Monday, 20 May 2024
วินัยดะห์ลัน

‘ดร.วินัย’ เผยปัจจัย ‘ไทย-ซาอุฯ’ คืนสัมพันธ์ ‘มกุฎราชกุมารซาอุ’ ทันสมัย ‘บิ๊กตู่’ จริงใจน่าคบหา 

ดร.วินัย ดะห์ลัน ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ผอ.ศวฮ.) ได้โพสต์เฟซบุ๊ก ‘Dr.Winai Dahlan’ ระบุว่า…

ประเทศไทย-ซาอุดีอาระเบีย

เป็นเรื่องน่ายินดีจริงๆ กับข่าวที่ว่าความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและซาอุดีอาระเบียใกล้จะกลับมาเป็นปกติอีกครั้งหนึ่งแล้ว หลังจากตกต่ำมานานกว่าสามทศวรรษ สิ่งที่ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศเกิดปัญหามีหลายเรื่อง ซับซ้อนจนยากจะเข้าใจ นานมาแล้วเคยฟังผู้ใหญ่ฝ่ายซาอุดีอาระเบียพูดผ่านผู้ใหญ่ฝ่ายไทยว่าเรื่องเพชรที่ฝ่ายเรามองว่าเป็นเรื่องสำคัญเอาเข้าจริงกลับไม่ใช่ ความคลุมเครือเรื่องการสูญหายของคนซาอุในประเทศไทยสำคัญกว่า แต่ยังมีประเด็นอื่นที่สำคัญกว่านั้น เราคนวงนอกยิ่งฟังก็ยิ่งงง

‘ดร.วินัย’ ชี้ เหตุผลที่การอยู่เมืองไทยดีกว่าหลายประเทศ ‘สงบปลอดภัย - ศก.มั่นคง' ขัดแย้งบ้างแต่ค่อนข้างต่ำ

(24 ธ.ค. 65) ดร.วินัย ดะห์ลัน ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ผอ.ศวฮ.) ได้โพสต์เฟซบุ๊ก ‘Dr.Winai Dahlan’ เกี่ยวกับสุขภาพกับชีวิตในกรุงเทพฯ ว่า…

เคยใช้ชีวิตอยู่ในยุโรปตะวันตกต่อเนื่องนานห้าปี เดือนธันวาคมใกล้คริสตมาสเป็นช่วงอากาศหนาวถึงหนาวจัดแม้ไม่สาหัสเท่าเดือนมกราคมก็ตาม จำไม่ได้ว่าเป็นปีไหน อากาศเดือนธันวาคมในบรัสเซลส์ลดต่ำเกิน -30 องศา แย่ที่สุดเวลานั้นคือการต้องไปตลาดเช้าย่านแซงค์จิลส์ใกล้บ้าน หนาวจัดถึงขนาดต้องเอาผ้าพันคอปิดหน้าเหลือเฉพาะลูกตา มือสวมถุงมือหนังแล้วยังไม่กล้าดึงออกจากกระเป๋าเสื้อโคท หนาวจนนิ้วแทบหลุด เทียบไม่ได้เลยกับเดือนธันวาคมในปีที่หนาวที่สุดของเมืองไทย

ธันวาคมปีนี้ กรุงเทพฯ อากาศดีที่สุดในรอบหลายปี เช้านี้ 22 องศา หนาวกว่าออฟฟิศติดแอร์เสียอีก ผมตื่นตามปกติคือตีสาม หลังละหมาดเช้าตอนตีห้า ลงมาเดินหน้าบ้านซึ่งเป็นถนนภายในกว้าง 4-5 เมตรยาว 50 เมตร เดินเร็ววนไปมาสัก 45 นาทีได้ 5 พันก้าวก็หยุด ระหว่างเดินบางช่วงนำเวท 2.5 กก. มาสร้างกล้ามแขนเป็นพักๆ นี่คือการออกกำลังกายที่วงการแพทย์แนะนำให้ปฏิบัติ สำหรับผู้สูงอายุในวัยผมนั่นคือ 60-70 ปี อย่างที่เคยบอก ผมเดินวันละหมื่นก้าวทุกวัน ประโยชน์ที่ได้คือนอนหลับง่ายขึ้น ความดันโลหิตโดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวล่างลดลง จังหวะการหายใจ การเต้นของหัวใจสม่ำเสมอขึ้น เสริมด้วยการอดอาหารแบบไอเอฟสองวันต่อสัปดาห์หรือ 5:2 diet ซึ่งผมใช้การถือศีลอดแบบสุนนะฮฺ คืออดอาหารช่วงเวลาตื่น 13-14 ชม. ต่างจาก 16/8 IF ที่นิยมทำกัน 

‘ดร.วินัย’ เล่าถึงความรู้สึก เป็นตัวแทนคนไทย  ไปเข้าร่วมฮัจญฺกษัตริย์ และได้บรรยายให้ชาวมุสลิมทั่วโลก  

รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน นักวิชาการ กรรมการในคณะกรรมการสภาการศึกษา และกรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสังคม ได้โพสต์เฟซบุ๊ก เล่าถึงความรู้สึกดีใจที่จะได้ไปเข้าร่วมฮัจญฺกษัตริย์  นอกจากนี้ ดร.วินัย ก็ยังได้รับเกียรติเป็นองค์บรรยายในการประชุมวิชาการ Grand Hajj Symposium 1444 AH อีกด้วย ซึ่งถือว่าเป็นตัวแทนของคนไทยไปทำหน้าที่ในฐานะผู้แทนทางวิชาการจากประเทศไทย ไปให้ข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์ฮาลาลแก่นักวิชาการที่มาจากทั่วโลกทั้งประเทศมุสลิมและมิใช่มุสลิม 

‘รศ.ดร.วินัย’ แชร์คำกล่าวนักกวี 3 สิ่งที่ทำลายอารยธรรมของประชาชาติ คือทำลาย ‘ครอบครัว-การศึกษา-บุคคลต้นแบบ’ 

(6 ก.ค. 66) รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน ผู้อำนวยการ ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ศวฮ.) โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ‘Dr.Winai Dahlan’ ระบุว่า…

🏮เมื่อชาวจีนโบราณต้องการอยู่อย่างปลอดภัย พวกเขาได้สร้างกำแพงเมืองจีนที่ยิ่งใหญ่ขึ้นมา โดยเชื่อว่าจะไม่มีมนุษย์หน้าไหนสามารถปีนมันได้เพราะสูงมาก แต่ทว่า..! 🫢

🔘ภายใน 💯 ปีแรก หลังการสร้างกำแพงนั้น เมืองจีนกลับถูกรุกรานถึง 3 ครั้ง!
🔘ในแต่ละครั้ง กองทัพของศัตรูไม่มีความจำเป็นที่จะต้องทะลวงกำแพงหรือปีนมันเลยแม้แต่น้อย..!
🔘ในทุกครั้ง พวกเขาใช้วิธี💰ติดสินบนยามเฝ้าประตู แล้วเข้าทางประตูนั่นแหละ

แน่นอนว่าชาวจีนมัวแต่ห่วงเรื่องสร้างกำแพง
📍จนลืมสร้างคนเฝ้ากำแพง..
📍เพราะ ‘การสร้างคน’
📍ต้องมาก่อนการสร้างทุกสิ่ง
🟢และนี่คือสิ่งที่ ‘คนหนุ่มสาว’ ของพวกเราทุกวันนี้ ต้องตระหนักให้มาก

🟣นักบูรพาคดีคนหนึ่ง
กล่าวไว้ว่า: ถ้าท่านต้องการทำลายอารยธรรมของประชาชาติหนึ่งประชาชาติใด
⏩️มีขั้นตอนอยู่ 3 อย่างคือ:

1.ทำลายครอบครัว
2.ทำลายการศึกษา
3.ล้มบุคคลต้นแบบ และตัวอย่างที่ดีงามของพวกเขา

🟤เมื่อแม่ที่ฉลาด
🟤ครูที่จริงใจ และ
🟤ต้นแบบที่ดีหายไป
🟡ใครเล่าจะเลี้ยงดูต้นกล้าเยาวชนให้มีคุณธรรม??

ชอบมากเลยบทความนี้เลยขอส่งให้ ทุกๆ ท่าน ด้วยความรำลึกถึง 💗

ขอบคุณเจ้าของบทความซึ่งไม่ทราบว่าเป็นใคร

‘รศ.ดร.วินัย’ ชี้!! ‘การฉลองปีใหม่’ แท้จริงถือกำเนิดขึ้นก่อนจะมีศาสนาคริสต์ จึงไม่เกี่ยวข้องกับศาสนาใดศาสนาหนึ่ง ‘ชาวมุสลิม’ สามารถร่วมฉลองได้

(27 ธ.ค. 66) รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน ผู้อำนวยการ ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กในหัวข้อ ‘ความเป็นมาของการเฉลิมฉลอง ‘วันปีใหม่’ ในวันที่ 1 มกราคม’ ระบุว่า…

มีคำถามจากพวกเราถึงผมเป็นครั้งคราว เร็วๆ นี้ มีคำถามมาว่า การเฉลิมฉลองวันปีใหม่ในวันที่ 1 มกราคม ตามปฏิทินสากล เป็นประเพณีหรือพิธีกรรมในศาสนาคริสต์ใช่หรือไม่ หากใช่ การที่คนในศาสนาอื่นเข้าไปร่วมเฉลิมฉลอง จะผิดหลักการในศาสนาของตนเองหรือเปล่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับ ‘มุสลิม’ ก่อนจะตอบ เราควรเข้าใจก่อนว่าการนับวันเวลาเป็นสิ่งสมมุติ เปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ โดยเป็นเช่นนั้นมาแต่โบราณแล้ว

