Sunday, 28 April 2024
ยางพารา

เร่งเดินหน้า “5 ยุทธศาสตร์เฉลิมชัย” ครองแชมป์โลกยางพารา!! “อลงกรณ์” ปักหมุด 7 กลยุทธ์รุกตลาดน้ำยาง 5 หมื่นล้าน เพิ่มรายได้เกษตรกร อัพเกรด กยท.เป็นองค์กรระดับโลก!!

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในฐานะประธานคณะกรรมการติดตามและเสนอมาตรการแก้ไขปัญหาราคายางและรักษาเสถียรภาพราคายางกล่าววันนี้(10ต.ค)ว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ดำเนินนโยบายบริหารจัดการยางพาราสินค้าเกษตรที่สำคัญของประเทศไทย ซึ่งมีเกษตรกรผู้ปลูกยางจำนวน 1.83 ล้านราย ครอบคลุมพื้นที่ 24.76 ล้านไร่ภายใต้ 5 ยุทธศาสตร์การปฏิรูปภาคเกษตรกรรมของดร. เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยได้บูรณาร่วมกับหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคีเครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยาง โดยมีการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจขับเคลื่อนนโยบายพิจารณาแก้ไขปัญหาและส่งเสริมการตลาดยางพารา โดยเฉพาะการเชื่อมโยงระหว่าง ผู้ซื้อ และผู้ขาย ประกอบด้วย ตลาดกลางยางพารา การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) 8 แห่ง ตลาดซื้อขายออนไลน์ และตลาดยางพาราท้องถิ่น รวมทั้งการช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางด้านรายได้ในภาวะช่วงเปลี่ยนผ่านสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนและการลดผลกระทบจากวิกฤติโควิด19ด้วยการขับเคลื่อนโครงการประกันรายได้ชาวสวนยางตลอดจนการสร้างกลไกและกลยุทธ์ใหม่ ๆ ในการรักษาเสถียรภาพราคา และเพิ่มรายได้ชาวสวนยาง เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระยะยาว

การขับเคลื่อนนโยบายตลาดเชิงรุกโดยการให้สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ทูตเกษตรประจำอยู่ต่างประเทศ เช่น จีน ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป (EU) ร่วมกับทูตพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ ตามโมเดลเกษตรผลิตพาณิชย์ตลาดภายใต้ยุทธศาสตร์ตลาดนำการผลิตได้ผนึกกำลังกันส่งเสริมการตลาดยางพาราในประเทศคู่ค้าสำคัญ ๆ พร้อมกับติดตามและรายงานข้อมูลสถานการณ์การนำเข้าและส่งออก สินค้าและผลิตภัณฑ์ยางพาราไทย และสภาวะแวดล้อมด้านการค้าการแข่งขัน รวมทั้งการวิเคราะห์ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะโอกาสทางการค้าและการลงทุน ทั้งนี้ ถือได้ว่า เป็นการปรับมิติของกลยุทธ์การตลาดยางพารา โดยขับเคลื่อนร่วมกับการยางแห่งประเทศไทยเป็นกลไกขับเคลื่อนพัฒนาตลาดยางพาราในต่างประเทศ ทั้งในตลาดเก่า และการเปิดตลาดใหม่โดยตั้งเป้าเพิ่มส่วนแบ่งตลาด (Market Share)และขยายการส่งออกผลิตภัณฑ์ยางทุกชนิด

นอกจากนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ยังได้ ดำเนินการเร่งดำเนินการจัดตั้ง”ตลาดซื้อขายล่วงหน้าส่งมอบจริงของยางพารา”โดยกยท. เป็นหน่วยงานรับผิดชอบ ซึ่งอยู่ระหว่างขั้นตอนการเสนอต่อ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต.พร้อมกันนั้นก็เร่งส่งเสริมการแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยส่งเสริมการลงทุนโรงงานผลิตถุงมือยาง รวมทั้งผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ตอบโจทย์ความต้องการใหม่ในยุคนิวนอร์มอล จากผลกระทบของโควิด-19

รวมถึงการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาการผลิตการแปรรูปสินค้าและผลิตภัณฑ์ยางพาราโดยร่วมมือกับศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (AIC) ในงานด้านวิจัยและพัฒนาและสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ เน้นเทคโนโลยีเมดอินไทยแลนด์(made in Thailand)

พร้อมทั้งร่วมมือกับภาคเอกชนเช่นสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยภายใต้คณะกรรมการความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กรกอ.)ส่งเสริมการลงทุนอุตสาหกรรมยางพารา เช่น “โครงการ 1 กลุ่มจังหวัด 1 นิคมอุตสาหกรรม” และโครงการเกษตรแม่นยำ2ล้านไร่สู่ธุรกิจอุตสาหกรรมเกษตรยุคใหม่(Big Brothers)

