Tuesday, 30 April 2024
โซเชียล

'ดีอีเอส' แนะ 3 ช่องทางช่วยประชาชน หากถูกแอบอ้างชื่อไปสร้างโซเชียลปลอม 

กระทรวงดิจิทัลฯ แนะประชาชน-คนดัง พบถูกแอบอ้างชื่อ/รูปภาพไปสร้างบัญชีโซเชียลปลอม รีบแจ้งด่วนผ่าน 3 ช่องทาง ได้แก่ กดรายงานไปที่เจ้าของแพลตฟอร์ม แจ้งผ่านโทร. 1212 และแจ้งความได้ทั้งเว็บไซต์แจ้งความออนไลน์/ตำรวจ ยืนยันดีอีเอส พร้อมประสานทุกภาคส่วนเร่งปิดบัญชีปลอม และติดตามผู้กระทำผิดเข้ามาดำเนินคดี  

นางสาวนพวรรณ หัวใจมั่น โฆษกกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฝ่ายการเมือง (ดีอีเอส) กล่าวว่า ที่ผ่านมายังพบแนวโน้มปัญหามิจฉาชีพแอบอ้างนำชื่อและรูปภาพคนอื่น ไปสร้างบัญชีโซเชียลปลอมทั้งเฟซบุ๊ก เพจปลอม ไลน์ปลอม และ IG เพื่อนำไปหลอกลวงในรูปแบบต่างๆ สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชน ทั้งสูญเสียทรัพย์สินเงินทอง เสียชื่อเสียง โดยเฉพาะยิ่งถ้าผู้ที่ถูกแอบอ้างชื่อและโปรไฟล์เป็นดารา หรือคนมีชื่อเสียง ความเสียหายก็จะยิ่งขยายวงกว้าง เนื่องจากมักมีแฟนคลับหรือผู้ติดตามจำนวนมาก โอกาสที่จะมีเหยี่อหลงเชื่อก็ยิ่งเพิ่มจำนวนเช่นกัน ขณะที่เจ้าตัวก็เสี่ยงต่อการสูญเสียชื่อเสียง

สำหรับรูปแบบการหลอกลวงที่พบบ่อยจากบัญชีโซเชียลสวมรอยเหล่านี้ ได้แก่ หลอกยืมเงิน หลอกขายของ หลอกลงทุน หลอกร่วมทุน โดยเหยื่อที่หลงเชื่อจะสูญเงินโดยไม่ได้รับสินค้าหรือผลตอบแทนใดๆ นอกจากนี้ ยังมีการหลอกลวงที่เป็น Romance Scam หรือหลอกให้หลงรักและสูบเงินเหยื่อผ่านทางออนไลน์ ขณะที่ บางกรณีจะเป็นการแอบอ้างตัวตนคนดัง สร้างเฟซบุ๊กปลอมเพื่อใช้เป็นพื้นที่โพสต์เนื้อหา หรือแสดงความคิดเห็นเพื่อหมิ่นประมาทผู้อื่น เป็นต้น 

นางสาว นพวรรณ กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหานี้ รวมถึงอำนวยความสะดวกให้ผู้เสียหายซึ่งถูกแอบอ้างชื่อไปสร้างบัญชีโซเชียลปลอม เข้าถึงช่องทางความช่วยเหลืออย่างรวดเร็ว เพื่อเร่งยุติการขยายวงของความเสียหาย เร่งประสานงานเพื่อปิดบัญชีปลอม และติดตามมิจฉาชีพมาดำเนินคดี อย่างไรก็ตาม ประเด็นสำคัญคือ ขอให้ผู้ที่ถูกแอบอ้างตั้งสติ และดำเนินการผ่าน 3 ช่องทางดังต่อไปนี้ประกอบกัน เพื่อเพิ่มความรวดเร็วในการประสานการปิดบัญชีโซเชียลที่แอบอ้าง ได้แก่ 

1.) แจ้งรายงานไปที่แพลตฟอร์มโซเชียล โดยการ report ไปยังเว็บไซต์ผู้ให้บริการ Social Network ที่ถูกแอบอ้าง ซึ่งทั้งเฟซบุ๊ก ไลน์ และ IG มีเมนูให้รายงานบัญชีปลอมโดยตรงอยู่แล้ว จากนั้นรอขั้นตอนการตรวจสอบของทางแพลตฟอร์ม

