Saturday, 4 May 2024
ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

“บิ๊กตู่” ชื่นชม พม.  เดินหน้าดูแลผู้พิการตามนโยบายไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ตั้งเป้าปี 65  ปฏิรูปงานด้านคนพิการ จัดครอบครัวอุปการะดูแลผู้พิการขาดคนดูแล ชี้พบมากขึ้นจากเหตุโควิด

น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รายงานต่อนายกรัฐมนตรีถึงการขับเคลื่อนการดูแลกลุ่มคนพิการ ซึ่งเป็นไปตามนโยบายไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังของรัฐบาล โดยกระทรวงพัฒนาสังคมฯ ได้ตั้งเป้าให้ปี 2565 นี้ เป็นปีแห่งการปฏิรูปงานด้านคนพิการ ตั้งแต่การค้นหาคนพิการเชิงรุกตามชุมชน นำผู้ตกหล่นมาขึ้นทะเบียนคนพิการ เพื่อรับสิทธิ สวัสดิการ และการคุ้มครองต่างๆ   ขยายพื้นที่โรงพยาบาลให้สามารถตรวจรับรอง และออกบัตรคนพิการจบในที่เดียวครบทั้ง 77 จังหวัด ภายในเดือนสิงหาคม 2566 จากปัจจุบันที่ทำได้แล้วใน 40 จังหวัด

ที่สำคัญ คือ เตรียมแก้ พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ โดยจะปรับเกณฑ์พิจารณาการออกบัตรคนพิการให้ชัดเจนและง่ายขึ้น ขณะเดียวกันจะปฏิรูปบัตรคนพิการ ให้เป็นบัตรคนพิการดิจิทัลผ่านแอพพลิเคชั่น บัตรคนพิการ-PWD ซึ่งสามารถใช้แทนบัตรคนพิการได้เลย ภายในบัตรระบุข้อมูลสิทธิและสวัสดิการที่ได้ เชื่อมโยงข้อมูลกับตลาดงานคนพิการ กู้ยืมเงินออนไลน์ ตลอดจนมีการชี้เป้าหน่วยงานช่วยเหลือคนพิการที่ใกล้ที่สุดผ่านกูเกิ้ลแมป แต่ส่วนคนพิการที่ไม่มีสมาร์ทโฟน ยังสามารถใช้บัตรคนพิการได้ปกติ

รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ยิ่งไปกว่านั้น กระทรวง พม. จะมุ่งฝึกอาชีพใหม่ และอาชีพเก่าที่ยั่งยืนสำหรับผู้พิการ  ซึ่งเป็นล้วนเป็นอาชีพที่เคลื่อนไหวออกจากที่พักอาศัยน้อย เช่น อาชีพที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี วิเคราะห์และจัดการข้อมูล ขายของออนไลน์ เกษตรกรรม เป็นต้น  โดยเป็นความร่วมมือกับภาครัฐและภาคเอกชนอย่างครบวงจร ตั้งแต่สนับสนุนองค์ความรู้ สร้างมูลค่าเพิ่มและคุณค่าให้ผลิตภัณฑ์ เพิ่มช่องทางตลาด ทั้งนี้ เพื่อให้คนพิการสามารถพึ่งพิงตัวเองได้ จากการมีอาชีพและรายได้ และสามารถเป็นที่พึ่งแก่ครอบครัวต่อไป สำหรับการดูแลผู้พิการที่ขาดคนดูแล เนื่องด้วยผู้ดูแลเสียชีวิต และในช่วงสถานการณ์โควิด-19 พบว่ามีผู้ดูแลผู้พิการเสียชีวิตจำนวนมาก ส่งผลให้ผู้พิการเดือดร้อนมากขึ้นอีก

คนอะไร? เจอพี่ชายโบ้ย แถมฝ่ายค้านยังไล่โซ้ยต่อทั้งวัน แต่สุดท้ายก็ต้องกลับมานั่งปั่นงานชาติต่อ เมื่อมีเวลา

เพจศูนย์ปฏิบัติการนายกรัฐมนตรี PMOC ได้โพสต์ภาพการทำงานของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม พร้อมคำบรรยายว่า แม้จะมีอภิปรายในรัฐสภา แต่ #หน้าที่และความรับผิดชอบ ในฐานะนายกรัฐมนตรี ไม่ได้หยุดตามไปด้วย เพราะปัญหาของพี่น้องประชาชนที่รอการแก้ไขและพัฒนายังมีอีกมาก ดังนั้น การบริหารราชการแผ่นดินจึงรอช้าไม่ได้ 

จึงเป็นเรื่องคุ้นเคยกับการที่เราได้เห็นภาพนายกฯ ทำหน้าที่ทั้งผู้นำฝ่ายบริหาร และรับฟังการตรวจสอบจากรัฐสภาในเวลาเดียวกัน


ที่มา : https://www.facebook.com/photo?fbid=366737012307170&set=pb.100069126223361.-2207520000..