รวมถึงข้อริเริ่มใหม่ ๆ เช่นโครงการ Rubber Valley ซึ่งเป็นโครงการการพัฒนาอุตสาหกรรมยางพาราในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช (suitability and development of the rubber industry in Nakhon Si Thammarat Province) ตามนโยบายของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อรองรับการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ (Southern Economic Corridor) ของรัฐบาลสู่การพัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมยางพาราครบวงจร ครอบคลุมทั้งกิจกรรมต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มยางพาราทั้งระบบ

วิกฤตโควิด-19 เป็นปัญหาและโอกาสที่ท้าทายประเทศไทยซึ่งข้อมูลและข้อเสนอแนะเพิ่มเติมต่อไปนี้คือคำตอบว่าเรามีศักยภาพมากแค่ไหนและเดิมพันก็สูงมากแต่ก็คุ้มค่าสำหรับอุตสาหกรรมยางพาราโดยเฉพาะน้ำยางข้น ยางพาราโลกปี2563 ไทยเบอร์ 1 ผลผลิตยางพาราโลกปี 2563 มีปริมาณ 12.9 ล้านตัน โดยประเทศไทยมีผลผลิตยางพารามากเป็นอันดับ 1 ของโลก ประมาณ 4.4 ล้านตัน หรือ 38.2% รองลงมา ได้แก่ อินโดนีเซีย เวียดนาม จีน มาเลเซีย และอินเดีย

เอเชียผลิตมากที่สุดในโลก ภูมิภาคเอเชียเป็นแหล่งผลิตยางพารา 93% ของผลผลิตยางพาราทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศในกลุ่มอาเซียนเป็นแหล่งผลิตใหญ่ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย และประเทศกลุ่ม CLMV (Cambodia, Laos, Myanmar, Vietnam)  

ไทย...แชมป์โลกส่งออกน้ำยางข้นและยางแผ่นรมควัน

ปัจจุบันไทยเป็นผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์ยางขั้นกลางของโลก โดยเฉพาะน้ำยางข้นและยางแผ่นรมควันส่งออกมากเป็นอันดับหนึ่งของโลก

แนวโน้มการส่งออก

การส่งออกมีแนวโน้มขยายตัว 5.0-8.0% ต่อปี ตามการเติบโตของอุตสาหกรรมถุงมือยางและผลิตภัณฑ์ยางทางการแพทย์ต่าง ๆ  โดยตลาดหลักยังคงเป็นประเทศมาเลเซียซึ่งเป็นผู้นำเข้าน้ำยางข้นรายใหญ่ของไทย และเป็นผู้ผลิตถุงมือยางรายใหญ่ของโลก

ขณะที่ผู้ผลิตน้ำยางข้นยังมีโอกาสเติบโตต่อเนื่องตามทิศทางความต้องการของอุตสาหกรรมขั้นปลาย ได้แก่ ถุงมือยาง ผลิตภัณฑ์ยางทางการแพทย์ และถุงยางอนามัยในตลาดโลก ประกอบกับการผลิตน้ำยางข้นในตลาดโลกยังมีน้อยเนื่องจากกระบวนการผลิตส่วนใหญ่ยังเน้นผลิตเพียงยางก้อนถ้วยและเศษยาง ทำให้ภาวะการแข่งขันในการส่งออกน้ำยางข้นไม่รุนแรงนัก

จุดแข็งและโอกาสของน้ำยางพาราไทย

1.การผลิตน้ำยางสด92%

การผลิตน้ำยางสดมีสัดส่วนถึง 92% ของผลผลิตยางพาราทั้งหมดซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นวัตถุดิบผลิตผลิตภัณฑ์ยางขั้นกลางได้ทุกประเภท ต่างจากมาเลเซียและอินโดนีเซียที่ส่วนใหญ่ผลิตยางก้อนถ้วยจึงเน้นผลิตยางแท่งเป็นหลัก

2.ศักยภาพน้ำยางข้นไทยอันดับ1ของโลก

อุตสาหกรรมน้ำยางข้นของไทยมีมูลค่าตลาดประมาณ 5 หมื่นล้านบาทในปี 2563 (มูลค่ารวมส่งออกและใช้ในประเทศ) โดยส่งออกในสัดส่วน 75.9% และไทยมีส่วนแบ่งตลาดสูงเป็นอันดับหนึ่งของโลกเกือบ 70% ของปริมาณการค้าน้ำยางข้นทั่วโลก

3.ตลาดใกล้กระจุกตัวแต่มีตลาดทั่วโลกรออยู่

ตลาดส่งออกหลักของไทยอยู่ใกล้บ้านในอาเซียนและเอเซียตะวันออกคือ มาเลเซียที่มีสัดส่วนถึงครึ่งหนึ่งของปริมาณส่งออกน้ำยางข้นทั้งหมด รองลงมาเป็นจีน (33.5%) และเกาหลีใต้ (1.8%) แต่ในอีกแง่หนึ่งคือการมีตลาดดั้งเดิมกระจุกใน3ประเทศแสดงว่ายังมีตลาดใหม่ในอีกกว่า100ประเทศรอเราอยู่

