Monday, 24 June 2024
ECONBIZ

สมาคมผู้ค้าปลีกไทย เผยโควิด -19 ระบาดระลอกใหม่ ส่งผลกระทบหนัก ยอดขายดิ่ง 10 - 30% วอนภาครัฐออกมาตรการช่วยเหลือด่วน เติมสภาพคล่องด้วยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ เผยสภาพคล่องที่เหลือใช้ดำเนินธุรกิจได้ไม่เกิน 6 เดือน

นายญนน์ โภคทรัพย์ ประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย เผยว่า จากข้อมูลผลของการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบค้าปลีก (Retailer Sentiment Index: RSI) เดือนมกราคม 2564 (รอบการสำรวจข้อมูลระหว่างวันที่ 19-26 มกราคม 2564) โดยสมาคมผู้ค้าปลีกไทยร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย ที่มีการสำรวจเป็นรายเดือน พบว่า ความเชื่อมั่นผู้ประกอบการค้าปลีก เดือนมกราคม 2564 ลดลงทันทีอย่างชัดเจนเมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม

และเป็นการปรับลดลง จากความอ่อนไหวจากการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19ระลอกใหม่ แม้ภาครัฐจะใช้มาตรการเข้มข้นเพียง 28 จังหวัด ดัชนีความเชื่อมั่นก็ยังคงปรับตัวลดลงใกล้เคียงกับดัชนีความเชื่อมั่นเมื่อเดือนเมษายน 2563 จากครั้งที่เกิดการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ระลอกแรก ที่ภาครัฐมีมาตรการ Lock Down ทั้งประเทศ

ทั้งนี้ สมาคมฯ มองว่า ความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการในอีก 3 เดือนข้างหน้าจะดีขึ้น รวมทั้งหวังว่าภาครัฐน่าจะมีมาตรการเยียวยาและกระตุ้นการใช้จ่ายอย่างต่อเนื่อง ดัชนีความเชื่อมั่นน่าจะมีทิศทางเดียวกับดัชนีเดือนพฤษภาคมและเดือนมิถุนายน 2563

สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นต่อยอดขายสาขาเดิมแยกตามภูมิภาค ทางด้านดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการต่อยอดขายเดิมรายภูมิภาค ปรับลดลงจากเดือนธันวาคมในทุกภูมิภาค สะท้อนถึงสภาวะความกังวลต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 อย่างชัดเจน

โดยเฉพาะภาคกลางซึ่งได้รับผลกระทบจาก super spreader ที่ตลาดกุ้งสมุทรสาคร รวมทั้งกรุงเทพ และปริมณฑล ที่มีอาณาเขตต่อเนื่องจากจังหวัดสมุทรสาคร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีแนวโน้มการบริโภคที่ขยายตัวได้ปานกลาง เนื่องจากประชากรส่วนหนึ่งเคลื่อนย้ายจากอุตสาหกรรมสู่ภูมิลำเนา ผสานกับแรงหนุนจากมาตรการของภาครัฐในการสนับสนุนสภาพคล่องและการใช้จ่าย ซึ่งจะช่วยประคับประคองการบริโภคภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้เมื่อเทียบกับภาคอื่น ๆ

ขณะเดียวกันผู้ประกอบการมองว่าแนวโน้มในอีก 3 เดือนข้างหน้า ดัชนีความเชื่อมั่นจะเพิ่มขึ้นในทุกภูมิภาคเช่นกัน เนื่องจากมั่นใจว่าภาครัฐมีบทเรียนจากการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ระลอกแรกเมื่อไตรมาสที่สอง 2563 และคาดหวังว่าคงต้องมีมาตรการเยียวยาและกระตุ้นการใช้จ่ายจากภาครัฐเช่นที่ผ่านมา

ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นแยกตามประเภทร้านค้าเปรียบเทียบระหว่างเดือนมกราคมและเดือนธันวาคมที่ผ่านมา พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นทุกประเภทของร้านค้าปลีกลดลงอย่างชัดเจน โดยเฉพาะร้านค้าปลีกประเภทห้างสรรพสินค้าและร้านค้าปลีกร้านอาหาร ซึ่งได้รับผลกระทบของมาตรการภาครัฐที่ประกาศปิดศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้าและร้านอาหารในเวลา 3 ทุ่ม

อย่างไรก็ตาม ผลจากการใช้มาตรการการทำงานจากบ้าน (WFH) ทำให้ร้านค้าวัสดุก่อสร้าง ซ่อมบำรุง เฟอร์นิเจอร์ กลับมีความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นสวนทางกลับดัชนีความเชื่อมั่นร้านค้าปลีกอื่น ๆ

ด้านผู้ประกอบการห้างสรรพสินค้า มีความวิตกต่อการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ค่อนข้างมากสะท้อนถึงความเชื่อมั่นในเดือนมกราคม 2564 ที่ลดลงอย่างทันที ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยกลางระดับที่ 50 หรือลดลงมากกว่าครึ่งหนึ่งอย่างชัดเจน ในขณะที่ในเดือนธันวาคม 2563 ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการห้างสรรพสินค้าใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยกลางระดับที่ 50 ทั้งนี้สำหรับแนวโน้มดัชนีความเชื่อมั่นในอีก 3 เดือนข้างหน้า ผู้ประกอบการห้างสรรพสินค้ายังคงมีความเชื่อมั่นที่เพิ่มสูงขึ้นกว่าค่าเฉลี่ยกลาง

สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ ร้านค้าปลีกประเภทไฮเปอร์มาร์เก็ต ซูเปอร์มาร์เก็ต และร้านสะดวกซื้อ พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นในเดือนมกราคม ลดลงมากและรวดเร็ว จากที่ดัชนีความเชื่อมั่นเดือนธันวาคมยังอยู่เหนือระดับค่าเฉลี่ยกลางที่ระดับ 50 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นการจับจ่ายสินค้าอุปโภคบริโภคที่หดตัวลงอย่างมาก เมื่อเทียบดัชนีประเภทร้านค้าทั้งสามประเภท ดูเหมือนว่าผู้ประกอบการค้าปลีกไฮเปอร์มาร์เก็ต รู้สึกวิตกกังวลต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 มากกว่าผู้ประกอบการร้านค้าสะดวกซื้อและซูเปอร์มาร์เก็ต

อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาถึงดัชนีความเชื่อมั่นในอีก 3 เดือนข้างหน้า ผู้ประกอบการประเภทไฮเปอร์มาร์เก็ตและซูเปอร์มาร์เก็ตกลับมีความเชื่อมั่นที่สูงขึ้น สูงกว่าเกณฑ์ค่าเฉลี่ยกลางที่ 50 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นต่อมาตรการภาครัฐที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจใน 3 เดือนข้างหน้า

พร้อมกันนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการประเภท ร้านค้าวัสดุก่อสร้าง ในเดือนมกราคม มีความเชื่อมั่นดีขึ้นสวนทางกับทิศทางของดัชนีความเชื่อมั่นร้านค้าประเภทอื่น ๆ ที่ลดลงอย่างรุนแรง

สะท้อนได้ว่าร้านค้าวัสดุก่อสร้าง ได้รับแรงหนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ และการปรับวิถีทำงานจากที่บ้าน (WFH) ทำให้มีความนิยมในการปรับภูมิทัศน์ภายในที่อยู่อาศัย ประกอบกับช่วงจัดซื้อจัดจ้างงบประมาณก่อสร้างภาครัฐ และวัสดุอุปกรณ์การก่อสร้างมีการปรับราคาที่สูงขึ้น

ผลจากดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ ประเภทร้านอาหาร ภัตตาคาร และเครื่องดื่ม มีความเชื่อมั่นที่ลดลงอย่างมีนัยยะชัดเจน มากกว่าร้านค้าประเภทอื่นๆ และต่ำกว่าค่าเฉลี่ยกลางที่ 50 ค่อนข้างมากและเมื่อเทียบกับความเชื่อมั่นในเดือนธันวาคม 2563 ก็ยังลดต่ำลงอย่างเห็นได้ชัดเจน ซึ่งอาจเป็นเพราะร้านอาหารมักเป็นธุรกิจที่อ่อนไหวต่อการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 และอาจได้รับผลกระทบจากมาตรการจำกัดเวลาการให้บริการและจำนวนการให้บริการแต่ละรอบที่ลดลงจากมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม

นายญนน์ กล่าวว่า การประเมินผลกระทบต่อยอดขายและกำลังซื้อและผลกระทบจากการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ จากมุมมองผู้ประกอบการ คือ 1.) ผู้ประกอบการได้รับผลกระทบด้านยอดขาย ที่ลดลง 10-30% 2.) ผู้ประกอบการกล่าวว่า ด้วยยอดขายที่หายไป สภาพคล่องที่เหลืออยู่จะสามารถดำเนินธุรกิจได้อีกไม่เกิน 6 เดือน หากไม่มีมาตรการเยียวยาและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ตรงเป้า 3.) ผู้ประกอบการกว่า 80% ประเมินว่ากำลังซื้อของผู้บริโภคลดลงมากว่า 25% เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม ปี 2563

สำหรับข้อ 4.) หากเปรียบเทียบยอดขายจากมาตรการ "ช้อปดีมีคืน" เมื่อช่วงสิ้นปี 2563 (วงเงิน 30,000 บาท) เมื่อเทียบกับมาตรการช้อปช่วยชาติ (วงเงิน 15,000 บาท) ในปี 2561 - 2562 ผู้ประกอบการ 55% ตอบว่า มียอดขายเท่าเดิมและน้อยกว่าเดิม ขณะที่ผู้ประกอบการ 43% ตอบว่า ยอดขายเพิ่มขึ้นไม่ถึง 25% และมีเพียง 2% ที่ตอบว่า ยอดขายเพิ่มขึ้นมากกว่า 25%

