Thursday, 2 May 2024
วันจักรี

6 เมษายน ของทุกปี ‘วันจักรี’ รำลึกถึงพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี

ในวันที่ 6 เมษายน ของทุกปี นับว่าเป็นอีกหนึ่งวันสำคัญของประเทศไทยซึ่งตรงกับ ‘วันจักรี’ โดยความเป็นมาเริ่มต้นจากในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จปราบดาภิเษก ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี และทรงสร้างกรุงเทพฯ เป็นเมืองหลวงของไทย มาจนทุกวันนี้

ด้วยพระมหากรุณาธิคุณดังกล่าว ในปี พ.ศ. 2416 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าฯ ให้หล่อพระบรมรูป พระเจ้าอยู่หัวทั้ง 4 พระองค์ ( ร.1 - 4 ) เพื่อประดิษฐานไว้ให้พระมหากษัตริย์องค์ต่อมา พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ และประชาชนได้ถวายบังคมระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ เป็นธรรมเนียมปีละครั้ง และโปรดเกล้าให้อัญเชิญไปประดิษฐานไว้บนพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท และมีการย้ายที่หลายครั้ง เช่นพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ปราสาท และพระที่นั่งศิวาลัยปราสาทเป็นต้น

ในรัชกาลที่ 6 โปรดให้ย้ายพระบรมรูปทั้ง 4 ( ร.1 - 4 ) มาไว้ ณ ปราสาทพระเทพบิดร ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พร้อมกับพระบรมรูปของรัชกาลที่ 5 พระชนกนาถ พระที่นั่งองค์นี้ รัชกาลที่ 6 โปรดให้ซ่อมจากพุทธปรางค์ปราสาทเพื่อเรื่องนี้โดยเฉพาะ และได้พระราชทานนามดังกล่าว การซ่อมแซมก่อสร้างและประดิษฐานพระบรมรูปทั้ง 5 รัชกาล สำเร็จลุล่วงในเดือนเมษายน พ.ศ. 2461 จึงได้มีพระบรมราชโองการ ประกาศตั้งพระราชพิธีถวายบังคมพระบรมรูป ในวันที่ 6 เมษายนปีนั้น และต่อมา โปรดฯ ให้เรียกวันที่ 6 เมษายนว่า ‘วันจักรี’

วันที่ระลึกมหาจักรี หรือที่เรียกกันโดยย่อว่าวันจักรีนั้น สืบเนื่องจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงพระราชดำริว่าพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกอบพระราชพิธีทรงหล่อพระบรมรูปลักษณะเหมือนพระองค์จริงฉลองพระองค์แบบไทย ณ โรงหล่อหลังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (บริเวณศาลาสหทัยสมาคมในปัจจุบัน) เพื่อสนองพระมหากรุณาธิคุณสมเด็จพระปฐมบรมราชบุพการี แล้วโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระที่นั่งศิวาลัยมหาปราสาทขึ้นในพระบรมมหาราชวัง เชิญพระบรมรูปทั้ง 4 รัชกาลนั้น ประดิษฐานเพื่อเป็นพระบรมราชานุสรณ์ สำหรับถวายบังคมสักการะในงานพระราชพิธีฉัตรมงคลและพระราชพิธีพระชนมพรรษา 

ครั้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสืบราชสันติวงศ์ ได้โปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้างพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบรมชนกนาถ จากต่างประเทศ แล้วอัญเชิญขึ้นประดิษฐานร่วมกับพระบรมรูปทั้ง 4 รัชกาลนั้น ต่อมาทรงพระราชดำริว่าพระที่นั่งศิวาลัยมหาปราสาทยังไม่เหมาะสมที่จะมีงานถวายบังคมสักการะพระบรมรูปสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ซ่อมแปลงพระพุทธปรางค์ปราสาทในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เพื่อประดิษฐานพระบรมรูปสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชทั้ง 5 รัชกาล 

