Sunday, 5 May 2024
สิทธิมนุษยชน

คนสิทธิฯ ลุยมหาชัย ศึกษาคุณภาพชีวิตแรงงานข้ามชาติ ด้าน “ผอ.สมพงษ์” วอนคนไทยหยุด!แบ่งแยกเป็นพลเมืองชั้นรอง ให้ดูที่ศักยภาพ

นายณรงค์  รักร้อย ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร ให้การต้อนรับนางประกายรัตน์ ต้นธีรวงศ์ อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ นางสาวรตญา กอบศิริกาญจน์ รองเลขาธิการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ นายณัฐพงศ์ รอดมี ผู้อำนวยการสำนักบริการวิชาการ สถาบันพระปกเกล้า และนักศึกษาหลักสูตร ประกาศนียบัตรสิทธิมนุษยชนสำหรับนักบริหารระดับสูง (ปสม) รุ่นที่ 2 ในการลงพื้นที่ศึกษาดูงาน ณ มูลนิธิเครือข่ายคุณภาพชีวิตแรงงาน(LPN) อ.เมือง จังหวัดสมุทรสาคร 

ทั้งนี้ มีเวทีเสวนาหัวข้อ “การยกระดับคุณภาพชีวิตแรงงานกับสิทธิมนุษยชนที่จับต้องได้” โดย นายวันชัย สาครมณีรัตน์ จัดหางานจังหวัดสมุทรสาคร นายสมพงษ์ สระแก้ว ผู้อำนวยการมูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน(LPN) คุณดาวเรือง เลขวรนันท์ ที่ปรึกษา บริษัท ซีแอลเอ็มวี สมาร์ท เวิร์คเกอร์ จำกัด และคุณ Ko Ko Naing ผู้แทนแรงงานต่างด้าวจังหวัดสมุทรสาคร ร่วมเสวนา 

นายสมพงษ์ สระแก้ว กล่าวว่า ทางมูลนิธิเครือข่ายคุณภาพชีวิตแรงงาน (LPN ) มีเป้าหมาย คือการพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานข้ามชาติ ส่งเสริมการรับรู้และเข้าถึงสิทธิ์ที่พึงจะได้รับ แรงงานข้ามชาติและผู้ติดตามมีศักดิ์ศรีและคุณค่าความเป็นมนุษย์ทัดเทียมคนไทย จึงอยากให้คนไทยเปลี่ยนความคิด เปลี่ยนมุมมอง ที่ว่ากลุ่มแรงงานข้ามชาติเป็นพลเมืองชั้นรองของสังคม

 

สิทธิมนุษยชนไทย ปี 2564 ‘สอบผ่าน’ หรือ ’สอบตก’ !!? | Click on Clear THE TOPIC EP.111

📌 ห้ามพลาด!! วิกฤต ‘สิทธิมนุษยชนไทย’!? กับแขกรับเชิญพิเศษ ‘คุณวรภัทร วีรพัฒนคุปต์’ กรรมการ คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.)

📌 ใน Topic : สิทธิมนุษยชนไทย ปี 2564 ‘สอบผ่าน’ หรือ ’สอบตก’ ในมุมมองนักประชาธิปไตย!!?

ร่วมจับประเด็น เน้นความรู้ได้ในรายการ Click on Clear THE TOPIC

ดำเนินรายการโดย ปริม กุญชนิตา กุญชร ณ อยุธยา PROGRAM DIRECTOR THE STATES TIMES

.

.

เพจดังแชร์!! มือดีแอบถ่ายลูกค้าหนุ่มขณะเข้าห้องน้ำ แจ้งเจ้าของร้านแล้วแต่ไม่คืบ ซ้ำไม่มีกล้องวงจรปิด

เพจ "อยากดังเดี๋ยวจัดให้ รีเทริน์ part 3" เผยคลิปเตือนภัย หลังมีลูกค้าชายที่เข้าห้องน้ำในร้านอาหารแห่งหนึ่ง ใน อำเภอสีคิ้ว พบว่ามีกล้องสอดเข้ามาเพื่อแอบถ่าย และเเจ้งเจ้าของร้านไปเเล้ว เเต่ทำไรไม่ได้

เมื่อวันที่ 27 พ.ค. เพจ "อยากดังเดี๋ยวจัดให้ รีเทริน์ part 3" โพสต์คลิปวิดีโอเตือนภัยของลูกค้าชายที่เข้าห้องน้ำในร้านอาหารแห่งหนึ่ง ใน อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา แล้วพบว่ามีกล้องโทรศัพท์มือถือสอดเข้ามาเพื่อแอบถ่าย

