Saturday, 4 May 2024
เงินบาท

เปรียบเทียบค่าเงินในภูมิภาคเอเชีย ต่อดอลลาร์สหรัฐฯ

เงินบาทยืนหนึ่ง!!

ปัจจุบันเงินบาทอยู่ที่ราว ๆ 33 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าอย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับปลายปีที่แล้ว ซึ่งอยู่ที่เกือบ 38 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ 

อย่างไรก็ตาม นับตั้งแต่ปี 2566 เป็นต้นมา เงินบาทแข็งค่าแล้วกว่า 5% แข็งค่าที่สุดในเอเชีย ภายใต้ 3 ตัวแปร ได้แก่…

กูรูระดับโลกชื่นชมศักยภาพของ ‘เงินบาท’ ‘แข็งแกร่ง-มีเสถียรภาพ’ แม้เผชิญวิกฤติเศรษฐกิจ

รูชีร์ ชาร์มา (Ruchir Sharma) นักลงทุนผู้มากประสบการณ์ ประธานบริษัทการเงินระดับโลก Rockefeller Capital Management ผู้ติดตามความเคลื่อนไหวของเงินสกุลต่างๆ ทั่วโลกมานานเกือบ 30 ปี ได้กล่าวถึง ‘เงินบาท’ ของไทยด้วยความชื่นชม ผ่านคอลัมน์ของ Financial Times (12 ก.พ. 2566) เนื่องด้วย เดือนกุมภาพันธ์ ปีนี้ จะครบรอบ 25 ปี ที่เขาเคยอยู่ในกรุงเทพมหานคร ในวันที่ไทยกำลังเผชิญวิกฤติ ‘ต้มยำกุ้ง’ อย่างหนักและลุกลามไปหลายประเทศในเอเชีย

ในช่วงเวลานั้น ค่าเงินบาทของไทยลดค่าลงอย่างรุนแรงกว่า 40% ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยที่หดตัวลงถึง 20% ในพริบตา ตลาดหุ้นดิ่งเหวกว่า 60% สถาบันการเงินหลายแห่งเข้าสู่ภาวะล้มละลาย หนี้สาธารณะพุ่งสูงจนรัฐบาลไทยต้องพึ่งพาความช่วยเหลือจากกองทุน IMF 

ตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2541 มานั้น แทบไม่มีนักลงทุนต่างชาติคนไหนกล้าลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ไทย เงินบาทเป็นสกุลเงินที่มองไม่เห็นอนาคต เป็นหนึ่งในวิกฤติการเงินที่จารึกไว้ในประวัติศาสตร์ของไทย

แต่สุดท้าย เงินบาทก็สามารถพลิกฟื้นขึ้นมาเป็นหนึ่งในเงินสกุลหลักของภูมิภาคอาเซียน สามารถรักษามูลค่าไว้ได้อย่างเหลือเชื่อ เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ กลายเป็นสกุลเงินที่แข็งแกร่ง มั่นคง กว่าเงินสกุลอื่นในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจใหม่ และดูดีกว่าเงินสกุลของกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วหลายๆ ชาติ หากไม่นับ รวม Swiss Franc ด้วยซ้ำไป นับเป็นปรากฏการณ์ที่ไม่ธรรมดาจริงๆ

หนึ่งในข้อดีของวิกฤติค่าเงินในครั้งนั้น ทำให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยเติบโต เนื่องจากค่าใช้จ่ายถูกลงมาก จึงสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาในประเทศได้เป็นจำนวนมาก อีกทั้งไทยยังมีแหล่งท่องเที่ยว และ ภาคบริการรองรับที่ดี ซึ่งช่วยส่งเสริมศักยภาพด้านการแข่งขันของไทย แม้ว่าค่าเงินบาทจะกลับมาแข็งค่าขึ้นแล้วก็ตาม จากประเทศที่เคยเป็นศูนย์กลางของวิกฤติค่าเงินกลับขึ้นมาเป็นหนึ่งในเสาหลักของอาเซียนและเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่อีกหลายๆ ประเทศ

