Monday, 6 May 2024
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

วันนี้ในอดีต 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2394 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตในวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2394 พระราชวงศ์และเสนาบดีมีมติเห็นชอบให้ถวายราชสมบัติแก่สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎ จึงได้ให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) ไปเฝ้าเจ้าฟ้ามงกุฎ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร แต่พระองค์ตรัสว่า ถ้าจะถวายพระราชสมบัติแก่พระองค์จะต้องอัญเชิญสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ขึ้นครองราชย์ด้วย เนื่องจากพระองค์ทรงเห็นว่าเป็นผู้ที่มีพระชะตาแรง ต้องได้เป็นพระมหากษัตริย์

ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกนั้น พระองค์ได้รับการเฉลิมพระปรมาภิไธยว่า พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และมีพระนามตามจารึกในพระสุบรรณบัฏว่า

"พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎสุทธิ สมมุติเทพยพงศวงศาดิศรกษัตริย์ วรขัตติยราชนิกโรดม จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ อุภโตสุชาติสังสุทธิเคราะหณี จักรีบรมนาถ อดิศวราชรามวรังกูร สุจริตมูลสุสาธิตอุกฤษฐวิบูลย บุรพาดูลยกฤษฎาภินิหารสุภาธิการรังสฤษดิ ธัญญลักษณ วิจิตรโสภาคสรรพางค์ มหาชโนตมางคประนตบาทบงกชยุคคล ประสิทธิสรรพสุภผลอุดม บรมสุขุมาลยมหาบุรุษยรัตน ศึกษาพิพัฒนสรรพโกศล สุวิสุทธิวิมลศุภศีลสมาจารย์ เพ็ชรญาณประภาไพโรจน์ อเนกโกฏิสาธุ คุณวิบุลยสันดาน ทิพยเทพวตาร ไพศาลเกียรติคุณอดุลยพิเศษ สรรพเทเวศรานุรักษ์เอกอัครมหาบุรุษ สุตพุทธมหากระวี ตรีปิฎกาทิโกศล วิมลปรีชามหาอุดมบัณฑิต สุนทรวิจิตรปฏิภาณ บริบูรณ์คุณสาร สัสยามาทิโลกยดิลก มหาปริวารนายกอนันต์ มหันตวรฤทธิเดช สรรพพิเศษ สิรินธรมหาชนนิกรสโมสรสมมติ ประสิทธิวรยศมโหดมบรมราชสมบัติ นพปดลเศวตฉัตราดิฉัตร สิริรัตโนปลักษณมหาบรมราชาภิเศกาภิษิต สรรพทศทิศวิชิตวิไชย สกลมไหศวรินมหาสยามินทร มเหศวรมหินทร มหาราชาวโรดม บรมนารถชาติอาชาวศรัย พุทธาทิไตรรัตนสรณารักษ์ อุกฤษฐศักดิอัครนเรศราธิบดี เมตตากรุณาสีตลหฤทัย อโนปมัยบุญการสกลไพศาลมหารัษฎาธิเบนทร ปรเมนทรธรรมมิกมหาราชาธิราช บรมนารถบรมบพิตร พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว "

1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 วันคล้ายวันเสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว... ทรงเป็นกษัตริย์รัชกาลที่ 4 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2394 และ เสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 สิริรวมพระชนมายุ 64 พรรษา 

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระสุขภาพพลานามัยดียิ่งตลอดรัชสมัยของพระองค์ พระอาการป่วยและเป็นผลให้เสด็จสวรรคตเกิดจากไข้ป่าที่ทรงไปติดเชื้อมา ในช่วงเดือนที่เสด็จไปทอดพระเนตร สุริยุปราคา ที่ หว้ากอ หลังจากเสด็จพระราชดำเนินกลับกรุงเทพฯได้ 5 วันทรงประชวรไข้จับ

ตลอดระยะเวลาที่ทรงดำรงสิริราชสมบัติเป็นเวลา 18 ปี พระองค์ทรงประกอบพระราชกรณียกิจอันใหญ่หลวง แก่อาณาประชาราษฎร์และประเทศชาติอย่างอเนกอนันต์โดยสังเขป ดังนี้

ด้านการทำนุบำรุงประเทศ ... ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างถนนขึ้นหลายสาย เช่น ถนนเจริญกรุง ถนนบำรุงเมือง เพื่อการคมนาคมภายในประเทศ โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างพระราชวังขึ้นที่เขามหาสมณะและพระราชทานพระนามว่า พระนครคีรี

