Friday, 3 May 2024
อีอีซี

สานพลังความร่วมมือ EEC Automation Park ปั้นโรงงาน 4.0 นำร่องผู้ประกอบการ 200 แห่ง ดึงดูดการลงทุน

อีอีซี จับมือ มิตซูบิชิและพันธมิตรเครือข่าย สานพลังความร่วมมือ ไทย-ญี่ปุ่น ในงาน EEC connecting Thailand and Japan Collaboration 2021 เดินหน้าอีอีซี ออโตเมชั่น พาร์ค ดึงผู้ประกอบการในพื้นที่กว่า 200 ราย นำร่องสู่อุตสาหกรรม 4.0 พร้อมสร้างบุคลากรรองรับ 15,000 คนใน 5 ปี ยกระดับให้ไทยก้าวสู่ยุคใช้นวัตกรรมขั้นสูง

(29 ก.ย. 64) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรือ อีอีซี ร่วมกับ บริษัท มิตซูบิชิ อิเลคทริก EEC Automation Park และเครือข่ายพันธมิตรภาคเอกชนไทย-ญี่ปุ่น จัดงาน EEC connecting Thailand and Japan Collaboration 2021 "Digital Manufacturing Platform" แสดงความพร้อมของ EEC Automation Park ที่จะเป็นฐานสำคัญ ขับเคลื่อนพัฒนาอุตสาหกรรมในพื้นที่ อีอีซี ก้าวสู่โรงงานอัจฉริยะ ตอบโจทย์การพัฒนากระบวนการผลิตที่ลดต้นทุน เพิ่มมูลค่า สร้างทักษะแรงงานอย่างเหมาะสมและคุ้มค่าต่อการลงทุน

โดยมี ดร.คณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการ อีอีซี, ดร.อภิชาต ทองอยู่ ประธานคณะทำงานประสานงานด้านการพัฒนาบุคลากร (EEC HDC), นายอัทสึชิ ทาเคทานิ ประธานองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น หรือ JETRO ร่วมกล่าวเปิดงาน พร้อมด้วย ดร.ชิต เหล่าวัฒนา ที่ปรึกษาพิเศษด้านพัฒนาการศึกษา บุคลากรและเทคโนโลยี สกพอ., นายวิเชียร งามสุขเกษมศรี กรรมการผู้จัดการ บริษัท มิตซูบิชิ อีเล็คทริค แฟคทอรี่ ออโตเมชั่น (ประเทศไทย) จำกัด และ ดร.ไพบูลย์ ลิ้มปิติพานิชย์ ผู้อำนวยการ EEC Automation Park และผู้ประกอบการญี่ปุ่นในไทยที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมกว่า 200 ราย เข้าร่วมงาน

ดร.คณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการ อีอีซี กล่าวว่า การจัดงานฯ ครั้งนี้ แสดงถึงความสัมพันธ์และเข้มแข็งของภาคเอกชนญี่ปุ่นในพื้นที่ อีอีซี ที่มีมายาวนาน และยังคงต่อเนื่องเดินหน้ายกระดับการผลิตภาคอุตสาหกรรมแบบดิจิทัล (Digital Manufacturing Platform) แม้จะเผชิญวิกฤตการณ์โควิด-19 ซึ่งนำโดย บ. มิตซูบิชิฯ ที่ริเริ่มแนวคิด e-F@ctory Alliance พร้อมพันธมิตรเครือข่ายร่วมพัฒนา EEC Automation Park ตั้งอยู่ที่มหาวิทยาลัยบูรพา ให้เป็นฐานหลักขับเคลื่อนการประยุกต์ใช้ Robotics & Automation สร้างความเชื่อมโยง Ecosystem เอื้อให้ภาคอุตสาหกรรมพัฒนาและปรับตัวไปสู่โรงงานอัจฉริยะใช้นวัตกรรมนำการผลิต เกิด Industry 4.0 ขึ้นจริงในพื้นที่ อีอีซี ดึงดูดเงินลงทุนนวัตกรรมขั้นสูงจากนักลงทุนทั่วโลก

