Sunday, 19 May 2024
วังหน้า

28 สิงหาคม พ.ศ. 2428 กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ สวรรคต สิ้น ‘วังหน้า’ หรือ พระมหาอุปราชองค์สุดท้าย

กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ผู้ทรงเป็น ‘กรมพระราชวังบวรสถานมงคล’ ได้สวรรคต ในวันนี้ เมื่อ 137 ปีก่อน นับเป็น ‘วังหน้า’ องค์สุดท้าย

กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ เป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ใน ‘พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว’ ประสูติแต่ ‘เจ้าคุณจอมมารดาเอม’ เมื่อวันพฤหัสบดี แรม 2 คำ เดือน 10 ตรงกับวันที่ 6 กันยายน 2381

เมื่อแรกประสูติพระองค์มีพระอิสริยยศที่ ‘หม่อมเจ้า’ โดยพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระนามว่า ‘ยอร์ช วอชิงตัน’ ตามชื่อของ ‘จอร์จ วอชิงตัน’ อดีตประธานาธิบดีสหรัฐคนแรก

คนทั่วไปออกพระนามว่ายอด ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระนามให้ใหม่ว่า ‘พระองค์เจ้ายอดยิ่งยศ บวรราโชรสรัตนราชกุมาร’ และได้รับการสถาปนาเป็นพระองค์เจ้าต่างกรมที่กรมหมื่นบวรวิไชยชาญ เมื่อปี 2404 และได้รับพระราชทานอุปราชาภิเษกเป็น ‘กรมพระราชวังบวรสถานมงคล’ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือล้นเกล้ารัชกาลที่ 5

กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ทรงเป็นเจ้านายที่มีความสามารถหลายด้าน ด้านนาฏกรรม ทรงพระปรีชา เล่นหุ่นไทย หุ่นจีน เชิดหนัง และงิ้วด้านการช่าง ทรงชำนาญเครื่องจักรกล ทรงต่อเรือกำปั่น ทรงทำแผนที่แบบสากล ทรงสนพระทัยในแร่ธาตุ ถึงกับทรงสร้างโรงถลุงแร่ไว้ในพระราชวังบวรสถานมงคล เมื่อ พ.ศ. 2426 ทรงได้รับประกาศนียบัตรจากฝรั่งเศส ในฐานะผู้เชี่ยวชาญสาขาวิชาช่าง

เมื่อพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือล้นเกล้ารัชกาลที่ 4  ก็ไม่ได้ทรงแต่งตั้งผู้ใดขึ้นดำรงตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล

เพราะในขณะนั้นพระราชโอรสพระองค์โต คือ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ยังทรงพระเยาว์เพียง 12 พรรษา ทำให้เสี่ยงต่อการถูกแย่งชิงราชบัลลังก์ ฝ่ายเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ได้เสนอให้ทรงแต่งตั้งพระองค์เจ้ายอดยิ่ง เป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล

แต่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้งพระองค์เจ้ายอดยิ่ง เป็น ‘กรมหมื่นบวรวิไชยชาญ’ เมื่อ พ.ศ. 2410 แต่ไม่ได้ตั้งให้เป็นวังหน้า

จนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะสวรรคต 1 วัน ได้มีการประชุมพระญาติวงศ์และขุนนาง ที่ประชุมจึงตกลงที่จะแต่งตั้ง กรมหมื่นบวรวิไชยชาญเป็น ‘กรมพระราชวังบวรสถานมงคล’ ตามคำเสนอของพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงเทเวศร์วัชรินทร์ โดยเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชสมบัติสืบต่อมา ขณะนั้นมีพระชนมพรรษาเพียง 15 พรรษา

บรรดาพระบรมวงศานุวงศ์จึงอัญเชิญกรมหมื่นบวรวิไชยชาญ พระราชโอรสในสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นทรงดำรงตำแหน่งวังหน้า นับเป็น ‘วังหน้า’ พระองค์ที่ 6 และพระองค์สุดท้าย ทรงเป็นวังหน้าพระองค์แรกที่พระเจ้าแผ่นดินมิได้ทรงแต่งตั้ง