‘เงินบาท’ สกุลเงินที่ยืดหยุ่นที่สุดในโลก แม้เคยเผชิญ ‘วิกฤตต้มยำกุ้ง’ เมื่อ 26 ปีก่อน

สวัสดีนักอ่านทุกท่านครับ วันนี้ผมมีเรื่องราวดี ๆ เกี่ยวกับสกุลเงิน ‘บาท’ ที่เราๆ คุ้นเคยกันอย่างดีมาฝากครับ โดยเรื่องราวเกี่ยวกับสกุลเงินบาทครั้งนี้ ผมอ้างอิงมาจาก RUCHIR SHARMA ชาวอินเดีย ผู้ซึ่งเป็นนักลงทุน นักเขียน ผู้จัดการกองทุน และคอลัมนิสต์ของ Financial Times เขาเคยเป็นหัวหน้าฝ่ายธุรกิจระหว่างประเทศของ Rockefeller Capital Management และเคยเป็นผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการลงทุนของ Breakout Capital ซึ่งเป็นบริษัทการลงทุนที่เน้นตลาดเกิดใหม่ของ Morgan Stanley Investment Management ปัจจุบันเขาเป็นประธาน Rockefeller Capital Management  บริษัทการเงินระดับโลก โดยเขาได้เขียนบทความเกี่ยวกับสกุลเงินบาทไว้ดังนี้ครับ (บทความต้นฉบับ www.ft.com/content/f280de11-48c7-4526-aa92-ad1e1b7b6ed1)

ในปี ค.ศ. 1997 ประเทศไทยกลายเป็นศูนย์กลางและจุดเริ่มต้นของวิกฤตการเงิน (วิกฤตต้มยำกุ้ง) แต่หลังจากวิกฤตผ่านพ้นไปแล้ว สกุลเงินบาทกลับกลายเป็นสกุลเงินที่มีเสถียรภาพในระยะยาว

ตั้งแต่ต้นปี ค.ศ. 1998 เงินบาทแข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ ซึ่งถือว่าดีกว่าสกุลเงินเกิดใหม่อื่น ๆ ในโลก และดีกว่าสกุลเงินฟรังก์สวิสและสกุลเงินที่เทียบเท่าทั้งหมดในประเทศที่พัฒนาแล้ว

RUCHIR บอกว่า ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี ค.ศ. 1998 หรือเมื่อ ๒๕ ปีก่อนในเดือนนี้ (กุมภาพันธ์) กรุงเทพฯ กลายเป็นจุดศูนย์กลางของวิกฤตการเงินในเอเชีย การระเบิดของเงินบาทครั้งนั้นได้ก่อให้เกิดการล่มสลายของสกุลเงินและตลาดทุนอย่างต่อเนื่อง โดยมีผู้ประท้วงมากมายตามท้องถนนทั่วทั้งภูมิภาค และเกิดความวุ่นวายจนลุกลามใหญ่โต ในขณะที่ผู้นำโลกต่างก็พยายามชะลอการแพร่ระบาดของวิกฤตการเงินครั้งนี้ไม่ให้ลามไปทั่วโลก เศรษฐกิจของไทยและประเทศเพื่อนบ้านต่างก็ตกอยู่ในภาวะถดถอยและซบเซา

เมื่อครั้งนั้นเศรษฐกิจไทยหดตัวเกือบร้อยละ ๒๐ เนื่องจากหุ้นราคาร่วงมากกว่าร้อยละ ๖๐ และค่าเงินบาทอ่อนค่าลงมากกว่าครึ่งเมื่อเทียบกับดอลลาร์ ราคาหุ้นในกรุงเทพ ‘ถูก’ อย่างไม่น่าเชื่อ แต่ก็ไม่มีใครกล้าซื้อหุ้นไทย

