห่งปี ที่นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาสร้างสรรค์ได้อย่างยอดเยี่ยม ในผลิตภัณฑ์ EV Mini Truck ‘MINE MT 30’ รถกระบะไฟฟ้า 100% รุ่นแรกของไทย สามารถขับเคลื่อนได้ระยะทางกว่า 200 กิโลเมตร/การชาร์จ 1 ครั้ง ใช้เวลาชาร์จเพียง 15 นาที ด้วยเทคโนโลยี Ultra-fast Charge ได้ถูกออกแบบและผลิตโดยฝีมือคนไทย ภายใต้แนวคิด Respect Environment ประหยัดพลังงานและลดต้นทุนในภาคขนส่งเชิงพาณิชย์ ช่วยลดมลพิษและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อีกทั้งเป็นการสนับสนุนการใช้ EV ขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจ BCG ของประเทศ

'ค่ายดาวสามแฉก' สนั่น!! วันแรก 'มอเตอร์โชว์ 2023' หลัง EQB 250 AMG รถอีวี 100% ถูกจองเต็มโควตา 70 คัน

เมื่อวานนี้ (22 มี.ค.66) เป็นวันแรกของการจัดงาน บางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 44 หรือ มอเตอร์โชว์ 2023 (Motor Show 2023) บริษัท เมอร์เซเดส-เบนซ์ (ประเทศไทย) ประกาศหยุดรับจองรถยนต์รุ่น EQB 250 AMG Line รถยนต์พลังงานไฟฟ้า 100% ภายใต้แบรนด์ Mercedes-EQ ที่เปิดตัวไปเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2566 และเปิดรับจองวันแรกภายในงาน มอเตอร์โชว์ 2023 เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2566

ทั้งนี้ รถยนต์ไฟฟ้ารุ่นดังกล่าวมี โควตาการนำเข้าและจำหน่ายอยู่ที่ 70 คัน และมีผู้สนใจจองเต็มจำนวนดควตาดังกล่าวแล้ว กระทั่งต้องประกาศหยุดรับจอง

สำหรับ EQB 250 AMG Line เป็นรถยนต์อเนกประสงค์ (เอสยูวี) ขนาด 5 ที่นั่ง ด้วยการนำเข้าแบบรถยนต์สำเร็จรูปทั้งคัน (CBU) มาพร้อมกับแบตเตอรี่ขนาด 66.5 kWh ซึ่งมีระยะทางการวิ่งสูงสุด 460 กิโลเมตร ต่อการชาร์จ 1 ครั้ง (ตามมาตรฐาน WLTP)

‘ส.อ.ท.’ ผิดหวัง ‘กกพ.’ ขึ้นค่าไฟครัวเรือน ทั้งที่ทิศทางพลังงานขาลง ลั่น!! ทำไมรัฐไม่ปรับราคาให้เป็นบวกกับผู้บริโภคมากขึ้น

(23 มี.ค. 66) นายอิศเรศ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวถึง คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) เคาะค่าไฟงวด พฤษภาคม – สิงหาคม 2566 อัตรา 4.77 บาทต่อหน่วย เป็นอัตราเดียวทั้งครัวเรือนและเอกชน ซึ่งปัจจุบันครัวเรือนจ่าย 4.72 บาทต่อหน่วย และเอกชนจ่าย 5.33 บาทต่อหน่วย ว่ารู้สึกผิดหวังเพราะไม่ได้ช่วยครัวเรือนเลย ทำไมครัวเรือนต้องจ่ายแพงขึ้นแค่ 5 สตางค์ ทั้งๆที่รอบจากนี้ไปเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม ทิศทางพลังงานของโลกก็ลง

ดังนั้นตามความเป็นจริงทำไมภาครัฐไม่ปรับสมมติฐานราคาให้เป็นบวกกับผู้บริโภคมากขึ้น อีกทั้งงวดนี้ราคาค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (เอฟที) ลงเพราะปัจจัยภายนอก อาทิ ค่าเงินและราคาพลังงานทั่วโลกเป็นหลัก ไม่ได้มีกลไกแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างและหาทางเลือกอื่นเลย นอกจากก๊าซในอ่าวไทยที่เพิ่มขึ้น