4.Covid โอกาสในวิกฤติ

จากวิกฤติโควิด19 ทำให้ความต้องการน้ำยางข้นเพิ่มขึ้นจากอุตสาหกรรมถุงมือยางและถุงยางอนามัย สมาคมผู้ผลิตถุงมือยางมาเลเซีย The Malaysian Rubber Glove Manufacturers Association (MARGMA) คาดการณ์ความต้องการถุงมือยางทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นเป็น 662 พันล้านชิ้นในปี 2566 หรือเติบโตเฉลี่ย (CAGR) 23.1% ต่อปีในช่วงปี 2564-2566

มัลลิกา เผย โอนเงินประกันรายได้ "ยางพารา" งวดล่าสุดแล้ว "ชู" เกษตร-พาณิชย์ ช่วยเกษตรกรทุกปี 1.88 ล้านครัวเรือน คุณภาพชีวิตเกษตรกรดีขึ้นทันตา!  "ราคายางยกระดับ-แตกต่างจากก่อนหน้านี้" 

นางมัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า จากการติดตามนโยบายประกันรายได้เกษตรกร โดยนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในส่วนของยางพารา โครงการดังกล่าวเป็นการประกันรายได้ตามการผลิตแต่ละประเภท ได้แก่ ยางพาราแผ่นดิบคุณภาพดี ประกันรายได้ที่ราคา 60 บาท/กิโลกรัม  น้ำยางสด (DRC 100%) ประกันรายได้ที่ราคา 57 บาท/กิโลกรัม และยางก้อนถ้วย (DRC 50%) ประกันรายได้ที่ราคา 23 บาท/กิโลกรัม เป้าหมายเกษตรกร 1.88 ล้านราย พื้นที่สวนยางกว่า 19.16 ล้านไร่ ในส่วนของปีที่ 3 นั้นเตรียมวงเงินไว้สำหรับเกษตรกรไปแล้ว 

ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า ความคืบหน้าการโอนเงินโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 3 นั้นล่าสุดเมื่อวันที่ 14 มกราคม 2565 ธ.ก.ส. ได้โอนเงินประกันรายได้ดังกล่าวเข้าบัญชีเกษตรกรโดยตรงแล้ว ทั้งนี้เกษตรกรสามารถตรวจสอบผลการโอนเงินได้ทางแอปพลิเคชัน ธ.ก.ส. A-Mobile ตลอด 24 ชั่วโมง และจะมีข้อความแจ้งเตือนเงินเข้าบัญชีผ่าน LINE Official BAAC Family กรณีที่สมัครใช้บริการ   BAAC Connect ของ ธ.ก.ส.รวมถึงสามารถเบิกถอนเงินสดผ่านตู้ ATM ของ ธ.ก.ส. ทั่วประเทศ ซึ่งพี่น้องเกษตรกรสามารถไปกดเงินได้เลย 

"การยางแห่งประเทศไทย เคาะจ่ายเงินประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง งวดที่ 3 วันที่ 14 มกราคม สำหรับวงเงินงวดนี้กว่า 850 ล้านบาท โดยนายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย หรือ กยท. รายงานนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่าโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 3 ได้เริ่มดำเนินการจ่ายเงินส่วนต่างชดเชยรายได้ให้กับชาวสวนยาง งวดที่ 1 ประจำเดือนตุลาคม 2564 และ งวด 2 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2564 แล้ว ตั้งแต่วันที่ 9 ธ.ค. 2564 สำหรับงวดที่ 3 ประจำเดือนธันวาคม 2564 โอนเข้าบัญชีของเกษตรกรชาวสวนยางแล้วเมื่อในวันที่14 มกราคม โดยวงเงินงวดนี้ 850.25 ล้านบาท" นางมัลลิกา กล่าว

 

นางมัลลิกา กล่าวว่า การโอนเงินประกันรายได้เกษตรกรยางพารานั้นเป็นไปตามระเบียบหลังจากที่ได้กำหนดราคายางพาราอ้างอิง รอบล่าสุดเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา คือ ราคายางแผ่นดิบคุณภาพดี อยู่ที่ 54.85 บาท/กก. ได้ชดเชย 5.15 บาท/กก. ราคาน้ำยางสด DRC 100% อยู่ที่ 51.03 บาท/กก. ได้ชดเชย 5.97 บาท/กก. ราคายางก้อนถ้วย (DRC 50%) อยู่ที่ 23.18 บาท/กก. อันนี้จะไม่มีชดเชย เพราะราคาตลาดสูงกว่าราคารายได้ที่ประกันไว้

“จุรินทร์-เฉลิมชัย” ร่วมสร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่!!! ส่งออกข้าวไทยล็อตแรก 1,000 ตัน โดย “รถไฟสายจีน-ลาว” ถึงมหานครฉงชิ่งสำเร็จเป็นครั้งแรก “อลงกรณ์” ชี้!เป็นศักราชใหม่ของอีสานเกตเวย์ ตั้งเป้าหมายต่อไปส่งออก ‘ยางพารา ผลไม้ - กล้วยไม้ - สินค้าประมงและปศุสั