ข้อมูลจากหลายแหล่งระบุว่า กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ทรงมีความรู้ภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี โดยคบค้าสนิทสนมกับ โทมัส น็อกซ์ กงสุลอังกฤษ

ประกอบกับในสมัยนั้น อังกฤษคุกคามสยาม ถึงขั้นเรียกเรือรบมาปิดปากแม่น้ำ ทางวังหลวงจึงหวาดระแวง จนทำให้ เมื่อเกิดเหตุการณ์ระเบิดขึ้นที่ตึกดินในวังหลวง ไฟไหม้ลุกลามไปถึงพระบรมมหาราชวัง

ชักศึกเข้าบ้าน!! เรื่องป่วนสยามสมัยรัชกาลที่ 5 ปฐมเหตุแห่งการยกเลิกวังหน้า

ในช่วงที่ประเทศไทยกำลังเป็นเจ้าภาพการประชุม APEC 2022 ที่ดีงาม และพร้อมที่จะต่อยอดในทุกๆ ด้าน เพื่อให้ประเทศไทยเดินหน้าต่อในเรื่องเศรษฐกิจ แต่ก็ยังมีกลุ่มคนอีกหลายกลุ่ม กำลัง ‘ชักศึกเข้าบ้าน’ ด้วยการ จะประท้วงในการจัดประชุมครั้งนี้ จะชุมนุมเพื่อให้สะท้อนปัญหาของพวกตัวเอง (ปัญหาที่ใครต่อใครเขาก็ไม่เดือดร้อนนะยกเว้นไอ้พวกกลุ่มนี้) 

โดยมีผู้สนับสนุนเป็นทุนจากต่างชาติ และ / หรือ อาจจะเป็นคนในชาติที่เป็นทาสตะวันตก ตั้งใจสร้างสถานการณ์ต่างๆ พร้อมด้วย ‘การข่าวปลอม’ และ ‘การข่าวป่วน’ ของพวกเขา ที่วางแผนไว้เพื่อให้การประท้วงของพวกเขาไปอยู่ในสายตาของสื่อต่างชาติที่มาทำข่าว APEC 2022 ทั้งยังพร้อมทำทุกอย่างเพื่อด้อยค่าประเทศตัวเอง ให้เกิดขึ้นในสายตาของชาติอื่นๆ 

พูดถึงเหตุการณ์ที่ไปดึงเอาต่างชาติเข้ามายุ่มย่ามในบ้านเมืองเรา มีอยู่เหตุการณ์ป่วนหนึ่งในสมัยอดีต ซึ่งถือเป็นเรื่องใหญ่ที่ทำให้ในกาลต่อมามีการยกเลิกตำแหน่งเรียกว่า ‘วังหน้า’ หรือ ‘กรมพระราชวังบวรสถานมงคล’ กันเลยทีเดียว 

เรื่องป่วนที่จะเล่าในครั้งนี้ เป็นเรื่องใหญ่ของแผ่นดินที่เกิดขึ้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่งขณะนั้นลัทธิจักรวรรดินิยมตะวันตก อังกฤษและฝรั่งเศส กำลังคุกคามประเทศรอบข้างสยาม และกำลังจ้องมองสยามอย่างตาเป็นมัน

เหตุการณ์ในครั้งนั้นมีตัวละครสำคัญเป็นทหารอังกฤษตกงาน เพราะพนันม้าจนหมดตัวจากอินเดีย ชื่อ ร้อยเอก ‘โทมัส ยอร์ช น็อกซ์’ เขาเดินทางมาสยามเพื่อหางาน โดยตามเพื่อนชาติเดียวกันมาก็คือ ‘ร้อยเอกอิมเปย์’ ซึ่งเข้ามาสอนทหารวังหลวงในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4  ส่วนตัว ‘ร้อยเอก น๊อกซ์’ นั้นเขาได้เข้าไปสมัครเป็นคนฝึกทหารของวังหน้าในรัชกาลที่ 4 คือพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว แล้วเผอิญพอพูดภาษาไทยได้ประมาณนึง ก็เลยเถิดได้ไปเป็นล่ามให้สถานทูตอังกฤษ จนได้เลื่อนขึ้นเป็นถึงทูต (คุณพระ !!!! ) 

