Monday, 20 May 2024
ปัญหาฝุ่น

‘วราวุธ’ ไล่เด็กก้าวไกล ดูเนื้องานแก้ PM2.5 สอน!! ต้องคิดแก้ปัญหาระยะสั้น-ยาว อย่าสักแต่พูดลอยๆ

(7 มี.ค. 66) ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวราวุธ ศิลปอาชา รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กล่าวถึงการแก้ปัญหาไฟป่าว่า ทส. ได้ประกาศปิดอุทยานแห่งชาติในภาคเหนือไป 6-7 แห่ง และได้โยกสรรพกำลังเจ้าหน้าที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ระดมไปดูแลไฟป่าที่เกิดขึ้น ส่วนกรณีที่มีการวิพากษ์วิจารณ์เรื่องงบประมาณการดับไฟป่านั้น ขอทำความเข้าใจว่าเป็นงบของกรมอุทยานฯ ที่ใช้ในการดับไฟป่าในเขตพื้นที่อนุรักษ์ ระดมอุปกรณ์เฮลิคอปเตอร์เจ้าหน้าที่เพื่อควบคุมรักษาดับไฟป่าไม่ให้ลุกลาม พยายามไม่ให้เผาไหม้มากกว่าที่เป็นอยู่ ทส. ได้ขอความร่วมมือไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดและส่วนราชการต่าง ๆ ขอให้เข้มงวด เฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด เพื่อไม่ให้การเผาไหม้ขยายวงมากขึ้น 

นายวราวุธ กล่าวว่า ส่วนกรณีนายนิติพล ผิวเหมาะ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล วิพากษ์วิจารณ์ว่าไม่สามารถแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 ได้นั้น ต้องขอขอบคุณที่มีการตั้งข้อสังเกตมา แต่อยากให้เข้าไปดูเนื้องานด้วย ไม่ใช่เอาแต่พูดอย่างเดียวเพื่อให้ได้เนื้อข่าวในช่วงสถานการณ์เลือกตั้ง ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ทส.ได้ประสานงานกับทุกหน่วยงาน โดยเฉพาะกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และขอย้ำว่าเราไม่เคยโทษพี่น้องเกษตรกรหรือกลุ่มชาติพันธุ์ตามที่นายนิติพลเข้าใจผิด ขณะเดียวกัน ไม่เคยบอกว่าเป็นความผิดของบริษัทห้างร้านใหญ่ ๆ เพราะเวลาเกิดปัญหาขึ้น มันเป็นความผิดของทุกคน ไม่ใช่ของคนใดคนหนึ่ง ดังนั้น ต้องแก้ไขร่วมกัน เพราะเมื่อเกิดปัญหา PM2.5 มันไม่ได้เลือกว่าจะมาที่เกษตรกร ชาติพันธุ์ นายทุนใหญ่

‘ณัฐชา ก้าวไกล’ เสนอ 5 แนวทางแก้ปัญหา PM2.5 ลดผลกระทบต่อ ปชช. - เศรษฐกิจ - การท่องเที่ยว

(17 มี.ค.66) ณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ ส.ส.พรรคก้าวไกล กทม. เขตบางขุนเทียน กล่าวว่าปัญหาฝุ่น PM2.5 เป็นปัญหาที่ไม่มีการแก้ไขแม้ตนได้มีการส่งหนังสือร้องเรียนจากประชาชนในพื้นที่มาแล้วหลายครั้ง โดยมีข้อเรียกร้องในการแก้ปัญหา 5 ข้อ คือ

1. ให้มอบหมายหนวยงานที่ชัดเจน เพื่อการแก้ปัญหาฝุ่น P.M.2.5 ที่เกิดขึ้นแล้วในปัจจุบัน ทั้งนี้อาจจะเป็นการมอบหมายใหกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย ใหเป็นหนวยงานหลักที่จะดูแลและแก้ไขปญหาฝุน P.M.2.5 ที่มีอยูในปัจจุบัน

2. ให้กรมควบคุมมลพิษ สร้างระบบการแจ้งเตือน แอปพลิเคชัน หรือข้อความ SMS แจ้งเตือนเข้าโทรศัพท์มือถือของประชาชนในพื้นที่เสี่ยงรวมถึงมีการควบคุมแหลงกำเนิดฝุ่น P.M.2.5 ที่อาจจะเกิดขึ้นใหม่ เพื่อใหประชาชนรู้ล่วงหน้าและการวางแผนหลีกเลี่ยงพื้นที่เสี่ยงดังกล่าว

3. ให้ประกาศมาตรการของการเกิดฝุ่น P.M.2.5 ทั้งในระดับปกติระดับปานกลาง ระดับรุนแรง และระดับวิกฤตว่าในแต่ละระดับ ประชาชนควรมีมาตรการรับมือกับปญหาอยางไร และจะสามารถดำเนินชีวิตอย่างไร เช่น หากค่าฝุ่นอยูในระดับวิกฤต มีการแจงเตือนจากกรมควบคุมมลพิษชัดเจน ประชาชนสามารถใช้เปนเหตุผลในการกรอกใบลาไดโดยไมมีการหักค่าจ้าง