ทันตะ จุฬาฯ จับมือ ปตท. ต่อยอดเทคโนโลยีด้านทันตกรรม มุ่งยกระดับมาตรฐานการแพทย์ไทย

เมื่อวันที่ (21 มี.ค.66) นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พร้อมด้วย ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศ.ทพ.ดร.พรชัย จันศิษยานนท์ คณบดี คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ดร.บุรณิน รัตนสมบัติ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจใหม่และโครงสร้างพื้นฐาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์วัสดุชั้นสูงและการประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์ และการแพทย์ทางไกลในด้านการดูแลสุขภาพสำหรับสุขภาพช่องปากและการรักษาทางทันตกรรม ระหว่าง บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และ คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

‘อนุชา’ เผย ยอดจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้าในไทยเติบโต สะท้อนผลสำเร็จมาตรการของ รบ. ผลักดันไทยเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ

(23 มี.ค. 66) นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม รับทราบและยินดีที่มียอดจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย เดือน ม.ค.ที่ผ่านมา ถึง 317,502 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.47 จากช่วงเดียวกันของปี 2565 และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ถือเป็นพัฒนาการที่สำคัญของไทยในการเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำในอนาคต และเป็นผลสำเร็จจากการดำเนินมาตรการเชิงรุกของรัฐบาลที่สนับสนุนให้เกิดการผลิตและใช้ยานยนต์ไฟฟ้าภายในประเทศมากขึ้น โดยยอดจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้า 3 ประเภท ในกลุ่มรถยนต์นั่ง ล่าสุดในเดือน ก.พ. มียอดจดทะเบียนสะสม 331,885 คัน ยอดจดทะเบียนสูงสุดคือรถยนต์ไฟฟ้าไฮบริด (Hybrid Electric Vehicle: HEV) รองลงมาได้แก่ รถยนต์ไฟฟ้าไฮบริดปลั๊กอิน (Plug-in Hybrid Electric Vehicle: PHEV) และรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (Battery Electric Vehicle: BEV) 

‘พาที’ คัมแบ็ก!! เปิดตัวสายการบินใหม่ ‘Really Cool Airlines’ ชู จุดขายฟูลเซอร์วิส เตรียมเปิดบินปลายปีนี้

คัมแบ็กกลับมาสร้างความฮือฮาในแวดวงการบินเมืองไทยอีกครั้ง สำหรับ "พาที สารสิน" อดีต CEO นกแอร์ ล่าสุด ได้ฤกษ์ เปิดตัว Really Cool Airlines สายการบินเทียบชั้นการบินไทย พร้อมเปิดให้บริการปลายปี 66

(22 มี.ค.66) หลังจากที่ "พาที สารสิน" ได้โบยบินออกจากบ้านนกแอร์ ก็ได้ทำธุรกิจเกี่ยวกับการท่องเที่ยวในชื่อ บริษัท เรียลลี เรียลลี คูล จำกัด หรือ Really Really Cool ล่าสุดเตรียมประกาศคัมแบ็กธุรกิจสายการบินอีกครั้ง ด้วยการปั้นสายการบิน Really Cool Airlines โดยเป็นการวางจุดยืนเป็นสายการบินแบบฟูลเซอร์วิสเทียบชั้นกับการบินไทย เน้นใช้เครื่องบินลำใหญ่ เน้นเที่ยวบินต่างประเทศ โดยเฉพาะระยะทางไกล เช่น ยุโรป สหรัฐอเมริกา รวมถึงตลาดเอเชียตะวันออกอย่างจีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่นด้วย คาดว่าจะเริ่มบินได้ช่วงไตรมาส 4 ของปี

นายพาที สารสิน แถลงข่าวเปิดตัว Really Cool Airlines อย่างเป็นทางการ โดยเปิดเผยว่ามีความตั้งใจจะให้สายการบินใหม่นี้เป็นสายการบินที่แตกต่างมีจุดเด่น และตรงกับแนวคิดตามชื่อสายการบินคือ Really Cool และยังหวังว่าสายการบินใหม่นี้จะเป็นสายการบินที่ช่วยยกระดับการเดินทางของผู้โดยสาร มอบประสบการณ์ที่ประทับใจ และช่วยอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศไทยให้ฟื้นตัวหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด

สำหรับการดำเนินงานสายการบินใหม่นี้ แนวคิดเริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายนปีที่ผ่านมา มีการเริ่มคุยกับภาคส่วนต่างๆ และดำเนินการโดยตลอด จนกระทั่งเปิดตัวอย่างเป็นทางการในวันนี้ โดยแนวคิดของสายการบินนั้นจะเป็นสายการบินไลฟ์สไตล์ ฟูลเซอร์วิส เน้นการใช้เทคโนโลยีมาผสานกับการบินทำให้เกิดการบริการรูปแบบใหม่ ใช้เครื่องบินลำตัวกว้างที่มีพิสัยการให้บริการได้ไกล สามารถให้บริการเส้นทางทั้งระยะไกลได้

โดยสายการบิน Really Cool Airlines วางแผนที่จะประกาศรุ่นของเครื่องบิน จุดหมายปลายทาง และเครือข่ายเส้นทางภายใน 8-10 เดือนข้างหน้า และคาดว่าจะเริ่มทำการบินได้ภายในสิ้นปี 2566

‘บิ๊กตู่’ ปลื้ม!! ฟื้นสัมพันธ์ไทย-ซาอุฯ สำเร็จในรอบ 32 ปี ขึ้นแท่นคู่ค้ารายใหญ่ ขยายโอกาสทางเศรษฐกิจรอบด้าน

(22 มี.ค. 66) นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ยินดีกับความสำเร็จหลังการฟื้นความสัมพันธ์ประเทศไทยและราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย เปิดโอกาสความร่วมมือ เพิ่มตัวเลขการค้าระหว่างกัน โดยในปี 2565 มีมูลค่าการค้ารวม 323,113.42 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 37.64%

ทั้งนี้ ช่วงต้นปี 2565 รัฐบาลของ พล.อ.ประยุทธ์ ฟื้นฟูความสัมพันธ์ทางการทูตกับราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียอย่างเป็นทางการเป็นผลสำเร็จ เปิดโอกาสความร่วมมือระหว่างกัน 9 ด้าน ได้แก่ ด้านการท่องเที่ยว, ด้านแรงงาน, ด้านอาหาร รวมถึงความร่วมมือใน ด้านสุขภาพ, ด้านพลังงาน, ด้านการศึกษาและศาสนา, ด้านความมั่นคง, ด้านกีฬา และด้านการค้าและการลงทุน ทั้งภาครัฐและเอกชนของทั้ง 2 ฝ่าย โดยภาคเอกชนไทยสนใจลงทุนธุรกิจผลิตภัณฑ์อาหาร สินค้าอุปโภคบริโภค สินค้าตกแต่งภายใน ส่วนซาอุดีอาระเบียสนใจลงทุนด้านพลังงานในพื้นที่ EEC ซึ่งซาอุดีอาระเบียพร้อมลงทุนสูงถึง 300,000 ล้านบาทใน EEC

นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายได้ลงนามความร่วมมือ (MOU) ขยายความร่วมมืออีกหลายฉบับ จับคู่เจรจาธุรกิจระหว่างภาครัฐซาอุดีอาระเบีย และภาคเอกชนไทย มากกว่า 500 คู่ ซึ่งคาดว่าจะเกิดมูลค่าการค้าใหม่ 3 หมื่นล้านบาท และสร้างการลงทุนระหว่างกันมากกว่า 1 หมื่นล้านบาท ภายในปี 2566

ในช่วงต้นปี 2566 ซึ่งเป็นโอกาสครบรอบ 1 ปีฟื้นความสัมพันธ์ไทย-ซาอุดีอาระเบีย ตัวเลขการค้าของสองฝ่ายมีมูลค่ารวมกว่า 323,113.42 ล้านบาท ซึ่งเป็นตัวเลขทางการค้าที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เพราะเพิ่มขึ้นจากปีก่อนถึง 37.64% ทำให้ซาอุดีอาระเบียกลายเป็นคู่ค้าสำคัญอันดับที่ 17 ของไทยในตลาดโลก และอันดับที่ 2 ในภูมิภาคตะวันออกกลาง