ความพยายามในการยัดเยียดค่านิยม ได้แสดงให้เห็นแล้วว่า มีผลสะท้อนกลับมารุนแรงทั้งในอิรักและอัฟกานิสถาน

ความพยายามในการยัดเยียดค่านิยม ได้แสดงให้เห็นแล้วว่า มีผลสะท้อนกลับมารุนแรงทั้งในอิรักและอัฟกานิสถาน

มันจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องทราบว่า ทุกประเทศมีค่านิยมที่แตกต่างกัน และควรได้รับความเคารพเสมอกัน

มกุฏราชกุมาร โมฮัมเหม็ด บิน ซัลมาน ตอบคณะทูตของปธน.ไบเดน กรณีสิทธิมนุษยชน เมื่อ (16 ก.ค. 65)

เมื่อ (16 ก.ค. 65) มกุฏราชกุมารโมฮัมเหม็ด บิน ซัลมาน แห่งซาอุดีอาระเบียได้ตอบต่อข้อซักถามกรณีสิทธิมนุษยชนที่คณะทูตของนายไบเดน ปธน.สหรัฐฯ หยิบยกขึ้นมาเพื่อกดดันซาอุดีอาระเบียในเวทีเจรจาที่ประเทศซาอุดีอาระเบีย

โดยมกุฎราชกุมารแห่งซาอุดีฯ ได้ระบุว่า....

สหรัฐฯ และอังกฤษมีค่านิยมหลายประการที่พวกเขายึดถือ และมีหลายค่านิยมที่แตกต่างกัน

อย่างไรก็ตาม สิทธิมนุษยชน ค่านิยมและหลักการที่ดี ก็มักจะส่งผลกระทบต่อผู้คนในหลากหลายประเทศ ในช่วงเวลาที่สิ่งเหล่านั้นไม่สอดคล้องกับผู้คนจำนวนมากบนโลกใบนี้

ความพยายามในการยัดเยียดค่านิยมได้แสดงให้เห็นแล้วว่า มีผลสะท้อนกลับมารุนแรงทั้งในอิรักและอัฟกานิสถาน มันจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องทราบว่า ทุกประเทศมีค่านิยมที่แตกต่างกันและควรได้รับความเคารพเสมอกัน

'พิธา' ชี้ ครูกล้อนผมเด็ก สะท้อนใช้อำนาจเกินขอบเขต ลั่น!! หากก้าวไกลเป็น รบ. พร้อมดันกฎห้าม รร. ละเมิดสิทธิฯ

(7 ก.พ. 66) นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล โพสต์ข้อความลงโซเชียลมีเดีย แสดงความคิดเห็นต่อกรณีที่มีครูโรงเรียนแห่งหนึ่งกล้อนผมนักเรียนในโรงเรียน ว่าเป็นเรื่องที่ขัดกับหลักสิทธิมนุษยชน แสดงให้เห็นว่าการลงนามยกเลิกระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยทรงผม ไม่ได้ช่วยทำให้นักเรียนมีเสรีภาพมากขึ้นจริงในทางปฏิบัติ เสนอแนะให้กระทรวงศึกษาธิการปกป้องสิทธิเสรีภาพนักเรียน เพื่อสร้างพลเมืองที่ตอบโจทย์โลกอนาคต

โดยพิธา กล่าวว่าตน รู้สึกไม่สบายใจอย่างยิ่ง ที่วันนี้ได้เห็นภาพเหตุการณ์ที่ถูกนำเสนอโดยกลุ่มนักเรียนเลว ที่มีครูในโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดเพชรบูรณ์ ใช้กรรไกรเดินกล้อนผมนักเรียนกว่าร้อยคนจนแหว่งและเสียทรง ในระหว่างเข้าแถวตอนเช้า หลังจากนั้นก็บังคับให้นักเรียนทุกคนแก้ทรงผมกลายเป็นทรงนักเรียนขาว 3 ด้านทั้งหมด

แม้กฎเรื่องทรงผมโรงเรียนจะไม่ได้บังคับให้นักเรียนต้องตัดผมเกรียนก็ตาม นี่แสดงให้เห็นว่า การที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ลงนามยกเลิกระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการไว้ทรงผมของนักเรียน พ.ศ. 2563 เปลี่ยนเป็นการกำหนดแนวปฏิบัติกว้าง ๆ ให้สถานศึกษาแต่ละแห่งนำหลักเกณฑ์ไปกำหนดเป็นระเบียบเอง ไม่ได้เป็นการปลดปล่อยเสรีภาพเหนือร่างกายของนักเรียน แต่กลับทำให้กฎเกณฑ์เรื่องทรงผมนักเรียนถูกกำหนดอย่าง 'ไร้ขอบเขต' กว่าเดิม

