Saturday, 18 May 2024
เยียวยาโควิด

รัฐชง​ครม. เยียวยาคนกลางคืน​ รายละ 5 พัน 1.2​ แสนคน​ ลุ้น!! เห็นชอบ พร้อมโอน 29 ธ.ค.นี้ 

"คนกลางคืน-อาชีพอิสระ" เฮ! "ประกันสังคม" เตรียมจ่ายเยียวยา "ม.40" รายละ 5 พัน รอบแรก 1.2 แสนคน ชง “ครม.” เห็นชอบ พร้อมโอน 29 ธ.ค.นี้ ฉลองปีใหม่

เมื่อ​ 16 ธ.ค. 64 ที่อาคารอเนกประสงค์ สำนักงานประกันสังคม (สำนักงานใหญ่) จ.นนทบุรี นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) พร้อมด้วย นางสุดา ชื่นบาน อุปนายกสมาคมดนตรีแห่งประเทศไทย นายฝอยทอง เชิญยิ้ม นายกสมาคมศิลปินตลกแห่งประเทศไทย นางนัฐชา นาโค เลขาชมรมศิลปินและบันเทิง และผู้บริหารสำนักงานประกันสังคม เข้าร่วมงานแถลงข่าวมาตราการเยียวยาประกันสังคมมาตรา 40 (ม.40) อาชีพอิสระ คนกลางคืน

นายบุญสงค์ กล่าวว่า การประชุมหารือในวันนี้เกิดขึ้นจากความตั้งใจของรัฐบาล โดยกระทรวงแรงงาน ที่เล็งเห็นถึงความเดือดร้อนของพี่น้อง ผู้ที่ทำงานในกิจการสถานบันเทิง ผับ บาร์ คาราโอเกะ และผู้ประกอบอาชีพอิสระที่ทำงานเกี่ยวข้องกับสถานบันเทิง ซึ่งต้องปฏิบัติตามข้อบังคับจากมาตรการของรัฐในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

'ตัวแทนคนบันเทิง'เข้าขอบคุณ'บิ๊กตู่'เยียว 5,000 'ช.อ้น'พูดต่อหน้าไม่ชอบนายกฯ

ที่ทำเนียบรัฐบาล นายสุชาติ ชมกลิ่น รมว.แรงงาน นำคณะคนบันเทิง ได้แก่ นายรินทร ณ บางช้าง (ช อ้น ณ บางช้าง) นายคฑาวุธ ทองไทย หรือ อาจารย์ไข่ นักร้องนำวงมาลีฮวนน่า ในฐานะประธานสมาพันธ์เครือข่ายคนบันเทิงอาชีพแห่งประเทศไทย นางสุดา ชื่นบาน อุปนายกสมาคมดนตรีแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ นายบริพันธ์ ชัยภูมิ นายกสมาคมนักเพลงลูกทุ่งแห่งประเทศไทย

ฝอยทอง เชิญยิ้ม สมาคมศิลปินตลก (ประเทศไทย) นายวรพจน์ นิ่มวิจิตร ตัวแทนผู้จัดคอนเสิร์ต นายวีรวัฒน์ รัตนะ เลขานุการสมาพันธ์เครือข่ายคนบันเทิงอาชีพแห่งประเทศไทย และนายบริพันธ์ ชัยภูมิ นายกสมาคมนักเพลงลูกทุ่งแห่งประเทศไทย เข้าพบ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม เพื่อขอบคุณที่ให้ความช่วยเหลือเยียวยาอันเนื่องมาจากผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 และเสนอตั้งสภาศิลปะและวัฒนธรรมแห่งชาติ 

‘คนกลางคืน’ เฮ! เตรียมรับเงินเยียวยา รายละ 5,000 บาท งวดแรก เริ่ม 29 ธ.ค. 64 นี้!

(28 ธ.ค. 64) นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า หลังจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มีมติเห็นชอบอนุมัติมาตรการช่วยเหลือเยียวยา พี่น้องผู้ประกอบอาชีพอิสระ คนทำงานกลางคืนในกิจการสถานบันเทิง ที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐ 

โดยสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน จะจ่ายเงินเยียวยาผู้ประกอบอาชีพรายละ 5,000 บาท เป็นระยะเวลา 1 เดือน ให้กับผู้ประกันตนที่มีสัญชาติไทย ทั้งมาตรา 33 ที่ทำงานในกิจการสถานบันเทิง ผับ บาร์ คาราโอเกะ ส่วนผู้ประกันตนตามมาตรา 39 และมาตรา 40 และได้รับการรับรองจากสมาคมดนตรีแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ หรือสมาพันธ์เครือข่ายคนบันเทิงที่จดทะเบียนกับกระทรวงมหาดไทย หรือกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ว่าทำงานในสถานบันเทิงกลางคืนนั้นจริง

แท็กซี่-วินมอเตอร์ไซค์ ได้เงินเยียวยาถึงม.ค.65

น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบการขยายระยะเวลาโครงการช่วยเหลือกลุ่มอาชีพผู้ขับรถยนต์รับจ้าง (รถแท็กซี่) และรถจักรยานยนต์สาธารณะ ที่มีอายุกิน 65 ปี ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จากเดิมสิ้นสุดเดือนพ.ย. 2564 เป็นสิ้นสุดเดือนม.ค. 2565 เพื่อให้กรมขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม มีระยะเวลาเพิ่มขึ้นในการตรวจสอบข้อมูลกลุ่มเป้าหมายที่ยื่นขอทบทวนหรืออุทธรณ์ในการขอรับเงินจากโครงการเยียวยาฯ 

