Saturday, 4 May 2024
ฟูมิโอะคิชิดะ

‘สี จิ้นผิง’ พบ ‘คิชิดะ’ ประชุมทวิภาคีครั้งสำคัญ ในวาระครบรอบ 50 ปีการทูต ‘จีน-ญี่ปุ่น’

นับว่ามีประเด็นมากมายที่ต้องจับตามอง สำหรับการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ระหว่างวันที่ 14 - 19 พ.ย. 65 ทั้งในประความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ประเด็นความยั่งยืนและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งประเด็นทางการเมืองและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ 

โดยอีกหนึ่งไฮไลต์ที่ต้องจับตามอง คือการประชุมทวิภาคีครั้งสำคัญระหว่างประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ผู้นำสูงสุดแห่งจีน และนายฟูมิโอะ คิชิดะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ซึ่งจะเป็นการประชุมนอกรอบระหว่างการจัดการประชุมเอเปค ซึ่งเป็นการประชุมแบบพบหน้ากันเป็นครั้งแรกของผู้นำทั้งสองในรอบ 3 ปี ด้วยเป้าหมายด้านความสัมพันธ์ในเชิงสร้างสรรค์และมีเสถียรภาพ เนื่องจากปีนี้ ถือเป็นวาระครบรอบ 50 ปีของการรื้อฟื้นความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างประเทศทั้งสอง ซึ่งผู้นำทั้งสองได้ให้สำคัญของการมีความสัมพันธ์ทวิภาคีที่ดี ซึ่งจะช่วยดึงดูดการลงทุนจากกันและกัน

ความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศในช่วงที่ผ่านมา เต็มไปด้วยความตึงเครียด ด้วยความบาดหมางในอดีตในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นทุนเดิม ท่ามกลางความขัดแย้งเกี่ยวกับการอ้างกรรมสิทธิ์เหนือหมู่เกาะในทะเลจีนตะวันออก, การทดลองยิงขีปนาวุธของเกาหลีเหนือ รวมทั้งการที่กองทัพจีนยิงขีปนาวุธตกในน่านน้ำของญี่ปุ่นในการซ้อมรบเพื่อตอบโต้ต่อการเดินทางเยือนไต้หวันของแนนซี เพโลซี ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ และการแข่งขันแย่งชิงบทบาทการเป็นผู้นำในภูมิภาค

โดยทั้งผู้นำจากทั้งสองฝั่ง ต่างแสดงเจตจำนงในการการรื้อฟื้นความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างประเทศทั้งสอง

‘นายกฯ คิชิดะ’ ถูกคนร้ายปาระเบิดควันใส่ ขณะปราศรัยที่วากายามะ เคราะห์ดี จนท.เข้ารวบตัวคนร้ายไว้ได้ทัน รีบนำตัวออกจากพื้นที่ทันที

(15 เม.ย. 66) ตำรวจญี่ปุ่นรวบตัวชายต้องสงสัยปาวัตถุคล้ายระเบิดควันเข้าใส่นายกรัฐมนตรี ฟูมิโอะ คิชิดะ ขณะกำลังกล่าวปราศรัยกลางแจ้งที่เมืองวากายามะ (Wakayama) เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา (15 เม.ย.) โดยผู้นำญี่ปุ่นถูกกันตัวออกจากพื้นที่ และไม่ได้รับอันตราย

สถานีโทรทัศน์ NHK รายงานว่า มีเสียงระเบิดดังขึ้น ก่อนที่ทีมอารักขาจะรีบกันตัวนายกฯ ออกจากพื้นที่ และตำรวจสามารถควบคุมตัวชายต้องสงสัยไว้ได้ในที่เกิดเหตุ

สื่อญี่ปุ่นยังเผยแพร่คลิปเหตุการณ์ที่ผู้คนต่างวิ่งหนีกระเจิดกระเจิง ขณะที่ตำรวจหลายนายรีบพุ่งเข้ากดตัวชายต้องสงสัยลงกับพื้นและนำตัวเขาออกไป

‘นายกฯ ญี่ปุ่น’ ถูกวิจารณ์ยับ หลังส่งเงินช่วยไฟป่าฮาวายอย่างไว แต่ภัยพิบัติประเทศตัวเองกลับเคลื่อนไหวล่าช้าเหลือเกิน

เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศว่าจะจัดส่งเงินช่วยเหลือ 2 ล้านดอลลาร์สำหรับภัยพิบัติไฟป่าในรัฐฮาวาย ในขณะที่เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในประเทศว่า ความเคลื่อนไหวนี้ช่างแตกต่างจากการตอบสนองต่อภัยพิบัติธรรมชาติในญี่ปุ่นเหลือเกิน

นับตั้งแต่เกิดไฟป่าในเกาะเมาอีของฮาวายเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม จนถึงตอนนี้มีผู้เสียชีวิตรวมแล้ว 100 ราย แต่เจ้าหน้าที่ดับเพลิงและกู้ภัยยังคงปฏิบัติงานค้นหาต่อไป หลังจากนั้นหนึ่งสัปดาห์ รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศว่า พวกเขาได้รับคำขอความช่วยเหลือจากทางสหรัฐฯ และพวกเขาจะส่งเงินช่วยเหลือประมาณ 290 ล้านเยน

ในวันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม มีรายงานข่าวว่า นายกรัฐมนตรี ฟูมิโอะ คิชิดะ จะแสดงความเสียใจในที่ประชุมซัมมิตญี่ปุ่น-สหรัฐฯ ด้วยตนเอง ถึงแม้จะมีเสียงชื่นชมถึงความรวดเร็วในการตอบสนอง แต่ก็มีเสียงวิจารณ์เกี่ยวกับเรื่องนี้ในญี่ปุ่นเช่นกัน

โดยในตอนนี้ ญี่ปุ่นเองมีรายงานความเสียหายและผลกระทบจากพายุไต้ฝุ่นหมายเลข 7 ออกมาอย่างต่อเนื่อง แต่มีรายงานเช่นกันว่า คิชิดะกำลังมีแผนไปตีกอล์ฟที่ฮาวาย ความกังวลนี้ถูกพูดถึงแม้กระทั่งภายในพรรคเสรีประชาธิปไตย หรือแอลดีพีเอง

เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม จังหวัดคิวชูรายงานฝนตกหนัก แต่นายกรัฐมนตรีคิชิดะใช้เวลากว่าสัปดาห์กว่าจะไปเยี่ยมพื้นที่ภัยพิบัติ โดยในตอนนั้นมีรายงานว่า เขาอยู่ระหว่างการเยือน 3 ประเทศในตะวันออกกลาง และใช้เวลาทั้งวันอยู่ในที่พักรับรอง

ถึงแม้ว่าจะถูกวิจารณ์ในเรื่องการเลือกปฏิบัติเช่นนี้ แต่จนถึงตอนนี้รัฐบาลคิชิดะยังคงไม่มีความแน่ชัดในเรื่องการช่วยเหลือพื้นที่ประสบภัย ยิ่งก่อให้เกิดความไม่พอใจในโซเชียลมากขึ้นไปอีก

โดยความคิดเห็นหนึ่งระบุว่า "ทำไมช่วยเหลือประเทศอื่นเร็วจัง แต่ประเทศตัวเองกลับช้าเป็นเต่าคลาน" และอีกความคิดเห็น ระบุว่า "ฉันรู้ว่าไฟป่าฮาวายมันรุนแรง แต่ 2 ล้านดอลลาร์เลยหรอ 

‘3 คนข่าวดัง’ ขอยก 3 ผู้นำ ‘อินเดีย-จีน-ญี่ปุ่น’ ต้องฉายานี้ ‘มาหาภารตะ - จิ๋นสีฮ่องเต้ - เห็นเงียบๆ แต่งานเพียบ’

(1 ก.พ. 67) วารินทร์ สัจเดว ผู้ประกาศข่าว TNN (อินเดีย), ครูพี่ป๊อป ณัฐพงศ์ นำศิริกุล ผู้ประกาศข่าว TNN (จีน) และดร.เจษฎา ศาลาทอง อาจารย์ประจำ ภาควิชาการสื่อสารมวลชน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ผู้ดำเนินรายการ Good Morning Asean ทาง MCOT (ญี่ปุ่น) ได้พูดถึงผลงานของผู้นำ 3 ประเทศ ได้แก่ อินเดีย จีน และญี่ปุ่นในปี 2023 ที่ผ่านมา รวมถึงผลงานที่จะเกิดขึ้นในปี 2024 พร้อมตั้งฉายาให้ผู้นำแต่ละประเทศ

ด้าน วารินทร์ สัจเดว ผู้ประกาศข่าว TNN (อินเดีย) ได้ให้ฉายา ‘นเรนทรา โมที’ ประธานาธิบดีอินเดียว่า ‘มาหาภารตะ’ โดยอธิบายว่า มหาภารตะคือคัมภีร์ที่ชาวอินเดียและชาวโลกรู้จักกันอยู่แล้ว สำหรับ ‘นเรนทรา โมที’ กับย่างก้าวของอินเดียในปีที่ผ่านมา ก็อยากเติมสระอาไว้ให้ กลายเป็น ‘มาหาภารตะ’

สำหรับอินเดีย เป็นประเทศที่คบค้าได้กับทุกชาติ แต่ ‘นเรนทรา โมที’ จะยึดผลประโยชน์ของอินเดียไว้เป็นอันดับแรกเสมอ และเขาใช้คำว่า ‘ภารตะ’ เป็นคำแทนประเทศอินเดียอยู่บ่อย ๆ ด้วย ส่วนการเลือกตั้งในปี 2024 นี้ เชื่อว่าไม่มีใครโค่นเขาลงได้แน่นอน