ด้านการปกครอง ... โปรดเกล้าฯ ให้มีการจัดตั้งตำรวจนครบาลขึ้น เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง ... พร้อมกับทรงจัดตั้งศาลยุติธรรม และโปรดเกล้า ฯ ให้แก้ไขกฎหมายให้ทันสมัยและเป็นสากลมากขึ้น โดยได้ทรงประกาศพระราชบัญญัติและกฎหมายต่างๆ มากถึง 500 ฉบับ
 

18 ตุลาคม วันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

วันที่ 18 ตุลาคม ตรงกับวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพุทธเลิศหล้านภาลัย ประสูติแต่สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 ตรงกับวันขึ้น 14 ค่ำเดือน 11 ปีชวด

เมื่อพระชนมายุ 9 พรรษา สมเด็จพระบรมชนกนาถทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งพระราชพิธีลงสรง ได้เฉลิมพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า “สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎ สมมุติเทววงศ์ พงศ์อิศวรวรกกระษัตริย์ ขัตติยราชกุมาร”

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงผนวชอยู่ 27 พรรษา จึงทรงลาผนวชเสด็จขึ้นครองราชสมบัติสืบต่อสันตติวงศ์ เป็นรัชกาลที่ 4 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2394 ขณะพระชนมายุ 47 พรรษา

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รับการเฉลิมพระปรมาภิไธย ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกว่า “พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” และมีพระนามตามจารึกในพระสุบรรณบัฏว่า

“พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎสุทธิ สมมุติเทพยพงศวงศาดิศรกษัตริย์ วรขัตติยราชนิกโรดม จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ อุภโตสุชาติสังสุทธิเคราะหณี จักรีบรมนาถ อดิศวราชรามวรังกูร สุจริตมูลสุสาธิตอุกฤษฐวิบูลย บุรพาดูลยกฤษฎาภินิหารสุภาธิการรังสฤษดิ ธัญญลักษณ วิจิตรโสภาคสรรพางค์ มหาชโนตมางคประนตบาทบงกชยุคคล ประสิทธิสรรพสุภผลอุดม บรมสุขุมาลยมหาบุรุษยรัตน ศึกษาพิพัฒนสรรพโกศล สุวิสุทธิวิมลศุภศีลสมาจารย์ เพ็ชรญาณประภาไพโรจน์ อเนกโกฏิสาธุ คุณวิบุลยสันดาน ทิพยเทพวตาร ไพศาลเกียรติคุณอดุลยพิเศษ สรรพเทเวศรานุรักษ์เอกอัครมหาบุรุษ สุตพุทธมหากระวี ตรีปิฎกาทิโกศล วิมลปรีชามหาอุดมบัณฑิต สุนทรวิจิตรปฏิภาณ บริบูรณ์คุณสาร สัสยามาทิโลกยดิลก มหาปริวารนายกอนันต์ มหันตวรฤทธิเดช สรรพพิเศษ สิรินธรมหาชนนิกรสโมสรสมมติ ประสิทธิวรยศมโหดมบรมราชสมบัติ นพปดลเศวตฉัตราดิฉัตร สิริรัตโนปลักษณมหาบรมราชาภิเศกาภิษิต สรรพทศทิศวิชิตวิไชย สกลมไหศวรินมหาสยามินทร มเหศวรมหินทร มหาราชาวโรดม บรมนารถชาติอาชาวศรัย พุทธาทิไตรรัตนสรณารักษ์ อุกฤษฐศักดิอัครนเรศราธิบดี เมตตากรุณาสีตลหฤทัย อโนปมัยบุญการสกลไพศาลมหารัษฎาธิเบนทร ปรเมนทรธรรมมิกมหาราชาธิราช บรมนารถบรมบพิตร พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว”

5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2404 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้าง ‘ถนนเจริญกรุง’

วันนี้ เมื่อ 162 ปีก่อน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้าง ‘ถนนเจริญกรุง’ ถนนหลักสายแรกของประเทศไทย

ถนนเจริญกรุง ถูกดำริให้สร้างขึ้นเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2404 โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นด้วยเหตุที่มีชาวต่างชาติ ได้เข้ามาทำธุรกิจห้างร้าน รวมถึงที่ทำการกงสุลต่าง ๆ ก็ถูกก่อสร้างขึ้นในย่านนี้ ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้ได้ขอให้สร้างถนนสายสำหรับขี่ม้า หรือนั่งรถม้า พระองค์จึงทรงดำริให้มีการสร้างถนนที่มีมาตรฐานขึ้น แล้วเสร็จเมื่อราวปี พ.ศ. 2407

