Tuesday, 30 April 2024
สินทรัพย์ดิจิทัล

อาเซียนพร้อมไหม? ‘สินทรัพย์ดิจิทัล’! | Click on Clear THE TOPIC EP.126

📌เปิดโลก ‘สินทรัพย์ดิจิทัล’ ในอาเซียน!! ไปกับ ‘ดร.ปิติ ศรีแสงนาม’ ผู้อำนวยการศูนย์อาเซียนศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย !
📌ใน Topic​ : อาเซียนพร้อมไหม? ‘สินทรัพย์ดิจิทัล’!

จับประเด็น เน้นความรู้ในรายการ Click on Clear THE TOPIC

ดำเนินรายการโดย ปริม กุญชนิตา กุญชร ณ อยุธยา PROGRAM DIRECTOR THE STATES TIMES

.

.

Sberbank​ แบงก์ยักษ์รัสเซีย​ ออกสินทรัพย์ดิจิทัลของตัวเอง คาด!! เชื่อมโยงกับระบบการเงินจีนได้

Sberbank ธนาคารที่ใหญ่ที่สุดของรัสเซียได้ประกาศอนุมัติการออกสินทรัพย์ดิจิทัลทางการเงิน (Digital Financial Assets) บน Blockchain เป็นของตัวเองภายใน 1 เดือนต่อจากนี้ โดยจะใช้เทคฯ แบบ Defi มาผสมผสานบางส่วน และคาดว่าระบบเหล่านี้จะมีการเชื่อมโยงกับจีน ซึ่งอาจจะได้เห็นอย่างรวดเร็วต่อจากนี้

กระแส "โหดจัดรัสเซีย" ยังคงมีมาให้เห็นอย่างต่อเนื่องเลยทีเดียว !! หลังจากล่าสุด Sberbank ซึ่งเป็นธนาคารที่ใหญ่ที่สุดในรัสเซีย ได้ประกาศอนุมัติการออกสินทรัพย์ดิจิทัลทางการเงินหรือ (Digital Financial Assets : DFAs) ที่รันผ่านระบบ Blockchain เป็นของตัวเองแล้ว !! ถือเป็นความเคลื่อนไหวครั้งใหญ่มาก ซึ่งทาง World Maker สรุปรายละเอียดสำคัญไว้ดังนี้... 

1.) DFA ที่ออกบนแพลตฟอร์มสินทรัพย์ดิจิทัล (digital assets platform) ของ Sberbank นั้นจะถูกบันทึกและเผยแพร่ผ่านระบบข้อมูลโดยใช้เทคโนโลยีบัญชีแยกประเภทแบบกระจายศูนย์ (distributed ledger technology) ซึ่งถือเป็นการรับรองความปลอดภัยของข้อมูลและทำให้ข้อมูลไม่สามารถถูกเปลี่ยนแปลงได้

2.) โดยทาง Sberbank จะใช้ DFAs นี้ในการทำธุรกรรมใหม่ รวมถึงการระดมทุนเข้าประเทศ และแน่นอนว่าจะมีการขยายระบบไปสู่ภาคธนาคารของรัสเซียหลายแห่งในอนาคต

3.) แน่นอนว่าทั้งหมดนี้ จะเป็นไปตามข้อกฎหมายที่รัฐบาลรัสเซียรองรับแบบ 100% หรือพูดง่ายๆ คือ​ รัฐบาลรัสเซียตั้งใจสร้างระบบการชำระเงินใหม่ขึ้นมานั่นเอง

ก.ล.ต. คลอดเกณฑ์คุมใช้ ‘สินทรัพย์ดิจิทัล’ ห้ามใช้ ‘ชำระค่าสินค้าหรือบริการ’ เริ่ม 1 เม.ย.นี้

ก.ล.ต. ออกหลักเกณฑ์ในการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลแล้ว ยันไม่สนับสนุนหรือส่งเสริมใช้เป็นสื่อกลางชำระค่าสินค้าและบริการ

