Thursday, 16 May 2024
โครงสร้างพื้นฐานประเทศไทย

ทางหลวงสายใหม่ อุดรธานี-บึงกาฬ มาตรฐานมอเตอร์เวย์ ไร้จุดตัดทางแยก เชื่อมต่อสะพานมิตรภาพ แห่งที่ 5

เพจเฟซบุ๊ก โครงสร้างพื้นฐานประเทศไทย Thailand Infrastructure ได้โพสต์ข้อความเกี่ยวกับ ทางหลวงสายใหม่ อุดรธานี-บึงกาฬ โดยมีใจความว่า ...

ทางหลวงสายใหม่ อุดรธานี-บึงกาฬ ร่นระยะทางกว่า 65 กม
มาตรฐานมอเตอร์เวย์ ไร้จุดตัดทางแยก เชื่อมต่อสะพานมิตรภาพ แห่งที่ 5 (บึงกาฬ-บอลิคำไซ) และสนามบินบึงกาฬ
วันนี้เอาอีกหนึ่งโครงการถนนยุทธศาสตร์ ด้านการเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน คือเส้นทางทางหลวงสายใหม่ อุดรธานี (กุมภวาปี) - บึงกาฬ เพื่อตัดตรง จากถนนมิตรภาพ เข้าสู่บึงกาฬ โดยตรง 
ซึ่งถนนสายใหม่เส้นนี้ สามารถลดระยะทาง ได้กว่า 65 กิโลเมตร จากเดิม 220 กิโลเมตร เหลือเพียง 155 กิโลเมตร 

การยกระดับมาตรฐานทางหลวง ขนาด 4 ช่องจราจร เทียบเท่ามอเตอร์เวย์ ไร้จุดตัดทางแยก และทางกลับรถกลางถนน เพื่อความปลอดภัย และความสะดวกของประชาชน
นอกจากนั้น ถนนสายใหม่นี้ จะเป็นอีกหนึ่งสายที่จะสนับสนุนการท่องเที่ยวในพื้นที่ ซึ่งเชื่อมโยงไปยังแหล่งท่องเที่ยวได้ง่ายยิ่งขึ้น เช่น

- ทะเลบัวแดง
- คำชะโนด
- หินสามวาฬ
- ถ้ำนาคา

สำคัญที่สุด จะเป็นโครงข่ายสนับสนุนการเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน คือ สะพานมิตรภาพ ไทย-ลาว แห่งที่ 5 (บึงกาฬ-บอลิคำไซ) ที่กำลังก่อสร้าง และจะเสร็จประมาณปี 67 คู่ขนานกับการเชื่อมต่อสนามบินบึงกาฬที่อยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้

รายละเอียด ถนนสายใหม่ อุดรธานี-บึงกาฬ 

- ระยะทางรวม 155 กิโลเมตร 
- เป็นถนนขนาด 4 ช่องจราจร
- มาตรฐานการออกแบบ เป็นทางหลวงระหว่างเมือง ไม่มีจุดตัดทางแยก (เทียบเท่ามอเตอร์เวย์)
- มีทางต่างระดับเพื่อเชื่อมต่อทางหลวงสายหลัก 3 จุด ได้แก่ จุดตัดถนนมิตรภาพ (ทล.2) ที่ กม. 424 (ต้นทาง) , จุดตัดทางหลวงสาย 22 ที่ กม. 30 และ จุดตัด ถนนเลี่ยงเมืองบึงกาฬ ที่ กม. 2 (ปลายทาง)
- มีสะพานข้ามแยก 7 จุด เพื่อเชื่อมต่อกับถนนขนาดเล็ก 