นอกจากนี้ ยังมีอาชีพเสริมเป็นสื่อมวลชนสายเสี้ยมกึ่งปลุกปั่น (อันนี้ผมตั้งเอง) เขียนคอลัมน์ของตัวเองไปลงหนังสือพิมพ์ในยุโรป โดยเขียนเชียร์วังหน้าอย่างสุดลิ่มทิ่มประตู (ก็นายจ้างเก่าเขาน่ะนะ) ว่าเก่งกว่าวังหลวงมาก เวลาวังหลวงออกว่าราชการก็ต้องให้วังหน้าชักใยอยู่เบื้องหลัง (จินตนาการตามข้อนี้ นี่มันเมืองจีนหรือไง? มีซูสีไทเฮาผู้ชายว่าการอยู่หลังม่านยังงี้ บ้าบอที่สุด !!!!) 

พอเข้าสู่รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่งขึ้นครองราชย์ เมื่อ วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 โดยในขณะนั้น พระองค์มีพระชนมายุเพียง 15 พรรษา จึงได้แต่งตั้ง ‘สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)’ เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และกลุ่มผู้สำเร็จราชการได้ตั้ง พระองค์เจ้ายอดยิ่งยศฯ โอรสของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ขึ้นเป็น ‘กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ’ ซึ่งในตอนนั้นวังหน้ายังมีความสัมพันธ์สนิทสนมกับ ‘ร้อยเอก น็อกซ์’ กงสุลอังกฤษลูกจ้างเก่าเป็นอย่างดี 

มาถึงจุดหลักของเรื่องราวนี้ ในกาลที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงบรรลุนิติภาวะสามารถว่าราชการด้วยพระองค์เองได้แล้วประมาณ 2 ปี ก็มีมือดีทิ้ง ‘บัตรสนเท่ห์’ (จดหมายไร้ชื่อคนส่ง) เตือนให้วังหน้าระวังตัว เพราะว่ากำลังจะถูกลอบปลงพระชนม์ !!!! บรรดาขุนนางวังหน้าก็บ้าจี้ เชื่อตามจดหมายเปิดผนึกฉบับนั้น ก็เลยเร่งเกณฑ์ผู้คน ทั้งข้าทาสบริวาร ทั้งทหารและพลเรือนจากทั่วสารทิศเข้ามาเตรียมพร้อม 

ฝ่ายวังหลวงพอเห็นแบบนั้น ก็ไม่ไว้ใจสถานการณ์เหมือนกัน เลยเตรียมกำลังไว้เงียบๆ เหมือนกัน (คุณพร้อมผมก็พร้อมว่างั้นเถอะ) แต่จะเงียบยังไง ฝ่ายวังหน้าก็รู้จนได้ และแล้วการเผชิญหน้าของทั้งสองฝ่ายก็เกิดขึ้นกันอย่างเปิดเผย จากบัตรสนเท่ห์แผ่นเดียวกำลังจะทำให้บ้านเมืองลุกเป็นไฟซะแล้ว 

ในช่วงที่สถานการณ์ไม่น่าไว้วางใจ ก็ได้เกิดเหตุการณ์ที่เหมือนเป็นฟางเส้นสุดท้ายตามความเชื่อของคนเสี้ยมและคนโดนเสี้ยม คือในคืนหนึ่งได้เกิดเพลิงไหม้ขึ้นในพระบรมมหาราชวัง ใกล้กับตึกเก็บดินระเบิดและอาวุธต่างๆ เคราะห์ดีมากที่มีผู้พบเห็นเสียก่อนและดับไฟได้ทัน หากลุกลามลุกไหม้ไปนอกจากจะสร้างความเสียหายจากการระเบิดเพราะดินดำ ก็อาจจะลามขึ้นไปห้องเก็บพระมหาพิชัยมงกุฎและสมบัติล้ำค่าของแผ่นดินอื่นๆ ทั้งยังอาจจะก่อให้เกิดอันตรายต่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวด้วย