ขณะที่ 5.) ผู้ประกอบการกว่า 90% อยากให้ภาครัฐเปิดโอกาสให้เข้าร่วมมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ อย่างเท่าเทียมกัน อาทิ โครงการคนละครึ่ง 6.) ผู้ประกอบการเสนอแนะให้ภาครัฐช่วยเหลือเรื่องสภาพคล่องอย่างเร่งด่วน ด้วยมาตรการภาษีลดภาระค่าใช้จ่าย และ สนับสนุนให้ธนาคารพาณิชย์พิจารณาสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (ซอฟต์โลน) แก่ผู้ประกอบการโดยเร็ว เนื่องจากด้วยสภาพคล่องที่เหลืออยู่จะสามารถดำเนินธุรกิจได้ไม่เกิน 6 เดือน

อย่างไรก็ตาม ข้อ 7.) ผู้ประกอบการอยากให้ภาครัฐประกาศการจ้างงานเป็นรายชั่วโมง เพื่อให้สอดคล้องกับการบริการต่อผู้บริโภคที่มาเป็นช่วงเวลา โดยให้ใช้กับธุรกิจค้าปลีกและร้านอาหารเป็นการเฉพาะก่อน

รมว. คลัง ปลื้มสินค้า OTOP ศรีสะเกษ มียอดขายกว่า 6 พันล้านบาท โดยสินค้าประเภทผ้ามีเป้าหมายการจำหน่าย 1 พันล้านบาท สามารถจำหน่ายได้ถึง 978,342,747 ล้านบาท พร้อมเปิดรับออเดอร์สั่งซื้อออนไลน์ ป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง พร้อมด้วย น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้เดินทางไปเป็นประธานเปิดศูนย์ OTOP จ.ศรีสะเกษ โดยมี นายวัฒนา พุฒิชาติ ผวจ.ศรีสะเกษ เป็นผู้กล่าวรายงาน และมีนายสำรวย เกษกุล นายวิชัย ตั้งคำเจริญ นายอนุรัตน์ ธรรมประจำจิต รอง ผวจ.ศรีสะเกษ พล.ต.ต.สันติ เหล่าประทาย ผบก.ภ.จว.ศรีสะเกษ นายวิทยา วิรารัตน์ ประธานสภาวัฒนธรรม จ.ศรีสะเกษ นายจรินทร์ รอบการ พัฒนาการ จ.ศรีสะเกษ และหัวหน้าส่วนราชการ นำกลุ่มผู้ผลิตผู้ประกอบการ OTOP จ.ศรีสะเกษ ให้การต้อนรับ และร่วมจำหน่ายสินค้า OTOP เป็นจำนวนมาก

นายวัฒนา พุฒิชาติ ผวจ.ศรีสะเกษ กล่าวว่า จ.ศรีสะเกษ ได้ดำเนินการส่งเสริม สนับสนุนการผลิตและจำหน่ายสินค้า OTOP เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก แก้ไขปัญหาความยากจน ลดความเหลื่อมล้ำ ภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และสืบสานรักษาต่อยอด ให้ชุมชนเข้มแข็ง พึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน ในการขับเคลื่อนงาน จ.ศรีสะเกษ ได้มีการพัฒนาคุณภาพมาตรฐาน และการสร้างแบรนด์สินค้าใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค เช่น การฝึกอบรมทักษะการแส่ว การนำวัสดุธรรมชาติมาย้อมผ้า ภายใต้แนวคิด "ศรีสะเกษธานี ผ้าศรี...แส่ว" ซึ่งการจำหน่ายสินค้า OTOP ในปี 2563 มียอดการจำหน่าย จำนวน 6,125,553,509 บาท โดยสินค้าประเภทผ้ามีเป้าหมายการจำหน่าย 1 พันล้านบาท จำหน่ายได้ 978,342,747 ล้านบาท และในปี 2564 ได้นำยุทธศาสตร์การพัฒนา ย้อม ทอ แส่ว ออกแบบ แปรรูปและจำหน่าย เพื่อให้บรรลุเป้าหมายพันล้านบาท โดยใช้ศูนย์ OTOP เป็นสถานที่บริการนักท่องเที่ยวทั้งภายในและภายนอกจังหวัด รวมถึงเป็นสถานที่รับออเดอร์ออนไลน์ และเป็นที่รวบรวมการสั่งซื้อออนไลน์อีกช่องทางหนึ่ง

ผวจ.ศรีสะเกษ กล่าวต่อไปว่า การดำเนินงานมีการบูรณาการขับเคลื่อนกับทุกภาคส่วนทุกกระบวนการตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ รวมถึงการนำนโยบายของรัฐบาลมาใช้ในระบบการซื้อขาย เช่น โครงการช้อปดีมีคืน โครงการคนละครึ่ง และโครงการไทยชนะ ถึงแม้ว่าจะอยู่ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทำให้ยอดการผลิต และจำหน่ายสินค้า OTOP ทุกประเภท มีการหมุนเวียนซื้อ-ขาย ลดลงเพียงเล็กน้อย ดังนั้น ทางศูนย์ OTOP จ.ศรีสะเกษ จึงทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการซื้อขายสินค้า OTOP ของ จ.ศรีสะเกษ อย่างครบวงจร โดยเปิดให้บริการประชาชนผู้สนใจทั่วไป ภายใต้แนวคิด "มาหน้าร้านเราขาย สั่งออนไลน์เราส่ง" อันเป็นการสร้างช่องทางการกระจายสินค้า เพื่อเพิ่มมูลค่าและรายได้ให้กับพี่น้องประชาชนชาวศรีสะเกษอย่างยั่งยืน

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง กล่าวว่า นับว่าเป็นความสำเร็จที่น่าชื่นชมเป็นอย่างมาก ที่ยอดการจำหน่ายสินค้า OTOP จ.ศรีสะเกษ มียอดการจำหน่ายสูงถึง 6,125,553,509 บาท ทำให้เศรษฐกิจของ จ.ศรีสะเกษดีขึ้นมากกว่าเดิม อีกทั้งมีการผลิตผ้าเบญจศรี ภายใต้แนวคิด"ศรีสะเกษธานี ผ้าศรี...แส่ว" จะเป็นการสร้างรายได้ให้กับพี่น้องประชาชนชาวศรีสะเกษให้มีความอยู่ดีกินดี มีความสุข สนองนโนบายของรัฐบาลเป็นอย่างดียิ่ง

สำหรับโครงการเราชนะ มีการลงทะเบียนอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ร้านค้าที่เข้าไปร่วมก็มีมาก ได้รับการตอบรับที่ดีมาก โครงการเราชนะ เราตั้งเป้าครอบคลุมเอาไว้ 31.1 ล้านคน ถ้าบวกโครงการประกันตนตามมาตรา 33 เข้ามาอีกประมาณ 9 ล้านกว่า รวมแล้วจะประมาณ 41 ล้าน นั่นคือเป้าหมายในการครอบคลุมให้ทั่วถึง ส่วนร้านค้านั้นได้มีการหารือกับกระทรวงมหาดไทยก็จะมีการเชิญชวนร้านค้าเข้ามาให้ได้อีกประมาณ 1 ล้านราย

ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 นี้ รัฐบาลนำโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีความห่วงใยพี่น้องประชาชนชาวไทยทุกคนเป็นอย่างมาก ขอฝากในเรื่องมาตรการ การ์ดไม่ตก เนื่องจากว่าการแพร่ระบาดยังไม่จบ พื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงก็ยังมีการตรวจเชิงลึกอยู่ จึงต้องขอความร่วมมือจากพี่น้องประชาชนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงก็คงจะต้องงดกิจกรรมในการเดินทาง เรื่องการเข้มงวดกับตนเองในเรื่องการสวมหน้ากากเมื่อออกไปในที่ชุมชนและหมั่นล้างมืออยู่เสมอ จะเป็นการช่วยป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ได้


ภาพ / ข่าว ศิริเกษ หมายสุข ผู้สื่อข่าวประจำ จ.ศรีสะเกษ

‘สามารถ ราชพลสิทธิ์’ ผิดหวังรฟม. ไม่สู้ต่อในชั้นศาลปกครองสูงสุด ชิงล้มประมูลคัดเลือกชนร่วมลงทุนรถไฟฟ้าสายสีส้ม อ้างถ้าสู้ต่อทำให้เสียเวลา หลังถูกบีทีเอสฟ้องใช้เกณฑ์คัดเลือกใหม่ ส่อไม่เป็นธรรม เอื้อประโยชน์ให้เอกชนบางราย

ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบขนส่งมวลชน โพสต์ข้อความในเพจเฟซบุ๊กส่วนตัว ‘ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ – Dr.Samart Ratchapolsitte’ โดยระบุว่า
ล้มสายสีส้ม
สู้ไม่สุดซอย ถอยดีกว่า
น่าเสียดายที่ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) สู้ไม่สุดซอย ถอยเสียก่อน ไม่รอฟังคำสั่งของศาลปกครองสูงสุด สร้างความผิดหวังให้กับผู้เกาะติดการประมูลคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมลงทุนในโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มเป็นอย่างยิ่ง เพราะทำให้ไม่รู้ว่าใครจะแพ้ ใครจะชนะ
ในที่สุด รฟม. ได้ประกาศล้มการประมูลคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมลงทุนในโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มอย่างไม่เกรงกลัวต่อข้อครหาของผู้ติดตามการประมูลที่ต้องบันทึกไว้เป็นประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของการประมูลไทย
รฟม. ประกาศเชิญชวนให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนในโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม มีผู้ซื้อเอกสารสำหรับคัดเลือกเอกชน (RFP) 10 ราย หลังจากปิดขาย RFP แล้ว มีเอกชนเพียงรายเดียวร้องขอให้เปลี่ยนเกณฑ์การคัดเลือกจากเดิมที่จะต้องพิจารณาความสามารถด้านเทคนิคก่อน หากสอบผ่านก็จะพิจารณาข้อเสนอผลตอบแทนให้แก่ รฟม. ใครให้มากที่สุดจะเป็นผู้ชนะการประมูล เป็นเกณฑ์ใหม่ที่จะพิจารณาความสามารถด้านเทคนิคพร้อมกับข้อเสนอผลตอบแทน ใครได้คะแนนรวมสูงสุดก็จะเป็นผู้ชนะการประมูล ซึ่งอาจทำให้ผู้เสนอผลตอบแทนสูงสุดไม่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้ชนะการประมูลก็ได้ ทำให้ รฟม.ไม่ได้รับผลตอบแทนสูงสุดที่ควรจะได้
เกณฑ์ใหม่ทำให้ประชาชนและประเทศชาติได้ประโยชน์สูงสุดจริงหรือ?
รฟม. อ้างว่าเกณฑ์ใหม่จะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนและประเทศชาติ กล่าวคือการคัดเลือกผู้ชนะการประมูลด้วยการพิจารณาความสามารถด้านเทคนิคพร้อมกับข้อเสนอผลตอบแทนให้แก่ รฟม. จะทำให้สามารถคัดเลือกผู้ชนะการประมูลที่มีความสามารถด้านเทคนิคสูง เนื่องจากโครงการนี้ต้องใช้เทคโนโลยีชั้นสูง เพราะต้องก่อสร้างอุโมงค์ใต้พื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์และอุโมงค์ลอดแม่น้ำเจ้าพระยา รฟม. ไม่ได้พิจารณาแค่เพียงข้อเสนอผลตอบแทนเท่านั้น
แต่ผมมีความเห็นว่าเกณฑ์ใหม่สู้เกณฑ์เดิมไม่ได้ เนื่องจากเกณฑ์ใหม่ไม่ได้กำหนดคะแนนขั้นต่ำด้านเทคนิคไว้ นั่นหมายความว่าผู้ที่ได้คะแนนด้านเทคนิคไม่ว่าจะต่ำเพียงใดก็จะได้รับการพิจารณา และอาจได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้ชนะถ้าเขาเสนอผลตอบแทนให้แก่ รฟม. สูงมาก เป็นผลให้ รฟม. ไม่ได้ผู้ชนะการประมูลที่มีความสามารถด้านเทคนิคสูงตามที่ รฟม. ต้องการ
นอกจากนี้ เกณฑ์ใหม่จะเปิดโอกาสให้กรรมการคัดเลือกช่วยเอกชนรายใดรายหนึ่งให้เป็นผู้ชนะก็ได้ กล่าวคือเมื่อกรรมการฯ เห็นข้อเสนอด้านเทคนิคพร้อมๆ กับข้อเสนอผลตอบแทน ทำให้รู้ว่าจะต้องให้คะแนนอย่างไรจึงจะทำให้เอกชนรายนั้นเป็นผู้ชนะ เช่น หากต้องการช่วยเอกชน A ซึ่งเสนอผลตอบแทนต่ำกว่า ให้ชนะเอกชน B ซึ่งเสนอผลตอบแทนสูงกว่า กรรมการฯ ก็อาจให้เอกชน A ได้คะแนนด้านเทคนิคสูงกว่าเอกชน B เพื่อทำให้เอกชน A ได้คะแนนรวมสูงกว่า ซึ่งจะได้รับเลือกให้เป็นผู้ชนะทั้ง ๆ ที่เสนอผลตอบแทนต่ำกว่า ทำให้ รฟม. ไม่ได้รับผลตอบแทนสูงสุดที่ควรจะได้
ต่างกับเกณฑ์เดิมที่ให้ความสำคัญกับความสามารถด้านเทคนิคเป็นอย่างมาก โดยจะพิจารณาความสามารถด้านเทคนิคก่อน ซึ่งจะต้องได้คะแนนไม่น้อยกว่า 85% ถ้าได้น้อยกว่าก็ถือว่าสอบตก รฟม. จะไม่พิจารณาข้อเสนอผลตอบแทนต่อไป ทำให้ผู้ชนะการประมูลเป็นผู้ที่มีความสามารถด้านเทคนิคสูงสามารถทำการก่อสร้างในพื้นที่ใดก็ได้ และในขณะเดียวกัน ก็จะทำให้ รฟม. ได้ผู้ชนะการประมูลที่เสนอผลตอบแทนสูงที่สุดด้วย
สรุปได้ว่า เกณฑ์ใหม่จะไม่ทำให้ประชาชนและประเทศชาติได้ประโยชน์สูงสุด สู้เกณฑ์เดิมไม่ได้ รฟม. จึงต้องใช้เกณฑ์เดิมในการประมูลโครงการที่ต้องการผู้ชนะการประมูลที่มีความสามารถด้านเทคนิคสูง ดังเช่น โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ผมขอย้ำว่าเกณฑ์เดิมมีความเหมาะสมกับโครงการของ รฟม. มากกว่าเกณฑ์ใหม่อย่างแน่นอน
คงเป็นเหตุผลนี้กระมังที่ทำให้ผู้แทนสำนักงบประมาณซึ่งร่วมเป็นกรรมการฯ “ยืนหนึ่ง” ค้านการใช้เกณฑ์ใหม่ตลอดมา
รฟม. เคยใช้เกณฑ์พิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิคพร้อมกับข้อเสนอผลตอบแทนมาก่อน!
อันที่จริง รฟม. เคยใช้เกณฑ์พิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิคพร้อมกับข้อเสนอผลตอบแทนมาก่อน แต่เป็นเวลานานกว่า 20 ปีแล้ว โดยใช้ในโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางซื่อ หลังจากนั้น รฟม. ไม่ใช้เกณฑ์นี้อีกเลย เพราะรู้ว่าเกณฑ์นี้ลดความสำคัญของข้อเสนอด้านเทคนิค ไม่เหมาะสมกับโครงการที่มีความซับซ้อน ดังนั้น ในการประมูลโครงการรถไฟฟ้าต่อมา รฟม. จึงเลือกพิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิคก่อน หากสอบผ่านจึงจะพิจารณาข้อเสนอผลตอบแทน หากสอบตกก็จะไม่พิจารณาข้อเสนอผลตอบแทน ซึ่งถือว่าเป็นการให้ความสำคัญต่อข้อเสนอด้านเทคนิคอย่างแท้จริง ทำให้ได้ผู้ชนะการประมูลที่มีความสามารถด้านเทคนิคสูง และให้ผลตอบแทนแก่ รฟม.สูงที่สุดด้วย แต่อะไรทำให้ รฟม. ต้องกลับไปใช้เกณฑ์ที่ไม่เหมาะสมกับโครงการที่มีความซับซ้อนดังเช่นโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มอีก?
บีทีเอสฟ้องศาลปกครองกลาง
บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสเห็นว่าการเปลี่ยนเกณฑ์การประมูลทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมและอาจเป็นการเอื้อประโยชน์ให้เอกชนรายใดรายหนึ่ง จึงฟ้องศาลปกครองกลางโดยขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเพิกถอนเกณฑ์ใหม่ หรือไม่ให้ รฟม. ใช้เกณฑ์ใหม่ และขอให้ศาลทุเลาการใช้เกณฑ์ใหม่ก่อนที่จะมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง หรือไม่ให้ รฟม. ใช้เกณฑ์ใหม่ในระหว่างที่รอการพิจารณาของศาล ในที่สุดศาลได้มีคำสั่งให้ทุเลาการใช้เกณฑ์ใหม่ไว้เป็นการชั่วคราวจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเป็นอย่างอื่น โดยศาลได้ระบุไว้ในคำพิพากษาตอนหนึ่งว่า การเปลี่ยนเกณฑ์การประมูล “จึงเป็นคำสั่งที่น่าจะมีปัญหาเกี่ยวกับความไม่ชอบด้วยกฎหมาย” รฟม. ไม่เห็นด้วย จึงเดินหน้าสู้ด้วยการยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุดโดยขอให้ศาลมีคำสั่งระงับคำสั่งทุเลาของศาลปกครองกลาง
รฟม. สู้ไม่สุดซอย
แต่ยังไม่ทันที่ศาลปกครองสูงสุดจะมีคำสั่งลงมา รฟม. ได้ชิงล้มการประมูลไปก่อน น่าเสียดายที่ รฟม. สู้ไม่สุดซอย โดยอ้างว่าถ้าสู้ต่อไปจะทำให้เสียเวลานาน แต่ถ้าล้มประมูลจะเสียเวลาน้อยกว่า แต่ผมเห็นว่าถ้าสู้ให้สุดซอยก็จะทำให้รู้ว่าการที่ รฟม. เปลี่ยนเกณฑ์การประมูลชอบด้วยกฎหมายหรือไม่? และเกณฑ์ใหม่เป็นประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนและประเทศชาติจริงหรือไม่?
อันที่จริง ถ้า รฟม. ทนรอคำสั่งของศาลปกครองสูงสุดต่อไปอีกสักหน่อย ซึ่งคาดว่าในอีกไม่นานศาลน่าจะมีคำสั่งลงมา และถ้าศาลมีคำสั่งยืนตามศาลปกครองกลาง นั่นหมายความว่า รฟม. ไม่สามารถใช้เกณฑ์ใหม่ได้เป็นการชั่วคราวจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเป็นอย่างอื่น ในกรณีศาลปกครองสูงสุดมีความเห็นเหมือนกับศาลปกครองกลางเช่นนี้ โอกาสที่ศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเป็นอย่างอื่นคงยากมาก ดังนั้น รฟม. จึงสามารถเดินหน้าประมูลต่อไปโดยใช้เกณฑ์เดิมได้ ซึ่งสามารถประหยัดเวลาได้เมื่อเปรียบเทียบกับการล้มประมูลแล้วเปิดประมูลใหม่
แต่อย่างไรก็ตาม ถ้า รฟม. ไม่เปลี่ยนเกณฑ์ประมูลก็จะไม่เสียเวลาเลย ใช่ไหม?
ข้อสงสัยและข้อสังเกตดังกล่าวข้างต้นจึงเป็นข้อกังขาที่ผมและประชาชนทุกคนชอบที่จะต้องขอคำชี้แจงให้สิ้นสงสัยจากหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง ทั้งนี้ก็เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน ด้วยเจตนาที่จะให้ประชาชนได้รับประโยชน์จากโครงการนี้อย่างเต็มที่ โดยปราศจากข้อสงสัยใดๆ ทั้งสิ้นเท่านั้นเอง