โดยได้พระราชทานนามใหม่ว่า ปราสาทพระเทพบิดร โดยทรงพระอนุสรณ์คำนึงถึงพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ซึ่งได้ประดิษฐานพระบรมราชวงศ์จักรี ทรงมีพระเดชพระคุณต่อประเทศ เมื่อมีโอกาสก็ควรแสดงความเชิดชูและระลึกถึง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีเชิญพระบรมรูปจากพระที่นั่งศิวาลัยมหาปราสาทมาประดิษฐานที่ปราสาทพระเทพบิดร เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2461 อันเป็นดิถีคล้ายวันที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เสด็จกรีธาทัพถึงพระนคร ได้รับอัญเชิญขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงบรรจุพระกรัณฑ์ทองคำลงยาราชาวดีซึ่งบรรจุพระบรมทนต์ (ฟัน) พระสุพรรณบัฏจารึกพระปรมาภิไธย พระดวงพระบรมราชสมภพ พระดวงบรมราชาภิเษก พระดวงสวรรคต ลง ณ เบื้องสูงของพระเศียรพระบรมรูปทั้ง 5 รัชกาลครั้นถึงวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2461 (สมัยนั้นขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน) 

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (ม.ร.ว. ปุ้ม มาลากุล) เสนาบดีกระทรวงวัง ประกาศพระบรมราชโองการให้มีการกราบ ถวายบังคมพระบรมรูปสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเป็นการ ประจำปีกำหนดใน วันที่ 6 เมษายน เป็นประเพณีสืบไป ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้มีพระราชพิธีทรงหล่อพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ โรงหล่อกรมศิลปากร ครั้นตกแต่งพระบรมรูปเรียบร้อยแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ กำหนดการพระราชพิธีประดิษฐาน พระบรมรูปที่ปราสาทพระเทพบิดร โดยเสด็จพระราชดำเนินมาทรงบรรจุพระบรมทนต์พระสุพรรณบัฏจารึกพระปรมาภิไธยและดวงพระบรมราชสมภพ พระดวงบรมราชาภิเษก พระดวงสวรรคต ในพระกรัณฑ์ทองคำลงยา แล้วทรงบรรจุที่เบื้องสูงของพระเศียรพระบรมรูป เมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2470 

นพค.54 บูรณาการ จัดกิจกรรมจิตอาสาพัฒนา เนื่องในวันจักรี ประจำปี 2566 “เราทำความดีด้วยหัวใจ เพื่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์”

วันที่ 5 เมษายน 2566 กองบัญชาการกองทัพไทย  (หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา) โดย พันเอก กิรชิต คุณาวงศ์ ผู้บังคับหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 54 สำนักงานพัฒนาภาค 5 หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการกองทัพไทย จัดกำลังพล จิตอาสา 904 และกำลังพลจิตอาสาพระราชทานประจำหน่วยฯ ร่วมกับ ส่วนราชการในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น และประชาชนจิตอาสา จัดกิจกรรมจิตอาสาพัฒนา 

เพชรบูรณ์- จัดพิธี 'วันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์'

6 เมษายน 2566 เวลา 09.00 น. ที่หอประชุมองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบูรณ์ นายกฤษณ์ คงเมือง ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นประธานในพิธี "วันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์” โดยมี ข้าราชการ ตุลาการ อัยการ ทหาร ตำรวจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกเหล่ากาชาด สมาคม ชมรม ประชาชนจิตอาสา ร่วมประกอบพิธี 

โดยพิธีเริ่มจากพิธีสงฆ์ จากนั้นผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ ประธานในพิธีได้วางพานพุ่ม จุดธูปเทียนเครื่องทองน้อย กล่าวคำถวายอาศิรวาทราชสดุดี ต่อหน้าพระบรมสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เพื่อแสดงความจงรักภักดีและน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์บรมราชจักรีวงศ์

วันที่ 6 เมษายนของทุกปีเป็น วันจักรี หรือวันที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อวันที่ 6 เมษายน พุทธศักราช 2325 เป็นวันที่ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีสืบทอดต่อจาก สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และทรงสร้างกรุงเทพฯเป็นเมืองหลวงของไทย ด้วยพระมหากรุณาธิคุณดังกล่าว ในปี พุทธศักราช 2416 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าฯ ให้หล่อพระบรมรูปพระเจ้าอยู่หัวทั้ง 4 พระองค์ 

