Sunday, 23 June 2024
สลายการชุมนุม

'บิ๊กตู่' พร้อมรับฟังข้อเสนอม็อบจะนะ เตือนแล้วอย่าไปรับปากก่อนนำเข้า ครม.

“บิ๊กตู่” พร้อมรับฟังข้อเสนอผู้ชุมนุมจะนะ ส่ง “ศอ.บต. - สำนักนายกฯ” ลงพื้นที่เก็บข้อมูล ยันรบ.ต้องรอบคอบ เตือนแล้วอย่าไปรับปากก่อนนำข้อสังเกตเข้า ครม.

ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ให้สัมภาษณ์กรณีการสลายการชุมนุมของกลุ่มเครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น ซึ่งมาปักหลักชุมนุมข้างทำเนียบรัฐบาลว่า ก็ต้องไปชี้แจงกัน ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจจำเป็นต้องทำ เพราะมีข่าวว่าจะมีคนมามั่วสุมเพิ่มเติม ตรงนี้ต้องช่วยรัฐบาลหน่อย เพราะตามกฎหมายสถานที่ราชการมีระยะห่าง 150 เมตร ที่ผ่านมาเมื่อมากันตรงนี้แล้วก็ไม่ไป แต่เราก็ไปฟังเขา เดี๋ยวอยู่ในขั้นตอนที่จะทำประชาพิจารณ์อีกครั้งหนึ่ง ตอนนี้ตนได้ให้หน่วยงานไปฟังว่าอะไรอย่างไร สิ่งใดก็ตามตนเคยบอกแล้วว่า การไปเจรจาอะไรกับเขาอย่าไปรับปากอะไรเขามาทันที ถ้ายังไม่เข้าการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) หรือรัฐบาล ไม่ว่าใครก็ตาม

ผู้สื่อข่าวถามว่าเอ็มโอยูหรือข้อตกลงที่เคยทำร่วมกันเมื่อปีที่ผ่านมามีความเป็นไปได้แค่ไหน นายกฯ ย้อนถามว่าใครตกลงล่ะ 

ผู้สื่อข่าวถามอีกว่า ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า อดีตรมช.เกษตรและสหกรณ์ เมื่อครั้งเป็นประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีดำเนินการขยายผลเมืองต้นแบบ สามเหลี่ยม มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ไปสู่เมืองต้นแบบ 4 อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา เมืองต้นแบบอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต เป็นผู้ไปเจรจา 

พล.อ.ประยุทธ์ตอบว่า แล้วตนไปตกลงหรือยัง ครม.ตกลงหรือยัง ‘ก็ยัง’ 

เมื่อถามว่าจะต้องตั้งคนมาดูแลแทน ร.อ.ธรรมนัสหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า เดี๋ยวตนจะให้ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) และสำนักนายกรัฐมนตรี ไปดูแลและติดตามดูว่าเกิดอะไรขึ้นและควรจะแก้ไขอย่างไร ทั้งนี้เราต้องมองสิ่งที่เป็นประโยชน์ สิ่งไหนที่ไม่เป็นประโยชน์และเป็นปัญหาก็ไม่ต้องไปทำ ก็แค่นั้น ต้องทำให้ถูกต้องตามกติกา กฎหมายอะไรก็ตาม บางทีการไปพบปะเจรจาของใครก็แล้วแต่ เวลาไปพูดไปตกลงกับเขาอย่าลืมว่าไม่ได้ผ่านครม. ตนเตือนหลายครั้งแล้วเวลาไปให้รับข้อสังเกตมาแล้วนำมาสู่การแก้ไขปัญหาในรัฐบาล นั่นคือวิธีการทำงานของรัฐบาลจะต้องรอบคอบ

‘พรรคกล้า’ ติง!! รัฐสลายชุมนุม ‘จะนะรักษ์ถิ่น’ แม้อ้างทำตามกฎหมาย แต่ไม่มีหัวใจ

‘โฆษกพรรคกล้า’ ชี้!! เจ้าหน้าที่สลายการชุมนุม ‘จะนะรักษ์ถิ่น’ แม้อ้างทำตามกฎหมาย แต่ไม่มีหัวใจ ย้ำ!! เจ้าหน้าที่ต้องใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน อย่างเหมาะสม ถึงเวลาแก้ พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ คุ้มครองสิทธิผู้ชุมนุม 

นายแสนยากรณ์ สิงห์วีรธรรม โฆษกพรรคกล้า กล่าวถึงกรณีกองบังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชน (คฝ.) สลายการชุมนุมเครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น หน้าประตู 1 ทำเนียบรัฐบาลเมื่อคืนนี้ว่า แม้โฆษกรัฐบาลบอกว่าเจ้าหน้าที่ทำตามหน้าที่ ส่วน บช.น. พยายามให้เหตุผลว่าชาวบ้านผู้ชุมนุมทำผิดกฎหมาย โดยเฉพาะการฝ่าฝืน พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งการบังคับใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน มีวัตถุประสงค์เพื่อยับยั้งการระบาดโรคติดเชื้อโควิด-19 แทนที่เจ้าหน้าที่จะอำนวยความสะดวกให้ประชาชนอย่างเหมาะสม แต่กลับเลือกที่จะบังคับใช้กฎหมาย ควบคุมตัวประชาชนที่มาชุมนุมเพราะความเดือดร้อนจากโครงการของรัฐ

