Thursday, 9 May 2024
สเปน

'คนขายปลา' อึ้ง!! คนเขียนเยาะเย้ยชาติไทย เป็นคนไทย กรณีเพจบอลใส่ธงคอสตาริกาผิด เป็น ธงไทย

(24 พ.ย.65) นายนิธิพัฒน์ พันธุ์ธุมจินดา ผู้จำกัดนิยามตนเองว่าเป็น 'คนขายปลา' ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก 'Nithipat Bhandhumachinda' ว่า...

มีเพจบอลต่างประเทศเพจหนึ่งรายงานผลบอลคู่  สเปน กับ คอสตาริกา แล้วใส่ธงคอสตาริกา ผิด เป็นธงไทย เพราะมีความคล้ายคลึงกัน

ในช่องความเห็นก็มีชาวต่างชาติหลายๆ ท่านมาเขียนเตือนว่าใช้ภาพธงผิด เพราะนี่คือธงไทย แล้วผมก็สะดุดตากับความเห็นบางความเห็น เช่นเขียนเป็นภาษาอังกฤษว่า ไม่ใช่ทีมไทยหรอก เพราะถ้าเป็นทีมไทยคงจะแพ้สเปน เฉียด ๆ ร้อยศูนย์

ก็คิดในใจว่า คนเขียนความเห็นเป็นคนชาติไหนถึงดูถูกประเทศไทยกลางบอร์ดนานาชาติเยี่ยงนั้น

'ชาวสเปน' รวมตัวขับไล่ 'รัฐบาลซานเชซ' กลางกรุงมาดริด หลังไม่พอใจ 'กม.แบ่งแยกดินแดน - ลดโทษคดีทางเพศ'

เมื่อวานนี้ (21 ม.ค.66) เอเอฟพีรายงานว่า ประชาชนจำนวนหลายพันคนในกรุงมาดริด ออกมารวมตัวเดินขบวนประท้วงต่อต้านรัฐบาลชุดปัจจุบันของนายกรัฐมนตรีเปโดร ซานเชซ

ผู้เข้าร่วมชุมนุมต่างโบกธงชาติสเปน พร้อมตะโกนร้องขับไล่ให้ซานเชซลาออกจากตำแหน่ง บางคนชูป้ายที่มีรูปถ่ายของนายกรัฐมนตรีที่มีข้อความเรียกเขาว่า 'คนทรยศ'

จากการประเมินของทางการมาดริด กลุ่มผู้ชุมนุมมีจำนวนประมาณ 30,000 คนและรวมตัวกันที่จัตุรัสซิเบเลสในเมืองหลวงของสเปน แต่แกนนำในการจัดตั้งการชุมนุมกล่าวว่ามีผู้คนมารวมตัวกันมากกว่า 700,000 คน

การประท้วงถูกจัดตั้งโดยกลุ่มประชาสังคมฝ่ายขวาหลายสิบกลุ่ม และได้รับการสนับสนุนจากพรรคฝ่ายค้านอนุรักษนิยม

‘บิ๊กตู่’ หารือ ‘ทูตสเปน’ หนุน ความร่วมมือระหว่างประเทศ กระชับความสัมพันธ์ไทย-สเปน ครบรอบ 153 ปี

(29 มี.ค. 66) ห้องสีงาช้าง ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล นายเฟลิเป เด ลา โมเรนา กาซาโด (H.E. Mr. Felipe de la Morena Casado) เอกอัครราชทูตราชอาณาจักรสเปนประจำประเทศไทย เข้าเยี่ยมคารวะ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในโอกาสเข้ารับหน้าที่

นายกรัฐมนตรี กล่าวต้อนรับในนามรัฐบาลและประชาชนไทย พร้อมชื่นชมความสัมพันธ์และความร่วมมือไทยกับสเปนที่แน่นแฟ้น รวมถึงกลไกการประชุมหารือทางการเมือง (Political Consultations) ที่ทั้งสองฝ่ายได้ขับเคลื่อนพลวัตความร่วมมือทวิภาคี และต่อยอดความร่วมมือระหว่างกัน โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน การศึกษา ความร่วมมือด้านสมุทราภิบาล และการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำ ทั้งนี้ ไทยพร้อมสนับสนุนการทำงานของเอกอัครราชทูตสเปนฯ ในการปฏิบัติหน้าที่ส่งเสริมความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศให้ใกล้ชิด และหวังว่าสเปนจะประสบความสำเร็จในภารกิจต่าง ๆ ในช่วงที่ดำรงตำแหน่งประธานคณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป ในช่วงครึ่งหลังของปี 2566

เอกอัครราชทูตสเปนฯ กล่าวแสดงความรู้สึกยินดีที่ได้มาดำรงตำแหน่งในไทย และได้รับการต้อนรับจากไทยเป็นอย่างดี โดยไทยและสเปนมีความสัมพันธ์มายาวนาน ซึ่งในปีนี้จะครบรอบความสัมพันธ์ 153 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน ขอยืนยันที่จะกระชับความสัมพันธ์ให้ใกล้ชิดและสานต่อความร่วมมือระหว่างกันในทุกด้านต่อไป ทั้งความมั่นคง เศรษฐกิจ การศึกษา การท่องเที่ยว และพหุภาคี พร้อมกล่าวชื่นชมรัฐบาลในการผลักดันเศรษฐกิจที่มุ่งสู่การเปลี่ยนผ่านสีเขียว ผ่านโมเดลเศรษฐกิจ BCG ซึ่งสอดคล้องกับสเปนที่ดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งสเปนมีศักยภาพและสามารถเข้ามามีส่วนร่วมกับประเทศไทยได้

โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีและเอกอัครราชทูตสเปนฯ ได้หารือถึงความร่วมมือด้านต่าง ๆ โดย
ความร่วมมือด้านความมั่นคง ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องในการกระชับความร่วมมือด้านความมั่นคงมากขึ้น โดยเอกอัครราชทูตสเปนฯ ยินดีที่ทั้งสองฝ่ายมีความร่วมมือด้านความมั่นคงที่แน่นแฟ้น พร้อมเพิ่มพูนความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ รวมถึงส่งเสริมการศึกษาของบุคลากรทางทหารระหว่างไทยและสเปน

ด้านความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ เอกอัครราชทูตสเปนฯ ยินดีที่การค้าระหว่างทั้งสองฝ่ายเพิ่มมากขึ้น ซึ่งไทยและสเปนยังมีศักยภาพในการแสวงหาโอกาสเพื่อเพิ่มพูนการค้าระหว่างกันให้มากขึ้น สเปนพร้อมส่งเสริมให้นักลงทุนสเปนมาลงทุนในไทยเพิ่มเติม ด้านนายกรัฐมนตรีขอให้ทั้งสองฝ่ายใช้ประโยชน์จาก RCEP รวมถึงขับเคลื่อนความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่มุ่งสู่การเปลี่ยนผ่านสีเขียวและดิจิทัล ผ่านโมเดลเศรษฐกิจ BCG พร้อมเชิญชวนสเปนมาลงทุนในไทยในสาขาที่สเปนมีความโดดเด่น ทั้งด้านพลังงาน การแพทย์ คมนาคม (ระบบราง) โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมเป้าหมายใน EEC และอุตสาหกรรมภายใต้โมเดลเศรษฐกิจ BCG