“ผมคิดว่าการสอนและสร้างความสำนึกเรื่องสิทธิมนุษยชน และเสรีภาพของมนุษย์ในโรงเรียน เป็นเรื่องเดียวกันกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษา เพราะในโลกยุคปัจจุบันเราไม่สามารถเอาวิธีคิดแบบการผลิตพลทหารของโลกยุค 100 ปีก่อน มาใช้ในการสร้างสรรค์การเรียนรู้ สิ่งที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการควรต้องทำจริง ๆ คือการประกาศระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ที่ห้ามบุคลากรทางการศึกษาทั้งครูและผู้บริหารโรงเรียน ไม่ให้ละเมิดสิทธิมนุษยชนตามนโยบายของพรรคก้าวไกล” พิธากล่าว

‘รัชดา’ ชู นโยบายดูแลปากท้องควบคู่ส่งเสริมสิทธิมนุษยชน เผย ‘ปชป.’ เห็นความสำคัญ พร้อมดัน กม.คุ้มครองสิทธิ์ ปชช.

(21 เม.ย. 66) น.ส.รัชดา ธนาดิเรก กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) และผู้สมัคร ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ เปิดเผยว่า ตนได้มีโอกาสนำเสนอนโยบายของพรรคประชาธิปัตย์ในหลายเรื่องที่ส่งเสริมและสนับสนุนเรื่องสิทธิมนุษยชนในด้านต่าง ๆ ผ่านการร่วมเวทีดีเบตพรรคการเมือง ‘เลือกตั้ง 66: วาทะผู้นำ วาระสิทธิมนุษยชน’ ที่ลานคนเมือง เมื่อวันที่ 20 เม.ย.ที่ผ่านมา โดยได้ยืนยันว่า พรรคประชาธิปัตย์ให้ความสำคัญกับสิทธิมนุษยชน เพราะมีความเกี่ยวข้องกับปากท้องและความมั่นคงในชีวิตของประชาชน ทั้งเรื่องสิทธิในที่ดินทำกิน ที่อยู่อาศัย หรือแม้แต่การจ้างงานที่ต้องไม่มีการเลือกปฏิบัติ

โดยเรื่องที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยยังเป็นสิ่งที่ประชาชนจำนวนมากกำลังประสบปัญหาอยู่ พรรคประชาธิปัตย์จึงกำหนดนโยบายที่ชัดเจนและทำได้จริงมาแก้ปัญหา ทั้งการออกโฉนดที่ดิน 1 ล้านแปลง ใน 4 ปีแรก และการออกเอกสารสิทธิ์รับรองการใช้ที่ดินของรัฐ โดยรัฐยังคงความเป็นเจ้าของที่ดิน ส่วนประชาชนมีที่อยู่ มีที่ทำกิน และช่วยทำให้คนอยู่ร่วมกับป่าได้ อีกทั้ง พรรคฯ ยังมีนโยบายในการดูแลผู้มีรายได้น้อยและผู้ถูกไล่รื้อที่จากโครงการของรัฐ โดยจะใช้กองทุนสวัสดิการชุมชนของสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) ในการจัดที่อยู่อาศัยร่วมกับการเคหะแห่งชาติ (กคช.) เพื่อให้คนเหล่านี้ได้มีที่อยู่อาศัยพร้อมด้วยสิ่งสาธารณูปโภค

น.ส.รัชดา กล่าวว่า พรรคประชาธิปัตย์จะเดินหน้าแก้ปัญหาบุคคลไร้สถานะ ด้วยการขับเคลื่อนการรับรองสถานะบุคคลที่เกิดในประเทศไทยแต่ไม่มีบัตรประชาชน ให้ได้เข้าถึงสวัสดิการขั้นพื้นฐานต่าง ๆ อาทิ การศึกษา การรักษาพยาบาล ส่วนกลุ่มชาติพันธุ์ที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ ที่ยังคงประสบปัญหาในหลาย ๆ ด้าน เราจึงมีนโยบายผลักดันร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ เพื่อดูแลสิทธิ์กลุ่มชาติพันธุ์ควบคู่กับส่งเสริมการเป็นสังคมพหุวัฒนธรรม

‘นายกฯ’ พบ ‘เลขาฯ ยูเอ็น’ ย้ำ ไทยให้ความสำคัญสิทธิมนุษยชน ยัน!! พร้อมดูแลผู้ลี้ภัยชาวเมียนมาชายแดน ตามสิทธิ์ที่ควรได้รับ

