Monday, 29 April 2024
เศรษฐกิจพอเพียง

'ทูตภูฏาน' ชื่นชมปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ชี้!! มีส่วนสำคัญพัฒนาภูฏานได้อย่างยั่งยืน

17 พ.ย. 64 ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยถึงการเข้าเยี่ยมคารวะนายกฯ ประยุทธ์ ของทูตภูฏาน ว่า…

นายคินซัง ดอร์จิ (H.E. Mr. Kinzang Dorji) เอกอัครราชทูตราชอาณาจักรภูฏานประจำประเทศไทย เข้าเยี่ยมคารวะ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม

นราธิวาส - ศอ.บต.นำร่องโครงการ 1 ข้าราชการ 1 ครัวเรือนยากจน จังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลครัวเรือนที่มีฐานะยากจนเพื่อช่วยเหลือ

นายธารธรรม คำแป้น นิติกร ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ พร้อมด้วย นายอับดุลเลาะ สือรี กำนัน ต.รือเสาะ นายอัสรี หะยีสือนิ ผู้ใหญ่บ้าน ม.10  ต.รือเสาะ และบัณฑิตอาสา ต.รือเสาะ อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส ได้เดินทางไปยังบ้านของนางเจ๊ะมะ สะอิ อยู่บ้านเลขที่ 292/3 ม.10 บ้านบาซาบาตอ ต.รือเสาะ อ.รือสา จ.นราธิวาส เพื่อสำรวจข้อมูลครัวเรือนที่มีฐานะยากจน ตามโครงการ นำร่องโครงการ 1 ข้าราชการ 1 ครัวเรือนยากจนจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเป็นโครงการนำร่องของ ศอ.บต.ที่บูรณาการขจัดความยากจนพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืน ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

พลเรือตรี สมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ประชุมคณะกรรมการศูนย์บูรณาการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงจังหวัดชายแดนภาคใต้วางแผนการดำเนินงานนำร่องให้ข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้าง ศอ.บต. เป็นข้าราชการนำร่องประกบครัวเรือนยากจนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้  ซึ่งมีจำนวนนำร่อง 379 ครัวเรือน ใน 43 อำเภอ จากจำนวนสำรวจทั้งสิ้น 37,395 ครัวเรือน โดยพิจารณาจากเกณฑ์ความยากจนทับซ้อน 5 มิติ คือ มิติความจนด้านสุขภาพ รายได้ การศึกษา ความเป็นอยู่ และความจนด้านมิติการเข้าถึงบริการภาครัฐ หวังขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน

พลเรือตรี สมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เปิดเผยว่าการแก้ไขปัญหาความยากจน เป็นนโยบายหลักของรัฐบาล ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จชต. โดย ศอ.บต. ในฐานะหน่วยนำการพัฒนา จะเป็นหน่วยขับเคลื่อน เสริม และเพิ่มเติม เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน โดยจะมี การนำร่องโครงการ ให้ข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้าง ศอ.บต. ลงพื้นที่ประกบครัวเรือนเป้าหมาย ซึ่งขณะนี้ได้มอบหมายงานเรียบร้อยแล้ว และเตรียมลงพื้นที่ตามแผนที่วางไว้ อย่างไรก็ตาม การลงพื้นที่ประกบ ช่วยเหลือประชาชนในโครงการ 1 ข้าราชการ 1 ครัวเรือนยากจนในครั้งนี้ เป็นการนำร่องเพื่อค้นหารูปแบบที่ดีที่สุด ในการช่วยเหลือประชาชนให้พ้นเกณฑ์ ความยากจนอย่างมีประสิทธิภาพ ตั้งเป้าให้เห็นเป็นรูปธรรมในไตรมาสที่จะถึงนี้

 

ตราด - ทัพเรือภาคที่ 1 จัดกิจกรรมพัฒนาอาชีพ ประยุต์สู่ “โคกหนองนา โมเดล” เพื่อเสริมสร้างรายได้ ภายใต้เศรษฐกิจพอเพียง

