Monday, 29 April 2024
รัชกาลที่4

วันนี้ในอดีต 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2394 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตในวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2394 พระราชวงศ์และเสนาบดีมีมติเห็นชอบให้ถวายราชสมบัติแก่สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎ จึงได้ให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) ไปเฝ้าเจ้าฟ้ามงกุฎ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร แต่พระองค์ตรัสว่า ถ้าจะถวายพระราชสมบัติแก่พระองค์จะต้องอัญเชิญสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ขึ้นครองราชย์ด้วย เนื่องจากพระองค์ทรงเห็นว่าเป็นผู้ที่มีพระชะตาแรง ต้องได้เป็นพระมหากษัตริย์

ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกนั้น พระองค์ได้รับการเฉลิมพระปรมาภิไธยว่า พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และมีพระนามตามจารึกในพระสุบรรณบัฏว่า

"พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎสุทธิ สมมุติเทพยพงศวงศาดิศรกษัตริย์ วรขัตติยราชนิกโรดม จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ อุภโตสุชาติสังสุทธิเคราะหณี จักรีบรมนาถ อดิศวราชรามวรังกูร สุจริตมูลสุสาธิตอุกฤษฐวิบูลย บุรพาดูลยกฤษฎาภินิหารสุภาธิการรังสฤษดิ ธัญญลักษณ วิจิตรโสภาคสรรพางค์ มหาชโนตมางคประนตบาทบงกชยุคคล ประสิทธิสรรพสุภผลอุดม บรมสุขุมาลยมหาบุรุษยรัตน ศึกษาพิพัฒนสรรพโกศล สุวิสุทธิวิมลศุภศีลสมาจารย์ เพ็ชรญาณประภาไพโรจน์ อเนกโกฏิสาธุ คุณวิบุลยสันดาน ทิพยเทพวตาร ไพศาลเกียรติคุณอดุลยพิเศษ สรรพเทเวศรานุรักษ์เอกอัครมหาบุรุษ สุตพุทธมหากระวี ตรีปิฎกาทิโกศล วิมลปรีชามหาอุดมบัณฑิต สุนทรวิจิตรปฏิภาณ บริบูรณ์คุณสาร สัสยามาทิโลกยดิลก มหาปริวารนายกอนันต์ มหันตวรฤทธิเดช สรรพพิเศษ สิรินธรมหาชนนิกรสโมสรสมมติ ประสิทธิวรยศมโหดมบรมราชสมบัติ นพปดลเศวตฉัตราดิฉัตร สิริรัตโนปลักษณมหาบรมราชาภิเศกาภิษิต สรรพทศทิศวิชิตวิไชย สกลมไหศวรินมหาสยามินทร มเหศวรมหินทร มหาราชาวโรดม บรมนารถชาติอาชาวศรัย พุทธาทิไตรรัตนสรณารักษ์ อุกฤษฐศักดิอัครนเรศราธิบดี เมตตากรุณาสีตลหฤทัย อโนปมัยบุญการสกลไพศาลมหารัษฎาธิเบนทร ปรเมนทรธรรมมิกมหาราชาธิราช บรมนารถบรมบพิตร พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว "

วัดตูม ‘หลวงพ่อทองสุขสัมฤทธิ์’ มหศจรรย์น้ำศักสิทธิ์ในเศียพระ | THE STATES TIMES STORY EP.99

วัดตูม พระอารามหลวงในรัชกาลที่ 4 ‘หลวงพ่อทองสุขสัมฤทธิ์’ มหศจรรย์น้ำศักสิทธิ์ในเศียพระ

.

ไปติดตามกันได้ใน THE STATES TIMES Story ใน EP. นี้ได้เลย

.