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์เปิดเผยวันนี้(20 ม.ค.)ว่า ประเทศไทยสามารถส่งออกข้าวสาร จำนวน 20 ตู้ ปริมาณ 1,000 ตันโดยใช้เส้นทางรถไฟสายจีน-ลาวไปถึงมหานครฉงชิ่ง ( Chongqing )ในภาคตะวันตกของจีนสำเร็จเป็นครั้งแรกถือเป็นประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของการขนส่งระบบรางเพื่อขยายโอกาสทางการค้าและการสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร ผู้ประกอบการและประเทศโดยส่วนรวมภายใต้การทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กับกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการต่างประเทศ ภาคเกษตรกรและภาคเอกชนตามนโยบายการพัฒนาโลจิสติกส์เกษตรและยุทธศาสตร์ตลาดนำการผลิต เพื่อการส่งออกของนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีพาณิชย์กับ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และต้องขอบคุณ สปป.ลาวและจีนในความร่วมมืออันดียิ่ง

สำหรับความสำเร็จก้าวแรกในครั้งนี้แม้ต้องเผชิญกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกแล้วระลอกเล่า ซึ่งทำให้การทำงานเป็นไปด้วยความยากลำบากโดยเฉพาะในปีที่ผ่านมา โดยจะประเมินผลการส่งออกข้าวล็อตแรกครั้งนี้รวมทั้งระบบการจองขบวนรถขนส่งสินค้าและการจองตู้คอนเทนเนอร์ ซึ่งกำลังประสานงานกับผู้ให้บริการของทั้งสปป.ลาวและจีน เพื่อเร่งขยายผลไปสู่การส่งออกสินค้าเกษตรตัวอื่นรวมทั้งเป้าหมายตลาดใหม่ ๆ ทั้งในมณฑลต่าง ๆ ของจีนและประเทศอื่น ๆ ต่อไปโดยเร็ว 

นายอลงกรณ์ กล่าวต่อไปว่า เราเดินหน้าสร้างความพร้อมสำหรับวันนี้มาเป็นเวลากว่า 2 ปี สำหรับการขนส่งผ่านทางรถไฟสายใหม่ ซึ่งเพิ่งเปิดเป็นทางการเมื่อวันที่ 3 ธันวาคมที่ผ่านมาตามยุทธศาสตร์อีสานเกตเวย์(ESAN Gateway)เชื่อมไทย-เชื่อมโลก นับเป็นการเปิดศักราชหน้าใหม่ของการค้าการส่งออกสินค้าไทยไปจีน โดยมีเป้าหมายสู่ตลาดต่อไปคือตลาดเอเชียกลาง เอเชียตะวันออก ตะวันออกกลาง รัสเซีย และยุโรปและเพิ่มสินค้าเกษตรที่จะขนส่งผ่านเส้นทางรถไฟสายนี้คือยางพารา ผลไม้ กล้วยไม้ไทย มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน สินค้าประมงและปศุสัตว์ รวมทั้งสินค้าเกษตรแปรรูปและสินค้าอื่น ๆ

“สำหรับมหานครฉงชิ่ง เป็นชุมทางรถไฟและการขนส่งหลายรูปแบบ โดยอาศัยข้อได้เปรียบจากการมีที่ตั้งอยู่บนเส้นทางสายไหมใหม่BRI(อีต้าอีลู่) และแม่น้ำแยงซีเกียงจึงมีความพร้อมทางด้านโลจิสติกส์และได้วางนโยบายเชื่อมโยง “ฉงชิ่ง-อาเซียน” เป็นแนวทางที่สอดคล้องกับรัฐบาลไทย ทั้งนี้ มหานครฉงชิ่งมีเขตโลจิสติกส์อาเซียนและนานาชาติในตำบลหนานเผิง เขตปาหนาน (Chongqing ASEAN International Logistics Park) ถือเป็นเส้นทางขนส่งและระบบโลจิสติกส์ที่สำคัญและเป็น “ประตูเศรษฐกิจของจีนตะวันตก” สามารถเป็นจุดกระจายสินค้าไปมณฑลต่าง ๆ ในภูมิภาคตะวันตกของจีนและขนส่งผ่านไปยังประเทศต่าง ๆ

 

“เฉลิมชัย” มอบ “อลงกรณ์” ลงพื้นที่หน้าด่านหนองคาย-อุดรฯ สัปดาห์หน้า ประสานผู้ประกอบการ ”ไทย-ลาว-จีน” ร่วมมือส่งออกข้าว-ยางพารา-ผลไม้ บนเส้นทางรถไฟสายใหม่รับมือฤดูกาลผลิตปี 2565

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในฐานะประธานคณะกรรมการความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กรกอ.)และประธานคณะทำงานจัดทำแผนแก้ไขปัญหาผลไม้เศรษฐกิจล่วงหน้าทั้งระบบเปิด