เรื่องราววิกฤตในครั้งนั้นถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ และบทส่งท้ายกลับสร้างความประหลาดใจ เพราะตั้งแต่ต้นปี ค.ศ. 1998 เป็นต้นมา เรื่องราวเกี่ยวกับเงินบาทของประเทศไทยได้จางหายไปจากเรดาร์ทางการเงินทั่วโลก ด้วยเงินบาทได้พิสูจน์แล้วว่า มีความยืดหยุ่นอย่างไม่ธรรมดา โดยสามารถรักษามูลค่าเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ได้ดีกว่าสกุลเงินเกิดใหม่อื่น ๆ ของโลก และดีกว่าสกุลเงินอื่นในประเทศที่พัฒนาแล้วทั้งหมด (ยกเว้นฟรังก์สวิส)

ในทางตรงกันข้ามที่ประเทศอินโดนีเซีย ในปี ค.ศ. 1998 เกิดเหตุการณ์ล้มอำนาจเผด็จการซูฮาร์โต เงินรูเปียห์ซื้อขายกันที่เกือบ 15,500 รูเปียห์ต่อดอลลาร์ ลดลงจาก 2,400 รูเปียห์ต่อดอลลาร์ ก่อนเกิดวิกฤต เงินบาทซื้อขายที่ 33 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งก่อนวิกฤตไม่เคยต่ำกว่า 26 บาทต่อดอลลาร์

ขณะที่ชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยแทบไม่รู้สึกว่าสินค้าราคาแพง พวกเขาสามารถหาห้องพักโรงแรมระดับ 5 ดาวได้ในราคาที่ต่ำกว่า 200 ดอลลาร์ต่อคืนได้ อาหารค่ำรสเลิศในภูเก็ตในราคาเพียง 30 ดอลลาร์เท่านั้น แม้ค่าเงินบาทจะแข็งค่า แต่ประเทศไทยก็สามารถแข่งขันได้ในระดับโลก ศูนย์กลางของวิกฤตกลายเป็นจุดยึดของความมั่นคง และเป็นบทเรียนแก่ประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่อื่น ๆ

หลังปี ค.ศ. 1998 สังคมเกิดใหม่จำนวนมากหันมาใช้ระบบการเงินแบบอนุรักษ์นิยม โดยเฉพาะกลุ่มที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ธนาคารในอินโดนีเซียเปลี่ยนจากการตกเป็นเป้าของการวิพากษ์วิจารณ์มากมายมาเป็นต้นแบบของการจัดการที่ดี ฟิลิปปินส์และมาเลเซียมีการเคลื่อนไหวเพื่อควบคุมการขาดดุล แต่ไม่มีที่ใดในภูมิภาคนี้ที่เปลี่ยนแนวทางเศรษฐกิจแบบออร์โธดอกซ์* มากกว่าในประเทศไทย หลีกเลี่ยงส่วนเกินที่อาจทำให้ผู้คนทั้งในและนอกระบบเศรษฐกิจเกิดความแตกตื่น

เศรษฐกิจแบบออร์โธดอกซ์ คือ เมื่อเผชิญกับความขาดแคลนแล้วมนุษย์ตัดสินใจอย่างไร ซึ่งอาจเป็นการตัดสินใจส่วนบุคคล การตัดสินใจของครอบครัว การตัดสินใจทางธุรกิจ หรือการตัดสินใจทางสังคม และหากมองไปรอบ ๆ ตัวอย่างระมัดระวังแล้ว จะเห็นว่า ความขาดแคลนเป็นความจริงของชีวิต

สื่อนอกยก ‘เงินบาท’ เป็นสกุลเงินที่มีความยืดหยุ่นที่สุดในโลก ‘บิ๊กตู่’ สั่งเร่งเดินหน้าพัฒนา ศก. ให้สมดุล-ยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง

(4 มี.ค. 66) นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ยินดีที่ Financial Times สื่อดังจากอังกฤษที่นำเสนอข่าวสารด้านธุรกิจและการเงิน ลงบทความวิเคราะห์ โดย รูชีร์ ชาร์มา (Ruchir Sharma) เรื่อง The untold story of the world’s most resilient currency ซึ่งได้กล่าวถึง เงินบาทด้วยความชื่นชมในความมีเสถียรภาพและมีความยืดหยุ่นที่สุดในโลก ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีพร้อมมุ่งมั่นเดินหน้าฟื้นฟู และกระตุ้นเศรษฐกิจ ให้ประเทศไทยฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว มั่นคง อย่างสมดุล

