Sunday, 19 May 2024
รุสลันเจ๊ะมะ

‘รุสลัน เจ๊ะมะ’ จากมหาบัณฑิต สู่ ‘เกษตรกร’ สายผสมผสาน แสวงสุขที่แท้จริง ตามรอยหลัก ‘เศรษฐกิจพอเพียง’ 

อย่างที่เราทราบกันดี ‘เศรษฐกิจพอเพียง’ เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทย 

ซึ่งแนวคิดนี้ตั้งอยู่บนรากฐานของวัฒนธรรมไทย เป็นทางสายกลางที่เหมาะสมกับการยึดถือในการดำเนินชีวิต โดยมีหลักความไม่ประมาท คำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันในตัวเอง ตลอดจนใช้ความรู้และคุณธรรม เป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต ที่สำคัญจะต้องมี ‘สติ ปัญญา และความเพียร’ ซึ่งจะนำไปสู่ ‘ความสุข’ ในการดำเนินชีวิตอย่างแท้จริง

แน่นอนว่า พระองค์ไม่ได้พระราชทานปรัชญานี้สำหรับคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ฉะนั้น ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มคนชนชั้นใด ก็สามารถประยุกต์เอาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในชีวิตได้

เช่นเดียวกันกับ ‘รุสลัน เจ๊ะมะ’ อดีตเยาวชนสานใจไทยสู่ใจใต้ รุ่นที่ 1 ชาว อ.บันนังสตา จ.ยะลา ผู้มีความเชื่อมั่นต่อปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 แม้ว่าเขาจะจบการศึกษา มหาบัณฑิตด้านนิติศาสตร์อิสลาม จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติมาเลเซีย แต่เขาก็กลับมาที่ประเทศไทย ซึ่งเป็น ‘บ้านเกิด’ เพื่อทำเกษตรผสมผสานตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

“เคยมีคนถามเยอะเลยครับว่าเรียนจบสูง ทำไมไม่ทำในด้านที่จบมา ผมก็เลยบอกว่า บางคนถนัดไปเรียนด้านนี้ แต่กลับมาทำด้านอื่นได้ เพราะว่า ความรู้ที่ได้มา ก็เอามาทำในส่วนนี้ก็ได้เหมือนกัน”

หาก ‘รุสลัน’ เลือกที่จะทำงานตามสายที่จบมา เขาอาจจะได้มีโต๊ะนั่งทำงานที่สบายกว่านี้ แต่เขากลับเลือกที่จะเดินตามพระประสงค์ของพระเจ้าที่เขาศรัทธาและเดินเข้าสวนเกษตรที่เป็นมรดกตกทอดจากพ่อของเขา 

“ผมจบนิติศาสตร์อิสลามที่ประเทศมาเลเซียครับ เมื่อประมาณ 4-5 ปีที่แล้ว ส่วนตอนนี้ก็ทำสวน เป็นเกษตรกร ใช้เศรษฐกิจพอเพียง มีปลูกข้าวโพด ข่า ขมิ้น สัปปะรด และอีกหลายๆ อย่าง เป็นเกษตรผสมผสาน ทำมาประมาณ 2 ปีแล้วครับ”


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top