ในวันที่ 21 ธ.ค.64 พลเรือตรี สุระศักดิ์ สิงขรวัฒน์ เสนาธิการทัพเรือภาคที่ 1 /หัวหน้าสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการพัฒนาเพื่อความมั่นคงในระดับพื้นที่ในเขตทัพเรือภาคที่ 1 เป็นประธานในการจัดกิจกรรมพัฒนาอาชีพเพื่อเสริมสร้างรายได้ภายใต้เศรษฐกิจพอเพียง ณ ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง เรือนจำชั่วคราวเขาระกำ อ.เมืองตราด จว.ตราด โดยมี นายกิตติพงษ์ ละชั่ว ผู้บังคับการเรือนจำชั่วคราวเขาระกำ และคณะให้การต้อนรับ

การจัดกิจกรรมพัฒนาอาชีพเพื่อเสริมสร้างรายได้ภายใต้เศรษฐกิจพอเพียง ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ซึ่งมีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาคนให้พออยู่พอกินและพึ่งพาตนเองได้ ยึดหลักการดำเนินงานบนทางสายกลางเป็นขั้นเป็นตอน บนพื้นฐานของความสมดุลพอดีในทุกภาคส่วน มีความสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมตามวิถีแห่งธรรมชาติด้วยวิธีที่เรียบง่าย สามารถนำความรู้ที่ได้รับ ไปใช้ในการดำเนินชีวิตและพัฒนาคุณภาพชีวิตต่อไป

การจัดกิจกรรมในครั้งนี้เป็นการอบรมให้ความรู้โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” และแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง “เกษตรกรปลอดภัย ก้าวไกลสู่เกษตรอินทรีย์” อีกทั้งยังได้มีกิจกรรมที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วม โดยการให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ทำการทดลองทำปุ๋ยหมักและอาหารปลา ที่ทำจากวัสดุอุปกรณ์ที่มาจากธรรมชาติ ซึ่งสามารถนำความรู้ที่ได้รับ ไปใช้ในชีวิตประจำวันและสามารถนำไปใช้ในการลดต้นทุนในการประกอบอาชีพ เพื่อให้มีเงินเหลือเก็บ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

สุโขทัย - ทำ 1 ต้องได้มากกว่า 1!! ยกทัพเร่งขับเคลื่อนการขจัดความยากจน และพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

นายวิรุฬ พรรณเทวี ผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย มอบหมายให้นายสมพงค์ ชมชัย นายอำเภอศรีสัชนาลัย ลงพื้นที่ร่วมกับสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอศรีสัชนาลัยและภาคีเครือข่ายร่วมขับเคลื่อนการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีภาคีเครือข่ายที่สำคัญในการสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการคือ เครือข่ายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองอำเภอศรีชนาลัย โดยมีนายสมนึก  สุกอร่าม ประธานเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองอำเภอศรีสัชนาลัย และคณะกรรมการเครือข่ายฯ ร่วมสนับสนุนงบประมาณในการจัดซื้อถุงยังชีพ จำนวน 132 ถุง เป็นเงิน จำนวน 66,000 บาท โดยมอบให้สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอศรีสัชนาลัยเป็นผู้จัดหาถุงยังชีพเพื่อช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ ครัวเรือนตกเกณฑ์อำเภอศรีสัชนาลัย จำนวน 132 ครัวเรือน