พรรคฝ่ายค้านสเปนได้เสียงอันดับ 1 ส่อตั้งรัฐบาลไม่ได้ หลังคะแนนเสียงไม่เด็ดขาด

(24 ก.ค. 66) การเลือกตั้งสเปนไม่มีพรรคใดได้เสียงข้างมาก พรรคฝ่ายขวาได้ที่นั่งไม่มากพอขับนายกรัฐมนตรี เปโดร ซานเชส พ้นจากอำนาจ ต้องหาทางจับมือพรรคเล็กตั้งรัฐบาลผสม ถ้าไม่ได้จริง ๆ อาจต้องเลือกตั้งใหม่

สำนักข่าวรอยเตอร์รายงาน การเลือกตั้งสเปนเมื่อวันอาทิตย์ (23 ก.ค.) นับคะแนนครบถ้วน 100% แล้วเมื่อเวลา 1.30 น. วันจันทร์ (24 ก.ค.) ตามเวลาท้องถิ่น พรรคประชาชน (PP) แนวกลางขวา ได้ ส.ส. 136 คน จาก ส.ส. ในสภา 350 คน พรรคสังคมนิยม (PSOE) ของนายกรัฐมนตรีซานเชส ได้ ส.ส. 122 คน ซึ่งทั้งสองพรรคไม่มีใครทำได้ถึง 176 คนเพื่อเป็นรัฐบาลพรรคเดียวได้ แต่พรรคสังคมนิยมทำผลงานได้ดีเกินคาด ขณะที่พรรค PP ไม่ได้เสียงข้างมากเด็ดขาดตามที่ประเมินกันไว้ แถมยังสร้างดรามาเรื่องการนับคะแนน

พรรคการเมืองที่มีแนวโน้มถูกดึงมาร่วมรัฐบาลมากที่สุด ได้แก่ พรรคขวาจัด Vox ได้ สส. 33 คน และพรรคซ้ายจัด Sumar สส. 31 คน

ผลการเลือกตั้งทำให้ซานเชสไม่ถึงกับหมดสิทธิเป็นนายกฯ เสียทีเดียว อาจเป็นผู้ตั้งรัฐบาลใหม่ได้ ทั้งยังเป็นการทำลายโอกาสพรรคการเมืองฝ่ายขวาเข้ามาเป็นรัฐบาลยุโรปอีกหนึ่งประเทศ หลังจากโพลหลายสำนักระบุว่า สเปนจะได้รัฐบาลผสมฝ่ายขวาระหว่างพรรค PP กับ Vox

ตอนนี้สองพรรคใหญ่ต้องเจรจาทำข้อตกลงตั้งรัฐบาลผสม แต่นักวิเคราะห์เตือนว่าอาจตั้งไม่ได้จนต้องเลือกตั้งใหม่

บริษัทที่ปรึกษา Teneo มั่นใจว่าซานเชสจะเป็นฝ่ายตั้งรัฐบาลได้มากกว่าอัลเบอร์โต นุญเญซ เฟย์โฆโอ หัวหน้าพรรค PP โดยมองว่ามีโอกาส 45% ที่ซานเชสจะจับมือกับพรรคซ้ายจัด Sumar และพรรคเล็กอีกจำนวนหนึ่ง แต่มองว่าโอกาสที่สเปนต้องจัดเลือกตั้งใหม่ก็มี 45% เช่นกัน

การเลือกตั้งที่ไม่มีผู้ชนะเด็ดขาดนี้ส่งผลต่อสถานะการเป็นประธานสภาสหภาพยุโรปของสเปนในปัจจุบันและสร้างความหวั่นไหวให้ตลาด

ถัดจากนี้กษัตริย์เฟลิเป ที่ 6 จะทรงเชิญเฟย์ฆิโอ ผู้นำพรรคที่ได้เสียงเป็นอันดับหนึ่ง ให้รวบรวมเสียงเป็นนายกรัฐมนตรี สถานการณ์คล้าย ๆ กันนี้เคยเกิดขึ้นในปี 2558 มาริโอ ราฮอย ผู้นำพรรค PP ปฏิเสธไม่เป็นนายกฯ เพราะรวบรวมเสียงได้ไม่มากพอ

สำหรับครั้งนี้ถ้าเฟย์ฆิโอทำไม่ได้ กษัตริย์อาจทรงขอให้ซานเชสตั้งรัฐบาล กฎหมายไม่ได้กำหนดเส้นตายว่าต้องตั้งรัฐบาลได้เมื่อใด แต่ถ้าไม่มีใครรวบรวมเสียงข้างมากได้ภายในสองเดือนนับจากการลงมติเลือกนายกฯ ครั้งแรกก็ต้องจัดเลือกตั้งใหม่

‘รัฐมนตรีสเปน’ จี้ ‘อียู’ ตัดขาด-คว่ำบาตร ‘อิสราเอล’ ชี้!! รีบทำก่อนสายและกลายเป็นผู้ร่วมฆ่าล้างเผ่าพันธุ์

(31 ต.ค. 66) อิออเน เบลาร์รา รัฐมนตรีสิทธิสังคมของสเปน เร่งเร้าบรรดาผู้นำยุโรป ให้จัดการกับอิสราเอลในทันที ในนั้นรวมถึงตัดขาดความสัมพันธ์ทางการทูตและกำหนดมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ หลังรัฐยิวยังทิ้งบอมบ์ถล่มกาซาอย่างหนัก และยกระดับปฏิบัติการทางภาคพื้นเล่นงานนักรบฮามาส ในฉนวนปาเลสไตน์ที่ถูกปิดล้อมแห่งนี้ พร้อมเตือนถ้าไม่ดำเนินการใด ๆ อียูก็เสี่ยงกลายเป็นผู้สมคบคิดในการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์

นอกจากนี้แล้วรัฐมนตรีหญิงรายนี้ยังเรียกร้องให้ดำเนินคดีกับ เบนจามิน เนทันยาฮู ของอิสราเอล ตามคำกล่าวหาก่ออาชญากรรมสงครามกับพลเรือนในกาซา "ตามหลังค่ำคืนแห่งความโหดเหี้ยมในกาซา ฉันมีสารง่าย ๆ แต่เป็นสารที่สำคัญมาก ๆ ส่งถึงพวกผู้นำยุโรป อย่าทำให้เรากลายเป็นผู้สมคบคิดฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ การกระทำนี้ ไม่ใช่ในนามของเรา" เบลาร์รา กล่าวในแพลตฟอร์มเอ็กซ์ (ทวิตเตอร์)