กอ.รมน.ลำปาง ร่วมพิธี 'วันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์'

เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2566 เวลา 08.00 น. พันเอกวิชาญ ศรีภัทรางกูร รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดลำปาง (ท.) /รองผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 32 และ พันเอกอลงกต  ดอนมูล หัวหน้ากลุ่มงานบริหารบุคคลฯ ร่วมประกอบพิธี ถวายเครื่องราชสักการะ วางพานพุ่มดอกไม้สดและกล่าวคำถวายอาศิรวาทราชสดุดี เนื่องในวันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์

เพื่อแสดงความจงรักภักดีและน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและมหาจักรีบรมราชวงศ์ ณ อาคารหอประชุมจังหวัดลำปาง โดยมี นายชัชวาลย์ ฉายะบุตร ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง เป็นประธานในพิธีฯ

6 เมษายน พ.ศ. 2325 ‘ในหลวง ร.1’ เสด็จปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี พร้อมก่อสร้างพระนครแห่งใหม่ในนาม ‘กรุงเทพมหานคร’ เมืองหลวงปัจจุบัน

วันจักรี (Chakri Memorial Day) ตรงกับวันที่ 6 เมษายนของทุกปี อันเนื่องมาจากเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช หรือพระรามาธิบดีที่ 1 ทรงเสด็จปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี และเป็นวันครบรอบการก่อตั้งราชวงศ์จักรี ในวันนี้จึงถือเป็นวันสำคัญอีกวันหนึ่งที่พวกเราชาวไทยควรให้ความระลึกถึง กว่าจะมาเป็นสยามได้ในทุกวันนี้

ทั้งนี้ วันจักรี (Chakri Memorial Day) คือ วันที่ระลึกถึงมหาจักรีบรมราชวงศ์ เป็นวันที่ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาจักรีบรมนาถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกแห่งราชวงศ์จักรี อีกทั้งยังเริ่มก่อสร้างพระนครแห่งใหม่ในนาม ‘กรุงเทพมหานครบวรรัตนโกสินทร์’ ที่นับว่าเป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ถัดจากกรุงธนบุรี ซึ่งเมื่อครั้งที่กรุงธนบุรีเป็นราชธานีนั้น มีอาณาบริเวณรวมทั้งสองฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้เป็นเมืองหลวงที่มีแม่น้ำไหลผ่านกลางเมือง ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงเปลี่ยนนามใหม่ จาก ‘กรุงเทพมหานครบวรรัตนโกสินทร์’ เป็น ‘กรุงเทพมหานครอมรรัตนโกสินทร์’ ซึ่งช่วงเวลาตั้งแต่ก่อตั้งกรุงเทพมหานครฯ เมื่อปี พ.ศ. 2325 มักเรียกกันว่า สมัยรัตนโกสินทร์ เช่นเดียวกันกับที่เคยเรียกยุคสมัยที่ผ่านมาในสยาม โดยพระเจ้าแผ่นดินในสมัยรัตนโกสินทร์นี้ได้สืบสันตติวงศ์ต่อเนื่องกันมาในราชวงศ์เดียวกันจนถึงปัจจุบัน มีทั้งหมด 10 รัชกาล