โดยมีแนวทางการขับเคลื่อนผ่าน 4 แนวทาง 1 เงื่อนไขการพัฒนา ดังนี้

1. การเติมเต็มข้อมูลให้ครอบคลุมประเด็นการพัฒนาทุกมิติและทุกพื้นที่ในประเทศ

2. ร่วมแก้ไขปัญหาในระดับบุคคล/ครัวเรือน ด้วยการลงพื้นที่แก้ไขปัญหาความยากจนในกลุ่มเป้าหมายที่ต้องเร่งให้ความช่วยเหลือ ทั้งกลุ่มเป้าหมายในระบบ TPMAP ที่มีปัญหาความยากจนใน 5 มิติ ได้แก่ มิติสุขภาพ มิติความเป็นอยู่ มิติการศึกษา มิติรายได้ และมิติการเข้าถึงบริการภาครัฐ  กลุ่มคนที่ ตกหล่นจากระบบ (exclusion error) และกลุ่มคนเปราะบาง เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถอยู่รอดและดำรงชีพอยู่ได้

3. ร่วมแก้ไขปัญหาและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืน โดยให้ ศจพ.อ ทุกระดับร่วมกับทีมปฏิบัติการฯ และภาคีการพัฒนาที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำไปสู่การกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ แนวทาง มาตรการ และให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติที่สอดคล้องกับสถานการณ์และข้อเท็จจริงของกลุ่มเป้าหมายและบริบทของแต่ละพื้นที่ต่อไป

จากใจ 'กอยยิมสามกีบชังชาติ' เคยโจมตี 'พ่อหลวง ร.9' หันมาศึกษา 'ศาสตร์พระราชา' จนปรับใช้กับชีวิตได้จริง

'ดร.สุวินัย' เปิดคำสารภาพของอดีต 'กอยยิมสามกีบชังชาติ' เคยเชื่อบทความต่างประเทศที่โจมตีพ่อหลวง ร.9 เรียนเรื่องระบบการเงินโลก เพื่อจะได้รวย ๆ เริ่มเข้าใจความน่ากลัว จึงมาศึกษาศาสตร์พระราชา ได้เข้าใจสิ่งที่พ่อหลวงสร้างทางรอดไว้ให้คนไทย สามารถปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง ๆ

ดร.สุวินัย ภรณวลัย อดีตอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊ก เรื่อง 'คำสารภาพของอดีตกอยยิมชังชาติคนหนึ่ง' เนื้อหา ว่า...

ในฐานะที่เราเคยเป็นกอยยิมชังชาติ เชื่อบทความต่างประเทศที่โจมตีพ่อหลวง ร.9 มาก่อน

หลุดพ้นมาได้ เพราะกุศโลบายอยากรวย เราเลยไปเรียนเรื่องระบบการเงินโลก ...

อยากรวย อยากเทรดเก่ง อยากลงทุนเก่ง เลยตั้งใจเรียน ...

กลายเป็นว่าของเข้า !

เราเริ่มเข้าใจระบบเศรษฐกิจขับเคลื่อนด้วยหนี้ (Debt Based Economy)

เราเริ่มเข้าใจความน่ากลัวและความทรงพลังของมัน

เราเริ่มเข้าใจว่ามีกลุ่มคนที่ควบคุมระบบนี้อยู่ และใช้มันเพื่อสร้าง 'ทาสระบบหนี้' (Debt Slave)

พอเข้าใจแล้วเราจึงมาศึกษาศาสตร์พระราชาอย่างตั้งใจจริง (เพื่อให้ครอบครัวเรารอด)

โดยเอาความรู้ฟากระบบทุนนิยมที่เราศึกษามาเป็นที่ตั้ง
 

‘รุสลัน เจ๊ะมะ’ จากมหาบัณฑิต สู่ ‘เกษตรกร’ สายผสมผสาน แสวงสุขที่แท้จริง ตามรอยหลัก ‘เศรษฐกิจพอเพียง’ 

อย่างที่เราทราบกันดี ‘เศรษฐกิจพอเพียง’ เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทย 

ซึ่งแนวคิดนี้ตั้งอยู่บนรากฐานของวัฒนธรรมไทย เป็นทางสายกลางที่เหมาะสมกับการยึดถือในการดำเนินชีวิต โดยมีหลักความไม่ประมาท คำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันในตัวเอง ตลอดจนใช้ความรู้และคุณธรรม เป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต ที่สำคัญจะต้องมี ‘สติ ปัญญา และความเพียร’ ซึ่งจะนำไปสู่ ‘ความสุข’ ในการดำเนินชีวิตอย่างแท้จริง