แนวเส้นทาง
เริ่มต้นโครงการจาก ถนนมิตรภาพ กม. 424 ในอำเภอกุมภวาปี มุ่งหน้าขึ้นเหนือ ผ่านอำนาจประจักษ์ศิลปาคม เข้าสู่อำเภอหนองหาน ตัดกับทางหลวงสาย 22 (อุดรธานี-นครพนม) ซึ่งเป็นทางต่างระดับ เพื่อความสะดวกในการเชื่อมต่อทุกด้าน
จากนั้นก็มุ่งหน้าต่อผ่านอำเภอทุ่งฝน อำเภอพิบูลย์รักษ์ อำเภอบ้านดุง ตัดกับทางหลวง 2022 (สามารถเดินทางต่อยปคำชะโนดได้)
จากนั้น มุ่งหน้าต่อ เข้าเขตจังหวัดหนองคาย อำเภอโพนพิสัย ตัดกับทางหลวง 2023 และ ทางหลวง 2267 และจะมีพื้นที่จุดบริการทางหลวง อยู่ที่อำเภอเฝ้าไร่
จากนั้นเข้าสู่เขตจังหวัดบึงกาฬ ที่อำเภอโซ่พิสัย ตัดกับทางหลวง 2095 เข้าสู่เขตอำเภอเมืองบึงกาฬ
ซึ่งบริเวณ นี้จะเชื่อมต่อกับตำแหน่งสนามบินบึงกาฬ แห่งใหม่ ที่กำลังศึกษาความเป็นไปได้ และผลกระทบสิ่งแวดล้อมอยู่
สุดท้าย ปลายทางจะไปบรรจบกับถนนเลี่ยงเมืองบึงกาฬ ซึ่งจะเป็นถนนที่เชื่อมต่อกับสะพานมิตรภาพแห่งที่ 5 ด้วยเช่นกัน
 

'สถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยา' สร้างประโยชน์อะไร ให้ชาวอยุธยาได้บ้าง

ชวนส่อง!! ประโยชน์ 3 ด้าน จาก ‘สถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยา’ 🚅💨 ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ และยกระดับคุณภาพชีวิตให้พี่น้องชาวอยุธยาได้อย่างไรบ้าง ไปดูกันเลย!! 🇹🇭✨💵

‘จิรวัฒน์’ เลคเชอร์!! โครงสร้างพื้นฐานประเทศไทย 67 ความคืบหน้า ‘เส้นทางรถไฟ-รถไฟฟ้า’ เดินหน้าน่าพอใจ

จากรายการ THE TOMORROW มหาชนต้องรู้ ออกอากาศทางสถานีวิทยุ ส.ทร. FM93.0 MHz และสื่อออนไลน์ ในเครือ THE STATES TIMES  ได้พูดคุยกับ คุณจิรวัฒน์ จังหวัด เจ้าของเพจ ‘โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure’ เมื่อวันที่ 6 ม.ค.67 ถึงความคืบหน้าโครงสร้างพื้นฐานของประเทศไทยในปี 2567 โดยช่วงหนึ่งของรายการ คุณจิรวัฒน์ ได้อัปเดตเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวของระบบโครงสร้างพื้นฐานของรถไฟไทย ไว้อย่างน่าสนใจว่า...

ตอนนี้ การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้เปิดใช้ทางคู่สายใต้ ตั้งแต่ 15 ธันวาคมที่ผ่านมา เพื่อให้การพัฒนาโครงข่ายรถไฟทางคู่ในเส้นทางสายใต้ สามารถเปิดให้บริการได้ภายในปี 2567 ซึ่งจะช่วยเพิ่มความสะดวกในการเดินทางของพี่น้องประชาชน รวมถึงสามารถขนส่งสินค้าเชื่อมโยงทุกภูมิภาคต่างๆ ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย 

ทั้งนี้การรถไฟฯ ได้ตรวจสอบความพร้อมของโครงการรถไฟทางคู่ระยะเร่งด่วนในเส้นทางสายใต้ ‘ช่วงนครปฐม-หัวหิน’ และ ‘ช่วงหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์’ รวมถึง ‘ช่วงประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร’ โดยพบความก้าวหน้าใกล้จะแล้วเสร็จทั้งหมด พร้อมกำหนดเปิดใช้ทางคู่ในช่วงแรก ระหว่างสถานีบ้านคูบัว จังหวัดราชบุรี ถึงสถานีสะพลี จังหวัดชุมพร รวมระยะทาง 348 กิโลเมตรในช่วงเมษายนนี้ เพื่อช่วยลดเวลาในการเดินทาง เพิ่มความเร็วและความปลอดภัยในการเดินขบวนรถ ซึ่งจะทำให้ผู้โดยสารใช้เวลาในการเดินทางน้อยลง และถึงจุดหมายปลายทางเร็วขึ้น ประมาณ 1.30 ชั่วโมง โดยไม่ต้องเสียเวลาในการรอหลีกขบวนรถ เกิดประสิทธิภาพในการบริหารจัดการเดินรถ ทำให้การรถไฟฯ สามารถรองรับขบวนรถได้เพิ่มขึ้น 2 เท่า 

