Sunday, 5 May 2024
วันขึ้นปีใหม่

เปิดประวัติที่มาของ ‘วันขึ้นปีใหม่’ ของชาวโลก | THE STATES TIMES STORY EP.100

เปิดประวัติที่มาของ ‘วันขึ้นปีใหม่’ ของชาวโลก

สู่การเปลี่ยนแปลงวันปีใหม่ของชาวไทยแบบดั้งเดิม

.

ไปติดตามกันได้ใน THE STATES TIMES Story ใน EP. นี้ได้เลย

.

🎥 ช่องทางรับชม

Facebook: THE STATES TIMES PODCAST

YouTube: THE STATES TIMES PODCAST

TikTok: THE STATES TIMES PODCAST

. #THESTATESTIMESPodcast #THESTATESTIMESStory #Podcast #happynewyear #วันขึ้นปีใหม่ #2023

กรมสมเด็จพระเทพฯ พระราชทานกลอนปีใหม่รับปีงูใหญ่ 2567 ขอความสมบูรณ์พูนสุขเกิดแก่ประชาชาวไทยทุกผู้ทุกนาม

เมื่อไม่นานมานี้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานพรปีใหม่ 2567 แด่พสกนิกรชาวไทยทุกคนเพื่อเป็นสิริมงคลของชีวิตใหม่ในปี ‘มะโรงงูใหญ่’ 2567 ความว่า

สวัสดีปีใหม่ 2567 ปีมะโรงงูใหญ่

“ปีมะโรงไทยว่าเป็นงูใหญ่ ฉันสงสัยว่าเป็นงูเหลือม งูหลาม
อาจจะเป็นพญานาคน่าครั่นคร้าม เป็นเรื่องตามเทพนิยายที่อ่านมา
คนจีนว่ามะโรงนี้ปีมังกร มีฤทธิอาจบินจรขึ้นเวหา
ขออำนาจนาคมังกรช่วยพารา ให้ฝนฟ้าสมบูรณ์พูนสุขเอย”

จากกลอนพระราชทาน ปีมะโรงงูใหญ่ จะเห็นตามคติความเชื่อของคนไทยคนจีน คำว่า งูใหญ่ อาจหมายรวมถึง พญานาค และ มังกร ที่มีอิทธิฤทธิ์ มีอำนาจ และสามารถดลบันดาลให้ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาลยังความสมบูรณ์พูนสุขให้เกิดแก่ประชาชาวไทยทุกผู้ทุกนาม จนมีแต่ความสุข สนุกสนานตลอดปีมะโรงงูใหญ่ พุทธศักราช 2567

นอกจากนี้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานให้ร้านภูฟ้า อัญเชิญภาพวาดฝีพระหัตถ์ ‘มังกรบิน’ จัดทำผลิตภัณฑ์เพื่อเป็นของขวัญของฝาก ในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2567 อาทิ กระเป๋า เสื้อผ้า กระบอกน้ำ

24 ธันวาคม พ.ศ. 2483 ประเทศไทย ประกาศเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ จากวันที่ 1 เมษายน เป็นวันที่ 1 มกราคม

รัฐบาลไทยโดยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ออกประกาศเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากวันที่ 1 เมษายน เป็นวันที่ 1 มกราคม ตั้งแต่ พ.ศ. 2484 เป็นต้นไป เพื่อให้สอดคล้องกับบรรดานานาอารยประเทศ ดังนั้นปี พ.ศ. 2483 จึงมีเพียง 9 เดือน

ประเพณีวันขึ้นปีใหม่ของไทย ในสมัยโบราณมาเราถือว่า วันแรม 1 ค่ำเดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ อันต้องด้วยในทางพระพุทธศาสนา ซึ่งถือเหมันตฤดูเป็นการเริ่มต้นปี และในสมัยโบราณนั้น วันขึ้นปีใหม่ ได้นับถือคติของพราหมณ์ คือใช้วันที่ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 เป็นวันขึ้นปีใหม่ และเป็นเช่นนั้นตลอดมา จวบจนกระทั่งปี พ.ศ. 2432 แห่งรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่มาเป็นวันที่ 1 เมษายน ทั้งนี้ก็เนื่องจากทางราชการได้นิยมใช้หลักทางสุริยคติ แต่ก็ยังคล้องต้องตามคติพราหมณ์อยู่นั่นเอง เพราะเดือน 5 ก็ตรงกับเดือนเมษายนเรื่อยมา

ต่อมาทางราชการได้ประกาศเปลี่ยนแปลงวันขึ้นปีใหม่ เนื่องจากมีพระบรมราชโองการให้ตราพระราชบัญญัติปฏิทิน พ.ศ.2483 และพระราชบัญญัตินั้นเริ่มใช้ได้เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2483 รัฐบาลจึงประกาศใช้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ ดังนั้นในปี พ.ศ.2483 จึงมีเพียง 9 เดือนเท่านั้น คือเดือนเมษายนถึงเดือนธันวาคม เพื่อให้สอดคล้องกับปฏิทินของนานาประเทศ มีหนังสือประกาศใช้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ของ ไทยอย่างเป็นทางการ ณ วันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ.2483 โดยจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้นเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ และการใช้วันที่ 1 มกราคมเป็นวันขึ้นปีใหม่ จะทำให้เข้าสู่ระดับสากลที่ใช้อยู่ในประเทศที่เจริญแล้วทั่วโลก 

ทั้งนี้ประเทศไทยจึงถือเอาวันที่ 1 มกราคม ของทุกปี เป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยตั้งแต่ นั้นจวบจนกระทั่งทุกวันนี้ ถึงแม้ว่าวันที่ 1 มกราคม จะถือปฏิบัติเป็นวันขึ้นปีใหม่อย่างเป็นทางการแล้วก็ตาม แต่คนไทยส่วนใหญ่ก็ยังคงถือว่า วันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยด้วยเช่นเดียวกัน


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top