ก.ล.ต. ออกหลักเกณฑ์ในการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล เพื่อไม่ให้สนับสนุนหรือส่งเสริมการนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาใช้เป็นสื่อกลางชำระค่าสินค้าและบริการ (Means of Payment) เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบต่อเสถียรภาพทางการเงินและระบบเศรษฐกิจของประเทศ

ทั้งนี้ ตามที่ ธปท. และ ก.ล.ต. ได้หารือร่วมกันและเห็นความจำเป็นในการกำกับดูแล สำหรับผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่ให้บริการอยู่ก่อนแล้ว ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2565 

ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้หารือร่วมกันถึงประโยชน์และความเสี่ยงของสินทรัพย์ดิจิทัล และเห็นความจำเป็นในการกำกับดูแลและควบคุมการนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาใช้เป็นสื่อกลางชำระค่าสินค้าและบริการ

เนื่องจากอาจส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพระบบการเงินและระบบเศรษฐกิจโดยรวม รวมถึงความเสี่ยงต่อประชาชนและธุรกิจ อาทิ ความเสี่ยงจากการสูญมูลค่าที่เกิดจากความผันผวนของราคา ความเสี่ยงจากการถูกโจรกรรมทางไซเบอร์ ความเสี่ยงข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหล หรือการถูกใช้เป็นเครื่องมือของการฟอกเงิน

คณะกรรมการ ก.ล.ต. จึงพิจารณาใช้อำนาจตามกรอบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำกับดูแลการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจไม่ให้มีการนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาใช้เป็นเป็นสื่อกลางชำระค่าสินค้าและบริการ เนื่องจากอาจส่งผลให้เกิดการนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาใช้ในวงกว้างนอกเหนือไปจากวัตถุประสงค์เพื่อการลงทุน

โดยคณะกรรมการ ก.ล.ต. ในการประชุมครั้งที่ 3/2565 เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2565 ได้มีมติเห็นชอบหลักการกำกับดูแลผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลในการจำกัดการให้บริการนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาใช้เป็นสื่อกลางชำระค่าสินค้าและบริการ ซึ่งปรับปรุงตามข้อเสนอแนะที่ได้จากการรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้อง (ระหว่างวันที่ 25 มกราคม ถึง 8 กุมภาพันธ์ 2565)  ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น และออกประกาศเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์การให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล สรุปสาระสำคัญดังนี้

(1) ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลทุกประเภท ต้องไม่ให้บริการหรือกระทำการอันมีลักษณะที่เป็นการสนับสนุนหรือส่งเสริมการชำระค่าสินค้าและบริการด้วยสินทรัพย์ดิจิทัล เช่น การโฆษณา การชักชวนหรือแสดงตนว่าพร้อมให้บริการชำระค่าสินค้าหรือบริการแก่ร้านค้า หรือการจัดทำระบบหรือเครื่องมืออำนวยความสะดวกในการชำระค่าสินค้าและบริการ การเปิดกระเป๋าสินทรัพย์ดิจิทัลเพื่อวัตถุประสงค์ในการนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาใช้เป็นสื่อกลางชำระค่าสินค้าและบริการ เป็นต้น   

(2) กรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลพบว่า ลูกค้าใช้บัญชีที่เปิดไว้เพื่อการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลไปใช้ประโยชน์ในการชำระค่าสินค้าและบริการ ผู้ประกอบธุรกิจต้องแจ้งเตือนเกี่ยวกับการใช้บัญชีผิดวัตถุประสงค์และไม่ตรงกับเงื่อนไขการให้บริการ และดำเนินการแก่ลูกค้าที่ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการให้บริการ ซึ่งรวมถึงระงับการให้บริการชั่วคราว ยกเลิกการให้บริการหรือดำเนินการอื่นใดในทำนองเดียวกัน  

ทั้งนี้ ประกาศดังกล่าวมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2565 และสำหรับผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลให้บริการตาม (1) และ (2) อยู่ก่อนแล้ว ให้ผู้ประกอบธุรกิจปฏิบัติให้เป็นไปตามที่หลักเกณฑ์กำหนดภายใน 30 วันนับแต่วันที่ประกาศมีผลใช้บังคับ