เผยวันนี้(21ม.ค.)ว่า ในวันพฤหัสบดีสัปดาห์หน้าจะเดินทางไปหนองคาย-อุดรฯ เพื่อหารือกับผู้ประกอบการ ”ไทย-ลาว-จีน” ด้านโลจิสติกส์เพื่อร่วมมือกันในการสนับสนุนการส่งออกสินค้าเกษตร เช่น ข้าว ยางพารา ผัก ผลไม้กล้วยไม้ สินค้าประมงและสินค้าปศุสัตว์บนเส้นทางรถไฟลาว-จีน 

สำหรับฤดูกาลผลิตปี 2565 ตามข้อสั่งการของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์รวมทั้งการติดตามความคืบหน้าของนิคมอุตสาหกรรมอุดรธานีทางด้านการลงทุนอุตสาหกรรมเกษตรอาหารและโครงการโลจิสติกส์ปาร์คตลอดจนการใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น ไนโตรเจนฟรีสเซอร์และระบบตรวจสอบย้อนกลับเพื่อการส่งออก

“ประเทศไทยสามารถส่งออกข้าวสาร จำนวน 20 ตู้ ปริมาณ 500 ตันโดยใช้เส้นทางรถไฟสายจีน-ลาวโดยมีจุดหมายปลายทางที่มหานครฉงชิ่ง (Chongqing)ในภาคตะวันตกของจีนเป็น Shipment แรกซึ่งสามารถผ่านการตรวจตราและออกใบรับรองจากด่านตรวจพืชที่หนองคายขนส่งถึงท่าบกท่านาและผ่านการเห็นชอบของด่านศุลกากรลาวแล้วรอขบวนรถขนส่งสินค้าเพื่อเดินทางออกจากสถานีเวียงจันทน์ใต้ไปมหานครฉงชิ่ง ก่อนหน้านี้ได้รับรายงานคลาดเคลื่อนจากหน่วยงานว่าขนส่งไปฉงชิ่งแล้วรวมทั้งจำนวนน้ำหนักซึ่งได้ช่วยประสานงานกับทางลาวและได้รับความร่วมมืออย่างดีในการอนุมัติผ่านด่านศุลกากรและกระทรวงเกษตรของลาว เมื่อขบวนรถไฟขนส่งมาถึงก็พร้อมออกเดินทางได้ทันที

การขนส่งระบบรางเป็นระบบใหม่จากไทยผ่านแดนลาวเพื่อขยายโอกาสทางการค้าภายใต้การทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กับกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการต่างประเทศ ภาคเกษตรกรและภาคเอกชนตามนโยบายการพัฒนาโลจิสติกส์เกษตรและยุทธศาสตร์ตลาดนำการผลิตเพื่อการส่งออกของนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีพาณิชย์กับ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ซึ่งทั้ง 2 ท่านได้ดำเนินการเจรจากับทางการจีนและลาวทั้งเป็นทางการและไม่เป็นทางการตลอดมาโดยเฉพาะในภาวะที่ต้องเผชิญกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกแล้วระลอกเล่าซึ่งทำให้การทำงานเป็นไปด้วยความยากลำบากแต่ด้วยความมุ่งมั่นและความร่วมมือของทุกฝ่ายจึงสามารถฝ่าฟันอุปสรรคมาได้และถอดบทเรียนปัญหามาสู่การขับเคลื่อนไปข้างหน้าร่วมกัน” 

'นายกฯ' พอใจ 'ยางพาราปี 65' แนวโน้มราคาสูงขึ้น  คาดไทยส่งออกยางพาราทั่วโลกกว่า 4.218 ล้านตัน 

เมื่อวันที่ 22 ก.พ. ที่ทำเนียบรัฐบาล นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กระตุ้นทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้ติดตามการดำเนินงานตามโครงการของนายกรัฐมนตรีและรัฐบาล ดูแลประชาชนทุกสาขาอาชีพอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการขับเคลื่อนพืชเกษตรและเศรษฐกิจภาคการเกษตรอย่างยั่งยืน อาทิ  ยางพาราไทย ถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของไทย

ซึ่งข้อมูลจากการยางแห่งประเทศไทย ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกยางพาราอันดับ 1 ของโลก มีส่วนแบ่งทางการตลาดอยู่ที่ร้อยละ 38.65  คิดเป็นการส่งออกยางพาราประมาณ 3.7 ล้านตันต่อปี ตลอดจน ในปี 2565 คาดการณ์ไทยส่งออกยางพาราไปทั่วโลกกว่า 4.218 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.03 จากปีก่อนที่ส่งออก 4.134 ล้านตัน สืบเนื่องมาจากปริมาณความต้องการใช้ยางพาราของโลกมีมากขึ้นและตัวเลขดัชนีภาคการผลิตสูงขึ้น ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของโลกภายหลังสถานการณ์โควิด – 19 จะส่งผลสถานณ์ยางพาราเป็นไปในทิศทางที่ได้ดีขึ้น 