🎥 ช่องทางรับชม

Facebook: THE STATES TIMES PODCAST

YouTube: THE STATES TIMES PODCAST

TikTok: THE STATES TIMES PODCAST

15 พฤษภาคม พ.ศ. 2394 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

วันนี้ เมื่อ 172 ปีก่อน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตในวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2394 พระราชวงศ์และเสนาบดีมีมติเห็นชอบให้ถวายราชสมบัติแก่สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎ จึงได้ให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) ไปเฝ้าเจ้าฟ้ามงกุฎ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร แต่พระองค์ตรัสว่า ถ้าจะถวายพระราชสมบัติแก่พระองค์จะต้องอัญเชิญสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ขึ้นครองราชย์ด้วย เนื่องจากพระองค์ทรงเห็นว่าเป็นผู้ที่มีพระชะตาแรง ต้องได้เป็นพระมหากษัตริย์

ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกนั้น พระองค์ได้รับการเฉลิมพระปรมาภิไธยว่า พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และมีพระนามตามจารึกในพระสุบรรณบัฏว่า

"พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎสุทธิ สมมุติเทพยพงศวงศาดิศรกษัตริย์ วรขัตติยราชนิกโรดม จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ อุภโตสุชาติสังสุทธิเคราะหณี จักรีบรมนาถ อดิศวราชรามวรังกูร สุจริตมูลสุสาธิตอุกฤษฐวิบูลย บุรพาดูลยกฤษฎาภินิหารสุภาธิการรังสฤษดิ ธัญญลักษณ วิจิตรโสภาคสรรพางค์ มหาชโนตมางคประนตบาทบงกชยุคคล ประสิทธิสรรพสุภผลอุดม บรมสุขุมาลยมหาบุรุษยรัตน ศึกษาพิพัฒนสรรพโกศล สุวิสุทธิวิมลศุภศีลสมาจารย์ เพ็ชรญาณประภาไพโรจน์ อเนกโกฏิสาธุ คุณวิบุลยสันดาน ทิพยเทพวตาร ไพศาลเกียรติคุณอดุลยพิเศษ สรรพเทเวศรานุรักษ์เอกอัครมหาบุรุษ สุตพุทธมหากระวี ตรีปิฎกาทิโกศล วิมลปรีชามหาอุดมบัณฑิต สุนทรวิจิตรปฏิภาณ บริบูรณ์คุณสาร สัสยามาทิโลกยดิลก มหาปริวารนายกอนันต์ มหันตวรฤทธิเดช สรรพพิเศษ สิรินธรมหาชนนิกรสโมสรสมมติ ประสิทธิวรยศมโหดมบรมราชสมบัติ นพปดลเศวตฉัตราดิฉัตร สิริรัตโนปลักษณมหาบรมราชาภิเศกาภิษิต สรรพทศทิศวิชิตวิไชย สกลมไหศวรินมหาสยามินทร มเหศวรมหินทร มหาราชาวโรดม บรมนารถชาติอาชาวศรัย พุทธาทิไตรรัตนสรณารักษ์ อุกฤษฐศักดิอัครนเรศราธิบดี เมตตากรุณาสีตลหฤทัย อโนปมัยบุญการสกลไพศาลมหารัษฎาธิเบนทร ปรเมนทรธรรมมิกมหาราชาธิราช บรมนารถบรมบพิตร พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว "

พร้อมกันนี้ พระองค์ทรงสถาปนาสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ที่กรมพระราชวังบวรสถานมงคล มีพระราชพิธีบวรราชาภิเษกและทรงรับพระบวรราชโองการ ให้พระเกียรติยศเสมอด้วยพระเจ้าแผ่นดินองค์ที่ 2 โดยได้รับการเฉลิมพระปรมาภิไธยว่า พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ส่วนในฝ่ายสมณศักดิ์นั้น พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นนุชิตชิโนรส โดยมหาสมณุตมาอภิเษกขึ้นเป็น กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระสังฆราช เป็นต้น

รัชกาลที่ 4 ทรงมีพระราชกรณียกิจที่สำคัญ ได้แก่ ทรงแก้ไขธรรมเนียมข้าราชการเข้าเฝ้าให้สวมเสื้อเช่นประเทศตะวันตก ทรงทำสัญญาทางพระราชไมตรีและการต่างประเทศกับชาติตะวันตก (สนธิสัญญาเบาว์ริง) ทรงนำสยามรอดพ้นจากการตกเป็นอาณานิคมของตะวันตก ทรงสนพระทัยเรียนรู้ภาษาตะวันตกและวิชาการของตะวันตก เช่น วิทยาศาสตร์และดาราศาสตร์ จนทรงสามารถทำนายการเกิดสุริยุปราคาที่ ต.หว้ากอ จ. ประจวบคีรีขันธ์ ได้อย่างแม่นยำ จนได้รับการขนานพระนามว่า 'พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย' ทรงดำรงสิริราชสมบัติเป็นเวลา 18 ปี จึงเสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411

