Friday, 3 May 2024
ผู้ลี้ภัย

‘สภากาชาดไทย’ ลงพื้นที่เตรียมความพร้อม! จัดตั้งหน่วยบริการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 แก่ผู้ลี้ภัยและผู้อาศัยในศูนย์พักพิงชั่วคราว บ้านถ้ำหิน อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี

วันที่ 17 ตุลาคม 2564 นายบุญรักษ์ สรัคคานนท์ ผู้อำนวยการสำนักงานเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิตอล สภากาชาดไทย พร้อมด้วย Mr.Peter Simpson iResponse,ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(NECTEC), แพทย์หญิงกานดา ลิมิตเลาหพันธุ์ หัวหน้าฝ่ายบริการทางการแพทย์ และคณะ, นางกุลชลีย์ สุคันวรานิล ผู้ช่วยหัวหน้าพยาบาล (ฝ่ายบริหาร), นางอรวรรณ ขำเพชร หัวหน้าสถานีกาชาดที่ 8 จังหวัดเพชรบุรี, นางสาวสุดใจ เครือวณิชธรรม หัวหน้าสถานีกาชาดหัวหิน เฉลิมพระเกียรติ ร่วมประชุมหารือกับนายอดุลย์ ถาวรกุล นายอำเภอสวนผึ้ง, นายศุภสิทธิ์ ถีราวุฒิ ปลัดอำเภอสวนผึ้ง, นายแพทย์นภัส มณีศรีขำ นายแพทย์ชำนาญการ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลสวนผึ้ง, Dr.Myo Htet,Senior Clinical Manager, คุณธิดารัตน์ แดหวา Field Coordinator  IRC และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

 

มนุษยธรรมจอมปลอม ‘จุดด่างดำ’ ใต้กระโปรงเทพีเสรีภาพ ในวันที่ลุงแซมชอบอ้างภาพว่า ‘ตนเป็นผู้โอบอ้อมอารี’

อเมริกาชอบอ้างเรื่องสิทธิและเสรีภาพมาตลอด รวมถึงเรื่องสิทธิมนุษยชน แต่มักเอาวาทกรรมเหล่านี้มากล่าวหาชาติอื่นอยู่เสมอ จนชาวโลกเอือมระอา เพราะใครๆ ก็รู้ว่า ลุงแซมนี่แหละที่ชอบชี้นิ้วใส่หน้าคนนั้นคนนี้แล้วป่าวประกาศว่า “พวกแกช่างไร้มนุษยธรรมเสียจริง” 

ดูพระเอกอันดับหนึ่งอย่างไอสิ ทั้งหล่อทั้งโอบเอื้ออารี แถมมีเทพีเสรีภาพเป็นพยานหลักฐานว่าประเทศไอนั้นต้อนรับผู้คนทุกเชื้อชาติศาสนา ว่าแล้วยักคิ้วติดกันสองทีซ้อน ยิ้มฟันขาวกระจ่างไปทั้งปาก หลิ่วตานิดหนึ่งตามแบบพระเอกหนังฮอลลีวู้ด

ที่ฐานอนุสาวรีย์เทพีเสรีภาพในนิวยอร์ก มีบทกวี 14 บรรทัดที่เรียกว่า ‘ซอนเนต์’ ของเอมม่า ลาซารัส บทกวีนั้นชื่อ The New Colossus มีเนื้อความเชิงกล่าวต้อนรับผู้อพยพทุกคนในโลกนี้มาสู่อเมริกา ดิฉันแปลท่อนสุดท้ายอันมีใจความสำคัญว่า...

“ได้โปรดส่งผู้อ่อนล้าและทุกข์เข็ญ
ผองชนที่ใคร่ดอมดมกลิ่นอายแห่งเสรีภาพ
ผู้ถูกหยามว่าเป็นเพียงเดนมนุษย์จากดินแดนของท่าน
หรือภิกขาจารไร้เรือนพักอาศัย
โปรดนำผู้คนเหล่านี้มาสู่อ้อมอกข้าเถิด
ข้าชูคบเพลิงรอรับพวกท่าน ณ เบื้องสุวรรณบาลแห่งนี้”