“ตรงนี้ จะช่วยลดต้นทุนการขนส่งด้านโลจิสติกส์ อีกทั้งยังช่วยเพิ่มความปลอดภัย ลดความเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุบริเวณจุดตัดทางเสมอระดับรถไฟ-รถยนต์ ที่สำคัญรถไฟทางคู่ยังช่วยกระจายโอกาสทางสังคมการเติบโตทางเศรษฐกิจสู่ภูมิภาคต่างๆ ตลอดจนยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทย เป็นการพลิกโฉมการคมนาคมขนส่งระบบรางของประเทศ ให้กลายเป็นศูนย์กลางด้านคมนาคมของภูมิภาคอาเซียน” คุณจิรวัฒน์ กล่าว

ส่วนรถไฟสายใหม่ ‘เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ’ คุณจิรวัฒน์ กล่าวว่า ตอนนี้ได้มีการออกแบบสถานี เพื่อแสดงถึงอัตลักษณ์ล้านนาอย่างโดดเด่นสวยงาม สอดคล้องบริบทท้องถิ่น และแหล่งท่องเที่ยว ขณะเดียวกันเส้นทางนี้ ถือเป็นหนึ่งในเส้นทางรถไฟยุทธศาสตร์สำคัญในการเชื่อมโยงภูมิภาค และประเทศเพื่อนบ้าน ในการขนส่งสินค้า ฉะนั้นการพัฒนาโครงสร้างอาคารสถานีดังกล่าว จึงเป็นจุดเริ่มต้นอันดีต่อการเดินทางท่องเที่ยวในพื้นที่ ในแง่ของการสร้างความประทับใจแรกเห็น (First Impression) แก่ผู้ใช้บริการได้อย่างมาก 

คุณจิรวัฒน์ ขยายความต่ออีกว่า นอกจากนี้ในส่วนของสถานีเชียงของ ก็ถือเป็นจุดเปลี่ยนถ่ายสินค้า ที่จะเชื่อมโยงระหว่างประเทศ เชื่อม ‘ไทย-ลาว-พม่า-จีน’ โดยการขนส่งสินค้าและผู้โดยสารต่อเนื่องระหว่างประเทศจะเชื่อมโยงผ่านสะพานมิตรภาพ ไทย-ลาว แห่งที่ 4 รวมถึงยังเป็นสถานีรถไฟโดยสาร และ โรงซ่อมบำรุง ไว้ในที่เดียวกันด้วย ซึ่งถือเป็นจุดประสงค์หลักของโครงการรถไฟสายใหม่ ‘เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ’ สายนี้ 

ส่วนความคืบหน้าของรถไฟความเร็วสูง ‘สายกรุงเทพ-โคราช’ คุณจิรวัฒน์ เผยถึงความคืบหน้าว่าอยู่ที่ประมาณ 28% โดยอาจจะมีบางส่วนช้าอยู่ในเรื่องของพระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดิน แต่ที่สระบุรี และปากช่องก็เริ่มมีขุดเจาะวางเสาเข็มกันบ้างแล้ว ส่วนการก่อสร้างที่พระนครศรีอยุธยา ยังคงต้องรอข้อสรุปกันอยู่ 

สำหรับ ‘เส้นทางมอเตอร์เวย์บางใหญ่-กาญจนบุรี’ นั้น ในปี 2567 น่าจะได้เริ่มใช้จาก ‘นครปฐม’ ไป ‘กาญจนบุรี’ ก่อน ส่วนเส้นทาง ‘กรุงเทพ-โคราช-บางปะอิน-นครราชสีมา’ นั้น หากมองในส่วน ‘โคราช-ปากช่อง’ ได้เปิดใช้งานมาก่อน และตอนนี้จะเปิดให้บริการแบบ 100% ฟรี เป็นระยะเวลาประมาณ 1 ปี 

ในส่วนของรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ คุณจิรวัฒน์ กล่าวว่า สายสีม่วงใต้ ‘เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ’ ซึ่งทำเป็นอุโมงค์เสียส่วนใหญ่ และประมาณ 60% วิ่งเข้าเกาะรัตนโกสินทร์ (จะมีการลอดแม่น้ำเจ้าพระยาตรงวงเวียนใหญ่ สะพานพุทธ) มีระยะดำเนินการมาประมาณ 2 ปี พบความคืบหน้าอยู่ที่ประมาณ 22% ซึ่งถือว่าคืบหน้าพอสมควร คาดว่าปี 2570-2571 น่าจะแล้วเสร็จ ส่วนอีกเส้นหนึ่ง คือ สายสีชมพู เปิดบริการ 100% วิ่งผ่าน ‘แจ้งวัฒนะ-มีนบุรี’ 

