Tuesday, 7 May 2024
เรือดำน้ำ

“บิ๊กเฒ่า” แต่งตั้งทีมโฆษกกองทัพเรือชุดใหม่ มอบหมายแถลงเจตนารมณ์และนโยบายประจำปี 2565 ยัน “เรือดำน้ำ” ยังมีตามยุทธศาสตร์ชาติ ยินดีปฏิบัติตามรบ.สั่งการ คำนึงถึงปชช.เป็นหลัก หลังโควิด-19 พ่นพิษ

ที่หอประชุมกองทัพเรือ พล.ร.อ.สมประสงค์ นิลสมัย ผู้บัญชาการทหารเรือ (ผบ.ทร.) ได้มีคำสั่งแต่งตั้งทีมโฆษกกองทัพเรือชุดใหม่ โดยมอบหมายให้พล.ร.ท.ปกครอง มนธาตุผลิน เจ้ากรมกิจการพลเรือนทหารเรือ เป็นโฆษกกองทัพเรือ พล.ร.ต.อนุวัต ดาผิวดี เลขานุการกองทัพเรือ เป็นรองโฆษกกองทัพเรือ  พล.ร.ต.อภิชาติ วรภมร ฝ่ายเสนาธิการประจำกองบัญชาการกองทัพเรือ เป็นรองโฆษกกองทัพเรือ น.อ.ปารัช รัตนไชยพันธ์ ผู้อำนวยการกองประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกองทัพเรือ เป็นผู้ช่วยโฆษกกองทัพเรือ และแพทย์จีน ปรียาดา บัวสมบุญ เป็น ผู้ช่วยโฆษกกองทัพเรือ   

ทั้งนี้พล.ร.ท.ปกครอง กล่าวว่า นโยบายผู้บัญชาการทหารเรือในปีนี้ เป็นการสานงานต่อเนื่องจากนโยบายผู้บัญชาการทหารเรือที่ผ่านมา เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์กองทัพเรือ ตลอดจนรวมพลังขับเคลื่อนกองทัพเรือตามยุทธศาสตร์กองทัพเรือระยะ 20 ปี ไปสู่การเป็นหน่วยงานความมั่นคงทางทะเล ที่มีบทบาทนำในภูมิภาคและเป็นเลิศในการบริหารจัดการ และการส่งมอบคุณค่าให้แก่ประชาชนและสังคม และเป็นกองทัพเรือที่ประชาชนเชื่อมั่นและภาคภูมิใจด้วยการปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มกำลังความสามารถ  มีความจงรักภักดี ด้วยสติรู้ตัว ด้วยปัญญารู้คิด สุจริตจริงใจ โดยเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมยิ่งกว่าส่วนอื่น นำพากองทัพเรือให้เจริญก้าวหน้า โดยเน้น ความสามัคคีปรองดองเป็นพี่เป็นน้อง ร่วมมือร่วมใจกันปฏิบัติหน้าที่ พร้อมย้ำผู้บังคับหน่วยต้องดูแลหน่วยและดูแลสวัสดิการกำลังพลชั้นผู้น้อย โดยมีเป้าหมายที่สำคัญคือ "รวมใจภักดิ์ รักษ์ชาติ ราษฎร์ศรัทธา" 

พล.ร.ท.ปกครอง กล่าวต่อว่า ส่วนนโยบายเร่งด่วนและสำคัญที่สุดที่ผบ.ทร.ได้กำชับให้กับหัวหน้าหน่วยขึ้นตรงกองทัพเรือได้แก่ 1.การพิทักษ์รักษา ปกป้องและเทิดทูน สถาบันพระมหากษัตริย์อย่างเต็มขีดความสามารถ ตลอดจนการสนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทานในการดำเนินโครงการจิตอาสา “เราทำความดี ด้วยหัวใจ” 2.การสนับสนุนรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาที่สำคัญของชาติ การพัฒนาประเทศ การบรรเทาภัยพิบัติและการช่วยเหลือประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุทกภัยที่กำลังจะเกิดในขณะนี้ และการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19  3.การดูแลขวัญกำลังใจของกำลังพลกองทัพเรือ โดยเฉพาะกำลังพลชั้นผู้น้อย ไม่ว่าจะเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 การปรับปรุงที่พักอาศัย การสวัสดิการ เพื่อยกระดับความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น

พล.ร.ท.ปกครอง กล่าวอีกว่า นอกจากนั้นผบ.ทร.ได้มอบเจตนารมณ์ของผบ.ทร. จำนวน 10 ข้อ ได้แก่ 1.พิทักษ์รักษา ปกป้อง และเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยให้ความสำคัญเร่งด่วนในการป้องกันและสนับสนุนการปราบปรามการกระทำที่ล่วงละเมิดต่อสาบันพระมหากษัตริย์ทุกรูปแบบ พร้อมน้อมนำพระปฐมบรมราชโองการและพระบรมราโชบาย มาเป็นหลักสำคัญในการปฎิบัติงาน ตลอดจนการสนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน ในโครงการจิตอาสา “เราทำความดี ด้วยหัวใจ” เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน

2.ดำรงความพร้อมของกองทัพเรือดำเนินการทั้งการเตรียมองค์บุคคล องค์วัตถุ และยุทธวิธีให้พร้อมและเหมาะสมกับสถานการณ์ในการดูแล รักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลปฎิบัติงานอย่างเต็มกำลังความสามารถ ด้วยความจงรักภักดี ด้วยสติรู้ตัว ด้วยปัญญารู้คิด สุจริตจริงใจ โดยเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมยิ่งกว่าส่วนอื่น และสร้างการรับรู้ ความเข้าใจให้กับประชาชนได้รับทราบอย่างถูกต้อง

3.ดำรงความต่อเนื่องในความร่วมมือและความสัมพันธ์กับกองทัพเรือมิตรประเทศ นานาชาติ  รวมถึงองค์การระหว่างประเทศ ทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี อย่างสมดุล ภายใต้แนวคิด 
“ร่วมมือ ร่วมใจ ก้าวไกล ยั่งยืน” สร้างความสงบสันติ พัฒนาไปได้ โดยไม่หวาดระแวงกัน

4.สนับสนุนรัฐบาลในการพัฒนาประเทศและแก้ไขปัญหาสำคัญของชาติ อย่างเต็มกำลังความสามารถ โดยมุ่งเน้นการช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนอย่างรวดเร็ว ปลอดภัย ตั้งแต่ในภาวะปกติ จนถึงภาวะวิกฤติ รวมถึงการบูรณากับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน สมาคม องค์กรต่าง ๆและภาคประชาชน

5.ป้องกัน รักษา และฟื้นฟู กำลังพลกองทัพเรือและครอบครัว ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

6.ปลูกฝังกำลังพลกองทัพเรือ ให้มีสุขภาพแข็งแรง มีระเบียบวินัย และมีขวัญกำลังใจที่ดี ต้องส่งเสริมคนดีให้มีความเจริญก้าวหน้า ปลูกฝังอุดมการณ์ความซื่อสัตย์และความจงรักภักดีต่อ ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ และมีความภูมิใจในการเป็นทหารเรือ สำหรับผู้กระทำความผิด ต้องได้รับการลงโทษโดยไม่มีการละเว้น

7.ดำรงความต่อเนื่องเรื่องสวัสดิการบ้านพักข้าราชการกองทัพเรือ ให้มีความเพียงพอกับความต้องการทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

8.การจัดทำความต้องการและงบประมาณ การวางแผนงบประมาณและการจัดสรรงบประมาณต้องมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับสถานการณ์ เงินทุกบาททุกสตางค์ ได้มาจากภาษีของประชาชน ต้องใช้จ่ายอย่างคุ้มค่าเกิดประโยชน์ต่อกองทัพเรือ ประเทศชาติและประชาชนให้ได้มากที่สุด

9.ดำเนินการเชิงรุกในการสร้างการรับรู้ ทำความเข้าใจและประชาสัมพันธ์ให้ กำลังพลกองทัพเรือ หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชนได้รับรู้ เข้าใจ และก้าวไปด้วยกัน

10.ส่งเสริมระบบงานวิจัย พัฒนา และนวัตกรรมทางการทหารของกองทัพเรือ และรัฐวิสาหกิจในกำกับให้เกิดประโยชน์สูงสุด มุ่งไปสู่การพึ่งพาตนเอง และต่อยอดสู่สายการผลิตได้

เผยผลสอบ! เรือดำน้ำสหรัฐฯ ชน 'วัตถุปริศนา' ที่แท้ปะทะ 'ภูเขาใต้ทะเล' ในทะเลจีนใต้

เรือดำน้ำนิวเคลียร์ลำหนึ่งของกองทัพเรือสหรัฐฯ ที่ได้รับความเสียหายรุนแรงในอุบัติเหตุขณะกำลังดำอยู่ในทะเลจีนใต้เมื่อเดือนที่แล้ว เป็นผลจากการชนเข้ากับภูเขาใต้ทะเลที่ไม่อยู่ในแผนภูมิ จากคำชี้แจงของกองทัพเรืออเมริกาในวันจันทร์ (1 พ.ย.)

กองเรือที่ 7 แห่งกองทัพเรือสหรัฐฯ ซึ่งปฏิบัติการในแปซิฟิกตะวันตก เปิดเผยว่าการสืบสวนได้ข้อสรุปว่าเรือดำน้ำยูเอสเอส คอนเนคทิคัต ชนเข้ากับรูปทรงทางธรณีวิทยาหนึ่ง ไม่ใช่เรือ เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม

"การสืบสวนได้ข้อสรุปว่าเรือดำน้ำยูเอสเอส คอนเนคทิคัต เกยภูเขาใต้ทะเลที่ไม่อยู่ในแผนภูมิลูกหนึ่ง ระหว่างปฏิบัติการในน่านน้ำสากลในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก" โฆษกกองเรือที่ 7 แห่งกองทัพเรือสหรัฐฯ ระบุในถ้อยแถลงที่เผยแพร่ทางอีเมล

'อัษฎางค์' คลายปม ความจริงที่หลายคนคิดไม่ถึง ทำไมประเทศไทยต้องซื้อ 'เรือดำน้ำ'

อัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า... 