‘ก.คลัง’ เล็งดึง BRT-สองแถวรับจ้าง-เรือโดยสารสาธารณะ ร่วมโครงการ ‘บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ’ ให้บริการแก่ผู้มีสิทธิ

‘คลัง’ กางยอดยืนยันตัวตนโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐปี 2565 แล้ว 11.38 ล้านราย ส่วนยอดยื่นอุทธรณ์พุ่ง 1.12 ล้านราย พร้อมแจงลุยศึกษาประเภทระบบขนส่งเล็งดึงรถเอกชนร่วมขสมก.-BRT-สองแถวรับจ้าง-เรือโดยสารสาธารณะ เพื่อเป็นสวัสดิการให้แก่ผู้มีสิทธิ

(22 มี.ค.66) นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยความคืบหน้าการยืนยันตัวตนของผู้ที่ผ่านเกณฑ์การพิจารณาคุณสมบัติตามโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐปี 2565 ณ วันที่ 21 มี.ค. 2566 เวลา 13.00 น. ว่า มีผู้ผ่านเกณฑ์ที่ยืนยันตัวตนสำเร็จ 11,383,700 ราย คิดเป็น 77.99% ของจำนวนผู้ผ่านเกณฑ์ทั้งหมด 14,596,820 ราย โดยมีจำนวนผู้ยื่นอุทธรณ์ผลการพิจารณาคุณสมบัติของผู้ที่ไม่ผ่านเกณฑ์การพิจารณาคุณสมบัติ ทั้งสิ้น 1,122,950 ราย

สำหรับผู้ผ่านเกณฑ์และยืนยันตัวตนสำเร็จ ภายในวันที่ 26 มี.ค. 2566 จะสามารถใช้สิทธิสวัสดิการผ่านบัตรประจำตัวประชาชนได้ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 2566 ตามกำหนดการที่กำหนดไว้ โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะได้รับสวัสดิการ ดังนี้ 

1. วงเงินค่าซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็น สินค้าเพื่อการศึกษาและวัตถุดิบเพื่อเกษตรกรรม จากร้านธงฟ้าราคาประหยัดพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น และร้านอื่น ๆ ตามที่กระทรวงพาณิชย์กำหนด จำนวน 300 บาทต่อคนต่อเดือน โดยผู้มีสิทธิสามารถใช้จ่ายได้ตั้งแต่เวลา 05.00 - 23.00 น. ของทุกวัน 

2. วงเงินส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้มจากร้านค้าตามที่กระทรวงพลังงานกำหนด จำนวน 80 บาทต่อคน ต่อ 3 เดือน โดยผู้มีสิทธิสามารถใช้จ่ายได้ตั้งแต่เวลา 05.00 - 23.00 น. ของทุกวัน

3. วงเงินรวมค่าเดินทางผ่านระบบขนส่งสาธารณะ จำนวน 750 บาทต่อคนต่อเดือน โดยสามารถใช้โดยสารได้กับระบบขนส่ง ได้แก่ รถองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.), รถบริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.), รถไฟฟ้า บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS-รถไฟฟ้ามหานคร (MRT) และบริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด และรถไฟ โดยไม่จำกัดวงเงินตามประเภทรถ โดยผู้มีสิทธิสามารถใช้บริการระบบขนส่งดังกล่าวได้ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 2566 ตั้งแต่เวลา 00.30 น. เป็นต้นไป

“คลังอยู่ระหว่างเตรียมการเพิ่มเติมประเภทระบบขนส่งเพื่อเป็นสวัสดิการให้แก่ผู้มีสิทธิ ได้แก่ รถเอกชนร่วม ขสมก. รถเอกชน รถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (BRT) รถเอกชนร่วม บขส. และรถเอกชน รถสองแถวรับจ้างและเรือโดยสารสาธารณะ ซึ่งจะแจ้งความคืบหน้าให้ประชาชนทราบต่อไป” นายพรชัย กล่าว

ยุทธศาสตร์คานงัดเศรษฐกิจไทย 10 ล้านล้าน โอกาสที่ 'อาเซียน-จีน-ตะวันออกกลาง' พร้อมเสิร์ฟ

“...ปีนี้จะเป็นปีแห่งโอกาสในวิกฤติทางด้านการค้า การลงทุน การท่องเที่ยวของไทย...”