ลุงแซมชอบด่าคนอื่นว่าไร้มนุษยธรรม ไม่เคยส่องกระจกดูตัวเองว่ากระทำต่อคนอื่นไร้มนุษยธรรมยิ่งกว่าชาติไหนๆ อย่างไทยเราแม้จะไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับโรฮิงญา แต่ก็อ้าแขนรับคนเหล่านี้ไว้เป็นจำนวนมาก ด้วยความเมตตาเยี่ยงชาวพุทธ แม้ว่าโรฮิงญาเหล่านี้จะเข้ามาสร้างความเดือดร้อนให้ภายหลังก็ตาม หรือแม้แต่คราวที่ประเทศเพื่อนบ้าน อย่าง ลาว, เขมร หรือพม่าเดือดร้อนเพราะสงครามภายใน เราโอบอุ้มไว้ด้วยความการุณมาทุกยุคสมัย ดูอย่างชาวมอญเถอะ เข้ามาพึ่งพระบรมธิสมภารพระเจ้าอยู่หัวจนกลายเป็นคนไทยอย่างเต็มตัว ไม่ว่าชาติใดภาษาไหน หากเดือดร้อนมา เราก็ยื่นขันน้ำให้ดื่มดับกระหายทั้งสิ้น

หันมาดูกรณีอเมริกา ยกตัวอย่างที่เห็นชัดเลยคือ คนแถบอเมริกากลางมักได้รับข้อมูลอย่างผิดๆ มาตลอดว่า เมื่อมาถึงอเมริกาแล้ว จะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย และสามารถอาศัยอยู่ในอเมริกาได้ในฐานะ 'ผู้ลี้ภัย' แต่ความจริงคือเมื่อกลุ่มผู้อพยพเดินทางมาถึงพรมแดนเม็กซิโก-อเมริกา จะถูกเจ้าหน้าที่อเมริกาผลักดันให้กลับประเทศ แถมยังมีฝูงไฮยีน่าหรือพวกเครือข่ายค้ามนุษย์หลอกเอาเงินทองหรือข่มขืนอีกด้วย

ยุคทรัมป์ ทรัมป์นั้นกีดกันผู้อพยพจากประเทศโลกที่สามชัดเจน ทรัมป์เคยหลุดปากเรียกผู้อพยพจากประเทศอเมริกากลางและแอฟริกาว่าเป็น 'ประเทศรูขี้' หรือประเทศโสโครกมาแล้ว อย่าว่าแต่ทรัมป์เลย จะว่าไปทุกรัฐบาลนั่นแหละที่ปากว่าตาขยิบอยู่ตลอด ปากยิ้มร่าแสดงว่าข้าคือพระเอกอันดับหนึ่งของโลก แต่กลับยกตีนเขี่ยพวกเม็กซิกันและอเมริกากลางที่ยากจนไปพ้นๆ บ้านตัวเอง  

นอกจากทรัมป์จะสั่งกองกำลังพิทักษ์มาตุภูมิตามแนวชายแดนสหรัฐฯ-เม็กซิโกแล้ว โอบาม่าก็ทำในสิ่งที่ไม่ต่างกันนัก นั่นคือสั่งประจำการกองกำลังพิทักษ์มาตุภูมิ 1,200 นาย เพื่อแก้ปัญหาการลักลอบขนยาเสพติดข้ามพรมแดนและการอพยพเข้าเมืองผิดกฎหมาย เช่นเดียวกับอดีตประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู. บุช

ความปากว่าตาหยิบนั้นเห็นได้มาตลอดในประวัติศาสตร์อเมริกา ย้อนหลังไปหลายสิบปี จะเห็นว่าลุงแซมกีดกันผู้อพยพและคนผิวสีในชาติตนเอง ไม่ให้ได้สิทธิที่เท่าเทียมกับคนผิวขาวอยู่ตลอดเวลา เช่น ค.ศ.1790 มีการออกกฎหมายให้สัญชาติ (Naturaliztion Act) มุ่งกีดกันไม่ให้คนผิวดำได้เป็นพลเมืองอเมริกัน 