รมว.เฮ้ง เดินหน้าเสนอคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ปรับเงื่อนไขโครงการช่วย SMEs หลังสถานประกอบการบางส่วนเสียสิทธิ์รับเงินอุดหนุนเพราะเงื่อนไขโครงการฯ

คณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ อนุมัติเงื่อนไข ส่งเงินสมทบผ่าน e - Service 2 ข้อ หากปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่ง มีสิทธิ์รับเงินอุดหนุน งวดธันวา 64 และมกรา 65
 
นายสุชาติ ชมกลิ่น  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ตามที่กระทรวงแรงงานได้เชิญชวนนายจ้างภาคเอกชนที่มีกิจการขนาดเล็ก – กลางเข้าร่วมโครงการส่งเสริมและรักษาระดับการจ้างงานในธุรกิจ SMEs เพื่อรับเงินอุดหนุนจากรัฐบาล ในอัตรา 3,000 บาท ต่อลูกจ้างสัญชาติไทย 1 คนต่อเดือน เป็นระยะเวลา 3 เดือน ในเดือนพฤศจิกายน 2564 - มกราคม 2565 ด้วยมีเป้าหมายช่วยเหลือนายจ้าง สถานประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ให้กลับมาแข็งแรงประสบผลสำเร็จดั่งในอดีตก่อนมีโรคโควิด-19 ตามความตั้งใจของรัฐบาล

ภายใต้การนำของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งกำกับดูแลกระทรวงแรงงาน ที่ห่วงใยธุรกิจในกลุ่ม SMEs ซึ่งผลการลงทะเบียนในทุกรอบมีสถานประกอบการลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการถึง 246,099 ราย ช่วยรักษาระดับการจ้างงานลูกจ้างสัญชาติไทย 3,274,018 คน แต่ช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมามีการร้องทุกข์จากนายจ้าง/สถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ ผ่านสำนักงานจัดหางานทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เนื่องจากไม่ได้รับเงินอุดหนุนในเดือนธันวาคม 2564 เพราะไม่ได้ส่งข้อมูลเงินสมทบฯ ผ่านระบบ e - Service ของสำนักงานประกันสังคมภายในกำหนด เพื่อขอให้ทบทวนเงื่อนไขดังกล่าว ทำให้ได้รับเงินอุดหนุนบรรเทาความเดือดร้อนในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และเป็นทุนหมุนเวียน เสริมสภาพคล่อง หากเกิดการระบาดในระลอกใหม่ของสายพันธ์โอมิครอน

“ผมในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เข้าใจความเดือดร้อนของผู้ประกอบการเป็นอย่างดี กิจการเล็กๆ หลายแห่ง ยังมีความไม่เข้าใจเงื่อนไขและขั้นตอนการใช้บริการภาครัฐผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยไม่ได้มีเจตนาที่จะไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขแต่อย่างใด กระทรวงแรงงานจึงได้ปรับเงื่อนไขโครงการเสนอต่อคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้พิจารณา ซึ่งคณะกรรมการฯ ได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 5 มกราคม 65 และจะดำเนินการเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติในวันที่ 11 มกราคม 65 เพื่อให้นายจ้าง/สถานประกอบการที่เสียสิทธิ์ไป มีโอกาสได้รับเงินอุดหนุนในเดือนธันวาคม 64 และมกราคม 65 ดังนี้ 1. นายจ้างที่เข้าร่วมโครงการหากเคยนำส่งข้อมูลเงินสมทบผ่านระบบ e-Service ของสำนักงานประกันสังคม

ภายในปีนี้ ก่อนวันที่ 16 ธันวาคม 64 จะได้รับเงินอุดหนุน จำนวน 2 เดือน (ธ.ค. 64 – ม.ค. 65)  2. นายจ้างที่เข้าร่วมโครงการแต่มีการนำส่งข้อมูลเงินสมทบผ่านระบบ e-Service ของสำนักงานประกันสังคม หลังวันที่ 15 ธันวาคม 64 ที่ได้นำส่งข้อมูลฯ ภายในวันที่ 17 มกราคม 65 จึงจะได้รับเงินอุดหนุน จำนวน 2 เดือน (ธ.ค. 64 – ม.ค. 65)” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าว  
 
ด้านนายไพโรจน์ โชติกเสถียร อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวว่า การสมัครใช้งาน e - Service และนำส่งข้อมูลเงินสมทบ ผ่านระบบ e - Service ของสำนักงานประกันสังคม เป็นเงื่อนไขสำคัญข้อหนึ่งของโครงการฯ โดยมีวัตถุประสงค์ให้ประชาชนหันมาใช้บริการภาครัฐผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ตามเจตนารมณ์ของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ซึ่งจากการตรวจสอบข้อมูลนายจ้างที่ไม่ได้นำส่งข้อมูลเงินสมทบผ่านระบบ e-Service ในงวดเงินสมทบเดือนพฤศจิกายน 2564 พบว่ามีนายจ้างปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าว


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top