Sunday, 19 May 2024
หมอมนูญ

‘หมอมนูญ’ ชี้ ‘โอมิครอน’ ระบาดในไทยแน่ แต่เชื่อเป็นวัคซีนธรรมชาติ ไม่ต้องฉีดเข็ม 3 เข็ม 4

วันที่ 4 ม.ค. 65 - นพ.หมอมนูญ ลีเชวงวงศ์ แพทย์เฉพาะทางด้านโรคระบบการหายใจ ให้ข้อคิดเห็นผ่านเฟซบุ๊ก ‘หมอมนูญ ลีเชวงวงศ์ FC’ โดยระบุว่า ประเทศไทยกำลังจะเข้าสู่การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 2 ปี หลังวันหยุดยาวเทศกาลปีใหม่นี้ตัวเลขผู้ติดเชื้อจะก้าวกระโดดหลายหมื่นคนแต่ละวันในไม่ช้า แต่คนไทยไม่ต้องตื่นตระหนกตกใจมากเกินไป 

เชื้อไวรัสโควิด-19 กลายพันธุ์โอมิครอน มีวิวัฒนาการเปลี่ยนไปจากเดิมมาก ปรับตัวเองให้เข้ากับคนได้ดียิ่งขึ้น แพร่จากคนสู่คนง่ายขึ้น ลดระยะฟักตัว และเปลี่ยนจากการก่อให้เกิดโรคทางเดินหายใจอักเสบทั้งส่วนบนและส่วนล่างรุนแรงเฉียบพลัน กลายเป็นเชื้อโคโรนาไวรัสที่ทำให้เกิดหวัดเล็กธรรมดา ไม่รุนแรง เป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน ไม่ค่อยลงปอด เหมือนกับเชื้อโคโรนาไวรัสที่เรารู้จักมานานอย่างน้อย 50 ปีแล้ว ได้แก่ human coronavirus-229 E, human coronavirus-NL63, human coronavirus-OC43 และ human coronavirus-HKU1 

เชื้อโคโรนาไวรัสดั้งเดิม 4 ชนิดนี้ก่อให้เกิดโรคหวัดธรรมดาในเด็ก เป็นเองหายเอง ส่วนผู้ใหญ่มักไม่ติดเชื้อนี้ เพราะมีภูมิต้านทานตามธรรมชาติเนื่องจากเกือบทุกคนเคยติดเชื้อนี้มาแล้วสมัยเป็นเด็ก ถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีวัคซีนป้องกันเชื้อโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ดั้งเดิม

‘ดร.อนันต์’ แย้ง ‘หมอมนูญ’ ปม ‘โอมิครอน’ ชี้ ติดเชื้อแล้วมีภูมิจริง - แต่ไม่ใช่วัคซีน

จากกรณี นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินหายใจ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ โพสต์เฟซบุ๊ก หมอมนูญ ลีเชวงวงศ์ FC ระบุถึงสถานการณ์โควิด-19 ว่า ประเทศไทยกำลังจะเข้าสู่การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 2 ปี พร้อมระบุว่า หลังการระบาดของเชื้อโอมิครอนครั้งใหญ่ จะเกิดภูมิคุ้มกันหมู่ เปรียบเสมือนวัคซีนธรรมชาติ อนาคตไม่ต้องมาฉีดวัคซีนกระตุ้นเข็ม 3 เข็ม 4 กันอีก 

ล่าสุด เฟซบุ๊ก “Anan Jongkaewwattana” ของ ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้โพสต์แย้งว่า ถ้าเป็นเช่นนั้นจริงๆ ทำไมไม่เร่งแยกเชื้อโอมิครอนมาฉีดให้ประชาชนหล่ะครับ ได้เชื้อบริสุทธิ์ ปริมาณเหมาะสมด้วย เป็นวัคซีนที่ต้องการอยากได้ไงครับ

'หมอมนูญ' ฟันธง 'โอมิครอน' ติดทุกคน แต่ฉีดวัคซีนครบ อาการเหมือนหวัดธรรมดา

วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565 นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ แพทย์เฉพาะทางด้านโรคระบบการหายใจ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก หมอมนูญ ลีเชวงวงศ์ FC ระบุว่า ไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน เป็นไวรัสที่ติดกันง่ายที่สุด ง่ายกว่าเชื้อโรคทางเดินหายใจทุกชนิดในโลก ไม่น่าแปลกใจที่ทุกคนในโลกนี้ไม่ช้าก็เร็วจะได้รับเชื้อโอมิครอน

