Friday, 26 April 2024
อุตสาหกรรมไทย

TOPIC 20 : ‘โควิด-สงคราม’ เอาไม่อยู่!! ภาคอุตสาหกรรมไทยโตต่อเนื่อง ในวันที่เครื่องยนต์เศรษฐกิจหลายตัวยังฟุบ!!

‘โควิด-สงคราม’ เอาไม่อยู่!! ภาคอุตสาหกรรมไทยโตต่อเนื่อง ในวันที่เครื่องยนต์เศรษฐกิจหลายตัวยังฟุบ!!

Click on Clear Original
โดย ปริม THE STATES TIMES (กุญชนิตา กุญชร ณ อยุธยา)
 

6 กลุ่มอุตสาหกรรมมาแรงในปี 2565 | UNLIMITED ประเทศไทย EP.1

กลุ่มอุตสาหกรรมไหน ที่กำลังเป็นเทรนด์และมาแรงสุด ๆ ในปี 2565
.
UNLIMITED ประเทศไทย เรื่องสนุกอุตสาหกรรม เข้าใจไวใน 3 นาที
ดำเนินรายการโดย ดร. ตั้น กฤชนนท์ อัยยปัญญา เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
.
🎥 ช่องทางรับชม
Facebook: THE STATES TIMES Y WORLD
YouTube: THE STATES TIMES Y WORLD
TikTok: THE STATES TIMES Y WORLD

จับตา!! 8 ปีข้างหน้า 50% ของรถยนต์ใหม่ EV ครองตลาด | UNLIMITED ประเทศไทย EP.2

คนไทยพร้อมหรือยังกับการเลือกใช้รถยนต์ไฟฟ้าในอนาคต
จับตา!! 8 ปีข้างหน้า 50% ของรถยนต์ใหม่ EV ครองตลาด
.
UNLIMITED ประเทศไทย เรื่องสนุกอุตสาหกรรม 
ดำเนินรายการโดย ดร. ตั้น กฤชนนท์ อัยยปัญญา เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
.
🎥 ช่องทางรับชม
Facebook: THE STATES TIMES Y WORLD
YouTube: THE STATES TIMES Y WORLD
TikTok: THE STATES TIMES Y WORLD
.
#UNLIMITEDประเทศไทย
#เรื่องสนุกอุตสาหกรรม
#อุตสาหกรรมไทย
#รถยนต์ไฟฟ้า
#รถEV

“อลงกรณ์” ตอบโจทย์ ”หอการค้า”-“สภาอุตสาหกรรมฯ.”ประเด็นนโยบายรัฐบาลใหม่และปัญหาตั้งรัฐบาลล่าช้า 

ยืนยัน”ประชาธิปัตย์”หนุนตั้งรัฐบาลเร็วป้องกันสูญญากาศการเมืองบั่นทอนเสถียรภาพประเทศ
พร้อมเดินหน้านโยบายสร้างเงินแก้หนี้แก้จนลดเหลื่อมล้ำเพิ่มศักยภาพคนยกระดับรายได้ประเทศอย่างยั่งยืนด้วยเศรษฐกิจระบบใหม่

นายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์และประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์พรรคในฐานะทีมเศรษฐกิจพรรคประชาธิปัตย์กล่าวถึงข้อเสนอเชิงนโยบายและข้อกังวลเรื่องการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ของนายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยและนายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)วันนี้ว่า พรรคประชาธิปัตย์ให้ความมั่นใจว่าจะช่วยให้การจัดตั้งรัฐบาลภายหลังการเลือกตั้งเป็นไปโดยราบรื่นภายใต้วิถีทางประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขไม่ว่าพรรคประชาธิปัตย์จะอยู่ในฐานะเสียงข้างมากหรือเสียงข้างน้อยเพื่อให้รัฐบาลใหม่เข้ามารับผิดชอบบริหารประเทศต่อไปโดยรวดเร็ว
ต้องไม่ให้เกิดสูญญากาศทางการเมืองที่จะมาบั่นทอนเสถียรภาพของประเทศ การเปลี่ยนผ่านรัฐบาลจะต้องเป็นไปอย่างราบรื่น”