แน่นอนว่า พระองค์ไม่ได้พระราชทานปรัชญานี้สำหรับคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ฉะนั้น ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มคนชนชั้นใด ก็สามารถประยุกต์เอาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในชีวิตได้

เช่นเดียวกันกับ ‘รุสลัน เจ๊ะมะ’ อดีตเยาวชนสานใจไทยสู่ใจใต้ รุ่นที่ 1 ชาว อ.บันนังสตา จ.ยะลา ผู้มีความเชื่อมั่นต่อปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 แม้ว่าเขาจะจบการศึกษา มหาบัณฑิตด้านนิติศาสตร์อิสลาม จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติมาเลเซีย แต่เขาก็กลับมาที่ประเทศไทย ซึ่งเป็น ‘บ้านเกิด’ เพื่อทำเกษตรผสมผสานตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

“เคยมีคนถามเยอะเลยครับว่าเรียนจบสูง ทำไมไม่ทำในด้านที่จบมา ผมก็เลยบอกว่า บางคนถนัดไปเรียนด้านนี้ แต่กลับมาทำด้านอื่นได้ เพราะว่า ความรู้ที่ได้มา ก็เอามาทำในส่วนนี้ก็ได้เหมือนกัน”

หาก ‘รุสลัน’ เลือกที่จะทำงานตามสายที่จบมา เขาอาจจะได้มีโต๊ะนั่งทำงานที่สบายกว่านี้ แต่เขากลับเลือกที่จะเดินตามพระประสงค์ของพระเจ้าที่เขาศรัทธาและเดินเข้าสวนเกษตรที่เป็นมรดกตกทอดจากพ่อของเขา 

“ผมจบนิติศาสตร์อิสลามที่ประเทศมาเลเซียครับ เมื่อประมาณ 4-5 ปีที่แล้ว ส่วนตอนนี้ก็ทำสวน เป็นเกษตรกร ใช้เศรษฐกิจพอเพียง มีปลูกข้าวโพด ข่า ขมิ้น สัปปะรด และอีกหลายๆ อย่าง เป็นเกษตรผสมผสาน ทำมาประมาณ 2 ปีแล้วครับ”

'บิ๊กป้อม' เคาะแผนแก้จนปี 66 ช่วยกลุ่มเปราะบางเร่งด่วน ภายใต้แนวทาง 'หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง'

‘พล.อ.ประวิตร’ มุ่งมั่น น้อมนำ ‘หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง’ แก้ความยากจน อนุมัติแผน ปี 66 ผ่านระบบ TPMAP เน้นช่วยกลุ่มเป้าหมายเร่งด่วน - เปราะบาง ให้ได้สิทธิบัตรสวัสดิการฯ ครบถ้วน ทั่วถึง

(3 ก.พ. 66) 10.00น. พล.ท.พัชร์ชศักดิ์ ปฏิรูปานนท์ ผช.โฆษก รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานการประชุม คณะกรรมการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัย อย่างยั่งยืน ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ครั้งที่ 1/2566 ณ ห้องประชุม มูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

ที่ประชุมได้รับทราบ ผลการดำเนินงานในภาพรวม ทั้ง 76 จังหวัด จากเป้าหมายครัวเรือนยากจนในระบบ TPMAP (Thai People Map and Analytics Platform) ปี 65 พบว่า ศูนย์อำนวยการฯ จังหวัด และ ศูนย์อำนวยการฯ อำเภอ พร้อมทีมปฏิบัติการฯ ที่เกี่ยวข้องได้ร่วมบูรณาการ ให้ความช่วยเหลือ/แก้ไขปัญหาครัวเรือนเป้าหมายจำนวน 653,524 ครัวเรือน คิดเป็น 100% และพบปัญหาในแต่ละมิติ ดังนี้ 