2.) ช่องทางของกระทรวงดิจิทัลฯ ที่สายด่วน โทร.1212 OCC ศูนย์ช่วยเหลือและจัดการปัญหาออนไลน์ ของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) ในสังกัดดีอีเอส + ช่องทางอื่นๆ ภายใต้การดูแลของกระทรวงฯ 

และ 3.) แจ้งตำรวจ ทั้งการไปแจ้งความที่สถานีตำรวจท้องที่ หรือกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.) โดยให้รวบรวมหลักฐานไว้ เช่น capture จับภาพหน้าจอสนทนา หรือหน้ารูป Profile ที่ถูกปลอมขึ้นมา 

ทำ 3 สิ่งนี้ทันที!! หากพบมิจฉาชีพ

'ดีอีเอส' แนะ 'ประชาชน-คนดัง' พบถูกแอบอ้างชื่อ-รูปภาพ ไปสร้างบัญชีโซเชียลปลอม ต้องรีบแจ้งด่วนผ่าน 3 ช่องทางนี้ ได้แก่ กดรายงานไปที่เจ้าของแพลตฟอร์ม / แจ้งผ่านโทร. 1212 / แจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจทั้งเว็บไซต์และสถานีท้องที่ ยืนยัน 'ดีอีเอส' พร้อมประสานทุกภาคส่วนเร่งปิดบัญชีปลอม และติดตามผู้กระทำผิดเข้ามาดำเนินคดี  

ต้องยอมรับว่าที่ผ่านมา ยังพบแนวโน้มปัญหามิจฉาชีพแอบอ้างนำชื่อและรูปภาพคนอื่น ไปสร้างบัญชีโซเชียลปลอมทั้งเฟซบุ๊ก เพจปลอม ไลน์ปลอม และ IG เพื่อนำไปหลอกลวงในรูปแบบต่างๆ สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชน ทั้งสูญเสียทรัพย์สินเงินทอง เสียชื่อเสียง โดยเฉพาะยิ่งถ้าผู้ที่ถูกแอบอ้างชื่อและโปรไฟล์เป็นดารา หรือคนมีชื่อเสียง ความเสียหายก็จะยิ่งขยายวงกว้าง เนื่องจากมักมีแฟนคลับหรือผู้ติดตามจำนวนมาก โอกาสที่จะมีเหยี่อหลงเชื่อก็ยิ่งเพิ่มจำนวนเช่นกัน ขณะที่เจ้าตัวก็เสี่ยงต่อการสูญเสียชื่อเสียง

สำหรับรูปแบบการหลอกลวงที่พบบ่อยจากบัญชีโซเชียลสวมรอยเหล่านี้ ได้แก่ หลอกยืมเงิน หลอกขายของ หลอกลงทุน หลอกร่วมทุน โดยเหยื่อที่หลงเชื่อจะสูญเงินโดยไม่ได้รับสินค้าหรือผลตอบแทนใดๆ นอกจากนี้ ยังมีการหลอกลวงที่เป็น Romance Scam หรือหลอกให้หลงรักและสูบเงินเหยื่อผ่านทางออนไลน์ ขณะที่ บางกรณีจะเป็นการแอบอ้างตัวตนคนดัง สร้างเฟซบุ๊กปลอมเพื่อใช้เป็นพื้นที่โพสต์เนื้อหา หรือแสดงความคิดเห็นเพื่อหมิ่นประมาทผู้อื่น เป็นต้น 

ปัจจุบันกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฝ่านการเมือง (ดีอีเอส) พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหานี้ รวมถึงอำนวยความสะดวกให้ผู้เสียหายซึ่งถูกแอบอ้างชื่อไปสร้างบัญชีโซเชียลปลอม เข้าถึงช่องทางความช่วยเหลืออย่างรวดเร็ว เพื่อเร่งยุติการขยายวงของความเสียหาย เร่งประสานงานเพื่อปิดบัญชีปลอม และติดตามมิจฉาชีพมาดำเนินคดี อย่างไรก็ตาม ประเด็นสำคัญคือ ขอให้ผู้ที่ถูกแอบอ้างตั้งสติ และดำเนินการผ่าน 3 ช่องทางดังต่อไปนี้ประกอบกัน เพื่อเพิ่มความรวดเร็วในการประสานการปิดบัญชีโซเชียลที่แอบอ้าง ได้แก่ 