แรกเริ่มเดิมที ผู้คนเรียกถนนสายนี้ว่า ‘ถนนใหม่’ ส่วนฝรั่งเรียกว่า ‘นิวโรด’ (New Road) และชาวจีนเรียกว่า ซินพะโล้ว แปลว่า ถนนตัดใหม่ เช่นกัน ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามถนนว่า ‘ถนนเจริญกรุง’ ซึ่งมีความหมายถึง ความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมือง

15 พฤษภาคม พ.ศ. 2394 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

วันนี้ เมื่อ 172 ปีก่อน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตในวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2394 พระราชวงศ์และเสนาบดีมีมติเห็นชอบให้ถวายราชสมบัติแก่สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎ จึงได้ให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) ไปเฝ้าเจ้าฟ้ามงกุฎ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร แต่พระองค์ตรัสว่า ถ้าจะถวายพระราชสมบัติแก่พระองค์จะต้องอัญเชิญสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ขึ้นครองราชย์ด้วย เนื่องจากพระองค์ทรงเห็นว่าเป็นผู้ที่มีพระชะตาแรง ต้องได้เป็นพระมหากษัตริย์

ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกนั้น พระองค์ได้รับการเฉลิมพระปรมาภิไธยว่า พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และมีพระนามตามจารึกในพระสุบรรณบัฏว่า

"พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎสุทธิ สมมุติเทพยพงศวงศาดิศรกษัตริย์ วรขัตติยราชนิกโรดม จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ อุภโตสุชาติสังสุทธิเคราะหณี จักรีบรมนาถ อดิศวราชรามวรังกูร สุจริตมูลสุสาธิตอุกฤษฐวิบูลย บุรพาดูลยกฤษฎาภินิหารสุภาธิการรังสฤษดิ ธัญญลักษณ วิจิตรโสภาคสรรพางค์ มหาชโนตมางคประนตบาทบงกชยุคคล ประสิทธิสรรพสุภผลอุดม บรมสุขุมาลยมหาบุรุษยรัตน ศึกษาพิพัฒนสรรพโกศล สุวิสุทธิวิมลศุภศีลสมาจารย์ เพ็ชรญาณประภาไพโรจน์ อเนกโกฏิสาธุ คุณวิบุลยสันดาน ทิพยเทพวตาร ไพศาลเกียรติคุณอดุลยพิเศษ สรรพเทเวศรานุรักษ์เอกอัครมหาบุรุษ สุตพุทธมหากระวี ตรีปิฎกาทิโกศล วิมลปรีชามหาอุดมบัณฑิต สุนทรวิจิตรปฏิภาณ บริบูรณ์คุณสาร สัสยามาทิโลกยดิลก มหาปริวารนายกอนันต์ มหันตวรฤทธิเดช สรรพพิเศษ สิรินธรมหาชนนิกรสโมสรสมมติ ประสิทธิวรยศมโหดมบรมราชสมบัติ นพปดลเศวตฉัตราดิฉัตร สิริรัตโนปลักษณมหาบรมราชาภิเศกาภิษิต สรรพทศทิศวิชิตวิไชย สกลมไหศวรินมหาสยามินทร มเหศวรมหินทร มหาราชาวโรดม บรมนารถชาติอาชาวศรัย พุทธาทิไตรรัตนสรณารักษ์ อุกฤษฐศักดิอัครนเรศราธิบดี เมตตากรุณาสีตลหฤทัย อโนปมัยบุญการสกลไพศาลมหารัษฎาธิเบนทร ปรเมนทรธรรมมิกมหาราชาธิราช บรมนารถบรมบพิตร พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว "

พร้อมกันนี้ พระองค์ทรงสถาปนาสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ที่กรมพระราชวังบวรสถานมงคล มีพระราชพิธีบวรราชาภิเษกและทรงรับพระบวรราชโองการ ให้พระเกียรติยศเสมอด้วยพระเจ้าแผ่นดินองค์ที่ 2 โดยได้รับการเฉลิมพระปรมาภิไธยว่า พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ส่วนในฝ่ายสมณศักดิ์นั้น พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นนุชิตชิโนรส โดยมหาสมณุตมาอภิเษกขึ้นเป็น กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระสังฆราช เป็นต้น