โดยคาดว่า การลงทุนด้านหุ่นยนต์ และระบบอัตโนมัติ (Robotics & Automation) เป็นเครื่องมือสำคัญให้ภาคอุตสาหกรรมเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุนการผลิต ซึ่งคาดว่าใน 3 ปีข้างหน้า จะเกิดการลงทุนสูงถึง 500,000 ล้านบาท เป็นการลงทุนในพื้นที่ อีอีซี ไม่ต่ำกว่า 50,000 ล้านบาท/ปี โดยปี 2565 ตั้งเป้าหมายให้โรงงานในอีอีซี เริ่มประยุกต์ใช้เตรียมความพร้อมสำรวจการออกแบบระบบและเชื่อมหาแหล่งทุนได้ไม่น้อยกว่า 200 แห่ง และตั้งเป้าภายใน 5 ปี จะสามารถปรับสู่โรงงานอัจฉริยะใช้เทคโนโลยีขั้นสูง Digital Manufacturing 4.0 ไม่น้อยกว่า 10,000 โรงงาน ยกระดับภาคอุตสาหกรรมไทย เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในตลาดโลก ยกระดับรายได้แรงงานไทย ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นอย่างสมดุลและยั่งยืน   

สกพอ. ถกผู้แทนทูตฮังการี-รัสเซีย ชักชวนลงทุน อุตฯ เป้าหมาย

สกพอ. เร่งแผนการลงทุนระยะ 2 (ปี 2565 - 2569) เดินหน้าสานความร่วมมือนานาชาติ ถกผู้แทนทูตฮังการี และรัสเซีย จูงใจผู้ประกอบการลงทุนอุตสาหกรรมเป้าหมายในพื้นที่ อีอีซี 

นายเพ็ชร ชินบุตร รองเลขาธิการฯ สำนักงานคณะกรรมการเขตพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรือ อีอีซี เปิดเผยว่า ปัจจุบัน สกพอ. ได้มีการขับเคลื่อนแผนการลงทุนระยะ 2 (ระหว่างปี 2565 - 2569) ตั้งเป้าหมายให้เกิดการลงทุน 2.2 ล้านล้านบาท หรือปีละ 5 แสนล้านบาทต่อเนื่อง 5 ปี มุ่งเน้นดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติในอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถ การแข่งขันของประเทศ โดยตั้งแต่ต้นปี 2565 สกพอ. ได้มีการผลักดันให้มีการเจรจาทางธุรกิจระหว่างนักลงทุนต่างประเทศทั้งจากภูมิภาคเอเชีย ยุโรป และนักลงทุนไทย และเร่งนำเสนอแผนการลงทุน ให้คณะผู้แทนทางทูตประเทศกลุ่มเป้าหมายและประเทศที่มีความสนใจเข้ามาลงทุนในอีอีซี ได้รับทราบถึงสิทธิประโยชน์ต่างๆ และชักจูงให้เกิดการลงทุนร่วมกันต่อไป

โดยที่ผ่านมา สกพอ. ได้ให้การต้อนรับและหารือกับนายชานโดร์ ชีโปช เอกอัครราชทูตฮังการีประจำประเทศไทย นำเสนอข้อมูลความก้าวหน้าในการพัฒนาโครงการอีอีซี โอกาสการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย สิทธิประโยชน์ด้านการลงทุนและการอำนวยความสะดวกการลงทุนในพื้นที่ และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ รวมทั้งได้หารือถึงแนวทางการชักจูงการลงทุนจากภาคธุรกิจของฮังการีมายังพื้นที่อีอีซี ซึ่งมีความสนใจในเรื่องการบริหารจัดการน้ำ และการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ทั้งนี้ เอกอัครราชทูตฮังการีประจำประเทศไทย ได้แสดงความสนใจในการสร้างความร่วมมือกับ สกพอ. ในการชักจูงการลงทุนบริษัทเป้าหมายจากฮังการี และการจับคู่ทางธุรกิจกับภาคเอกชนไทย โดยทางสถานทูตฮังการีประจำประเทศไทยและ สกพอ. จะกำหนดสาขาความร่วมมือที่สนใจร่วมกันและชักจูงการลงทุนจากภาคเอกชนจากฮังการีต่อไป 

อวดไทยให้ต่างชาติมอง!! ‘นายกฯ’ กำชับเพิ่มศักยภาพพื้นที่อีอีซี ดันสู่ศูนย์กลางลงทุนในภูมิภาค

นายกรัฐมนตรี กำชับทุกภาคส่วนเร่งผลักดันให้ประเทศไทย โดยเฉพาะ EEC เป็นจุดหมายสำหรับนักลงทุนและนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก ด้าน ‘สุริยะ’ ย้ำความพร้อมรองรับการขยายตัวอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เชื่อหากโครงการฯ แล้วเสร็จจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถรองรับการขนถ่ายกลุ่มสินค้าเหลวและสินค้ากลุ่มพลังงาน

พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานกล่าวเปิด ‘โครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 (ช่วงที่ 1)’ ผ่านระบบออนไลน์ จากห้อง PMOC ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาลว่า โครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 (ช่วงที่ 1) เป็นการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานหลักที่สำคัญ 1 ใน 5 ของโครงการพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ซึ่งรัฐบาลให้ความสำคัญมาโดยตลอด มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้รองรับการขนถ่ายก๊าซธรรมชาติและวัตถุดิบเหลวสำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ตลอดจนรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมเหล็กครบวงจร และอุตสาหกรรมปุ๋ยเคมี

การดำเนินโครงการดังกล่าว ยังเป็นการยืนยันเจตจำนงของความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ในการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ซึ่งจะก่อให้เกิดการลงทุนในด้านต่าง ๆ ที่ครอบคลุมทุกมิติ ส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายทั้ง S-Curve และ New S- Curve สู่พื้นที่ EEC ทำให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นให้กับคนไทยทุกคน ทั้งนี้ หากโครงการดังกล่าวสำเร็จลุล่วงจะก่อให้เกิดประโยชน์ในพื้นที่ ในการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ทางน้ำ และเป็นประตูการค้าเชื่อมโยงกับประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคอาเซียนสู่เศรษฐกิจนานาชาติ ตลอดจนมีส่วนในการพัฒนาพื้นที่และท้องถิ่นให้เกิดการจ้างงาน สร้างเศรษฐกิจชุมชน เพิ่มรายได้แก่พี่น้องประชาชนในพื้นที่

ผมขอเน้นย้ำให้ทุกภาคส่วนเตรียมความพร้อมและใช้โอกาสในการเป็นเจ้าภาพเอเปคของไทย ผลักดันและส่งเสริมผลประโยชน์ต่อภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรม และประชาชนคนไทยในทุกด้าน ทำให้ EEC และประเทศไทยเป็นจุดหมายสำหรับนักลงทุน และนักท่องเที่ยวทั่วโลก เป็นฟันเฟืองสำคัญสร้างความเข้มแข็งให้แก่เศรษฐกิจไทยอย่างยั่งยืน อย่างไรก็ตาม การดำเนินโครงการต่าง ๆ รวมทั้งโครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ต้องคำนึงถึงความเชื่อมโยงในทุกมิติ สร้างสมดุลในทุกด้าน ทั้งการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรม และสิ่งแวดล้อม ตามแนวคิดเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว หรือ BCG Economy ทั้งนี้ ผมมั่นใจอย่างยิ่งว่า ความสำเร็จที่เกิดขึ้นในวันนี้จะเป็นแรงผลักดันสำคัญต่อการพัฒนาประเทศให้เกิดความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืนต่อไป” นายกรัฐมนตรี กล่าว

รัฐบาลยันเดินหน้าลงทุนอีอีซีต่อเนื่อง

นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) เปิดเผยภายหลังการประชุม กพอ. ที่มีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ว่า ที่ประชุมได้เน้นย้ำการลงทุนโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานหลักในอีอีซี ยังคงเดินหน้าต่อตามแผน เช่น โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินต้องทำให้เกิดขึ้นให้ได้ตามเป้าหมาย โดยดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมาย ไม่เอื้อประโยชน์ต่อบุคคลใด คำนึงถึงประโยชน์ที่ประชาชนและประเทศชาติจะได้รับเป็นสำคัญ 

พร้อมกันนี้ยังพิจารณาให้ สกพอ. ร่วมกับกองทัพเรือ และสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ สสปน. จัดงานแสดงสินค้านานาชาติด้านอุตสาหกรรมการบินในประเทศไทย (Thailand International Air Show) ในพื้นที่สนามบินอู่ตะเภา คาดว่าจะเปิดตัวอย่างเป็นทางการในปี 2568 สอดคล้องกับระยะเวลาเปิดบริการสนามบินนานาชาติอู่ตะเภา คาดว่าจะมีผู้ร่วมงานรวมประมาณ 5,425 คน และการจัดงานอย่างเต็มรูปแบบในปี 2570 จะมีผู้เข้าร่วมงานประมาณ 36,300 คน มีผู้เข้าแสดงงานประมาณ 1,240 ราย 

นอกจากนี้ยังรับทราบโครงการส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจชุมชนและผู้ค้ารายย่อยในอีอีซี นำเทคโนโลยีมาส่งเสริมสินค้าโอทอป (OTOP) เพิ่มศักยภาพการขยายช่องทางจำหน่ายให้ตรงตามความต้องการของตลาด อีกทั้งช่วยหาแหล่งเงินทุนให้ผู้ค้ารายย่อย ชุมชน พร้อมตั้งกลุ่มเป้าหมายและสินค้าที่นิยมในพื้นที่นำร่องอย่างน้อย 10 ชุมชน ได้แก่จังหวัดระยอง เช่น ทุเรียนทอดกรอบ เครื่องเงิน จังหวัดชลบุรี เช่น พุดดิ้งมะพร้าวอ่อน ข้าวกล้อง สบู่เปลือกมังคุด จังหวัดฉะเชิงเทรา เช่น มะม่วงน้ำดอกไม้ หมูแท่งอบกรอบ เป็นต้น 