เรือดำน้ำกับสงครามเศรษฐกิจ

“จะซื้อเรือดำน้ำทำไม ขนาดลาวยังไม่ซื้อเลย เดี๋ยวนี้เขารบด้วยเศรษฐกิจ”

คือหนึ่งในวิสัยทัศน์ของเด็กเมื่อวานซืนที่มีแค่สามกีบ

คนพวกนี้ด้อยปัญญาจนไม่เคยรู้ว่า…
1.) ไม่รู้ว่าลาวไม่มีพื้นที่ติดทะเล
2.) ไม่รู้ว่าชาติอื่น ๆ ที่ติดทะเล ส่วนใหญ่ล้วนมีเรือดำน้ำ
3.) ไม่รู้ว่าแสนยานุภาพทางการทหาร มีผลทั้งทางตรงและทางอ้อมกับสงครามการค้า

มีคนจำนวนมาก ชอบพูดว่า รัฐบาลไทยจะซื้อเรือดำน้ำทำไม สมัยนี้ไม่มีการสู้รบ มีแต่สงครามการค้า สงครามเศรษฐกิจ

ซึ่งมันคือความจริง ว่าสงครามยุคนี้ คือ สงครามทางเศรษฐกิจมากกว่าสงครามทางการทหาร

แต่มีความจริงมากกว่านั้น ที่คนไม่รู้หรือคิดไม่ถึง คือ... 

สงครามเศรษฐกิจนั้น ไม่ได้รบกันด้วยความสามารถทางเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ประเทศต้องมีแสนยานุภาพทางทหารมากพอที่จะเอาสร้างเสริมบารมีให้คู่แข่งทางการค้าเกรงขาม หรือแม้กระทั่งเอาไว้ข่มขู่คู่แข่งทางเศรษฐกิจอีกด้วย

ไม่ต้องคิดถึงสงครามเศรษฐกิจระดับประเทศ หรือรัฐศาสตร์ทางการทหาร

มาลองคิดง่าย ๆ แบบบ้าน ๆ

ถ้าในบ้านเรามีแต่คนแก่ ผู้หญิงและเด็ก แถมเรียนหนังสือมาไม่สูง หน้าที่การงานก็จิ๊บจ๊อย ค้าขายเล็ก ๆ น้อย ๆ เงินทองก็ไม่ค่อยมี เวลามีปัญหากับคนข้างบน คนในซอย กับลูกค้า คุณคิดว่า คุณจะเอาอะไรไปสู้กับเขา

ในขณะที่อีกฝ่าย ในบ้านเขามีแต่คนหนุ่มสาว การศึกษาสูง หน้าที่การงานดี มีธุรกิจใหญ่โต มีเงินทองเหลือเฟือ 

คุณว่าคุณจะเอาอะไรไปสู้กับเขา!! 

คนหรือคู่ค้า หรือคู่กรณีจะเข้าข้างใครมากกว่ากัน! 

ในประเทศไทย นักการเมือง คือ ผู้มีอำนาจมากที่สุด (ไม่ใช่สถาบันพระมหากษัตริย์)

แต่นักการเมืองกลัวใครที่สุด?

นักการเมืองกลัวทหารที่สุด เพราะทหารมีกำลังพลพร้อมจะปฏิวัติหรือรัฐประหาร

ไม่เชื่อก็ดูพรรคก้าวไกล คณะก้าวหน้าดูก็ได้ว่าเขากลัวทหารขนาดไหน กลัวขนาดหาทุกวิถีทางที่จะร่างรัฐธรรมนูญให้ทหารหลบทางให้นักการเมือง

เห็นอะไรมั้ย? 

กำลังและแสนยานุภาพทางการทหาร มีผลต่อการเมือง เศรษฐกิจและกิจกรรมระหว่างประเทศ ทั้งทางตรงและทางอ้อม

คุณจะทำสงครามเศรษฐกิจ จะทำสงครามการค้า แต่กองทัพของคุณกระจอก ใครจะเห็นหัวคุณ

เว็บไซต์ Global Firepower ซึ่งเป็นเว็บไซต์จัดอันดับแสนยานุภาพทางการทหารระดับนานาชาติ ในปี 2563 นี้ได้เผยแพร่รายงาน 2020 Military Strength Ranking ประเทศที่มีแสนยานุภาพทางการทหาร….