การกำหนดวันปีใหม่สากลให้เป็นไปตามปฏิทินสุริยคติคือ ‘วันที่ 1 มกราคมของทุกปี’ เรื่องนี้เริ่มโดยชาวโรมันมานานนับพันปีแล้ว โดยก่อนหน้านั้น ชนโบราณ ทั้งบาบิโลน จีน อินเดีย กำหนดวันปีใหม่ตามปฏิทินสุริยคติมาก่อนชาวโรมันเสียด้วยซ้ำ โดยกำหนดไว้ว่า ‘วันขึ้นปีใหม่’ คือ วันเริ่มต้นการเพาะปลูก ซึ่งอยู่ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์จนถึงพฤษภาคม ชาวจีนกำหนดวันตรุษจีนไว้ในเดือนกุมภาพันธ์ ชาวอินเดียกำหนดวันสงกรานต์ในเดือนเมษายน ส่วนชาวบาบิโลนเฉลิมฉลองวันเริ่มเพาะปลูกในเดือนมีนาคม

กระทั่งถึงปีที่ 46 ก่อนคริสตกาล ‘จักรพรรดิจูเลียส ซีซาร์’ แห่งจักรวรรดิโรมัน เห็นว่าช่วงฤดูหนาวคือ เดือนธันวาคมถึงมกราคม อากาศหนาวเหน็บ บรรยากาศหดหู่ ผู้คนซึมเศร้า ว้าเหว่ จึงย้ายวันปีใหม่จากช่วงฤดูเก็บเกี่ยวที่สดใสไปเป็นฤดูหนาว เพื่อให้ผู้คนในจักรวรรดิได้รื่นเริงกันบ้าง การกำหนดวันปีใหม่ให้เป็นวันที่ 1 มกราคมจึงเริ่มต้นในปีนั้น วันปีใหม่จึงเกิดขึ้นก่อนการมาของคริสต์ศาสนา การเฉลิมฉลองวันปีใหม่ในบางชุมชนอาจมีพิธีกรรมทางศาสนาเข้ามาปนบ้าง แต่ไม่ใช่ศาสนาคริสต์อย่างแน่นอน

ชนคริสต์ในจักรวรรดิโรมันกว่าจะยอมรับให้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันปีใหม่ก็ล่วงเลยมาถึง ค.ศ. 313 แล้ว เหตุที่ก่อนหน้านั้นไม่ยอมรับก็เนื่องจากเห็นว่า การฉลองปีใหม่เป็นกิจกรรมของคนนอกศาสนา ต่อเมื่อเข้าใจได้ว่า วันเวลาคือความเป็นสากลไม่เกี่ยวข้องกับศาสนานั่นแหละจึงยอมรับ นอกจากนี้ ชาวคริสต์ในแต่ละนิกายยังเริ่มใช้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันปีใหม่ไม่ตรงกัน ที่น่าสังเกตคือ ไม่มีชนกลุ่มใดยึดถือว่าวันปีใหม่เป็นวันสำคัญทางศาสนา การเฉลิมฉลองจะเป็นไปในลักษณะใด เอาศาสนามาเกี่ยวข้องหรือไม่ ให้ขึ้นกับแต่ละสังคมเป็นสำคัญ

ในประเทศมุสลิมปัจจุบัน การนับถอยหลัง หรือ ‘เคาท์ดาวน์’ ตอนเที่ยงคืนวันที่ 31 ธันวาคม มีให้เห็นอยู่บ้าง เช่น ที่อาคารทวินทาวเวอร์ในกัวลาลัมเปอร์ของมาเลเซีย หรืออาคารเบิร์จคาลิฟาของดูไบ ยูเออี และในอีกหลายประเทศมุสลิม นั่นเป็นเพราะวันปีใหม่ไม่ใช่การเฉลิมฉลองทางศาสนา

ส่วนประเด็นที่มีมุสลิมบางคนเข้าใจว่าวันที่ 1 มกราคม เกี่ยวข้องกับการสูญเสีย ‘กรานาดา’ หรือ ‘ฆัรนาเฎาะฮฺ’ ของจักรวรรดิมุสลิมให้แก่จักรวรรดิคริสต์ในสเปน เหตุการณ์นั้นเกิดในวันที่ 2 มกราคม ค.ศ.1492 ไม่เกี่ยวข้องกับวันปีใหม่ ที่อธิบายมาทั้งหมดไม่ได้หมายความว่า จะแนะนำให้มุสลิมฉลองวันปีใหม่ สังคมมุสลิมมีวันเฉลิมฉลองอยู่แล้ว คือ ‘วันอิดิลอัฎฮาและอิดิลฟิตริ’ การเฉลิมฉลองกันสุดเหวี่ยงเลียนแบบคนอื่นในวันอื่นคงไม่เหมาะ ส่วนใครจะฉลองคงไม่มีใครตำหนิ


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top