สำหรับข้อเสนอแนะของภาคเอกชนส่วนใหญ่ตรงกับนโยบายเศรษฐกิจของพรรคประชาธิปัตย์และผลงาน4ปีที่พรรคประชาธิปัตย์ได้ดำเนินการมาในช่วงเป็นพรรคร่วมรัฐบาล รวมทั้งนโยบายใหม่ๆของพรรคประชาธิปัตย์ เช่น นโยบายเศรษฐกิจฐานราก นโยบายเศรษฐกิจทันสมัย นโยบายเศรษฐกิจมหภาค การตั้งเป้าหมายการเติบโตของ GDP ไม่ต่ำกว่า 5%ต่อปี  การอัดฉีดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจ1ล้านล้านเพื่อเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจโดยภาพรวม การยกระดับภาคการเกษตรด้วยเทคโนโลยีสู่เกษตรมูลค่าสูงโดยจัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรมทุกจังหวัดเป็นครั้งแรก , นโยบายตลาดนำการผลิต , การยกระดับภาครัฐสู่รัฐบาลดิจิตอล( Digital Government)เช่นนโยบายดิจิตอล ทรานฟอร์มเมชั่น (Digital Transformation)ของกระทรวงเกษตรฯ. การเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานด้านโลจิสติกส์เอื้อต่อการค้าและการลงทุน, การบริหารจัดการต้นทุนด้านพลังงาน การท่องเที่ยวที่มีคุณภาพมีการใช้จ่ายต่อหัวที่สูงและรักษาสิ่งแวดล้อม การเจรจาข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) กับประเทศต่างๆ โดยเฉพาะ RCEPและ Mini FTA การสร้างโอกาสจากการฟื้นสัมพันธ์กับประเทศต่างๆเช่นซาอุดีอาระเบียnการยกระดับการศึกษาด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่และโค้ดดิ้งก์(Coding) การพัฒนาแรงงานให้มีทักษะสูง,การสนับสนุนการใช้รถยนต์ไฟฟ้า (อีวี) และยานยนต์ไร้คนขับ การพัฒนาอีอีซี.และนโยบายบีซีจี.รวมทั้งการใช้พลังงานสะอาด

การดึงการลงทุนจากต่างประเทศ การคว้าโอกาสการย้ายฐานผลิต ทั้งจากจีนและยุโรปบางส่วนเนื่องจากโรงงานประสบปัญหาวิกฤติด้านพลังงาน

ปตท. จับมือ เมตรอน รุกธุรกิจแพลตฟอร์มบริหารจัดการพลังงาน หวังยกระดับอุตสาหกรรมไทย สู่ ‘อุตสาหกรรม 4.0’

เมื่อวันที่ 18 ต.ค. 66 ม.ล. ปีกทอง ทองใหญ่ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่หน่วยธุรกิจก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) เป็นประธานในพิธีลงนามสัญญาความร่วมมือในธุรกิจแพลตฟอร์มบริหารจัดการพลังงาน (Energy Management Platform) ระหว่าง บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และ บริษัท เมตรอน เอเชียแปซิฟิก จำกัด (เมตรอน) โดยมี นางสุณี อารีกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ตลาดค้าปลีกและวิศวกรรมก๊าซธรรมชาติ ปตท. และ Mr. Vincent Sciandra ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมตรอน เอเชียแปซิฟิก จำกัด เป็นผู้ลงนาม เพื่อขยายตลาดเอนเนอร์ยี่โซลูชั่นส์ในประเทศไทย ด้วยเทคโนโลยี Advanced Energy Intelligence Platform เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมไทย และตอบสนองนโยบายภาครัฐตามเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions)

ม.ล. ปีกทอง กล่าวว่า “ปตท. และ เมตรอน มุ่งมั่นในการพัฒนา Energy Management Platform เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าในการจัดการพลังงานให้กับลูกค้าภาคอุตสาหกรรมของ ปตท. ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น ลดต้นทุนและใช้พลังงานอย่างยั่งยืน โดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมการจัดการพลังงานขั้นสูงของเมตรอน เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมไทยสู่อุตสาหกรรม 4.0 และเป็นโอกาสในการต่อยอดธุรกิจ อีกทั้งเป็นการสนับสนุนนโยบายที่จะเพิ่มศักยภาพการแข่งขันด้านอุตสาหกรรมให้กับประเทศไทยในเวทีโลก”

Mr. Vincent เผยว่า “ความร่วมมือในครั้งนี้เป็นขยายตลาดการให้บริการระบบ Energy Management and Optimization Solution (EMOS) ในประเทศไทย ซึ่งเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เรามีความมุ่งมั่นและให้ความสำคัญกับการให้บริการและสนับสนุนด้าน Digital Solutions เพื่อให้ลูกค้าภาคอุตสาหกรรมของ ปตท. สามารถบริหารจัดการพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในกระบวนการผลิตอีกด้วย”

ทั้งนี้ ความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ระหว่าง ปตท. และ เมตรอน ถือเป็นการส่งเสริมประสิทธิภาพการใช้พลังงานและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในภาคอุตสาหกรรม โดยได้เริ่มใช้ระบบการจัดการพลังงานให้กับลูกค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม และกลุ่มอุตสาหกรรมเหล็กแล้ว ถือเป็นจุดเริ่มต้นของความร่วมมือเพื่อยกระดับมาตรฐานสำหรับการพัฒนาการจัดการพลังงานอย่างยั่งยืนของประเทศไทย