“…เราทำเงินจากโอกาสการค้าของไทยกว่า 10 ล้านล้านบาท ในตลาดอาเซียน-จีน-ตะวันออกกลาง...”

นี่คือคำกล่าวโดยนายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์, ที่ปรึกษารัฐมนตรีเกษตรฯ และอดีตรัฐมนตรีช่วยพาณิชย์ ซึ่งถือเป็นภาคต่อ (ติดตามตอนแรก >> https://thestatestimes.com/post/2023031438) ในการฉายภาพเศรษฐกิจไทยที่กำลังพุ่งทะยาน โดยมีประชาธิปัตย์ทันสมัยเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนผ่านกระทรวงเกษตรฯ 

สำหรับในตอนล่าสุดนี้ นายอลงกรณ์ ได้พา THE STATES TIMES ไปโฟกัสถึงโอกาสขนาดใหญ่ที่ไทยกำลังปั้นให้เกิดเป็นผลลัพธ์จาก ตลาดอาเซียน-จีน-ตะวันออกกลาง ซึ่งเข้ามามีบทบาทต่อการเติบโตของภาคเศรษฐกิจไทยเป็นอย่างยิ่ง โดยมีรายละเอียดที่น่าสนใจ ดังนี้...

ปลายปี 2565 ไทยเป็นเจ้าภาพในการประชุม APEC ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่สำคัญและมีผลต่อเศรษฐกิจของไทยและภูมิภาคอาเซียนอย่างมาก รวมถึงการฟื้นความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับซาอุดีอาระเบีย ในรอบ 30 ปี ถือเป็น 'ลมส่งท้าย' ถึงปีนี้ ซึ่งจะเป็นปีแห่งโอกาสในวิกฤติของไทยทางด้านการค้า, การลงทุน, การท่องเที่ยว

เริ่มต้นปีด้วยข่าวดี เมื่อจีนเริ่มผ่อนคลายนโยบายการควบคุมโควิดและเปิดประเทศในเดือนมกราคม

ทั้งนี้ภาคการเกษตรของไทยถือเป็นกลไกสําคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยพร้อมกับยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคเกษตรไทย ภายใต้วิสัยทัศน์เปลี่ยนวิกฤติเป็นโอกาสสร้างเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งในประเทศ พร้อมทั้งมุ่งเน้นการขับเคลื่อนการผลิตสินค้าเกษตรมูลค่าสูงด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่และนวัตกรรม องค์ความรู้ ศาสตร์พระราชาภูมิปัญญาไทยโดยจัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (Agritech and Innovation Center : AIC) ทั้ง 77 จังหวัด และศูนย์ AIC ประเภทศูนย์ความเป็นเลิศ (Center of Excellence) อีก 23 ศูนย์ เมื่อ 1 มิถุนายน 2563 ซึ่งถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีที่สำคัญของการยกระดับอัพเกรดการพัฒนาประเทศภายใต้ยุทธศาสตร์เทคโนโลยีเกษตร 4.0 และยุทธศาสตร์ตลาดนำการผลิตบนความร่วมมือระหว่าง นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีพาณิชย์กับ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีเกษตรฯ

สำหรับโอกาสการค้าการลงทุนของไทยในจีน-ตะวันออกกลาง และอาเซียน ประเทศไทยถือได้ว่ามีศักยภาพสูงโดยใช้จุดแข็งของไทยที่ขอเรียกว่า...

>> '8 ลมใต้ปีก' ช่วยผลักดันโอกาสของไทยและหุ้นส่วนเศรษฐกิจให้เดินหน้าสู่ความสำเร็จ ได้แก่...