จากบันทึกตามประวัติศาสตร์ระบุว่า ในปี พ.ศ. 2416 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯ ให้หล่อพระบรมรูปของบูรพมหากษัตริย์ 4 พระองค์ (รัชกาลที่ 1 - รัชกาลที่ 4) ขึ้นประดิษฐานเอาไว้สำหรับให้พระมหากษัตริย์พระองค์ต่อ ๆ ไป ตลอดจนพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ และประชาชนทั่วไปได้ถวายความเคารพสักการะ เพื่อเป็นการระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณเป็นธรรมเนียมปีละหนึ่งครั้ง และได้โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญไปประดิษฐานยังพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ต่อมาก็ได้มีการเปลี่ยนสถานที่ประดิษฐานหลายต่อหลายครั้ง
จนมาถึงในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 พระองค์ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เคลื่อนย้ายพระบรมรูปของบูรพมหากษัตริย์ 4 พระองค์มาไว้ ณ ปราสาทเทพบิดร ภายในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พร้อมกับพระบรมรูปของรัชกาลที่ 5 พระชนกชาถ ซึ่งพระที่นั่งสำหรับประดิษฐานพระบรมรูปองค์นี้ รัชกาลที่ 6 ทรงโปรดให้ซ่อมแซมจากพุทธปรางค์ปราสาทเพื่อการนี้โดยเฉพาะ และได้พระราชทานพระนามว่า ปราสาทเทพบิดร โดยได้มีการซ่อมแซมและประดิษฐานพระบรมรูปทั้ง 5 รัชกาลแล้วเสร็จในเดือนเมษายน พ.ศ. 2461 จากนั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงมีพระบรมราชโองการประกาศตั้งพระราชพิธีถวายบังคมพระบรมรูปขึ้นในวันที่ 6 เมษายนปีเดียวกัน อีกทั้งยังโปรดให้เรียกวันที่ 6 เมษายนนี้ว่า วันจักรี

นอกจากนั้น ในวันที่ 6 เมษายน ซึ่งเป็นวันจักรีของทุกปี รัฐบาลยังได้ประกาศเป็นวันหยุดราชการ แต่หากในปีใดที่วันจักรีตรงกับวันหยุดเสาร์ – อาทิตย์ ก็ให้หยุดชดเชยได้ในวันทำการวันต่อไป

‘ปรเมษฐ์ ภู่โต’ สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์ข้อความ เนื่องในวันจักรี ย้ำ!! น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ‘พระมหากษัตริย์ราชวงศ์จักรี’

(6 เม.ย. 67) นายปรเมษฐ์ ภู่โต ผู้ดำเนินรายการ ‘ถึงแก่น Live’ โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กส่วนตัว ระบุว่า...

นั่งคิดอยู่นานว่าจะโพสต์เนื้อหา อะไรเนื่องในวันจักรี 6 เมษายน 2567 นอกจาก คำว่าน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ผู้ทรงสถาปนาราชวงศ์จักรี และกรุงรัตนโกสินทร์

ถ้าเป็นเมื่อก่อน เมื่อครั้งยังคิดว่าตัวเองเป็น 'ฝ่ายก้าวหน้า' และ 'คิดจะพลิกฟ้าคว่ำแผ่นดิน' การพูดถึงวันจักรี ก็จะมีชุดข้อมูลอีกแบบ ซึ่งก็ไม่ได้มีหลักฐานอะไรมายืนยัน มีแต่เรื่องเล่าต่อ ๆ กันมา ของรุ่นพี่ ของรุ่นพี่อีกทีจนมาถึงรุ่นเรา

แต่เมื่อเรา เติบโตขึ้น อ่านมากขึ้น เรียนรู้มากขึ้น เข้าใจ สิ่งที่เรียกว่า 'บริบททางประวัติศาสตร์ ' มากขึ้น เราจึงเห็นว่า การสร้างบ้านเมืองให้มั่นคงเป็นปึกแผ่นนั้นสำคัญมาก ทั้งต่อคนในยุคนั้น และส่งต่อมาถึงยุคหลัง ความมั่นคงปึกแผ่นของบ้านเมือง คือพื้นฐานสำคัญที่สุดของการพัฒนาบ้านเมืองในทุก ๆ ด้าน ประเทศจีนกว่าจะมายิ่งใหญ่ทุกวันนี้ ก็ต้องผ่านการรวมแผ่นดิน จาก 3 ก๊กมาเป็นหนึ่งเดียว

สหรัฐอเมริกานั้นก็ผ่านสงครามระหว่างฝ่ายเหนือฝ่ายใต้ กว่าจะมาเป็นมหาอำนาจคับโลก
ในขณะที่ชาติอาหรับ หลายประเทศผู้คนล้วนเป็นเผ่าพันธุ์เดียวกัน แต่ถูกมหาอำนาจ แบ่งซอยเป็นประเทศเล็กประเทศน้อย แล้วขายอาวุธให้รบกันเองจนถึงทุกวันนี้

