Sunday, 5 May 2024
สมเด็จพระพันปีหลวง

‘เรื่องเพชรเท็จรายปี’ สีสันอันซ้ำซาก! จากปากพวก ‘คลับเห่า’!!! | MEET THE STATES TIMES EP.58

📌 ‘เรื่องเพชรเท็จรายปี’ สีสันอันซ้ำซาก! จากปากพวก ‘คลับเห่า’!!!
📌 เรื่องจริงที่ทุกคนรู้ ?? ยกเว้นพวก....คิดล้มเจ้า!!! 

👄 ในรายการ MEET THE STATES TIMES ข่าวคุยเพลิน

💻 ดำเนินรายการโดย หยก THE STATES TIMES

.

.

ครม. ประกาศให้ ‘12 สิงหาคม’ เป็น ‘วันผ้าไทยแห่งชาติ’ น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ‘สมเด็จพระพันปีหลวง’

ครม.เห็นชอบประกาศให้ “12 สิงหาคม” เป็น “วันผ้าไทยแห่งชาติ” เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา สมเด็จพระพันปีหลวง 12 ส.ค. 2565 รณรงค์ให้ทุกภาคส่วนน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ทรงอนุรักษ์ ส่งเสริม สืบสานผ้าไทย

วันที่ 30 พฤษภาคม 2565 นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวภายหลังเข้าร่วมประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาลว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้ วันที่"12 สิงหาคม" ของทุกปี เป็น วันผ้าไทยแห่งชาติ ตามที่กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เสนอ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง 12 สิงหาคม พุทธศักราช 2565 รัฐบาลมีนโยบายจัดงานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เพื่อน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ และแสดงออกถึงความจงรักภักดี 

โดยจัดโครงการและกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติฯ ที่สอดคล้องกับโครงการต่างๆ ของพระองค์ พร้อมทั้งให้มีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ สร้างการรับรู้เกี่ยวกับโครงการและพระราชกรณียกิจด้านต่างๆ เพื่อให้เยาวชน นักเรียน นักศึกษา และประชาชน ได้ศึกษาหาความรู้จากโครงการต่างๆ ที่ก่อให้เกิดการพัฒนา สร้างความเจริญรุ่งเรืองและความผาสุกให้กับประชาชนชาวไทย และเพื่อเฉลิมพระเกียรติที่พระองค์ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงอนุรักษ์ ส่งเสริม สืบสานผ้าไทย

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวอีกว่า การที่รัฐบาลประกาศให้วันที่ "12 สิงหาคม" ของทุกปี เป็น วันผ้าไทยแห่งชาติ เพื่อรณรงค์เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ทุกภาคส่วนได้น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ที่ทรงมีพระวิริยอุตสาหะ ปฏิบัติพระราชกรณียกิจในการส่งเสริมเรื่อง “ผ้าไทย” เป็นที่ประจักษ์มายาวนาน จากสิ่งทอท้องถิ่นที่สูญหายไป ให้กลับมาได้รับความนิยมอีกครั้ง สามารถสร้างอาชีพ สร้างรายได้นำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน

ตลอดจนเป็นการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมของชาติ สืบสานและต่อยอดมรดกภูมิปัญญาผ้าไทยโดยภาครัฐ เอกชนและประชาชนบูรณาการร่วมกันเป็นพลังขับเคลื่อนมรดกภูมิปัญญาผ้าไทยให้คงอยู่คู่ชาติไทย

อีกทั้งทำให้ประชาชนเกิดความตระหนักถึงความสำคัญในการอนุรักษ์ สืบสานมรดกภูมิปัญญาผ้าไทยจากรุ่นสู่รุ่นนำไปสู่การพัฒนาต่อยอดและยกระดับผ้าไทยไปสู่เวทีโลก ขณะเดียวกันชุมชน ผู้ประกอบการด้านอุตสาหกรรมผ้าไทยได้รับการสนับสนุนให้เพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขัน สามารถสร้างรายได้เพิ่มขึ้นทั้งระดับฐานรากและระดับชาติอย่างยั่งยืน และประเทศไทยมีภาพลักษณ์ที่ดีในการนำทุนทางวัฒนธรรมด้านผ้าไทยมาเพิ่มคุณค่าและมูลค่าในเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พันปีหลวง ทรงมีกระแสพระราชดำรัส หลัง กรมสมเด็จพระเทพฯ ทรงกราบทูล “สมัยนี้ไม่มีคนชมโขนแล้ว”

‘สมเด็จพระเทพฯ’ ทรงกราบทูลพระพันปีหลวงว่า “สมัยนี้ไม่มีคนชมโขนแล้ว” พระองค์จึงมีกระแสรับสั่งตอบว่า “เมื่อไม่มีใครดู แม่จะดูเอง”...