ก่อนหน้าโดนัลด์ ทรัมป์ เคยมีประธานาธิบดีที่ชูนโยบาย 'อเมริกาต้องมาก่อน' มาแล้ว นั่นคือ วาร์เรนจี. ฮาร์ดิง ประธานาธิบดีคนที่ 29 (ค.ศ.1921-1923) ออกนโยบายกีดกันต่อต้านผู้อพยพอย่างชัดเจน เพราะก่อนหน้าที่วาร์เรน จี.ร์ดิง จะขึ้นเป็นประธานาธิบดี ชาวยิวและพวกยุโรปตะวันออกหลั่งไหลมาสู่อเมริกาถึง 22 ล้านคน ชาวยุโรปที่ลงเรือเดินทางมาอเมริกา จะเข้ามาทางนิวยอร์กในช่วงเวลานั้น สิ่งแรกที่มองเห็นและถือเป็นสัญลักษณ์ของอเมริกาคือ เทพีเสรีภาพ

‘นายกฯ เนเธอร์แลนด์’ ประกาศยุบสภาฯ-ลาออกสายฟ้าแลบ หลังปัญหา ‘ผู้ลี้ภัย’ ล้นทะลัก ทำระบบสวัสดิการประเทศพัง

(9 ก.ค. 66) ปัญหาผู้ลี้ภัยในยุโรปพ่นพิษ ทำนายกฯ เนเธอร์แลนด์ต้องยุบสภาฯ ลาออก

ปัญหาการหลั่งไหลของผู้ลี้ภัยในยุโรปกำลังกัดเซาะความแข็งแกร่งของรัฐบาล ในประชาคมยุโรปไปเรื่อยๆ เหมือนระเบิดเวลาที่รอวันปะทุ แต่ที่เนเธอร์แลนด์ ดูเหมือนจะปะทุก่อนใคร จนเป็นเหตุให้นายกรัฐมนตรี 3 สมัย อย่าง ‘มาร์ค รัทเทอ’ ต้องประกาศยุบสภาฯ และลาออกฟ้าผ่า

สาเหตุเกิดจากความแตกแยกระหว่างพรรคร่วมรัฐบาล ที่คัดค้านนโยบายจำกัดผู้อพยพต่อปี เพราะปัญหาผู้ลี้ภัยล้นทะลัก ที่รอเข้าประเทศหลายล้านคน ส่วนใหญ่ลี้ภัยจากแอฟริกาเหนือและชาวยูเครน

โดย มาร์ค รัทเทอ มองว่าถ้าไม่ตั้งโควตารับผู้อพยพต่อปี เนเธอร์แลนด์อาจต้องรับผู้ลี้ภัยถึงหลักสิบล้านคนในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ที่อาจส่งผลเสียต่อระบบสวัสดิการสังคมในประเทศ

แต่เมื่อ 2 ใน 4 ของพรรคร่วมรัฐบาลคัดค้านนโยบายนี้ มาร์ค รัทเทอ จึงต้องยุบสภาฯ ขอลาออก เพื่อเลือกตั้งใหม่

และความขัดแย้งในเรื่องนโยบายผู้อพยพ กำลังเป็นปัญหาในหลายประเทศในยุโรป ที่อาจส่งผลให้เกิดการพลิกขั้วของรัฐบาล อย่างเช่นในอิตาลีมาแล้ว

‘อังกฤษ’ เมินคำสั่งศาล เตรียมส่งตัวผู้ลี้ภัยไปอยู่ ‘รวันดา’ เชื่อ เป็นประเทศปลอดภัย-น่าอยู่ ยัน!! ไม่ส่งกลับบ้านเกิดแน่

‘อังกฤษ’ เป็นอีกหนึ่งประเทศในทวีปยุโรปที่มีปัญหาเรื่องการรับผู้ลี้ภัยต่างชาติมานาน จนกลายเป็นประเด็นความขัดแย้งในสังคมอย่างมาก ซึ่งชาวอังกฤษแท้ๆ จำนวนไม่น้อยต่างสุดจะทน ออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ปัญหาเรื่องผู้ลี้ภัย และผู้อพยพเข้าเมืองอย่างผิดกฏหมายล้นเมืองโดยด่วน

แต่วันนี้ รัฐบาลอังกฤษค้นพบวิธีแก้ปัญหาผู้ลี้ภัยได้แล้ว ด้วยการส่งผู้อพยพทั้งหมดไปอยู่ ‘ประเทศรวันดา’ ในทวีปแอฟริกาตะวันออกแทน