ประเทศที่ไม่มีเอกภาพ ผู้คน และดินแดน แตกเป็นเสี่ยง ๆ ยากที่จะพัฒนาให้เข้มแข็ง ชีวิตของผู้คนในประเทศนั้นก็ยากจะมีความสุข 

กล่าวโดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับตัวเองบ้าง เทือกเถาเหล่ากอผมนั้นฝ่ายพ่อ เป็นคน"เชื้อชาติจาม" หรือ 'แขกจาม' อยู่ในดินแดนที่เป็นประเทศกัมพูชาปัจจุบันโดนกวาดต้อนมา และมามีบทบาทในประวัติศาสตร์ไทยในฐานะ นักรบ 'กองอาสาจาม' มีปรากฏหลักฐานว่าได้ร่วมเป็นกำลังสำคัญในหลายสมรภูมิ ( ทางฝ่ายแม่นั้นฟังว่า ก็มีเชื้อสายมอญ ) ชุมชนที่เกิดและเติบโตในกทม.คือชุมชนบ้านครัวนั้นก็ได้รับพระราชทานที่ดินจากพระมหากษัตริย์ในอดีต ก็อยู่เย็นเป็นสุขเรื่อยมา ไม่ได้มีข้อจำกัดใด ๆ ในเรื่องศาสนา ส่วนจะรวยจะจน ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละคนดำเนินชีวิตกันเอง เอาแค่ว่า การได้เกิดและเติบโตในผืนแผ่นดินที่ชื่อประเทศไทย ที่ในหลวงรัชกาลที่ 1ได้ทรงสร้างให้เป็นปึกแผ่น ก็ถือว่าโชคดีขนาดไหนแล้ว

ผมลองคิดเล่น ๆ ว่าหาก บรรพบุรุษของผมไม่ได้มาอยู่เมืองไทย ไม่แน่ว่าคนรุ่นพ่อผม อาจถูกพวก 'ฝ่ายก้าวหน้า' ของกัมพูชา หรือเขมรแดง ในยุค พล พต จับไปทำนารวม หรือไม่ก็คงโดนฆ่าตายแบบที่คนกัมพูชาเป็นล้าน ๆ คนโดนก็เป็นได้ 

หรือมาถึงยุคผม คิดง่าย ๆ ที่สุดเลย คืออยู่ในประเทศนี้ภายใต้พระมหากษัตริย์ราชวงศ์จักรี แม้จะมีรัฐบาลที่เราชอบบ้าง ไม่ชอบบ้าง ก็ยังดีกว่าเป็นประชาชน ของฮุนเซน เป็นไหน ๆ
แล้วแบบนี้ จะไม่ให้ผมน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่านได้อย่างไร🙏🙏🙏

‘ภูมิใจไทย’ จัดทำบุญใหญ่ครบรอบ 16 ปี บรรยากาศคึกคัก ‘พรรครัฐบาล-ฝ่ายค้าน’ ร่วมยินดี ‘อนุทิน’ ขอทำงานเพื่อ ‘บ้านเมือง-ประชาชน’

(6 เม.ย. 67) ที่ทำการพรรคภูมิใจไทย (ภท.) ถนนพหลโยธิน จัดพิธีทำบุญพรรคภูมิใจไทยก้าวสู่ปีที่ 16 โดยมี นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย เป็นประธาน พร้อมด้วยนายไชยชนก ชิดชอบ สส.บุรีรัมย์ เลขาธิการพรรค คณะกรรมการบริหารพรรค (กห.บห.) รัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และสมาชิกพรรค เข้าร่วมพิธีทางศาสนาพุทธ ถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุสงฆ์ โดยมีพระเทพวิสุทธิกวี ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร เป็นประธานฝ่ายสงฆ์

จากนั้นมีการประกอบพิธีทางศาสนาอิสลาม นำโดย อิหม่ามสนั่น (ดาวุต) โตสมบูรณ์ อิหม่ามประจำมัสยิดเราะห์มาตุ้ลอิสลาม แขวงหนองบอน เขตประเวศ กทม. พร้อมด้วยผู้นำศาสนาจากมัสยิดต่าง ๆ ในเขตสวนหลวง กทม. รวม 10 ท่าน เพื่อขอพรจากพระผู้เป็นเจ้าทรงประทานพรอันประเสริฐให้พรรคภูมิใจไทยเจริญรุ่งเรือง และสมาชิกทุกท่านมีความสุขความประสบความสำเร็จในการทำหน้าผู้แทน และเป็นที่พึ่งของประชาชน ช่วยกันพัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวต่อไป

อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ เวลา 07.00 น. นายอนุทิน พร้อมด้วยคณะกรรมการบริหารพรรค และ สส.พรรค ภท. ได้เดินทางไปวางพานพุ่มดอกไม้ถวายราชสักการะปฐมบรมราชานุสรณ์ เนื่องในวันจักรี เพื่อระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และมหาจักรีบรมราชวงศ์ ณ บริเวณปฐมบรมราชานุสรณ์ สะพานพระพุทธยอดฟ้า

สำหรับงาน 'ก้าวสู่ปีที่ 16' พรรคภูมิใจไทยในวันนี้ มีตัวแทนพรรคการเมืองนำกระเช้า และแจกันดอกไม้มาร่วมแสดงความยินดี อาทิ พรรคเพื่อไทย ได้แก่ น.ส.จิราพร สินธุไพร รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย (พท.) น.ส.ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ รองหัวหน้าพรรค นายดนุพร ปุณณกันต์ โฆษกพรรค น.ส.ขัตติยา สวัสดิผล รองโฆษกพรรค และนายจิรวัฒน์ อรัณยกานนท์ รองโฆษกพรรค พรรคชาติพัฒนากล้า ได้แก่ นายเทวัญ ลิปตพัลลภ หัวหน้าพรรค

ขณะที่ พรรคชาติไทยพัฒนา (ชทพ.) นำโดย นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ หัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา และนายนิกร จำนง ผู้อำนวยการพรรคชาติไทยพัฒนา โดยนายวราวุธได้มอบช่อดอกไม้และกล่าวอวยพรว่า พรรคภูมิใจไทยที่เป็นหนึ่งในพรรคหลักของพรรครัฐบาล พรรคชาติไทยพัฒนาขอเป็นกำลังใจ และขออาราธนาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ดลบันดาลให้รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.มหาดไทย และหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย มีกำลังกาย กำลังใจ และกำลังทรัพย์ เป็นเสาหลักให้กับน้องๆ เพื่อนฝูง ญาติสนิท มิตรสหาย และเป็นเสาหลักให้กับการเมืองไทยตลอดไปตราบนานเท่านานขอให้ประสบความสำเร็จและได้ยิ่งใหญ่ไปนาน ๆ

ขณะนายอนุทินกล่าวตอบว่า ขอบคุณพรรคชาติไทยพัฒนาที่ร่วมทุกข์ ร่วมสุขกันมาตลอด 5 ปี และในปีนี้ก็ถือว่าเป็นปีที่ 6 และขอให้ทำงานให้กับบ้านเมืองและประชาชนไปด้วยกัน และจะเป็นลมใต้ปีก เพื่อให้ทุกคนปฏิบัติภารกิจได้สำเร็จไปด้วยกัน พร้อมกล่าวถึงนายบรรหาร ศิลปอาชา อดีตนายกฯ ที่มียุทธศาสตร์การบริหารที่ดี เชื่อว่าลูกมังกรไม่มีทางเป็นงูดิน แต่จะเป็นกิเลนที่พร้อมไปด้วยกัน

ต่อมา พรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) มีนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.พลังงาน ในฐานะหัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ พร้อมด้วยนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ สส.บัญชีรายชื่อ เลขาธิการพรรครวมไทยสร้างชาติ และนายชัชวาลล์ คงอุดม สส.บัญชีรายชื่อ พรรครวมไทยสร้างชาติ เข้ามาร่วมแสดงความยินดี

ขณะที่ พรรคซีกฝ่ายค้านมี พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) นำโดย นายนริศ ขำนุรักษ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อดีต รมช.มหาดไทย พล.ต.ต.สุรินทร์ ปาลาเร่ รองหัวหน้าพรรค เป็นตัวแทนนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ มอบกระเช้าดอกไม้แสดงความยินดี


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top