มีชาวปาเลสไตน์มากกว่า 8,000 ราย ในนั้นเป็นเด็ก 3,342 คน ที่เสียชีวิตในฉนวนกาซา นับตั้งแต่ปฏิบัติการโจมตีทางอากาศของอิสราเอลเริ่มต้นขึ้น ปฏิบัติการแก้แค้นดังกล่าว มีขึ้นหลังจากพวกนักรบฮามาส บุกจู่โจมเข้าไปในอิสราเอลอย่างไม่คาดคิด พร้อมๆกับยิงจรวดเข้าใส่ดินแดนอิสราเอลหลายร้อยลูกเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม สังหารผู้คนไปราวๆ 1,400 ราย และจับตัวประกันทั้งชาวอิสราเอลและชาวต่างชาติ ไปประมาณ 230 คน

ในการพูดถึงความรุนแรงของสถานการณ์ในกาซาในปัจจุบันและการตอบโต้ที่ไม่สมเหตุสมผลของอิสราเอล รัฐมนตรีสิทธิสังคมของสเปน ได้ยกตัวอย่างกรณีที่มีการตัดอินเทอร์เน็ตและบริการโทรศัพท์ในฉนวนแห่งนี้โดย ชี้ว่าความเคลื่อนไหวดังกล่าว มีเป้าหมายที่ชัดเจนมาก ๆ นั่นคือรับประกันว่าอิสราเอลจะสามารถก่ออาชญากรรมกับมนุษยชาติโดยไม่ต้องเผชิญกับผลสนองใด ๆ

"การนิ่งเฉยของเรา กำลังเปลี่ยนเราให้กลายเป็นผู้สมคบคิด" รัฐมนตรีหญิงรายนี้เน้นย้ำ โดยอ้างว่า "อิสราเอลกำลังเชื่อว่าพันธมิตรนานาชาติจะรับประกันเอกสิทธิ์คุ้มครองพวกเขา"

"เราจำเป็นต้องดำเนินการในตอนนี้ พรุ่งนี้อาจสายเกินไป" เธอกล่าวต่อ พร้อมส่งเสียงเรียกร้องไปถึงพวกผู้นำยุโรป "ตัดขาดความสัมพันธ์ทางการทูตกับรัฐอิสราเอล ทำการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจกับพวกที่อยู่เบื้องหลังการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ครั้งนี้ เพื่อให้เป็นเยี่ยงอย่าง และโดยปราศจากข้อสงสัยเลย ต้องนำตัว เนทันยาฮู ขึ้นศาลอาญาระหว่างประเทศ เพื่อที่เขาจะถูกดำเนินคดีในสิ่งที่เขาเป็น นั่นคืออาชญากรสงคราม"

นอกจากนี้แล้ว เธอยังเรียกร้องไปยังเหล่าพลเมืองอียู ให้ออกมารวมตัวบนท้องถนนสายต่าง ๆ และส่งเสียงดังมากขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อให้การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ครั้งนี้สิ้นสุดลง

กองกำลังป้องกันตนเองของอิสราเอล ยกระดับปฏิบัติการโจมตีทั้งทางอากาศและทางภาคพื้นเล่นงานอิสราเอลในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา ทำให้การติดต่อสื่อสารเกือบถูกตัดขาดโดยสิ้นเชิง และเพิ่งสามารถเชื่อมโยงการติดต่อกลับมาได้บางส่วนเมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามการปิดล้อมฉนวนกาซายังคงมีต่อไป โดย เนทันยาฮู ประกาศในวันเสาร์ (28 ต.ค.) ว่าสงครามกับฮามาส 'เข้าสู่เฟส 2' แล้ว

‘4 ชาติยุโรป’ ยกระดับความปลอดภัยช่วง ‘คริสต์มาส-ปีใหม่’ หวั่น!! ภัยคุกคามจากก่อการร้าย หลังพบความเสี่ยงเพิ่มขึ้น

หลายชาติในยุโรปตรึงมาตรการการรักษาความปลอดภัยเข้มในช่วงคริสต์มาส-ปีใหม่ เนื่องจากหวั่นภัยก่อการร้าย หลังพบความเสี่ยงเพิ่มขึ้น และเกิดเหตุทำร้ายชาวยุโรปในกรุงปารีสก่อนหน้านี้ 

(25 ธ.ค.66) ก่อนหน้านี้มีการรายงานว่า สงครามระหว่างอิสราเอลกับฮามาส ส่งผลให้ยุโรปเสี่ยงภัยก่อการร้ายมากขึ้น ซึ่งรัฐบาลของประเทศต่าง ๆ ในยุโรปก็ตระหนักถึงความเสี่ยงดังกล่าวและได้หารือถึงการยกระดับการรักษาความปลอดภัย

ต่อมามติชนรายงานว่า ฝรั่งเศส เยอรมนี ออสเตรีย และสเปน เป็นหนึ่งในชาติยุโรปที่เพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยเข้มข้นขึ้นรับช่วงเวลาแห่งการเฉลิมฉลองเทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่ ท่ามกลางความกังวลเรื่องภัยคุกคามจากการก่อการร้าย 

ที่ฝรั่งเศส นายเฌราลด์ ดาร์มาแนง รัฐมนตรีมหาดไทยโพสต์บน X เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม สั่งการให้ตำรวจและสารวัตรทหารเพิ่มการรักษาการณ์ตามโบสถ์ต่างๆ ทั่วประเทศ “เพื่อปกป้องชาวคริสเตียนที่จะมาร่วมเฉลิมฉลองคริสมาสต์ในเย็นวันนี้และเช้าวันพรุ่งนี้”

ขณะที่ทางการเยอรมนีได้เพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยที่เข้มงวดมากขึ้นบริเวณมหาวิหารเมืองโคโลญ โดยนายไมเคิล เอสเซอร์ ผู้บัญชาการตำรวจเมืองโคโลญจ์ แถลงว่า ตำรวจจะทำทุกอย่างเพื่อรับรองความปลอดภัย โดยผู้ที่เดินทางมายังโบสถ์ทุกคนจะถูกตำรวจค้นอย่างเข้มข้น

ทั้งนี้ ตำรวจพร้อมสุนัขดมกลิ่มได้ตรวจค้นหา หลังจากมีรายงานกลุ่มติดอาวุธอิสลามิกมีแผนที่จะก่อเหตุโจมตีโบสถ์ในช่วงวันคริสต์มาสอีฟ หรือช่วงปีใหม่

ที่กรุงเวียนนา เมืองหลวงของออสเตรีย ตำรวจได้เพิ่มการวางกำลังรักษาความปลอดภัยช่วงฉลองเทศกาลคริสต์ โดยตำรวจออสเตรีย ระบุว่า ในขณะที่ผู้ก่อการร้ายทั่วยุโรปเรียกร้องให้มีการโจมตีงานฉลองของชาวคริสต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งราววันที่ 24 ธันวาคม เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงจึงได้เพิ่มมาตรการป้องกันที่สอดคล้องในพื้นที่สาธารณะในกรุงเวียนนาและรัฐต่างๆ