อันดับ 1 สหรัฐอเมริกา มีเรือดำน้ำ 66 ลำ
อันดับ 2 รัสเซีย มีเรือดำน้ำ 62 ลำ
อันดับ 3 จีน มีเรือดำน้ำ 74 ลำ
อันดับ 5 ญี่ปุ่น มีเรือดำน้ำ 20 ลำ 
อันดับ 6 เกาหลีใต้ มีเรือดำน้ำ 22 ลำ
อันดับ 25 เกาหลีเหนือ มีเรือดำน้ำ 83 ลำ 

‘กองทัพเรือ’ ยืนยัน! ไม่เสนอของบประมาณซื้อเรือดำน้ำลำที่ 2 และลำที่ 3 จะเน้นการพัฒนาซ่อมบำรุงยุทโธปกรณ์ และดูแลสวัสดิการของกำลังพล แต่ยังยืนยันความจำเป็นในการมีเรือดำน้ำ

พลเรือโท ปกครอง มนธาตุผลิน โฆษกกองทัพเรือ ได้เปิดเผยถึงกรณีที่มีการรายงานข่าวว่ากองทัพเรือ ไม่เสนอของบประมาณซื้อเรือดำน้ำลำที่ 2 และลำที่ 3 ในปีงบประมาณ 2566 โดย โฆษกกองทัพเรือ ยืนยันว่ากองทัพเรือ จะไม่เสนองบประมาณซื้อเรือดำน้ำลำที่ 2 และที่ 3 ในวงเงิน 22,500 ล้านบาท ทั้งนี้เนื่องจากสถานการณ์ทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ และผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส covid-19 ทำให้ กองทัพเรือ ได้รับการจัดสรรงบประมาณลดลงอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการมีหนี้ผูกพันเดิมค่อนข้างมาก กองทัพเรือจึงจำเป็นต้อง ใช้งบประมาณอย่างสมเหตุสมผล ต้องรักษาสมดุลของ อดีต ปัจจุบัน และอนาคต

โดย พลเรือเอก สมประสงค์ นิลสมัย ผู้บัญชาการทหารเรือ มีนโยบายที่จะนำงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรในส่วนของกองทัพเรือ ไปเน้นใช้ในการซ่อมบำรุงยุทโธปกรณ์ที่มีอยู่ให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และจัดการด้านสวัสดิการของกำลังพล โดยเฉพาะข้าราชการชั้นผู้น้อย อย่างไรก็ตามกองทัพเรือยังมีความจำเป็นในการมีเรือดำน้ำ เพราะเป็นอาวุธทางยุทธศาสตร์ที่เป็นหลักประกันอธิปไตยและความมั่นคงทางทะเลของไทย เพียงแต่ต้องรอเวลาที่เหมาะสม

 

จีนเสนอ “เรือดำน้ำมือสอง” 2 ลำมาแล้ว คาดให้ฟรีในฐานะมิตรประเทศ แต่ต้องปรับคืนสภาพให้พร้อมใช้งาน ทร. อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาจะไปเจรจาหรือไม่ 

เมื่อวันที่ 5 ก.พ.มีรายงานว่า จากกระแสข่าวสาธารณรัฐประชาชนจีนจะมอบเรือดำน้ำชั้น Song (ซ่ง) ให้ไทย 2 ลำ แต่ไม่มีคำยืนยันจากกองทัพเรือ และ กระทรวงกลาโหมของไทยในเรื่องดังกล่าว จนกระทั่งสัปดาห์ที่ผ่านมาทางบริษัทที่เป็นรัฐวิสาหกิจของจีนซึ่งรับหน้าที่บริหารเรือดำน้ำมือสองที่กำลังปลดประจำการในกองเรือดำน้ำกองทัพเรือจีน  ได้ประสานงานเพื่อแจ้งความประสงค์ผ่านสำนักผู้ช่วยฑูตทหารประจำกรุงปักกิ่ง ว่าทางบริษัททีเรือดำน้ำมือสองจำนวนหลายลำ ที่คาดว่าจะเป็นประโยชน์กับกองทัพเรือไทย หากสนใจในโครงการดังกล่าวให้แจ้งความประสงค์ในการหารือในรายละเอียด อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการระบุว่าเป็นการให้เปล่า หรือเป็นการซื้อในราคามิตรภาพ  
 
แหล่งข่าวจากกองทัพเรือ ระบุว่า  เป็นครั้งแรกที่มีการแสดงเจตนารมณ์อย่างเป็นทางการ เพราะก่อนหน้านี้เป็นเพียงกระแสข่าวว่าทางการจีนได้มีการพูดคุยกับคณะทำงานของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี  และจะให้เรือดำน้ำฟรี 2 ลำ แต่ไม่มีการยืนยันข่าวจากฝั่งของ พล.อ.ประวิตร แต่อย่างใด ทั้งนี้  ทางพล.ร.อ.สมประสงค์ นิลสมัย ผู้บัญชาการทหารเรือ จะได้นำข้อเสนอของบริษัทฯ ไปพิจารณาร่วมกับ พล.ร.อ.เถลิงศักดิ์ ศิริสวัสดิ์  เสนาธิการทหารเรือ  ประธานคณะกรรมการบริหารโครงการจัดหาเรือดำน้ำ ทร. ว่าจะไปพูดคุยในรายละเอียดหรือไม่ และถ้าสรุปว่าจะพูดคุย ก็ต้องดูรายละเอียดว่ามีข้อเสนออย่างไร  ซึ่งจะเป็นการให้เปล่า หรือ เป็นการซื้อในราคามิตรภาพ ยังไม่มีการยืนยัน
 