'รมว.พิมพ์ภัทรา' เปิดงานประจำปี สศอ. OIE Forum 2566 พลิกโฉมอุตสาหกรรมไทย เผยวาระเร่งด่วน 6 ด้าน หนุน 'ภาคอุตฯ - ผู้ประกอบการไทย' เติบโตอย่างยั่งยืน

(13 พ.ย. 66) นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดงานและปาฐกถาพิเศษในงานประจำปี OIE FORUM 2566 ครั้งที่ 15 'MIND : Set for Sustainability ปรับมุมคิด พลิกอุตสาหกรรมไทย สู่ความยั่งยืน' จัดโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เพื่อเปิดเวทีแลกเปลี่ยนแนวคิดในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไทยสู่การเติบโตที่ยั่งยืน เผยวาระเร่งด่วน 6 ด้านสำคัญเพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไทยให้เข้มแข็ง และเติบโตอย่างยั่งยืน พร้อมพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระยะยาว

รมว.พิมพ์ภัทรา กล่าวว่า ปัจจุบันเศรษฐกิจและสังคมโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและซับซ้อนมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ได้ส่งผลกระทบในวงกว้าง รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดด ความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศ การเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ การแข่งขันในภูมิภาคและสภาพเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าทั่วโลก รวมถึงความขัดแย้งด้านเศรษฐกิจและความมั่นคงระหว่างประเทศที่ยังยืดเยื้อ ทำให้ภาคเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทยอยู่ในภาวะที่ต้องเผชิญกับความท้าทายใหม่ๆ ตลอดเวลา

อย่างไรก็ตาม ภาพรวมเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทยในช่วงครึ่งหลังของปี 2566 มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นจากครึ่งปีแรก เป็นผลมาจากการขยายตัวของการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนในเกือบทุกหมวดสินค้า สอดคล้องกับการปรับตัวดีขึ้นของการจ้างงาน รวมทั้งผลจากการฟื้นฟูของภาคการท่องเที่ยวที่ส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมที่อยู่ในห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) เช่น อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ยารักษาโรค อุตสาหกรรมแฟชั่น เป็นต้น 

แต่การขยายตัวทางเศรษฐกิจยังมีปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ความขัดแย้งระหว่างประเทศ ตลอดจนภาระหนี้สินครัวเรือนและภาคธุรกิจที่อยู่ในระดับสูงท่ามกลางการเพิ่มขึ้นของภาระดอกเบี้ย ที่เป็นข้อจำกัดต่อการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศ และความสามารถในการชำระหนี้ของคนไทย โดยเฉพาะธุรกิจ SMEs ซึ่งจะมีการผลักดันเรื่องการพักหนี้ให้กับผู้ประกอบการ SME ตามนโยบายรัฐบาล โดยหาแนวทางการช่วยเหลือที่เหมาะสม เช่น การพักเงินต้น การพักดอกเบี้ย โดยไม่สร้างปัญหา Moral Hazard หรือการจงใจผิดชำระหนี้ของลูกหนี้ ขณะที่ ความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศได้ส่งผลกระทบต่อผลผลิต ภาคเกษตรและส่งผลต่อเนื่องมายังวัตถุดิบที่จะเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะพื้นที่อ่อนไหวสูงที่ต้องมีการบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพร่วมกันระหว่างภาคเกษตรกรรมและภาคอุตสาหกรรม รวมถึงการบริหารจัดการทรัพยากรอื่น ๆ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้อย่างทันท่วงที

ทั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมได้กำหนดนโยบายในการส่งเสริม สนับสนุนภาคอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการไทยทุกกลุ่มให้เติบโตอย่างมีคุณภาพ เพื่อเป็นฟันเฟืองขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ควบคู่กับการดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยกำหนดวาระเร่งด่วน 6 ด้านสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรม ประกอบด้วย...

1. อุตสาหกรรมเป้าหมาย เน้นอุตสาหกรรมที่จะเป็นอนาคตของประเทศ เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ครอบคลุมสินค้าที่เกี่ยวข้อง อาทิ การผลิตแบตเตอรี่ แผงวงจร 

2. อุตสาหกรรมเดิมที่มีศักยภาพสู่อุตสาหกรรมเศรษฐกิจ ภายใต้แนวคิด 'เศรษฐกิจนำอุตสาหกรรม' โดยนำมาตรฐาน ผลิตภาพ และนวัตกรรม มาเป็นเครื่องมือเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในอุตสาหกรรมที่ไทยมีศักยภาพ เช่น อุตสาหกรรมฮาลาล ผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางอาหารฮาลาลในภูมิภาค (Halal Hub) ควบคู่กับการขยายตลาดไปยังกลุ่มประเทศที่มีกำลังซื้อและเป็นฐานลูกค้ามุสลิมรายได้สูงของไทย รวมถึงยาและเครื่องสำอาง และสปาฮาลาล 

3. อุตสาหกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยการปรับปรุงกฎหมายและบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังและกำหนดมาตรฐานการปล่อยมลพิษในพื้นที่อุตสาหกรรมให้เข้มงวดขึ้น 

4. มุ่งสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล เพื่อให้การบริการ และการปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการปรับปรุงฐานข้อมูลภาคอุตสาหกรรมให้เป็นระบบ 

5. การส่งเสริมผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและสตาร์ตอัป ให้มีความเข้มแข็งและอยู่รอดได้ ภายใต้สถานการณ์ความเสี่ยงต่าง ๆ ด้วยการสนับสนุนองค์ความรู้ ผู้เชี่ยวชาญ เทคโนโลยี และแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ ผ่านกลไกของหน่วยงานภายในกระทรวง 

และ 6. การเตรียมพร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่อ่อนไหวสูงที่ต้องมีการบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพร่วมกันระหว่างภาคเกษตรกรรมและภาคอุตสาหกรรม 

ทั้งนี้ การดำเนินการตามแผนดังกล่าวจะส่งผลให้เศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทยมีทิศทางที่ดีขึ้น นำไปสู่การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระยะยาว สามารถนำพาประเทศไทยก้าวข้ามวิกฤตต่างๆ และเดินหน้าสู่การเติบโตอย่างยั่งยืนได้ในอนาคต

ด้านนายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า นโยบายของกระทรวงอุตสาหกรรมมุ่งสู่ 'อุตสาหกรรมเศรษฐกิจ' ที่ 'เติบโตอย่างยั่งยืนคู่ชุมชน' ใน 4 มิติ ได้แก่...

มิติที่ 1 ด้านความสำเร็จทางธุรกิจ 
มิติที่ 2 ความอยู่ดีกับสังคมโดยรวม 
มิติที่ 3 ความลงตัวกับกติกาสากล 
และมิติที่ 4 การกระจายรายได้สู่ชุมชนและสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน 

นอกจากนี้ เพื่อยกระดับการทำงานสู่รัฐบาลดิจิทัล กระทรวงอุตสาหกรรมได้เปิดแพลตฟอร์ม การบริหารจัดการศูนย์ข้อมูลกลางของกระทรวงอุตสาหกรรม (i-Industry) ให้ลูกค้าของกระทรวงอุตสาหกรรมลงทะเบียนเพื่อเข้าถึงบริการของกระทรวงในด้านต่าง ๆ ทั้งการอนุมัติ อนุญาต การชำระค่าธรรมเนียม การส่งเสริมพัฒนาให้คำปรึกษาทางธุรกิจ รวมถึงการรายงานข้อมูลการประกอบกิจการผ่านระบบ iSingleForm เพื่อนำมาใช้ในการวิเคราะห์ดัชนีอุตสาหกรรม ออกแบบนโยบายและสร้างกลไกการพัฒนาอุตสาหกรรมได้อย่างตรงประเด็น ประกอบกับการลงพื้นที่ตรวจสอบโรงงาน ภายใต้กฎหมายของกระทรวงอย่างเข้มข้น ครอบคลุม 4 ด้าน คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ เพื่อให้ผู้ประกอบกิจการมีการประกอบกิจการที่ดี ลดข้อขัดแย้งและขจัดปัญหาข้อร้องเรียนของชุมชนและสังคม

ด้านนางวรวรรณ ชิตอรุณ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กล่าวเสริมว่า สำหรับงานประจำปี OIE FORUM 2566 ถือเป็นกิจกรรมสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมาย จัดขึ้นต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี เข้าสู่ปีที่ 15 มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีนำเสนอมุมมอง และแลกเปลี่ยนแนวคิดในการขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยสู่การเติบโตที่สมดุลและยั่งยืน ตอบสนองเป้าหมายการพัฒนาตามยุทธศาสตร์ชาติ และการพัฒนาที่ยั่งยืนในระดับสากล โดยการจัดงานในครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมงานทั้งสิ้นกว่า 2,000 คน ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายทั้งผู้ประกอบการอุตสาหกรรม หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ภาคการศึกษา นักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ สื่อมวลชน ตลอดจนผู้สนใจทั่วไป แบ่งเป็นผู้เข้าร่วมงาน ณ สถานที่จัดงาน จำนวนกว่า 550 คน และผู้เข้าร่วมผ่านระบบออนไลน์ (Live Streaming) จำนวน 1,500 คน 

ทั้งนี้ ภายในงานประกอบด้วยกิจกรรมสำคัญ ได้แก่ การปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ 'ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไทย สู่เศรษฐกิจไทยที่ยั่งยืน' โดย รมว.พิมพ์ภัทรา วิชัยกุล, ผลการดำเนินงานของกระทรวงอุตสาหกรรม โดยปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รวมถึงเสวนาในหัวข้อ 'MIND : Set for Sustainability ปรับมุมคิด พลิกอุตสาหกรรมไทยสู่ความยั่งยืน' จากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากแวดวงอุตสาหกรรม 

นอกจากนี้ ยังมีการจัดนิทรรศการนำเสนอผลการดำเนินงานที่สำคัญของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม จำนวน 11 เรื่อง ตลอดจนการเสวนาออนไลน์ 3 หัวข้อย่อย เผยแพร่ต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 4 วัน โดยหัวข้อที่ 1 'Manpower : ยกระดับแรงงานยุคใหม่ พลิกอุตสาหกรรมไทยสู่ความยั่งยืน' หัวข้อที่ 2 'Empowering Innovation & Digital Transformation : เสริมพลัง สร้างอนาคตอุตสาหกรรมไทย' และหัวข้อที่ 3 'Next Moves to Net Zero : อุตสาหกรรมไทย ก้าวต่อไปสู่เป้าหมายโลก'

‘พิมพ์ภัทรา’ ชี้ภาพรวมอุตสาหกรรมไทย ต้องเร่งปรับตัวรับระเบียบโลกใหม่ ตามเทรนด์ความยั่งยืนและดิจิทัล ยัน!! รัฐมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ รับมือการเปลี่ยนแปลง

นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวภายหลังเป็นประธานและกล่าวปาฐกถาพิเศษในงานสัมมนาประจำปี OIE Forum 2566 ‘MIND: set for Sustainability ปรับมุมคิด พลิกอุตสาหกรรมไทยสู่ความยั่งยืน’ เมื่อวันที่ 13 พ.ย.2566 จัดโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) ว่า แนวโน้มการลงทุนภาคอุตสาหกรรมในครึ่งปีหลังที่มีนายกรัฐมนตรีทำหน้าที่เซลส์แมนประเทศเดินทางเจรจาเชิงรุกเชิญชวนนักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ในไทย ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการร่วมประชุมเอเปคที่สหรัฐ และติดตามความคืบหน้าการลงทุนที่สนใจเข้ามาตั้งฐานผลิตในไทย โดยเฉพาะพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) รวมถึงการเชิญชวนลงทุนในโครงการแลนด์บริดจ์ซึ่งจะเป็นเมกะโปรเจกต์โครงสร้างพื้นฐานใหม่ของประเทศ

โดยไทยมีความเข้มแข็งในเรื่องซัพพลายเชนในประเทศที่พัฒนาอย่างต่อเนื่อง มีมาตรการสิทธิประโยชน์ที่ส่งเสริมนักลงทุนใหม่ทั้งด้านภาษี และไม่ใช่ภาษี รวมถึงมาตรการที่สนับสนุนนักลงทุนในประเทศโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

สำหรับการลงทุนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (อีวี) ปัจจุบันมีรายใหม่ที่เข้ามาในประเทศไทย ทั้งค่ายรถยนต์และซัพพลายเชน โดยไทยจะยังดำเนินมาตรการสนับสนุนผู้ประกอบการยานยนต์เดิม และซัพพลายเชนในประเทศควบคู่กันไป

ทั้งนี้ สศอ. ได้ประมาณการอัตราการขยายตัวของดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) และอัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) อุตสาหกรรมปี 2567 จะขยายตัวได้ 2-3% เป็นผลมาจากการขยายตัวของการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนในเกือบทุกหมวดสินค้า สอดคล้องกับการปรับตัวดีขึ้นของการจ้างงาน รวมทั้งผลจากการฟื้นฟูของภาคการท่องเที่ยวที่ส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมที่อยู่ในห่วงโซ่คุณค่า เช่น อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ยารักษาโรค อุตสาหกรรมแฟชั่น เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ยังต้องจับตาปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ความขัดแย้งระหว่างประเทศภาระหนี้สินครัวเรือน และภาคธุรกิจที่อยู่ในระดับสูงท่ามกลางการเพิ่มขึ้นของภาระดอกเบี้ย ที่เป็นข้อจำกัดต่อการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศ และความสามารถในการชำระหนี้ของคนไทย โดยเฉพาะธุรกิจเอสเอ็มอีซึ่งจะมีการผลักดันเรื่องการพักหนี้ให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีตามนโยบายรัฐบาล โดยหาแนวทางการช่วยเหลือที่เหมาะสม เช่น การพักเงินต้น การพักดอกเบี้ย โดยไม่สร้างปัญหาการจงใจผิดชำระหนี้ของลูกหนี้ (Moral Hazard)

ขณะที่ ความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศได้ส่งผลกระทบต่อผลผลิตภาคเกษตร และส่งผลต่อเนื่องมายังวัตถุดิบที่จะเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะพื้นที่อ่อนไหวสูงที่ต้องมีการบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพร่วมกันระหว่างภาคเกษตรกรรม และภาคอุตสาหกรรม รวมถึงการบริหารจัดการทรัพยากรอื่นๆ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้อย่างทันท่วงที