อีอีซี แจงไม่เกี่ยวปมร้อน ท่อส่งน้ำภาคตะวันออก ชี้ เป็นอำนาจความรับผิดชอบ ‘กรมธนารักษ์’

ตามที่มีข่าวเกี่ยวกับ การประมูลท่อส่งน้ำ โครงการบริหารและดำเนินกิจการระบบท่อส่งน้ำสายหลักในภาคตะวันออก นั้น สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ขอให้ข้อมูลและข้อเท็จจริงว่า การประมูลท่อส่งน้ำ ดังกล่าว เป็นการดำเนินการตามภารกิจและภายใต้อำนาจของ กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง ในฐานะผู้ดูแลทรัพย์สินของรัฐ 

ทั้งนี้ คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ซึ่งมี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการ ขั้นตอน หรือการตัดสินใดๆ ต่อการประมูลโครงการบริหารและดำเนินกิจการระบบท่อส่งน้ำสายหลักในภาคตะวันออก แต่ประการใด 

บอร์ดอีอีซี คิกออฟสร้างรถไฟความเร็วสูง ต.ค.นี้ พร้อมเคาะแผนแม่บทเมืองอัจฉริยะ 1.3 ล้านล้าน

อีอีซี เคาะแผนแม่บทศูนย์ธุรกิจ - เมืองอัจฉริยะ วงเงิน 1.3 ล้านล้าน เพิ่มจุดแข็งโครงการอีอีซี พร้อมเตรียมคิกออฟก่อสร้าง รถไฟความเร็วสูง – สนามบินอู่ตะเภา ต.ค.นี้ หลังสามารถส่งมอบที่ดินให้เอกชนได้ 100%  

นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการ คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ที่มี นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ได้อนุมัติร่างแผนแม่บทและแผนการดำเนินงานโครงการศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหญ่น่าอยู่อัจฉริยะ วงเงินลงทุนประมาณ 1.34 ล้านล้านบาท โดยในขั้นตอนต่อไปหลังจากผ่านการเห็นชอบจากบอร์ดแล้ว เตรียมให้เสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ตามมาตรา 11 แห่ง พ.ร.บ. เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2561 ต่อไป 

สำหรับร่างแผนแม่บทโครงการศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ มีพื้นที่โครงการฯ ประมาณ 14,619 ไร่ ตั้งอยู่ในตำบลห้วยใหญ่ จังหวัดชลบุรี อยู่ในเขต สปก. ระยะเวลาพัฒนาโครงการ 10 ปี มีเงินลงทุนโครงการประมาณ 1.34 ล้านล้านบาท โดยโครงการลงทุนประกอบด้วย ภาครัฐลงทุนเรื่องที่ดินและโครงสร้างพื้นฐาน ระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการส่วนกลาง โดยมีการแบ่งพื้นที่เป็นโซนเพื่อให้เอกชนหรือรัฐวิสาหกิจเช่าที่ดินหรือร่วมลงทุนหรือลงทุนในกิจการด้านระบบสาธารณูปโภค หรือเอกชนเช่าพื้นที่ลงทุนด้านพื้นที่พาณิชย์  

ทั้งนี้ ประโยชน์ที่จะได้รับจากการสร้างเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะของ EEC คือสามารถรองรับประชากรได้ 350,000 คน ภายในปี 2575 รวมทั้งสร้างงานทางตรงไม่น้อยกว่า 200,000 ตำแหน่ง ภายในปี 2575 และมีมูลค่าการจ้างงานกว่า 1.2 ล้านล้านบาท มีธุรกิจและบริการมาตรฐานสากล มีวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) ประมาณ 150-300 กิจการ อีกทั้งยังเป็นเมืองที่มีมาตรฐานสิ่งแวดล้อมที่ดี ปลอดภัย สะดวกสบาย  มีระบบโครงสร้างพื้นฐาน การเชื่อมต่อระบบโครงข่ายคมนาคมอัจฉริยะที่สะดวกรวดเร็ว เป็นต้นแบบการพัฒนาเมืองเน้นความน่าอยู่ จะช่วยกระตุ้นการขยายตัว GDP เพิ่มขึ้นประมาณ 2 ล้านล้านบาท ภายใน 10 ปี สินทรัพย์ที่โอนกรรมสิทธิ์มาเป็นของรัฐเมื่อสิ้นสุดสัญญา 50 ปี จะมีมูลค่าเพิ่มประมาณ 5 เท่า 