คำถาม-คำตอบ

กรณีการออกเกณฑ์ในการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลเพื่อไม่ให้สนับสนุนหรือส่งเสริมการนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาใช้เป็นสื่อกลางชำระค่าสินค้าและบริการ(Means of Payment)  

1.) การนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาใช้เป็นสื่อกลางในการชำระค่าสินค้าและบริการ (Means of Payment) จะก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อประชาชน และส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพทางการเงินและระบบเศรษฐกิจอย่างไร 

คำตอบ

หากมีการนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาใช้เป็นสื่อกลางในการชำระค่าสินค้าและบริการในวงกว้าง จะมีความเสี่ยงต่อผู้เกี่ยวข้องในมิติต่าง ๆ ดังนี้ 

(1.)  เสถียรภาพระบบการชำระเงิน 

หากสินทรัพย์ดิจิทัลถูกนำมาใช้เพื่อชำระค่าสินค้าบริการอย่างแพร่หลาย อาจส่งผลต่อการดูแลระบบการชำระเงินให้มีประสิทธิภาพ มั่นคงและปลอดภัย เนื่องจากสินทรัพย์ดิจิทัลส่วนใหญ่ถูกพัฒนาจากเทคโนโลยีสาธารณะแบบกระจายศูนย์ (public blockchain) ทำให้ไม่มีหน่วยงานกำกับดูแลและไม่มีการกำหนดมาตรฐานความปลอดภัยไว้ หากเกิดปัญหา ผู้ใช้บริการอาจไม่ได้รับความคุ้มครอง นอกจากนี้ ยังทำให้มีระบบการชำระเงินหลายระบบ (fragmentation) และซ้ำซ้อน อาจสร้างความสับสนหรือทำเกิดต้นทุนหากผู้บริโภคต้องใช้หลายระบบ ทำให้ต้นทุนการชำระเงินโดยรวมของประเทศสูงขึ้นและส่งผลต่อเนื่องมายังการพัฒนาเศรษฐกิจการเงินด้วย 

(2.) เสถียรภาพทางการเงิน และความสามารถในการดูแลภาวะการเงินของประเทศ

การเกิดหน่วยวัดมูลค่า (unit of account) หรือหน่วยการตั้งราคาที่นอกเหนือจากสกุลเงินบาท จะเป็นต้นทุนในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประชาชนและธุรกิจ จากการแลกเปลี่ยนไป-มาระหว่างสกุลต่าง ๆ นอกจากนี้ ความต้องการถือครองสกุลเงินบาทที่ลดลง จะลดทอนประสิทธิภาพของการส่งผ่านนโยบายการเงิน ในการดูแลระดับราคาสินค้า รวมถึงลดความสามารถของ ธปท. ในการดูแลให้ภาวะการเงินสอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจในแต่ละช่วงเวลา นอกจากนี้ หากเกิดวิกฤตสภาพคล่องในประเทศ ธปท. จะไม่สามารถเข้าช่วยเหลือด้านสภาพคล่องให้แก่สถาบันการเงินต่าง ๆ ในรูปแบบอื่นๆ ที่ไม่ใช่เงินบาทได้

มุมมองความเสี่ยงข้างต้นสอดคล้องกับมุมมองของผู้กำกับดูแลในหลายประเทศ เช่น อังกฤษ สหภาพยุโรป เกาหลีใต้ และมาเลเซีย โดยที่ผ่านมา มีบางประเทศจำกัดการใช้สินทรัพย์ดิจิทัลในขอบเขตเพื่อการลงทุนเป็นหลัก เช่น อินโดนีเซีย และเวียดนาม ขณะที่หลายประเทศอยู่ระหว่างการพิจารณาการกำกับดูแลที่เหมาะสมเช่นกัน 