เมื่อเหตุการณ์รุนแรงถึงขั้นนี้ กรมพระราชวังบวรฯ ก็ร้อนตัว (ซึ่งจริงๆ ยังไม่รู้เลยว่าเหตุการณ์เกิดขึ้นเพราะอะไร? จะร้อนตัวเพื่อ?) ก็เกรงจะเกิดภัยกับพระองค์ (ขุนนางของพระองค์นั่นแหละเสี้ยมจนเรื่องไม่จริงจะกลายเป็นเรื่องจริงอยู่แล้ว) จึงเสด็จลี้ภัยไปที่บ้านกงสุลอังกฤษทันที ตรงนี้แหละเป็นจุดสำคัญ เพราะนี่คือโอกาสที่เปิดช่องให้ 2 กงสุล คืออังกฤษและฝรั่งเศสถือโอกาสสอดแทรกเข้ามาเพื่อหยิบยื่นความหวังดีประสงค์ร้ายแทบจะในทันที โดยเฉพาะอังกฤษ 

โดยชาติตะวันตกเสนอให้แบ่งประเทศสยามออกเป็นส่วนๆ จะได้ไม่ต้องทะเลาะกัน (ตูจะทะเลาะกันเอง พวกเอ็งยุ่งอะไรด้วยฟะ?) คนที่ถูกใจเรื่องนี้ ก็คงจะเป็นไอ้คนทิ้งบัตรสนเท่ห์และไอ้พวกนักเสี้ยมนั่นแหละ (คล้ายๆ กับปัจจุบันไหมคุณว่า) และไม่เพียงแค่นำเสนอความคิด แต่อังกฤษยังทะลึ่งมีใบบอกไปถึงผู้สำเร็จราชการเมืองสิงคโปร์ให้เข้ามาช่วยเจรจา (มาเจรจาอะไร?) โดย ‘เซอร์แอนดรูว์ คลาร์ก’ ผู้สำเร็จราชการสิงคโปร์ ได้เดินทางเข้ามาแทบจะทันที 

แต่ตรงนี้ผมคงต้องกราบแทบฝ่าละอองธุลีพระบาทองค์ในหลวงรัชกาลที่ 5 ไว้หนึ่งคำรบ เพราะพระองค์ไม่ปล่อยให้ เซอร์แอนดรูว์ คลาร์ก ได้ไปยุ่งเหยิงอะไรกับเรื่องการแบ่งเค้กเมืองสยาม พระองค์ชิงจัดการต้อนรับผู้สำเร็จราชการอย่างสมเกียรติและได้พูดคุยอย่างเปิดเผยเป็นกันเอง ก่อนปิดท้ายด้วยการรับสั่งเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า “กรณีนี้เป็นเพียงความขัดแย้งในราชตระกูล พระองค์สามารถจัดการเองได้” (ชาติอื่นไม่น่าจะต้องมายุ่งว่างั้น) 

พอจัดการเรื่องของ ‘เซอร์แอนดรูว์ คลาร์ก’ เรียบร้อยแล้ว ทรงวิตกว่าเรื่องจะลามต่อไปอีก จึงส่งเรือเร็วไปรับ ‘สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)’ ผู้ใหญ่ของแผ่นดิน ซึ่งเกษียณจากตำแหน่งผู้สำเร็จราชการไปพักอยู่ที่บ้านสวนราชบุรี ให้เข้ามาปรึกษาเพื่อช่วยกันแก้ไขสถานการณ์ โดยสมเด็จเจ้าพระยาฯ ก็ไม่รอช้า ไปเข้าเฝ้าฯ กรมพระราชวังบวรฯ พร้อมด้วยพระราชหัตถเลขาของในหลวงรัชกาลที่ 5 ซึ่งมีข้อแสดงความจริงใจในพระราชหฤทัยถึง ‘กรมพระราชวังบวรสถานมงคล’ ความว่า... 