‘นักวิจัย มข.’ เปลี่ยน ‘กากต้นเฉาก๊วย’ เป็น ‘เชื้อเพลิงอัดเม็ด-ตัวซับสารพิษ’ ช่วยลดปริมาณขยะฝังกลบ-ต่อยอดของเสีย สู่ ‘ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่า’

(9 ม.ค.67) มข.วิจัย ‘กากต้นเฉาก๊วย’ หนุนภาคอุตสาหกรรมไทย ต่อยอดจนนำไปสู่การสร้างขยะหรือของเสียให้มีมูลค่าเพิ่ม จนกลายเป็นผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิงอัดเม็ด และตัวดูดซับสารปนเปื้อนได้สำเร็จ ยกระดับจาก Zero waste ให้กลายเป็น Waste to value ได้สำเร็จ

มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) ภายใต้การอำนวยการของ รศ.นพ.ชาญชัยพาน ทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น รายงานถึงสถานการณ์ ท่ามกลางความพยายามในการจัดการกับของเสียหรือขยะจากภาคอุตสาหกรรม นักวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น ไม่เพียงเล็งเห็นถึงความสำคัญของการแก้โจทย์ปัญหา Zero waste แต่ยังต่อยอดจนนำไปสู่การสร้างขยะหรือของเสียให้มีมูลค่า หรือ Waste to value ซึ่งเป็นเทรนด์ของภาคอุตสาหกรรมทั่วโลกในขณะนี้ รศ.ดร.ยุวรัตน์ เงินเย็น อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับ น.ส.ฉัตรลดา ไชยวงค์ นักศึกษาปริญญาโท และทีมนักศึกษาปริญญาตรี จึงได้จับมือกับเฉาก๊วยแบรนด์ดังอย่าง “เฉาก๊วยเต็งหนึ่ง” นำกากต้นเฉาก๊วยซึ่งเป็นของเสียจากกระบวนการผลิตที่ถูกฝังกลบทิ้งไปอย่างเปล่าประโยชน์ปีละหลายพันตันมาเพิ่มมูลค่าจนกลายเป็นผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิงอัดเม็ด

รศ.ดร.ยุวรัตน์ เงินเย็น อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เปิดเผยว่า “ทีมวิจัยของเรานับเป็นที่แรกของโลกที่นำกากต้นเฉาก๊วยมาสร้างเป็นเชื้อเพลิงอัดเม็ดและตัวดูดซับสารปนเปื้อนได้สำเร็จ มีประสิทธิภาพสูง ใช้งานได้จริง ยกระดับจาก Zero waste ให้กลายเป็น Waste to value ได้สำเร็จ”ด้วยคุณสมบัติของกากต้นเฉาก๊วยที่ให้ค่าความร้อนที่สูงอยู่แล้ว การนำมาแปรรูปเป็น ‘เชื้อเพลิงอัดเม็ด’ จะยิ่งช่วยลดพื้นที่ในการจัดเก็บ รวมทั้งลดต้นทุนการขนส่ง ผลิตภัณฑ์ที่ได้ก็มีความแข็งแรงทนทานมาก และไม่ต้องใช้ตัวประสานในการอัดเม็ด จึงทำให้ลดต้นทุนในการผลิตต่างจากชีวมวลชนิดอื่น ทั้งยังมีคุณลักษณะเป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ด (มอก.) ไม่เพียงเชื้อเพลิงอัดเม็ด รศ.ดร. ยุวรัตน์ ยังชวนทำความรู้จักกับถ่านชีวภาพ (Biochar) และถ่านกัมมันต์ (Activated carbon) หรือชื่อที่หลายคนคุ้นเคย คือ ชาร์โคล ซึ่งเป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ

โดยทีมวิจัยได้นำกากต้นเฉาก๊วยมาผ่านกระบวนการสร้างรูพรุนด้วยการให้ความร้อนและสารเคมี เพื่อเพิ่มพื้นที่ผิวของวัสดุให้มีคุณสมบัติในการดูดซับ ก่อนจะพัฒนาเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในด้าน wastewater treatment โดยดูดซับไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) ที่ปนเปื้อนในแหล่งน้ำ และดูดซับสีย้อมเมทิลีนบลู (Methylene Blue Dye) ซึ่งเป็นสีย้อมที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมหลากหลายประเภท เพื่อลดมลพิษตกค้างในสิ่งแวดล้อม ‘ประสิทธิภาพของถ่านชีวภาพจากกากต้นเฉาก๊วยนั้นดียิ่งกว่าถ่านชีวภาพจากซังข้าวโพดหรือเมล็ดทานตะวันด้วย รวมถึงถ่านกัมมันต์จากวัสดุชีวมวลอีกหลาย ๆ ชนิด’