(3.) ผู้ใช้หรือรับชำระสินทรัพย์ดิจิทัล ซึ่งก็คือประชาชนและผู้ประกอบธุรกิจ 

(3.1) ความเสี่ยงจากความผันผวนของมูลค่าสินทรัพย์ดิจิทัล ซึ่งทำให้ยอดใช้จ่ายของผู้ใช้ หรือรายรับของผู้รับชำระมีความไม่แน่นอนสูง แม้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลบางรายมีบริการที่ช่วยแลกสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นเงินบาทก่อนส่งมอบแก่ร้านค้า แต่ยังอาจมีต้นทุนแฝง เช่น ค่าธรรมเนียมในการแปลงสินทรัพย์ดิจิทัลเพื่อป้องกันความผันผวน ที่อาจเก็บจากผู้ใช้หรือผู้รับชำระได้ 

(3.2) ความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยมีโอกาสที่ผู้ใช้บริการจะถูกโจรกรรมทางไซเบอร์ เกิดการรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคล หรือระบบหยุดชะงักทำให้เสียโอกาส 

(3.3) ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติตามระเบียบและกฎหมาย ด้วยลักษณะของสินทรัพย์ดิจิทัลที่สามารถโอนหรือรับโอนจากกระเป๋าส่วนตัว (private wallet) ที่ผู้ใช้บริการไม่ต้องพิสูจน์ยืนยันตัวตน จึงมีโอกาสที่สินทรัพย์ดิจิทัลจะถูกใช้เพื่อการฟอกเงิน และเป็นเครื่องมือในการสนับสนุนทางการเงินให้กับการก่อการร้าย รวมถึงการหลีกเลี่ยงการเสียภาษีต่าง ๆ เป็นต้น

2 แนวทางนี้ สะท้อนว่าหน่วยงานภาครัฐไม่สนับสนุนอุตสาหกรรมสินทรัพย์ดิจิทัลหรือไม่

คำตอบ

ประเด็นที่หน่วยงานกำกับดูแลฯ กังวล คือ ความเสี่ยงจากการนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาใช้ชำระค่าสินค้าและบริการอย่างแพร่หลายที่กล่าวถึงข้างต้น ขณะที่ระบบชำระเงินปัจจุบันของไทยมีประสิทธิภาพสูงอยู่แล้ว ทำให้การนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาใช้ในการชำระค่าสินค้าและบริการไม่ได้เพิ่มประโยชน์มากนักให้กับประชาชนและภาคธุรกิจ 

อย่างไรก็ดี ธปท. และ ก.ล.ต. รวมถึงหน่วยงานภาครัฐอื่น ๆ เล็งเห็นประโยชน์ของเทคโนโลยีต่าง ๆ เบื้องหลังสินทรัพย์ดิจิทัล เช่น blockchain และให้ความสำคัญและสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีเพื่อต่อยอดนวัตกรรม และไม่ได้ปิดกั้นการนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาใช้ในการลงทุน สะท้อนจากการที่ไทยเป็นประเทศแรก ๆ ของโลกที่มีกฎหมายรองรับการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลโดย ก.ล.ต. เพื่อกำกับดูแลการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลให้เหมาะสม และคุ้มครองประโยชน์ของผู้ใช้บริการมาอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ ธปท. เป็นธนาคารกลางแห่งแรก ๆ ที่เริ่มพัฒนาสกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลาง (CBDC) เพื่อเป็นโครงสร้างพื้นฐานเพื่อใช้ต่อยอดนวัตกรรมทางการเงิน และส่งเสริมการพัฒนาบริการทางการเงินใหม่ ๆ เช่น การจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ผ่านเทคโนโลยี blockchain หรือการออกหนังสือค้ำประกันอิเล็กทรอนิกส์โดยใช้ blockchain เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับระบบการเงินด้วย 

'บิ๊กตู่' ดีใจคนรุ่นใหม่สนใจการลงทุน แนะ!! ต้องศึกษาข้อมูลให้ดี อย่าหลงเชื่อจากคำโฆษณา