1.) แจ้งรายงานไปที่แพลตฟอร์มโซเชียล โดยการ report ไปยังเว็บไซต์ผู้ให้บริการ Social Network ที่ถูกแอบอ้าง ซึ่งทั้งเฟซบุ๊ก ไลน์ และ IG มีเมนูให้รายงานบัญชีปลอมโดยตรงอยู่แล้ว จากนั้นรอขั้นตอนการตรวจสอบของทางแพลตฟอร์ม

2.) ช่องทางของกระทรวงดิจิทัลฯ ที่สายด่วน โทร.1212 OCC ศูนย์ช่วยเหลือและจัดการปัญหาออนไลน์ ของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) ในสังกัดดีอีเอส + ช่องทางอื่นๆ ภายใต้การดูแลของกระทรวงฯ 

'Salmon House' ออกแถลงขอโทษคนดู หลังเผยแพร่คอนเทนต์กระทบจิตใจ-ชวนหดหู่

จากกรณีเมื่อวันที่ 23 ส.ค. 65 ทาง Salmon House ได้ปล่อยคลิปโฆษณา 'ออกกำลังกายกับโบโบ้' ออกมา ซึ่งเมื่อชาวโซเชียลดูจบแล้วกลับรู้สึกหดหู่ เพราะมองว่าเป็นการบั่นทอนความรู้สึก โดยคลิปดังกล่าว คล้ายกับการเลียนแบบคลิปออกกำลังกายของ เบเบ้ ธันย์ชนก โดยมีหญิงสาวคนหนึ่งใช้ชื่อว่า 'โบโบ้' เริ่มจากการสอนออกกำลังกายตามปกติทั่วไป

แต่บางช่วงบางตอนของคลิปได้มีประโยคคำพูดที่ฟังแล้วเป็นการตอกย้ำชีวิตบางมุมของคนดู เช่น ให้นึกถึงความล้มเหลวในชีวิต, พูดถึงเรื่องความรักที่ไม่สมหวัง, เรื่องฐานเงินเดือนน้อย ไม่สามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้, มองชีวิตคนรอบตัวแล้วเอามาเปรียบเทียบกับตัวเอง, มองเพื่อนประสบความสำเร็จในชีวิต เป็นต้น

เมื่อชาวโซเชียลดูจบแล้วก็ได้วิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก โดยระบุว่าเป็นแคมเปญที่ไม่สร้างสรรค์ หากคนป่วยเป็นโรคซึมเศร้าดูจบแล้วอาจจะหดหู่ และดิ่งหนักยิ่งกว่าเดิม มันตอกย้ำชีวิตที่ล้มเหลวของคนในทุก ๆ ด้านพร้อมทั้งเรียกร้องให้ออกมารับผิดชอบด้วย

ล่าสุด ทาง Salmon House บริษัทผลิตงานแพร่ภาพและสื่อ ออกแถลงการณ์ขอโทษ กรณีเผยแพร่คลิปวิดีโอ 'ออกกำลังกายกับโบโบ้' ที่สร้างความไม่สบายใจ และกระทบกระเทือนจิตใจของผู้ชม โดยระบุว่า...

จากกรณีคลิป “ออกกำลังกายกับโบโบ้” ของ Salmon House ที่กำลังเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในโซเชียลมีเดีย ซึ่งตัวคลิปมีเนื้อหาที่สร้างความไม่สบายใจ และกระทบกระเทือนจิตใจของผู้ชม

เราต้องยอมรับว่าคราวนี้เราผิดพลาด ละเลย รวมถึงมองข้ามความรู้สึกของคนบางส่วนไป ที่อาจได้รับผลกระทบจากเนื้อหาที่มีความอ่อนไหวลักษณะนี้ รวมทั้งจำเป็นต้องมีการแจ้งเตือนก่อนการรับชม (Trigger Warning) ด้วย เพราะผู้ชมทุกคนควรมีสิทธิที่จะรับรู้ล่วงหน้าว่า ตัวเองกำลังจะรับชมเนื้อหาแบบไหน ต้องเตรียมความรู้สึกลักษณะไหน

'ปู-จิตกร' ยกคุณสมบัติของ 'ทนายที่ดี' ไม่ควรชี้นำใครให้สังคมไปไล่ฉีกทึ้ง

(28 พ.ย. 65) นายจิตกร บุษบา คอลัมนิสต์ชื่อดัง โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัวร่ายคุณสมบัติของทนายที่ดี ไว้ดังนี้...