ทั้งนี้ รศ. ดร. ยุวรัตน์ กล่าวด้วยรอยยิ้มว่า ผลงานวิจัยที่ถูกสร้างสรรค์ออกมาเป็นผลิตภัณฑ์เหล่านี้ แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของพืชเฉาก๊วยที่ไม่น้อยไปกว่าชีวมวลชนิดอื่น ๆ โดยหลังจากนี้ ทีมวิจัยจะยังคงเดินหน้าพัฒนาผลิตภัณฑ์จากกากต้นเฉาก๊วยอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการนำขี้เถ้าที่เหลือภายหลังการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงอัดเม็ดจากกากต้นเฉาก๊วยมาทำให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น เช่น อาจนำมาสร้างเป็นอิฐบล็อกจากขี้เถ้ากาก ซึ่งต้องบูรณาการการทำงานกับคณะหรือสาขาอื่น ๆ เพื่อนำองค์ความรู้มาร่วมกันต่อยอดต่อไป ไม่ให้งานวิจัยหยุดอยู่เพียงบนหิ้งเท่านั้น

'รมว.ปุ้ย' เผยแนวทางสำคัญ พัฒนาอุตฯ ไทยสู่ความยั่งยืน ผ่าน The Journey of Sustainable Partnership 2024

กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดแนวทางพัฒนาอุตสาหกรรมไทย มุ่งเน้นความยั่งยืน ภายใต้ความท้าทายจากการเปลี่ยนแปลงของโลกทั้งในด้านเทคโนโลยี สภาพภูมิอากาศ และการแข่งขันทางการค้าระหว่างประเทศ พร้อมกำหนดนโยบายพัฒนาอุตสาหกรรมไทยใน 4 มิติ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่จะเป็นอนาคตของประเทศ

(15 ม.ค. 67) นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวปาฐกถาพิเศษ ‘ทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย’ กับ ‘พิมพ์ภัทรา’ ในงาน ‘The Journey of Sustainable Partnership 2024’ ถึงทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย ภายใต้ความท้าทายและโอกาส ว่า ปัจจุบันเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและมีความซับซ้อนมากขึ้น ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 สงครามในยูเครน และความขัดแย้งทาง ภูมิรัฐศาสตร์ ส่งผลให้ภาคอุตสาหกรรมไทยเผชิญกับความท้าทายหลายประการ ทั้งการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การแข่งขันในภูมิภาคที่รุนแรงขึ้น และความขัดแย้งทางการค้าระหว่างประเทศ อย่างไรก็ตาม กระทรวงอุตสาหกรรมได้กำหนดนโยบายในการส่งเสริมและพัฒนาภาคอุตสาหกรรมไทย เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ สู่ความยั่งยืน โดยให้ความสำคัญกับการสร้างความสำเร็จอย่างสมดุลใน 4 มิติ ทั้งด้านความสามารถในการแข่งขัน การได้รับการยอมรับจากชุมชนและสังคม การตอบโจทย์กติกาสากลด้านสิ่งแวดล้อม และการกระจายรายได้สู่ชุมชน ให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

นโยบายที่สำคัญของกระทรวงอุตสาหกรรม ได้แก่ การพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย เน้นอุตสาหกรรมที่จะเป็นอนาคตของประเทศ เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ อุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ อุตสาหกรรมชีวภาพ โดยเร่งพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการในประเทศเพื่อยกระดับการผลิต ให้สามารถแข่งขันในระดับภูมิภาคได้ พร้อมเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อุปทาน Value Chain ของโลก รวมทั้งสนับสนุนการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ในอุตสาหกรรมเหล่านี้

ขณะเดียวกันจะพัฒนาอุตสาหกรรมเดิมที่มีศักยภาพสู่อุตสาหกรรมเศรษฐกิจ โดยนำมาตรฐาน ผลิตภาพ และนวัตกรรม (SPRING) มาเป็นเครื่องมือเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน รวมถึงเชื่อมโยงกับภาคบริการ อาทิ อุตสาหกรรมรีไซเคิล อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ อุตสาหกรรมก่อสร้างที่มีนวัตกรรม (Innovative Construction) การผลักดันอุตสาหกรรม Soft Power ที่สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล เพื่อให้อุตสาหกรรมไทยเป็นเครื่องยนต์สร้างการเติบโตและรายได้ให้กับประเทศ รวมทั้งพัฒนาอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง กำหนดมาตรฐานการปล่อยมลพิษในพื้นที่อุตสาหกรรมให้เข้มงวดขึ้น ควบคู่กับการปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง เพื่อแก้ปัญหามลพิษทางน้ำ อากาศ และ กากของเสีย ขณะที่มาตรฐานความปลอดภัยในการประกอบกิจการต่างๆ จะผลักดันมาตรฐานอุตสาหกรรมเพื่อมุ่งสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล เพื่อให้การบริการ การขออนุมัติอนุญาต และการปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เป็นไปอย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ การให้บริการในรูปแบบ One Stop Service ต้องเข้าถึงและใช้งานง่าย มีความโปร่งใส เพื่อลดอุปสรรค และอำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และประชาชน