(22 ก.ย. 66) ผู้สื่อข่าวรายงานความเคลื่อนไหวของ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ระหว่างการเดินทางเข้าร่วมประชุมสมัชชาสหประชาชาติ ครั้งที่ 78 (UNGA 78) ที่นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ว่า เมื่อเวลา 17.10 น. (ตามเวลาท้องถิ่นสหรัฐฯ ซึ่งช้ากว่าไทย 11 ชั่วโมง) วันที่ 21 ก.ย. นายเศรษฐา ให้สัมภาษณ์ถึงการพูดคุยกับนายอันโตนิอู กุแตเรช เลขาธิการสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ว่า ได้กำชับว่าไทยต้องดูแลสถานการณ์เมียนมา ต้องพูดคุยสนทนากัน และเห็นว่าการพูดคุยกันเป็นเรื่องสำคัญ

นายเศรษฐา กล่าวว่า จริงๆ แล้ว ในอดีตเลขาธิการสหประชาชาติ ก็โตมาจากสายงานผู้ลี้ภัย ท่านเคยมาอยู่เมืองไทยและทำงานใกล้ชิด ซึ่งประเทศไทยให้ความสำคัญกับเรื่องสิทธิมนุษยชนสูงอยู่แล้ว และเป็นที่ชื่นชมของนานาประเทศ ทั้งนี้ หน้าที่ของตน คือสานต่อเท่านั้นเอง และยึดหลักตามที่กระทรวงการต่างประเทศประสาน

“ขอย้ำว่า เราสนับสนุนให้มีการพูดคุยและเจรจากันอย่างสันติสุข ถ้าหากมีปัญหาเรื่องสิทธิมนุษยชนในแง่ของชายแดน หรือเรื่องการเข้า และออก เราช่วยดูแลตามสิทธิ์ที่ทุกคนควรได้ ส่วนประเทศเขาก็เป็นเรื่องของเขา” นายเศรษฐา กล่าว

เมื่อถามว่า ได้พูดคุยบทบาทกับกระทรวงการต่างประเทศหรือไม่ว่า ปัญหาที่มีอยู่บริเวณชายแดนจะทำอย่างไร นายเศรษฐา กล่าวว่า ได้รับฟังโจทย์จากเลขาฯ ยูเอ็น ไปก็จะทำให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น

เมื่อถามถึงวันสันติภาพโลก ซึ่งตรงกับวันที่ 21 ก.ย.ของทุกปี นายเศรษฐา กล่าวว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อน และเป็นเรื่องที่เราพูดในเชิงสัญลักษณ์มากเกินไป ส่วนการปฏิบัติ ตนอยากให้เราปฏิบัติ ไม่ใช่เป็นวันไหนแล้วค่อยมาทำกัน พอทำแล้วก็ลืมกันไป จากนั้นก็มาจับอาวุธห้ำหั่นกัน

“ความจริงแล้วการประชุม UNGA 78 ในครั้งนี้ เราทราบดีว่ามีหลายประเทศ มีภูมิรัฐศาสตร์ระหว่างประเทศที่จับคู่ทะเลาะกัน ถือเป็นเรื่องใหญ่ที่เราหาข้อตกลงกันไม่ได้ ซึ่งเลขาฯ ยูเอ็น มีความสามารถสูงที่จะหาจุดร่วม ให้ทุกประเทศอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข โดยดึงเรื่องอากาศสะอาดเข้ามา ซึ่งเลขาฯ ยูเอ็นรู้อยู่แล้วว่าทุกประเทศ ให้ความสนใจเหมือนกัน จึงสามารถช่วยได้ และหล่อหลอมจิตใจกัน ความจริงเรื่องวันสันติภาพโลกกับเรื่องนี้ไม่ได้ห่างไกลกัน เป็นเรื่องที่เรามองเห็นตรงกัน ซึ่งถือเป็นเรื่องที่สำคัญ” นายเศรษฐา กล่าว

พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม มอบรางวัลองค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชน ปี 2566