รัชกาลที่ 4 ทรงมีพระราชกรณียกิจที่สำคัญ ได้แก่ ทรงแก้ไขธรรมเนียมข้าราชการเข้าเฝ้าให้สวมเสื้อเช่นประเทศตะวันตก ทรงทำสัญญาทางพระราชไมตรีและการต่างประเทศกับชาติตะวันตก (สนธิสัญญาเบาว์ริง) ทรงนำสยามรอดพ้นจากการตกเป็นอาณานิคมของตะวันตก ทรงสนพระทัยเรียนรู้ภาษาตะวันตกและวิชาการของตะวันตก เช่น วิทยาศาสตร์และดาราศาสตร์ จนทรงสามารถทำนายการเกิดสุริยุปราคาที่ ต.หว้ากอ จ. ประจวบคีรีขันธ์ ได้อย่างแม่นยำ จนได้รับการขนานพระนามว่า 'พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย' ทรงดำรงสิริราชสมบัติเป็นเวลา 18 ปี จึงเสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411

17 กันยายน พ.ศ. 2403 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ประกาศใช้เงินเหรียญบาทครั้งแรกในประเทศสยาม

วันนี้ เมื่อ 163 ปีก่อน สยาม ประกาศใช้เงินเหรียญบาทเป็นครั้งแรก โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โปรดฯให้ผลิตขึ้นโดยเครื่องจักรที่สั่งจากประเทศอังกฤษ เพื่อใช้แทนเงินพดด้วง เป็นตราพระมหามงกุฎ-ช้างในวงจักร

ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงกระสาปน์สิทธิการ โรงกษาปณ์แห่งแรกของไทย ภายในพระบรมมหาราชวังบริเวณที่เคยเป็นโรง ทำเงินพดด้วงเดิม ด้านหน้าพระคลังมหาสมบัติ บริเวณมุมถนนใกล้กับทางออกประตูสุวรรณบริบาลด้านทิศตะวันออก และติดตั้งเครื่องจักรผลิตเหรียญกษาปณ์ขับเคลื่อนด้วยแรงดันไอน้ำเป็นเครื่องแรก ซึ่งเป็นเครื่องจักรที่สั่งจากประเทศอังกฤษ

วันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2403 รัชกาลที่ 4 ได้ออกประกาศพิกัดราคาเงินเหรียญบาทและเงินแป โดยให้นำเงินเหรียญอย่างใหม่ซึ่งเป็นเงินแบนที่ผลิตได้จากโรงกระสาปน์สิทธิการ นำออกใช้แทน เงินพดด้วง เหรียญดังกล่าวนั้น ด้านหน้าเป็นรูปพระมหามงกุฎ มีฉัตรกระหนาบทั้ง 2 ข้าง ด้านหลังเป็นรูปช้าง อยู่กลางพระแสงจักร เหรียญเนื้อเงินแท้ ราคา ๑ บาท น้ำหนัก 15.33 กรัม เส้นผ่าศูนย์กลางเหรียญ 31 มิลลิเมตร

และเหรียญชนิดต่าง ๆ ประกอบด้วยเหรียญเงินราคา 1 บาท กึ่งบาท สลึง เฟื้อง กึ่งเฟื้อง และเหรียทองพัดดึงส์อีกจำนวนหนึ่ง นับเป็นการปฏิวัติระบบเงินตราครั้งสำคัญอีกครั้งหนึ่งของไทย

อนึ่ง โรงกษาปณ์แห่งนี้ ภายหลังจากการสร้างโรงกษาปณ์แห่งที่ 2 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้เป็นโรงหมอตอนหนึ่ง และเป็นคลังราชพัสดุอีกตอนหนึ่ง และต่อมาในปี พ.ศ. 2440 เกิดไฟไหม้หมดทั้งหลัง

‘ในหลวง ร.4’ โปรดเกล้าฯ ให้จัดพิมพ์ ‘ราชกิจจานุเบกษา’ เพื่อให้คนไทยได้รู้ข่าวราชการแผ่นดินทั้งใน-นอกประเทศ

