Sunday, 19 May 2024
อินโดแปซิฟิก

เปิดข้อเท็จจริง!! ยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิก โดยโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ

จากคำขอของพี่นวลอนงค์ สุวรรณเรือง ซึ่งบอกมาว่า “อาจารย์คะ รบกวนเล่าที่มาของสนธิสัญญา อินโด-แปซิฟิก หน่อยได้มั้ยคะ ขอบคุณค่ะ” ซึ่งเรื่องนี้ผมก็ได้เล่าถึงองค์การ SEATO ซึ่งเปรียบเสมือนองค์การ NATO แห่งภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (แต่แทบจะไม่มีบทบาทอะไรเลย) จนยุบเลิกไปในที่สุด โดยเรื่องนี้ถือว่าเป็นเรื่องราวส่วนแรกของ ‘ยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิก’ ครับ

ฉะนั้นสำหรับบทความรอบนี้ จึงขอเล่าเรื่องราวส่วนที่สอง อันเป็นภาคจบด้วยข้อเท็จจริงของ ‘ยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิก’ ซึ่งได้ขอความอนุเคราะห์มาจาก ท่านหน่อย ‘ธานี แสงรัตน์’ อธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ท่านเป็นเพื่อนของรุ่นน้องที่สนิทสนมกัน และราว 30 ปีก่อนเคยไปเยี่ยมท่านที่ขณะเป็นนักศึกษาปริญญาโท University of Pittsburgh  

ถ้าพร้อมแล้ว ก็มาเริ่มกันเลยครับ...

ในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2518 รถถังของเวียดนามเหนือสนธิกำลังกับเวียดกงชนประตูรั้วเข้าไปในทำเนียบประธานาธิบดีเวียดนามใต้

แต่ก่อนที่จะไปถึงเรื่องราวข้อเท็จจริงของยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิกที่มาจากโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ต้องเล่าถึงเหตุการณ์หลังจากความพ่ายแพ้ของทุกรัฐบาลในอินโดจีนที่สหรัฐฯ สนับสนุน และเหตุการณ์ต่อจากนั้นกระทั่งถึงยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิกในยุคปัจจุบันกันก่อน 

ในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2518 เมื่อรถถังของเวียดนามเหนือสนธิกำลังกับเวียดกงชนประตูรั้วเข้าไปในทำเนียบประธานาธิบดีเวียดนามใต้อันเป็นการแสดงถึงชัยชนะต่อรัฐบาลเวียดนามใต้ที่สนับสนุนโดยสหรัฐฯ และสหรัฐฯ ต้องถอนกำลังออกจากสามประเทศอินโดจีน อันได้แก่ ลาว, กัมพูชา และเวียดนามใต้ อย่างบอบช้ำ และชัยชนะดังกล่าวทำให้ทั้งสามประเทศสถาปนาตัวเองเป็นประเทศสังคมนิยมคอมมิวนิสต์โดยสมบูรณ์

แต่หลังจากชัยชนะของฝ่ายคอมมิวนิสต์ ที่เกิดขึ้นทั้งในสามประเทศไม่นาน ก็ดันเกิดความขัดแย้งด้วยอาวุธระหว่างสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามและกัมพูชาประชาธิปไตย โดยสงครามเริ่มขึ้นด้วยการปะทะตามพรมแดนทางบกและทางทะเลของเวียดนามและกัมพูชาระหว่าง พ.ศ. 2518 ถึง 2520 

ต่อมาในวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2521 เวียดนามเริ่มปฏิบัติการรุกรานกัมพูชาเต็มขั้นและยึดครองประเทศได้หลังล้มล้างรัฐบาลเขมรแดง โดยวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2521 ทหารเวียดนาม 150,000 นาย บุกเข้ายึดครองกัมพูชาประชาธิปไตย และสามารถชนะกองทัพปฏิวัติกัมพูชาได้ในเวลาเพียงสองสัปดาห์

วันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2522 มีการจัดตั้งสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชาที่นิยมเวียดนามในกรุงพนมเปญ อันเป็นจุดเริ่มต้นของการยึดครองกัมพูชาของเวียดนามยาวนานนานสิบปี แต่ระหว่างการยึดครองนั้นรัฐบาลกัมพูชาประชาธิปไตยของเขมรแดงยังคงได้รับการรับรองโดยสหประชาชาติว่าเป็นรัฐบาลโดยชอบธรรมของกัมพูชา พร้อมทั้งมีการจัดตั้งกลุ่มต่อต้านติดอาวุธหลายกลุ่มขึ้นเพื่อสู้รบกับการยึดครองของเวียดนาม 

นายกรัฐมนตรีฮุน เซน แห่งรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชา ซึ่งนิยมเวียดนาม ได้พยายามเจรจากับรัฐบาลผสมกัมพูชาประชาธิปไตย เพื่อเริ่มการเจรจาสันติภาพ ภายใต้แรงกดดันทางการทูตและเศรษฐกิจอย่างหนักจากประชาคมนานาชาติ รัฐบาลเวียดนามจึงเริ่มนำการปฏิรูปนโยบายเศรษฐกิจและต่างประเทศหลายอย่างมาใช้ และนำไปสู่การถอนตัวออกจากกัมพูชาในเดือนกันยายน พ.ศ. 2532 

ในระหว่างการยึดครองกัมพูชาของเวียดนาม มีเหตุการณ์สำคัญต่างๆ เกิดขึ้นหลายครั้ง อาทิ 17 กุมภาพันธ์ - 16 มีนาคม พ.ศ. 2522 จีนได้การโจมตีเวียดนามตามแนวชายแดนจีน-เวียดนาม และจีนสามารถยึดครองเมืองเกาบังได้ในวันที่ 2 มีนาคม และเมืองลาวเซินในวันที่ 4 มีนาคม จากนั้นมุ่งหน้าต่อไปยังกรุงฮานอย แม้การส่งกำลังบำรุงไม่ดีพอ แต่อีกไม่กี่วันต่อมากองกำลังของจีน ก็สามารถเข้าสู่เวียดนามตอนเหนือและยึดเมืองต่างๆ ของเวียดนามได้หลายเมืองใกล้ชายแดน กระทั่ง วันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2522 ประเทศจีนประกาศว่า ประตูสู่กรุงฮานอยได้ถูกเปิดออกแล้ว และสรุปว่า ภารกิจลงโทษลุล่วงแล้ว ก่อนถอนทหารทั้งหมดออกจากประเทศเวียดนาม โดยทั้งประเทศจีนและเวียดนามต่างอ้างชัยชนะในสงครามครั้งนี้

ในส่วนของประเทศไทยเอง ก็ได้รับผลกระทบจากการยึดครองกัมพูชาของเวียดนาม โดยเกิดเหตุปะทะชายแดนไทย-เวียดนาม ด้วยกองกำลังทหารกัมพูชาส่วนใหญ่ที่ได้อพยพมาอยู่ทางด้านตะวันตกและตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ ซึ่งติดกับชายแดนไทย โดยมีกลุ่มกัมพูชาติดอาวุธที่ต่อต้านการยึดครองของเวียดนามอยู่ 3 กลุ่ม คือ...