วันที่ 22 กันยายน 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานจาก โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร ว่า เมื่อเวลา 8.30 น. ที่ผ่านมา พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เดินทางมาเป็นประธานพิธีเปิดงานประกาศผลรางวัลองค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2566 Human Rights Awards 2023 จัดงานโดย กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม มีวัตถุประสงค์เพื่อมอบรางวัลองค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชนให้กับองค์กรภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ ภาคธุรกิจ วิสาหกิจเพื่อสังคมและภาคประชาสังคมที่ผ่านการคัดเลือก รวมถึงเป็นแบบอย่างที่ดีให้องค์กรอื่นๆ ในการเสริมสร้างสังคมแห่งการเคารพสิทธิมนุษยชนอย่างยั่งยืน โดยมี นายดิป มาการ์ หัวหน้าทีมประเทศไทยของสํานักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชน ของสหประชาชาติ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, ดร.เสรี นนทสูติ กรรมการสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรม, ดร.รัชดา ไชยคุปต์ ผู้แทนประเทศไทยในคณะกรรมาธิการอาเซียนว่าด้วยการส่งเสริม และคุ้มครองสิทธิสตรีและสิทธิเด็กในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิสตรี, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ ภาคธุรกิจ วิสาหกิจเพื่อสังคม และภาคประชาสังคม กว่า 1,000 คน เข้าร่วมงาน

พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวเปิดงานว่า รู้สึกยินดี และขอขอบคุณผู้แทนองค์กรภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ ภาคธุรกิจ วิสาหกิจเพื่อสังคม และภาคประชาสังคม รวมถึงวิทยากร และผู้เข้าร่วมงานฯ ทุกท่าน เป็นอย่างยิ่ง ที่ให้ความสนใจเข้าร่วมงานฯ โดยพร้อมเพรียงกัน ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ทุกท่านได้ตระหนักถึงความสําคัญของการดําเนินงานด้วยความเคารพสิทธิมนุษยชน

“รัฐบาลจะสร้างความชอบธรรมในการบริหารราชการแผ่นดินในระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ด้วยการฟื้นฟูหลักนิติธรรม (Rule of Law) ให้เข้มแข็ง มีประสิทธิภาพ โปร่งใส และเป็นที่ยอมรับจากนานาชาติ เพราะหลักนิติธรรมที่น่าเชื่อถือเป็นการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานทางความคิดและสังคมที่สําคัญของประเทศ เป็นการลงทุนทําให้ประเทศมีหลักนิติธรรมที่น่าเชื่อถือ ที่ใช้งบประมาณน้อยที่สุด แต่ได้ป ระสิทธิภาพมากที่สุดในการพัฒนาประเทศ”

พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวด้วยว่า ในการบริหารบ้านเมืองที่ดี ที่เรียกว่า “หลักธรรมาภิบาล” ที่ได้ให้ความสําคัญบัญญัติไว้ในกฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศนั้น คือ การนําสามเสาหลักที่สัมพันธ์ เชื่อมโยง และเสริมสร้างความแข็งแกร่งซึ่งกันและกัน คือ นําหลักสิทธิมนุษยชน หลักนิติธรรม และหลักประชาธิปไตย ที่เป็นค่านิยมสากล และไม่สามารถแยกออกจากกันได้ที่เป็นหลักการของสหประชาชาติ เป็นคุณค่าสากล ต่างค้ําจุนซึ่งกันและกัน เนื่องจากสิทธิมนุษยชนใด ๆ หากปราศจากหลักนิติธรรม และหลักประชาธิปไตย คือ อํานาจอธิปไตยเป็นของปวงชน การมีส่วนร่วมของประชาชน ในการสร้างความเป็นธรรมให้แก่ประชาชนทุกคน บุคคลย่อมได้รับความเสมอภาค ในกฎหมาย ได้รับการคุ้มครองทางกฎหมายเท่าเทียมกัน ไม่เลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมแล้ว สิทธิมนุษยชน “ย่อมเป็นสัญญาว่างเปล่า บนแผ่นกระดาษเท่านั้น”

พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวเพิ่มเติมว่า ในระดับปฏิบัติ กระทรวงยุติธรรม โดยกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ได้มีการจัดทํา แผนที่สําคัญ 2 ฉบับ ได้แก่

1. แผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 5(พ.ศ. 2566 – 2570) ซึ่งมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐยึดถือเป็นกรอบในการทํางาน โดยให้ความคุ้มครองประเด็น สิทธิมนุษยชนใน 5 ด้าน 11 กลุ่มเป้าหมาย ซึ่งใน 5 ด้าน ประกอบด้วย ด้านการเมือง การปกครอง ด้านกระบวนการยุติธรรม ด้านสาธารณสุข ด้านการศึกษา และด้านเศรษฐกิจ และธุรกิจ และสําหรับ 11 กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย กลุ่มผู้ใช้แรงงาน กลุ่มผู้เสียหาย กลุ่มเด็กและสตรี กลุ่มนักปกป้องสิทธิมนุษยชน กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้เสพยาเสพติด กลุ่มความหลากหลายทางเพศ กลุ่มบุคคลที่มีปัญหาทางสถานะทางทะเบียนและกลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มผู้พิการ กลุ่มผู้ต้องหา ผู้ต้องขังและผู้พ้นโทษ และกลุ่มผู้ป่วยเอดส์และผู้ป่วยจิตเวช 

2. แผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566 – 2570) ซึ่งมุ่งนําหลักการชี้แนะของสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจ กับสิทธิมนุษยชน หรือ หลักการ UNGPs (ยูเอ็นจีพีส์) มาเป็นแนวทางส่งเสริมให้รัฐวิสาหกิจ และภาคธุรกิจดําเนินงานด้วยความรับผิดชอบและเคารพสิทธิมนุษยชน โดยกําหนดประเด็น สําคัญเพื่อเร่งแก้ไข 4 ประเด็น ได้แก่ 1) แรงงาน 2) ชุมชน ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม 3) นักปกป้องสิทธิมนุษยชน 4) การลงทุนระหว่างประเทศ และบรรษัทข้ามชาติ ทั้งนี้ รัฐบาลหวังเป็นอย่างยิ่งว่า แผนระดับชาติทั้ง 2 ฉบับ จะเป็นหลักประกัน และเครื่องมือ สําคัญในการกําหนดทิศทางการดําเนินงานให้กับทุกองค์กรต่อไป

“อย่างไรก็ดี เพื่อเป็นการกระตุ้นให้องค์กรทุกภาคส่วนมีความเข้าใจ การมีส่วมร่วม และเห็นถึงความสําคัญของการนําหลักการสิทธิมนุษยชน และแผนทั้ง 2 ฉบับ มาเป็นพื้นฐานในการบริหารจัดการและปฏิบัติงานในทุกระดับ กระทรวงยุติธรรม โดยกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ จึงได้จัดทําโครงการองค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชนขึ้น โดยเปิดรับสมัครองค์กรภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ ภาคธุรกิจ วิสาหกิจเพื่อสังคม และภาคประชาสังคม เข้าร่วมโครงการฯ ซึ่งกําหนดให้ใช้แผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 5 เป็นเกณฑ์ ในการพิจารณาตัดสินของภาครัฐ และกําหนดให้ใช้หลักการ UNGPs (ยูเอ็นจีพีส์) และแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ระยะที่ 2 เป็นเกณฑ์พิจารณาตัดสิน ของรัฐวิสาหกิจ ภาคธุรกิจ วิสาหกิจเพื่อสังคม และภาคประชาสังคม โดยมีกระบวนการ พิจารณาคัดเลือกตามลําดับจนได้องค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชน ประจําปี 2566

สําหรับการจัดงานฯ ในวันนี้ ถือเป็นโอกาสอันดีอย่างยิ่ง ที่ทุกท่านจะได้ร่วมรับฟังการแลกเปลี่ยน และถ่ายทอดบทเรียนจากองค์กรที่ได้รับรางวัลองค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อเป็นแนวทางในการประยุกต์ใช้กับองค์กรของตนต่อไป

สุดท้ายนี้ กระผมขอแสดงความยินดีกับองค์กรที่ได้รับรางวัลทั้งระดับดีเด่น ระดับดี และระดับชมเชย และขอขอบคุณทุกองค์กรที่สมัครเข้าร่วมโครงการฯ กระผมขอเป็นกําลังใจให้ทุกองค์กรที่ได้ขับเคลื่อนงานด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อให้เกิด ประโยชน์แก่องค์กร ประชาชน สังคม และประเทศชาติอย่างยั่งยืนต่อไป” พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าว

‘EA’ คว้ารางวัลองค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชน ระดับดีเด่น ปี 66 สะท้อนองค์กรส่งเสริม-มุ่งเน้นด้านสิทธิมนุษยชนอย่างยั่งยืน

เมื่อไม่นานมานี้ บมจ.พลังงานบริสุทธิ์ (EA) เข้ารับรางวัลองค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชน ระดับดีเด่น (รางวัลระดับสูงสุด) ประจำปี 2566 (Human Rights Awards 2023) ประเภทองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ ตอกย้ำความสำเร็จในการบริหารจัดการองค์กร ด้วยนโยบายส่งเสริมสิทธิมนุษยชนในทุกระดับตลอดห่วงโซ่อุปทาน โดยได้รับเกียรติจาก พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานมอบรางวัล โดยมี นายอมร ทรัพย์ทวีกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เป็นผู้เข้ารับมอบรางวัล จัดโดยกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ

นายอมร ทรัพย์ทวีกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.พลังงานบริสุทธิ์ (EA) เปิดเผยว่า กลุ่มบริษัทพลังงานบริสุทธิ์ ผู้นำนวัตกรรมพลังงานสะอาด ให้ความสำคัญด้านสิทธิมนุษยชนและความยั่งยืน ภายใต้นโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี (Governance) โดยนำนวัตกรรมขับเคลื่อนธุรกิจบนพื้นฐานของธรรมาภิบาล สู่การยกระดับคุณภาพชีวิตพนักงาน ควบคู่ไปกับการคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียทุกระดับ เพื่อประโยชน์สูงสุดต่อผู้ใช้ ผู้ถือหุ้น ผู้ร่วมค้า ตลอดจนชุมชนและสังคม ซึ่งถือเป็นแรงสนับสนุนสำคัญในการเติบโตของ EA อย่างต่อเนื่อง

รางวัลองค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชน ระดับดีเด่น นับเป็นรางวัลสูงสุดระดับประเทศ สะท้อนความสำเร็จในเจตนารมณ์และความมุ่งมั่นของ EA ในการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนตามหลักสากลอย่างเป็นรูปธรรม ตามหลักปรัชญาองค์กร ‘พลังงานบริสุทธิ์ ความบริสุทธิ์ที่มีพลัง’ โดยมีเป้าหมายมุ่งมั่นที่จะตอบแทนสังคม ให้คนไทยมีคุณภาพชีวิตที่เทียบเท่าประเทศพัฒนาแล้ว 

EA ดำเนินธุรกิจ ‘Green Product’ ตั้งแต่กลุ่มธุรกิจพลังงานทดแทน, ธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน, ธุรกิจแบตเตอรี่ ลิเธียม ไอออน, ยานยนต์ไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ และสถานีชาร์จ EA Anywhere ซึ่งขับเคลื่อนธุรกิจโดยสร้างคุณค่าร่วมใน 3 แนวทางหลัก ดังนี้

แนวทางที่ 1 สนับสนุนประเทศสู่เป้าหมาย Net Zero Emissions โดย EA มีเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี 2565 พร้อมพัฒนานวัตกรรมเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีโครงการแลกเปลี่ยนคาร์บอนเครดิตรถโดยสารประจำทาง EV เป็นโครงการแรกของทวีปเอเชียที่มีการแลกเปลี่ยนคาร์บอนเครดิต

แนวทางที่ 2 สร้างโอกาส-ลดความเหลื่อมล้ำ ด้วยกิจการเพื่อสังคม อาทิ การออกแบบยานยนต์ไฟฟ้าที่เอื้อเฟื้อต่อกลุ่มเปราะบาง โดยเฉพาะผู้พิการที่ใช้วีลแชร์, ที่นั่งสำหรับสตรีมีครรภ์ เด็ก และคนชรา นอกจากนี้ยังมีโครงการสร้างทักษะอาชีพที่ตลาดต้องการให้แก่ชุมชน เช่น โครงการโรงเรียนวัว และโครงการ EASE Organic ช่วยสร้างรายได้ให้ชุมชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น แก้ปัญหาเรื่องความเหลื่อมล้ำให้สามารถพึ่งพาตนเองได้

แนวทางที่ 3  เคารพความหลากหลายอย่างเสมอภาค มีการพัฒนาพนักงานเพื่อมุ่งสู่การเป็นองค์กรนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้ Work from Anywhere พร้อมสร้างคุณค่าร่วมผ่านโครงการ Re-employment Program การรับผู้สูงอายุเข้าร่วมทำงานเพื่อแบ่งปันและแชร์ประสบการณ์

“รู้สึกเป็นเกียรติและภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่ได้รับรางวัลดีเด่น ที่สำคัญต้องขอบคุณพนักงานทุกคนที่ร่วมมือกันผลักดันนโยบายขององค์กร ซึ่งถือเป็นความท้าทายและสร้างโอกาสให้พนักงานมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดสร้างสรรค์ สร้างคุณค่าร่วมกันด้านสิทธิมนุษยชนอย่างยั่งยืน” นายอมร กล่าวทิ้งท้าย

กสม. ผนึกกำลังภาคีเครือข่าย กะเทาะ '1 ปี พ.ร.บ. ซ้อมทรมานฯ ข้อท้าทายและความคาดหวัง'

วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2567 ที่ห้อง Conference Room สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ร่วมกับ สถาบันนิติวัชร์ สำนักงานอัยการสูงสุด มูลนิธิผสานวัฒนธรรม สมาคมเพื่อการป้องกันการทรมาน (APT) และสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ) จัดการเสวนาเนื่องในโอกาสครบรอบ 1 ปี ของการบังคับใช้พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 โครงการขับเคลื่อนนโยบาย กสม. ประเด็นสิทธิในกระบวนการยุติธรรม หัวข้อ “1 ปี พ.ร.บ. ซ้อมทรมานฯ ข้อท้าทายและความคาดหวัง” 

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างองค์กรภาคประชาสังคมและหน่วยงานของรัฐ ในการขับเคลื่อนการบังคับใช้ พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 อย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย 

ในการนี้ นางสาวพรประไพ  กาญจนรินทร์ ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุชาติ เศรษฐมาลินี นางสาวปิติกาญจน์ สิทธิเดช และนายวสันต์  ภัยหลีกลี้ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พร้อมด้วยนายพิทักษ์พล  บุณยมาลิก เลขาธิการ กสม. นายชนินทร์  เกตุปราชญ์ รองเลขาธิการ กสม. ผู้บริหารสำนักงาน กสม. นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรสิทธิมนุษยชนสำหรับนักบริหารระดับสูง (ปสม.) รุ่นที่ 1-2-3  สถาบันพระปกเกล้า ข้าราชการตำรวจ เข้าร่วมรับฟังและแลกเปลี่ยนความเห็นด้วย 

สำหรับกิจกรรมช่วงเช้า มีการกล่าวเปิดการเสวนาโดย ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และ หม่อมหลวงศุภกิตต์ จรูญโรจน์ เลขาธิการสถาบันนิติวัชร์ สำนักงานอัยการสูงสุด จากนั้น มีการเสวนาหัวข้อ “1 ปี กับการบังคับใช้ พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการทรมาน ฯ ” โดยวิทยากรประกอบด้วย (1) นายสุริยน ประภาสะวัต อัยการพิเศษฝ่ายการสอบสวน 1 สำนักงานการสอบสวน สำนักงานอัยการสูงสุด (2) นายรัฐวิช จิตสุจริตวงศ์ ผู้อำนวยการส่วนการสอบสวนคดีอาญา กรมการปกครอง (3) พ.ต.อ.วีร์พล ใหญ่อรุณ รองผู้บังคับการกองคดีอาญา สำนักกฎหมายและคดี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (4) นางสาวนรีลักษณ์  แพไชยภูมิ ผู้อำนวยการกองสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม และ (5) นายอังศุเกติ์ วิสุทธิ์วัฒนศักดิ์ กรมสอบสวนคดีพิเศษ ดำเนินรายการโดย นายวสันต์ ภัยหลีกลี้ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

ต่อมามีการเสวนาหัวข้อ “ข้อท้าทายและความคาดหวังต่อผู้บังคับใช้กฎหมาย” โดย (1) นายสมชาย หอมลออ ทนายความและผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิทธิมนุษยชน (2) นางสาวปิติกาญจน์ สิทธิเดช กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (3) หม่อมหลวงศุภกิตต์ จรูญโรจน์ เลขาธิการสถาบันนิติวัชร์ สำนักงานอัยการสูงสุด และ (4) นางสาวนริศราวัลถ์ แก้วนพรัตน์ (ผู้เสียหายจากคดีทรมาน กรณีพลทหารวิเชียร เผือกสม) ดำเนินรายการ โดย นายวสันต์ ภัยหลีกลี้ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

ช่วงบ่าย มีการกล่าวสุนทรพจน์ภาคภาษาอังกฤษ โดยเยาวชนผู้ชนะการประกวดโครงการ Safe in Custody และการเสวนาวิชาการหัวข้อ “ก้าวต่อไปกับการป้องกันการทรมาน” ซึ่งเป็นการพูดคุยเกี่ยวกับ (1) สิ่งที่อยากเห็นและความคาดหวังต่อการป้องกันการทรมาน โดย นายอัรฟาน ดอเลาะ รองประธานสภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย (2) สะท้อนปัญหาการซ้อมทรมาน : สู่แนวทางการป้องกัน โดย นางสาวพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ  มูลนิธิผสานวัฒนธรรม (3) การเข้าเป็นภาคีพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี (OPCAT) : ประโยชน์และข้อท้าทาย โดย ผศ.ดร. รณกรณ์ บุญมี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (4) กสม. กับงานด้านการตรวจเยี่ยมและทิศทางในอนาคต โดย นายชนินทร์ เกตุปราชญ์ รองเลขาธิการ กสม. ดำเนินรายการ โดย นายชนินทร์ เกตุปราชญ์ รองเลขาธิการ กสม.


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top