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า จากกรณีสื่ออังกฤษด้านธุรกิจและการเงิน Financial Times ลงบทความยกให้ ‘เงินบาท’ ของไทย เป็นสกุลเงินที่มีความยืดหยุ่นมากที่สุดในโลก (World’s most resilient currency) รวมทั้งยังมีเสถียรภาพ โดยชี้ให้เห็นว่านับตั้งแต่ที่ไทยเผชิญกับวิกฤตการเงินช่วงปี พ.ศ. 2541 เงินบาทได้กลายเป็นสกุลเงินที่มีเสถียรภาพในระยะยาว และทำให้ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราเงินเฟ้อน้อยที่สุดอีกด้วย และแม้ค่าเงินบาทจะแข็งค่า แต่ไทยก็สามารถแข่งขันในระดับโลกได้ จากศูนย์กลางของวิกฤตกลายเป็นจุดยึดของความมั่นคง (An anchor of stability) และถือว่าเป็นหนึ่งในบทเรียนแก่ประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่อื่น ๆ

‘เงินกีบอ่อนค่า’ ทำคนลาวแห่หันมาใช้ ‘เงินบาท’ ทำชาวบ้านลำบาก เพราะคนค้าขายไม่รับเงินกีบ

เมื่อไม่นานนี้ ผู้ใช้ TikTok บัญชี @dyogr6z2idix ได้โพสต์คลิปวิดีโอเกี่ยวกับ คนลาวเริ่มแห่ทิ้งเงินกีบ เพื่อหันมาใช้เงินบาท ขณะที่ธนาคารชี้ชัดด้วยว่า คนลาวไม่มีเงินฝากแล้ว โดยระบุว่า...

สำหรับสถานการณ์ตอนนี้ของ สปป.ลาว กําลังเข้าสู่ยุคใช้เงินบาทอย่างเต็มตัว ซึ่งดูได้จากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศของธนาคารพงสะหวัน วันที่ 25 ส.ค.66 จะเห็นได้ว่าอัตราแลกเปลี่ยนเป็นเงินบาทไทย จะอยู่ที่ 612.79 กีบ ต่อ 1 บาท นั่นแปลว่า ‘เงินกีบอ่อนค่า’ ให้กับสกุลเงินบาทไปแล้ว 75% เมื่อเทียบกับต้นปีที่ผ่านมา

และการที่เงินกีบไร้เสถียรภาพเช่นนี้ จะส่งผลทำให้เงินกีบอ่อนค่าลงเรื่อย ๆ แน่ ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพชีวิต และสภาพจิตใจของประชาชนอย่างมาก เพราะแต่ละวันจะเอาเงินจากไหนไปใช้เพื่อดูแลครอบครัว

อีกทั้ง บางครอบครัว ก็อาศัยใช้ที่ดินในการทำมาหากิน ปลูกผัก ปลูกผลไม้ หรือเลี้ยงสัตว์ แต่มาในตอนนี้ พื้นที่เหล่านั้นถูกเปลี่ยนตกไปอยู่ในการคุ้มครองของนายทุนตามนโยบายของรัฐบาลลาว เพื่อการส่งออกจะได้มีมูลค่าที่เพิ่มสูงขึ้น

ดังนั้น สิ่งที่ประชาชนลาวสามารถทำได้ในตอนนี้ คือ ‘พยายามถือครองเงินบาทให้มากที่สุด’ โดยผู้คนส่วนใหญ่ต่างก็เริ่มมาถือครองเงินบาทมากกว่าช่วงที่ผ่านมาแล้วด้วย ส่วนจะมากแค่ไหน ก็มากถึงขั้นที่ว่าล่าสุดบรรดาพ่อค้าแม่ขายผักในตลาดได้ระบุราคาขายสินค้าเป็นเงินบาทแล้ว แถมยังบอกอีกด้วยว่าจะไม่รับเงินกีบแล้ว

