Monday, 6 May 2024
อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว

เวลาเปลี่ยน เมืองไทยเปลี่ยน: ถนนสายใหม่ เลี่ยง 'อช.น้ำหนาว'

รัฐบาลเห็นความสำคัญของสัตว์ป่า จึงสร้างถนนสายใหม่เลี่ยงเส้นทางอุทยานแห่งชาติน้ำหนาว เพื่อแก้ปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อสัตว์ป่า เส้นทางใหม่นี้ใช้ทดแทนถนนสายหลัก 12 หล่มสัก-คอนสาร ระยะทางกว่า 110 กิโลเมตร พร้อมเปิดพื้นที่ใหม่ สร้างโอาสให้การท่องเที่ยว

‘ป่าภูเขียว-อช.น้ำหนาว-ภูกระดึง’ ได้ขึ้นทะเบียนอุทยานมรดกอาเซียน ภาครัฐฯ พร้อมเดินหน้าคุ้มครอง-รักษาสภาพธรรมชาติอย่างยั่งยืน

(5 ก.ค. 66) นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 34 (34th Meeting of the ASEAN Senior Officials on the Environment : 34th ASOEN) วันที่ 1 สิงหาคม 2566 ได้พิจารณารับรองการขึ้นทะเบียนอุทยานมรดกอาเซียน (ASEAN Heritage Park : AHP) ของประเทศไทย จำนวน 2 แห่ง ได้แก่

- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียวและอุทยานแห่งชาติน้ำหนาว เป็นอุทยานมรดกอาเซียนแห่งที่ 56 
- อุทยานแห่งชาติภูกระดึง เป็นอุทยานมรดกอาเซียนแห่งที่ 57

ได้พิจารณารับรองให้โรงเรียนสาธิตเทศบาลบ้านหัวหิน เข้ารับรางวัลโรงเรียนที่มีกระบวนการจัดการเรียนการสอนสิ่งแวดล้อมดีเด่น ระดับชาติ และระดับนานาชาติ กลุ่ม ASEAN ‘ASEAN Eco-Schools’ ระดับมัธยมศึกษาและระดับประถมศึกษา รวมทั้งรับรองให้นายมนตรี เจือไธสง เข้ารับรางวัลนักวิจัย / ครูผู้สอนสิ่งแวดล้อมศึกษาดีเด่น ระดับชาติและระดับนานาชาติ กลุ่ม ASEAN ‘ASEAN Youth Eco-Champions Award’

ทั้งนี้ ประเทศไทยมีพื้นที่ที่ได้รับการรับรองเป็นอุทยานมรดกอาเซียน ได้แก่ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อุทยานแห่งชาติตะรุเตา กลุ่มอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ หมู่เกาะสิมิลันและอ่าวพังงา กลุ่มป่าแก่งกระจาน ประกอบด้วย อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน อุทยานแห่งชาติกุยบุรี และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่น้ำภาชี อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม-เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง และอุทยานแห่งชาติเขาสก

รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวเพิ่มเติมว่า จากการที่ คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้เห็นชอบการนำเสนอ อุทยานแห่งชาติภูกระดึง และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว ให้เป็นอุทยานมรดกแห่งอาเซียน เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2565 หลายภาคส่วนได้ร่วมกันเตรียมเอกสารนำเสนอข้อมูลพื้นที่ ตลอดจนเร่งระดมสรรพกำลังเพื่อให้สามารถผ่านเกณฑ์การประเมินได้ ซึ่งไทยมีความโดดเด่นหลายประการ อาทิ การอนุรักษ์ธรรมชาติ และความหลากหลายทางชีวภาพ มีพื้นที่ที่มีความเชื่อมโยงกับประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น

“โลกมีการตื่นตัวเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อมมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ รัฐบาลไทยให้ความสำคัญและเร่งพัฒนาแนวความคิดของคนไทยอย่างต่อเนื่องในทุกมิติ การสนับสนุนให้พื้นที่ในประเทศเป็นเขตอุทยานแห่งชาติ เพื่อเป็นพื้นที่คุ้มครอง รักษาสภาพธรรมชาติ ร่วมกับให้เกิดประโยชน์กับมนุษย์ควบคู่ไปด้วย ซึ่งอุทยานแห่งชาติจะช่วยรักษาสภาวะสมดุลธรรมชาติ พร้อมกันนี้ รัฐบาลสนับสนุนให้ระบบการศึกษาไทยให้ความสำคัญกับการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม สร้างการตระหนักรู้ตั้งแต่เยาวชน ซึ่งเชื่อมั่นว่าจะส่งผลต่อการส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนในอนาคต” นางสาวรัชดาฯ กล่าว