18 สิงหาคม ของทุกปี เป็นวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ น้อมรำลึกถึง ร.4 ‘พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย’

18 สิงหาคม ‘วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ’ หนึ่งในวันที่มีความสำคัญในวงการวิทยาศาสตร์ไทย รำลึกถึงวันที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้ทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวงเมื่อ พ.ศ. 2411 ที่บ้านหว้ากอ จ.ประจวบคีรีขันธ์

ในวันที่ 18 สิงหาคม ของทุก ๆ ปี ถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งในวันสำคัญของวงการวิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ และการศึกษาของไทย เนื่องจากตรงกับวันที่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้เสร็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวง ที่ ต.หว้ากอ จ.ประจวบคีรีขันธ์ หลังพระองค์ทรงคำนวณการเกิดสุริยุปราคาไว้อย่างแม่นยำ ล่วงหน้า 2 ปี ด้วยพระปรีชาสามารถด้านวิทยาศาสตร์ของพระองค์ จึงได้มีการถวายพระราชสมัญญานามให้ทรงเป็น ‘พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย’

และด้วยพระปรีชาสามารถด้านวิทยาศาสตร์นี้ คณะรัฐมนตรีจึงกำหนดให้วันที่ 18 สิงหาคมของทุกปี เป็น ‘วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ’ เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ครั้งสำคัญทางวิทยาศาสตร์ดังกล่าว และเพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ทรงเป็น ‘พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย’ ไปพร้อมกัน

สำหรับความเป็นมาเสร็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยพระราชโอรส พระราชธิดา รวมทั้งสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ฯ (รัชกาลที่ 5) ขณะพระชนมายุ 16 พรรษา ได้เสด็จพระราชดำเนินทางชลมารค ไปทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวงที่ ตำบลบ้านหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในวันที่18 สิงหาคม พ.ศ. 2411

ด้วยทรงตั้งพระปณิธานแน่วแน่ที่จะพิสูจน์ผลการคำนวณของพระองค์ หลังจากที่ทรงใช้กล้องโทรทรรศน์คำนวณการเกิดสุริยุปราคาครั้งแรกได้อย่างแม่นยำ ล่วงหน้า 2 ปี ซึ่งพระองค์คำนวณไว้ว่า สุริยุปราคาจะเกิดขึ้นในวันอังคาร ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 10 ปีมะโรง สัมฤทธิศก จุลศักราช 1230 โดยจะเห็นหมดดวงและชัดเจนที่สุด ที่หมู่บ้านหัววาฬ ตำบลหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตั้งแต่บริเวณ เกาะจาน ขึ้นไปถึงปราณบุรี และลงไปถึงเมืองชุมพร และโปรดฯ ให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุญนาค) ไปสร้างค่ายหลวงและพลับพลาที่ประทับ พร้อมกับเชิญคณะนักดาราศาสตร์จากประเทศฝรั่งเศส และเซอร์แฮรี ออด เจ้าเมืองสิงคโปร์เดินทางมาเข้าเฝ้าฯ และร่วมในการสังเกตการณ์ ซึ่งเมื่อถึงวันอังคารที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 เหตุการณ์ก็เป็นไปตามที่ทรงพยากรณ์ไว้ทุกประการ ไม่คลาดเคลื่อนแม้แต่วินาทีเดียว

องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่ง สหประชาชาติ (ยูเนสโก) ได้ประกาศยกย่องพระเกียรติคุณของพระองค์ให้ทรงเป็นบุคคลสำคัญของโลก ด้วยพระราชกรณียกิจและพระเกียรติคุณนานัปการ โดยเฉพาะพระราชกรณียกิจด้านดาราศาสตร์

17 กันยายน พ.ศ. 2403 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ประกาศใช้เงินเหรียญบาทครั้งแรกในประเทศสยาม