นอกจากนี้ ที่ประชุมยังรับทราบความคืบหน้าการดำเนินการโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ 4 โครงการ โดยในส่วนของ 2 โครงการสำคัญที่จะออกหนังสือส่งมอบที่ดินให้กับเอกชนที่ชนะการประมูลในโครงการ (NTP) เพื่อจะก่อสร้างในเดือน ต.ค.นี้ ได้แก่

 

‘โครงสร้างพื้นฐาน - เขต EEC’ จุดเปลี่ยนประเทศ ดูดนักลงทุนต่างชาติทุ่มเงินลงทุนกว่าแสนล้านบาท

ต้องบอกว่า ปีนี้ประเทศไทยเนื้อหอมมากจริง ๆ เนื่องจากนักลงทุนหลาย ๆ เจ้ากำลังทยอยเข้ามาปักหลักปักธงทำธุรกิจในไทย ไม่ว่าจะเป็น BYD ที่ได้ลงหลักในเขต EEC ไปแล้ว ที่จะตามมาคือ MG, เกรท วอลล์ มอเตอร์ (GWM) หรือข่ายรถยนต์ไฟฟ้าจากประเทศซาอุดีอาระเบียที่ก็เล็ง ๆ ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตเช่นกัน ขอบอกเลยว่าไทยมีเสน่ห์สุด ๆ แถมยังสามารถดูดเงินลงทุนได้มาถึงแสนล้านบาทเลย

แต่ที่น่าสนใจอย่างยิ่งก็คือ นักลงทุนทั้งต่างชาติและจีน ที่เคยลงทุนในจีนนั้นกำลังเตรียมแผนย้ายฐานการผลิตออกจากจีนเพื่อไปลงทุนในประเทศอื่นแทน จึงเป็นเรื่องที่น่าจับตามองว่าเพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้จีนได้รับฉายาว่า ‘โรงงานของโลก’ เชียวนะ

สำหรับเรื่องนี้ ช่องยูทูบ ‘Property Expert Live’ ของคุณคิม ชัชวาลย์ วัฒนะโชติ ได้อธิบายไว้อย่างน่าสนใจ โดยสามารถสรุปใจความได้ว่า…

ปัจจัยที่ทำให้นักลงทุนมองหาฐานการผลิตนอกประเทศจีน ได้แก่

1. สงครามการค้า หรือ Trade War ระหว่างจีนกับสหรัฐฯ จึงทำให้การลงทุนในจีนแล้วส่งออกไปยังสหรัฐฯ นั่นมีอุปสรรคในด้านกำแพงภาษี รวมถึงสหรัฐฯ มีนโยบายกีดกันทางด้านเทคโนโลยีและการลงทุนในประเทศจีน จึงเป็นจุดที่ทำให้นักลงทุนรู้สึกไม่ปลอดภัยหากยังลงทุนในจีนต่อไป ไม่เพียงแต่นักลงทุนต่างชาติเท่านั้น แต่นักลงทุนจีนก็มองหาทางหนีทีไล่ไว้เช่นกัน

2. ราคาค่าแรง จากเดิมค่าแรงในจีนถูก จึงเป็ดจุดเด่นดึงดูดนักลงทุน แต่มีเศรษฐกิจขยายใหญ่ขึ้น มีรายได้มากขึ้น ค่าแรงก็เพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย 

3. นโยบาย Zero Covid-19 ที่เข้มงวด

4. นโยบายควบคุมด้านเศรษฐกิจ ที่มีวลีเท่ๆ ว่า ‘มั่งคั่งทั่วกัน’ ทว่านโยบายเหล่านี้ไม่ส่งเสริมด้านการลงทุน จึงทำให้บริษัทต่อชาติที่อยู่ในจีนทยอยปิด และออกมาลงทุนนอกประเทศจีน เช่น Apple ที่ก่อนหน้ามีฐานการผลิตที่จีน แต่ก็ย้ายฐานไปที่เวียดนามและอินเดียแทน รวมถึงบริษัทสัญชาติจีนก็ย้ายออกเช่นกัน

อีอีซี เปิดความสำเร็จ รวมพลังเครือข่ายพลังสตรีกว่า 600 คน สร้างการรับรู้คนในพื้นที่ เฝ้าระวังดูแลสิ่งแวดล้อม พร้อมร่วมพัฒนาสินค้าวิสาหกิจชุมชน สร้างงาน เพิ่มรายได้ให้คนอีอีซีต่อเนื่อง