Cr : เพจ ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์

สยบดราม่า!! 'ปาท่องโก๋'​ ขาลง!! >> 'การบินไทย'​ แจง!! เหตุภาพร้านไร้คนว่อนเน็ต​ เพราะพื้นที่ขายในห้างจำกัด พนักงานจึงต้องเตรียมกล่องวางเรียงไว้ล่วงหน้า​ ลดกระบวนการหน้างาน​ ช่วยลูกค้าไม่ต้องเสียเวลาในการเข้าคิวรอ

หลังเพจ "ผู้บริโภค" ได้เผยภาพเมนูปาท่องโก๋การบินไทย บรรจุใส่กล่อง ที่วางขายในห้างสรรพสินค้าชื่อดัง ในราคา 100 บาทพร้อมน้ำจิ้ม แต่กลับไม่มีใครต่อคิวซื้อแบบตอนช่วงแรกๆ​ จนของตั้งเหลืออยู่จำนวนมาก โดยผู้โพสต์ระบุว่า...

"แรก ๆ​ กระแสแรง ตอนนี้ไม่มีคิวเลย ที่ห้างสรรพสินค้า (100 บาท พร้อมน้ำจิ้มด้วยนะ) มีใครเคยกินแล้วบ้าง อร่อยไหม?" ขณะเดียวกันชาวเน็ตก็ได้มีการคอมเม้นต์ว่า อาจจะเป็นเพราะราคาสูงเกินไป

ล่าสุด​ “การบินไทย” ได้ออกมายืนยันว่าปาท่องโก๋ยังเป็นสินค้าขายดีเหมือนเดิม ลูกค้ายังให้การตอบรับสูง และตามจุดจำหน่ายแต่ละสาขาต่างๆ ก็ยังมีลูกค้าแน่นตามเป็นปกติ และแจงเกี่ยวกับภาพสื่อออนไลน์ที่ถูกโพสต์ก่อนหน้า​ จนทำให้เห็นว่าเหมือนไม่มีลูกค้าแล้วนั้น​ เป็นภาพกล่องปาท่องโก๋ที่เตรียมพร้อมเพื่อขายไว้ล่วงหน้าเท่านั้น

นางวรางคณา ลือโรจน์วงค์ กรรมการผู้จัดการฝ่ายครัวการบิน บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ขณะนี้ปาท่องโก๋การบินไทยยังได้รับการตอบรับจากลูกค้าเป็นอย่างดี นอกจากสาขาร้านปัจจุบันที่ยังเปิดจำหน่ายปกติและขยายเวลาจำหน่ายแล้ว

ฝ่ายครัวการบิน การบินไทย ยังได้นำไปทอดจำหน่ายตามห้างสรรพสินค้าชั้นนำต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่างทั่วถึง ตลอดเดือนกุมภาพันธ์ และมีนาคม 2564 เช่น ท็อปส์ซุปเปอร์มาร์เก็ต ในห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลพระราม 3 เซ็นทรัลพลาซา เวสต์เกต เซ็นทรัลลาดพร้าว เซ็นทรัลรัตนาธิเบศร์ โรบินสันฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต โรบินสันแฟชั่นไอร์แลนด์ ท็อปส์ซุปเปอร์มาร์เก็ต สุขาภิบาล 3 และเปิดจุดขายเพิ่มตามสาขาต่างจังหวัดทั้งเชียงใหม่ ภูเก็ต กระบี่ รวมถึงเพิ่มช่องทางการจำหน่ายผ่าน delivery services ที่โทร. 0-2356-1666

ส่วนกรณีที่มีภาพกล่องปาท่องโก๋การบินไทยวางตั้งเหลืออยู่จำนวนมากที่เผยแพร่ในสื่อออนไลน์นั้น เนื่องจากพื้นที่จำหน่ายปาท่องโก๋ในห้างสรรพสินค้ามีจำกัด พนักงานจึงเตรียมกล่องไว้ล่วงหน้า​เพื่อความรวดเร็ว​ ลูกค้าจะได้ไม่ต้องมาเสียเวลาในการเข้าคิวรอ

ทั้งนี้ ปาท่องโก๋การบินไทยยังได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี และลูกค้ายังให้ความสนใจเหมือนเดิม


ที่มา: https://mgronline.com/business/detail/9640000011835

'ชื่อฉัน' นั้นไพเราะที่สุด เรื่องเล็กๆ ที่ Starbucks 'เสก' ให้เป็นเรื่องใหญ่ได้ | Story Telling EP.1

ใครจะคิดว่ากิมมิคของการเขียนชื่อลงบนแก้วกาแฟ Starbucks จะกลายเป็นวัฒนธรรมหลัก ที่สร้างความผูกพันต่อลูกค้าและช่วยต่อยอดแบรนด์กาแฟแก้วนี้ได้แบบไม่รู้จบ

.

อสังหาไทย ปี'64 เป็นอย่างไรบ้าง ? | สนามนักสู้ EP.24

จากข่าว ''LPN Wisdom' ชี้!! อสังหาฯ ยังมีลุ้น หลังรัฐ 'ไม่ล็อกดาวน์ - ลดค่าธรรมเนียม - ลดเก็บภาษีที่ดิน' เชื่อตัวเลข 64 จะ 'บวก' จะ 'ลบ' อยู่ที่ฝีมือรัฐ''

Link ข่าว : https://thestatestimes.com/post/2021012209

LPN Wisdom คาดตลาดอสังหาริมทรัพย์ปี 2564 จะสามารถเพิ่มผลกำไรหรือจะติดลบ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ โควิด-19 และรัฐบาลที่จะต้องแก้มือกับสถานการณ์นี้ วิเคราะห์ทิศทาง และ การแก้ไขปัญหา กับ คุณปอ ณัฐภูมิ รัฐชยากร

 

‘กรอ.พาณิชย์’ ไฟเขียว เรือใหญ่ ขนาด 400 เมตร เทียบท่าแหลมฉบัง รับสินค้าไทยส่งออกได้ สู่ประเทศปลายทาง ไม่ต้องถ่ายสินค้าลงเรือใหญ่ที่สิงคโปร์ โดยใช้เวลาขออนุญาต 1 วัน และมีอายุ 2 ปี คาดส่งออกไทยปีนี้ขยายตัวได้ถึง 4%

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและะเอกชนด้านการพาณิชย์ (กรอ.พาณิชย์) ครั้งที่ 1/2564 ว่า ที่ประชุมได้มีการติดตามความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาอุปสรรคการส่งออก โดยในเรื่องการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ที่เป็นปัญหากระทบไปทั่วโลก สามารถแก้ไขปัญหาได้แล้ว โดยเรื่องที่ภาคเอกชนเรียกร้องให้เปิดโอกาสเรือขนาด 400 เมตร

ซึ่งเป็นเรือขนาดใหญ่ และมีสายการเดินเรืออยู่ประมาณ 6 สายการเดินเรือ เข้ามาเทียบท่าที่แหลมฉบังได้โดยไม่ต้องขออนุญาต หรือไม่ต้องอนุญาตโดยใช้ดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ ซึ่งหลังจากที่กระทรวงพาณิชย์ ภาคเอกชน ได้หารือร่วมกับการท่าเรือแห่งประเทศไทย ได้ข้อสรุปร่วมกันว่าจะอนุญาตให้เรือที่มีขนาดใหญ่ 400 เมตร สามารถเข้ามาเทียบท่าและรับสินค้าไทยเพื่อการส่งออกได้ โดยการขออนุญาตใช้เวลาแค่ 1 วัน และใบอนุญาตจะมีอายุ 2 ปี จะช่วยให้การส่งออกสินค้าสามารถขึ้นเรือใหญ่และไปสู่ประเทศปลายทางได้เลย จากที่จะต้องไปถ่ายลงเรือใหญ่ที่สิงคโปร์หรือท่าอื่นๆ ซึ่งทำให้ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น แต่จากนี้จะเป็นการลดต้นทุนไปในตัว

ส่วนการแก้ปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ สำหรับสินค้าที่ไม่จำเป็นต้องส่งออกโดยการใช้ตู้ จะหลีกเลี่ยงการใช้ตู้ โดยจะใช้เรือที่ขนสินค้าส่งออกแทน เช่น ผลไม้ มะพร้าว พืชเกษตรชนิดอื่น และไม้ยางพารา เป็นต้น โดยมีการเตรียมเรือไว้จำนวนหนึ่ง จะเริ่มดำเนินการได้ในช่วงสัปดาห์ที่ 3 ของเดือน ก.พ.2564

เพื่อลดการใช้ตู้คอนเทนเนอร์ และจะส่งเสริมให้มีการนำให้เรือบรรทุกสินค้านำตู้เปล่าเข้ามา โดยมีมาตรการจูงใจ เช่น ลดค่าธรรมเนียมนำเข้าตู้เปล่า ซึ่งการท่าเรือฯ จะเป็นผู้ดำเนินการต่อไป โดยจะเป็นผู้เสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อขอความเห็นชอบ คาดว่าจากเร็วที่สุดอาจเป็นวันที่ 9 ก.พ.2564

สำหรับสินค้าที่ส่งออกไปยังจีน จะเน้นการขนส่งทางรถหรือทางบกให้มากขึ้น โดยเร่งเจรจาการขนส่งผ่านด่านของไทยไปสปป.ลาว เวียดนาม และจีน ให้ได้มากขึ้น ซึ่งจะช่วยลดความจำเป็นในการใช้ตู้คอนเทนเนอร์ลงได้