อย่างไรก็ตาม สาธารณรัฐประชาชนจีน ได้มอบเรือดำน้ำ ชั้น Ming(หมิง)ให้กับกองทัพเรือเมียนมาร์ เมื่อไม่นานมานี้ ทำให้ ทร.เมียนมาร์มีเรือดำน้ำเข้าประจำการแล้ว 2 ลำ จึงคาดว่าข้อเสนอของจีนจะเป็นเสนอแบบให้เปล่ากับไทยในฐานะมิตรประเทศเช่นกัน   ซึ่งต้องดูในรายละเอียดว่าจะต้องซ่อมปรับคืนสภาพ และ ต้องใช้งบประมาณในนำเข้าประจำการเท่าใด รวมถึงมีข้อเสนออื่นๆ ที่ ทร.ไทยจะได้รับเพิ่มเติมหรือไม่ 

'อดีตบิ๊ก ศรภ.' ชี้!! เหตุผลที่นานาชาติต้องมีเรือดำน้ำ กำลังทางทหาร = อำนาจการต่อรองในรูปแบบหนึ่ง

พลโท นันทเดช เมฆสวัสดิ์  อดีตหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการพิเศษ ศูนย์รักษาความปลอดภัยแห่งชาติ (ศรภ.) โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก ระบุว่า... 

การที่คุณ พิธา จะสามารถพูดประโยคนี้ได้ แล้วทำให้รัสเซียรับฟัง นั่นหมายความว่า คุณพิธา จะต้องมี อาวุธ ไม่ว่าจะเป็น นิวเคลียร์ เครื่องบินรบ เรือรบ ทหาร ที่มากกว่า อเมริกานะครับ เพราะขนาด โจ ไบเดน พูด ปูติน เขายังไม่ฟังเลย 

'เสธทร.' ย้ำ จำเป็นต้องมีเรือดำน้ำตามยุทธศาสตร์ ยืนยันกับจีนแล้วว่าขอสเปกเดิม เครื่องยนต์ MTU 396 ไม่น้อยใจถูกฝ่ายค้านโจมตี ต้องสู้ต่อไป

เมื่อเวลา 11.50 น.วันที่ 3 มี.ค.ที่ท่าเรือแหลมเทียน การท่าเรือสัตหีบ ฐานทัพเรือสัตหีบ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี พล.ร.อ.เถลิงศักดิ์ ศิริสวัสดิ์ เสนาธิการทหารเรือ ในฐานะประธานคณะกรรมการดำเนินงานโครงการจัดหาเรือดำน้ำ กล่าวถึงปัญหาเรื่องเรือดำน้ำ ว่า อย่างที่ทุกคนพอทราบข่าว ขอเรียนว่าจะทำให้ดีที่สุด และได้เเจ้งทางฝ่ายจีนไปว่าขอยืนยันตามสัญญาทุกประการ เพื่อคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติและกองทัพเรือเป็นสำคัญ ยืนยันว่าจะทำให้ดีที่สุด

เมื่อถามว่าถ้ากองทัพเรือยืนยันในเครื่องยนต์ MTU แต่ทางเยอรมันไม่ขายให้จีน ได้เตรียมทางออกไว้อย่างไร เสนาธิการทหารเรือ กล่าวว่า เราได้ยืนยันกับทางจีนไปว่าเราปฏิบัติตามสัญญา ก็คงต้องไปเข้าสู่ฝั่งจีน

เมื่อถามต่อว่าถ้าเครื่องยนต์เป็นการผลิตของจีน แต่สเปกใกล้เคียงกัน จะยอมรับได้หรือไม่ เสนาธิการทหารเรือ กล่าวย้ำว่า ได้ยืนยันไปแล้วว่าต้องเป็น MTU 396

เมื่อถามถึงกรณีฝ่ายค้าน ระบุบริษัท csoc จากจีนส่งผู้จัดการโครงการและผู้บริหาร 4 คนมาคุมงานก่อสร้างท่าจอดเรือดำน้ำ แต่พบข้อมูลว่าเป็นครูสอนภาษาจีนนั้น ขอย้ำว่าเป็นไปตามที่โฆษกกองทัพเรือชี้แจงไปแล้ว ขอไม่ให้ข่าวซ้ำ โดยมี นาย Lang Qingxu เป็นผู้บริหารโครงการ และมีนายจักรพงษ์ วงศ์ธนปกรณ์ เป็นวิศวกรโครงการ ส่วนบุคคลอื่นๆ ไม่เกี่ยวข้อง

ส่วนหากฝ่ายจีนดำเนินการไม่ได้ สามารถเรียกค่าปรับได้หรือไม่ เสนาธิการทหารเรือ กล่าวว่า อยู่ในสัญญาเรียบร้อย แต่ยังไม่ไปถึงขั้นนั้นขอให้ใจเย็นๆ พร้อมยอมรับปัจจุบันสัญญาการส่งมอบได้เลื่อนออกไปเป็นเดือนพฤษภาคม ปี 2567 เนื่องจากปัญหาโควิดที่เมืองอู่ฮั่น ซึ่งขอเลื่อนมา 6 เดือนแล้ว