1. การฟื้นสัมพันธ์ไทย-ซาอุดีอาระเบีย 
- สร้างระเบียงเศรษฐกิจใหม่ (New Economic Corridor) ระหว่างไทย-ซาอุดีอาระเบีย อาเซียนและตะวันออกกลาง

2. รถไฟลาว-จีน เชื่อมไทย เชื่อมโลก 
- การพัฒนาโลจิสติกส์เชื่อมการขนส่งการค้า และการลงทุนของไทยไปยังตลาดทุกมณฑลในจีน อาเซียนตะวันออกกลาง เอเซียกลาง ยุโรป และอังกฤษเพราะการขนส่งสินค้าจะเร็วขึ้น ต้นทุนจะลดลง โดยเฉพาะอีสานเกตเวย์ และท่าเรือหวุ่งอ๋างเปิดเส้นทางสู่แปซิฟิก

3. 'ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค' (RCEP:Regional Comprehensive Economic Partnership)
- เป็นเขตการค้าเสรี (FTA) ที่ใหญ่ที่สุดของโลก ทำให้ภาษีนำเข้าสินค้าไทยเหลือศูนย์ทันทีเกือบ 30,000 รายการ ใน 14 ประเทศที่ร่วมเป็น FTA Partner ของ RCEP เริ่มมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2565 โดยมีสมาชิก 15 ประเทศรวมทั้งจีน และประเทศอาเซียนซึ่งผู้มีบทบาทสำคัญคือรองนายกรัฐมนตรีนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีพาณิชย์และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์เป็นประธานการประชุมตั้งแต่ต้นจนบรรลุข้อตกลงRCEP

4. มินิ-เอฟทีเอ (Mini-FTA)
- เป็นกลยุทธ์ใหม่เพิ่มโอกาสความร่วมมือทางเศรษฐกิจการค้าการลงทุนเปิดตลาดเมืองรองในประเทศต่างๆ ปูทางสร้างโอกาสสำหรับผู้ประกอบการไทย โดยรัฐมนตรีพาณิชย์เดินหน้าเชื่อมสัมพันธ์กับเมืองต่างๆในหลายประเทศ เช่น ไห่หนาน, กานซู และเสิ่นเจิ้นของจีน / เมืองโคฟุของญี่ปุ่น / เมืองเตลังกานาของอินเดีย และปูซานของเกาหลีใต้ เป็นต้น

5. FTA และการเปิดเจรจา FTA รอบใหม่ 
- ไทยมีความตกลงการค้าเสรี (FTA) ที่มีผลบังคับใช้แล้วถึง 14 ฉบับ กับ 18 ประเทศ ทำให้ไทยมีศักยภาพในการเป็นจุดหมายการลงทุนและการค้า รวมทั้งการเปิดเจรจา FTA กับสหภาพยุโรป อังกฤษ EFTA และ UAE

6. การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่
- เป็นอีกปัจจัยที่มีบทบาทสำคัญต่อการค้าการลงทุนในการสร้างศักยภาพเศรษฐกิจ และขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เช่น โครงการรถไฟสี่รางทางคู่ โครงการรถไฟความเร็วสูง โครงการพัฒนาท่าเรือมาบตาพุดระยะที่ 3 โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก โครงการท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 โครงการทางหลวงระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์)

‘สุชาติ’ เผย ส่งแรงงานไทยทำงาน ‘ภาคเกษตร’ ที่อิสราเอล ผ่านโครงการ TIC พร้อมหารือ ขยายตลาดภาคอุตสาหกรรมในอนาคต

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ในปี 2566 กระทรวงแรงงานมีโควตาจัดส่งแรงงานไทยไปทำงานภาคเกษตรรัฐอิสราเอล จำนวน 6,500 คน โดยตั้งแต่วันที่ 10 มกราคม - 20 มีนาคม 2566 จัดส่งแรงงานไทยไปทำงานฯ จำนวนทั้งสิ้น 1,513 คน แบ่งเป็นเพศชาย จำนวน 1,480 คน เพศหญิง จำนวน 33 คน 

ล่าสุดในวันนี้จะมีแรงงานไทย จำนวน 225 คน เดินทางไปทำงานภายใต้โครงการ “ความร่วมมือไทย - อิสราเอล เพื่อการจัดหางาน (Thailand-Israel Cooperation on the Placement of Workers: TIC)  ด้วยเครื่องบินโดยสารเที่ยวบินที่ EY084 ของสายการบินแอล อัล อิสราเอล แอร์ไลน์ ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยแรงงานทั้งหมดได้ผ่านการอบรมคนหางานก่อนการเดินทางไปทำงานในต่างประเทศแล้ว 


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top