โดยล่าสุด เมื่อวันที่ 5 ธ.ค. 66 ‘เจมส์ เคลฟเวอร์ลี’ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยของอังกฤษ ได้เซ็นข้อตกลงร่วมฉบับใหม่กับรัฐบาลรวันดา ที่มีชื่อว่า ‘UK and Rwanda Migration and Economic Partnership’ หรือรู้จักกันทั่วไปว่า ‘แผนผู้ลี้ภัยรวันดา’ ณ กรุงคิกาลี ประเทศรวันดา เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เพื่อเลี่ยงข้อกฏหมายที่ศาลฎีกาอังกฤษได้เคยตัดสินว่า ‘การส่งตัวผู้ลี้ภัยมารวันดาเข้าข่ายผิดกฏหมายระหว่างประเทศ’

ซึ่งข้อตกลงฉบับนี้ระบุว่า รัฐบาลอังกฤษสามารถส่งตัวผู้อพยพ ที่อยู่ในผู้เข้าเมืองอย่างผิดกฎหมาย หรือ ‘กลุ่มผู้แสวงหาที่ลี้ภัย’ (Asylum Seeker) ทั้งหมดมาไว้ที่รวันดาก่อนได้ จนกว่าคำร้องขอลี้ภัยจะได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลอังกฤษ ถึงสามารถเดินทางจากรวันดา กลับมาอังกฤษได้

แต่ถ้าคำร้องถูกปฏิเสธ ผู้ลี้ภัยคนนั้นก็จะต้องอยู่ในรวันดาแทน โดยรัฐบาลอังกฤษยืนยันว่าจะไม่ผลักดันผู้ลี้ภัยเหล่านั้นไปยังประเทศที่ 3 หรือส่งตัวกลับประเทศต้นทาง

หลังจากที่บรรลุข้อตกลงเรื่องแผนการย้ายผู้ลี้ภัยแล้ว เจมส์ เคลฟเวอร์ลี กล่าวว่า รัฐบาลอังกฤษพร้อมเดินหน้าส่งตัวกลุ่มผู้เข้าเมืองผิดกฏหมาย หรือผู้แสวงหาที่ลี้ภัย บินข้ามมาที่รวันดาได้ทันที ตั้งแต่ปี 2567 เป็นต้นไป และเขาไม่เห็นว่าจะมีเหตุผลใดๆ ในการคัดค้านแผนการย้ายผู้ลี้ภัยของอังกฤษในครั้งนี้ อีกทั้งยังสอดคล้องกับนโยบายเร่งด่วนของ ‘นายกรัฐมนตรี ริชี ซูนัค’ ที่จะลดจำนวนผู้อพยพเข้าเมืองของอังกฤษอีกด้วย

แม้ว่าเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ศาลฎีกาของอังกฤษได้ตัดสินว่า นโยบายส่งตัวผู้ลี้ภัยไปยังรวันดาเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนของกฏหมายระหว่างประเทศ โดยชี้ประเด็นถึงความเสี่ยงที่ผู้ลี้ภัยเหล่านี้อาจถูกส่งตัวกลับไปยังประเทศบ้านเกิดที่พวกเขาหนีมาเพราะภัยสงคราม หรือสภาวะที่ทนทุกข์ทรมาน และตั้งคำถามถึงความปลอดภัยของประเทศรวันดา

ด้าน เจมส์ เคลฟเวอร์ลี ก็กล่าวหนักแน่นว่า “รัฐบาลรวันดามีความใส่ใจอย่างยิ่งต่อสิทธิผู้ลี้ภัย และยินดีที่จะทำงานร่วมกับรัฐบาลอังกฤษ ในการรับมือกับปัญหาผู้อพยพเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมายในระดับสากล”

ในขณะเดียวกัน ‘อเลน มุคุราลินดา’ รองโฆษกรัฐบาลรวันดา กล่าวว่า ทั้งสองประเทศจะจัดตั้งคณะทำงานร่วมกัน เพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่มีผู้ลี้ภัยคนใดถูกส่งตัวกลับประเทศของตนอย่างแน่นอน แต่ทั้งนี้คณะทำงานของทั้งสองประเทศต้องผ่านการพิจารณาในสภาอย่างโปร่งใส