มาแล้ว 3 โครงการเพิ่มกำลังซื้อ ที่ครม.อนุมัติล่าสุด

1. โครงการคนละครึ่ง เฟส 5 รับ 800 บาทต่อคน จำนวน 26.5 ล้านสิทธิ

2. โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ระยะที่ 5 รับ 200 บาทต่อคนต่อเดือน 

3. โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือพิเศษ ระยะที่ 3 จำนวน 200 บาทต่อคนต่อเดือน

กระทรวง 'พม.' ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ลงพื้นที่ร่วมกับ พมจ.สมุทรปราการ ตรวจราชการแบบบูรณาการ

วันอังคารที่ 2 สิงหาคม 2565 เวลา 08.30 น. 'นางวรรณภา สุขคง' พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสมุทรปราการ ต้อนรับ และร่วมลงพื้นที่ตรวจราชการแบบบูรณาการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 รอบที่ 2 โดยมีผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี เขตที่ 2 "นายเจริญ ซื้อตระกูล" และคณะผู้ตรวจ ได้แก่ "นางสาวอุไร เล็กน้อย" ผู้ตรวจราชการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ลงพื้นที่ตามแผนการตรวจราชการเขตตรวจราชการที่ 2 ณ จังหวัดสมุทรปราการ 

โดยเข้าพบ "นายวันชัย คงเกษม" ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ เพื่อหารือข้อราชการและการขับเคลื่อนโครงการและกิจกรรมตามนโยบายรัฐบาล

ทุกเหล่าทัพกระจายกำลังช่วยเหลือประชาชน หวั่นฝนตกหนักสะสมต่อเนื่อง หากวิกฤตให้เปิดหน่วยทหารรับอพยพประชาชนเข้าดูแล เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน

ทุกเหล่าทัพกระจายกำลังช่วยเหลือประชาชน หวั่นฝนตกหนักสะสมต่อเนื่อง หากวิกฤตให้เปิดหน่วยทหารรับอพยพประชาชนเข้าดูแล เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม สั่งการเมื่อ 6 กันยายน 2565

(6 ก.ย. 65) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม สั่งการทุกเหล่าทัพ ที่มีหน่วยทหารในพื้นที่ทั่วประเทศ เตรียมยกระดับสนับสนุนรับมือกับสถานการณ์น้ำท่วม โดยให้ประสานทำงานร่วมกับฝ่ายปกครอง กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยและจิตอาสาในพื้นที่ และเตรียมปฏิบัติตามแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของแต่ละเหล่าทัพและหน่วยทหารในแต่ละพื้นที่ โดยเฉพาะการติดตามเฝ้าระวัง แจ้งเตือนภัยแก่ประชาชนในพื้นที่เสี่ยง พร้อมทั้งให้กระจายกำลังเร่งด่วนเข้าช่วยเหลือและอพยพประชาชน ทรัพย์สินมีค่าออกจากพื้นที่ และหากจำเป็นวิกฤตให้เปิดพื้นที่หน่วยทหารรับการอพยพประชาชนเข้าดูแล

พร้อมกันนี้ ให้สนับสนุนเคลื่อนย้ายกำลังพล เครื่องมือช่างและเครื่องสูบน้ำ เข้าแก้ปัญหาพื้นที่วิกฤตทันที เพื่อลดความเสียหายและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน

รัฐบาล จ่ายต่อเนื่องอุดหนุนเด็กแรกเกิด ลดความเหลื่อมล้ำ ช่วยเด็กมีพัฒนาการตามวัย

เพจเฟซบุ๊ก ศูนย์ปฏิบัติการนายกรัฐมนตรี (PMOC) ได้โพสต์ข้อความถึงโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด โดยระบุว่า โครงการดังกล่าว เป็นนโยบายสำคัญระดับชาติ มุ่งเน้นให้เด็กแรกเกิดได้รับการเลี้ยงดูที่มีคุณภาพ และมีพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัย เพื่อเติบโตเป็นประชากรที่มีคุณภาพในอนาคต อันจะยังประโยชน์ดังนี้

1) ช่วยให้เด็กอายุ 0 – 6 ปี ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดี และเป็นกำลังของสังคมและเศรษฐกิจในอนาคต