14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 รัฐบาลทหารใช้กำลังสลายการชุมนุม จนนำไปสู่ ‘วันมหาวิปโยค’ ของคนไทย

เหตุการณ์ 14 ตุลา (พ.ศ. 2516) หรือ วันมหาวิปโยค เป็นเหตุการณ์การปราบปรามผู้ประท้วงบริเวณพระบรมมหาราชวังและถนนราชดำเนินอย่างรุนแรงโดยรัฐบาลนายกรัฐมนตรีจอมพลถนอม กิตติขจร จนมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก

การประท้วงนั้นเกิดขึ้นเนื่องจากสาเหตุหลายประการ คือ ประเทศไทยได้อยู่ภายใต้ระบอบเผด็จการทหารมานานเกือบ 15 ปีตั้งแต่สมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ประกอบกับข่าวการฉ้อราษฎร์บังหลวงหลายอย่างในรัฐบาล รวมทั้งรัฐประหารตัวเองในปี 2514 ข่าวการลักลอบล่าสัตว์ป่าในเขตอุทยานแห่งชาติ นำไปสู่การเรียกร้องรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตย มีการตีพิมพ์ 'บันทึกลับจากทุ่งใหญ่' ทำให้เกิดความสนใจในหมู่ประชาชน นำไปสู่การเดินแจกใบปลิวของนิสิตนักศึกษาในกรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 6-9 ตุลาคม มีนักเคลื่อนไหวทางการเมืองและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรถูกทหารจับกุม 

ซึ่งต่อมาบุคคลเหล่านี้ได้ชื่อว่า '13 ขบถรัฐธรรมนูญ' ทำให้เกิดการประท้วงใหญ่เริ่มตั้งแต่วันที่ 9 ตุลาคมที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สู่การเดินประท้วงในถนนราชดำเนิน โดยมีประชาชนทยอยเข้าร่วมหลายแสนคน วันที่ 13 ตุลาคม รัฐบาลจอมพลถนอมประกาศยอมรับข้อเรียกร้องของผู้ประท้วงว่าจะร่างรัฐธรรมนูญ ทำให้ผู้ชุมนุมบางส่วนสลายตัว

‘สส.โตโต้’ ชงสภาฯ ตั้ง กมธ. สอบสลายม็อบสามนิ้ว สืบหาข้อเท็จจริงกรณี จนท.ใช้กำลังในการควบคุมฝูงชน

(10 ส.ค. 66) นายปิยรัฐ จงเทพ หรือ ‘โตโต้’ สส.กทม. พรรคก้าวไกล อดีตหัวหน้าการ์ดวีโว่ โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กว่า…

“โตโต้ เอาจริง เสนอสภาฯ ตั้ง กมธ.วิสามัญ ตรวจสอบมาตรการสลายการชุมนุมที่ผ่านมา

นายปิยรัฐ จงเทพ ผู้แทนราษฎร เขตพระโขนง บางนา พรรคก้าวไกล ได้ยกร่างญัตติเสนอขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งกรรมาธิการวิสามัญ ชื่อ “คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณามาตรการควบคุมฝูงชน และแสวงหาข้อเท็จจริงการสลายการชุมนุมอัน เนื่องมาจากเหตุการณ์การชุมนุมของเยาวชน นิสิต นักศึกษา และประชาชน ตั้งแต่ พ.ศ. 2563 ถึง พ.ศ. 2565”

โดยวัตถุประสงค์ เพื่อคณะกรรมาธิการชุดนี้จะได้ทำหน้าที่แสวงหาข้อเท็จจริงในกระบวนการที่เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ใช้กำลังสลายการชุมนุมนับครั้งที่ถูกรายงานไว้กว่า 66 ครั้ง อันนำมาสู่การสูญเสีย บาดเจ็บ และมีประชาชนถูกดำเนินคดีนับพันราย

หวังว่าสิ่งที่จะได้นำมาถกแถลงในคณะกรรมาธิการชุดนี้ จะมีทั้งข้อเท็จจริง ข้อมูลเชิงลึก แผนปฏิบัติการ และขั้นตอน มาตรการควบคุมฝูงชนต่างๆ เพื่อให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้บทสรุปร่วมกัน และถอดเป็นรายงานเสนอต่อสภาฯ ต่อไป