‘ราชกิจจานุเบกษา’ ถือเป็นสิ่งพิมพ์ประเภทวารสารฉบับแรกของรัฐไทย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดพิมพ์ขึ้น เริ่มออกฉบับแรกเมื่อวันจันทร์ ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 5 ปีมะเมีย ตรงกับวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2401 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประกาศคำสั่งทางราชการ โดยเฉพาะในการประกาศกฎหมาย ซึ่งมีการรับรองในกฎหมายว่า กฎหมายทั้งหลายต้องลงเผยแพร่ในหนังสือนี้ก่อนจึงจะมีผลใช้บังคับได้ และเผยแพร่ให้ส่วนราชการและราษฎรได้ทราบทั่วกัน มีกำหนดออกทุก 15 วัน แต่การจัดพิมพ์ราชกิจจานุเบกษาในสมัยเริ่มแรกนี้ ตีพิมพ์เผยแพร่ได้เพียงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น ก็ต้องหยุดกิจการไป

ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงเล็งเห็นความสำคัญของหนังสือราชกิจจานุเบกษา และทรงหวังที่จะให้ราษฎรได้รับทราบข่าวคราวและราชการแผ่นดินทั้งในและนอกประเทศ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ออกหนังสือราชกิจจานุเบกษาอีกครั้งหนึ่งเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2417 ในการจัดพิมพ์ครั้งนี้พิมพ์ออกเผยแพร่ด้วยวิธีการจำหน่ายในอัตราปีละ 8 บาท โดยมีกำหนดออกในวันขึ้น 1 ค่ำ ขึ้น 9 ค่ำ แรม 1 ค่ำ และแรม 9 ค่ำ ของทุกเดือน แต่ราชกิจจานุเบกษาที่พิมพ์ออกในสมัยรัชกาลที่ 5 ตอนต้น ก็ออกไม่สม่ำเสมอนัก ต่อมาจึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมเปลี่ยนแปลงกำหนดออกราชกิจจานุเบกษาอีกครั้งหนึ่ง เมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2432 โดยมีกำหนดออกทุกวันอังคาร หลังจากนั้น การจัดทำราชกิจจานุเบกษาก็ได้ดำเนินสืบมาจนถึงปัจจุบัน

ทั้งนี้ ราชกิจจานุเบกษา ในสมัยแรกเริ่ม สมัยรัชกาลที่ 4 นั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เจ้าพนักงานพิมพ์ พิมพ์ขึ้นในปีมะเมีย สัมฤทธิศก 1220 และปีมะแม เอกศก 1221 ต่อกัน 2 ปี เป็นหนังสือหลายร้อยฉบับ สำหรับพระราชทานพระบรมวงศานุวงศ์ และข้าทูลละอองธุลีพระบาทได้ทราบข้อราชการต่าง ๆ  ครั้นมาถึงในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์ พระดำริว่า “หนังสือราชกิจจานุเบกษา ในรัชกาลที่ ๔ เป็นหนังสือที่มีประโยชน์ไม่ควรให้สูญหายไป” จึงได้ทรงรวบรวมต้นฉบับเท่าที่หาได้มาจัดพิมพ์ขึ้นใหม่เป็นจำนวน 500 เล่ม โดยอักขรวิธีที่พิมพ์ยังคงอยู่ตามเดิมมิได้มีการแก้ไขแต่ประการใด แต่การพิมพ์ราชกิจจานุเบกษาดังกล่าวยังไม่แล้วเสร็จ พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์ สิ้นพระชนม์เสียก่อน พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าไชยันตมงคล ได้ทรงรับธุระดำเนินงานจนแล้วเสร็จ และได้เย็บผูกเป็นเล่มนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สำหรับพระราชทานพระบรมวงศานุวงศ์และข้าทูลละอองธุลีพระบาทฝ่ายใน ที่เหลือได้จำหน่ายในราคาเล่มละ 5 บาท

ในตอนแรกเริ่มนั้น ราชกิจจานุเบกษา คือ หนังสือหมายประกาศการเล็กน้อยต่าง ๆ จากผู้เป็นพระมหากษัตริย์ มาในวันจันทร์ เดือนห้า ขึ้นหนึ่งค่ำ ปีมะเมีย ยังเป็นนพศก เป็นปีที่แปด ในรัชกาลปัจจุบัน ซึ่งในรัชกาลปัจจุบันนี้ ให้ข้าราชการทุกตำแหน่งทั้งในกรุงและนอกกรุงและราษฎรทั้งปวงทราบโดยทั่วกันและทำตาม ประพฤติตาม และรู้ความตามสมควร เพื่อไม่ทำให้ประกาศผิดพระราชดำริ พระราชประสงค์ และไปเล่าลือ เข้าใจความผิด ๆ ไป