2) การลงทุนพัฒนาเด็กปฐมวัยเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าและให้ผลตอบแทนแก่สังคมที่ดีที่สุดในระยะยาว โดยให้ผลตอบแทนกลับคืนมาในอนาคต 7 - 10 เท่า ทำให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ มีทักษะที่สูงขึ้น ผลการเรียนที่ดีขึ้น ประสิทธิภาพการทำงานที่สูงขึ้น การเจ็บป่วยที่ลดลง และลดจำนวนอาชญากรรมลง เป็นต้น

3) ทำให้เด็กแรกเกิดสามารถเข้าถึงบริการทางสังคมได้เพิ่มมากขึ้น ทำให้ได้รับการพัฒนาให้เติบโตอย่างเหมาะสมตามวัย มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น นอกจากนี้ ยังทำให้หน่วยงานภาครัฐและภาคประชาสังคมที่เกี่ยวข้องสามารถระบุกลุ่มเป้าหมายเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและจัดสวัสดิการตามภารกิจของหน่วยงานได้อย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ช่วยแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำ และความยากจนลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

'รถไฟความเร็วสูง' และ 'รถไฟรางคู่' แตกต่างกันอย่างไร?

'รถไฟความเร็วสูง' เป็นรถไฟที่ถูกออกแบบมาเพื่อการขนส่งผู้โดยสารเท่านั้น มีความเร็วมากกว่า 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ในขณะที่ 'รถไฟรางคู่' นั้น เป็นรถไฟแบบดั้งเดิมที่ได้รับการขยายเพิ่มจำนวนรางมากขึ้นเป็น 2 เส้น ซึ่งรถไฟแบบดั้งเดิมนี้ สามารถขนย้ายได้ทั้งผู้โดยสาร และสินค้าในขบวนเดียวกัน ตามแต่การเชื่อมต่อขบวนรถไฟ

ในอดีตที่ผ่านมา การรถไฟของไทย ใช้รถไฟแบบดั้งเดิมทั้งเพื่อการขนส่งผู้โดยสาร และการขนส่งสินค้ามาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 แต่ด้วยความเจริญก้าวหน้าทางวิศวกรรมรถไฟที่เปลี่ยนแปลงไป รถไฟความเร็วสูงได้รับการพัฒนาให้มีความสามารถในการใช้งานในเชิงพาณิชย์ได้แล้ว และได้รับการยกย่องว่าเป็น 'ยานพาหนะแห่งศตวรรษที่ 21' มีความสามารถที่จะขนส่งผู้โดยสารในระยะทางที่ไกลขึ้นได้ ด้วยค่าใช้จ่ายที่สามารถเอื้อมถึง

สัมพันธ์ไมตรีระหว่างมิตรประเทศกับไทย สะท้อนความเป็นกลางสยามไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเป็นเรื่องละเอียดอ่อน เพราะแต่ละประเทศต่างก็มีจุดยืน ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์และผลประโยชน์ที่แตกต่างกัน แต่นั่นไม่ใช่ปัญหาสำหรับประเทศไทย เนื่องด้วยประเทศไทยดำเนินนโยบายเป็นกลาง ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดตลอดมา ด้วยความที่ประเทศไทย มีความเป็นมิตรประเทศกับทุกฝ่าย โดยไม่เลือกข้างเข้ากับฝ่ายใด ทำให้ประเทศไทยได้รับน้ำใจจากมิตรประเทศตลอดมา

ในช่วงเวลาแห่งความยากลำบากจากสถานการณ์การแพร่ระบาดจากโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 ก็เช่นกัน ที่ประเทศไทย ได้รับความช่วยเหลือด้านวัคซีนจากมิตรประเทศต่าง ๆ ดังต่อไปนี้...

>> จีน
จีนมอบวัคซีน 50.85 ล้านโดส และเวชภัณฑ์เพื่อสนับสนุนมาตรการการป้องกันและรับมือกับโควิด-19 แก่ประเทศไทย มูลค่ากว่า 10 ล้านหยวน

ล่าสุด วันที่ 19 กันยายนที่ผ่านมา จีนยังบริจาค “ห้องปฏิบัติการเคลื่อนที่หัว-เหยี่ยน” ให้กับทางรัฐบาลไทย โดยห้องปฏิบัติการเคลื่อนที่ดังกล่าวเป็นห้องปฏิบัติการที่ถูกต้องตามมาตรฐาน เพื่อใช้ในการตรวจหาเชื้อไวรัสก่อโรค และเพียบพร้อมไปด้วยอุปกรณ์ทั้งด้านเทคนิค และการบริการภายในอย่างครบครัน