เมื่อถามอีกว่า ถ้ามันไม่ได้ แล้วขอเลื่อนไปเรื่อยๆ จะมีแผนรองรับอย่างไร เพราะเป็นเรือดำน้ำลำแรกที่จัดซื้อ เสนาธิการทหารเรือ กล่าวว่า เราพยายามแก้ไขปัญหาให้ดีที่สุด เราอยากได้เรือดำน้ำมาใช้เพราะเป็น ยุทธศาสตร์ของกองทัพเรือ ซึ่งยุทธศาสตร์ของชาติต้องมีเรือดำน้ำ

เมื่อถามว่า ถ้าจีนเสนอเรือดำน้ำมือ 2 มาให้ จะพิจารณาอย่างไร เสนาธิการทหารเรือ กล่าวว่า ยังไม่ทราบตรงนี้ เพราะยังเป็นแค่ข่าว ยังไม่ได้รับทราบอย่างเป็นทางการจากฝ่ายจีน

เมื่อถามว่ารู้สึกอย่างไรที่ฝ่ายค้านโจมตีเรื่องเรือดำน้ำบ่อยครั้ง เสนาธิการทหารเรือ มองว่าเป็นเรื่องธรรมชาติ

เมื่อถามต่อว่า น้อยใจหรือไม่จะซื้อเรือดำน้ำทีก็มีอุปสรรค เสนาธิการทหารเรือ กล่าวว่า เป็นเรื่องธรรมชาติ เราคงน้อยใจไม่ได้ เราคงต้องสู้ต่อไป เพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ของชาติและยุทธศาสตร์กองทัพเรือ

'ศิลัมพา' เดือด 'พิธา' บอกให้ใช้เรือประมงรบแทนเรือดำน้ำ สวน!! เครื่องดับเพลิงมีติดบ้านไว้ ก็ไม่ได้แปลว่าอยากให้ไฟไหม้

'ศิลัมพา' งง 'พิธา' บอกให้ใช้เรือประมงรบแทนเรือดำน้ำ แนะหาข้อมูลก่อนพูดเรื่อยเปื่อย กางข้อมูลอาเซียนหลายประเทศก็มีเรือดำน้ำ ฟาดเจ็บนักการเมืองต้องทำให้กองทัพของชาติเข้มแข็งมิใช่ด้อยค่าหรือทำให้อ่อนแอลง

(1 พ.ค.66) จากกรณีที่นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรค และแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีพรรคก้าวไกล ได้ให้สัมภาษณ์ในรายการข่าวชื่อดัง โดยระบุถึงแนวคิดเรื่องเกี่ยวกับความมั่นคง เชื่อมโยงการตัดงบประมาณของกองทัพ โดยระบุว่า...

"เดี๋ยวนี้กองทัพเรือเวลาเขารุกกัน เขาไม่ใช้เรือดำน้ำ เขาใช้เรือประมง ให้คุณไปดูเวียดนาม คือ มันมีการสร้างความวิตกจริต มีการซ้อมรบกัน แต่มันไม่เคยเกิดขึ้นจริง” ซึ่งการแสดงความเห็นดังกล่าว ได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์ และถูกส่งต่อกันไปอย่างกว้างขวาง

เกี่ยวกับเรื่องนี้ นางสาวศิลัมพา เลิศนุวัฒน์ ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต 24 กทม. พรรครวมไทยสร้างชาติ กล่าวว่า...

"ตนได้เห็นคลิปวีดีโอดังกล่าวเผยแพร่ผ่านสื่อโซเชียลมีเดียแล้วรู้สึกตกใจมาก ที่คนระดับขันอาสามาเป็นนายกรัฐมนตรี แต่กลับรู้เรื่องความมั่นคงในประเทศต่ำถึงเพียงนี้ เพราะในปัจจุบันกลุ่มประเทศอาเซียน โดยเฉพาะเพื่อนบ้านใกล้ชิดไทย ต่างก็มีเรือดำน้ำเข้าประจำการในกองทัพแทบทั้งสิ้น อาทิ มาเลเซียมี 2 ลำ พม่า 2 ลำ และกำลังต่อเพิ่มอีกหนึ่ง สิงคโปร์มีประจำการแล้ว 4 ลำ อินโดนีเซีย 5 ลำ ส่วนประเทศเวียดนาม ที่คุณพิธากล่าวว่าเขาใช้เรือประมงรบกันนั้น มีเรือดำน้ำเข้าประจำการถึง 6 ลำ" นางสาวศิลัมพากล่าว และว่า

"จากคำให้สัมภาษณ์ดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงว่า หนึ่ง นายพิธาไร้ความเข้าใจความมั่นคงของชาติอย่างสิ้นเชิง เรื่องมีเรือดำน้ำเข้าประจำการในกองทัพ ก็เหมือนเราซื้อเครื่องดับเพลิงมาติดไว้ที่บ้าน ซึ่งมิได้แปลว่าเราอยากให้ไฟไหม้ แต่ก็ต้องเตรียมความพร้อมก่อนเหตุจะมาถึง 