ทิ้งท้ายกับ แผนแม่บทขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (พื้นที่ต่อเนื่อง) ระยะที่ 2 หรือ M-MAP2 ก็ได้มีการวิเคราะห์ลงรายละเอียดไปถึงบ้านเรือนของประชาชนกับที่ทำงาน ว่าจะมีการเดินทางอย่างไร โดยมีการมองภาพกว้างที่ไม่ใช่จำกัดแค่ในกรุงเทพฯ แต่จะครอบคลุมไปถึงปริมณฑลด้วย เพื่อพัฒนาโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลได้อย่างเต็มศักยภาพต่อไป

ท่าเรือสำราญพัทยา ‘แหลมบาลีฮาย’ พร้อมเป็นต้นทาง เรือสำราญระดับโลก เพื่อเปิดโอกาสใหม่ ในการท่องเที่ยวอ่าวไทย เปิดรับ นทท.กระเป๋าหนัก

เมื่อวานนี้ (26 เม.ย. 67) เพจเฟซบุ๊ก ‘โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure’ ได้โพสต์ข้อความเกี่ยวกับ การพัฒนาท่าเรือสำราญพัทยา แหลมบาลีฮาย เพื่อใช้เป็นต้นทางเปิดรับ เรือสำราญระดับโลก โดยได้ระบุว่า ...

วันนี้เอาการแผนการพัฒนาการเดินทาง ทางน้ำ ที่น่าสนใจ และเป็นอีกโอกาสในการสร้างรายได้ในการรับนักท่องเที่ยวรายได้สูงเข้าประเทศ คือการก่อสร้างท่าเรือสำราญ ในเขตอ่าวไทยตอนบน 

โดยโครงการได้มีการศึกษาและเปรียบเทียบในหลายที่ แล้วมาลงตัวที่ แหลมบาลีฮาย พัทยา 
เพื่อสร้างเป็นท่าเรือต้นทาง (Home Port) และท่าเรือจอดพัก (Port of Call) ของเรือสำราญระดับโลก ซึ่งกำลังเป็นเทรนด์ใหม่ในไทย ซึ่งมีเรือได้เริ่มเข้ามาทำเส้นทางเดินเรือประจำ บ้างแล้ว

ซึ่งปัจจุบัน ใช้อาคารท่าเรือสำราญของท่าเรือแหลมฉบัง ซึ่งก็ไม่ตอบรับกับความต้องการของสายเรือสำราญ และนักท่องเที่ยว ซึ่งควรจะเป็นท่าเรือที่ใกล้แหล่งท่องเที่ยว

เรามาทำความเข้าใจรูปแบบ การใช้งานของท่าเรือสำราญกันก่อน
1. ท่าเรือต้นทาง (Home Port) ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นการเดินทางของสายเรือนั้นๆ ในการออกเดินทางสู่ปลายทาง หรือไปเที่ยวในจุดต่างๆ และกลับมาส่งผู้โดยสารที่เดิม
ซึ่งท่าเรือเหล่านี้ จะมีกิจกรรมเช่น 
- การพักคอยการเดินทางของผู้โดยสาร
- การเปลี่ยนกะของเจ้าหน้าที่ในเรือ
- การเติมหรือเปลี่ยนถ่ายสินค้าที่จะไปให้บริการบนเรือ
ตัวอย่างเช่น ท่าเรือสิงคโปร์ และท่าเรือแหลมฉบัง 

2. ท่าเรือจอดพัก (Port of Call) ซึ่งเป็นการจอดแวะพัก เพื่อให้ผู้โดยสารลงไปเดินท่องเที่ยวตามพื้นที่ต่างๆ และเปลี่ยนอิริยาบถ จากการนั่งเรือ
ซึ่งท่าเรือเหล่านี้ จะมีกิจกรรมเช่น
- การจัดทัวร์ระยะสั้นรับนักท่องเที่ยว
- รับนักท่องเที่ยว ของ ร้านอาหาร และบาร์ท้องถิ่น
โดยแบ่งท่าเรือเป็น 2 กลุ่มคือ 
- มีท่าเทียบเรือ (ลงจากเรือขึ้นบกได้โดยตรง)
- ท่าทอดสมอระยะไกล (ต้องนั่งเรือเล็กเข้าฝั่งอีกที) ซึ่งในกรณีนี้ ผู้โดยสารจมบางส่วนจะไม่ลงไปเพราะเสียเวลา และกลับขึ้นเรือยาก
ตัวอย่างเช่น สมุย, พัทยา, ภูเก็ต และฟูก๊วก (เวียดนาม)