ถึงแม้ว่าเราจะใส่หน้ากาก 2 ชั้น ก็ยังมีโอกาสติดได้ มีหนทางเดียวต้องใส่หน้ากากชนิด N95 ตลอดเวลาซึ่งเป็นไปไม่ได้ โชคดีที่ตัวเชื้อโอมิครอนไม่ก่อให้เกิดโรครุนแรง และถ้าได้ฉีดวัคซีนครบโดสและได้เข็มกระตุ้น อาการยิ่งน้อยลงไปอีก เป็นเหมือนหวัดธรรมดา

กฎเกณฑ์การตรวจการติดเชื้อโอมิครอนควรเป็นแบบเดียวกับไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัดใหญ่ใช้การตรวจแบบรวดเร็ว ถ้าให้ผลบวก แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นไข้หวัดใหญ่ และให้ยารักษาเลย โดยไม่จำเป็นต้องตรวจรหัสพันธุกรรม RT-PCR เพื่อยืนยันว่าเป็นไข้หวัดใหญ่

ส่วนใหญ่แพทย์จะทำ RT-PCR สำหรับไข้หวัดใหญ่ในกรณีที่คนไข้เข้านอนรักษาในโรงพยาบาล สงสัยว่าเป็นไข้หวัดใหญ่ ถึงแม้ว่าจะได้รับการตรวจแบบรวดเร็วตอนแรกให้ผลลบ

การตรวจโควิด-19 แบบรวดเร็ว ATK ควรตรวจเมื่อมีอาการ และสงสัยว่าติดเชื้อโควิด หรือเป็นกลุ่มเสี่ยงอยู่ใกล้ชิดกับคนที่ยืนยันว่าติดเชื้อแล้ว ไม่มีความจำเป็นต้องตรวจ ATK คัดกรองสำหรับคนทั่วไปที่ไม่มีอาการ และไม่ใช่กลุ่มเสี่ยง ยกเว้นว่าตรวจก่อนจะไปพบปะรวมกลุ่มเลี้ยงสังสรรค์กับคนจำนวนมากในสถานที่แคบ ติดตั้งปรับอากาศ อากาศถ่ายเทไม่ดี หรือเดินทางเป็นหมู่คณะในรถโดยสารปรับอากาศด้วยกัน หรือต้องไปพบผู้ที่มีโอกาสป่วยหนักหากติดเชื้อ เช่น คนสูงอายุ คนที่มีโรคประจำตัวเรื้อรังและหญิงตั้งครรภ์

'หมอมนูญ' ยอมรับ 'โอมิครอน' หลบหลีกภูมิคุ้มกันเก่ง 'ฉีดวัคซีนครบ-เคยติดเชื้อแล้ว' ก็ติดซ้ำได้

วันนี้ (30 มี.ค.) เฟซบุ๊ก 'หมอมนูญ ลีเชวงวงศ์ FC' หรือ นายแพทย์ มนูญ ลีเชวงวงศ์ หัวหน้าโรคระบบทางเดินหายใจ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ ได้ข้อความเผยเคสของผู้ป่วยรายหนึ่ง ที่ติดเชื้อโควิด-19 แม้ได้รับการฉีดวัคซีนและเคยได้รับโมโนโคลนอลแอนติบอดี REGEN-COV มาแล้ว ระบุว่า... 

ต้องยอมรับเชื้อไวรัสโควิดโอมิครอนเป็นสายพันธุ์ที่เก่งจริงๆ สามารถหลบหลีกภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นไม่ว่าจากเคยได้รับวัคซีนที่มีประสิทธิภาพสูงครบ 2 เข็มแล้วตามด้วยเข็มกระตุ้น หรือเคยติดเชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์อื่นก่อนหน้านี้ หรือเคยได้รับโมโนโคลนอลแอนติบอดี REGEN-COV มาก่อนซึ่งสามารถจะเพิ่มภูมิต้านทานป้องกันการติดเชื้อเดลตาซ้ำอีก และอยู่ในร่างกายได้นานถึง 8 เดือน