'จนท.อุทยานฯ น้ำหนาว' หวิดดับคาป่า หลังดับไฟป่าจนฮีตสโตรก เพื่อนร่วมทีมช่วยหามลงเขาส่ง รพ. ตอนนี้ปลอดภัยแล้ว

(30 เม.ย. 67) นายสมเกียรติ กาติ๊บ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติน้ำหนาว รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติงานดับไฟป่าว่ามีเจ้าหน้าที่เป็นลมหมดสติขณะเข้าดับไฟป่า ชื่อนายสุริยนต์ คันศรี พนักงานราชการ ตำแหน่งคนงาน อายุ 53 ปี ที่เข้าป่าเพื่อตรวจสอบพื้นที่จุดความร้อน (Hotspot) และดับไฟป่าบริเวณห้วยทับโคก ตั้งแต่วันที่ 27 เมษายน 2567 ร่วมกับเจ้าหน้าที่สถานีควบคุมไฟป่าน้ำหนาว กำลังพลจำนวน 20 นาย

ต่อมาวันที่ 28 เมษายน 2567 คณะเจ้าหน้าที่ออกเดินทางต่อจนถึงพื้นที่เป้าหมายบริเวณห้วยทับโคกในเวลา 14.00 น.และเข้าทำการดับไฟป่าท่ามกลางสภาพอากาศที่ร้อนจัด ประกอบกับมีกลุ่มควันจำนวนมาก ทำให้นายสุริยนต์ คันศรี เกิดมีอาการหน้ามืด คลื่นไส้ อาเจียน และเป็นลมหมดสติ (อาการฮีตสโตรก) เพื่อนร่วมทีมจึงได้นำตัวออกจากพื้นที่ไฟไหม้เพื่อทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

หลังจากผู้ป่วยได้สติจึงได้แบ่งกำลังพลนำตัวออกจากพื้นที่เพื่อหาจุดที่มีสัญญาณวิทยุสื่อสารติดต่อขอความช่วยเหลือ แต่ด้วยสภาพพื้นที่เป็นภูเขามีความลาดชัน ทำให้การเคลื่อนย้ายตัวผู้ป่วยเป็นไปด้วยความยากลำบาก ทำให้เกิดความล่าช้า คณะเจ้าหน้าที่จึงได้พักแรมบริเวณลำห้วยหนองข้าวหลาม

จนเช้าวันที่ 29 เมษายน 2567 คณะเจ้าหน้าที่ได้เคลื่อนย้ายตัวผู้ป่วยจนมาถึงบริเวณลานนกแต้ ผู้ป่วยมีอาการทรุดลง ร่างกายอ่อนเพลียมาก ซึ่งจุดดังกล่าวมีสัญญาณมือถือ จึงได้ประสานหัวหน้าอุทยานฯ น้ำหนาวส่งรถกู้ชีพกู้ภัยประจำอุทยานฯ มารอรับตัวผู้ป่วย ณ บริเวณหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ นน.01 (ถ้ำห้วยประหลาด)

หัวหน้าอุทยานฯ น้ำหนาวได้ประสานประชาชนประจำจุดเฝ้าระวังไฟป่านำรถจักรยานยนต์เข้ารับตัวผู้ป่วยให้ออกจากพื้นที่โดยเร็ว พร้อมนำตัวผู้ป่วยมาส่งโรงพยาบาลเพื่อทำการตรวจร่างกาย แพทย์ได้รักษาโดยการฉีดยา และเจาะเลือด และให้พักอยู่ในห้องฉุกเฉินเพื่อรอฟังผลเลือด

ล่าสุดเช้านี้ (30 เม.ย. 67) หัวหน้าอุทยานฯ น้ำหนาวยืนยันว่าเจ้าหน้าที่อาการดีขึ้นตามลำดับ และอยู่ในความดูแลของแพทย์


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top