จากกระแสข่าวนักลงทุนในตลาดสินทรัพย์ดิจิทัล ขาดทุนอย่างหนักอยู่ในตอนนี้ บางคนถึงขั้นสูญเงินแทบหมดตัว และมีจำนวนไม่น้อยถึงขั้นล้มละลาย จากที่เคยมีเงินนับหมื่นล้าน แต่เพียงชั่วข้ามคืนกลับมาเหลือเพียงศูนย์บาทเท่านั้น 

โดยก่อนหน้านี้ มีนักการเมืองและนักลงทุนรายใหญ่ทั้งในไทยและต่างประเทศ ต่างออกมาเชียร์ให้ลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล โดยระบุว่า เป็นการลงทุนแห่งอนาคต ที่ให้ผลตอบแทนสูง ทำให้คนหลงเชื่อและขาดทุนจากการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลไปจำนวนมาก

แต่ทว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ได้ออกมาเตือนหลายครั้งเกี่ยวกับการลงทุนดังกล่าว โดยเมื่อเดือนตุลาคม 2564 ได้แสดงความเป็นห่วง โดยระบุว่า เป็นห่วงนักลงทุนในการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล โดยเฉพาะกลุ่มเยาวชน คนรุ่นใหม่วัยทำงาน หลังพบว่า มีเข้ามาลงทุนในคริปโตเคอร์เรนซีเป็นจำนวนที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก ด้วยเหตุเพราะเข้าถึงได้ง่าย ใช้ระยะเวลาสั้นแต่ได้รับผลตอบแทนที่รวดเร็ว 

พร้อมทั้ง ได้ฝากเตือนให้นักลงทุนพิจารณาถึงความเสี่ยงจากการลงทุนประเภทนี้ให้มาก เนื่องจากคริปโตเคอเรนซีไม่มีปัจจัยพื้นฐานรองรับ เป็นการเก็งกำไรและมีความผันผวนสูง ส่วนผู้ปกครองที่เปิดบัญชีให้เยาวชน ต้องมีความระมัดระวังในการลงทุนและดูแลอย่างใกล้ชิด จึงขอให้ผู้สนใจที่จะลงทุนทำความเข้าใจในลักษณะความเสี่ยง ต้องแน่ใจว่าสามารถยอมรับการสูญเสียเกือบทั้งจำนวนได้ หาข้อมูลและพิจารณาอย่างถี่ถ้วนก่อนตัดสินใจ และที่สำคัญ อย่าหลงเชื่อคำโฆษณา ต้องเลือกผู้ให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)

'ไบแนนซ์ ประเทศไทย' คิกออฟ!! เปิดเทรดคริปโตแล้ว กร้าว!! ปลอดภัย โปร่งใส มั่นใจคุณภาพการให้บริการ

(16 ม.ค. 67) เพจ Binance TH ประกาศว่า Binance TH by Gulf Binance แพลตฟอร์มซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลและนายหน้าสินทรัพย์ดิจิทัลในประเทศไทย ได้เปิดให้สมัครสมาชิกได้แล้วตั้งแต่วันนี้ เพื่อเริ่มต้นเทรดคริปโทมากกว่า 110 คู่เหรียญ ฝากและถอนได้ด้วยเงินบาท

Binance TH by Gulf Binance คือแพลตฟอร์มที่ให้บริการศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล (สำหรับการซื้อขายด้วยเงินบาท) และบริการนายหน้าซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล (สำหรับการซื้อขายระหว่างสินทรัพย์ดิจิทัล) โดยบริษัท กัลฟ์ ไบแนนซ์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างบริษัท กัลฟ์ อินโนวา จำกัด ในเครือของ บมจ. กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ (GULF) และบริษัท ไบแนนซ์ แคปปิตอล แมเนจเมนท์ จำกัด ในเครือกลุ่ม Binance