วันนี้ (19 ม.ค. 2566) นายคณิศ แสงสุพรรณ ประธานที่ปรึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรืออีอีซี เข้าร่วมมอบนโยบายการดำเนินงานของเครือข่ายพลังสตรี อีอีซี ปี 2566 ภายในงานประชุมเชิงปฏิบัติการสรุปผลโครงการเสริมสร้างเครือข่ายการดูแลสิ่งแวดล้อม ชุมชน และเฝ้าระวังการใช้ประโยชน์ที่ดินตามแผนผัง อีอีซี (EEC Woman Power) โดยมีนายเกษมสันต์ จิณณวาโส ที่ปรึกษาพิเศษด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อีอีซี เป็นประธานในพิธี ร่วมด้วยนายธัชพล กาญจนกูล รองเลขาธิการสายงานพื้นที่และชุมชน อีอีซี เข้ามอบรางวัลเชิดชูเกียรติให้แก่เครือข่ายพลังสตรีอีอีซี จากพื้นที่อีอีซี 3 จังหวัด ที่เข้าร่วมงานฯ  ณ โรงแรมบางแสน เฮอริเทจ จังหวัดชลบุรี

​โครงการ เครือข่ายพลังสตรี อีอีซี นับเป็นโครงการสำคัญที่ อีอีซี ได้ดำเนินการมาต่อเนื่องจนเข้าสู่ปีที่ 4 ในปี 2566 นี้ เพื่อให้กลุ่มพลังสตรีใน 3 จังหวัด (ระยอง ชลบุรี ฉะเชิงเทรา) ที่เข้าร่วมโครงการฯ กว่า 600 คน เป็นกลไกสำคัญในการสร้างการรับรู้และความเข้าใจนโยบายต่างๆ ของอีอีซี และร่วมเป็นเครือข่ายในการดูแลเฝ้าระวังการใช้ประโยชน์ที่ดินในอีอีซี ให้สอดคล้องกับข้อกำหนดในแผนผังการใช้ประโยชน์ที่ดิน อีอีซี รวมถึงการยกระดับอาชีพ และผลิตภัณฑ์ชุมชนในพื้นที่ ซึ่งพลังสตรีได้มีส่วนร่วมในการสร้างงาน สร้างรายได้ให้แก่วิสาหกิจชุมชนให้ขายสินค้าท้องถิ่นได้เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย

อีอีซี จับมือไอคอนสยาม สนับสนุนสินค้าพรี่เมี่ยมท้องถิ่นยกระดับสู่ตลาดสากล บอกเล่าเรื่องราวอัตลักษณ์ชุมชน สร้างรายได้ให้คน อีอีซีอย่างยั่งยืน

(8 มิ.ย. 66) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรืออีอีซี ร่วมกับ บริษัท ไอคอนสยาม จำกัด จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) การส่งเสริมและสนับสนุนผลิตภัณฑ์    และการบริการของวิสาหกิจชุมชน และสินค้า ที่เป็นผลผลิตและบริการจากชุมชนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก มาจัดงานแสดงและจำหน่ายผลผลิต ในพื้นที่ของไอคอนสยาม โดยมี นายจุฬา สุขมานพ เลขาธิการ อีอีซี 

นายสุพจน์ ชัยวัฒน์ศิริกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไอคอนสยาม จำกัด ร่วมกันลงนาม และมีนางธัญรัตน์ อินทร รองเลขาธิการ อีอีซี นายไพรัช วิเศษศิริลักษณ์ ผู้บริหารสายงานบริการลูกค้า บริษัท ไอคอนสยาม จำกัด เป็นพยาน พร้อมด้วยพิธีเปิดกิจกรรมแสดง และจำหน่ายผลิตภัณฑ์หรือบริการที่เป็นผลผลิตจากชุมชน ในพื้นที่อีอีซี “Road to EEC Select ผลิตภัณฑ์ชุมชนสู่สากล” ณ เจริญนครฮอลล์ ชั้น M ไอคอนสยาม
 