นอกจากนี้ มีรายงานว่า ตำรวจออสเตรียได้จับกุมผู้ต้องสงสัย 4 คน ที่ต้องสงสัยว่ามีความเชื่อมโยงกับกองกำลังรัฐอิสลามแห่งโคราซาน ซึ่งแตกหน่อมาจากกองกำลังรัฐอิสลาม (ไอเอส) กลุ่มติดอาวุธหัวรุนแรง

‘โครงการหงส์ดำ’ หนึ่งในการค้นพบ ‘สมบัติ’ มูลค่ามหาศาล ใต้ท้องทะเล ก่อน ’Odyssey‘ บริษัทที่กู้พ่ายแพ้คดี จำยอมส่งคืน ‘สเปน’ เจ้าของตัวจริง

เรื่องราวของการค้นหาสมบัติในทะเลซึ่งมีการทำเป็นเรื่องเป็นราวอย่างจริงจังในหลายมหาสมุทรบนโลกใบนี้ และ ‘โครงการหงส์ดำ’ ก็เป็นหนึ่งในการค้นพบและการกู้สมบัติ ที่มีมูลค่าราว 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ได้สำเร็จ แต่ผู้ที่กู้ได้ก็พ่ายแพ้ในการต่อสู้ตามกระบวนการยุติธรรม และต้องส่งคืนสมบัติเหล่านั้นสู่เจ้าของเดิม

(เรือรบสเปน Nuestra Señora de las Mercedes จมลงนอกชายฝั่งโปรตุเกสในปี 1804)

‘โครงการหงส์ดำ’ เป็นชื่อโครงการของบริษัท ‘Odyssey Marine Exploration’ ซึ่งเป็นบริษัทสำรวจค้นหาทรัพยากรใต้น้ำ การทำเหมืองแร่ในทะเล การค้นหาและกู้สมบัติใต้ทะเล โดยมีสำนักงานอยู่ในมลรัฐฟลอริดา สหรัฐฯ ทั้งนี้ จากการค้นพบและการกู้เหรียญเงินและเหรียญทองมูลค่าประมาณ 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (314 ล้านปอนด์) จากพื้นมหาสมุทร โดยในขั้นต้น Odyssey เก็บเรื่องสมบัตินี้ไว้เป็นความลับ ต่อมาสมบัติเหล่านี้ได้รับการพิสูจน์ในห้องทดลองว่า สินค้าที่กู้ได้ถูกขนส่งโดยเรือรบสเปน Nuestra Señora de las Mercedes ซึ่งจมลงนอกชายฝั่งโปรตุเกสในปี 1804 

เมื่อเรื่องเกี่ยวกับการกู้สมบัติครั้งนี้เผยแพร่สู่สาธารณะเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2007 เมื่อ Odyssey ได้ขนส่งสมบัติน้ำหนัก 17 ตัน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเหรียญเงินจาก Gibraltar ไปยังสถานที่ปลอดภัยซึ่งไม่ปรากฏที่อยู่ในมลรัฐฟลอริดา ซึ่ง Odyssey ไม่ได้เปิดตัวประเภท วันเวลา หรือสัญชาติของเหรียญในขณะที่มีข่าวลือว่า สมบัติเหล่านั้นเป็นของเรือ Merchant Royal ซึ่งจมลงใกล้ชายฝั่งในปี 1641 โดยในเวลานั้น Odyssey กล่าวว่า มีแผนที่จะกลับไปที่จุดค้นพบเพื่อทำการค้นหาด้วยคาดว่า จะค้นพบเหรียญมากขึ้นรวมทั้งสมบัติอื่น ๆ อย่างไรก็ตามต่อมา Odyssey ถูกรัฐบาลสเปนฟ้องในศาลสหรัฐฯ ซึ่งในที่สุดศาลฯ ก็มีคำสั่ง Odyssey ให้ส่งคืนสมบัติให้สเปน Odyssey ดำเนินการตามช่องทางกฎหมายทั้งหมด แม้กระทั่งการฟ้องร้องต่อศาลฎีกาของสหรัฐอเมริกาแต่ในที่สุดก็แพ้คดี เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2012 สมบัติเหล่านั้นจึงถูกส่งกลับไปยังสเปน ซึ่งขณะนี้เหรียญและสิ่งประดิษฐ์อื่น ๆ จากซากเรืออับปางอยู่ในพิพิธภัณฑ์โบราณคดี Subaquatic แห่งชาติใน Cartagena (Murcia) และในปี 2015 ศาลแขวงสหรัฐได้สั่งให้ Odyssey จ่ายเงิน 1 ล้านดอลลาร์ให้แก่รัฐบาลสเปนในข้อหา “ดำเนินงานอย่างไม่สุจริตและไม่เหมาะสม”
 

Odyssey ระบุเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2007 ว่า เหรียญและสมบัติที่กู้ได้ส่วนใหญ่เชื่อว่ามาจากเรืออับปางโดยเฉพาะ แต่มีแนวโน้มว่าจะมีการผสมวัตถุจากซากเรืออื่น ๆ เข้าด้วยกันและได้รับการกู้คืน ซึ่ง Odyssey กล่าวว่าเนื่องจากตำแหน่งของเรือในพื้นที่ที่ทราบกันดีว่ามีซากเรืออับปางในยุคอาณานิคมจำนวนมาก จึงไม่อาจเปิดเผยอัตลักษณ์ตัวตนของเรือระหว่างที่ทำการตรวจสอบเหรียญและโบราณวัตถุเพิ่มเติม นอกจากนี้ยังคิดว่า สมบัติเหล่านี้อาจมาจากเรือที่ Odyssey ได้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐบาลกลางเพื่อขออนุญาตกู้ซาก ซึ่งตั้งอยู่นอกชายฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ของสหราชอาณาจักร ภายในรัศมี 5 ไมล์ (8 กิโลเมตร) จาก 49 ° 25′N 6 ° 0′W

(เรือสินค้าอังกฤษ Merchant Royal)

ในตอนแรก มีการคาดการณ์ว่า สมบัติอาจมาจากซากเรือสินค้าอังกฤษ Merchant Royal ซึ่งจมลงในวันที่ 23 กันยายน 1641 ขณะเดินทางกลับลอนดอน เรือลำนั้นจมลงในสภาพอากาศที่เลวร้ายเมื่อเครื่องสูบน้ำไม่สามารถทำงานได้ทันกับน้ำที่รั่วไหลผ่านแผ่นกระดานของตัวเรือ ลูกเรือกว่าครึ่งรวมทั้งกัปตัน John Limbrey ได้สละเรือ และได้รับการช่วยเหลือจากเรือ  Dover Merchant เรือซึ่งมาพร้อมกับ Merchant Royal จากกาดิซไปลอนดอน ผู้รอดชีวิตได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าที่สูญหายโดยอธิบายไว้ในปี 1641 ว่า "เงิน 300,000 ปอนด์ ทองคำ 100,000 ปอนด์ และอัญมณีอีกจำนวนหนึ่ง" รวมทั้งพิกัดที่ใกล้กับ Isles of Scilly ประมาณ  ‘21 ลีก’ (ประมาณ 35 ถึง 40 ไมล์) จากชายฝั่ง