นายธนกร กล่าวว่า การที่ราคายางมีเสถียรภาพมากขึ้นนี้ ทำให้โครงการประกันราคายางของรัฐบาลมีความสามารถจ่ายค่าชดเชยส่วนต่างให้ประชาชนลดลง แม้ว่าจากการศึกษาพบว่าเกษตรกรสวนยางมีความพอใจในโครงการนี้ นายกรัฐมนตรีได้กำกับ สั่งการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ดำเนินโครงการควบคู่กับโครงการประกันราคา เพื่อแก้ไขปัญหา ผลกระทบที่ส่งถึงประชาชนให้ครอบคลุมทุกมิติ และเพื่อความยั่งยืน เนื่องจากยางพารามีผลผลิตตลอดทั้งปี เมื่อผลผลิตออกเยอะจะมีผลถึงราคายาง อาทิ เกษตรผลิต พาณิชย์ตลาด คือการสนับสนุนการปลูกพืชผสมผสาน ควบคู่กับการวางแผนการขาย การให้เงินอุดหนุนกับเกษตรกรชาวสวนยางเพื่อเสริมสภาพคล่อง การบริหารจัดการปริมาณผลผลิตและปริมาณการใช้งานให้พอดีกัน สินเชื่อสนับสนุนชาวสวนยางเพื่อขยายกำลังการผลิตของผู้ประกอบการ 

นายกฯ พอใจ!! ไทยครองอันดับ 1 ส่งออกยางพารา ย้ำ!! พัฒนายางเพิ่มมูลค่า เจาะตลาดประเทศใหม่ๆ

นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ภายใต้แนวทาง 'เกษตรผลิต พาณิย์ตลาด' ของรัฐบาล ทำให้ยอดการส่งออกยางพาราครึ่งปีแรกปี 2565 ของไทย ครองตำแหน่งผู้ส่งออกยางอันดับ 1 ของโลก โดยการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) รายงานว่า ช่วง ม.ค.-มิ.ย. ปีนี้ มีปริมาณการส่งออกยางธรรมชาติและผลิตภัณฑ์ยาง 2.19 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่ารวม 2.4 แสนล้านบาท จีนนำเข้ายางไทยเป็นอันดับหนึ่ง คิดเป็น 49% ของการส่งออกทั้งหมด รองลงมาได้แก่ มาเลเซีย 10% สหรัฐอเมริกา 7% ญี่ปุ่น 6% เกาหลีใต้ 4%

สำหรับแผนการขยายตลาดสู่ตลาดใหม่ นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้รายงานต่อนายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ว่า ได้สั่งการให้คณะกรรมการติดตามและเสนอมาตรการแก้ไขปัญหาราคายางและรักษาเสถียรภาพราคายาง ทำการระดมสมองจากทูตเกษตรทุกภูมิภาคทั่วโลก เพื่อรวบรวมเป็นข้อมูลและออกมาตรการเชิงรุก ซึ่งได้ข้อสรุป 6 มาตรการ ดังนี้

1.) มาตรการสื่อสารประชาสัมพันธ์เชิงรุก เช่น การผลิตสื่อดิจิทัลเผยแพร่ในตลาดต่างประเทศ 
2.) มาตรการการตลาดเชิงรุก เน้นความต้องการผลิตภัณฑ์ยางรายตัวสินค้าและรายประเทศคู่ค้า (product based & country based) เช่น ความต้องการยางจักรยานและยางรถบัสเพิ่มขึ้นในประเทศกลุ่มสหภาพยุโรปและผลิตภัณฑ์ยางที่อียูแบนสินค้าจากรัสเซีย หรือผลิตภัณฑ์ยางที่รัสเซียระงับการนำเข้าจากอียู
3.) มาตรการเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน ใช้แนวทางเกษตรกรรมยั่งยืน สวนยางยั่งยืนและระบบตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) เพื่อตอบโจทย์ ประเด็นสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพราะเป็นเรื่องที่หลายประเทศในยุโรปให้ความสำคัญ
4.) มาตรการระยะสั้นรายไตรมาส เพื่อการบริหารจัดการตามปฏิทินฤดูการผลิตประจำปี โดยมอบ กยท. ภาคเอกชน และภาคเกษตรกรหารือกันเพื่อกำหนดมาตรการร่วมกัน
5.) มาตรการพัฒนาผลิตภัณฑ์สู่ยางมูลค่าสูง เน้นการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม เช่น วัสดุภัณฑ์ก่อสร้างบ้านและอาคาร ผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ อุปกรณ์ด้านคมนาคมขนส่ง เพื่อเพิ่มรายได้ชาวสวนยาง สถาบันยางและผู้ประกอบการ ผ่านการทำงานร่วมระหว่าง กยท. และศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (ศูนย์ AIC) นำงานวิจัยมาประยุกต์ใช้จริง
6.) มาตรการเชิงกลไกการตลาด เช่น การบริหารซัปพลายและดีมานด์ กลไกตลาดซื้อขายล่วงหน้าส่งมอบจริง และระบบการประมูลยางออนไลน์เป็นระบบที่เปิดกว้างเพิ่มผู้ซื้อทั้งลูกค้าในประเทศและต่างประเทศ เพื่อแก้ปัญหาการกำหนดราคาโดยผู้ซื้อน้อยราย หรือการฮั้วหรือการผูกขาด
 