ผู้ป่วยหญิงอายุ 90 ปี เป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นผิดจังหวะ กินยาละลายลิ่มเลือด ได้รับวัคซีนแอสตร้าเซเนก้า 2 เข็ม เดือนมิถุนายนและสิงหาคม 2564 ติดเชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์เดลตาวันที่ 21 ตุลาคม 2564 มีไข้ ไอ น้ำมูกไหล ตาแดง เนื่องจากคนไข้มีความเสี่ยงสูงที่จะป่วยรุนแรง ได้ให้โมโนโคลนอลแอนติบอดี REGEN-COV ทางเส้นเลือด ไม่ให้ยาฟาวิพิราเวียร์ คนไข้ดีขึ้นเร็วมาก กลับบ้านได้ภายใน 1 สัปดาห์ หลังหายแล้วได้แนะนำให้ฉีดวัคซีนไฟเซอร์อีก 1 เข็มเพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันเดือนกุมภาพันธ์ 2565

‘หมอมนูญ’ เผยเคสน่าสนใจ ‘ผู้ป่วยติดโควิด’ ขณะเดียวกันยังเป็น ‘วัณโรคปอด’ ควบคู่ด้วย

หมอมนูญเผยเคสน่าสนใจผู้ป่วยติดโควิดพร้อมกับเป็นวัณโรค ตรวจพบผลเป็นบวกก่อนจะทราบภายหลังเป็นโรคอื่นด้วย

วันนี้ (7 เม.ย. 65) นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ หัวหน้าโรคระบบทางเดินหายใจ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ โพสต์ข้อความระบุว่า ผู้ป่วยโรคโควิด-19 บางคนติดเชื้อโรคทางเดินหายใจอีก 1 โรคในเวลาเดียวกัน

ผู้ป่วยชายอายุ 75 ปี ปกติแข็งแรงดี ไม่มีโรคประจำตัว ไม่มียาประจำ ได้รับวัคซีนแอสตร้าเซเนก้า 2 เข็มและเข็มกระตุ้นไฟเซอร์ 1 เข็ม

วันที่ 19 มีนาคม 2565 เริ่มมีไข้ต่ำๆ ไอ เสมหะสีขาว ไม่เบื่ออาหาร น้ำหนักไม่ลด ตรวจ ATK ที่บ้านวันที่ 20 มีนาคมให้ผลบวก ไปโรงพยาบาลใกล้บ้านตรวจ RT-PCR ยืนยันติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่นั่นให้ยาฟาวิพิราเวียร์กิน 10 วัน ยังไอต่อเนื่อง และมีเสมหะ โรงพยาบาลใกล้บ้านแนะนำให้หาแพทย์เฉพาะทางด้านระบบทางเดินหายใจ

‘ฟาวิพิราเวียร์’ เอาไม่อยู่! ‘หมอมนูญ’ เตือน ‘โอมิครอน’ ดุ ‘สูงอายุ - ไม่รับวัคซีน’ มีสิทธิถึงตาย!

(9 เม.ย.65) นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ แพทย์เฉพาะทางด้านโรคระบบการหายใจ ให้ข้อมูลผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวถึงผู้ป่วยโควิด-19 ว่าผู้ป่วยเป็นผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยง เมื่อติดเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน มีโอกาสสูงที่จะเกิดปอดอักเสบ ป่วยหนักต้องเข้าไอซียู ใส่เครื่องช่วยหายใจ และเสียชีวิตได้โดยเฉพาะคนที่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีน ฉีดเข็มเดียว หรือฉีดครบ 2 เข็ม แต่ยังไม่ได้รับเข็มกระตุ้น ผู้ป่วยกลุ่มนี้ควรได้ยาต้านไวรัสตัวใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูง เช่น ยาโมลนูพิราเวียร์ หรือในอนาคตอันใกล้ ยาแพกซ์โลวิดภายใน 5 วันแรกที่เริ่มป่วย ซึ่งยาใหม่ 2 ขนานนี้มีหลักฐานช่วยลดการป่วยหนักและเสียชีวิตได้ ไม่ใช่ยาฟาวิพิราเวียร์

หมอมนูญ โดยยกเคสคนไข้ เป็นผู้ป่วย เพศชายอายุ 85 ปี เป็นโรคกระดูกพรุน เคยกระดูกสะโพกหัก เดินไม่ได้ นอนติดเตียง เป็นโรคความดันโลหิตสูง ต่อมลูกหมากโต มาตรวจตามปกติ วันที่ 12 มี.ค.65 สุขภาพทั่วไปแข็งแรงดี ความดันปกติ ไม่อ้วน รู้ตัวดี ขยับแขนขาได้ แต่เดินไม่ได้ ผู้ป่วยยังไม่เคยฉีดวัคซีนโควิดแม้แต่เข็มเดียว แพทย์จึงแนะนำให้รีบฉีดโดยด่วน ลูกสาวจึงติดต่อไปยัง อบจ. และได้ส่งเจ้าหน้าที่มาฉีดวัคซีนแอสตราเซนเนกา เข็มแรกที่บ้าน วันที่ 18 มี.ค.65