(1) กลุ่มกัมพูชาประชาธิปไตย (Democratic Kampuchea) หรือกลุ่มเขมรแดงของ พล พต และเขียว สัมพันธ์ มีสมาชิกประมาณ 40,000 นาย มีฐานที่ตั้งอยู่บริเวณพนมกระวันและบริเวณตะวันตกของจังหวัดพระตะบอง

(2) กลุ่มแนวร่วมปลดปล่อยชาติเขมร (Khmer People’s National Liberation Front - KPNLF) ภายใต้การนำของซอนซาน มีสมาชิกประมาณ 4,000 นาย 

และ (3) กลุ่มพรรคฟุนซินเปก (Front d"union national pour un Cambodge independant, pacifiaue et cooperatif - FUNCINPEC) ภายใต้การนำของสมเด็จนโรดม สีหนุ กลุ่มต่อต้านทั้งสามกลุ่มนี้มีฐานกองกำลังใกล้กับชายแดนไทยเพื่อง่ายต่อการหลบหนีเมื่อถูกกำลังเวียดนามบุกเข้าโจมตี กำลังกัมพูชาก็หลบหลีกเข้าสู่ดินแดนไทย ในการนี้เวียดนามเห็นว่าไทยยินยอมให้ชาวกัมพูชาฝ่ายต่อต้านใช้พื้นที่เป็นที่หลบหนีและคุ้มกันการโจมตีของกำลังเวียดนามและกำลังของเฮง สัมริน

หลายครั้งที่การโจมตีของกำลังเวียดนามต่อกลุ่มกัมพูชาติดอาวุธที่ต่อต้านการยึดครองของเวียดนามทั้ง 3 กลุ่ม มักมีการรุกล้ำอธิปไตยของไทย ซึ่งขณะนั้นถือได้ว่ากองทัพไทยหากเปรียบเทียบกับกองทัพเวียดนามแล้ว ต้องบอกว่าว่าเทียบกันไม่ติด เนื่องจากกองกำลังทางทหารของฝ่ายไทยไม่เคยผ่านการรบมาก่อนหรือถ้าผ่านก็เป็นการรบแบบสมัยใหม่ ซึ่งมีแนวทางในปฏิบัติการรบแบบสหรัฐอเมริกา แตกต่างกับเวียดนาม

พิจารณาได้จากกองกำลังของเวียดนามซึ่งมีทักษะในการรบที่ดีกว่า และรู้วิธีการรบแบบกองโจร แถมทหารของเวียดนาม ก็ยังมีประสบการณ์รบจากสงครามเวียดนาม 

โดยขณะที่เวียดนามบุกกัมพูชานั้น กองกำลังทางทหารของเวียดนามมีจำนวน 875,000 นาย โดยที่ยังไม่รวมกำลังทหารของฝ่ายเฮง สัมริน ที่ไม่ทราบจำนวนที่แน่นอน ภายใต้ยุทธวิธีการรบแบบกองโจร และการรบแบบสมัยใหม่ 

ส่วนฝ่ายไทยนั้นมีประสบการณ์เพียงเรื่องการปราบปรามกองโจร และมีกำลังทหารหน่วยที่ผ่านสงครามในลาวและเวียดนาม แต่ก็ชำนาญการรบตามหลักนิยมของกองทัพสหรัฐฯ ซึ่งต้องอาศัยอำนาจการยิงที่เหนือกว่า จึงจะทำการรบได้ 

นอกจากนี้เวียดนามยังมีอาวุธของสหรัฐฯ ที่เหลือทิ้งไว้จากยุคสงครามเวียดนามอยู่มาก รวมทั้งในระหว่างปี พ.ศ. 2521 - 2531 นี้ เวียดนามก็ได้รับความช่วยเหลือทางทหารจากสหภาพโซเวียตเป็นจำนวนมหาศาล เพื่อพัฒนากองทัพให้ทันสมัย และเพื่อการปราบปรามฝ่ายต่อต้านในกัมพูชา จึงกล่าวได้ว่า ไทยมีขีดความสามารถที่ด้อยกว่าเวียดนามอยู่มาก 