1.) มิติสุขภาพ ส่วนใหญ่ประสบปัญหา คนอายุ 6ปีขึ้นไป ไม่ออกกำลังกายเนื่องจากไม่เห็นความสำคัญของการมีสุขภาพดี 

2.) มิติความเป็นอยู่ ส่วนใหญ่ประสบปัญหา ครัวเรือนไม่มีความมั่นคงในที่อยู่อาศัยและบ้านมีสภาพไม่คงทนถาวร 

3.) มิติการศึกษา ส่วนใหญ่ประสบปัญหาคนอายุ 15-59 ปี อ่าน เขียนภาษาไทยและคิดเลขอย่างง่ายไม่ได้ รวมทั้งเด็กอายุ 6-14 ปี ไม่ได้รับการศึกษาภาคบังคับหรือออกจากการเรียนกลางคัน เนื่องจากสถานะทางเศรษฐกิจ

'นิพนธ์' ชู!! ศก.พอเพียง แก้ปัญหา ศก.ชายแดนใต้ แนะ!! สร้างความมั่นคงทางอาหาร รับตลาด 'ซาอุฯ-มาเลย์'

(18 ก.พ.66) นายนิพนธ์ บุญญามณี ประธานคณะทำงานและคณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานการประชุมคณะทำงานกำหนดแนวทางการส่งเสริมความร่วมมือ ทางด้านเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน และการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ กระทรวงพาณิชย์ โดยมีคณะทำงานอาทิ นายอรัญ วงศ์อนันต์ รองประธานคณะทำงาน, นายชนธัญ แสงพุ่ม รองเลขาธิการ ศอ.บต., ผศ.ดร.สุกรี หลังปูเต๊ะ รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ มฟน., ดร.ศิดดิก ลาลีวัน รองผู้จัดการใหญ่สหกรณ์อิบนุเอาฟ์, นายอธิพงศ์ ยาชะรัคน์ เลขานุการเครือข่ายสหกรณ์อิสลามแห่งประเทศไทย, นายอาฟันดี หะชั้น อ.ประจำสาขาวิขายริหารธุรกิจ มฟน., นายอัดนัน อัลฟารีฏีร์ อ.ประจำสาขาเศรษฐศาสตร์การเงินฯ มฟน. ณ ห้องประชุมสะบารัง โรงแรม ซี.เอส. ปัตตานี จังหวัดปัตตานี  

โดยกระทรวงพาณิชย์ได้ร่วมกับศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต) กำหนดแนวทางการส่งเสริมความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ การค้า การลงทุนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมถึงติดตามและขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ และสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจของพื้นที่ ให้เกิดการยกระดับการค้าและการตลาดให้กับกลุ่มเกษตรกร และผู้ประกอบการในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้เติบโตอย่างยั่งยืนเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรม และรวดเร็วทันเหตุการณ์

นายนิพนธ์ กล่าวว่า "เราต้องมาดูกระบวนการผลิตว่าจะมาปรับทำอย่างไร และเมื่อประตูการค้าเปิดการค้าขายแล้วเราจะทำอย่างไร ซึ่งประเทศซาอุดีอาระเบียถือเป็นตลาดใหญ่ของตะวันออกกลาง วันนี้ก็เป็นกระบวนการหนึ่งในการที่จะส่งเสริมการผลิตแบบครบวงจร ตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง ปลายทาง เราคิดกันไว้ว่าอย่างไร 