>> ญี่ปุ่น
ญี่ปุ่นส่งมอบวัคซีนแอสตร้าเซเนก้า  2,043,100 โดส อีกทั้งยังให้ความช่วยเหลือไทยในการจัดเตรียมอุปกรณ์ในระบบลูกโซ่ความเย็น (Cold Chain System) ซึ่งจำเป็นต่อการขนส่งและเก็บรักษาวัคซีน รวมถึงให้ความร่วมมือในการยกระดับความสามารถการตรวจหา และเฝ้าระวังเชื้อไวรัส การจัดหาอุปกรณ์และอาคารสถานที่ซึ่งจำเป็นต่อการพัฒนายารักษาโรค

>> อังกฤษ 
อังกฤษมอบแอสตร้าเซเนก้า 415,000 โดส อีกทั้งบริษัทแอสตร้าเซเนก้าของอังกฤษ ยังไว้วางใจให้บริษัทสยามไบโอไซเอนซ์ของประเทศไทย เป็นฐานการผลิตวัคซีนแอสตร้าเซเนก้าในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 

>> สวิตเซอร์แลนด์
สวิตเซอร์แลนด์มอบชุดอุปกรณ์ตรวจ Rapid Antigent จำนวน 1,100,000 ล้านชุด และเครื่องช่วยหายใจ 102 เครื่อง

>> สหรัฐอเมริกา
สหรัฐอเมริกามอบวัคซีนไฟเซอร์ 1.5 ล้านโดส, วัคซีนโมเดอร์นา 1 ล้านโดส และตู้เย็นเก็บวัคซีนจำนวน 200 เครื่อง

สรุปจำนวนวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ในประเทศไทย ที่ 'บิ๊กตู่' จัดให้!!

การให้บริการฉีดวัคซีนป้องการโรคโควิด19 ถือเป็นหนึ่งในมาตรการสำคัญที่รัฐบาลภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาให้ความสำคัญ โดยมีวัตถุประสงค์ในการสร้าง 'ภูมิคุ้มกันหมู่' (Herd Immunity) ให้แก่สังคมไทย

ภูมิคุ้มกันหมู่ เป็นนิยามที่เกิดขึ้นโดย สพ. แดเนียล เอลเมอร์ แซลมอน สัตวแพทย์ชาวอเมริกันใน ค.ศ. 1894 และได้รับการศึกษาวิจัยต่อมาจนเป็นที่ยอมรับในช่วง ค.ศ. 1930 จากงานวิจัยด้านระบาดวิทยาของโรคหัดในบัลติมอร์ โดยเอ ดับบลิว เฮดริช และมีการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมมาตลอดทั้งในแง่ของการคำนวนหาจำนวนที่เหมาะสม และรูปแบบการกระจายวัคซีนที่มีประสิทธิภาพ ตามหลักการทางวิทยาศาสตร์

นอกจากนี้ เทคโนโลยีในการสร้างวัคซีนป้องกันโรคโควิด ปัจจุบันมี 3 เทคโนโลยี ได้แก่วัคซีนชนิดเชื้อตาย (Inactivated Vaccine), ไวรัล เว็กเตอร์ (Viral Vector Vaccine) และ เอ็มอาร์เอ็นเอ (mRNA Vaccine) ซึ่งรัฐบาลภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาสามารถจัดหามาให้บริการแก่พี่น้องประชาชนได้ทั้ง 3 ชนิด มีจำนวนดังต่อไปนี้..

- Sinovac จำนวน 26,530,000 โดส 
- Sinopharm จำนวน 14,860,000 โดส
- AstraZeneca จำนวน 48,620,000 โดส
- Pfizer จำนวน 43,490,000 โดส
- Moderna จำนวน 6,590,000 โดส

นายกรัฐมนตรียินดีและชื่นชม 'โตโน่' ทำความดีเพื่อสังคม

นายกรัฐมนตรียินดีและชื่นชม 'โตโน่' ทำความดีเพื่อสังคม

นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฎิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม แสดงความชื่นชม นายภาคิน คำวิลัยศักดิ์ หรือ โตโน่ นักร้องและนักแสดง และยินดีที่สามารถบรรลุภารกิจว่ายน้ำข้ามลำน้ำโขง ระดมเงินจัดซื้ออุปกรณ์การแพทย์ให้โรงพยาบาลนครพนม และโรงพยาบาลแขวงคำม่วน สปป.ลาว ภายใต้ชื่อกิจกรรม One Man And The River หนึ่งคนว่าย หลายคนให้


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top