สำหรับผม 'ทนายที่ดี' คือ...

1. ไม่พูดนอกกระบวนการโดยไม่จำเป็น พื้นที่ของทนายคือ ในกระบวนการยุติธรรม ไม่ใช่ในสื่อ

2. ปกป้องลูกความตัวเอง โดยไม่พูดให้ใครเสียหาย ไม่ประจาน ไม่บูลลี่ มีหน้าที่นำไปสู่กระบวนการตัดสินในศาล ไม่ใช่ผู้ตัดสิน และโดยเฉพาะชี้นำ 'ศาลเตี้ย' ในสังคมให้คึกคะนอง แล้วตัดสินกันเอง

3. พูดในสิ่งที่ลูกความมอบหมายให้พูด ไม่ใช่พูดเป็นผีเจาะปากไปหมด ราวกับตัวเองเป็นเหยื่อ ทั้งคาดเดา ทั้งสันนิษฐาน ทั้งวิจารณ์ นี่ใช่ 'มารยาททนายที่ดี' จริงๆ หรือครับ

เปิด 20 คำศัพท์โซเชียลยอดฮิต ประจำปี 2565

ใครท่องโซเชียลบ่อย ๆ น่าจะคุ้นเคยกับคำศัพท์โซเชียลกันไม่มากก็น้อย ไม่ว่าจะเป็นคำว่า ‘ต๊าซ’ ที่แสดงถึงความดีเลิศ โดดเด่น อย่างเช่น เพลงของลิซ่าสุดต๊าซ 

หรือคำว่า ‘แน่นะวิ’ ที่ใช้ถามในลักษณะประชดประชันหรือเพื่อความมั่นใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นว่าเป็นแบบนั้นจริง ๆ หรือไม่ อย่างเช่น งานไม่ใหญ่แน่นะวิ

คุมกำเนิดสายย่อ!! TikTok ออกกฏใหม่ ขัดใจเด็กติดโซเชียล คุมเด็กต่ำกว่า 18 เล่นได้วันละชั่วโมง

แก้ปัญหาติดโซเชียล! ‘ติ๊กต็อก’จ่อตั้งค่าเริ่มต้นจำกัดเวลาบัญชีเด็กต่ำกว่า 18 เล่นได้ 60 นาทีต่อวัน

(2 มี.ค. 66) สำนักข่าวอัลจาซีราของกาตาร์ เสนอข่าว TikTok sets new default time limits for under-18s ระบุว่า “ติ๊กต็อก (TikTok)” หนึ่งในแอพพลิเคชันสื่อสังคมออนไลน์ยอดนิยม เตรียมติดตั้งระบบจำกัดเวลาเริ่มต้น (default time) 60 นาทีต่อวันสำหรับทุกบัญชีที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี และกำลังพัฒนาเครื่องมือเพื่อให้ผู้ปกครองป้องกันไม่ให้บุตรหลานดูเนื้อหาที่มีคำหรือแฮชแท็กบางคำเนื่องจากบริษัทต้องการสร้างภาพลักษณ์ต่อสาธารณะ 

การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเกิดขึ้นท่ามกลางความกังวลที่เพิ่มขึ้นของรัฐบาลต่างๆ ทั่วโลกเกี่ยวกับความปลอดภัยของแอพฯ และความสามารถในการปรับเปลี่ยนอัลกอริทึมเพื่อผลักดันโพสต์บางรายการ ดังล่าสุดเมื่อวันที่ 1 มี.ค. 2566 มีการอัปเดตขีดจำกัดหน้าจอ สะท้อนถึงกฎการเล่นเกมที่กำหนดให้กับเยาวชนในจีน ซึ่งเป็นประเทศที่ ไบท์แดนซ์ (ByteDance) บริษัทแม่ของ TikTok ก่อตั้งขึ้นก่อนที่จะย้ายไปสิงคโปร์ในภายหลัง 