และทันทีที่ผ่านกระบวนการทั้งหมดแล้ว รัฐบาลอังกฤษเตรียมที่จะส่งกลุ่มผู้แสวงหาที่ลี้ภัย ที่เข้าเมืองอย่างผิดกฏหมายชุดแรกหลายพันคนไปที่รวันดา โดยรัฐบาลอังกฤษจะสนับสนุนเงินให้แก่รัฐบาลรวันดาก้อนแรกเป็นเงิน 140 ล้านปอนด์ (ประมาณ 6140 ล้านบาท) ในการดูแลผู้ลี้ภัยของอังกฤษชุดนี้ จนกว่าผลวีซ่าจะออก

แผนผู้ลี้ภัยรวันดาครั้งนี้ เกิดจากแรงกดดันของชาวอังกฤษให้นายกรัฐมนตรี ริชี ซูนัค ผู้นำของอังกฤษ ลดจำนวนคนเข้าเมืองที่ทำสถิติสูงสุด 7.45 แสนคน เมื่อปี 2565 ที่ผ่านมา อีกทั้งปัญหาผู้ลี้ภัยที่ลักลอบเข้ามาผ่านทางช่องแคบอังกฤษด้วยเรือลำเล็ก จนเกิดเหตุโศกนาฏกรรมหลายครั้ง และเพื่อแผนการนี้ รัฐบาลอังกฤษก็ได้เตรียมพิจารณาร่างกฎหมายฉบับเร่งด่วนที่จะระบุให้รวันดาเป็น ‘ประเทศที่ปลอดภัย’ อีกด้วย

อันเนื่องจากประเทศรวันดา เคยเป็นที่รู้จักของชาวโลกจากเหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชนเผ่าทุตซี เมื่อช่วงปี 2537 จนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตมากถึง 8 แสนคนมาแล้ว แต่วันนี้ รัฐบาลอังกฤษออกมาการันตีว่า “รวันดาเป็นประเทศที่ปลอดภัยสำหรับเดินทางและเริ่มต้นชีวิตใหม่”

แต่สำหรับผู้ลี้ภัยที่ตั้งใจมาอยู่ที่อังกฤษอาจต้องคิดหนัก เพราะสุดท้ายต้องมาจบลงที่แอฟริกาแทน พร้อมตั๋วเครื่องบินเที่ยวเดียวจากรัฐบาลอังกฤษบินตรงจากลอนดอนถึงรวันดา และที่พักฟรีระหว่างรอฟังผลวีซ่า

และหากโครงการนี้ประสบความสำเร็จ ก็อาจจะกลายเป็นโมเดลนำร่องให้แก่ประเทศในยุโรปอีกหลายประเทศที่กำลังประสบปัญหาผู้ลี้ภัยล้นเมือง และต้องการลดปริมาณชาวโรบินฮู้ดที่ลักลอบเข้ามาอย่างผิดกฏหมายก็เป็นได้

‘ตั้ง อาชีวะ’ อัดคนไทยไปอยู่นอกแล้วโอดครวญ เป็นพวกใช้แรงงาน ภาษาไม่ได้ ไม่เห็นทางโต

(23 ม.ค.67) ‘ตั้ง อาชีวะ’ หรือนายเอกภพ เหลือรา ผู้ลี้ภัยคดี ม.112 ที่ประเทศนิวซีแลนด์ โพสต์เฟซบุ๊ก ‘Eakapop Luara’ ว่า…

เห็นหลายๆ โพสต์ในกลุ่มโยกย้ายส่ายสะโพก

เห็นไปอยู่เมืองนอกมีปัญหา Homesick อากาศหนาวบ้าง เหงา หากินลำบาก หกโมงร้านปิดหมดแล้ว ฯลฯ 