​นายจุฬา สุขมานพ เลขาธิการ อีอีซี กล่าวว่า การลงนาม MOU ครั้งนี้ ทั้งอีอีซี และไอคอนสยาม ได้ร่วมมือกันสนับสนุนผลิตภัณฑ์และบริการจากชุมชนในเขตพื้นที่ อีอีซี เป็นที่รู้จักและยอมรับจากกลุ่มผู้บริโภคที่เป็นนักท่องเที่ยว และคนรุ่นใหม่ ผ่านภาพลักษณ์ของไอคอนสยามที่เป็นเสมือน Landmark สำคัญในการบอกเล่าวิถีชีวิต และความเป็นไทยสู่สายตานักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติในหลากหลายมิติ วันนี้นับเป็นก้าวแรกของความร่วมมือในการผลักดันผลิตภัณฑ์และบริการที่จะเข้าสู่การคัดเลือกและรับรอง EEC Select  ซึ่งนอกจากจะมีแหล่งกำเนิดในเขตพื้นที่ อีอีซี มีการพัฒนาต่อยอดด้วยนวัตกรรม เทคโนโลยี และองค์ความรู้ต่างๆ แล้ว ยังให้ความสำคัญกับกระบวนการผลิตที่มีมาตรฐาน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และชุมชน ให้มีช่องทางในการจำหน่ายที่ตอบสนองต่อวิถีชีวิตและไลฟ์สไตล์ของผู้คนในปัจจุบัน

​ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์ สินค้าและบริการเด่นๆ จากชุมชน ที่ได้รับการคัดเลือกเพื่อสร้างช่องทางจำหน่าย        ผ่านความร่วมมือจากศูนย์การค้าไอคอนสยาม ครั้งนี้ อีอีซี จะดำเนินการต่อยอดเข้าสู่โครงการคัดเลือกผลิตภัณฑ์ต้นแบบ (EEC SELECT) และพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ซึ่งเบื้องต้นจะทำการคัดเลือกผลิตภัณฑ์หรือบริการที่เป็นผลผลิตจากชุมชนที่อยู่ในพื้นที่อีอีซี ที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานตรงกับความต้องการของผู้บริโภค หรือได้ใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีที่น่าสนใจ ครอบคลุมหลายกลุ่มธุรกิจ อาทิ อาหาร-เครื่องดื่ม สิ่งทอแฟชั่น เฟอร์นิเจอร์และผลิตภัณฑ์จากไม้ อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องจักรและอุปกรณ์ เครื่องสำอาง ยาสมุนไพร เซรามิก เกษตรแปรรูป Smart Farming และธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ BCG เป็นต้น

สำหรับการจัดจำหน่าย ผลิตภัณฑ์หรือบริการของวิสาหกิจชุมชน และสินค้าจากชุมชนในพื้นที่อีอีซี ดังกล่าว จะเริ่มจัดกิจกรรมร่วมกับ ไอคอนสยาม ภายในงาน “Road to EEC Select ผลิตภัณฑ์ชุมชนสู่สากล” ณ เจริญนคร ฮอลล์ ชั้น M ไอคอนสยาม ระหว่างวันที่ 8 - 11 มิถุนายน 2566 ซึ่งอีอีซี จะขอเชิญชวน ให้นักช๊อปปิ้ง นักท่องเที่ยวทุกท่าน ร่วมหาซื้อผลิตภัณฑ์จากชุมชนในพื้นที่อีอีซี ซึ่งนอกจากจะได้ผลิตภัณฑ์หรือบริการ ในท้องถิ่นที่ได้มาตรฐานสูงระดับสากลแล้ว ยังเป็นการกระจายรายได้ให้แก่ชุมชนในพื้นที่อีอีซีอีกด้วย
 
ด้านนายสุพจน์ ชัยวัฒน์ศิริกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไอคอนสยาม จำกัด กล่าวว่า ไอคอนสยาม มีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะรวบรวมทุกสิ่งดีจากทั่วประเทศไทยนำเสนอสู่สายตาชาวโลก ในคอนเซ็ปต์ Co-Creation ซึ่งมีการผนึกกำลังสร้างสรรค์จากชุมชนท้องถิ่น 77 จังหวัดทั่วประเทศ ร่วมสร้าง Platform ธุรกิจ และพื้นที่เชิงวัฒนธรรม