‘คำสาป-อาถรรพ์’ ของ ‘วังหน้า’ สมัยรัตนโกสินทร์ สู่ปัจฉิมบท ยกเลิก ‘พระราชวังบวรสถานมงคล’

‘วังหน้า’ หรือ ‘พระราชวังบวรสถานมงคล’ เป็นชื่อสถานที่และตำแหน่งสำคัญของบ้านเมืองจนกระทั่งรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงยกเลิกตำแหน่งสำคัญนี้ เนื่องจากกรณีขัดแย้งและไม่เหมาะสมกับยุคสมัย เป็นเครื่องมือให้ฝรั่งชาตินักล่าอาณานิคมมาใช้ในการครอบงำและวุ่นวายในสยาม แต่กระนั้นเรื่องราวของ ‘วังหน้า’ ก็มีความน่าสนใจ ซึ่งผมจะขอนำมาเล่าสู่กันอ่านและผมขออนุญาตเล่าเรื่องราวเฉพาะ ‘วังหน้า’ ในสมัยรัตนโกสินทร์ดังนี้นะครับ 

“...ของเหล่านี้ กูอุตส่าห์ทำด้วยความคิดและเรี่ยวแรงเป็นหนักหนา หวังจะอยู่ชมนานๆ ก็ไม่ได้ชม ของใหญ่ของโตของกูดีๆ ของกูสร้าง ใครไม่ได้ช่วยเข้าทุนอุดหนุน กูสร้างขึ้นด้วยกำลังข้าเจ้าบ่าวนายของกูเอง นานไปใครไม่ใช่ลูกกู เข้ามาเป็นเจ้าของครอบครองขอผีสางเทวดาจงบันดาลอย่าให้มีความสุข...” คำสาปแช่งนี้เป็นคำเล่าลือว่าออกมาจากพระโอษฐ์ของ ‘กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท’ วังหน้าพระองค์แรกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งมีนัยยะสำคัญเป็นอย่างยิ่ง

‘กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท’ มีพระนามเดิมว่า ‘บุญมา’ ประสูติแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี โดยรับราชการอยู่ใน ‘กรมมหาดเล็ก’ ตำแหน่ง ‘นายสุจินดาหุ้มแพร’ เมื่อกรุงศรีอยุธยาแตก ทรงหนีภัยสงครามไปร่วมทัพกับ ‘สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช’ ร่วมกอบกู้บ้านเมืองจนได้เอกราช พระองค์ขึ้นชื่อว่าเป็นทหารเอกและมีบารมีมาก แถมเป็นผู้ชักนำพี่ชายของตนคือ “พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช” ซึ่งขณะนั้นเป็นยกกระบัตรเมืองราชบุรี มาเข้าร่วมกองทัพจนได้เป็นขุนนางผู้ใหญ่ในกาลต่อมาได้ เรียกว่า ‘มีบารมีจนพี่ชายต้องเกรงใจ’

เมื่อได้รับการสถาปนาพระองค์ได้รับพระราชทานที่ดินริมแม่น้ำเจ้าพระยาทางทิศเหนือของวัดมหาธาตุ ขึ้นไปจนถึงคูเมือง เพื่อสร้างเป็น ‘พระราชวังบวรสถานมงคล’ และพระองค์ยังทรงขอพื้นที่บางส่วนของวัดมหาธาตุ มาผนวกเป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของวังอีกด้วย ถ้าเทียบขนาด ‘วังหลวง’ กับ ‘วังหน้า’ ในตอนนั้นต้องบอกว่า ‘ใหญ่’ เกือบจะเท่ากัน แล้วคุณรู้ไหม ? ว่าทำไม ? วังหน้าถึงต้องอยู่หน้าวังหลวง ว่ากันว่าการวางตำแหน่งแบบนี้ยึดตามหลักพิชัยสงครามเมื่อไปออกศึก ที่จะแบ่งเป็นทัพหน้า ทัพหลวง โดยเมื่อข้าศึกมาประชิด ทัพหน้าจะเป็นด่านแรกที่ปะทะดังนั้นบทบาทของผู้ครองวังหน้าจึงยิ่งใหญ่และสำคัญมาก ๆ (เหมาะกับนักรบอย่าง ‘กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท’ มาก ๆ ) 