ม.วลัยลักษณ์ ผลิตระบบตรวจจับแกนไม้ยางพารา สำเร็จ!! ช่วยลดต้นทุนให้โรงงานแปรรูป 5 แสนบาทต่อเดือน

กองทุนพัฒนาดิจิทัลฯ ลงพื้นที่เยี่ยมชม พร้อมติดตามความคืบหน้าโครงการพัฒนาระบบตรวจจับแกนไม้บนภาพหน้าตัดท่อนซุงไม้ยางพารา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากกองทุนฯ 

โดยนายภุชพงค์ โนดไธสง เลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พร้อมคณะผู้บริหาร ได้ลงพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อเยี่ยมชมและติดตามความคืบหน้าโครงการพัฒนาระบบตรวจจับแกนไม้ บนภาพหน้าตัดท่อนซุงไม้ยางพารา โดยใช้เทคนิคโครงข่ายประสาทเทียมแบบลึกและเชื่อมต่อกับระบบโรงงานแปรรูปไม้ยางพารา ของสำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากกองทุนพัฒนาดิจิทัลฯ เมื่อปี 2563

ซึ่งเลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลฯ เปิดเผยภายหลังตรวจเยี่ยมโครงการฯ ว่า กองทุนฯ ถือเป็นจุดกระตุ้นให้นักวิจัย ได้เกิดการคิดค้นนวัตกรรมและเทคโนโลยี ใหม่ ๆ ซึ่งหลังจากได้เห็นความคืบหน้าของโครงการฯ ที่ได้รับทุนสนับสนุน ถือว่าประสบความสำเร็จ ตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ อีกทั้งงานวิจัยดังกล่าวยังสามารถต่อยอด พัฒนาไปสู่การแก้ปัญหาในด้านอื่น ๆ ได้อีกด้วย

'บิ๊กตู่' เร่งเดินหน้าศูนย์ทดสอบยานยนต์-ยางล้อ รองรับฐานผลิต EV ดันไทยเป็นศูนย์กลางมาตรฐานโลก

(15 ก.พ. 66) น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาลกำลังเร่งผลักดันให้ไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนที่สำคัญของโลก โดยนายกรัฐมนตรี ได้ติดตามและผลักดันการก่อสร้างศูนย์ทดสอบยานยนต์และยางล้อแห่งชาติ เพื่อรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ ซึ่งมีความก้าวหน้าอย่างไปอย่างมาก

ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2559 อนุมัติโครงการก่อสร้างศูนย์ทดสอบยานยนต์และยางล้อแห่งชาติ วงเงิน 3,705.7 ล้านบาท แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ส่วนทดสอบยางล้อตามมาตรฐาน UN R117 และระยะที่ 2 ส่วนทดสอบยานยนต์และชิ้นส่วน โดยการก่อสร้างระยะที่ 1 ได้ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดให้บริการแล้ว ส่วนระยะที่ 2 ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จร้อยละ 55 คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2569

‘สมศักดิ์-วิสุทธิ์’ นำทีม สส.เพื่อไทย ลุยสุราษฎร์ฯ ช่วยพี่น้องเกษตรกร หารือแนวทางแก้ปัญหาโรคใบร่วงระบาด ทำน้ำยางพาราลดลง 40%

เมื่อวันที่ 5 ส.ค. 66 คณะพรรคเพื่อไทย นำโดย สมศักดิ์ เทพสุทิน สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย วิสุทธิ์ ไชยณรุณ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทยและคณะลงพื้นที่ชุมชนบ้านเรียบ ตำบลคลองไทร อำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี เยี่ยมผู้นำชุมชน เกษตรกรผู้ปลูกยางพาราในพื้นที่ปักษ์ใต้ เพื่อรวบรวมปัญหาที่พบส่งให้รัฐบาลใหม่ที่กำลังจัดตั้ง ได้นำไปแก้ไขปัญหาให้พี่น้องอย่างทันท่วงทีที่สุด

1.) สมศักดิ์ เทพสุทิน กล่าวว่าขณะนี้เกิดปัญหาโรคใบร่วงระบาดในสวนยาง ส่งผลให้ผลผลิตน้ำยางลดลงถึง 40 เปอร์เซ็นต์ รวมถึงทำให้ต้นยางเกิดปัญหายืนต้นตาย โดยวิธีแก้ไขเบื้องต้นสามารถใช้สารแคลเซียมคาร์บอเนตเพื่อลดปัญหาได้ในระดับหนึ่ง แต่จะต้องได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานของรัฐ ที่จะต้องเข้ามาดูแลช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกร ไม่ให้เกิดปัญหาเช่นนี้อีก