วันนี้ เมื่อ 163 ปีก่อน สยาม ประกาศใช้เงินเหรียญบาทเป็นครั้งแรก โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โปรดฯให้ผลิตขึ้นโดยเครื่องจักรที่สั่งจากประเทศอังกฤษ เพื่อใช้แทนเงินพดด้วง เป็นตราพระมหามงกุฎ-ช้างในวงจักร

ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงกระสาปน์สิทธิการ โรงกษาปณ์แห่งแรกของไทย ภายในพระบรมมหาราชวังบริเวณที่เคยเป็นโรง ทำเงินพดด้วงเดิม ด้านหน้าพระคลังมหาสมบัติ บริเวณมุมถนนใกล้กับทางออกประตูสุวรรณบริบาลด้านทิศตะวันออก และติดตั้งเครื่องจักรผลิตเหรียญกษาปณ์ขับเคลื่อนด้วยแรงดันไอน้ำเป็นเครื่องแรก ซึ่งเป็นเครื่องจักรที่สั่งจากประเทศอังกฤษ

วันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2403 รัชกาลที่ 4 ได้ออกประกาศพิกัดราคาเงินเหรียญบาทและเงินแป โดยให้นำเงินเหรียญอย่างใหม่ซึ่งเป็นเงินแบนที่ผลิตได้จากโรงกระสาปน์สิทธิการ นำออกใช้แทน เงินพดด้วง เหรียญดังกล่าวนั้น ด้านหน้าเป็นรูปพระมหามงกุฎ มีฉัตรกระหนาบทั้ง 2 ข้าง ด้านหลังเป็นรูปช้าง อยู่กลางพระแสงจักร เหรียญเนื้อเงินแท้ ราคา ๑ บาท น้ำหนัก 15.33 กรัม เส้นผ่าศูนย์กลางเหรียญ 31 มิลลิเมตร

และเหรียญชนิดต่าง ๆ ประกอบด้วยเหรียญเงินราคา 1 บาท กึ่งบาท สลึง เฟื้อง กึ่งเฟื้อง และเหรียทองพัดดึงส์อีกจำนวนหนึ่ง นับเป็นการปฏิวัติระบบเงินตราครั้งสำคัญอีกครั้งหนึ่งของไทย

อนึ่ง โรงกษาปณ์แห่งนี้ ภายหลังจากการสร้างโรงกษาปณ์แห่งที่ 2 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้เป็นโรงหมอตอนหนึ่ง และเป็นคลังราชพัสดุอีกตอนหนึ่ง และต่อมาในปี พ.ศ. 2440 เกิดไฟไหม้หมดทั้งหลัง

17 มกราคม พ.ศ. 2376 ‘รัชกาลที่ 4’ ทรงค้นพบ ‘ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง’ ยกย่องให้เป็น ‘มรดกแห่งความทรงจำของโลก’

จารึกพ่อขุนรามคำแหง หรือ จารึกหลักที่ 1 เป็นศิลาจารึกที่บันทึกเหตุการณ์ประวัติศาสตร์สมัยกรุงสุโขทัย ซึ่ง ศิลาจารึกนี้ เจ้าฟ้ามงกุฎฯ ต่อมาคือพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เป็นผู้ทรงค้นพบขณะผนวชอยู่ เมื่อวันศุกร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2376 ณ เนินปราสาทเมืองเก่าสุโขทัย อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย มีลักษณะเป็นหลักสี่เหลี่ยมด้านเท่า ทรงกระโจม สูง 111 เซนติเมตร หนา 35 เซนติเมตร เป็นหินทรายแป้งเนื้อละเอียด มีจารึกทั้งสี่ด้าน ปัจจุบันเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพมหานคร

เนื้อหาของจารึกแบ่งได้เป็นสามตอน ตอนที่ 1 บรรทัดที่ 1 ถึง 18 เป็นการเล่าพระราชประวัติพ่อขุนรามคำแหงมหาราชตั้งแต่ประสูติจนเสวยราชย์ ใช้คำว่า 'กู' เป็นหลัก ตอนที่ 2 ไม่ใช้คำว่า 'กู' แต่ใช้ว่า 'พ่อขุนรามคำแหง' เล่าถึงเหตุการณ์และธรรมเนียมในกรุงสุโขทัย และตอนที่ 3 ตั้งแต่ด้านที่ 4 บรรทัดที่ 12 ถึงบรรทัดสุดท้าย มีตัวหนังสือต่างจากตอนที่ 1 และ 2 จึงน่าจะจารึกขึ้นภายหลัง เป็นการสรรเสริญและยอพระเกียรติพ่อขุนรามคำแหง และกล่าวถึงอาณาเขตราชอาณาจักรสุโขทัย

ทั้งนี้จารึกได้รับการขึ้นทะเบียนเป็น 'มรดกความทรงจำแห่งโลก' เมื่อปี พ.ศ. 2546 โดยยูเนสโกบรรยายว่า "[จารึกนี้] นับเป็นมรดกเอกสารชิ้นหลักซึ่งมีความสำคัญระดับโลก เพราะให้ข้อมูลอันทรงค่าว่าด้วยแก่นหลักหลายประการเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมโลก ไม่เพียงแต่บันทึกการประดิษฐ์อักษรไทยซึ่งเป็นรากฐานแห่งอักษรที่ผู้คนหกสิบล้านคนใช้อยู่ในประเทศไทยปัจจุบัน การพรรณนาสุโขทัยรัฐไทยสมัยศตวรรษที่ 13 ไว้โดยละเอียดและหาได้ยากนั้นยังสะท้อนถึงคุณค่าสากลที่รัฐทั้งหลายในโลกทุกวันนี้ร่วมยึดถือ”

อย่างไรก็ตาม จารึกหลักที่ 1 นี้เอง ก็มีการตั้งคำถามเกี่ยวกับความเชื่อถือได้ของบางส่วนหรือทั้งหมดของศิลาจารึกดังกล่าว โดย ‘พิริยะ ไกรฤกษ์’ นักวิชาการที่สถาบันไทยคดีศึกษา ออกความเห็นว่า การใช้สระในศิลาจารึกนี้แนะว่าผู้สร้างได้รับอิทธิพลมาจากระบบพยัญชนะยุโรป เขาสรุปว่าศิลาจารึกนี้ถูกบางคนแต่งขึ้นในรัชกาลที่ 4 หรือไม่นานก่อนหน้านั้น 

ซึ่งนักวิชาการเห็นต่างกันในประเด็นว่าด้วยความน่าเชื่อถือของศิลาจารึกนี้ ผู้ประพันธ์บางคนอ้างว่ารอยจารึกนั้นเป็นการแต่งขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ทั้งหมด บ้างอ้างว่า 17 บรรทัดแรกนั้นเป็นจริง บ้างอ้างว่ารอยจารึกนั้นพระยาลือไทยทรงแต่งขึ้น นักวิชาการไทยส่วนใหญ่ยังยึดถือความน่าเชื่อถือของศิลาจารึกนี้รอยจารึกดังกล่าวและภาพลักษณ์ของสังคมสุโขทัยในจินตนาการยังเป็นหัวใจของชาตินิยมไทย และ ‘ไมเคิล ไรท์’ นักวิชาการชาวอังกฤษ เสนอแนะว่าศิลาจารึกดังกล่าวอาจถูกปลอมขึ้น ทำให้เขาถูกขู่ด้วยการเนรเทศภายใต้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของไทย

ทางด้าน ‘จิราภรณ์ อรัณยะนาค’ เขียนบทความแสดงทัศนะว่า ศิลาจารึกหลักที่ 1 ได้ผ่านกระบวนการสึกกร่อนผุสลายมาเป็นเวลานานหลายร้อยปี ใกล้เคียงกับศิลาจารึกหลักที่ 3 หลักที่ 45 และหลักที่กล่าวถึงชีผ้าขาวเพสสันดร ไม่ได้ทำขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4

ทำไม? ในหลวงรัชกาลที่ ๔ ทรงต้องการปราสาทขอม  ประวัติศาสตร์เรื่องอาณานิคม ที่คนรุ่นใหม่เล่าไม่ครบบริบท 