ในปี 2003 Greg Stemm ผู้ร่วมก่อตั้ง Odyssey Marine ได้ยอมรับกับ Richard Larn ผู้เชี่ยวชาญด้านการซากเรือของอังกฤษว่า บริษัทของเขากำลังค้นหา Merchant Royal เรือค้นหาด้วยโซนาร์ของ Odyssey Marine ได้เข้าสำรวจพื้นที่อย่างกว้างขวางในปี 2005 จนถึง 2006 บ่อยครั้งที่ลูกเรือต้องเดินทางไปเมือง Falmouth เพื่อพักผ่อน ลูกเรือของ Odyssey ยังคงค้นหาเรือดังกล่าวในรายการโทรทัศน์ Treasure Quest ของ Discovery Channel 2009 (ถ่ายทำในปี 2008) ภาพของเหรียญที่ค้นพบโดย Odyssey ถูกปิดบังเครื่องหมายเพื่อป้องกันการระบุอัตลักษณ์ อย่างไรก็ตามจากการตรวจสอบขอบของเหรียญปรากฏว่า มาจากกลางศตวรรษที่ 18 จึงไม่น่าที่จะมาจากเรือ Merchant Royal 

ทั้งนี้ Nick Bruyer ผู้เชี่ยวชาญด้านเหรียญหายาก ผู้ผ่านการตรวจสอบตัวอย่างกว่า 6,000 เหรียญจากซากเรือกล่าวถึงการค้นพบว่า "สำหรับยุคอาณานิคมนี้ผมคิดว่า (สิ่งที่พบ) เป็นประวัติการณ์ ... ผมไม่รู้ว่ามีอะไรที่เท่าเทียมหรือเทียบได้กับ " นอกจากนี้เขายังเชื่อว่า เหรียญจำนวนมากหรือทั้งหมดยังไม่เคยมีการใช้หมุนเวียน สิ่งที่พบถูกส่งด้วยเครื่องบินเช่าเหมาลำไปยังสถานที่ที่ไม่เปิดเผยในสหรัฐอเมริกาเพื่อทำการตรวจสอบ Odyssey กล่าวว่า พวกเขาคาดว่าซากเรือจะกลายเป็นหนึ่งใน ‘เรื่องโด่งดังมากที่สุดในประวัติศาสตร์’ การดำเนินการทั้งหมดต้อง

ใช้เวลาหลายปี และมีค่าใช้จ่ายหลายล้านดอลลาร์สหรัฐฯ การยื่นข้อเรียกร้องเพื่อที่จะสร้างข้อเรียกร้องทางกฎหมายสำหรับสมบัติที่กู้ Odyssey ได้ยื่นฟ้องต่อศาลสหรัฐฯ เพื่ออายัดสินค้าเมื่อ 4 เมษายน 2007 และเผยแพร่ประกาศการอายัดครั้งนั้นเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2007 ต่อมาในวันที่ 31 พฤษภาคม 2007 รัฐบาลสเปนตามประกาศการอายัดได้ยื่นคำร้องต่อสมบัติที่กู้ได้ โดยอ้างว่าเงินและเหรียญทองที่ Odyssey กู้มาจากเรือสเปนที่ชื่อ Nuestra Señora de las Mercedes ซึ่งเป็นเรือรบสเปนติดปืน 36 กระบอกแล่นออกนอกชายฝั่งโปรตุเกสระหว่างเส้นทางจากมอนเตวิเดโอไปยังกาดิซ เรือรบ Nuestra Señora de las Mercedes ซึ่งจมลงโดยเรือรบของราชนาวีอังกฤษในเดือนตุลาคม 1804 และเป็นที่ทราบกันดีว่า เรือรบลำดังกล่าวบรรทุกเหรียญเงินมากกว่าหนึ่งล้านดอลลาร์ ในเดือนมกราคม 2008 ศาลของรัฐบาลกลางสหรัฐในเมืองแทมปา มลรัฐฟลอริดามีคำสั่งให้ Odyssey เปิดเผยรายละเอียดของจุดที่เรือรบ Nuestra Señora de las Mercedes อับปางต่อรัฐบาลสเปน และให้ทั้งคู่กลับขึ้นศาลในเดือนมีนาคม ในระหว่างการดำเนินการดังกล่าว Odyssey ระบุว่าสมบัติของ Black Swan ได้ถูกกู้ในมหาสมุทรแอตแลนติกทางตะวันตกของโปรตุเกสประมาณ 180 ไมล์ (290 กม.) สถานที่นั้นดูเหมือนจะออกจาก Merchant Royal (ซึ่งจมลงไปทางเหนือมากในมหาสมุทรแอตแลนติก) และ Mercedes (ซึ่งจมอยู่ห่างจากชายฝั่งโปรตุเกสประมาณ 30 ไมล์ทะเล (56 กม.)) และเรือหลวง Sussex (ซึ่งจมลงในช่องแคบของ Gibraltar) สมบัติที่พบแล้วส่วนใหญ่เป็นเหรียญเงิน มีเหรียญทองและแท่งทองแดงบางส่วน แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า มาจากเรือของสเปนในยุคอาณานิคมที่จมลงขณะขนส่งเงินที่เพิ่งทำใหม่จากอเมริกาใต้ไปยังสเปน 

กฎหมายกู้สมบัติในน่านน้ำสากลซึ่งเป็นที่ยอมรับของบางประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษ บริษัทที่กู้ได้สามารถรับมอบสมบัติที่กู้ได้ถึง 90% แต่สเปนอ้างสิทธิ์ในการเป็นเจ้าของซากเรือและสมบัติทั้งหมดโดยประกาศว่าจะไม่จ่ายรางวัลใด ๆ เลยสำหรับการกู้ดังกล่าว เนื่องจากสมบัติของเรือ Mercedes จะได้รับการคุ้มครองโดยเอกสิทธิทางอธิปไตยซึ่งมีผลเหนือกฎหมายใด ๆ ทางทะเล เนื่องจากบางส่วนของเหรียญที่กู้ได้ถูกสร้างขึ้นใน Lima รัฐบาลเปรูก็อ้างสิทธิ์ในสมบัติเช่นกัน ในปี 2008 Jose Jimenez เจ้าหน้าที่ระดับสูงของกระทรวงวัฒนธรรมสเปนระบุว่า สเปนยินดีที่จะแบ่งปันสมบัติ 'จากความรู้สึกของมรดกทางวัฒนธรรมร่วมกัน' อย่างไรก็ตามเปรูรวมถึงทายาทของพ่อค้าที่ส่งเหรียญ ซึ่งเป็นสินค้าไปกับเรือ Mercedes ได้โต้แย้งสิทธิ์ของสเปนในสมบัติพร้อมกับ Odyssey ในคดีระหว่างดำเนินการในศาลด้วยเช่นกัน วันที่ 26 กรกฎาคม 2007 Odyssey Marine Exploration ได้มีการเคลื่อนไหวสองสามครั้งเพื่อขอขยายเวลาในการยื่นคำตอบต่อคำสั่ง Motions for More Definite ของสเปนในการจับกุมเรือสามครั้ง ซึ่งขณะนั้น 