‘หมอมนูญ’ เผยพบคนไข้โควิดเพิ่มขึ้น วอนทบทวนกำหนดโควิด-19เป็นโรคประจำถิ่น

หมอมนูญ ตั้งคำถามถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประเด็นกำหนด (1 ก.ค.) จัดโควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่น วอนทบทวนใหม่หลังพบผู้ป่วยโควิด-19 เพิ่มมากขึ้น แนะเลื่อนจนกว่าสถานการณ์คลี่คลายจะดีกว่า ชี้แม้ฉีดเข็ม 5 ตอนนี้ก็เสี่ยงติด แค่ไม่ตายเท่านั้น

วันนี้ (30 มิ.ย.) หรือ นายแพทย์ มนูญ ลีเชวงวงศ์ หัวหน้าห้องไอซียูเฉพาะทางด้านโรคระบบการหายใจ ผู้ป่วยหนัก และโรคผู้สูงอายุ ประจำโรงพยาบาลวิชัยยุทธ ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นผ่านเฟซบุ๊ก ‘หมอมนูญ ลีเชวงวงศ์ FC’ ในประเด็น วันที่ 1 กรกฎาคม 2565 โควิด-19 จะกลายเป็นแค่โรคประจำถิ่นได้จริงหรือ โดยระบุข้อความว่า

"วันที่ 1 กรกฎาคม 2565 ไทยกำลังก้าวเข้าสู่การพ้นการระบาดใหญ่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ไวรัสโควิด-19) เป็นโรคประจำถิ่นตามแผนของกระทรวงสาธารณสุขจริงหรือ ถ้าจะเลื่อนวันประกาศไปอีกสักพักจนสถานการณ์คลี่คลายกว่านี้ก็น่าจะดี ทุกโรงพยาบาลใน กทม.ขณะนี้รับคนไข้โรคโควิดเพิ่มขึ้น โรงพยาบาลวิชัยยุทธต้องกลับมาเปิดหอผู้ป่วยโควิดเพิ่มอีก 1 วอร์ด หลังจากที่เคยปิดไปแล้ว ผู้ป่วยที่รับมาการรักษาส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง เนื่องจากได้รับวัคซีนมาก่อนหน้านี้

ขอให้ทุกคนกลับไประมัดระวังตัวเพิ่มขึ้น ใส่หน้ากากอนามัย หลีกเลี่ยงสถานที่มีคนแออัด อากาศถ่ายเทไม่ดี เว้นระยะห่าง หมั่นล้างมือ และพิจารณาว่าถึงเวลาฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นหรือยัง

'หมอมนูญ' เตือน!! BA.5 แพร่เร็วกว่าทุกเชื้อไวรัสในโลก วอนคนไทยระวังตัวมากขึ้น โควิดยังไม่จบ!!

นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินหายใจ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ โพสต์เพจ "หมอมนูญ ลีเชวงวงศ์ FC" ระบุข้อความว่า ...

เชื้อไวรัสโควิดโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.5 สามารถแพร่ได้เร็วกว่าไวรัสโควิดสายพันธุ์เดิมทุกสายพันธุ์ และเชื้อไวรัสโรคอื่นๆ ทุกชนิดในโลก

ด้วยการเปรียบเทียบค่า R0 คนติดเชื้อ 1 คนแพร่เชื้อต่อให้คนอื่นกี่คน 

คนติดเชื้อเชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์อู่ฮั่น 1 คนแพร่เชื้อต่อให้อีก 3.3 คน

คนติดเชื้อเชื่อไวรัสโควิดสายพันธุ์เดลตา 1 คนแพร่เชื้อต่อให้อีก 5.1 คน

คนติดเชื้อเชื้อไวรัสโควิดโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.1 หนึ่งคนแพร่เชื้อต่อให้อีก 9.5 คน

คนติดเชื้อเชื้อไวรัสโควิดโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.5 หนึ่งคนแพร่เชื้อต่อให้อีก 18.6 คน


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top