เมื่อประมาณสักหลายเดือนก่อน ผมได้ลองอ่านเรื่องประวัติศาสตร์อ่านสนุก ๆ ในโลก Social Media ซึ่งเกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ และปราสาทนครวัดจำลองในพื้นที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งปราสาทจำลององค์นี้ ซึ่งพระองค์มีพระราชบัญชาให้ขุนนางได้จำลองมาไว้ แต่ประเด็นที่น่าสนใจไม่ใช่เรื่องราวของการนำเอาปราสาทนครวัดมาจำลองไว้ แต่มันเกี่ยวกับเรื่องของการรื้อถอนปราสาทหินจากเขมรเพื่อนำมาไว้ในสยาม แต่ประวัติศาสตร์อ่านสนุกนั้นไม่บอกไว้ว่าทำไม ? ล้นเกล้ารัชกาลที่ ๔ ถึงต้องรื้อปราสาทหินมาไว้ในพระนคร นอกจากพระองค์ยังทรงต้องการที่จะให้ชาวพระนครได้ชมปราสาทหินเขมร ซึ่งมันคือ 'เรื่องปลายทาง'

จากการไม่อธิบายตรงนั้น ทำให้หลายต่อหลายคนที่ได้มาอ่านก็คิดไปกันเองโดยไม่เข้าใจว่าในหลวงรัชกาลที่ ๔ เพียงแค่ต้องการปราสาทหินมาไว้ในพระนครเพื่อแสดงความเป็นเจ้าเหนือหัวของกษัตริย์เมืองเขมรที่เป็นประเทศราช ซึ่งผมมองว่าไม่ถูกต้องเท่าไหร่นัก หากจะเล่าเรื่องประวัติศาสตร์ สมควรจะเล่าบริบทให้ครบ

'เรื่องต้นทาง'

ในช่วงรัชกาลที่ ๔  สยามเริ่มเข้าสู่ความเชี่ยวกรากของนักล่าอาณานิคมโดยเฉพาะ 'นักล่าหน้าใหม่' ซึ่งมีความกระหายในการ 'ล่าเมืองขึ้น' ไม่ให้น้อยหน้าชาติในยุโรปที่ออกมาหาเมืองขึ้นก่อนหน้านั่นก็คือฝรั่งเศส ซึ่งกระโดดเข้ามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หลังอังกฤษ แต่ต้องการแสดงแสนยานุภาพให้โลกเห็นว่าตนเองก็ไม่ธรรมดา และการหาเมืองขึ้นเพื่อเชื่อมโยงตั้งแต่ทะเลจีนใต้ไปถึงประเทศจีนเป็นหมุดหมายสำคัญของฝรั่งเศสในช่วงเวลานั้น 

หลังจากผ่านพ้นช่วงการเมืองอันวุ่นวาย ฝรั่งเศสก็มีแนวความคิดที่จะออกสู่โลกอันกว้างใหญ่เพื่อหาเมืองขึ้น โดยสร้างชมรมนักสำรวจโดยสมอ้างมันคือชมรมการสำรวจอารยธรรมเพื่อความรู้ใหม่ของชาติ แต่เอาจริง ๆ ก็คือการสำรวจเพื่อประเมินทรัพยากรก่อนเข้ายึดครองนั่นเอง ซึ่งหนึ่งในการสำรวจครั้งนั้นก็มี ญวณ เขมร และลาว ซึ่งทุกประเทศล้วนเกี่ยวข้องกับสยาม ซึ่งเรื่องเล่านี้เชื่อว่าท่านผู้อ่านคงทราบกันเป็นอย่างดีแล้ว 