โดยสร้างเครือข่ายที่แข็งแกร่งของผู้ประกอบการรายย่อยจากชุมชนระดับท้องถิ่น วิสาหกิจท้องถิ่น ศิลปินตัวจริง จากทุกภาคและองค์กรภาครัฐ เพื่อช่วยกันสร้างเมืองที่นำเสนอสินค้ายอดนิยมและวัฒนธรรมที่เป็นความภาคภูมิใจ -ของทุกจังหวัด ไอคอนสยามเป็น Platform ต่อยอดการพัฒนาสินค้า เรียนรู้กลไกการค้าปลีกและค้าส่ง สู่ต่างประเทศ การตลาดรูปแบบใหม่อย่างครบวงจร ถือเป็น Commercial Ecosystem ที่มีการบริหารจัดการสินค้าโดยมีผู้เกี่ยวข้องทั่วประเทศและผู้ได้รับประโยชน์ในวงกว้าง สร้างงานสร้างรายได้และนำเสนอคุณค่าของสิ่งขึ้นชื่อของประเทศไทย  
“สำหรับความร่วมมือ (MOU) การส่งเสริมและสนับสนุนผลิตภัณฑ์และการบริการของวิสาหกิจชุมชนและสินค้า OTOP ที่เป็นผลผลิตและบริการจากชุมชนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ในครั้งนี้ ไอคอนสยามพร้อมจะสนับสนุนเป็นช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์หรือบริการในท้องถิ่นที่เป็นผลผลิตจากชุมชนในพื้นที่อีอีซีดังกล่าว เพื่อสร้างโอกาสให้ผลิตภัณฑ์จากชุมชนสามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าชาวไทยและชาวต่างชาติ นอกจากนี้ ยังช่วยสนับสนุนต่อยอดความร่วมมือและสร้างตลาดการจัดจำหน่ายไปยังนักลงทุนที่สนใจทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์หรือภาคบริการในพื้นที่อีอีซี เพื่อสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน และประเทศต่อไปอีกด้วย” คุณสุพจน์ กล่าวเพิ่มเติม
มาร่วมอุดหนุนผลิตภัณฑ์และการบริการของวิสาหกิจชุมชน และสินค้า OTOP ที่เป็นผลผลิตและบริการ จากชุมชนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ภายในงาน“Road to EEC Select ผลิตภัณฑ์ชุมชนสู่สากล” ระหว่างวันที่ 8 - 11 มิถุนายน 2566 ณ เจริญนคร ฮอลล์ ชั้น M ไอคอนสยาม สอบถามข้อมูลโทร. 1338

อีอีซี เสริมพลังเยาวชน สร้าง EEC2 Young Leaders เยาวชนแกนนำ รักษาสิ่งแวดล้อมด้วยนวัตกรรม มุ่งสร้างประโยชน์ให้กับชุมชน

​เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2566 นางธัญรัตน์ อินทร รองเลขาธิการสายงานพื้นที่และชุมชนและสายงาน
เพิ่มประสิทธิภาพองค์กร สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.)  เป็นประธานเปิดโครงการเสริมศักยภาพเครือข่ายเยาวชนสิ่งแวดล้อมเพื่อพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี สแควร์ ณ ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง มีครูและเยาวชนจาก 6 โรงเรียน เข้าร่วมกิจกรรม จำนวนกว่า 50 คน โดยนางธัญรัตน์ อินทร เน้นย้ำให้เด็กๆ รู้จักโครงการสำคัญของ อีอีซี เพื่อพร้อมปรับตัวและพัฒนาทักษะรองรับอุตสาหกรรมแห่งอนาคต และนวัตกรรมใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้น และพัฒนาตนเองสู่นักนวัตกร เพราะอนาคต

เมื่อเทคโนโลยีเข้ามาเป็นกลไกสำคัญในกระบวนการผลิตย่อมส่งผลต่อการจ้างงาน การจ้างแรงงานไร้ฝีมือจะลดลง แต่จะเน้นบุคลากรที่มีสมรรถนะตรงกับเทคโนโลยีและกระบวนการผลิตที่เปลี่ยนไป สิ่งสำคัญคือความคิดสร้างสรรค์ การออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์ จะเป็นสมรรถนะที่มีความต้องการสูงมากในอนาคต  

​สำหรับโครงการ อีอีซี สแควร์ ได้ดำเนินการพัฒนาเยาวชนต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2562 โดยในปี 2566 ได้จัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างทักษะและศักยภาพเยาวชน อีอีซี สแควร์ ให้เป็น “เยาวชนแกนนำ” ระหว่างวันที่ 22-23 กรกฎาคม 2566 โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนานวัตกรรมเพื่อป้องกันปัญหาจากสิ่งแล้วล้อมมากกว่าแก้ไข ซึ่งมีกิจกรรมการเรียนรู้ด้านการเกษตร และใช้นวัตกรรมแปรรูปสินค้าเกษตรเพื่อเพิ่มมูลค่า ณ ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง และการศึกษาดูงานที่เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EECi จังหวัดระยอง เกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมายกระดับผลิตภัณฑ์ในพื้นที่ อีอีซี เพื่อให้เยาวชนได้เก็บเกี่ยวความรู้และประสบการณ์ ซึ่งครูและเยาวชนให้ความสนใจอย่างมากและพร้อมจะนำประสบการณ์ที่ได้จากการเข้าร่วมโครงการ ไปขยายผลคิดริเริ่มโครงการเพื่อพัฒนาชุมชนของตนเอง ต่อไป


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top