นอกจากนี้ จะเร่งรัดการเปิดด่านชายแดนเพิ่มขึ้น โดยปัจจุบันมีด่านชายแดนทั้งหมด 97 ด่าน เปิดแล้ว 39 ด่าน ล่าสุดจากการเจรจาของกระทรวงพาณิชย์สามารถเปิดได้อีก 1 ด่าน คือ ด่านถาวรที่บึงกาฬ รวมเป็น 40 ด่าน และตั้งเป้าจะเร่งรัดเปิดอีก 3 ด่าน คือ 1.) ด่านป่าแซง จ.อุบลราชธานี 2.) ด่านเชียงคาน จ.เลย 3.) ด่านท่าเรือหายโศก จ.หนองคาย โดยจะนำเข้าหารือในที่ประชุม ครม. เพื่อให้ท่านนายกรัฐมนตรีสั่งการเป็นนโยบาย เพื่อเร่งรัดการส่งออกสินค้าได้สะดวกยิ่งขึ้นต่อไป

ส่วนปัญหาการส่งออกรถยนต์ไปเวียดนาม ซึ่งเดิมเคยติดขัดในเรื่องกฎระเบียบในการนำรถตัวอย่างไปตรวจสอบแทบทุกล็อต ต่อไปนี้ปัญหายุติแล้ว หลังจากที่อาเซียนได้ลงนามความตกลงยอมรับร่วมสินค้ายานยนต์ (MRA) โดยได้ลงนามครบทั้ง 10 ประเทศแล้ว เหลือขั้นตอนการให้สัตยาบัน โดยไทยจะเร่งนำเข้าสภาผู้แทนราษฎรให้เร็วที่สุด คาดว่าจะทันในสมัยประชุมนี้ หากบังคับใช้ จะส่งผลต่อการส่งออกรถยนต์ไปเวียดนามได้ง่ายขึ้น และปัญหาการขนส่งรถยนต์จากโรงงานไปท่าเรือเพื่อส่งออก ที่เดิมติดปัญหารถไม่มีป้ายทะเบียน ทำให้ถูกเจ้าหน้าที่จับกุม ล่าสุดหลังหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ข้อยุติว่าจะไม่มีการจับกุม เพราะเป็นข้อยกเว้นตามกฎหมายที่สามารถทำได้

นายจุรินทร์ กล่าวว่า ที่ประชุมยังได้ติดตามสถานการณ์ในเมียนมา พบว่าจนถึงขณะนี้ยังไม่มีผลกระทบที่มีนัยสำคัญต่อภาคการค้าและภาคธุรกิจของไทย ยังดำเนินธุรกรรมได้ตามปกติ การค้าขายระหว่างกันยังสามารถดำเนินการได้ การค้าชายแดนก็ไม่ได้รับผลกระทบ โดยด่านสำคัญ 3 ด่าน ที่เป็นด่านถาวรในการส่งออกสินค้าของไทยทั้งด่านแม่สาย แม่สอด หรือระนอง สามารถส่งออกสินค้าได้ตามปกติ

และด่านสังขลาบุรี ที่กาญจนบุรี ที่ปิดไป คาดว่าจะสามารถเปิดด่านได้ในเร็ววันนี้ และกระทรวงพาณิชย์ยังได้สั่งการให้ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ที่เมียนมา ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และรายงานกลับมาทุกวัน และจะอัพเดตสถานการณ์ในเมียนมาที่เกี่ยวข้องกับการค้า การลงทุน การทำธุรกิจ ให้ทราบผ่านเว็บไซต์ของกระทรวงพาณิชย์ทุกวัน

อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมยังได้มีการประเมินสถานการณ์ส่งออกในปี 2564 โดยภาคเอกประเมินว่าการส่งออกในปี 2564 คาดว่าจะขยายตัวได้ 3.5-4% ส่วนกระทรวงพาณิชย์ประเมินว่ามีโอกาสที่การส่งออกจะขยายตัวได้ถึง 4% เพราะการส่งออกของไทยได้ผ่านพ้นจุดต่ำสุดมาแล้วในปี 2563 กำลงจะฟื้นตัวดีขึ้นในปี 2564

‘เอ็มบีเค เซ็นเตอร์’ หรือ ที่คนไทยเรียกติดปากว่า ‘มาบุญครอง’ จะกลับมาคึกคักอีกครั้ง หลังจากหนึ่งในแผนการรีโนเวตศูนย์การค้าครั้งใหม่ในรอบ 36 ปีนั้น มีชื่อของ ‘ดองกิ’ ราชาแห่งร้านดิสเคาน์สโตร์จากญี่ปุ่นติดเข้ามาอยู่ในโผด้วย

นายสมพล ตรีภพนารถ กรรมการผู้จัดการธุรกิจศูนย์การค้า บริษัท เอ็ม บี เค จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทได้ทำการรีโนเวตครั้งใหญ่ในรอบ 36 ปี โดยมีการปรับเปลี่ยน จัดโซนนิ่งและพื้นที่ภายในใหม่ เพื่อให้ง่ายและสะดวกต่อการเดินช็อปปิ้ง รองรับความต้องการได้อย่างตรงจุด หลังจากห้างสรรพสินค้าโตคิวได้ปิดตัวลง

สำหรับการรีโนเวตพื้นที่บางส่วนภายในศูนย์ฯ จัดวางผังร้านค้าใหม่ เพิ่มเติมร้านค้าและบริการใหม่ๆ เพื่อรองรับกับความต้องการของกลุ่มลูกค้าคนรุ่นใหม่ ทั้งวัยทำงาน นักเรียน นักศึกษา และ กลุ่มครอบครัว

โดยแบ่งพื้นที่แต่ละชั้น ดังนี้

• ชั้น 1 จับมือกับเครือสหพัฒน์ทั้งในส่วนของไอ.ซี.ซี ,โอ.ซี.ซี. และร้านซูรูฮะ

• ชั้น 2 เปิดตัวร้านดองกิ (DON DON DONKI) สาขาแฟล็กชิฟสโตร์ที่ใหญ่ที่สุดในไทย เปิดให้บริการ 24 ชั่วโมงและเน้นบริการสินค้าในกลุ่มอาหารเป็นหลัก

• ชั้น 3 อยู่ระหว่างการเจรจากับพันธมิตรยักษ์ใหญ่ในการเช่าพื้นที่

• ชั้น 4 เป็นโซนสินค้าไอทีทั้งหมด

ทั้งนี้ศูนย์การค้าเอ็มบีเค มีแผนเปิดตัวการรีโนเวตอย่างเป็นทางการในช่วงไตรมาส 3 นี้ ให้ได้อย่างน้อย 80% และจะเปิดได้เต็ม 100% ในช่วงปลายปี เพื่อรองรับกับความต้องการของกลุ่มลูกค้าคนรุ่นใหม่ ทั้งวัยทำงาน นักเรียน นักศึกษา และ กลุ่มครอบครัว ซึ่งปัจจุบันมีผู้มาใช้บริการราว 2-3 หมื่นคนต่อวัน โดยคาดการณ์ว่า ในช่วงไตรมาส 3 หลังวัคซีนโควิด-19 เริ่มถูกนำมาใช้ น่าจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้ลูกค้ากลับมาใช้บริการในศูนย์ได้อีกครั้ง

สำหรับไฮไลท์ของการรีโนเวต เอ็มบีเค ในครั้งนี้ เชื่อว่าน่าจะอยู่ที่การเปิดตัวร้านดองกิ สาขาแฟล็กชิฟสโตร์ที่ใหญ่ที่สุดในไทย ต่อจากทองหล่อ และ The Market ราชดำริ เพราะจะเป็นจิ๊กซอว์เติมเต็มการจากหายไปของโตคิวได้ด้วย

...ว่าแต่ทำไม เอ็มบีเค ถึงสนใจในตัว ‘ดองกิ’

‘ดองกิ’ หรือ ‘DON DON DONKI’ (ชื่อในไทย) ถือเป็นดิสเคาน์สโตร์ที่คนไทยที่ชอบไปเที่ยวญี่ปุ่นคุ้นเคยเป็นอย่างดีอยู่แล้ว หรือเรียกว่าเป็นร้านที่ใครไปญี่ปุ่น ก็ต้องแวะ โดยชูคอนเซ็ปต์ ‘ร้านค้าที่ขายเฉพาะแบรนด์ญี่ปุ่น’ ที่ตั้งใจเจาะกลุ่มคนญี่ปุ่นที่อาศัยในไทย คนไทยและนักท่องเที่ยว

ฉะนั้นการที่ ดองกิ มาเปิดในไทย และรวมถึงมาเปิดใหม่ในเอ็มบีเค จึงเป็นการตอบโจทย์กลุ่มนักท่องเที่ยวไทยที่เคยไปเที่ยวญี่ปุ่นบ่อยๆ นี่คือโอกาสทางตรง

ขณะเดียวกันโอกาสทางอ้อม เชื่อว่าจะมาจากการพลิกวิกฤติโควิด-19 ลามกรุง และทั่วโลกมาเป็นตัวผลักดัน หลังจากช่วงเวลานี้ในอดีตมักมีคนไทยไปเที่ยวญี่ปุ่นจำนวนมาก แต่พอเจอโรคระบาดหนัก ก็ทำให้อดไป การได้มา ดองกิ ก็เหมือนได้ซึมซับความรู้สึกที่คุ้นเคยทดแทนไปกลายๆ

สำหรับผลตอบรับของ ดองกิ ในช่วงที่ผ่านมากับ 2 สาขาที่เปิดอยู่ ถือว่าน่าสนใจ เพราะแค่เพิ่งเข้ามาทำตลาดในบ้านเราได้ 2 ปี แต่ก็มีผลประกอบการที่เติบโตแบบก้าวกระโดด โดยผลประกอบการ บริษัท ดองกิ (ประเทศไทย) จำกัด

• ปี 2562 มีรายได้ 160 ล้านบาท

• ปี 2563 มีรายได้ 728 ล้านบาท

เหตุผลที่ทำให้รายได้เติบโตอย่างก้าวกระโดดของดองกิ มาจาก...