ภายหลังจากภาพชุดแรกของนักธรรมชาติฝรั่งเศสชื่อ อองรี มูโอต์ ได้วาดและระบายสีภาพ 'อังกอร์วัด' และเมืองโบราณาอื่น ๆ กว่า ๘๐๐ ภาพ ในช่วงปี ค.ศ. ๑๘๕๙ ก่อนนำไปตีพิมพ์ในวารสารเที่ยวรอบโลก Le Tour Du Monde ในช่วง ค.ศ. ๑๘๖๓ ซึ่งขณะที่มูโอต์ได้พบอังกอร์วัด กองทัพฝรั่งเศสได้เข้ายึดครองญวณภาคใต้ได้สำเร็จ จากญวณก็พุ่งเป้าไปยังกัมพูชาเพื่อต่อยอดแผนอันทะเยอทะยานในการมีอิทธิพลเหนือภูมิภาคนี้แต่เพียงผู้เดียว โดย นาวาตรีโบนาร์ด ข้าหลวงใหญ่แห่งโคชินไชน่า ได้เข้าไปในนครเสียมราฐอย่างเงียบ ๆ เพื่อศึกษาลู่ทางต่าง ๆ โดยเขาพบว่า 'นครวัด' อันรกร้างเหมาะจะเป็น 'สัญลักษณ์' ที่เหมาะสมที่สุดแห่งความชอบธรรมของจักรวรรดินิยมฝรั่งเศส เพราะว่าฝรั่งเศสกำลังจะพลิกฟื้นซากแห่งอารยธรรมโบราณให้แก่ประเทศที่ขาดการพัฒนา เพียงแต่อังกอร์วัดยังเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนที่ชื่อว่า 'สยาม'

'เรื่องกลางทาง'

การที่ฝรั่งเศสเริ่มเข้ามาสนใจเขมรนั้น อยู่ในพระเนตรพระกรรณของในหลวงรัชกาลที่ ๔ มาตลอด พระองค์ทรงตระหนักถึงพิษภัยการคุกคามของฝรั่งเศสที่มีมากกว่าอังกฤษ แถมการทูตใด ๆ ก็ไม่สามารถระงับความอยากได้เขมรของฝรั่งเศสได้ เพราะฝรั่งเศสเดินเกมลุกอย่างหนักทั้งจากการเข้าเฝ้า 'สมเด็จพระนโรดมฯ พรหมบริรักษ์' เพื่อเสนอผลประโยชน์ที่เขมรจะได้รับหากแยกทางกับสยาม

การตอบโต้ฝรั่งเศสในครั้งนั้นของในหลวงรัชกาลที่ ๔ เพื่อตอบโต้การคุกคามของฝรั่งเศสในก็คือพระราชบัญชาให้ขุนนางไทยสำรวจปราสาทนครวัดอย่างถ้วนถี่ เพื่อรื้อถอนเข้ามายังสยาม แต่ในขณะที่สยามกำลังสำรวจนี้ ฝรั่งเศสได้ขนวัตถุโบราณออกจากเขมรไปอย่างต่อเนื่อง หลักฐานการขนสามารถดูได้จากหลักฐานของฝรั่งเศสเองซึ่งเยอะมาก ๆ 

แต่การตอบโต้แรกไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากปราสาทนครวัดนั้นใหญ่โตเกินไป แผนถัดไปจึงมีพระบรมราชโองการให้รื้อถอนปราสาทหินขนาดย่อม ๆ เข้ามาสัก ๒ หลัง โดยส่งกำลังพลถึง ๑,๐๐๐ คนเข้าไปโดยมุ่งไปที่ปราสาทพระขรรค์และปราสาทตาพรหม ซึ่งเรื่องเหล่านี้ถูกฝรั่งเศสเพ่งเล็งและรายงานไปยังข้าหลวงใหญ่ในโคชินไชน่าแทบจะทันที

ถ้าอ่านถึงตรงนี้หลายคนที่อ่านก็คงดรามากันแล้ว เหมือนจากเหตุต้นเรื่องที่ผมได้เล่ามา แต่พระบรมราโชบายนี้มีความลึกซึ้งกว่าที่เราจะมองเผิน ๆ ได้ เพราะเรามีปราสาทขอมในสยามที่ใกล้กรุงเทพฯ เยอะแยะ ทำไม ? ถึงต้องเอาปราสาทที่ไกลจากสยามออกถึงขนาดนั้น และไม่ใช่แค่พระองค์อยากนำปราสาทมาก่อไว้เพื่อเกียรติยศแต่อย่างใด

พระองค์ดำเนินพระราโชบายการรื้อถอนปราสาทหินเขมรเข้ามาเพื่อแสดงความเป็น 'เจ้าอธิราช' เหนือเขมรอย่างถูกต้องทั้งพฤตินัยและนิตินัย เพราะฝรั่งเศสในขณะนั้นเขามาลักกินขโมยกิน ทั้ง ๆ ที่ผู้สถาปนากษัตริย์เขมรคือพระมหากษัตริย์แห่งสยาม 