ในปี 2564 ทางการจีนได้ออกกฎใหม่ที่จำกัดระยะเวลาที่ผู้เยาว์สามารถเล่นเกมออนไลน์ได้เพียง 1 ชั่วโมงต่อวัน และเฉพาะในวันศุกร์ วันหยุดสุดสัปดาห์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ซึ่งเป็นความพยายามที่จะควบคุมการเสพติดอินเตอร์เน็ต ขณะที่ในสหรัฐอเมริกา ข้อมูลของ Pew Research Center พบ  2 ใน 3 ของวัยรุ่นอเมริกันใช้ TikTok ท่ามกลางสภาพที่ครอบครัวต่างประสบปัญหากับการจำกัดเวลาที่บุตรหลานใช้แอพฯ ดังกล่าวแชร์วิดีโอ

‘ลิซ่า BLACKPINK-ใหม่ ดาวิกา’ 2 สาวไทยสุดปัง!! ติดอันดับผู้ทรงอิทธิพลบนโซเชียลทั่วโลก ปี 2023

(18 ส.ค. 66) สาวไทยปังปั๊วะไม่เป็นรองใครจริงๆ เมื่อนักร้องชื่อดัง อย่าง ‘ลิซ่า BLACKPINK’ หรือ ‘ลลิษา มโนบาล’ และ ‘ใหม่ ดาวิกา โฮร์เน่’ ที่ติดอันดับผู้ทรงอิทธิพลบนโซเชียลทั่วโลก ประจำปี 2023

หลังจากที่เปิดโพลผู้ทรงอิทธิพล 1 ใน 100 บนโซเชียลทั่วโลกประจำปี 2023 จากรายได้ ที่มีมูลค่าการโพสต์สูงที่สุด ของ บ.จัดเก็บข้อมูล Hopper HQ บริษัทวงการตลาดโซเชียลมีเดีย พบว่ามีชื่อของ ‘ลิซ่า ลลิษา มโนบาล’ หรือ ‘ลิซ่า BLACKPINK’ ถูกจัดอยู่ในหมวดหมู่รายชื่อผู้ทรงอิทธิพลในแพลตฟอร์ม Instagram ประจำปี 2023 ในอันดับที่ 26 ด้วยราคามูลค่าต่อโพสต์เฉลี่ยอยู่ที่โพสต์ละ $575,000 หรือ 20 ล้านบาท

และยังพบชื่อของนางเอกสาว ‘ใหม่ ดาวิกา โฮร์เน่’ ที่ติดอยู่ในอันดับที่ 80 อีกด้วย ซึ่งมีราคามูลค่าต่อโพสต์เฉลี่ยอยู่ที่โพสต์ละ $170,000 หรือ 3.7 ล้านบาท ซึ่งเป็น 2 สาวไทยที่มีรายชื่อติดในโพลผู้ทรงอิทธิพล 1 ใน 100 บนโซเชียลทั่วโลกประจำปี 2023

สำหรับอันดับที่ 1 ยังคงเป็นของ ‘คริสเตียโน่ โรนัลโด้’ นักฟุตบอลชาวโปรตุเกส ซึ่งมีราคามูลค่าต่อโพสต์เฉลี่ยอยู่ที่ $3,234,000 หรือ 114 ล้านบาท ส่วนอันดับที่ 2 ตกเป็นของ ‘ลิโอเนล เมสซี’ มีราคามูลค่าต่อโพสต์เฉลี่ยอยู่ที่ $2,597,000 หรือ 91 ล้านบาท ขณะที่อันดับ 3 ‘เซเลนา โกเมซ’ มีราคามูลค่าต่อโพสต์เฉลี่ยอยู่ที่ $2,558,000 หรือ 90 ล้านบาท

สืบนครบาล รวบ 'เต้ย บ้านแพ้ว' แก๊งหลอกรับจำนำรถผ่านสื่อโซเชียล โอนเงินไถ่รถคืนสุดท้ายหายเงียบ

ตามนโยบายของ พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล ผบ.ตร. , พล.ต.ท.ธิติ แสงสว่าง ผบช.น. ให้ปราบปรามอาชญากรรมที่กระทำความผิดทุกรูปแบบซึ่งสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนผู้สุจริตจำนวนมาก โดยชุดลาดตระเวนออนไลน์ กก.สส.3 บก.สส.บช.น. ได้รับการร้องเรียนจากประชาชนผู้เดือดร้อนเป็นจำนวนมาก ให้ช่วยทำการสืบสวนติดตามจับกุมตัวคนร้ายซึ่งมีพฤติการณ์รับจำนำรถแต่ไม่ยอมคืนรถ

เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2566 พล.ต.ท.ธิติ แสงสว่าง ผบช.น. ,พล.ต.ต.นพศิลป์ พูลสวัสดิ์ รอง ผบช.น. ,พล.ต.ต.ธีรเดช ธรรมสุธีร์ ผบก.สส.บช.น., พ.ต.อ.อิสเรศ ปาลาพงศ์, พ.ต.อ.นิวัฒน์ พึ่งอุทัยศรี รอง ผบก สส.ฯ,, พ.ต.อ.อรรชวศิษฎ์ ศรีบุญยมานนท์ ผกก.สส.3 บก.สส.บช.น., พ.ต.ท.วิโรฒ จนุบุษย์ และ พ.ต.ท.นิธิ ปิยะพันธุ์ รอง ผกก.สส.3ฯ ได้สั่งการให้  พ.ต.ท.สัญญลักษ์ สังขะภักดี สว.กก.สส.3 บก.สส.บช.น. พร้อมด้วยกำลังเจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการที่ 3/1 ดำเนินการจับกุม

นายธนพงษ์ แก้วกำเนิด อายุ 31 ปี ที่อยู่ เลขที่ 31/4 หมู่ที่ 2  ต.นาดี อ.เมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร  ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลจังหวัดนครราชสีมา ที่ 450/2565 ลงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2565 

โดยกล่าวหาว่า “ ร่วมกัน ฉ้อโกงประชาชนและร่วมกันโดยทุจริตนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนหรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน” 

จากการตรวจสอบพบว่ามีหมายจับในคดีอื่น อีกจำนวน 3 หมาย ดังนี้
1. หมายศาลจังหวัดพิษณุโลก ที่ 52/2566 ลง 8 กุมภาพันธ์ 2566 ฐานความผิด "ฉ้อโกงประชาชนและโดยสุจริต หรือโดยหลอกลวง นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน อันเป็นความผิดตามประมวลกฏหมายอาญา มาตรา 83, 341, 343 และ พรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 14(1)
2. หมายศาลจังหวัดมุกดาหาร ที่ จ.155/2566 ลง 17 สิงหาคม 2566 ฐานความผิด "ร่วมกันยักยอก และร่วมกันให้บุคคลอื่นกู้ยืมเงินโดยเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฏหมายกำหนดไว้
3. หมายศาลจังหวัดกาฬสินธุ์ ที่ จ.272/2566 ลง 12 มิถุนายน 2566 ฐานความผิด "ร่วมกันฉ้อโกงทรัพย์"

สถานที่จับกุม บริเวณหน้าบ้าน เลขที่ 11/3 ม.3 ต.อำแพง อ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร นำส่ง สภ.ครบุรี จังหวัดนครราชสีมา เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป

กล่าวคือ สืบนครบาลได้รับการขอความช่วยเหลือจากประชาชนผ่านเพจ พบว่านายธนพงษ์ (ผู้ต้องหา)กับพวกลงประกาศรับจํานํารถติดไฟแนนซ์ในเฟซบุ๊ก ผู้เสียหายสนใจจึงติดต่อไปและตกลงทําสัญญากู้ยืมเงินโดยมีรถยนต์เป็นหลักประกัน ต่อมาผู้เสียหายต้องการไถ่รถคืน จึงได้โอนเงินให้ผู้ต้องหา หวังว่าจะได้รถยนต์คืนมา สุดท้ายหายเงียบ มูลค่าความเสียหายประมาณ 500,000 บาท พร้อมรถยนต์ อีก 4 คัน โดยกลุ่มคนร้ายมีการก่อเหตุทั้งหมด 4 ครั้ง ใน 4 พื้นที่ ดังนี้
1. เมื่อวันที่ 10 มี.ค. 2565 นายธนพงษ์ ฯ กับพวกลงประกาศรับจำนำรถติดไฟแนนซ์ในเฟซบุ๊กสาธารณะ มีผู็เสียหายเข้ามาติดต่อทำสัญญาโดยมีรถยนต์เป็นประกัน จากนั้นผู้เสียหายต้องการไถ่รถคืน แต่กลับติดต่อใครไม่ได้ (ที่เหตุเกิดจังหวัดมุกดาหาร)
2. วันที่ 14 ต.ค.65 นายธนพงษ์ ฯ กับพวกได้รับจำนำรถกะบะโตโยต้าสีขาวทะเบียนกรุงเทพมหานคร ของผู้เสียหาย ในราคา 85,000 บาท ซึ่งภายหลังผู้เสียหายได้โอนเงินเข้าบัญชีนายนายธนพงษ์ ฯ แต่ไม่ได้รับรถยนต์กระบะคืน (ที่เกิดเหตุทจังหวัดพิษณุโลก)
3. วันที่ 21 พ.ย.65 นายธนพงษ์ฯ กับพวก ได้รับจำนำรถยนต์  มีผู้เสียหายมาติดต่อขอจำนำรถยนต์ โดยนำรถยนต์มาเป็นประกัน จากนั้นผู้เสียหายได้โอนเงิน จำนวน 90000 บาท เพื่อต้องการจะไถ่ถอนรถยนต์คืน แต่กลับไม่ได้รถยนต์คืน และติดต่อผู้ต้องหาไม่ได้ (ที่เหตุเกิดจังหวัดกาฬสินธุ์)
4.วันที่ 25 พ.ย.65  นายธนพงษ์ ฯ กับพวก ได้รับจำนำรถยนต์ มีผู้เสียหายมาติดต่อจำนำรถยนต์์ ยี่ห้อ เรโว่ทะเบียน นครราชสีมา แต่เมื่อผู้เสียหายได้โอนเงินเข้าบัญชีนายธนพงษ์ ฯ 100,000 บาท หวังจะได้รถยนต์คืน กลับติดต่อใครไม่ได้ (ที่เกิดเหตุจังหวัดนครราชสีมา)

จนกระทั่ง วันที่ 5 ม.ค. 67 เวลาประมาณ 19.50 น.เจ้าหน้าที่สืบนครบาล  ได้ร่วมกันจับกุมตัว นายธนพงษ์ หรือเต้ย แก้วกำเนิด อายุ 31  ปี (ที่อยู่ เลขที่ 31/4 หมู่ที่ 2  ต.นาดี อ.เมืองสมุทรสาคร จ.สมุทรสาคร) บุคคลตามหมายจับศาลจังหวัดนครราชสีมา ที่ จ.450/2565 ลงวันที่ 3 พฤศจิกายน 2565 ในความผิด “ร่วมกันฉ้อโกงประชาชน และร่วมกันโดยทุจริต นำเข้าสู่รับบคอมพิวเตอร์” จับได้ที่บริเวณหน้าบ้าน เลขที่ 11/3 หมู่ 3 ต.อำแพง อ.บ้านแพ้ว จ.สุมทรสาคร และเป็นบุคคลตามหมายจับ อีกจำนวน 3 หมายจับดังกล่าว

จากการซักถามผู้ต้องหา ยังให้การภาคเสธ รับแต่เพียงว่า เพื่อนให้ไปเปิดบัญชีธนาคารและคอยไปกดเงินให้เพื่อน แต่เจ้าหน้าที่ไม่ปักใจเชื่อ เนื่องจากมีการทำเป็นขบวนการและมีผู้เสียหายร้องเรียนเข้ามาหลายคน 

จากนั้น จึงได้ทำบันทึกจับกุมและส่งตัวผู้ต้องหาให้ พงส.สภ.ครบุรี จว.นครราชสีมา เพื่อดำเนินการตามกฎหมายต่อไป

ด้าน พล.ต.ต.ธีรเดช กล่าวแจ้งเตือนภัย ขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อในการกู้เงินจากแหล่งเงินกู้นอกระบบ ซึ่งไม่มีความน่าเชื่อถือและไม่ได้รับอนุญาต รวมการค้ำประกันรถยนต์หรือทรัพย์สินทั้งหมด หากไม่แน่ใจ หรือสงสัยว่าบุคคลที่เข้ามาเสนอผลประโยชน์ นั้นจะเป็นมิจฉาชีพ หรือไม่ ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าตรวจสอบ หรือแจ้งเบาะแสการกระทำความผิด มายังเพจ “สืบนครบาล IDMB” ได้ตลอด 24 ชม. แม้จะเป็นคดีที่มีความเสียหายไม่มาก แต่หากเป็นคดีที่ประชาชนเดือดร้อน เราทำทันที ตามนโยบายของผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top