2.) พรรคเพื่อไทย ห่วงใยปัญหาของพี่น้องเกษตรกรทุกกลุ่ม ไม่ใช่แค่กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกยาง ตลอดเวลาได้ศึกษาวิจัยและรวบรวมข้อมูลและเมื่อจัดตั้งรัฐบาลใหม่เสร็จสิ้น จะสามารถนำมาใช้เพื่อเร่งแก้ไขปัญหาให้พี่น้องประชาชนได้ทันที

3.) วิสุทธิ์ ไชยณรุณ กล่าวว่าในเรื่องของเกษตรกร ถือเป็นนโยบายหลักของพรรคเพื่อไทย ซึ่งหลังจากนี้ จะต้องเดินหน้าในการจัดอบรมให้ความรู้เกษตรกรในการเพาะปลูก และการเลี้ยงปศุสัตว์แบบถูกวิธี ไม่ว่าจะเป็นการหว่าน หรือ การใช้สูตรปุ๋ยที่เหมาะกับพืชที่ปลูก เพื่อที่จะให้ได้ผลผลิตที่มากขึ้น รวมถึงเพิ่มมูลค่าผลผลิตมากขึ้นกว่าเดิม

4.) สกุณา สาระนันท์ สส.สกลนคร กล่าวว่าหน้าที่รัฐบาลใหม่ที่ต้องทำ คือการพัฒนาผลผลิต หาตลาดใหม่ให้แก่ผู้เพาะปลูก รวมทั้งการส่งเสริมใช้นวัตกรรมเพื่อเพิ่มผลผลิตให้งอกเงยมากขึ้น และเพิ่มทุนให้แก่เกษตรกรเพื่อให้มีสภาพคล่องมากกว่าที่เป็นอยู่ 

5.) คณะพรรคเพื่อไทย ที่ลงพื้นที่ในโอกาสนี้ ประกอบด้วย สมศักดิ์ เทพสุทิน สส.บัญชีรายชื่อ, วิสุทธิ์ ไชยณรุณ สส.บัญชีรายชื่อ และประธานนโยบายด้านการเกษตร พรรคเพื่อไทย, ลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์ สส.บัญชีรายชื่อ และรองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย, อนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด สส.บัญชีรายชื่อ, สกุณา สาระนันท์ สส.สกลนคร, ประภาพร ทองปากน้ำ สส.สุโขทัย, มนพร เจริญศรี สส.นครพนม, ธัญธารี สันตพันธ์ สส.อุบลราชธานี, สุรพจน์ เตาะเจริญสุข สส.ขอนแก่น, ทินพล ศรีธเรศ สส.กาฬสินธุ์, ศุภจักร บุตรก้ำพี้ และ ดรุฒ คำวิชิตธนาภา

ชาวสวนยางเฮ ! ยุครัฐบาลเศรษฐา ยางพาราพุ่ง 74บาท/กก.

นางสาวอัยรินทร์ พันธุ์ฤทธิ์ โฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ฝ่ายการเมือง) กล่าวถึง สถานการณ์ราคายางพาราในปัจจุบัน มีทิศทางที่ดีขึ้น ถ้าเปรียบเทียบราคาเฉลี่ยระหว่างเดือนกันยายน ปี 2566 กับ เดือนกุมภาพันธ์ ปี 2567  ชนิดยางแผ่นรมควันชั้น 3 ขยับขึ้นไปแตะกิโลกรัมละ 74 บาท จากเดิมปี 2566 อยู่ที่กิโลกรัมละ 51 บาท ยางแผ่นดิบคุณภาพดี ราคากิโลกรัมละ 70 บาท จากเดิมกิโลกรัมละ 49 บาท ขณะที่น้ำยางสด (DRC 100%) และ ยางก้อนถ้วย (DRC 100%) ได้ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นเช่นเดียวกัน 

ซึ่งการเพิ่มขึ้นของราคายางในช่วงที่ผ่านมา สะท้อนปัจจัยสนับสนุนจากภาครัฐภายใต้การนำของนายเศรษฐา ทวีสิน นายก รัฐมนตรี และ ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่กำกับดูแล ได้วางมาตรการปราบปรามสินค้าเกษตรผิดกฎหมาย โดยจัดตั้งทีมสายลับยางรักษาผลประโยชน์ของพี่น้องเกษตรกร ส่งผลให้ราคาสินค้าเกษตรดีขึ้น และ ความต้องการใช้ยางมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ตามการขยายตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ ล้อรถยนต์ และรถไฟฟ้า ถุงมือยางและผลิตภัณฑ์ยางทางการแพทย์ ทั้งนี้ องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) คาดการณ์ว่า ปี 2567 GDP โลกขยายตัวร้อยละ 2.7 ขณะที่ผลผลิตยางพาราหลายพื้นที่มีแนวโน้มลดลง เนื่องจากต้นยางพาราเริ่มผลัดใบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่งผลให้อุปทานยางในตลาดลดลงส่งผลบวกต่อราคายางมีราคาสูงขึ้น 


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top