หลักๆ เลย ที่เห็น คนที่มีโอกาสได้ไปในกลุ่มนะ ก็เป็นคนมีฐานะพอสมควร พอได้ไปอยู่เมืองนอก ทักษะไม่ถึง ภาษายังไม่ได้ ก็ต้องใช้แรงงาน ท้อแท้ รู้สึกไม่โต ไม่มีพาวเวอร์ พอทำงานเลี่ยงภาษีได้น้อยก็บ่น (พวกร้านอาหารไทย) ทำงานโดนหักภาษีโหด ก็รับไม่ได้ บลา บลา บลา คราวนี้ก็อยากกลับมาไทย เพราะตอนอยู่ไทยมีหน้าที่การงานที่ดี มีเส้นสาย เป็นข้าราชการมีหัวโขนไม่ต้องลำบากมาทำงานใช้แรงงาน

คนที่อยู่รอดได้ในเมืองนอก ที่เห็นจริงๆ คือทักษะสูงมาก ได้ทำงานระดับเดียวกับพลเมืองของเขา กับ อดทนทำแรงงาน แล้วไปเปิดกิจการของตัวเอง ประมาณนี้ 

มาคิดๆ คือ ผมเห็นแต่คนร้องอยากย้ายประเทศ พอย้ายไปแล้วเป็นแบบนี้ ผมเสียดายแทนคนที่อยากไปจริงๆ แต่ไม่มีโอกาสได้ไป เพราะบางคนอยากไปเอาดาบหน้าสู้มันทุกทาง ทำวีซ่าเอง เดินเรื่องเอง เพื่อจะได้มีชีวิตที่ดีกว่าก็มี เพียงแต่เขาไม่มีโอกาส 

บางคนอยากลี้ภัยบ้าง ก็ฉวยโอกาสสร้างโปรไฟล์ เพื่อตั้งใจให้โดนคดีทางการเมือง (มันจะลำบากกับคนที่เขาสู้จริงๆ แล้วต้องลี้ภัย) เพื่อจะขอลี้ภัย 

แต่สำหรับคนที่ติดตามกลุ่มโยกย้ายแล้วประสบความสำเร็จและมีชีวิตที่ดีเริ่มต้นชีวิตใหม่ได้โดยไม่มีปัญหา อันนี้ผมขอชื่นชมพวกคุณมากๆ เลยนะครับ กลุ่มเป็นแค่จุดศูนย์รวม แต่หลักๆ เลยคือ ความสามารถของพวกคุณล้วนๆ รวมถึงแอดมินให้คำแนะนำได้ดีด้วย 

นี่ยังไม่รวมพวก Scam แฝงตัวในกลุ่มอีกนะครับ

ทั้งนี้ทั้งนั้นผมมองว่า ถ้าได้เดินออกจากไทยแล้วได้ไปอยู่ประเทศโลกที่ 1st  ยังไงคุณภาพชีวิตระบบรัฐสวัสดิการที่จะโอบอุ้มชีวิตของคุณมันดีกว่าแน่นอนครับ 

**ไม่มีที่ไหนสุขใจเท่าบ้านเรา นั่นบ้านมึงไม่ใช่บ้านกูไอ่สัd**

‘ผู้ลี้ภัยในฟินแลนด์’ ขอบคุณ ‘ธนาธร’ ซื้อบ้านปรีดีในฝรั่งเศส เสนอใช้บ้านหลังนี้ ‘ช่วยเหลือดูแลผู้ลี้ภัย’ ก็น่าจะดี

(4 เม.ย. 67) นางจรรยา ยิ้มประเสริฐ ผู้ลี้ภัยอยู่ในประเทศฟินแลนด์ โพสต์เฟซบุ๊กสั้น ๆ ระบุว่า…

“ได้รับทราบจากพี่จรัลตั้งแต่พบกันเมื่อต้นปีว่า เอก ธนาธร ได้เจรจาซื้อบ้านที่ปรีดี พนมยงค์และครอบครัวได้พักอาศัยที่ฝรั่งเศส สำเร็จแล้ว - ขอบคุณเอก ธนาธร

“ดีใจที่ทราบว่าจะทำให้บ้านนี้เป็นมิวเซียมและที่ทำงานของสมาคมนักเรียนไทยในยุโรป

“เราเสนอพี่จรัลไปว่า ให้บ้านนี้ดูแลโดยผู้ลี้ภัยการเมืองที่ฝรั้งเศส เพื่อได้ช่วยเหลือดูแลผู้ลี้ภัยด้วยก็น่าจะดี”


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top