Odyssey ต้องอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลแขวงสหรัฐ เพื่อการพิสูจน์ว่า เขตอำนาจศาลอยู่เหนือพิกัดที่เรืออับปาง วันที่ 16 ตุลาคม 2007 สเปนได้ยึดเรืออีกลำหนึ่งคือ Odyssey Explorer ซึ่งเป็นของ Odyssey Marine Exploration ในขณะที่แล่นออกจากท่าเรือจากดินแดนโพ้นทะเลของอังกฤษใน Gibraltar กัปตัน Sterling Vorus ของ Odyssey Explorer อ้างว่าอยู่ในน่านน้ำสากล แต่ถูกบังคับให้เทียบท่าที่ Algeciras เมื่ออยู่ในท่าเรือในที่สุด Vorus ก็ถูกจับเนื่องจากขัดขวางการจับกุมหลังจากปฏิเสธการตรวจสอบเรือโดยไม่ได้รับการอนุมัติจากสถานะสัญชาติของ Odyssey Explorer ซึ่งเป็นจดทะเบียนในเครือจักรภพแห่งบาฮามาสก่อน ในขณะที่ถูกจับมีนักข่าวและช่างภาพประมาณหนึ่งโหล ซึ่งทุกคนมี เครื่องบันทึกเทปวิดีโอ เครื่องบันทึกเทป และอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล หน่วยความจำคอมพิวเตอร์ที่ถูกเจ้าหน้าที่สเปนยึดไว้ เพื่อเป็นการลดข้อพิพาท ในวันรุ่งขึ้นทางการสเปนตัดสินใจคืนหนังสือเดินทางและเอกสารทางการให้กับลูกเรือ และปล่อยตัว โดยเรือสำรวจของ Odyssey ได้รับอนุญาตให้เดินทางออกไป หลังจาก Spanish Civil Guard ทำการตรวจสอบแล้ว เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2007 โดยสเปนระบุว่า ถือเป็นกระทำในน่านน้ำของตนเอง แต่สหราชอาณาจักรได้โต้แย้งว่า เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นในน่านน้ำสากล ดังนั้นจึงเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย อย่างไรก็ตามสเปนกล่าวอ้างด้วยวาจาเหนือน่านน้ำว่า ไม่รับรองน่านน้ำของ Gibraltar ยกเว้นท่าเรือ Gibraltar และน่านน้ำทั้งหมดที่อยู่ห่างจากชายฝั่งไม่ถึง 12 ไมล์ (19 กม.) จึงถือเป็นน่านน้ำของสเปน


เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2552 ผู้พิพากษาสหรัฐฯในเมืองแทมปา มลรัฐฟลอริดา (ศาลแขวงสหรัฐสำหรับเขตมิดเดิลฟลอริดา) ได้ตัดสินว่า สมบัติดังกล่าวมาจากเรือรบของสเปนชื่อ ‘Nuestra Senora de las Mercedes’ และประกาศว่า ศาลไม่มีเขตอำนาจในการดำเนินการกับคดีนี้ จึงได้ตัดสินให้สเปนตามอ้างว่ามี ความคุ้มกันอธิปไตย Odyssey และอุทธรณ์คำตัดสินดังกล่าว เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2009 ผู้พิพากษาเขตของสหรัฐอเมริกาได้ตรวจสอบรายงานและคำแนะนำของผู้พิพากษา แต่ยังคงสั่งให้ส่งสมบัติคืนให้สเปนจนกว่า กระบวนการอุทธรณ์จะเสร็จสิ้น “ความจริงที่ไม่อาจปฏิเสธได้ในกรณีนี้คือ Nuestra Señora de las Mercedes เป็นเรือของสเปน และซากเรือ สินค้าที่เรือลำนี้บรรทุกมา รวมถึงศพ เป็นสิทธิและความเชื่อตามกฎหมายของสเปน” ผู้พิพากษากล่าวในคำสั่งของเขา ในเดือนมกราคม 2011 Odyssey อ้างถึงข่าวในวงการทูตที่รั่วไหลแสดงให้เห็นว่า กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเจรจาเพื่อช่วยให้รัฐบาลสเปนได้รับสมบัติคืน เพื่อแลกกับการคืนงานศิลปะที่ถูกกล่าวหาว่า ถูกขโมย

ไปให้กับพลเมืองของสหรัฐฯ แต่กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ปฏิเสธเรื่องนี้ ขณะที่สเปนปฏิเสธข้อเรียกร้องของ Odyssey ต่อมาสำนักงานผู้ตรวจการกระทรวงการต่างประเทศได้สอบสวนข้อกล่าวหาตามคำร้องขอของ Kathy Castor สส.แห่งมลรัฐฟลอริดา ในเดือนมีนาคม 2011 ระบุว่า ไม่พบหลักฐานความเชื่อมโยงระหว่างคดีหงส์ดำและการเจรจาขอคืนภาพวาดของพิสซาร์โรซึ่งเป็นผลงานศิลปะที่เป็นปัญหา 

ในเดือนกันยายน 2011 ศาลอุทธรณ์ (คณะที่ 11) ได้เห็นพ้องกับคำตัดสินของศาลชั้นต้นว่า เรือที่ไม่ปรากฏชื่อเป็นเรือ ‘Nuestra Senora de las Mercedes’ จริง และตัดสินว่า Odyssey Marine Exploration ต้องคืนเหรียญเงิน 17 ตัน และสมบัติที่กู้ได้อื่น ๆ ให้กับรัฐบาลสเปน คำตัดสินสามารถค้นได้โดยการค้นหาฐานข้อมูลความคิดเห็นของศาลอุทธรณ์สำหรับกรณีที่ไม่มีคำตัดสินของศาลส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับการตีความกฎหมาย Foreign Sovereign Immunities Act (FSIA) และหลักการของการได้มา ซึ่งกล่าวว่า "ไม่สามารถครอบครอง (สมบัติ) ที่กู้มาได้ ในท้ายที่สุดแล้วต้องเป็นทรัพย์สินของสเปน ด้วยเป็นเพียงแค่ความคุ้มกันของอำนาจอธิปไตยที่เกิดจากเหตุที่เรือ Nuestra Senora de las Mercedes อับปาง และยังใช้กับสินค้าที่เรือลำดังกล่าวบรรทุกขณะที่จมลงด้วย" วันที่ 31 มกราคม 2012 ศาลอุทธรณ์สหรัฐฯ (คณะที่ 11) ในนครแอตแลนตา มลรัฐจอร์เจีย ปฏิเสธคำร้องจาก Odyssey Marine Exploration, Inc. ให้คงคำตัดสินของศาลเดิมในเดือนพฤศจิกายนที่สั่งให้ บริษัท เปลี่ยนการถือครองสมบัติ เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2555 ศาลฎีกาของสหรัฐฯปฏิเสธที่จะรับคำร้องฉุกเฉินสำหรับการถือครองที่ยื่นโดย Odyssey ซึ่งระบุว่า ต้องการคงไว้ซึ่งการครอบครองเหรียญทองและเหรียญเงินมูลค่า 500 ล้านดอลลาร์จนกว่าจะมีการตัดสินคดีในขั้นสุดท้ายว่า ใครมีกรรมสิทธิ์เป็นเจ้าของ ผู้พิพากษา  Clarence Thomas ซึ่งมีเขตอำนาจเหนือมลรัฐฟลอริดาปฏิเสธโดยไม่แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการการฟ้องร้องระหว่าง Odyssey Marine Exploration Inc. กับ Kingdom of Spain โดย Odyssey Marine Exploration ได้ยื่นอุทธรณ์ฉุกเฉินต่อศาลสูงในความพยายามที่จะระงับคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้ส่งสมบัติกลับไปยังสเปน 

