Sunday, 19 May 2024
ระเบียบโลกใหม่

ปรากฏการณ์เท 'ระเบียบโลกใหม่' จุดจบที่คืบคลาน หลัง 'ทั่วโลก-ไทย' เริ่มก้าวออกจากกรงขังของตะวันตก

'พล.ท.นันทเดช' ชี้ระเบียบโลกใหม่ของชาวตะวันตกกำลังใกล้ถึงจุดจบแล้ว พรรคการเมืองต่างๆ พร้อมใจกัน 'เท' พรรคก้าวไกล คนไทยส่วนใหญ่ก็พร้อมออกจากกรงขังของวัฒนธรรมตะวันตก ยกเว้นบางคนที่ยังตกเป็น 'ทาส ความคิด' ทำตัวเหมือนปลาทองหัววุ้น

(26 ต.ค. 65) พล.ท.นันทเดช เมฆสวัสดิ์ อดีตหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการพิเศษ ศูนย์รักษาความปลอดภัยแห่งชาติ (ศรภ.) โพสต์เฟซบุ๊กมีเนื้อหาดังนี้...

'เมื่อพรรคการเมืองต่าง ๆ พร้อมใจกัน 'เท' พรรคก้าวไกล'

เมื่อปลายศตวรรษที่ 20 สงครามเย็นใน ทวีป เอเซีย ได้ยุติลงอย่างแน่นอนแล้ว ได้ส่งผลทำให้ภูมิทัศน์ทางการเมืองระหว่างประเทศ เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว เพราะกลุ่มประเทศตะวันตก ได้ส่งออก 'ประชาธิปไตยแบบตะวันตก' และ 'ระบบการค้าเสรี' ออกมาควบคุมโลกตะวันออก ตอนนั้นเรียกกันว่า 'ระเบียบโลกใหม่'

'ระเบียบโลกใหม่' นี้ได้สร้างความอึดอัดใจให้ กับประเทศในเอเซียเป็นอย่างมาก เพราะนอกจากจะขัดต่อขนบธรรมเนียม วัฒนธรรมตะวันออกแล้ว กติกาทางการค้า มาตราการอื่น ๆ ก็ถูกทางตะวันตกเป็นผู้กำหนดตามอำเภอใจตัวเอง แต่ก็ยังมีนักวิชาการบางส่วนที่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของโลกตะวันตกยังชื่นชมมันอยู่ ดังนั้น กระแสการต่อต้าน 'ระเบียบโลกใหม่' จึงค่อย ๆ ก่อตัวขึ้นทั่วเอเซีย

ส่วนในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้นั้น เมื่อภาพยนตร์จีนกำลังภายใน เรื่องกระบี่เย้ยยุทธจักร (เดชคัมภีร์เทวดา) ซึ่งมี 'ตงฟางปุ๊ป้าย' ซึ่งเป็นชื่อแปลเป็นไทย ว่า 'บูรพาไม่แพ้' เป็นตัวละครเอก ออกมาฉาย และถูกผลิตซ้ำแล้วซ้ำอีก คำว่า 'บูรพาไม่แพ้' จึงถูกนำมาอ้างอย่างแพร่หลาย โดยใช้เป็นสัญลักษณ์ เพื่อคัดค้านระเบียบโลกของชาวตะวันตก โดยเริ่มจาก สิงค์โปร์, มาเลเซีย และไทย

ปัจจุบันนี้ เป็นที่แน่ชัดแล้วว่า ระเบียบโลกใหม่ ของชาวตะวันตก กำลังจะกลายเป็นระเบียบโลกเก่า เพราะมันกำลังใกล้มาถึงจุดจบแล้ว การเอารัดเอาเปรียบ จากการออกกติกาต่าง ๆ ของตะวันตกในเรื่องการค้า การเงิน การแสวงประโยชน์ และการตักตวงทรัพยากรธรรมชาติ ฯลฯ จะต้องหมดไปในไม่ช้านี้

ระเบียบโลกเฉพาะของตะวันออก ซึ่งได้เริ่มต้นขึ้นมาอย่างช้าๆ จะเข้ามาแทนที่ จากการรวมตัวกันของ อินเดีย, จีน, รัสเซีย ฯลฯ