1.) รูปแบบธุรกิจมีความเฉพาะเจาะจง ยากต่อการเลียนแบบ ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบร้าน การจัดวางสินค้าที่ดึงดูดให้ลูกค้าเข้ามาสำรวจ และค้นหาหรือแม้แต่การใช้ปากกาเมจิก เขียนป้ายบอกราคา

2.) มอบประสบการณ์ที่แตกต่าง นอกจากจะมีสินค้าที่เป็นซิกเนเชอร์ หาไม่ได้จากที่ไหน เสน่ห์อีกอย่างของดองกิ คือ การมอบประสบการณ์ที่มากกว่ามาช้อปปิ้ง อย่างดองกิ สาขาทองหล่อ นอกจากจะมีร้านค้า ร้านอาหาร เครื่องดื่ม คาเฟ่ เบเกอรี และคาราโอเกะ ส่วนด้านบน ก็ยังทำเป็นสวนสนุก และสปอร์ตเอนเตอร์เทนเมนต์ นำเข้าจากญี่ปุ่น ถือเป็นอีกหนึ่งกิมมิกที่ทำให้หลายคนอยากไปเช็คอิน

สำหรับ ดองกิ ในไทยนั้น ตั้งเป้าขยายให้ได้ 20 สาขาใน 5 ปี โดยไม่จำกัดว่าต้องเป็นกรุงเทพฯ เท่านั้น แต่ยังมองไปถึงเมืองท่องเที่ยว อย่าง ภูเก็ต, เชียงใหม่ และ ระยอง อีกด้วย


ที่มา:

https://www.prachachat.net/marketing/news-605213

https://www.facebook.com/1387231808035873/posts/3635479016544463/

ภาคธุรกิจเอกชน ชงรัฐตั้งคณะทำงานฉีดวัคซีนโควิด-19 พร้อมดันเป็นวาระแห่งชาติ ระบุอยากเห็นคนไทยได้ฉีดวัคซีนตั้งแต่ ก.ค.นี้

นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) คือ ส.อ.ท. สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย ได้เห็นชอบให้จัดทำข้อเสนอให้ภาครัฐตั้งคณะทำงานเตรียมการฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้ประชาชนในประเทศเป็นเรื่องเร่งด่วน และกำหนดให้เป็นวาระแห่งชาติ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนไทยและต่างชาติ

ทั้งนี้ ภาคเอกชนอยากเห็นประเทศไทยมีการฉีดวัคซีนให้ประชาชนภายในช่วงครึ่งหลังของปี 2564 หรือตั้งแต่เดือนก.ค.เป็นต้นไปจนถึงธ.ค.นี้ โดยให้ทำใบรับรองยืนยันการฉีดวัคซีน หรือวัคซีน พาสสปอร์ตให้กับพนักงานต่างชาติที่ทำงานในไทย และต่างด้าวโดยในส่วนของต่างด้าวและต่างชาติเอกชนพร้อมร่วมมือรัฐในเรื่องค่าใช้จ่าย โดยขอลดหย่อนภาษีเรื่องการฉีดวัคซีนโดยเป็นโมเดลในการบริหารจัดการนำร่องในภาคท่องเที่ยวเป็นลำดับแรก

นอกจากนี้ กกร.ยังประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2564 โดยประเมินว่า จะขยายตัวในกรอบ 1.5-3.5% การส่งออกคาดว่าจะขยายตัวได้ 3-5% อัตราเงินเฟ้อทั่วไป 0.8 -1% เนื่องจากเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป

การบินไทย จะบิน หรือ จะจอด ? | สนามนักสู้ EP.23

จากข่าว 'การบินไทยขอยื่นส่งแผนฟื้นฟูอีกรอบศาลล้มละลายกลางให้เวลาถึง 2 มีนาคมปี 64' ทางการบินไทยจะมีวิธีการรับมือกับสถานการณ์นี้ต่อไปอย่างไร เพื่อให้พ้นสถานะล้มละลาย การบินไทยจะสู้อย่างไร พบคำตอบได้ที่สนามนักสู้ กับ คุณปอ ณัฐภูมิ รัฐชยากร . สนามนักสู้ เพราะทำธุรกิจ ต้องสู้! ติดตามรายการได้ทุกวันพุธ และวันศุกร์

.

 

จากเฟซบุ๊ก Geng Sittipong Sirimaskasem ได้เรียบเรียง Speech ของ ‘ทิม คุก ซีอีโอ Apple’ ที่ตรงไปตรงมา ชัดเจน และดีที่สุดครั้งหนึ่ง...จนหลายคนที่ได้อ่าน อาจจะรู้สึกว่าวันนี้ ‘อิสรภาพของเรากำลังหายไปหรือไม่ จากเทคโนโลยีที่คอยล้วงข้อมูลชีวิตเราทุกลมหายใจ’

เราเชื่อว่าเทคโนโลยีที่ควรจะเป็นคือ เทคโนโลยีที่ทำงานเพื่อคุณ เป็นเทคโนโลยีที่จะทำให้คุณนอนหลับได้ ไม่ใช่กระตุ้นให้คุณตื่นอยู่เสมอ เป็นเทคโนโลยีที่บอกให้คุณพอได้แล้ว ให้คุณมีเวลาสำหรับสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ได้วาดรูป ได้เขียน หรือได้เรียนรู้ ไม่ใช่ขอให้คุณ refresh อีก ดูอีก

มันต้องเป็นเทคโนโลยีที่ทำงานอย่างเงียบๆ ขณะที่คุณกำลังปีนเขา หรือว่ายน้ำ แต่มันจะเตือนคุณเมื่อหัวใจคุณทำงานผิดปกติ และช่วยคุณได้เมื่อคุณเกิดอุบัติเหตุล้มลง

และทั้งหมดหมายถึงการเก็บ ความลับ ความเป็นส่วนตัวที่ถือเป็นความสำคัญที่สุดลำดับที่หนึ่ง เพราะไม่ควรมีใครได้สิทธิ์ส่วนตัวของคุณไปใช้ในการสร้างโปรดักส์ที่ดี

คุณจะเรียกว่าเราไร้เดียงสาก็ได้ แต่เรายังเชื่อในเทคโนโลยีที่สร้างโดยคน เพื่อคน และทำให้คนอยู่อย่างเป็นสุข ซึ่งเรื่องเหล่านี้ยากที่เราจะไม่สนใจ เพราะเราเชื่อว่าเทคโนโลยีที่ดี วัดผลได้จากความเป็นอยู่ของมนุษย์ที่ดีขึ้น

ถ้าเรารับได้ว่าเรื่องการโดนล้วงข้อมูลเป็นเรื่องธรรมดาและหลีกเลี่ยงไม่ได้ และคิดว่าทุกอย่างของเรานั้นสามารถรวบรวมนำไปขายได้ สุดท้ายแล้วเราไม่ได้จะเสียแค่ข้อมูล แต่เรากำลังจะเสียอิสระภาพของความเป็นคนด้วย..

นี่คือส่วนหนึ่งของ Speech โดย ทิม คุก CEO ของ Apple ที่พูดไว้ในงาน Privacy & Data Protection conference เมื่อวันที่ 28 ที่ผ่านมา

เนื้อหาค่อนข้างตรงไปตรงมา และแทงใจบริษัทอย่าง Facebook โดยตรง แต่ในฐานะ Apple users รู้สึกว่า นี่คือการยืนยันที่จะเป็น ผู้นำในการป้องกันข้อมูลส่วนบุคคล ที่นอกจากจะได้ภาพด้านนี้แล้ว ยังสร้าง Branding ที่ดีให้กับ Apple ได้อีกด้วย

ถือว่าเป็น speech ที่ยอดเยี่ยม...

ทั้งนี้ Apple ยังได้ปล่อยเอกสารที่ชื่อว่า ‘A Day in the Life of Your Data’ ซึ่งเปิดด้วย quote ของ Steve Jobs ที่เขียนว่า..

“เราเชื่อว่ามนุษย์เรานั้นฉลาด และหลายคนก็ต้องการจะแชร์ข้อมูลส่วนตัวให้คนอื่น แต่ขอให้ถามเขาก่อน ถามเขาทุกครั้ง ถามจนกว่าเขาจะบอกให้หยุดถามเมื่อเขาเริ่มเบื่อกับคำถามของเรา ให้เรารู้ชัด ๆ ว่าคุณกำลังจะทำอะไรกับข้อมูลของเขา”

“I believe people are smart and some people want to share more data than other people do. Ask them. Ask them every time. Make them tell you to stop asking them if they get tired of your asking them. Let them know precisely what you're going to do with their data.”

ส่วนด้านล่างนี่คือ speech ของ ทิม คุก ช่วงที่ผมตัดมานะครับ

We believe that ethical technology is technology that works for you. It’s technology that helps you sleep, not keeps you up. That tells you when you’ve had enough, that gives you space to create, or draw, or write or learn, not refresh just one more time. It’s technology that can fade into the background when you’re on a hike or going for a swim, but is there to warn you when your heart rate spikes or help you when you’ve had a nasty fall. And that all of this, always, puts privacy and security first, because no one needs to trade away the rights of their users to deliver a great product.

Call us naive. But we still believe that technology made by people, for people, and with people’s well-being in mind, is too valuable a tool to abandon. We still believe that the best measure of technology is the lives it improves.