ข้อสรุป วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2012 มีรายงานว่า  Mark Pizzo ผู้พิพากษาสหรัฐฯ มีคำสั่งให้ Odyssey คืนเหรียญดังกล่าวให้กับสเปนภายในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2012 โดยจะแยกย้ายไปยังพิพิธภัณฑ์ (ซึ่งไม่ใช่ทายาท) ศาลฎีกาปฏิเสธที่เปลี่ยนแปลงคำสั่งนี้ และ Odyssey ต้องปฏิบัติตามคำตัดสิน วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2012 เครื่องบินลำเลียงแบบ C-130 Hercules 2 ลำของกองทัพอากาศสเปนได้ลำเลียงสมบัติดังกล่าวจากมลรัฐฟลอริดาและขนไปยังสเปน Odyssey ได้ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาเพื่อพิจารณาประเด็นในคดีนี้ใหม่ แต่ในวันที่ 14 พฤษภาคม 2012 ศาลปฏิเสธที่จะรับคำอุทธรณ์ ด้วยเหรียญดังกล่าวถูกส่งคืนไปยังสเปนแล้ว และโดยกฎหมายของสเปนกำหนดว่า จะไม่สามารถนำออกจำหน่ายให้กับประชาชนได้ วันที่ 2 ธันวาคม 2012 รัฐบาลสเปนได้นำเหรียญทองและเงินจำนวน 14.5 ตันที่กู้ได้ไปตั้งแสดงในพิพิธภัณฑ์โบราณคดีแห่งชาติ Subaquatic ในเมือง Cartagena (Murcia) เพื่อทำการศึกษาและจัดแสดงถาวร ในปี 2015 ศาลแขวงสหรัฐได้สั่งให้ Odyssey จ่ายเงินให้สเปน 1 ล้านดอลลาร์ สำหรับ “การดำเนินการอย่างไม่สุจริตและการดำเนินการโดยมิชอบ’ ผู้พิพากษาได้ตั้งข้อสังเกตว่า ตลอดการดำเนินคดี Odyssey รู้อยู่ตลอดเวลาว่า สเปนมีข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการระบุอัตลักษณ์ตัวตนของเหรียญดังกล่าวโดยตลอด มีข้อมูลทางประวัติศาสตร์ และผู้เชี่ยวชาญที่สามารถระบุได้ทันทีว่า ซากที่เป็นปัญหานั้นเป็นเรือของสเปนหรือไม่" และ "ข้อเท็จจริง ที่ Odyssey ไม่เคยขอความช่วยเหลือจากสเปนในการระบุตัวเรือแสดงให้เห็นถึง แรงจูงใจและวัตถุประสงค์ของ Odyssey" ตั้งแต่ปี 2014 สมบัติส่วนหนึ่งถูกจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์สาธารณะของสเปนหลายแห่ง โดยเป็นส่วนหนึ่งของการจัดแสดงการเดินทางที่เกี่ยวข้องกับการอับปางของเรือ และการกู้สมบัติ

เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2017 จากการติดตามโครงการ กองทัพเรือสเปนได้กู้ปืนใหญ่ 2 กระบอก ชื่อ ‘Santa Barbara’ และ ‘Santa Rufina’ โดยแต่ละกระบอกมีน้ำหนักมากกว่า 2 ตัน หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์และประทับตราโดยโรงหลอม Bernardino de Tejeda (เซบียา, สเปน - ลิมา, เปรู) สร้างขึ้นในปี 1596 ซึ่งพบที่ Minor Basilica และ Convent of San Agustin ในเขต Old Lima ได้รับการปรับปรุงใหม่ในปี 1942 โดยทายาทชาวเปรูโดยตรงของ Tejeda ได้แก่ Carlos PérezCánepa Jimenez (Lima 1918-85) และ Javier Pérez de Cuéllar (Lima 1920-2020) ตามที่ระบุไว้ในภายหลังในหน้า 19 ของหนังสือ Memorias ของเขา, ซึ่งเผยแพร่โดย Aguilar ในปี 2012 มีหนังสือการ์ตูนที่สร้างจากโครงการ The Treasure of the Black Swan เขียนโดยนักการทูตชาวสเปนซึ่งมีส่วนร่วมในการต่อสู้ทางกฎหมาย Guillermo Corral และ Paco Roca นักเขียนนิยายภาพชาวสเปน ตีพิมพ์ในปี 2018

สำหรับบ้านเรา งานโบราณคดีใต้น้ำประเทศไทยเริ่มต้น เมื่อ พ.ศ. 2517 ที่อ่าวสัตหีบ จังหวัดชลบุรี สาเหตุที่กรมศิลปากรเริ่มทำงานวิชาการด้านนี้อย่างจริงจังและกะทันหัน โดยที่กรมศิลปากรยังไม่มีเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญด้านการปฏิบัติงานในทะเล และไม่มีอุปกรณ์ปฏิบัติงานใต้น้ำ เนื่องจากมีชาวประมงพบซากเรื่อจมโบราณมีโบราณวัตถุประเภทเครื่องสังคโลกจำนวนมากในร่องน้ำลึกใกล้เกาะคราม และมีนักล่าสมบัติ ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเข้าไปงมเครื่องถ้วยสังคโลกขึ้นมาขาย โดยไม่หวั่นกลัวต่อกฎหมาย ทำให้หลักฐานทางวิชาการและมรดกทางวัฒนธรรมของชาติถูกทำลายไปมากมาย ในการปฏิบัติงานโบราณคดีใต้น้ำระยะเริ่มต้นกรมศิลปากรได้ขอความร่วมมือจากกองทัพเรือ จัดส่งเรื่องอุปกรณ์และเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการใต้น้ำมาช่วยดำเนินงานกู้โบราณวัตถุเครื่องถ้วยในแหล่งเรือจมโบราณใกล้เกาะครามได้เป็นผลสำเร็จ ในปี พ.ศ. 2518 กรมศิลปากรได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลประเทศเดนมาร์กส่งผู้เชี่ยวชาญทางโบราณคดีใต้น้ำมาช่วยแนะนำการปฏิบัติงาน และร่วมการปฏิบัติงาน ให้ทุนฝึกอบรมและศึกษาดูงานในประเทศเดนมาร์ก นับตั้งแต่ปีนั้นมาคนไทยและนานาชาติก็รู้จักโบราณคดีใต้น้ำในประเทศไทย และในปี พ.ศ. 2520 รัฐบาลไทยจึงอนุมัติให้กรมศิลปากร จัดตั้งโครงการโบราณคดีใต้น้ำ และได้บรรจุโครงการฯ เข้าไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520 - 2524) ต่อมาภายหลังได้มีการปรับเปลี่ยนยกระดับจากโครงการโบราณคดีใต้น้ำมาเป็นงานโบราณคดีใต้น้ำ ฝ่ายวิชาการ กองโบราณคดีจนสุดท้ายมาเป็น กองโบราณคดีใต้น้ำ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ในปัจจุบัน