"แต่ก่อนที่จะไปถึงการค้าระหว่างประเทศเราต้องถือว่าทำอย่างไรการผลิตในพื้นที่จะต้องเพียงพอกับการบริโภคภายใน ตามหลักทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงคือ ผลิตเพื่อบริโภค และเหลือไปจำหน่าย นี่คือหลักคิดที่รัชกาลที่ 9 ท่านได้ทรงวางไว้ให้กับปวงชนชาวไทย เพื่อเดินตามยุทธศาสตร์และจะเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับพื้นที่ ซึ่งนอกจากซาอุฯ แล้ว วันนี้ยังคิดว่าที่จะจับคู่การค้ากับมาเลเซีย เพราะตลาดต้มยำกุ้งเป็นตลาดที่ใหญ่อีกตลาดหนึ่ง ถ้าสิ่งใดที่ปรับฐานการผลิตของเรา ตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง ปลายทางได้ เราก็ยังเชื่อได้ว่าการส่งออกยังมีช่องทางอีกมากในการที่จะจับคู่การค้ากับมาเลเซีย โดยเฉพาะสินค้าเกษตรจากบ้านเรายังเป็นที่ต้องการของประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซีย 

"ผมเคยเดินทางไปดูที่มาเลเซียมาแล้วพบว่ายังมีช่องทางการค้า การลงทุนไม่ว่าจะเป็นสินค้าประมงที่เราเลี้ยง สัตว์น้ำทั้งกุ้ง ปลายังนำไปเป็นวัตถุดิบต้มยำกุ้ง ก็ต้องไปจากประเทศไทยทั้งนั้น นอกจากนั้นยังมีพืชผักต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นตะไคร้ มะกรูด คะน้ารวมถึงหอม กระเทียม พริก เป็นต้น ผมจึงคิดว่ายังมีช่องทางอีกมาก ดังนั้นทำอย่างไรที่จะส่งเสริมส่งเหล่านี้ให้เกิดขึ้นในจังหวัดชายแดนภาคใต้ นี่คือที่มาที่บอกว่า ทำให้เป็นพื้นที่ที่มีความมั่นคงทางด้านอาหาร โดยสภาพแวดล้อมโดยภูมิศาสตร์แล้ว ทางนี้เหมาะอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นการเพาะเลี้ยง การประมง การปศุสัตว์ ซึ่งกระทรวงเกษตรได้ส่งเสริมอยู่ในขณะนี้ ทั้งในเรื่องของโครงการโคบาลชายแดนใต้ หรือโครงการโคเนื้อ หรือโคเนื้อลังกาสุกะก็ดี นี่คือสิ่งที่จะทำรายได้ให้กับเกษตรกร เพื่อแก้ปัญหาในพื้นที่ ในเชิงโครงสร้างได้อย่างแท้จริงนั่นคือความยากจน"

‘อลงกรณ์’ เผย ‘กานา’ ชื่นชม ‘โครงการพระราชดำริ’ พร้อมยกย่องเป็น ‘ต้นแบบ’ การพัฒนาอย่างยั่งยืน

เมื่อวานนี้ (22 ก.พ.66) ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มอบหมายให้นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หารือร่วมกับ ดร.สิชา สิงห์สมบุญ กงสุลกิตติมศักดิ์ สาธารณรัฐกานาประจำประเทศไทย และคณะ โดยมี นายณฐกร สุวรรณธาดา คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีเกษตรฯ นายเศรษฐเกียรติ กระจ่างวงษ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายจิตติศักดิ์ ศรีปัญญา ผู้อำนวยการกองนโยบายเทคโนโลยีและเกษตรกรรมยั่งยืน สำนักการเกษตรต่างประเทศ ผู้แทนกรมการข้าว กรมชลประทาน กรมประมง สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ และผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เข้าร่วม ณ ห้องประชุมกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (112) สำหรับการประชุมหารือกันในวันนี้มีประเด็นหารือที่สำคัญ อาทิ เศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ โครงการข้าวรักษ์โลก BCG Model ที่เป็นแนวทางการการปฏิวัติการทำนาสู่ความยั่งยืน การพัฒนาสายพันธุ์ข้าวให้มีคุณภาพ รวมถึงความร่วมมือในด้านอื่น ๆ