อย่างไรก็ตาม เมื่อหลายปีที่ผ่านมา ลาวได้มีการใช้เงินบาทในการชำระสินค้าอยู่บ้าง แต่ก็ไม่เยอะเท่าปัจจุบันนี้ที่ถึงขั้นไม่รับเงินกีบ จนถึงช่วงนี้ที่เหลือเพียงแค่ไม่กี่ที่เท่านั้น ที่ยังรับการชำระเป็นเงินกีบ อย่างเช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ เป็นต้น

ทั้งนี้อ้างอิงประเด็นการปฏิเสธเงินกีบได้จากเพจของลาวที่ชื่อว่า ‘จดหมายข่าว’ ที่ได้ออกมาโพสต์เรื่องราวของสาวลาวที่ได้ไปซื้อผักผลไม้ที่ตลาด แต่แม่ค้าได้ตอบกลับมาว่าไม่รับเงินกีบ ด้วยว่า…

“รู้สึกน่าอายจริง ๆ เลย ที่สาวคนหนึ่งไปซื้อผักที่ตลาดแขวงบ่อแก้ว เพื่อที่จะได้ไปทำอาหารกินกับครอบครัว แต่พอนำเงินกีบมาจ่ายค่าผักผลไม้ให้กับแม่ค้า กลับถูกแม่ค้าปฏิเสธไม่รับเงินกีบ และยังบอกด้วยว่าพืชผักขายเป็นเงินบาทเท่านั้น” ทำให้สาวลาวคนนั้นได้อ้อนวอนกับแม่ค้า เพราะเธอไม่ได้พกเงินบาทมาด้วย จึงทำให้สุดท้ายแม่ค้าจึงยอมรับเงินกีบไว้...

นอกจากนี้ ยังมีอีกหนึ่งเคส ซึ่งเป็นลูกเพจชาวลาวคนหนึ่งซึ่งไม่ขอเอ่ยนาม ได้ส่งเรื่องเข้ามา โดยเขาได้บอกว่า “ในลาวมีการผ่อนค่างวดรถเป็นเงินบาท” โดยเขาได้โพสต์ที่หน้าเฟซบุ๊กของตนเอง ที่แปลเป็นไทยได้ว่า “ใครที่ผ่อนรถเป็นเงินบาท เงินดอลลาร์ จะเข้าใจว่ามันจุกแค่ไหน” 

ได้แต่คิดแล้วก็สงสัยว่าเงินกีบลาวมาถึงจุดนี้ได้อย่างไร…

ความภูมิใจของไทย!! 🇹🇭 ‘เงินบาท’ ติดท็อป 10 จาก 20 อันดับสกุลเงินหลัก ที่ถูกใช้ชำระมากที่สุดในโลก!!

ความภูมิใจของไทย!! 🇹🇭 ‘เงินบาท’ ติดท็อป 10 จาก 20 อันดับสกุลเงินหลัก ที่ถูกใช้ชำระมากที่สุดในโลก!! 💰🌏✨

'อ.พงษ์ภาณุ' หวั่น!! 'ค่าเงินบาทอ่อน' สวน 'ดอกเบี้ยพุ่ง' ส่อสัญญาณขัดแย้ง 'นโยบายการคลัง-การเงิน' ไทย

ทีมข่าว THE STATES TIMES ได้พูดคุยกับ อ.พงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ อดีตปลัดกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา อดีตรองปลัดกระทรวงการคลัง และผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์ระดับประเทศ ที่พูดคุยในรายการ Easy Econ ซึ่งออกอากาศทางสถานีวิทยุ ส.ทร. FM93.0 MHz และสื่อออนไลน์ ในเครือ THE STATES TIMES ในประเด็น ตลาดเงินตลาดทุนทั่วโลกกับความผันผวนหลังจาก ธนาคารกลางสหรัฐ หรือ FED (Federal Reserve Bank) คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 5.25-5.50% และจะส่งผลต่อตลาดการเงินไทยหรือไม่อย่างไร เมื่อวันที่ 1 ต.ค.66 โดย อ.พงษ์ภาณุ กล่าวว่า...