ซึ่งท่าเรือพัทยา จะถูกออกแบบให้เป็นผสม (Hybrid) เป็นทั้ง Home Port และ Port of Call เพื่อให้พัทยาได้ประโยชน์สูงสุด 

โดยจากที่ปรึกษา ได้สรุปพื้นที่เป็นบริเวณแหลมบาลีฮาย เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี มีความเหมาะสมเนื่องจากเป็นพื้นที่ใกล้เคียงมีแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพ และหลากหลาย ดึงดูดให้มีผู้โดยสารมาใช้ท่าเรือสำราญ 

ซึ่งมีการออกแบบรองรับ ท่าเรือทั้ง 2 แบบ แบ่งเป็น
- ท่าเรือต้นทาง (Home Port) รองรับเรือขนส่งผู้โดยสารไม่เกิน 1,500 คน 
- ท่าเรือแวะพัก (Port of call) สำหรับรองรับเรือขนส่งผู้โดยสาร 3,500-4,000 คน

จากการศึกษาคาดการณ์จำนวนเที่ยวเรือ
ในปี 2570 ประมาณ 60 เที่ยวต่อปี และเพิ่มเป็น 100 เที่ยวในอีก 10 ปี (ปี 2580) 
โดยคาดการณ์สัดส่วนรายได้จากการดำเนินงานท่าเทียบเรือ 73% (3,730 ล้านบาท ) ได้แก่ ค่าธรรมเนียมจอดเรือ ค่าธรรมเนียมผ่านท่า
รายได้จากการดำเนินงานเชิงพาณิชย์ 27% (1,390 ล้านบาท) ได้แก่ ค่าเช่าพื้นที่ ค่าที่จอดรถ ค่าเช่าที่จอดเรือเฟอร์รี และสปีดโบ๊ต

รูปแบบการก่อสร้าง
เป็นท่าเรือใหม่ห่างจากชายฝั่งลงไปในทะเลประมาณ 1 กม. เพื่อลดการเวนคืน และยังสามารถรองรับเรือขนาดใหญ่ ที่ความลึกร่องน้ำประมาณ 12-14 เมตร 
รองรับเรือสำราญขนาดระวางบรรทุก 236,000 ตันกรอส ได้พร้อมกัน 2 ลำ ความยาวท่าเทียบเรือรวม 420 เมตร 

ส่วนอาคารผู้โดยสาร รองรับได้ 3,500-4,000 คน/เที่ยว 
สิ่งอำนวยความสะดวก
- โถงพักคอย 
- จุดตรวจความปลอดภัย 
- จุดเช็กอินรับบัตรโดยสาร 60 ช่อง 
- จุดตรวจคนเข้าเมือง 26 ช่อง 
- จุดฝากสัมภาระ 
- อาคารและลานจอด รองรับรถยนต์ได้ 132 คัน และรถบัส 82 คัน

มูลค่าการลงทุน
เบื้องต้นประมาณการค่าลงทุนรวม 7,412 ล้านบาท แบ่งเป็น 
1. ค่าลงทุน 5,934 ล้านบาท 
- ค่าก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานนอกชายฝั่ง 4,315 ล้านบาท 
- ท่าเทียบเรือ อาคารผู้โดยสาร 2,881 ล้านบาท 
- สะพานเชื่อมท่าเรือ 675 ล้านบาท 
- ลานจอดรถ 567 ล้านบาท 
- ท่าเรือโดยสาร และเรือเร็ว 192 ล้านบาท
- ค่าอุปกรณ์ 400 ล้านบาท 
- ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 608 ล้านบาท 
- ถนนยกระดับ 1611 ล้านบาท 

2.ค่าดำเนินงานและบำรุงรักษา (O&M) 1,478 ล้านบาท

รูปแบบการลงทุน
เป็นการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (PPP) 
- ภาครัฐ ลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ท่าเทียบเรือ และทางเข้า มูลค่า 5,534.56 ล้านบาท (66%)
- เอกชนอาจ ลงทุนในส่วนของอาคารผู้โดยสาร และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ มูลค่า 1,877.66 ล้านบาท (34%) เครื่องมือและอุปกรณ์และบริหาร 30 ปี
ซึ่งจากการศึกษา มีอัตราผลตอบแทน 20% ระยะเวลาคืนทุนเท่ากับ 10 ปี

ซึ่งจากแผนก็น่าจะช่วยสร้างรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่ได้อีกมหาศาล


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top