‘พิมพ์ภัทรา’ ชี้ภาพรวมอุตสาหกรรมไทย ต้องเร่งปรับตัวรับระเบียบโลกใหม่ ตามเทรนด์ความยั่งยืนและดิจิทัล ยัน!! รัฐมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ รับมือการเปลี่ยนแปลง

นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวภายหลังเป็นประธานและกล่าวปาฐกถาพิเศษในงานสัมมนาประจำปี OIE Forum 2566 ‘MIND: set for Sustainability ปรับมุมคิด พลิกอุตสาหกรรมไทยสู่ความยั่งยืน’ เมื่อวันที่ 13 พ.ย.2566 จัดโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) ว่า แนวโน้มการลงทุนภาคอุตสาหกรรมในครึ่งปีหลังที่มีนายกรัฐมนตรีทำหน้าที่เซลส์แมนประเทศเดินทางเจรจาเชิงรุกเชิญชวนนักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ในไทย ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการร่วมประชุมเอเปคที่สหรัฐ และติดตามความคืบหน้าการลงทุนที่สนใจเข้ามาตั้งฐานผลิตในไทย โดยเฉพาะพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) รวมถึงการเชิญชวนลงทุนในโครงการแลนด์บริดจ์ซึ่งจะเป็นเมกะโปรเจกต์โครงสร้างพื้นฐานใหม่ของประเทศ

โดยไทยมีความเข้มแข็งในเรื่องซัพพลายเชนในประเทศที่พัฒนาอย่างต่อเนื่อง มีมาตรการสิทธิประโยชน์ที่ส่งเสริมนักลงทุนใหม่ทั้งด้านภาษี และไม่ใช่ภาษี รวมถึงมาตรการที่สนับสนุนนักลงทุนในประเทศโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

สำหรับการลงทุนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (อีวี) ปัจจุบันมีรายใหม่ที่เข้ามาในประเทศไทย ทั้งค่ายรถยนต์และซัพพลายเชน โดยไทยจะยังดำเนินมาตรการสนับสนุนผู้ประกอบการยานยนต์เดิม และซัพพลายเชนในประเทศควบคู่กันไป

ทั้งนี้ สศอ. ได้ประมาณการอัตราการขยายตัวของดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) และอัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) อุตสาหกรรมปี 2567 จะขยายตัวได้ 2-3% เป็นผลมาจากการขยายตัวของการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนในเกือบทุกหมวดสินค้า สอดคล้องกับการปรับตัวดีขึ้นของการจ้างงาน รวมทั้งผลจากการฟื้นฟูของภาคการท่องเที่ยวที่ส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมที่อยู่ในห่วงโซ่คุณค่า เช่น อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ยารักษาโรค อุตสาหกรรมแฟชั่น เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ยังต้องจับตาปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ความขัดแย้งระหว่างประเทศภาระหนี้สินครัวเรือน และภาคธุรกิจที่อยู่ในระดับสูงท่ามกลางการเพิ่มขึ้นของภาระดอกเบี้ย ที่เป็นข้อจำกัดต่อการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศ และความสามารถในการชำระหนี้ของคนไทย โดยเฉพาะธุรกิจเอสเอ็มอีซึ่งจะมีการผลักดันเรื่องการพักหนี้ให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีตามนโยบายรัฐบาล โดยหาแนวทางการช่วยเหลือที่เหมาะสม เช่น การพักเงินต้น การพักดอกเบี้ย โดยไม่สร้างปัญหาการจงใจผิดชำระหนี้ของลูกหนี้ (Moral Hazard)

ขณะที่ ความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศได้ส่งผลกระทบต่อผลผลิตภาคเกษตร และส่งผลต่อเนื่องมายังวัตถุดิบที่จะเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะพื้นที่อ่อนไหวสูงที่ต้องมีการบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพร่วมกันระหว่างภาคเกษตรกรรม และภาคอุตสาหกรรม รวมถึงการบริหารจัดการทรัพยากรอื่นๆ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้อย่างทันท่วงที


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top