'เรื่องปลายทาง'

โครงการรื้อถอนปราสาทพระขรรค์และปราสาทตาพรหม ก็ไม่ประสบความสำเร็จเนื่องจากมีทหารป่าเขมรประมาณ ๓๐๐ คน เข้ามาโจมตีขุนนางสยามจนล้มตาย บาดเจ็บไปหลายคน แต่กระนั้นในหลวงรัชกาลที่ ๔ ยังคงมีพระราชบัญชาให้ดำเนินการต่อ 'เอาเข้ามาให้จงได้' เพราะเดิมครั้งนั้นคือการเสียบ้านเสียงเมืองในส่วนของเขมรซึ่งอยู่กับสยามมาอย่างยาวนานนับเนื่องมาถึง ๔ รัชกาล 

แต่ในท้ายที่สุดเหล่าขุนนาง เสนาบดีได้เข้าชื่อทำเรื่องทูลเกล้าฯ ขอพระราชทาน 'ระงับ' เพราะเหลือกำลังที่จะรื้อ หรือถ้ารื้อมาแล้วการประกอบขึ้นใหม่ถ้าทำแล้วไม่เหมือน ไม่สมบูรณ์ ก็จะเป็นการเสื่อมเสียพระเกียรติยศไปเสียอีก ทำให้เวลาต่อมาจึงได้ทรงมีพระราชบัญชาให้สร้างปราสาทนครวัดจำลอง ย่อส่วนลงมาไว้เป็นที่ระลึกภายในพื้นที่ของวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวังที่เราได้เห็นกันอยู่ถึงวันนี้

นอกเหนือการนำปราสาทหินเขมรเข้าในพระนคร ในหลวงรัชกาลที่ ๔ ยังคงมีสัญญาลับที่ทำกับเขมรในปี ค.ศ. ๑๘๖๓ เพื่อยังคงดำเนินการักษาอธิราชของสยามที่มีต่อเขมรไว้ แต่ฝรั่งเศสก็ขัดขวางไว้เช่นเคย โดยใช้เรือปืนมาข่มขู่สยามถึงปากน้ำเจ้าพระยาจนเราต้องยอม ส่วนทางเขมรฝรั่งเศสก็ส่งตัวแทนเข้าสู่ราชสำนักเขมรและเสนอผลประโยชน์เพื่อให้เขมรเลิกเป็นประเทศราชของสยาม และเป็นมาเป็นรัฐอารักขาของฝรั่งเศส 

สุดท้ายเขมรก็ตกลงเพราะประโยชน์ที่ได้มันค่อนข้างจะคุ้มค่ามาก ๆ ในช่วงเวลานั้น ทำให้การลักกิน ขโมยกินของฝรั่งเศสเป็นเรื่องถูกต้องทั้งทางพฤตินัยและนิตินัย สัญญาลับที่เราทำกับเขมรก็เป็นโมฆะไปโดยปริยาย แล้วฝรั่งเศสก็เดินหน้ายึดพื้นที่ไปเรื่อย ๆ จนพื้นที่ญวณ เขมร และลาวเป็นพื้นที่ในอารักขาของฝรั่งเศสไปทั้งหมด 

สิ่งที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ได้ทรงดำเนินพระราโชบายและที่ทรงได้มีพระราชบัญชา เป็นการมองการณ์ไกล เพื่อแสดงความเป็นเจ้าอธิราชให้ชัดเจน เพื่อป้องกันการรุกรานของฝรั่งเศสที่จะเกิดขึ้น เพราะหากฝรั่งเศสได้เขมร พื้นทื่อื่น ๆ ที่ติดกับเขมรย่อมต้องเสียตามไปอีกเป็นแน่แท้ แล้วการณ์ทุกอย่างก็เป็นอย่างที่พระองค์คาดไว้ จากนโยบายเรือปืนของฝรั่งเศส ที่เราได้ผลกระทบมาอย่างต่อเนื่องในอีกถึง ๒ รัชกาล


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top