บริษัทได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลและนายหน้าซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลจากกระทรวงการคลัง และอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 ได้แก่ ใบอนุญาตประกอบธุรกิจศูนย์ซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซี, ใบอนุญาตประกอบธุรกิจศูนย์ซื้อขายโทเคนดิจิทัล, ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนายหน้าซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซี และใบอนุญาตประกอบธุรกิจนายหน้าซื้อขายโทเคนดิจิทัล

บริการของบริษัทฯ มีดังนี้

1. บริการศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล บริษัทฯ จะให้บริการเป็นศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลที่ผู้ใช้บริการสามารถวางคำสั่งซื้อหรือขายสินทรัพย์ดิจิทัลกับผู้ใช้บริการอื่นภายในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลของบริษัทฯ ได้ โดยสอดคล้องกับกลไกการคัดเลือกสินทรัพย์ดิจิทัลที่จะนำมาให้บริการซื้อขาย, กลไกการจับคู่, การชำระราคาและส่งมอบ รวมถึงกลไกการตรวจสอบสภาพตลาดที่เหมาะสม ทั้งนี้ บริการศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลจะให้บริการเฉพาะการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลด้วยสกุลเงินบาทเท่านั้น

และ 2. บริการนายหน้าซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล - บริษัทฯ จะให้บริการเป็นนายหน้าซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลที่ผู้ใช้บริการสามารถวางคำสั่งซื้อหรือขายสินทรัพย์ดิจิทัล ผ่านบริษัทฯ ในฐานะนายหน้าซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล เพื่อส่งไปยังศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลปลายทาง (sourced exchange) ที่เชื่อมต่อกับบริษัทฯ ได้ ภายใต้กลไกเงื่อนไขราคาที่ดีที่สุดตามสภาพตลาด ทั้งนี้ บริการนายหน้าซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลนี้จะให้บริการเฉพาะการซื้อขายระหว่างสินทรัพย์ดิจิทัลด้วยกันเท่านั้น

คุณสมบัติ ในการลงทะเบียนเพื่อใช้งานบัญชีการใช้งาน Binance TH

-กรณีบุคคลธรรมดา อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์

-กรณีนิติบุคคล เป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นและดำรงอยู่โดยชอบภายใต้กฎหมายของประเทศที่จัดตั้งขึ้น และมีความสามารถทางกฎหมาย และสามารถเข้าทำข้อตกลง

-ไม่เคยถูกระงับหรือถูกลบออกจากการใช้งานบริการของบริษัทมาก่อน

-ไม่มีบัญชีการใช้งานกับบริษัทฯ อยู่แล้ว

- การใช้บริการต้องไม่เป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย หรือกฎเกณฑ์ใดๆ ที่บังคับใช้ หรือนิติบุคคลที่ดำเนินการแทน ซึ่งรวมถึงแต่ไม่จำกัดเพียงกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง

- ไม่มีสถานะความเป็นบุคคลอเมริกันตามกฎหมาย FATCA

'ท๊อป จิรายุส' ชี้!! บิทคอยน์ New High ก่อน Halving ไม่เคยมีมาก่อน ส่วน 'ก.ล.ต.สหรัฐฯ' ไฟเขียว Bitcoin ETF 'ซื้อ-ขาย' ถูกต้อง สร้างความเชื่อมั่น