ที่มา:

https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=10158974172635070&id=570720069

‘อาร์เอส กรุ๊ป’ ล่าธุรกิจ ‘กัญชง’ ดันส่วนประกอบ ‘แปรรูป’ สร้างมูลค่าเพิ่มใหม่ให้เครือธุรกิจ

หลังจากกระทรวงสาธารณสุขประกาศปลดล็อคกัญชงให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์โดยไม่จัดเป็นยาเสพติดนั้น บริษัท ไลฟ์สตาร์ จำกัด ในฐานะผู้ผลิตนวัตกรรมด้านสุขภาพและความงามระดับโลก และ อาร์เอส มอลล์ (RS Mall) แพลตฟอร์มจำหน่ายสินค้าและบริการเพื่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีแบบองค์รวมของทุกคน บริษัทในเครือ บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) หรือ อาร์เอส กรุ๊ป ประกาศความพร้อมจับมือพันธมิตร บริหารจัดการตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ทั้งการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในหมวดสกินแคร์ เครื่องดื่ม และอาหารเสริม ที่มีสารสกัดจากกัญชง ผ่านทุกช่องทาง ช่วยผลักดันรายได้ให้เป็นไปตามเป้าของบริษัท

นายสุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ในเรื่องของกัญชงนั้น บริษัท ไลฟ์สตาร์ ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของอาร์เอส กรุ๊ป มีความสนใจและมีการศึกษาเรื่องของงานวิจัยมาอยู่ตลอด โดยเฉพาะการนำส่วนต่างๆ ของกัญชงไปแปรรูปและสร้างมูลค่าเพิ่มเป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพ

เช่น ช่อดอกนำไปผลิตยา สารสกัดจากกัญชง ใบนำไปผลิตอาหาร ผลิตภัณฑ์สมุนไพร เครื่องสำอาง น้ำมันจากเมล็ดกัญชงนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ผลิตภัณฑ์สมุนไพร เครื่องสำอาง สารสกัดจาก กัญชงนำไปผลิตเป็นเครื่องดื่ม เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์สมุนไพร เป็นต้น ซึ่งที่ผ่านมาเราได้เตรียมความพร้อม โดยร่วมมือกับสถาบันวิจัยชั้นนำศึกษาและคิดค้นสูตรเพื่อนำกัญชงมาพัฒนาและต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์นวัตกรรม ทั้งในส่วนของสกินแคร์ เครื่องดื่ม และอาหารเสริม รวมถึงมีการพูดคุยกับพันธมิตรที่เป็นผู้ปลูกกัญชงเชิงพาณิชย์ โรงสกัด และผู้ผลิตไว้เรียบร้อยแล้ว ยืนยันว่าทางเราและพันธมิตร ได้มีการเตรียมการมานานและมีความพร้อมทั้งการผลิตและการจำหน่ายในทันที

ในขณะที่ อาร์เอส มอลล์ แพลตฟอร์มจำหน่ายสินค้าและบริการเพื่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีแบบองค์รวมของทุกคน ก็เตรียมรุกตลาดพร้อมต่อยอดการขายอย่างเต็มสูบ ภายใต้กลยุทธ์ดังนี้

บังคับใช้แล้ว! ใช้น้ำมัน - สารสกัดเมล็ดกัญชงในเครื่องสำอางได้ ปลดล็อก"กัญชา" พ้นยาเสพติดใช้ได้เฉพาะทางการแพทย์

1.) อาร์เอส มอลล์ มีจุดเด่นและความเชี่ยวชาญในการเล่าเรื่องที่แตกต่าง ซึ่งกัญชงมีรายละเอียดและสรรพคุณที่ซับซ้อน จึงสามารถสร้างรูปแบบการนำเสนอได้หลากหลาย อาทิ การไลฟ์สดสาธิตวิธีการใช้ หรือการนำผู้มีประสบการณ์ในการใช้งานจริงมาร่วมให้ความคิดเห็นและแบ่งปันข้อมูล เป็นต้น

2.) จำหน่ายในทุกช่องทาง ทั้งออนแอร์ ผ่านสถานีโทรทัศน์ช่อง 8 และพันธมิตรช่องดิจิทัลทีวีจากหลากหลายช่องชั้นนำ และออนไลน์ ทั้งเว็บไซต์ www.rsmall.co.th และ Line @rsmall

3.) อาร์เอส มอลล์ มีทีมเทเลเซลล์ กว่า 500 คน ที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องของสุขภาพ สามารถนำเสนอสินค้าและให้บริการลูกค้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง รวมถึงการใช้ Data and Voice Analytics มาวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้า

“ปัจจุบัน อาร์เอส มอลล์ มีฐานข้อมูลลูกค้ากว่า 1.6 ล้านราย จำหน่ายสินค้าที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพเป็นจำนวนมาก ทำให้ที่ผ่านมา เราได้รับคำถามและความสนใจจากลูกค้าเกี่ยวกับกัญชงจากทุกช่องทางและมีการเก็บข้อมูลเพื่อนำมาใช้ประโยชน์และต่อยอดในการสร้างผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมสุขภาพที่ดี เพียงแต่ยังต้องรอรายละเอียดจากทางภาครัฐในการผลิตและจัดจำหน่ายให้ถูกต้องและปลอดภัย หากมีการปลดล็อกในส่วนนี้ เราก็มั่นใจว่าผลิตภัณฑ์จากกัญชงจะได้รับการตอบรับจากลูกค้าส่วนใหญ่ของเราอย่างแน่นอน” คุณสุรชัย กล่าว


ที่มา:

https://www.posttoday.com/economy/news/644176

ส่องไส้ใน ส่องออกไทย รู้แล้วจะอึ้ง ! พบผู้ส่งออก 50 อันดับแรกของไทย เป็นบริษัทข้ามชาติที่เข้ามาลงทุนในไทยเพื่อใช้เป็นฐานการผลิตเพื่อส่งออก ถึง 80% มีบริษัทคนไทยเพียง 20% เท่านั้น ขณะที่จำนวนบริษัทส่งออกในปัจจุบันมีทั้งสิ้น 36,164 ราย

ในช่วงกว่า 20 ปีที่ผ่านมา ภาพรวมการส่งออกของไทย เส้นเลือดใหญ่ที่หล่อเลี้ยงเศรษฐกิจไทยขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปี แต่บางปีก็เครื่องสะดุดติดลบบ้างจากหลายเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันของโลก

โดยปี 2563 ล่าสุด ส่งออกไทยสะเทือนจากพิษโควิด-19 ระบาดทั่วโลก ทำตัวเลขส่งออกได้มูลค่า 231,468.44 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขยายตัวลดลงจากปีก่อน -6% ส่วนในรูปเงินบาทมีการส่งออก 7.17 ล้านล้านบาท ขยายตัวลดลง -5.9% โดยปี 2563 มีบริษัทส่งออกรวมทั้งสิ้น 36,164 ราย โดยในจำนวนนี้จากการตรวจสอบข้อมูลของ “ฐานเศรษฐกิจ”ที่ได้รับจากศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์

โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร เผยถึง ผู้ส่งออกรายใหญ่ใน 50 อันดับแรก พบสัดส่วน 80% เป็นบริษัทข้ามชาติที่เข้ามาลงทุนในไทยเพื่อใช้เป็นฐานการผลิตเพื่อส่งออก ขณะที่สัดส่วน 20% เป็นบริษัทคนไทย โดยรายชื่อบริษัทส่งออก 50 อันดับแรกที่มี่มูลค่าส่งออกสูงสุดตามลำดับ ประกอบด้วย

1.) บริษัท ซีเกท เทคโนโลยี (ประเทศไทย)จำกัด (บจก.)

2.) บจก.วาย แอล จี บลูเลียน อินเตอร์เนชั่นแนล

3.) บจก.เอชจีเอสที (ประเทศไทย)

4.) บจก.โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย

5.) บจก.เอ็มทีเอสโกลด์ (หรือห้างทองแม่ทองสุก)

6.) บจก.โตโยต้า มอเตอร์ เอเชีย แปซิปิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ แมนูแฟคเจอริ่ง

7.) บจก.ฮั่วเซ่งเฮง คอมโมดิทัช

8.) บจก.ซิเลซติกา (ประเทศไทย)

9.) บจก.มิตซูบิชิ มอเตอร์ส (ประเทศไทย)

10.) บจก.เวสเทิร์น ดิติตอล (ประเทศไทย)

11.) บจก.บริงค์ส (ประเทศไทย)

12.) บจก.เอเชียนฮอนด้ามอเตอร์

13.) บริษัทไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) (บมจ.)

14.) บจก.ออโต้อัลลายแอนซ์ (ประเทศไทย)

15.) บจก.เอ็นเอ็มบี-มินีแบ ไทย

16.) บจก.นิสสัน มอเตอร์ (ประเทศไทย)

17.) บจก.ฟาบริเนท

18.) บจก.ไทยซัมซุง อิเลคโทรนิคส์

19.) บจก.โซนี เทคโนโลยี (ประเทศไทย)

20.) บมจ.เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย)

21.) บจก.อีซูซุมอเตอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล โอเปอเรชั่น (ประเทศไทย) 22.) บจก.ไทย ไลอ้อน เมนทารี

23.) บจก.แม็กซิม อินทริเกรดเต็ด โปรดักส์ (ประเทศไทย)

24.) บจก.ไมโครชิพ เทคโนโลยี (ไทยแลนด์)

25.) บมจ.แคล-คอมพ์ อีเล็คโทรนิคส์ (ประเทศไทย)

26.) บจก.ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย)

27.) บจก.ไดกิ้น อินดัสทรีส์ (ประเทศไทย)

28.) บจก.ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี (ประเทศไทย)

29.) บจก.ยูแทคไทย

30.) บจก.มิตซูบิชิ อีเลคทริค คอนซูมเมอร์ โปรดักส์ (ประเทศไทย)

31.) บจก.พีทีที โพลีเมอร์ มาร์เก็ตติ้ง

32.) บมจ.การบินไทย

33.) บจก.สยามมิชลิน

34.) บมจ.ศรีตรังโกลฟส์ (ประเทศไทย) (สาขา 1)

35.) บจก.บีเอ็มดับเบิลยู แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย)