‘สเปน’ เผชิญ ‘ฤดูหนาวอบอุ่น’ ผลพวงจากอากาศแปรปรวน หลังอุณหภูมิพุ่งสูง 30 องศาฯ แดดแรงระอุเหมือนหน้าร้อน!!

เมื่อวันที่ 26 ม.ค. 67 สำนักข่าวเอเอฟพี รายงานถึงสถานการณ์สภาพอากาศแปรปรวนใน ประเทศสเปน หลังอุณหภูมิในช่วงฤดูหนาว อบอุ่นขึ้น จนหลายพื้นที่ระอุเกือบ 30 องศาเซลเซียส และสถานีอุตุนิยมวิทยาราว 400 แห่ง หรือเกือบครึ่งของทั้งประเทศวัดอุณหภูมิได้เกิน 20 องศาเซลเซียส

โฆษกสำนักงานอุตุนิยมวิทยาแห่งชาติระบุว่าอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นถือเป็นความผิดปกติเพราะเป็นอุณหภูมิช่วงเริ่มต้นฤดูร้อนในเดือน มิ.ย. พร้อมเปิดเผยว่า อุณหภูมิสูงสุด เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 25 ม.ค.ที่ผ่านมา วัดได้ 29.5 องศาเซลเซียสในแคว้นบาเลนเซีย ทางตะวันออก

ขณะที่แคว้นมูร์เซีย ทางตะวันออกเฉียงใต้ วัดได้ 28.5 องศาเซลเซียส และใกล้ๆ เมืองมาลากาในแคว้นอันดาลูซิอา ทางตอนใต้ วัดได้ 27.8 องศาเซลเซียส

นอกจากนี้ตอนกลางคืนก็อุ่นกว่าปกติ รวมถึงพื้นที่สกีรีสอร์ทใกล้กรุงมาดริดซึ่งอยู่สูงจากระดับน้ำทะเล 1,900 เมตร และปกติจะมีหิมะปกคลุมในช่วงเวลานี้ของปี แต่เมื่อค่ำวันพุธที่ 24 ม.ค. กลับวัดอุณหภูมิได้ 10 องศาเซลเซียส

อากาศร้อนในช่วงฤดูหนาวมีสาเหตุมาจาก แอนติไซโคลน เหนือทะเลเมดิเตอร์เรเนียน นายเดวิด คอเรลล์ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยบาเลนเซีย กล่าวว่า “ยังไม่มีการศึกษาที่ประเมินแนวโน้มระยะยาวของเหตุการณ์ประเภทนี้ แต่เป็นที่แน่ชัดว่าเรากำลังเผชิญกับสถานการณ์ผิดปกติประเภทนี้บ่อยขึ้นเรื่อยๆ”

ก่อนหน้านี้ สเปนเพิ่งเผชิญหน้ากับอุณหภูมิในเดือน ธ.ค. ที่สูงเป็นประวัติการณ์ถึง 29.9 องศาเซลเซียสในเมืองมาลากา ความร้อนดังกล่าวเกิดขึ้นท่ามกลางภัยแล้งที่ยืดเยื้อและส่งผลกระทบต่อพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศ โดยเฉพาะแคว้นคาตาโลเนีย ทางตะวันออกเฉียงเหนือ และแคว้นอันดาลูเซีย ทางตะวันตกเฉียงใต้

ในเมืองบาร์เซโลนา เมืองหลวงของคาตาโลเนีย มีระดับน้ำในอ่างเก็บน้ำลดลงเมื่อกลางเดือน ม.ค.ที่ผ่านมา และเหลือประมาณร้อยละ 17 ของความจุ หากลดลงต่ำกว่าร้อยละ 16 ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้น แคว้นคาตาโลเนียจะเข้าสู่ภาวะฉุกเฉิน

อดีตผู้ต้องขังแฉ!! สภาพ 'คุก' ของ 'อัลเวส' ช่างสุขสบาย มีทั้ง 'สระว่ายน้ำ-ฟิตเนส-อาหารชั้นดี' เหมือนโรงแรมหรู

(23 ก.พ.67) อดีตผู้ต้องขังแฉคุกที่จองจำ 'ดานี อัลเวส' ตำนานกองหลังทีมชาติบราซิล เป็นเหมือนโรงแรม 5 ดาว มีสระว่ายน้ำ, ฟิตเนส รวมถึงอาหารอย่างดี 

อดีตดาวเตะทีมบาร์เซโลน่าถูกจับนอนคุกกว่า 1 ปีที่เรือนจำในสเปน เหตุที่เขาไปล่วงละเมิดหญิงสาวในไนท์คลับเเห่งหนึ่งในเมืองบาร์เซโลน่า แม้ทนายความส่วนตัว เรียกร้องให้ปล่อยตัว แต่คำขอนั้นถูกปฏิเสธไป 

ล่าสุดมีการตัดสินออกมาแล้วว่าอัลเวส ถูกพิพากษาจำคุก 4 ปีครึ่ง ซึ่งเป็นเวลาที่ยาวนาน แต่อย่างนั้นเขาอาจจะสบายกว่าที่คิด เพราะอดีตนักโทษในเรือนจำเดียวกันที่มีชื่อว่า จอห์น เม็คอาฟิล ที่ถูกจำคุกในเดือนตุลาคม 2020 ด้วยข้อหาฉ้อโกง การฟอกเงิน และการหลีกเลี่ยงภาษีหลายกระทง ซึ่งตอนนี้เสียชีวิตไปเเล้ว แต่มีการเปิดเผยเรื่องน่าสนใจไว้ว่า...

"ชีวิตในเรือนจำของอัลเวสในสเปนเปรียบเสมือนโรงแรมฮิลตัน ถ้าให้เปรียบเทียบมันคือลัทธิเหนือจริงที่น่าสังเวชและการลดทอนความเป็นมนุษย์ยิ่งกว่าเรือนจำในอเมริกา"


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top