‘รองผู้ว่าฯ เชียงใหม่’ ย้ำชัด ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกัน หากต้องการพลิกฟื้น ‘เชียงใหม่’ ไร้ปัญหาไฟป่า - PM2.5

ฝุ่นพิษ PM2.5 จากเดิมที่เคยเป็นปัญหาใหญ่ของคนกรุง แต่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาได้คืบคลานเข้าปกคลุมพื้นที่ภาคเหนือและกำลังจะกลายเป็นต้นเหตุภัยสุขภาพของคนในพื้นที่ โดยเฉพาะจังหวัดเชียงใหม่ที่ดูเหมือนว่าจะได้รับผลกระทบหนักสุด เพราะเป็นจังหวัดที่มีคนอาศัยอยู่หนาแน่น และเศรษฐกิจที่พึ่งพาการท่องเที่ยวเป็นหลัก

ภาพความเลวร้ายของสถานการณ์ได้ปรากฏแก่สาธารณชนผ่านสื่อมวลชนและสังคมออนไลน์อย่างกว้างขวาง เกิดเป็นกระแสเรียกร้องให้ภาครัฐแก้ไขปัญหา

อย่างที่ทราบกันดีว่า นอกเหนือจากภาคขนส่ง-คมนาคมที่เป็นต้นกำเนิดของ PM2.5 แล้ว ปัญหา ‘การเผาป่า’ ก็เป็นอีกหนึ่งตัวการสำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาดังกล่าว ที่ผ่านมาจึงมีการเรียกร้องให้วางมาตรการเข้มข้นในการแก้ไขอย่างเร่งด่วนและยั่งยืน

นายชัชวาลย์ ปัญญา รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ยอมรับว่า ปัญหาไฟป่าและ PM2.5 เป็นปัญหาใหญ่ และทุกภาคส่วนได้พยายามถอดบทเรียนถึงปัญหาและอุปสรรคอะไรบ้างที่ไม่สามารถทำให้ปัญหาหมดไปได้อย่างยั่งยืน รวมถึงการเตรียมการรับมือทั้งการปลูกป่า การทำป่าเปียก และใช้เทคโนโลยี บริหารจัดการเชื้อเพลิงผ่านแอปพลิเคชันที่เรียกว่า ซึ่งเป็นแอประบบสนับสนุนการตัดสินใจในบริหารจัดการเชื้อเพลิงชีวมวลโดยการใช้ไฟหรือการเผาในที่โล่ง เป็นระบบที่บูรณาการ ทั้งข้อมูลตรวจวัด ข้อมูลดาวเทียม และข้อมูลพยากรณ์จากแบบจำลองคุณภาพอากาศ เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจในการบริหารจัดการเชื้อเพลิง

แต่ทว่า ด้วยสภาพพื้นที่ป่าของจังหวัดเชียงใหม่ ที่เป็นไม้เบญจพรรณผลัดไป เมื่อเวลาผ่านไป 2-3 ปี เมื่อใบไม้มีจำนวนมากขึ้น หากเกิดไฟป่าขึ้นมา ก็จะเกิดความลำบากในการควบคุม ดังนั้น จึงจะเห็นว่า ทางจังหวัดเชียงใหม่ ได้ดำเนินโครงการต่าง ๆ เพื่อรับมือกับไฟป่ามาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการปลูกป่าเพิ่มเติม การทำป่าชุมชน และการทำฝายชะลอน้ำ เป็นต้น

และอีกหนึ่งแนวทาง ที่ทางจังหวัดเชียงใหม่จะทํานั่นก็คือ การดึงเชื้อเพลิงออกมาจากป่า เพิ่มมูลค่าให้กับเศษวัชพืชใบไม้จากพื้นที่ป่า และตอซังข้าวโพด จากพื้นที่เกษตร เพื่อลดการเผา และนับว่าเป็นนิมิตหมายอันดีที่เห็นภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ได้เข้ามาร่วมแก้ไขปัญหา โดยเฉพาะการรับซื้อเศษวัชพืชต่าง ๆ เพื่อนำไปทำเป็นเชื้อเพลิงแบบชีวมวล 

“การนำเศษวัชพืชไปทำเป็นชีวมวล เป็นเรื่องที่ดีมาก ที่ผ่านมาทางหวัดได้พยายามที่จะศึกษา แต่ก็ยังไม่ค่อยประสบผลสําเร็จ เนื่องจากว่า มูลค่าของวัสดุพวกนี้ ไม่คุ้มกับที่ชาวบ้านจะขนไปขาย เพราะมีต้นทุนค่าขนส่ง แต่การที่ภาคเอกชนได้เข้ามาเพิ่มจุดรับซื้อ ที่ทำให้ชาวบ้านเข้าถึงง่ายขึ้น เชื่อว่าจะเพิ่มแรงจูงใจให้คนขนวัชพืชและตอซังมาขายเพิ่มมากขึ้น และสุดท้ายจะช่วยแก้ปัญหาการเผาป่าได้อย่างยั่งยืน แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่สุดคือทุกคนต้องตระหนักถึงปัญหาและร่วมมือร่วมใจแก้ไข เพราะไฟป่าหมอกควันที่จังหวัดเชียงใหม่นั้น ไม่ใช่เป็นปัญหาของใครคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นปัญหาของพี่น้องประชาชนทุกคนที่จะร่วมกันแก้ไข อย่าลืมว่าอากาศไม่มีพรมแดน ทุกคนหายใจด้วยอากาศเดียวกัน ถ้าเรานิ่งเฉยไม่แก้ไขปัญหาร่วมกัน คิดว่า เรื่องไฟป่า ก็จะอยู่คู่กับเชียงใหม่ไปอีกนาน”