จากพระวิสัยทัศน์ใน สมเด็จพระพันปีหลวง สู่ความสำเร็จของโขนพระราชทาน มรดกโลกโดยยูเนสโก

การแสดงโขนของไทย ที่มีประวัติมายาวนานตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นการรวมกันระหว่างศิลปะการร่ายรำ วรรณกรรม ดนตรี และศิลปะการออกแบบเครื่องแต่งกายเข้าไว้ในศาสตร์เดียวกัน ซึ่งอาจเปรียบเทียบได้กับการแสดงอุปรากร โอเปราของฝั่งตะวันตก

ถึงแม้ว่าในอดีตการแสดงโขนจะมีไว้เฉพาะสำหรับราชสำนัก และขุนนาง แต่การได้รับการอุปถัมภ์โดยชนชั้นสูงในสมัยนั้น ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้โขนได้รับการพัฒนาจนถึงขีดสุด เนื่องจากการพัฒนาศิลปะนั้นจำเป็นต้องใช้ทรัพยากร และเงินทอง เพื่อการพัฒนาศิลปะเฉพาะทาง

โขนได้รับการพัฒนาจนถึงขีดสุดในสมัยรัชกาลที่ 6 ด้วยพระราชนิยมที่ทรงโปรดศิลปวัฒนธรรม อย่างไรก็ดี ในรัชกาลที่ 7 เกิดเหตุการณ์เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก และสงครามโลกครั้งที่ 1 ทำให้การแสดง และศิลปวัฒนธรรมทุกชนิดตกต่ำ หยุดการพัฒนา และแม้ในรัชกาลที่ 8 จะมีความพยายามที่จะฟื้นฟูให้คืนกลับมา แต่ก็ประสบปัญหาขาดแคลนบุคลากรผู้ฝึกสอน ประกอบกับสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่เข้ามาซ้ำเติมให้วงการศิลปะของไทยดำดิ่งลงเหวไป

จนเมื่อมาถึงรัชกาลที่ 9 สภาพเศรษฐกิจของประเทศไทยได้รับการพัฒนาให้มีความมั่นคง ประกอบกับสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง  ทรงมีพระราชดำริว่าศิลปวัฒนธรรมอันดีงาม ที่ได้รับการสืบทอดมาแต่ครั้งบรรพชน กำลังค่อย ๆ เลือนหายไป 

จึงทรงมีพระราชเสาวนีย์ให้มีการฟื้นฟูศิลปวิทยาดั้งเดิมของไทย ให้คืนกลับมาดังเดิม ซึ่งการฟื้นฟูดังกล่าว ไม่เพียงเป็นการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทยเท่านั้น แต่ยังเป็นการส่งเสริมอาชีพให้แก่พสกนิกรชาวบ้าน ให้มีอาชีพ มีงานทำ มีรายได้ที่มั่นคงและยั่งยืน และหนึ่งในศาสตร์นั้นก็คือการแสดงโขน นั่นเอง

พระองค์ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปิดสอนหัตถกรรมแทบทุกประเภทแก่บุตรหลานของราษฎรผู้ยากไร้ขึ้น ณ บริเวณสวนจิตรลดา และเปิดสอนสมาชิกในต่างจังหวัดในบริเวณพระราชนิเวศน์ทุกภาค ในเวลาที่พระองค์สมเด็จทรงเยี่ยมราษฎร ทรงรับเด็กยากจนที่มีการศึกษาน้อย รวมทั้งผู้ไม่เคยมีประสบการณ์ด้านการช่างใดๆ เข้าเป็นนักเรียนศิลปาชีพ ทรงเสาะหาครูผู้มีฝีมือที่ยังหลงเหลืออยู่มาถ่ายทอดผลงาน ทรงติดตามผลงานทุกชิ้น พระราชทานกำลังใจแก่สมาชิกทุกคนและโปรดที่จะทรงใช้สอยผลิตภัณฑ์ศิลปาชีพทุกชนิด เพื่อเป็นแบบอย่างแก่ประชาชนทั่วไปด้วย