‘บริษัทเรือดำน้ำ’ ที่พาชมซาก ‘เรือไททานิก’ เปิดมากว่า 14 ปี โกยรายได้ต่อปี 344 ล้านบาท

วันที่ (23 มิ.ย. 66) บริษัทโอเชียนเกต ก่อตั้งเมื่อปี 2552 โดย ‘สต็อกตัน รัช’ อดีตนักบินสู่นักประกอบเรือดำน้ำมือฉมัง เขามีเรือดำน้ำที่สร้างขึ้นเองหลายลำ โดยเขาดูแลด้านการเงินและวิศวกรรมของบริษัท โดย ‘โอเชียนเกต’ ให้บริการเรือดำน้ำแบบมีคนขับสำหรับเพื่ออุตสาหกรรม การวิจัย การสำรวจใต้ทะเลลึก และการบันทึกสื่อและภาพยนตร์ใต้น้ำ บริษัทมีเรือดำน้ำ ให้บริการ 3 รุ่น ได้แก่

1.) TITAN ระดับความลึก 4,000 เมตร (13,123 ฟุต) วัสดุทำจากคาร์บอนไฟเบอร์และไทเทเนียม สามารถเข้าถึงมหาสมุทรเกือบ50% ของโลกได้ ไททันเป็นเรือดำน้ำเพียงลำเดียวในโลกที่สามารถบรรทุกผู้โดยสารถึง 5 คนไปที่ความลึกเหล่านี้ได้

2.) Cyclops 1 ระดับความลึก 500 เมตร (1,640 ฟุต) Cyclops 1 เป็นเรือดำน้ำลำแรกของรุ่น Cyclops เป็นเรือดำน้ำต้นแบบ สู่การสร้างรุ่น Titan ทั้งซอฟต์แวร์เทคโนโลยี และอุปกรณ์ เปิดตัวครั้งแรกในปี 2558 ถูกไปใช้ในภารกิจต่าง ๆ มากมายในมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรแอตแลนติก รวมถึงอ่าวเม็กซิโก

3.) Antipodes ระดับความลึก 305 เมตร (1,000 ฟุต) เดินทางในระดับน้ำที่ตื้น มีโดมอะคริลิกครึ่งวงกลมสองโดมให้มุมมองที่ไม่มีเด่นชัด และเป็นเรือที่เหมาะสำหรับการทำงานเป็นทีมร่วมกัน

ซึ่งการดำเนินธุรกิจของ ‘โอเชียนเกต’ มีดังนี้

ปี 2552-2554 - บริษัทซื้อเรือดำน้ำรุ่น Antipodes, ยานพาหนะหุ่นยนต์สองลำ, เรือสนับสนุนต่าง ๆ และอุปกรณ์สนับสนุนหลายชิ้น  

ปี 2555 - ได้รับเรือดำน้ำลำที่ 2 และสร้างขึ้นมาใหม่เป็น Cyclops 1 เพื่อทำหน้าที่เป็นต้นแบบสำหรับเรือไททัน

กิจการดำเนินไปอย่างราบรื่น และประสบความสำเร็จในการสำรวจมากกว่า 14 ครั้ง จากการดำน้ำมากกว่า 200 ครั้งทั้งในมหาสมุทรแปซิฟิก แอตแลนติก และอ่าวเม็กซิโก 

ปี 2561 - ‘เดวิด ลอชริดจ์’ อดีตผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการทางทะเลของบริษัท โอเชียนเกต (OceanGate) ถูกไล่ออกจากบริษัทหลังจากทำรายงานด้านความปลอดภัยของเรือดำน้ำไททัน

ปี 2563 - ‘สต็อคตัน’ ซีอีโอ ให้สัมภาษณ์กับสื่อว่า เรือไททันแสดงอาการล้าจากการหมุน (Cyclic Fatigue) ในการทดสอบที่ระดับความลึก 4,000 เมตร ทำให้ขีดความสามารถถูกลดลงเหลือ 3,000 เมตร

ต่อมาทางบริษัทได้ปรับปรุงตัวเรือ และยกเลิกการใช้ตัวถังที่เป็นคาร์บอนไฟเบอร์ไป 

ปี 2565 บริษัทได้เริ่มกลับมาให้บริการเรือดำน้ำครั้งแรก โดย 1 ในบริการเด่น คือ ทัวร์ชมเรือไททานิก

ซึ่งการเดินทางแต่ละครั้งใช้เวลาเดินทาง 8 วัน มีค่าใช้จ่ายต่อหัวราว 250,000 ดอลลาร์ หรือราว 8.7 ล้านบาท

ปัจจุบัน ‘รายได้’ บริษัทโอเชียนเกต อยู่ที่ประมาณ 9.9 ล้านดอลลาร์ต่อปี หรือ 344 ล้านบาท โดยได้รับการระดมทุนมาแล้ว 2 ครั้งทั้งหมด รวม 19.8 ล้านดอลลาร์หรือ 689 ล้านบาท