การเสนอญัตติตั้ง กมธ. ครั้งนี้อยู่ในขั้นตอนการขอรายชื่อ สส. จำนวน 25 คน เพื่อลงนามสนับสนุน ซึ่งขณะนี้ได้มี สส.พรรคก้าวไกลลงนามครบแล้ว และจะนำเสนอส่งสภาฯ พิจารณาบรรจุญัตติตามขั้นตอนต่อไป”

‘บิ๊กโจ๊ก’ รับปาก ‘กลุ่มสหพันธ์เกษตรกรฯ’ ปมชะลอแต่งตั้ง คคก. ยัน!! จะส่งเรื่องถึงมือนายกฯ ด้านมวลชนพอใจ-ยุติการชุมนุมแล้ว

‘รองโจ๊ก’ รับปากมวลชนกลุ่มสหพันธ์เกษตรกรฯ นำสารหนังสือข้อเรียกร้องชะลอการแต่งตั้ง ส่งรองนายกฯ วันที่ 5 กุมภาพันธ์นี้ ทำให้มวลชนพอใจ และตัดสินใจสลายการชุมนุม เดินทางกลับภูมิลำเนา หลังปักหลักชุมนุมมา 2 วัน

เมื่อวันที่ 3 ก.พ. 67 พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รอง ผบ.ตร.(มค) ได้มาพบกับ นายยศวัจน์ ชัยวัฒนสิริกุล อดีตผู้แทนเกษตรกรภาคกลาง และนายดรณ์ พุมมาลี อดีตผู้แทนเกษตรกรภาคใต้ เป็นครั้งที่สองเพื่อหารือกับตัวแทนกลุ่มแกนนำ ที่ได้มีหนังสือขอให้ชะลอการนำเสนอคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการที่ได้เลือกตั้งแล้วเสร็จไปในวันที่ 16 ม.ค. 67 เนื่องจากเห็นว่าการประชุมดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทำให้การแต่งตั้งดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย

โดยแกนนำย้ำว่า นายสุภาพ คชนูด ผู้สมัครเป็นผู้แทนเกษตรกรภาคใต้ ได้ยื่นฟ้องศาลปกครอง เพื่อคัดค้านผลการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร 4 ภาค ซึ่งต่อมา ศาลปกครองนครศรีธรรมราช มีคำสั่งเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวก่อนการพิพากษา เมื่อวันที่ 16 ม.ค. 67 โดยให้ระงับการแต่งตั้งผู้แทนเกษตรกรในส่วนของภูมิภาคที่ 4 (ท้องที่จังหวัดภาคใต้) ไว้ชั่วคราวก่อนจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเป็นอย่างอื่น

ซึ่งศาลให้เหตุผลว่า แม้ศาลจะมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวให้ระงับการแต่งตั้งดังกล่าว แต่คณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรก็ยังสามารถแต่งตั้งผู้แทนเกษตรกรในส่วนที่เหลือเป็นคณะกรรมการบริหารกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร และคณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกรได้ กรณีนี้จึงยังไม่ถือว่าเป็นปัญหาหรืออุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นแก่การบริหารงานของรัฐหรือแก่การบริการสาธารณะแต่อย่างใด

อย่างไรก็ตาม นายยศวัจน์ ชัยวัฒนสิริกุล และผู้แทนเกษตรกรจากทุกภูมิภาค อยากเรียกร้องให้มีการระงับการแต่งตั้งคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรชุดใหม่ โดยให้คณะกรรมการชุดเดิมปฏิบัติหน้าที่ต่อไป จนกว่าจะมีการจัดให้มีการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกรในส่วนของภูมิภาคที่ 4 (ท้องที่จังหวัดภาคใต้) ใหม่เสียก่อน เพื่อให้มีตัวแทนเกษตรกรจากทุกภูมิภาคมาเป็นคณะกรรมการบริหารกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร และคณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกร เพื่อเป็นตัวแทนของพี่น้องเกษตรกรจากทุกภาค

ในการนี้ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รอง ผบ.ตร.(มค) รับปากพี่น้องเกษตรกรว่าจะนำข้อเรียกร้องและประเด็นข้อกฎหมายเข้าพบนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี ในวันจันทร์ที่ 5 ก.พ.67 เพื่ออำนวยความเป็นธรรมแก่พี่น้องเกษตรกร

ทั้งนี้ หลังจากหารือกับ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ นายยศวัจน์ฯ แกนนำพร้อมด้วยผู้แทนกลุ่มผู้ชุมนุมประมาณ 15 คน ยอมรับว่า ได้ข้อสรุปเป็นที่พอใจ ทั้งหมดจึงฝากการบ้าน ซึ่งเป็นข้อเรียกร้องไว้กับ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เพื่อนำไปมอบรองนายกภูมิธรรมฯ ส่วนกลุ่มผู้ชุมนุม ตัดสินใจเดินทางกลับภูมิลำเนาทั้งหมด หลังจากที่ปักหลักชุมนุม หน้ากระทรวงการคลังมาแล้ว 2 สัปดาห์


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top