ต่อมาเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2519 ได้ก่อทรงตั้งมูลนิธิขึ้น พระราชทานว่า ‘มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพพิเศษ ในพระบรมราชินูปถัมภ์’ พระราชทานทุนเริ่มแรก และทรงรับเป็นประธานกรรมการบริหารของมูลนิธิฯ ด้วยพระองค์เอง

ในเวลาต่อมาทรงสังเกตเห็นว่าสุนทรียะของการแสดงโขนซึ่งเป็นศิลปะการแสดงชั้นสูงประจำชาติไทยนั้น ลดน้อยด้อยลงไปจากเดิม ประกอบกับกรมสมเด็จพระเทพฯ ทรงกราบทูลพระพันปีหลวงว่า สมัยนี้ไม่มีคนชมโขนแล้ว พระองค์จึงมีกระแสรับสั่งตอบว่า

“เมื่อไม่มีใครดู แม่จะดูเอง” 

ทุกวันนี้ ประชาชนชาวไทยไม่ใคร่มีโอกาสได้ชมโขน เนื่องจากการจัดการแสดงโขนแต่ละครั้งไม่ใช่เรื่องง่าย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประชุมผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับโขน และงานหัตถศิลป์แขนงต่างๆ แล้วโปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้างเครื่องแต่งกายโขนขึ้นใหม่สำหรับใช้ในการแสดงโขนพระราชทาน โดยทรงกำชับให้ยึดถือรูปแบบเครื่องแต่งกายโขนแบบโบราณ แต่มีความคงทนและสวยงามยิ่งขึ้น มูลนิธิจึงสนองพระราชประสงค์ด้วยการฟื้นฟูพัฒนาโขน บูรณาการศิลปะไทยทุกแขนงเข้าด้วยกัน ผสมผสานกับเทคนิคการแสดงแสง สี เสียงสมัยใหม่ ก่อให้เกิดเป็นการแสดงโขนร่วมสมัย จนนำไปจัดแสดงต่อสาธารณชนเป็นครั้งแรกในปี 2550 ชุดพรหมมาส 

การแสดงโขนพระราชทานในครั้งนั้น ได้รับเสียงตอบรับจากประชาชนเป็นอย่างดี มีการเรียกร้องให้มีการแสดงโขนขึ้นอีก พระพันปีหลวงจึงมีพระราชเสาวนีย์ให้มีการพัฒนาขึ้นอีก ก่อนจะจัดแสดงอีกครั้งในปี 2551 ซึ่งมีคนหนุ่มสาวและเด็ก ๆ จำนวนมากมีความสนใจชมโขนและยังพากันจูงผู้เฒ่าผู้แก่ในครอบครัวไปชมโขนกันอย่างเนืองแน่น จึงทรงโปรดฯ ให้มีการจัดแสดงโขนในทุก ๆ ปี และคนไทยก็เรียกว่า “โขนพระราชทาน” นับแต่นั้นมา

จากพระวิสัยทัศน์ ทำให้โขนไทยได้รับการพัฒนาสู่รูปแบบอื่น ๆ อาทิละคร และภาพยนตร์ จนต่อมาเมื่อวันที่ 29 พ.ย. 61 องค์การยูเนสโก (UNESCO) ประกาศขึ้นทะเบียน ‘โขน’ ประเทศไทย ภายใต้ชื่อภาษาอังกฤษว่า ‘Khon, masked dance drama in Thailand’ เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ในประเภท ‘รายการตัวแทนมรดกทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ’

สำหรับล่าสุดนี้ ปี 2566 มูลนิธิ ฯ จัดแสดงโขนพระราชทานชุดล่าสุดตอน ‘กุมภกรรณทดน้ำ’ เป็นตอนที่กุมภกรรณคิดกลวิธีทำศึก นิมิตกายลงไปใต้น้ำ ทำพิธีทดน้ำ นอนขวางแม่น้ำไว้ เพื่อขัดขวางกองทัพพระราม ทำให้แม่น้ำเหือดแห้ง