ทั้งนี้ ข้อตกลงสันติภาพปารีส การเจรจาสันติภาพยังคงดำเนินต่อไป โดยการประชุมสันติภาพปารีสเกี่ยวกับกัมพูชาครั้งแรกจัดขึ้นใน พ.ศ. 2532 หลังจากการถอนทหารเวียดนาม ต่อมาในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2533 ได้จัดการประชุมจาการ์ตาครั้งที่สาม และจัดตั้งสภาสูงสุดแห่งชาติกัมพูชา เพื่อรับรองอำนาจอธิปไตยของกัมพูชา ในเวลาเดียวกัน ฮุน เซนได้เปลี่ยนชื่อพรรคปฏิวัติประชาชนกัมพูชามาเป็นพรรคประชาชนกัมพูชา

‘มะกัน’ พล่าน!! หวั่นจีนแผ่อิทธิพลผ่านอ่าวไทย หลังสะพัด!! ซุ่มปักธงฐานทัพเรือลับในกัมพูชา

(8 มิ.ย.65) สำนักข่าว Washington Post รายงานว่า จีนเตรียมเปิดฐานทัพเรือของตนในท่าเรือเรียม ประเทศกัมพูชาอย่างลับๆ หลังจากที่ซุ่มวางแผนพัฒนาท่าเรือริมฝั่งอ่าวไทยมานาน และเตรียมจะทำพิธีวางศิลาฤกษ์ภายในสัปดาห์นี้ 

ทั้งนี้สื่อสหรัฐฯ ได้อ้างอิงจากแหล่งข่าววงในของรัฐบาลกัมพูชา ถึงแผนการปักธงยุทธศาสตร์ในทะเลจีนใต้ ที่เลือกใช้ท่าเรือของกัมพูชาในอ่าวไทยตั้งฐานทัพเรือ ภายหลังจากที่ก่อนหน้านี้รัฐบาลจีนได้เซ็นข้อตกลงด้านความมั่นคงกับประเทศหมู่เกาะโซโลมอนไปแล้ว ไว้ว่า ส่วนหนึ่งมาจากความไม่ประสบผลสำเร็จใจการเจรจากับกลุ่มประเทศในแปซิฟิกอีก 10 ชาติ เมื่อปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมานั้น

และหากจีนทำได้สำเร็จ ท่าเรือเรียมจะกลายเป็นฐานทัพจีนแห่งแรกในย่านอินโด-แปซิฟิก และเป็นฐานทัพเรือแห่งที่สอง นอกดินแดนของจีนต่อจากฐานทัพที่ประเทศจิบูตี ด้านชายฝั่งแอฟริกาตะวันออก รวมถึงจีนจะขยับสร้างเครือข่ายอิทธิพลด้านการทหารผ่านโครงการฐานทัพเรือลับในอีกหลายประเทศทั่วโลกอีกด้วย

สำหรับโครงการฐานลับเรือลับจีน เคยมีรายงานข่าวมาตั้งแต่ช่วงปี 2019 ที่จีนได้ตกลงกับรัฐบาลกัมพูชาในด้านความร่วมมือทางทหาร โดยแลกกับการให้จีนได้ใช้พื้นที่ในการตั้งฐานทัพเรือได้อย่างลับ ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างกัมพูชา และ สหรัฐฯ ไม่น้อย แต่โครงการนี้ก็เงียบไปจนกระทั่งกลายเป็นข่าวขึ้นมาในวันนี้ 

แต่หลังจากที่สื่อสหรัฐฯ รายงานข่าวความคืบหน้าในโครงการฐานทัพเรือลับที่ท่าเรือเรียมไม่นาน นายไพ สีพัน หัวหน้ากองโฆษกรัฐบาลกัมพูชา ก็ออกมาปฏิเสธว่า “ไม่เป็นความจริง” โดยทางรัฐบาลกัมพูชาไม่ได้อนุญาติให้จีนใช้กัมพูชาตั้งฐานทัพ หรือมีพิธีวางศิลาฤกษ์ดังที่มีการกล่าวอ้าง หากแต่เป็นเพียงการเปิดโรงงานซ่อมบำรุงเรือรบ และก่อสร้างทางลาดเท่านั้น 


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top