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริตริตรองในการที่จะทำนุบำรุงแผ่นดินให้เรียบร้อยสำเร็จประโยชน์ทั่วถึงให้ดีขึ้นกว่าแต่ก่อน จึงทรงพระวิตกว่าราชการต่าง ๆ ซึ่งสั่งให้กรมวังให้สัสดีและทะลวงฟัน เดินบอกตามหมู่ตามกรมต่าง ๆ นั้นก็ดี การที่ยังบังคับให้นายอำเภอมีหมายป่าวประกาศแก่ราษฎรในแขวงนั้น ๆ ก็ดี พระราชบัญญัติใหม่ ๆ ตั้งขึ้นเพื่อที่จะห้ามสิ่งที่ไม่ควรทำ หรือบอกสิ่งที่ควรทำก็ดี การเตือนสติให้ระลึกและถือพระราชกำหนดกฎหมายเก่าก็ดี ตั้งขึ้นและเลิกอากรภาษีต่าง ๆ และพิกัดภาษีนั้น ๆ และลดหย่อนลงหรือขึ้นพิกัดของภาษีนั้น ๆ ก็ดี การเกณฑ์และขอแรงและบอกบุญก็ดี ว่าโดยสั้น ๆ คือเหตุใด ๆ การณ์ใด ๆ ที่ควร ช้าราชการทั้งปวงและราษฎรทั้งหลายพึงรู้โดยทั่วกันนั้น แต่ก่อนเป็นแต่ทำหมายหรือคำประกาศเขียนด้วยดินสอสีดำลงประกาศส่งกันไปส่งกันมา และให้ลอกต่อกันไปผิด ๆ ถูก ๆ ก็เพราะหนังสือ หรือคำประกาศนั้นมีน้อยฉบับ ผู้ที่ได้อ่านและเข้าถึงมีน้อยทำให้ไม่ทั่วถึง ว่าการพระราชประสงค์และประสงค์ของผู้ใหญ่ในแผ่นดิน จะบังคับมาและตกลงประการใด ข้าราชการทั้งปวงและราษฎรทั้งปวงก็ไม่ทราบทั่วกัน ได้ยินแต่ว่ามีหมายประกาศบังคับมา เมื่อการณ์นั้นเกี่ยวข้องกับตัวใครก็เป็นแต่ถามกันต่อไป ผู้ที่จะได้อ่านต้นฉบับน้อยคน บางคนถึงจะได้อ่านก็ไม่เข้าใจ

เพราะราษฎรที่รู้หนังสือในขณะนั้นมีน้อยกว่าผู้ที่ไม่รู้หนังสือ หนังสือก็อ่านไม่ออก ดวงตราของขุนนางในตำแหน่งก็ดูไม่เป็น ซึ่งจะบังคับใช้เรื่องอะไรก็ดูไม่เป็น เห็นตราแดง ๆ ก็พากันกลัว ผู้ที่ถือหนังสือว่าว่าอย่างไรก็เชื่อหมด เพราะฉะนั้นจึงมีคนคดโกง แต่งหนังสือเป็นท้องตราอ้างว่ารับสั่งจากวังหลวงและวังหน้า และเจ้านายเสนาบดีที่เป็นที่นับถือเคารพยำเกรงของราษฎร แล้วก็บังคับหลอกลวงไปต่าง ๆ นานา ด้วยการไม่เป็นธรรม ทำให้ราษฎรเดือดร้อน และเสียพระเกียรติยศของพระเจ้าแผ่นดิน และพระนามเจ้านาย และชื่อขุนนาง เพราะฉะนั้นพระราชดำริที่ให้มีการออกพระราชกิจจานุเบกษาก็เพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านั้น จึงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตั้งการตีพิมพ์หนังสืออย่างหนึ่ง มีชื่อภาษาสันสฤตว่า ‘ราชกิจจานุเบกษา’ แปลว่าหนังสือเป็นที่เพ่งดูราชกิจ มีตรารูปพระมหามงกุฎและฉัตรขนาบสองข้างดวงใหญ่ ตีในเส้นดำกับหนังสือนำหน้าเป็นอักษรตัวใหญ่ว่า ‘ราชกิจจานุเบกษา’ อยู่เบื้องบนบรรทัดทุกฉบับ เป็นสำคัญ แจกมาแก่คนต่าง ๆ ที่ควรรู้ทุกเดือน ทุกปักษ์


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top