เมื่อวันที่ 21 ก.พ. 67 บริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด ผู้ให้บริการ ‘Bitkub Exchange’ ศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลชั้นนำของไทย และบริษัท บิทคับ แล็บส์ จำกัด ผู้ให้บริการ ‘Bitkub Academy’ ศูนย์กลางการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีบล็อกเชนและสินทรัพย์ดิจิทัล ร่วมจัดงานเสวนา ‘Digital Assets Navigator เจาะลึกวงในทิศทางสินทรัพย์ดิจิทัล (by Bitkub’s Crypto Theses)’ เพื่อนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับเทรนด์สินทรัพย์ดิจิทัลในแง่มุมต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในปี 2567 และเหตุการณ์ Bitcoin ETF และ Bitcoin Halving ที่จะส่งผลต่อการเติบโตของตลาดสินทรัพย์ดิจิทัล โดยมี นายจิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา ผู้ก่อตั้ง และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด, นายณัฐวุฒิ พึงเจริญพงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท อุ๊คบี จำกัด, นายโดม เจริญยศ ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Tokenine, นายภาณุ ชลหาญ เจ้าของเพจ Nookfree God Defi, นายณัฎฐ์ จิตตมัย ผู้ก่อตั้ง GM Learning Club Pudgy Thailand Community Leader และนายกันตณัฐ วุฒิธร Digital Asset Analyst Supervisor บริษัท บิทคับ แล็บส์ จำกัด ร่วมแลกเปลี่ยนในครั้งนี้  ณ ทรู ดิจิทัล พาร์ค 101 กรุงเทพฯ

นายจิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา กล่าวตอนหนึ่งภายในงานว่า “ปีนี้เป็นปีที่วงการสินทรัพย์ดิจิทัลมีความคึกคักและน่าจับตามอง เพราะมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นถึง 2 เรื่อง คือ การประกาศอนุมัติให้ Bitcoin Spot ETF สามารถเปิดซื้อขายได้อย่างถูกกฎหมายของ ก.ล.ต. สหรัฐฯ เมื่อมกราคมที่ผ่านมา โดยวงการคริปโทเคอร์เรนซีในปัจจุบันมีมูลค่ากว่า 1.8 ล้านล้านดอลลาร์ เมื่อเทียบกับกองทุนระดับโลกต่าง ๆ เช่น BlackRock, Vanguard ฯลฯ ที่มีมูลค่าประมาณ 130 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งมูลค่าของวงการคริปโทเคอร์เรนซีก็ยังนับว่าน้อยอยู่มาก แต่หากกองทุนที่เพิ่งได้อนุมัติ Bitcoin Spot ETF มีการซื้อขายบิทคอยน์เพียงแค่ 5% ของมูลค่ากองทุน จะทำให้เงินสถาบันจำนวนมหาศาลไหลเข้าสู่ตลาดคริปโทเคอร์เรนซีมากยิ่งกว่ามูลค่าของตลาดทั้งหมดเสียอีก

นอกจากนี้ ปีนี้ยังเป็นปีที่จะเกิดปรากฏการณ์ Bitcoin Halving ขึ้นเป็นรอบที่ 4 ในช่วงเมษายนนี้ ซึ่งตามสถิติในแต่ละรอบที่ผ่านมา ยังไม่เคยมีรอบไหนที่บิทคอยน์ทำ New High ก่อน Halving แบบรอบนี้ นักลงทุนจึงควรระมัดระวังและคอยจับตาอย่างใกล้ชิด แต่อย่างน้อย Bitcoin Spot ETF ก็ยังทำให้รู้สึกปลอดภัยได้ว่ายังมีเงินสถาบันที่จะไหลเข้ามาเป็นผู้เล่นหน้าใหม่ในรอบนี้เพิ่มอีกด้วย โดยเมื่อดูตามสถิติต่าง ๆ และตัวเลขแล้วเชื่อว่าวงการคริปโทเคอร์เรนซียังมีโอกาสเติบโตได้อีก”

ทั้งนี้ นายจิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา ฝากคำแนะนำให้นักลงทุนหน้าใหม่และผู้ที่สนใจลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลว่า “ขอให้ศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุนให้ดี เพราะสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูง แต่ละคนมีความพร้อม เงินทุน และระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ไม่เหมือนกัน นึกถึงคำที่ ‘วอร์เรน บัฟเฟตต์’ เคยบอกว่า คุณไม่จำเป็นต้องสวิงไม้เบสบอลทุกครั้งที่เขาขว้างลูกมา แต่ให้ดูความพร้อมของตัวเองและรอจังหวะที่คุณพร้อม ดังนั้น ทุกคนควรทำความเข้าใจในสิ่งที่ตัวเองจะลงทุนให้ดีทุกครั้ง”


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top