การแสดงในครั้งนี้ ใช้นักแสดงรุ่นใหม่ ที่มีใจรักสืบสานศิลปวัฒนธรรมที่ได้รับการรักษาตกทอดมาแต่ครั้งบรรพบุรุษ และมีการต่อยอดด้วยการประยุกต์เทคนิค แสง สี เสียงสมัยใหม่ เพื่อให้การแสดงโขนมีความตื่นตาตื่นใจยิ่งขึ้นไปกว่าเดิม

การแสดงจัดขึ้นระหว่างวันที่ 5 พฤศจิกายน ถึง 5 ธันวาคมนี้ ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย จำหน่ายบัตรแล้ววันนี้ที่ไทยทิกเก็ตเมเจอร์ทุกสาขา บัตรราคา 2,000 บาท 1,800 บาท 1,000 บาท 800 บาท และ 600 บาท

9 มีนาคม พ.ศ. 2563 ‘ในหลวง ร.10’ เสด็จฯ เปิดโครงการพัฒนาชุมชนในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฯ ‘สืบสาน-รักษา-ต่อยอด’ พระราชปณิธาน ‘ในหลวง ร.9 - สมเด็จพระพันปีหลวง’

9 มีนาคม พ.ศ. 2563 เวลา 19.43 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จฯ ทรงเป็นประธานเปิดการประชุมโครงการพัฒนาชุมชนในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและอุทยานแห่งชาติ จังหวัดกาญจนบุรี ในพระบรมราชูปถัมภ์ ณ อาคารบกหน่วยราชการในพระองค์ 904 (อาคาร 2) โดยมีสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภานเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา องค์ประธานโครงการ พร้อมด้วยกรรมการโครงการ และกรรมการชุมชนจากพื้นที่โครงการในตำบลไล่โว่ อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรีเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรับเสด็จ

โอกาสนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ทอดพระเนตรนิทรรศการผลการดำเนินงานในด้านต่างๆ ได้แก่ ด้านสาธารณสุข ด้านเส้นทางการคมนาคม ด้านสาธารณูปโภค ด้านอาชีพ ต่างๆ

จากนั้นได้พระราชทานพันธุ์ไม้ 2 พันธุ์ คือ มะม่วงมหาชนกและต้นรวงผึ้งให้กับนางกะมุ้ย นายวราวุฒิ เกสรพฤกษาทิพย์ กรรมการชุมชนไล่โว่ นายสุวิทย์เคียว เซ้ง และนางหน่อพิใจ กรรมการชุมชน สาละวะตามลำดับหลังจากนั้นเสด็จฯ ไปทรงเปิดการประชุมโครงการพัฒนาชุมชนในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและอุทยานแห่งชาติ จังหวัดกาญจนบุรี

การนี้สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ในฐานะองค์ประธานกรรมการกราบบังคมทูลพระกรุณารายงานความคืบหน้าในการดำเนินโครงการพัฒนาชุมชนในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและอุทยานแห่งชาติ จังหวัดกาญจนบุรี จากนั้นทอดพระเนตรวีดิทัศน์สรุปผลการดำเนินงานที่ผ่านมา แล้วทรงมีพระราชดำรัสเปิดการประชุมรวมทั้งพระราชทานพระบรมราโชบายแก่คณะกรรมการโครงการ

โครงการพัฒนาชุมชนในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและอุทยานแห่งชาติ (หมู่บ้านสาละวะ และหมู่บ้านไล่โว่) จังหวัดกาญจนบุรี เป็นโครงการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงมีพระราชปณิธานสืบสาน รักษา ต่อยอด พระราชดำริพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

ทั้งนี้ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เรื่องการบำบัดทุกข์บำรุงสุขของราษฎร โดยเฉพาะผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตชายแดนที่ความเจริญยังเข้าไปไม่ถึง ทำให้ประชาชนมีความยากลำบากในการดำรงชีวิต รวมทั้งทรงเห็นว่าพื้นที่ในโครงการเป็นชุมชนอยู่ติดชายแดนอันถือว่ามีความสำคัญต่อความมั่นคงของประเทศ และเป็นพื้นที่แหล่งมรดกโลกของประเทศไทยที่ควรได้รับการพัฒนาและอนุรักษ์อย่างยั่งยืน เพื่อให้คนอยู่กับป่าอย่างสมดุลและรักษาต้นน้ำเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

ดังนั้น ในการนี้จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อดำเนินงานตาม โครงการเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2562 โดยกรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดาทรงดำรงตำแหน่งองค์ประธานกรรมการ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงเป็นองค์ประธานที่ปรึกษาคณะกรรมการ

โดยนับจากวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชโองการแต่งตั้งคณะกรรมการโครงการพัฒนาชุมชนในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฯ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ในฐานะองค์ประธานกรรมการ ได้รับพระราชทานพระบรมราโชบายจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่พระราชทานแนวทางในการทำงานกับประชาชนที่อยู่ห่างไกล โดยเฉพาะอยู่ติดชายแดนและพื้นที่เป็นมรดกโลกที่ต้องให้ความสำคัญกับเรื่อง การรักษาทรัพยากรธรรมชาติอันเป็นหัวใจหลักของความเป็นมรดกโลกโดยให้อยู่ในกรอบของกฎหมาย และปัญหาเรื่องเส้นทางสัญจรเข้าออกชุมชนที่ทรงทราบว่ามีความยากลำบากในการเดินทางและเรื่องสุขภาพที่สัมพันธ์กับเรื่องเส้นทางสัญจรเป็นลำดับต้นในการดำเนินงาน

ดังนั้น สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภาฯ จึงน้อมนำแนวทางตามพระบรมราโชบายข้างต้นมาทรงงานพัฒนาชุมชนบ้านไล่โว่และบ้านสาละวะร่วมกับคณะกรรมการโครงการฯ และต่อมาเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการชุมชนสาละวะจานวนราย 8 และชุมชนไล่โว่ 6 รายทั้งนี้เพื่อให้ชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานรวมทั้งนำเสนอข้อมูล ปัญหา ความต้องการในเรื่องต่างๆ ได้แก่เรื่องเส้นทางสัญจรด้านสุขภาพอนามัยของคนในชุมชนและเมื่อดำเนินงานไประยะหนึ่งจึงพบว่า นอกจากเรื่องเส้นทางสัญจรแล้วชุมชนต้องได้รับการพัฒนาในเรื่อง การบริหารจัดการน้า เรื่องสาธารณูปโภค และเกษตรกรรม

ที่ผ่านมาคณะกรรมการได้มีการลงพื้นที่สำรวจข้อมูลจริง 3 ครั้ง รวมทั้งมีการนำคณะกรรมการชุมชน และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องไปศึกษาดูงานพื้นที่ทรงงานของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในจังหวัดตาก และจังหวัดเชียงใหม่ จากนั้น ได้มีการประชุมร่วมกับคณะกรรมการในพื้นที่ และหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง จึงได้ข้อสรุปในการดำเนินงานด้านต่าง ๆ ได้แก่ ด้านสาธารณสุขที่ได้มีการอบรมประชาชนให้เป็นอาสาสมัครสาธารณสุข มีการสร้างโรงเรือนอนามัยใน 2 ชุมชน ด้านเส้นทางการคมนาคมที่มีการแก้ปัญหาน้ำหลากบนเส้นทางสัญจรด้วยการสร้างรางระบายน้ำ ปรับผิวทางสัญจร และสร้างทางข้ามบริเวณเส้นทางตัดทางน้ำ ด้านสาธารณูปโภคที่ปรับปรุงระบบโซลาร์เซลล์ และจัดทำระบบ Hydropower เนื่องด้วยใน 2 ชุมชน มีปริมาณน้ำมาก จึงนำน้ำมาใช้เป็นไฟฟ้าพลังงานน้ำได้เป็นอย่างดี ด้านอาชีพและเกษตรกรรม และด้านการใช้ประโยชน์ที่ดินที่เน้นเรื่องป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง และการเกษตรทฤษฎีใหม่

ทั้งนี้ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ทรงเน้นย้ำว่า ทรงน้อมนำแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในการสร้างความเข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา มาเป็นแนวทางการทรงงานในโครงการฯ รวมทั้งพระบรมราโชบายของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ในเรื่องการสืบสาน รักษา ต่อยอด ในการดำเนินโครงการฯ ซึ่งมีการประสานความร่วมมือร่วมใจของส่วนราชการ กรรมการชุมชน และประชาชนในพื้นที่ รวมทั้งให้ความสำคัญต่อกฎหมาย เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่มรดกโลก อีกทั้งยังทรงเน้นย้ำถึงการมีส่วนร่วมของชุมชน และการสืบสานและอนุรักษ์วัฒนธรรมของชุมชนให้คงอยู่


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top