นอกจากนี้ ยังส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการและสตาร์ทอัพ ให้มีความเข้มแข็งและอยู่รอดได้ ภายใต้สถานการณ์ความเสี่ยงต่างๆ ด้วยการสนับสนุนองค์ความรู้ ผู้เชี่ยวชาญ เทคโนโลยี เตรียมพร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่อ่อนไหวสูงที่ต้องมีการบริหารจัดการน้ำอย่าง มีประสิทธิภาพร่วมกันระหว่างภาคเกษตรกรรมและภาคอุตสาหกรรม

“กระทรวงฯ ให้ความสำคัญกับโครงการสะพานเศรษฐกิจเชื่อมฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน (ชุมพร-ระนอง) (Landbridge) ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญที่จะสร้างโอกาสการลงทุนใหม่ๆ ให้กับประเทศไทย ช่วยเชื่อมโยงทางกายภาพระหว่างภาคใต้ของประเทศไทยกับประเทศในภูมิภาค รวมถึงประเทศจีนตอนใต้ เป็นช่องทางในการแลกเปลี่ยนสินค้า ซึ่งจะช่วยลดเวลาและระยะทางการขนส่งจากเดิม ทำให้ประหยัดต้นทุนการขนส่ง เพิ่มศักยภาพทางการค้าของประเทศไทยกับกลุ่มประเทศที่อยู่ทางด้านมหาสมุทรอินเดีย และมหาสมุทรแปซิฟิก อีกทั้งยังรองรับโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) เชื่อว่าหากทุกฝ่ายร่วมกันบูรณาการการทำงานอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ประเทศไทยจะมีศักยภาพรองรับการลงทุนมากขึ้นในอนาคต” นางสาวพิมพ์ภัทรา กล่าว

นายยุทธศักดิ์ สุภสร ประธานกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (บอร์ด กนอ.) กล่าวว่า กนอ. ตระหนักถึงความสำคัญของการลงทุนภาคเอกชนต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ในปี 2567 กนอ. จึงกำหนดแผนฟื้นฟูการลงทุน โดยลดบทบาทการเป็น regulator มาเป็น facilitator ที่มุ่งเน้นอำนวยความสะดวกและสนับสนุนผู้ประกอบการ ในทุกด้าน เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุน โดยแผนฟื้นฟูการลงทุนของ กนอ. ประกอบด้วย 1.การพัฒนาพื้นที่และโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมและพื้นที่เชิงพาณิชย์ใหม่ ๆ ให้พร้อมรับการลงทุน 2.ส่งเสริมการลงทุน โดยจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายและการตลาด เพื่อดึงดูดนักลงทุนจากทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงจัดหาแหล่งเงินทุนและสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการ 3.พัฒนาผู้ประกอบการด้วยการส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการไทยให้สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล และ 4.สร้างความยั่งยืนโดยเน้นพัฒนานิคมอุตสาหกรรมและชุมชนโดยรอบอย่างยั่งยืน ซึ่งคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและสังคมเป็นหลัก

นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการ กนอ. กล่าวว่า ผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมและท่าเรืออุตสาหกรรม เป็นคู่ค้าที่สำคัญของ กนอ. ที่ผ่านมาทุกฝ่ายให้ความร่วมมือในการบริหารจัดการนิคมอุตสาหกรรมและท่าเรืออุตสาหกรรม รวมทั้งบริหารจัดการสถานประกอบการให้อยู่ในมาตรฐานของ กนอ. ตลอดจนสร้างแรงงานที่มีศักยภาพ ไปจนถึงการสร้างห่วงโซ่อุปทานให้กับหลายกลุ่มอุตสาหกรรมของประเทศ เพื่อสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น งานในวันนี้ (15 ม.ค.67) จึงเป็นโอกาสในการต่อยอดธุรกิจ ทิศทางการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมของประเทศ รวมถึงการสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน เพื่อผลักดันนโยบายของรัฐบาลไปสู่ความเจริญเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืนทางด้านเศรษฐกิจและสังคมต่อไป ภายใต้แนวคิดที่ว่า นิคมอุตสาหกรรมอยู่คู่กับชุมชนและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

สำหรับงาน ‘The Journey of Sustainable Partnership 2024’ มีผู้เข้าร่วมกว่า 100 คน อาทิ น.ส.ศิรินันท์ ศิริพานิช ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงอุตสาหกรรม, นายดนัยณัฏฐ์ โชคอำนวย ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม, นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม, นายยุทธศักดิ์ สุภสร ประธานกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, นางอัญชลี ชวนิชย์ นายกสมาคมนิคมอุตสาหกรรมไทยและพันธมิตร ผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรม และผู้พัฒนานิคมอุตสาหกรรมร่วมดำเนินงาน เช่น บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน), บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน), บมจ. เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) และ บริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top