ตลาดเงินตลาดทุนทั่วโลกมีความผันผวนหลังจาก Federal Reserve คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 5.25-5.50% แต่ออกการคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกายังมีความร้อนแรงและอาจมีความจำเป็นต้องปรับดอกเบี้ยขึ้นอีกครั้งก่อนสิ้นปี

ตลาดการเงินไทยก็ไม่พ้นจากความผันผวนนี้ แต่น่าจะรุนแรงกว่าความผันผวนในตลาดโลกด้วยซ้ำ เพราะค่าเงินบาทอ่อนตัวลงเป็นประวัติการถึงระดับ 36.3 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาล 10 ปี กระโดดแรงขึ้นมาอยู่ที่กว่า 3% ซึ่งถือว่าผิดธรรมชาติที่ดอกเบี้ยขึ้น แต่ค่าเงินกลับอ่อนลง

ความผิดปกติที่เกิดขึ้นในตลาดการเงินไทยเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความขัดแย้งและ/หรือความแตกต่างของทิศทางนโยบายการคลังและนโยบายการเงิน ในช่วงการเปลี่ยนผ่านรัฐบาลไปสู่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน 

แน่นอนทุกฝ่ายเห็นด้วยว่าธนาคารแห่งประเทศไทย ในฐานะธนาคารกลาง ต้องมีความเป็นอิสระจากฝ่ายการเมือง แต่ความอิสระก็ย่อมต้องมีขอบเขต 

ที่ผ่านมาต้องถือว่าแบงก์ชาติผิดพลาดในเรื่องจังหวะเวลาการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายล่าช้า ทำให้ปี 2565 เงินเฟ้อไทยทะยานสูงสุดในอาเซียนที่ 6.1% แม้ว่าจะโชคดีที่เงินเฟ้อทั่วโลกลดลงในช่วงที่ผ่านมาเพราะราคาพลังงานลดลง แต่ไม่ใช่เพราะการดำเนินนโยบายการเงินที่เก่งกาจแต่อย่างไร และอัตราดอกเบี้ยระยะยาวที่กระโดดขึ้นฉับพลันก็แสดงให้เห็นว่าแบงก์ชาติไม่ยอมรับและไม่ตอบสนองต่อแนวทางของรัฐบาลใหม่ในการใช้นโยบายการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ (Fiscal Stimulus) แต่อย่างใด

เรื่องยังไม่จบอยู่เท่านี้ เมื่อ 27 กันยายนที่ผ่านมา กนง. มีมติปรับดอกเบี้ยนโยบายขึ้นอีก 0.25% เป็น 2.50% โดยไร้เหตุผลทางเศรษฐกิจสนับสนุน และน่าจะถือว่าสวนทางกับนโยบายการคลังของรัฐบาลอย่างเห็นได้ชัด 

ความขัดแย้งทางนโยบายนี้ได้ทำลายความมั่นใจและสร้างความปั่นป่วนอย่างรุนแรงในตลาดการเงิน ทั้งตลาดหุ้น ตลาดหนี้ และตลาดอัตราแลกเปลี่ยน รวมทั้งอาจทำให้นโยบายการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลเกิดการสะดุดได้

เราเชื่อในความเป็นอิสระของธนาคารกลาง แต่ความอิสระนี้จะต้องควบคู่ไปกับความรับผิดชอบต่อสังคม (Accountability) ไม่ใช่นึกจะทำอะไรก็ทำได้ตามใจชอบ ความขัดแย้งระหว่างนโยบายการคลังและนโยบายการเงินที่กำลังเกิดขึ้นนี้ไม่เป็นผลดีต่อประเทศชาติเลย


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top