Sunday, 28 April 2024
สะพานมิตรภาพไทยลาว

8 เมษายน พ.ศ. 2537 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงร่วมพิธีเปิด ‘สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 1’

วันนี้ เมื่อ 29 ปีก่อน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงร่วมพิธีเปิด ‘สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 1’   สะพานข้ามแม่น้ำโขงขนาดใหญ่แห่งแรก ที่เชื่อมต่ออำเภอเมืองหนองคายกับบ้านท่านาแล้ง สปป.ลาว

สะพานแห่งนี้ถือได้ว่า เป็นสัญลักษณ์แห่งมิตรภาพและความร่วมมือระหว่าง 3 ประเทศ คือ ไทย - ออสเตรเลีย - ลาว  แนวคิดในการสร้างสะพานเชื่อมระหว่าง 2 ประเทศมีมาตั้งแต่ปี 2499  จนกระทั่ง พ.ศ. 2531  พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรีไทยในขณะนั้นได้เดินทางไปเยือน สปป. ลาว ผู้นำคณะรัฐบาลของทั้งสองฝ่ายออกแถลงการณ์ร่วมตกลงในหลักการให้มีการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงเพื่อเชื่อมหนองคาย-เวียงจันทน์ ต่อมา พ.ศ. 2532 นายโรเบิร์ต ฮอว์ค นายกรัฐมนตรีออสเตรเลียในขณะนั้น เดินทางมาเยือนประเทศไทย และออกแถลงการณ์ในนามรัฐบาลออสเตรเลียที่จะสนับสนุนเงินช่วยเหลือค่าก่อสร้างสะพานผ่านความร่วมมือระหว่างผู้แทนจากไทยและลาว

เวลาเปลี่ยน เมืองไทยเปลี่ยน : สะพานมิตรภาพ ไทย-ลาว แห่งที่ 5

รัฐบาลมุ่งมั่นพัฒนาประเทศไทยอย่างไม่หยุดยั้ง อีกหนึ่งโครงการใหญ่ในภาคอีสาน ‘สะพานมิตรภาพ ไทย-ลาว แห่งที่ 5’ ข้ามแม่น้ำโขง เชื่อมบึงกาฬ-บอลิคำไซ ความยาวกว่า 1,350 เมตร 

8 เมษายน พ.ศ. 2537 ‘ในหลวง ร.9’ เสด็จฯ เปิด ‘สะพานมิตรภาพไทย-ลาว’ สะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งแรก สร้างผลประโยชน์ในด้าน ‘เศรษฐกิจ-สังคม-วัฒนธรรม’ ของทั้งสองประเทศ

เมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2537 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระมหากษัตริย์แห่งประเทศไทย และนายหนูฮัก พูมสะหวัน ประธานประเทศลาว ทรงเป็นประธานทำพิธีเปิดสะพานมิตรภาพไทย-ลาว สะพานข้ามแม่น้ำโขงขนาดใหญ่แห่งแรก เชื่อมต่อหมู่ที่ 1 คุ้มจอมมณี ตำบลมีชัย อำเภอเมือง จังหวัดหนองคายของประเทศไทย เข้ากับบ้านท่านาแล้ง เมืองหาดซายฟอง นครหลวงเวียงจันทน์ของประเทศลาว

ทั้งนี้ ตัวสะพานมีความยาว 1,170 เมตร มีทางรถ 2 ช่องจราจร ทางเท้า 2 ช่องทาง และรถไฟทางเดี่ยวกว้าง 1 เมตร ตั้งอยู่กึ่งกลาง ใช้งบประมาณก่อสร้าง 30,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ ด้วยความช่วยเหลือจากรัฐบาลออสเตรเลีย ใช้ระยะเวลาก่อสร้างระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2534 ถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2537

นอกจากนี้ สะพานแห่งนี้ได้ช่วยสร้างความสัมพันธ์ไทย-ลาว ให้กระชับแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ชาวอีสานและชาวลาวเรียกสะพานนี้ว่า ‘ขัวมิดตะพาบ’


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top