'อ.พงษ์ภาณุ' ชี้!! สัญญาณดี แก้ฝุ่น PM 2.5 แบบยั่งยืน เมื่อรัฐบาลจัดมาตรการเชิงรุก และเอกชนช่วยผลักดันอีกแรง

ทีมข่าว THE STATES TIMES ได้พูดคุยกับ อ.พงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ อดีตปลัดกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา อดีตรองปลัดกระทรวงการคลัง และผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์ระดับประเทศ ที่พูดคุยในรายการ Easy Econ ซึ่งออกอากาศทางสถานีวิทยุ ส.ทร. FM93.0 MHz และสื่อออนไลน์ ในเครือ THE STATES TIMES ในประเด็น 'การกลับมาของฝุ่น PM 2.5 ภารกิจสำคัญที่รัฐบาลต้องยกให้เป็นวาระแห่งชาติ' เมื่อวันที่ 10 ธ.ค.66 โดย อ.พงษ์ภาณุ กล่าวว่า...

ฝุ่น PM 2.5 กำลังจะเป็นประเด็นขึ้นมาอีก รัฐบาลควรต้องเตรียมการป้องกันแก้ไขและยกเป็นวาระแห่งชาติ

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและปัญหาโลกร้อนมีหลายประเด็นที่น่าสนใจในสัปดาห์ที่ผ่านมา จากการประชุม COP 28 ที่เมืองดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) 

ความพยายามที่จะให้มีการยุติการใช้เชื้อเพลิง Fossil Fuels อย่างสิ้นเชิง แม้จะยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน แต่ก็ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี 

ส่วนผลสำเร็จที่เป็นรูปธรรมน่าจะเป็นการจัดตั้งกลไกการเงินที่เรียกว่า กองทุน Loss and Damage ที่จะทำหน้าที่เป็นแหล่งเงินทุนเยียวยาและสนับสนุนการปรับตัวของประเทศที่มีความเสี่ยงสูงและได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อน 

ประเทศไทยก็อยู่ในกลุ่มประเทศที่มีความเปราะบางและสามารถเข้าถึงแหล่งเงินใหม่นี้ด้วย กองทุนนี้น่าจะเริ่มดำเนินการได้ในปี 2567 โดยมีธนาคารโลกเป็นผู้จัดการกองทุน

ทั้งนี้ ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ในไทย ก็เป็นผลพวงหนึ่งจากภาวะโลกร้อน ความพยายามของรัฐบาลก่อนที่ใช้มาตรการภาคบังคับทางกฏหมายได้พิสูจน์แล้วว่าไม่บังเกิดผลและล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง จนภาคประชาชนที่จังหวัดเชียงใหม่ได้ยื่นฟ้องรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา และศาลปกครองจังหวัดเชียงใหม่ได้ตัดสินให้รัฐบาลเป็นฝ่ายแพ้และต้องเร่งแก้ไขสภาพอากาศให้กับคนเชียงใหม่ ซึ่งถือเป็นชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ของคนเชียงใหม่และเป็นการยืนยันว่ามาตรการของรัฐไม่สามารถดูแลความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนได้

ทางออกของเรื่องฝุ่น PM 2.5 นี้ จึงน่าจะอยู่ที่การใช้กลไกตลาดและกลไกทางธุรกิจของภาคเอกชน และก็เป็นที่น่ายินดี ที่ขณะนี้ธุรกิจเอกชนได้ริเริ่มโครงการหยุดเผาเรารับซื้อ โดยเข้ามารับซื้อเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรจากชาวไร่ชาวนา เพื่อนำไปแปรรูปเป็นแท่งเชื้อเพลิงชีวมวล (Biomass Pellets) และส่งขายให้กับธุรกิจขนาดใหญ่ทั้งในและต่างประเทศ นอกจากนี้ยังสามารถนำปริมาณคาร์บอนที่ลดได้จากการหยุดเผามาขายเป็นคาร์บอนเครดิต เพื่อส่งต่อเป็นรายได้เสริมให้กับเกษตรกรอีกด้วย

มาตรการริเริ่มของรัฐบาลที่น่าชมเชยคือ การจัดตั้งกองทุน ESG เพื่อระดมทุนจากประชาชนและนักลงทุนและจัดสรรเงินลงทุนไปสู่บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่ได้มาตรฐานด้านการรักษาสิ่งแวดล้อม ความรับผิดชอบต่อสังคม และธรรมาภิบาล จึงเป็นโอกาสอันดีที่คนไทยทุกคนจะได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมด้วย


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top