‘กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท’ ทรงสร้าง ‘พระบวรราชวัง’ นี้อย่างยิ่งใหญ่และประณีตบรรจง ด้วยหวังจะได้ทรงอยู่อย่างเป็นสุขในบั้นปลายพระชนม์ชีพ แต่หลังจากดำรงพระยศกรมพระราชวังบวรฯ ได้ 21 ปี ก็ด้วยประชวรพระโรคนิ่ว เล่ากันว่าทรงทั้งห่วงและหวงพระบวรราชวังที่โปรดเกล้า ฯ ให้สร้าง เล่ากันว่าในวันที่พระองค์ ทรงใกล้จะเสด็จสวรรคต ทรงใคร่อยากชมพระราชวังบวรฯ ให้สบายพระทัย จึงโปรดให้เชิญพระองค์ขึ้นเสลี่ยงบรรทมพิงพระเขนย เชิญเสด็จรอบพระราชมณเฑียร และได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานต่อรัชกาลที่ 1 ให้พระโอรสธิดาของพระองค์ได้ประทับอยู่ในวังหน้าต่อไป แต่ไม่ทราบคำขอนั้นเป็นอย่างไร จึงได้เกิดคำสาปแช่งที่เป็นเรื่องเล่าตามที่ผมได้กล่าวไว้ในข้างต้น 

‘กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท’ สวรรคตขณะพระชนมายุ 60 พรรษา ‘พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช’ รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้า ฯ ตั้ง ‘สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร’ (กาลต่อมาคือ ‘พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย’) พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ขึ้นเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล พระองค์ที่สอง

ครั้งนั้น ‘เจ้าคุณจอมแว่น พระสนมเอก’ ได้กราบฯ ทูลขอให้เชิญเสด็จฯ กรมพระราชวังบวรฯ พระองค์ใหม่ไปประทับ ณ พระบวรราชวังแทน แต่รัชกาลที่ 1 ไม่ทรงเห็นด้วย อาจเพราะทรงรำลึกถึงคำสาปแช่ง จึงมีพระราชดำรัสว่า “ไปอยู่บ้านช่องของเขาทำไม เขารักแต่ลูกเต้าของเขา เขาแช่งเขาชักไว้เป็นหนักเป็นหนา” จึงโปรดเกล้า ให้ประทับอยู่ที่พระราชวังเดิม จนเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ พระองค์เป็นกรมพระราชวังบวรฯ พระองค์เดียวที่ไม่ได้เสด็จฯประทับอยู่ที่วังหน้า และเป็นเพียงพระองค์เดียวอีกเช่นกันที่ได้สืบราชบัลลังก์เป็นพระมหากษัตริย์คือ ‘พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย’ รัชกาลที่ 2 

‘พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย’ รัชกาลที่ 2 โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนา ‘สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้ากรมหลวงเสนานุรักษ์’ เป็น ‘กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์’ และทรงมีพระราชดำริว่าควรย้ายไปประทับที่พระราชวังบวรสถานมงคล ด้วยเป็นพระราชวังสำหรับพระมหาอุปราช ซึ่งในช่วงรัชกาลที่ 2 นี้ บรรยากาศและสภาพการณ์ต่างๆ ระหว่าง ‘วังหลวง’ และ ‘วังหน้า’ เป็นไปอย่างราบรื่น เพราะทั้งล้นเกล้ารัชกาลที่ 2 และ วังหน้าพระองค์นี้ ทรงสนิทกันมาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ วังหน้าเองก็เสด็จฯ เข้าวังหลวง เพื่อทรงปฏิบัติข้อราชการและเข้าเฝ้าฯ ไม่ได้ขาด ‘กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์’ ดำรงพระยศอยู่ 8 ปี ก็สวรรคตในวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2360 โดยมีพระชนมายุเพียง 44 พรรษา รัชกาลที่ 2 ไม่ทรงสถาปนาผู้ใดขึ้นมาดำรงตำแหน่งนี้ในรัชสมัยของพระองค์อีก