36.) บมจ.พีทีที โกลบอล เคมิคอล

37.) บจก.โตโยต้า ทูโช (ไทยแลนด์)

38.) บจก.ค้าผลผลิตน้ำตาล

39.) บจก.ไทยรวมสินพัฒนาอุตสาหกรรม

40.) ราชการกองบัญชาการกองทัพไทย

41.) บจก.แอลแอลไอที (ประเทศไทย)

42.) บจก.ซูมิโตโม รับเบอร์ (ไทยแลนด์)

43.) บจก.สยามคูโบต้า คอร์ปอเรชั่น

44.) บจก.ที.ซี.ฟาร์มาซูติคอล อุตสาหกรรม

45.) บจก.ซี.พี.เมอร์แชนไดซิ่ง

46.) บจก.เอสซีจี เพอร์ฟอร์มานซ์ เคมิคอลส์

47.) บจก.โรม อินทิเกรเต็ด ซิสเต็มส์ (ประเทศไทย)

48.) บจก.แอลจี อีเลคทรอนิคส์ (ประเทศไทย)

49.) บจก.สแนชั่น (ไทยแลนด์)

และ 50.) บจก.แคนนอน ปราจีนบุรี (ประเทศไทย)

ทั้งนี้ในภาพรวมปี 2563 มีบริษัทส่งออกรวมทั้งสิ้น 36,164 ราย ในจำนวนนี้ที่มีมูลค่าส่งออกระดับแสนล้านบาทมีจำนวน 5 ราย มูลค่าการส่งออกรวม 630,687 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 8.79% ของมูลค่าการส่งออกรวม

ส่วนบริษัทที่มีมูลค่าการส่งออกระดับหมื่นล้านบาท มีจำนวน 108 ราย มูลค่าการส่งออกรวม 2.83 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 39.47% บริษัทที่มีมูลค่าการส่งออกระดับพันล้านบาทมีจำนวน 859 ราย มูลค่าการส่งออกรวม 2.28 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 31.85% มูลค่าการส่งออกระดับร้อยล้านบาทมีจำนวน 3,521 ราย มูลค่าการส่งออกรวม 1.13 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 15.76% และมูลค่าการส่งออกระดับน้อยกว่าร้อยล้านบาท มีจำนวน 31,671 ราย มูลค่าการส่งออกรวม 296,655 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 4.13% ของมูลค่าการส่งออกโดยรวม

จากข้อมูลแสดงให้เป็นว่าบริษัทที่มีมูลค่าการส่งออกสูง ๆ ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มบริษัทข้ามชาติที่เข้ามาลงทุนในไทยรวมถึงบริษัทส่งออกแถวหน้าของไทย ขณะที่บริษัทส่งออกของไทยโดยรวมมีมูลค่าส่งออกน้อยกว่าร้อยล้านบาทเป็นส่วนใหญ่

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) ให้ความเห็นกับ “ฐานเศรษฐกิจ”ว่า การที่บริษัทส่งออกในกลุ่ม 50 อันดับแรกที่ส่วนใหญ่เป็นบริษัทจากต่างประเทศ หรือบริษัทข้ามชาติสะท้อนให้เห็นว่าจริง ๆ แล้วประเทศไทยเป็นฐานผลิตให้กับประเทศอื่น

ซึ่งแม้จะช่วยเพิ่มตัวเลขส่งออกให้กับประเทศก็จริง แต่ถ้าพูดถึงเม็ดเงินที่ตกถึงคนไทยเองก็ไม่ได้มาก แต่ตัวเลขส่งออกส่วนใหญ่จะไปตกกับบริษัทแม่ต่างชาติเสียส่วนใหญ่ หากในอนาคตบริษัทแม่เหล่านี้พิจารณาลงทุนหรือขยายฐานการลงทุนในประเทศอื่นที่มีข้อได้เปรียบด้านต่าง ๆ ดีกว่าไทย การส่งออกที่เป็นของประเทศไทยหรือผู้ประกอบการไทยจริง ๆ จึงอยู่ในสถานการณ์ที่น่าห่วง

ด้านดร.อัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า การที่ภาคการส่งออกของไทยส่วนใหญ่อยู่ในมือของบริษัทต่างชาติแม้จะช่วยสร้างงานและสร้างเงินให้กับประเทศ แต่อีกด้านหนึ่งสะท้อนให้เห็นในหลายประเด็น เช่น การผลิตและส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมของบริษัทไทยยังใช้เทคโนโลยี หรือใช้นวัตกรรมในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้ายังไม่มาก

ทำให้มูลค่าการส่งออกยังไม่สูง, ในสินค้าเกษตร หรือเกษตรแปรรูป ส่วนใหญ่ก็ยังไม่ได้ใช้เทคโนโลยี หรอนวัตกรรมในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้ามาก ส่วนใหญ่ยังส่งออกในรูปวัตถุดิบ หรือแปรรูปเล็กน้อย และการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ(FDI) ที่เข้ามาลงทุนในไทยไม่ได้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับคนไทย ผิดกับ FDI ที่ไปลงทุนในจีนจะถูกบังคับเงื่อนไขให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีหรือนวัตกรรม ทำให้จีนมีการพัฒนาสินค้ารุดหน้าไปกว่าไทยมาก เป็นต้น

"สิ่งที่ผู้ประกอบการไทยต้องเร่งทำเพื่อผลักดันมูลค่าการส่งออกให้เพิ่มขึ้น ได้แก่

1.) ประเมินตัวเองว่าอยู่ตรงไหนของอุตสาหกรรม 4.0 เพราะบางคนอาจจะยังอยู่ 1.0 2.0 หรือ 3.0 ยังไม่ได้ใช้เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมเข้ามาช่วยมาก ซึ่งต้องเร่งปรับตัว

2.) ปรับโครงสร้างการการผลิตให้ตอบโจทย์เทรนด์ของโลกในเรื่องเศรษฐกิจ BCG (Bio-Circular-Green Economy หรือเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว)

3.) บริหารจัดการต้นทุนให้ต่ำสุดและประสิทธิภาพการผลิตสูงสุด และ

4.) รัฐบาลต้องประกาศตัวเองว่าจะผลักดันสินค้าใดของไทยบ้างให้เป็นสินค้าโปรดักส์แชมป์เปี้ยนของโลก และมีแผนงานยุทธศาสตร์ในการผลักดันอย่างเป็นรูปธรรม

รมว.อุตสาหกรรม สั่งปล่อยกู้ช่วยเอสเอ็มอี ดอกเบี้ย 1% ใช้วงเงินรวม 1,000 ล้านบาท จากกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ ให้กู้สูงสุดรายละ 5 ล้านบาท ระยะเวลานาน 7 ปี

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้มอบหมายธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank เร่งออกมาตรการช่วยเหลือเอสเอ็มอีที่ได้รับผลกระทบการไวรัสโควิด -19 ระลอกใหม่ ในโครงการสินเชื่อเสริมพลังสร้างอนาคตเอสเอ็มอีไทย ภายใต้กองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ วงเงินรวม 1,000 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนให้เอสเอ็มอีที่มีศักยภาพเข้าถึงแหล่งเงินทุนต้นทุนต่ำนำไปใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน เสริมสภาพคล่อง สำรองเป็นค่าใช้จ่าย หรือลงทุน ขยาย ปรับปรุง กิจการ ต่อยอดธุรกิจด้วยเทคโนโลยี

สำหรับโครงการนี้ จะมีการปล่อยสินเชื่อผ่านกองทุนดังกล่าว คิดอัตราดอกเบี้ย 1% ต่อปี วงเงินกู้สูงสุด 5 ล้านบาท ระยะเวลากู้นานสูงสุด 7 ปี ปลอดชำระเงินต้นสูงสุดไม่เกิน 1 ปี ไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน ยื่นกู้ได้ถึง 30 ก.ย. นี้ คุณสมบัติผู้ขอสินเชื่อ เป็นผู้ผลิตสินค้าหรือการให้บริการ ที่มีการจ้างงานไม่เกิน 200 คน หรือมีมูลค่าสินทรัพย์ถาวรไม่รวมที่ดิน มูลค่าไม่เกิน 200 ล้านบาท

ส่วนการค้าปลีกหรือการค้าส่ง ต้องจ้างงานไม่เกิน 50 คน หรือมีมูลค่าสินทรัพย์ถาวรไม่รวมที่ดิน มูลค่าไม่เกิน 100 ล้านบาท ต้องมีระบบบัญชีเดียว หรือแจ้งความประสงค์ที่จะเข้าสู่ระบบบัญชีเดียว มีประวัติการชำระหนี้ปกติอย่างน้อย 12 งวด โดยผู้ขออนุมัติสินเชื่อไม่เป็นหนี้เอ็นพีแอล ไม่ถูกดำเนินคดี และไม่เป็นบุคคลล้มละลาย ณ วันที่ยื่นใบคำขอเข้าร่วม

SMEs อ่อนแรงกำลังสอง พรรคก้าวไกล ดันแก้กฎหมายช่วย | สนามนักสู้ EP. 22

"จากข่าว พรรคก้าวไกล ดัน 4 มาตรการกู้ชีพ SMEs - ท่องเที่ยว ยื่นแก้ไข 'พ.ร.ก.ซอฟท์โลน' อุ้มธุรกิจเข้าถึงแหล่งเงินทุน พร้อม 'สินเชื่อคืนภาษี 10 ปี' พยุงธุรกิจท่องเที่ยว

Link ข่าว : https://thestatestimes.com/post/2021011520

SMEs อ่อนแรงกำลังสอง ในยุคโควิดระบาดซ้ำ หาแหล่งเงินทุนมาหมุนต่อได้อย่างไร ปรับตัวอย่างไร พรรคก้าวไกลเสนอแนวทางแก้ไขปัญหานี้อย่างไร เพื่อช่วยธุรกิจ SMEs มาดูกัน

 

 


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top