นายอลงกรณ์เปิดเผยภายหลังการหารือว่าประเทศกานามีนโยบายส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกข้าวและเพิ่มผลผลิตภายในประเทศมากขึ้น และมีความสนใจในแนวทางพระราชดำริปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และการทำการเกษตรแบบ BCG Model โดยเฉพาะข้าวรักษ์โลกที่ช่วยในเรื่องของสิ่งแวดล้อม ลดการใช้สารเคมี และยังเป็นแนวทางใหม่ของการทำการเกษตรโลก เนื่องจากกานามีข้อจำกัดด้านเทคโนโลยีการเกษตร และแรงงานไม่มีความเชี่ยวชาญในด้านเกษตร เกษตรกรรมส่วนใหญ่เป็นแบบดั้งเดิม ยังไม่ได้นำเทคโนโลยีเข้ามาใช้มากนัก ทำให้คุณภาพและปริมาณผลผลิตต่ำ

ผบ.ฉก.นราธิวาส เปิดกิจกรรม พหุวัฒนธรรม ”ลงแขกเกี่ยวข้าว” สืบสานประเพณีลาซัง รักษ์วิถีถิ่น ร่วมกินข้าวใหม่ บนพื้นฐาน ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เสริมสร้างสัมพันธภาพพี่น้องชายแดนใต้

ที่ แปลงนาข้าว ตำบลมะรือโบตก อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส พลตรี เฉลิมพร ขำเขียว ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 15 / ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจนราธิวาส /ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เดินทางมาเป็นประธาน เปิดกิจกรรม พหุวัฒนธรรม ”ลงแขกเกี่ยวข้าว” สืบสานประเพณีลาซังรักษ์วิถีถิ่น ร่วมกินข้าวใหม่ บนพื้นฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เสริมสร้างสัมพันธภาพพี่น้องชายแดนใต้ โดยมี พันเอก ทวีรัตน์ เบญจาทิกุล ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 45 ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรอำเภอระแงะ นายอำเภอระแงะ ประธานองค์กรภาคประชาชนเพื่อสันติและเศรษฐกิจพอเพียงจังหวัดนราธิวาส กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำศาสนา หัวหน้าส่วนราชการ ตลอดจน พี่น้องเกษตรกรในพื้นที่ และพี่น้องประชาชนไทยพุทธ ไทยมุสลิม เข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก 

ทั้งนี้ พลตรี เฉลิมพร ขำเขียว  กล่าวว่า พื้นที่อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส เป็นแหล่งปลูกข้าวของจังหวัด ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ มีการปลูกสืบทอดกันจนเป็นวิถีชีวิต แต่ด้วยสภาพความเปลี่ยนไป ของบริบททั้งด้านสังคมและพื้นที่ ทำให้พื้นที่ในการทำนาลดลง แต่ข้าวเป็นพืช ที่ มีความสำคัญ ในการสร้างความมั่นคงในครัวเรือนและชุมชน กระผมต้องขอชื่นชมท่านทั้งหลาย ที่รวมกลุ่มกันปลูกข้าว ร่วมกันพัฒนาการผลิต และการตลาดสิ่งที่ได้จากกิจกรรมการลงแขกเกี่ยวข้าวในวันนี้

นอกจากจะเป็นการลดต้นทุนแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมความรัก ความสามัคคี ให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ความร่วมมือของคนในชุมชน ที่จะอยู่ร่วมกันในสังคม ซึ่งมีความหลากหลายสอดคล้องกับนโยบาย ของ พลโท ศานติ ศกุนตนาค แม่ทัพภาคที่ 4 / ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ที่ต้องการให้พี่น้อง
ประชาชนมีส่วนร่วม ในกระบวนการเสริมสร้างสันติสุขอย่างยั่งยืน และพัฒนาเศรษฐกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น ก่อเกิดความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน บนพื้นฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จนสามารถนำมาสู่การอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข บนสังคมพหุวัฒนธรรมอย่างแท้จริง


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top