‘พระราชวังบวรสถานมงคล’ ว่างเว้นเจ้าของมา 7 ปี กระทั่ง ‘พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว’ รัชกาลที่ 3 ขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. 2367 จึงโปรดเกล้าฯ ให้ ‘กรมหมื่นศักดิพลเสพ’ (พระองค์เจ้าอรุโณทัย) พระราชโอรสในรัชกาลที่ 1 และมีศักดิ์เป็นสมเด็จอา (เป็นอารุ่นเล็กที่อายุพอ ๆ กัน) บวรราชาภิเษกเป็น ‘สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ’ ครองวังหน้าต่อ สำหรับคำสาปแช่งที่หวาดกลัวกันนั้น น่าจะไม่เป็นปัญหาต่อกรมพระราชวังบวรฯ พระองค์นี้ ด้วยพระองค์ทรงอภิเษกกับ ‘พระองค์เจ้าดาราวดี’ พระราชธิดาใน ‘กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท’ ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาน้อย แต่กระนั้นก็ทรงอยู่ในตำแหน่งกรมพระราชวังบวรฯ ได้เพียง 8 ปี ก็เสด็จสวรรคตเมื่อพระชนมายุได้เพียง 47 พรรษา และมิได้มีพระราชวงศ์พระองค์ใดเป็นกรมพระราชวังบวรฯ จนสิ้นรัชกาลที่ 3 

‘สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ’ ได้ทรงซ่อมแซมพระวิมานทั้ง 3 หลัง โดยมีการถือปูนเสริมไม้และทรงสร้างพระที่นั่งเป็นท้องพระโรงใหม่อีก 1 องค์ ถ่ายแบบอย่างพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยในพระบรมมหาราชวัง ทรงขนานนามว่า ‘พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย’ ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นที่จัดแสดงของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร 

ครั้นในรัชสมัย ‘พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว’ รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ สถาปนาสมเด็จพระอนุชาธิราช ‘เจ้าฟ้าจุฑามณีกรมขุนอิศเรศรังสรรค์’ เป็น ‘วังหน้า’ แต่แตกต่างด้วยการแก้เคล็ดก่อนตั้งด้วยว่า ‘กรมขุนอิศเรศรังสรรค์’ มี ‘พระชะตากล้า’ จึงโปรดเกล้า ฯ ให้เฉลิมพระเกียรติยศเป็นพระมหากษัตริย์อีกพระองค์หนึ่งและมี ‘พระราชพิธีบวรราชาภิเษก’ ขึ้นเป็น ‘พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว’  (ซึ่งผมจะนำมาเล่าแยกในบทความลำดับต่อ ๆ ไปนะครับ) 

28 สิงหาคม พ.ศ. 2428 กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ สวรรคต สิ้น ‘วังหน้า’ พระมหาอุปราชองค์สุดท้าย

กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ผู้ทรงเป็น ‘กรมพระราชวังบวรสถานมงคล’ ได้สวรรคต ในวันนี้เมื่อ 138 ปีก่อน นับเป็น ‘วังหน้า’ องค์สุดท้าย

กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ เป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ใน ‘พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว’ ประสูติแต่ ‘เจ้าคุณจอมมารดาเอม’ เมื่อวันพฤหัสบดี แรม 2 ค่ำ เดือน 10 ตรงกับวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2381

เมื่อแรกประสูติพระองค์มีพระอิสริยยศที่ ‘หม่อมเจ้า’ โดยพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระนามว่า ‘ยอร์ช วอชิงตัน’ ตามชื่อของ ‘จอร์จ วอชิงตัน’ อดีตประธานาธิบดีสหรัฐคนแรก

คนทั่วไปออกพระนามว่ายอด ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระนามให้ใหม่ว่า ‘พระองค์เจ้ายอดยิ่งยศ บวรราโชรสรัตนราชกุมาร’ และได้รับการสถาปนาเป็นพระองค์เจ้าต่างกรมที่กรมหมื่นบวรวิไชยชาญ เมื่อปี 2404 และได้รับพระราชทานอุปราชาภิเษกเป็น ‘กรมพระราชวังบวรสถานมงคล’ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือล้นเกล้ารัชกาลที่ 5

กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ทรงเป็นเจ้านายที่มีความสามารถหลายด้าน ด้านนาฏกรรม ทรงพระปรีชา เล่นหุ่นไทย หุ่นจีน เชิดหนัง และงิ้วด้านการช่าง ทรงชำนาญเครื่องจักรกล ทรงต่อเรือกำปั่น ทรงทำแผนที่แบบสากล ทรงสนพระทัยในแร่ธาตุ ถึงกับทรงสร้างโรงถลุงแร่ไว้ในพระราชวังบวรสถานมงคล เมื่อ พ.ศ. 2426 ทรงได้รับประกาศนียบัตรจากฝรั่งเศส ในฐานะผู้เชี่ยวชาญสาขาวิชาช่าง