ทางด้าน ครูพี่ป๊อป ณัฐพงศ์ นำศิริกุล ผู้ประกาศข่าว TNN (จีน) ได้ให้ฉายา ‘สี จิ้นผิง’ ประธานาธิบดีจีนว่า ‘จิ๋นสีฮ่องเต้’ โดยอธิบายว่า ชื่อของสี จิ้นผิง ไปสอดคล้องพ้องเสียงกับจิ๋นซีฮ่องเต้ กษัตริย์จีนในอดีตผู้ที่เคยรวบรวมแผ่นดินจีนที่แตกแยกมาเป็นแผ่นดินใหญ่ได้ ซึ่งก็ตรงกับปณิธานของสี จิ้นผิง ที่ต้องการรวบรวมฮ่องกง ไต้หวัน และน่านน้ำต่างๆ มาให้ได้ภายในสมัยที่ตนดำรงตำแหน่งอยู่ จึงเป็นเหมือนการสถาปนาแผ่นดินใหญ่ แผ่นดินใหม่ขึ้นมา จึงให้ฉายาว่า ‘จิ๋นสีฮ่องเต้’

ปิดท้ายด้วย ดร.เจษฎา ศาลาทอง อาจารย์ประจำ ภาควิชาการสื่อสารมวลชน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ผู้ดำเนินรายการ Good Morning Asean ทาง MCOT (ญี่ปุ่น) ได้ให้ฉายา ‘ฟูมิโอะ คิชิดะ’ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ว่า ‘เห็นเงียบ ๆ แต่งานเพียบ’ โดยอธิบายว่า งานเพียบก็คือมีเหตุการณ์เกิดขึ้นมากมาย โดยเฉพาะเรื่องในมุ้งการเมือง ทั้งเรื่องการปรับ ครม. เรื่องการทุจริต คอร์รัปชัน แม้ในช่วงที่ผ่านมาญี่ปุ่นจะดูนิ่ง ๆ ไม่มีอะไรหวือหวา บวกกับบุคลิกของนายกรัฐมนตรีที่นิ่งเงียบด้วย แต่จริง ๆ แล้วมีปัญหาและงานให้ต้องแก้ไขเยอะมาก ก็ต้องมาตามดูกันว่าจะสามารถอยู่ต่อในสมัยที่ 2 ได้หรือไม่ เพราะตอนนี้ก็ต้องไล่แก้ปัญหามากมาย อาจจะต้องใช้ความนิ่งสงบสยบความวุ่นวายและปัญหา

‘น้องสาวคิมจองอึน’ เปรย!! หลัง ‘นายกฯ คิชิดะ’ อยากพบพี่ชาย ลั่น!! ไม่ง่าย เพราะขึ้นอยู่กับจุดยืนทางการเมืองของญี่ปุ่น

(25 มี.ค.67) สื่อรัฐบาล KCNA รายงานว่า ‘คิม โยจอง’ น้องสาวผู้ทรงอิทธิพลของ ‘คิม จองอึน’ ผู้นำเกาหลีเหนือ เผยว่า ฟูมิโอะ คิชิดะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ได้แสดงเจตนารมย์ว่าต้องการเข้าพบผู้นำเกาหลีเหนือเร็ว ๆ นี้ ผ่านช่องทางหนึ่ง

ซึ่ง คิม โยจอง บอกว่า การพัฒนาความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างสองประเทศขึ้นอยู่กับว่าญี่ปุ่นสามารถตัดสินใจทางการเมืองที่เป็นไปได้จริงหรือไม่

“นายกรัฐมนตรีควรรู้ว่า แค่เพียงเพราะเขาต้องการและได้ตัดสินใจไปแล้ว ไม่ได้หมายความว่าเขาจะสามารถพบผู้นำของเราได้” คิม โยจอง กล่าว และเสริมว่า

“สิ่งที่ชัดเจนคือ ญี่ปุ่นเป็นปฏิปักษ์กับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี และละเมิดสิทธิอธิปไตยของประเทศ ซึ่งถือว่าเป็นศัตรูของเรา และจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายเรา”

ทั้งนี้ คิชิดะ เคยกล่าวไว้ว่า เขาต้องการหารือกับ คิม จองอึน ผู้นำเกาหลีเหนือ โดยปราศจากเงื่อนไขเบื้องต้นใด ๆ และมีความพยายามส่วนตัวที่ต้องการบรรลุการประชุมสุดยอดผู้นำระหว่างสองประเทศเป็นครั้งแรกในรอบ 20 ปี

นอกจากนี้ น้องสาวคิม จองอึน ผู้นำพรรคแรงงาน เผยเมื่อเดือนก่อนว่า อาจมีวันหนึ่งที่คิชิดะได้เยือนเปียงยาง

“ในมุมมองของฉัน ถ้าญี่ปุ่นตัดสินใจทางการเมืองเพื่อเปิดทางเส้นทางใหม่สำหรับการพัฒนาความสัมพันธ์ บนพื้นฐานของการเคารพซึ่งกันและกัน สองประเทศอาจเปิดโอกาสสู่อนาคตใหม่ได้” คิม โยจอง กล่าว


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top