ทั้งนี้ ถ้าเทียบกับธุรกิจเรือดำน้ำด้วยกัน โอเชียนเกต ไม่ใช่ผู้นำอุตสาหกรรมกลุ่มในแง่รายได้ ข้อมูลจาก growjo.com จัดอันดับดังนี้

อันดับ 1 SAFE Boats International รายได้ 51.9 ล้านดอลาร์/ปี (1,818 ล้านบาท)
อันดับ 2 Oil Companies International Marine Forum (OCIMF) 26.2 ล้านดอลลาร์/ปี (917 ล้านบาท)
อันดับ 3 Intermarine 17.4 ล้านดอลลาร์/ปี ( 609 ล้านบาท)
อันดับ 4 OceanGate 9.9 ล้านดอลลาร์/ปี (344 ล้านบาท)
อันดับ 5 PYI 5.4 ล้านดอลลาร์/ปี (189 ล้านบาท)
 

เรือดำน้ำชุดแรก 4 ลำ ที่รัฐบาลไทยสั่งซื้อ เดินทางจากประเทศญี่ปุ่นมาถึงประเทศไทย

รู้หรือไม่ ในอดีตประเทศไทยเคยมีเรือดำน้ำที่สั่งซื้อจากประเทศญี่ปุ่น มาแล้ว เมื่อปี พ.ศ. 2481 

29 มิถุนายน พ.ศ. 2481 เรือหลวงสินสมุทร, เรือหลวงพลายชุมพล, เรือหลวงมัจฉาณุ (ลำที่ 2) และ เรือหลวงวิรุณ ซึ่งเป็นเรือดำน้ำชุดแรกที่รัฐบาลไทยสั่งต่อมาจากประเทศญี่ปุ่น ได้เดินทางมาถึงประเทศไทย

เรือดำน้ำทั้ง 4 ลำ ได้รับการต่อที่อู่ต่อเรือ บริษัท มิตซูบิชิ ที่เมืองโกเบ เมื่อปี พ.ศ. 2479 ในสนนราคาลำละ 882,000 บาท วางกระดูกงูและปล่อยลงน้ำไล่เลี่ยกันคือระหว่างเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม พ.ศ. 2479  ดังนี้ 

พิธีวางกระดูกงู ร.ล.มัจฉาณุ และ ร.ล.วิรุณ โดยพระมิตรกรรมรักษา เมื่อ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2479

พิธีวางกระดูกงู ร.ล.สินสมุทร และ ร.ล.พลายชุมพล โดยพระมิตรกรรมรักษา เมื่อ 1 พ.ศ. ตุลาคม 2479

ปล่อยลงน้ำ ร.ล.มัจฉาณุ และ ร.ล.วิรุณ โดยนางมิตรกรรมรักษา เมื่อ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2479

ปล่อยลงน้ำ ร.ล.สินสมุทร และ ร.ล.พลายชุมพล โดยพระมิตรกรรมรักษา เมื่อ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2480 (มีการถ่ายทำภาพยนตร์โดย ร.ท.นิตย์ สุขุม)

ทำพิธีมอบเรือ ร.ล.มัจฉาณุ และร.ล.วิรุณ เมื่อ 4 กันยายน พ.ศ. 2480 ถือวันนี้เป็น “วันที่ระลึกเรือดำน้ำ”

พิธีมอบเรือ ร.ล.สินสมุทร และ ร.ล.พลายชุมพล เมื่อ 30 เมษายน พ.ศ. 2481 เรือดำน้ำทั้ง 4 ลำ ถอนสมอเคลื่อนที่ออกจากท่าน้ำประเทศญี่ปุ่น สู่ประเทศไทย เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2481 และเดินทางมาถึงกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2481 

หลังจากมาถึงประเทศไทยก็ได้ขึ้นระวางประจำการพร้อมกันคือวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2481 และปลดระวางประจำการพร้อมกันคือวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 เมื่อครั้งกรณีพิพาทอินโดจีนฝรั่งเศส หลังจาก เรือหลวงธนบุรี และ เรือตอร์ปิโด ถูกเรือฝรั่งเศสยิงจมแล้ว เรือหลวงมัจฉาณุ เรือหลวงวิรุณ เรือหลวงสินสมุทร และเรือหลวงพลายชุมพล ได้ไปลาดตระเวนเป็น 4 แนวอยู่หน้าบริเวณฐานทัพเรือเรียมของอินโดจีนฝรั่งเศส ใช้เวลาดำอยู่ใต้น้ำทั้งสิ้นลำละ 12 ชั่วโมง ขึ้นไปนับเป็นการดำที่นานที่สุด ตั้งแต่ได้เริ่มมีหมวดเรือดำน้ำมาจนกระทั่งได้ถูกยุบเลิกไป ปัจจุบันเรือหลวงมัจฉานุได้ถูกเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์ทหารเรือ


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top