เมื่อพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือล้นเกล้ารัชกาลที่ 4  ก็ไม่ได้ทรงแต่งตั้งผู้ใดขึ้นดำรงตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล

เพราะในขณะนั้นพระราชโอรสพระองค์โต คือ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ยังทรงพระเยาว์เพียง 12 พรรษา ทำให้เสี่ยงต่อการถูกแย่งชิงราชบัลลังก์ ฝ่ายเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ได้เสนอให้ทรงแต่งตั้งพระองค์เจ้ายอดยิ่ง เป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล

แต่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้งพระองค์เจ้ายอดยิ่ง เป็น ‘กรมหมื่นบวรวิไชยชาญ’ เมื่อ พ.ศ. 2410 แต่ไม่ได้ตั้งให้เป็นวังหน้า

จนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะสวรรคต 1 วัน ได้มีการประชุมพระญาติวงศ์และขุนนาง ที่ประชุมจึงตกลงที่จะแต่งตั้ง กรมหมื่นบวรวิไชยชาญเป็น ‘กรมพระราชวังบวรสถานมงคล’ ตามคำเสนอของพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงเทเวศร์วัชรินทร์ โดยเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชสมบัติสืบต่อมา ขณะนั้นมีพระชนมพรรษาเพียง 15 พรรษา

บรรดาพระบรมวงศานุวงศ์จึงอัญเชิญกรมหมื่นบวรวิไชยชาญ พระราชโอรสในสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นทรงดำรงตำแหน่งวังหน้า นับเป็น ‘วังหน้า’ พระองค์ที่ 6 และพระองค์สุดท้าย ทรงเป็นวังหน้าพระองค์แรกที่พระเจ้าแผ่นดินมิได้ทรงแต่งตั้ง

ข้อมูลจากหลายแหล่งระบุว่า กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ทรงมีความรู้ภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี โดยคบค้าสนิทสนมกับ โทมัส น็อกซ์ กงสุลอังกฤษ

ประกอบกับในสมัยนั้น อังกฤษคุกคามสยาม ถึงขั้นเรียกเรือรบมาปิดปากแม่น้ำ ทางวังหลวงจึงหวาดระแวง จนทำให้ เมื่อเกิดเหตุการณ์ระเบิดขึ้นที่ตึกดินในวังหลวง ไฟไหม้ลุกลามไปถึงพระบรมมหาราชวัง

การนี้ ทางวังหลวงเข้าใจว่า ‘วังหน้า’ เป็นผู้วางระเบิด และไม่ส่งคนมาช่วยดับไฟ ส่วนกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ก็เสด็จหลบหนีไปอยู่ในสถานกงสุลอังกฤษไม่ยอมเสด็จออกมา

เหตุการณ์ตึงเครียดนี้กินเวลาถึงสองสัปดาห์ จนกระทั่งสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์เดินทางกลับจากราชบุรีเข้ามาไกล่เกลี่ย

โดยฝ่ายอังกฤษและฝรั่งเศสถือว่าเหตุการณ์ครั้งนั้นเป็นการเมืองภายในของสยาม และไม่ได้เข้ามาก้าวก่าย

ต่อมา กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ เสด็จทิวงคตเมื่อวันศุกร์ เดือน 9 แรม 3 ค่ำ ปีระกา จุลศักราช 1247 หรือวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2428 พระชนมายุ 48 พรรษา

พระราชทานเพลิง ณ พระเมรุท้องสนามหลวงเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2429 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่ได้ทรงแต่งตั้งผู้ใด ตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคลว่างลง

จนถึงปีจอ พ.ศ. 2429 จึงทรงสถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศเป็นสยามมกุฎราชกุมารและยกเลิกตำแหน่งพระมหาอุปราช ตั้งแต่นั้นมา


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top