Sunday, 19 May 2024
ประมง

“รองโฆษกรัฐบาล" เผย ก.เกษตรฯเร่งจัดระเบียบประมงไทย รับข้อกำหนดคุ้มครองสัตว์ทะเลของสหรัฐฯ 

น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงความพร้อมของประเทศไทยในการปฏิบัติตามกฎหมายสหรัฐอเมริกา ว่าด้วยการนำเข้าสินค้าสัตว์น้ำเพื่อคุ้มครองสัตว์ทะเลที่เลี้ยงลูกด้วยนม ที่จะมีผลบังคับใช้ในปี 2566 ซึ่งทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีการดำเนินการให้สอดรับกับกฎหมายดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้มั่นใจได้ว่าไทยสามารถปฏิบัติตามได้อย่างครบถ้วน ทั้งนี้สหรัฐฯเป็นประเทศคู่ค้าสินค้าสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ อันดับ 1 ของประเทศไทย มีมูลค่าสูงถึง 3.99 หมื่นล้านบาท

นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.เกษตรและสหกรณ์ ดำเนินการตามข้อสั่งการพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ได้ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการจัดระเบียบการทำประมง และแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมายอย่างยั่งยืนและต่อเนื่อง รวมทั้งให้ความช่วยเหลือดูแลประมงพื้นบ้าน ให้มีความสอดคล้องกับมาตรฐานด้านการประมงขององค์กรระหว่างประเทศ โดยได้รายงานถึงการเตรียมความพร้อมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย MMPA ว่า ได้เร่งขับเคลื่อนการดำเนินการมาตลอด เชื่อมั่นว่า ในวันที่ 1 ม.ค.2566 ซึ่งจะเป็นวันครบกำหนดระยะเวลาผ่อนผัน 5 ปี ของข้อกำหนด MMPA ขององค์การบริหารสมุทรศาสตร์และบรรยากาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (National Oceanic and Atmospheric Administration : NOAA) สินค้าประมงไทยจะไม่ติดปัญหาในการส่งออกอย่างแน่นอน

ทั้งนี้ ระหว่างช่วงระยะของการผ่อนผัน กระทรวงเกษตรฯได้ติดตามการประเมินสถานภาพสัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนม วางระบบรวบรวมข้อมูลสัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนมจากการทำประมง พัฒนากฎระเบียบ ข้อบังคับ หรือมาตรการที่เกี่ยวข้องในการลดการตายและการบาดเจ็บของสัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนมจากการทำประมง เพื่อให้สอดรับกับกฎหมาย MMPA อีกทั้งมีการจัดตั้งคณะทำงานด้านต่างๆ และจัดทำรายงานข้อมูลต่อสหรัฐฯ อย่างต่อเนื่องทุกปี โดยเมื่อปี 2563 คณะกรรมการนโยบายประมงแห่งชาติ ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาผลกระทบของการทำประมงต่อสัตว์ทะเลหายากและสัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนม ซึ่งประกอบด้วย หน่วยงานภาครัฐ ภาคการศึกษา ภาคประชาชน และมีการรายงานข้อมูลเพื่อเสนอต่อสหรัฐฯด้วย

“บิ๊กป้อม”  สั่งกรมประมงเร่งเยียวยาเรือประมงออกนอกระบบ เข้มข้นมุ่งความยั่งยืนแก้ปัญหา IUU อย่างเป็นระบบมากกว่าที่เป็นอยู่

พล.อ.คงชีพ ตันตระวาณิชย์ เปิดเผยว่า พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รอง นรม. ได้เรียกประชุมคณะกรรมการนโยบายการประมงแห่งชาติครั้งที่ 4 ณ ห้องประชุม 301 ทำเนียบรัฐบาล เพื่อติดตามขับเคลื่อนแก้ปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ( IUU ) และผลกระทบสภาพแวดล้อมทางทะเล 

ที่ประชุมรับทราบและติดตามขับเคลื่อนการแก้ปัญหาผลกระทบของการทำประมงต่อสัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนม และการแก้ปัญหานำเรือประมงออกนอกระบบ โดยเฉพาะการเยียวยา กลุ่มเรือประมงสีขาว (ไม่เคยทำผิดกฎหมาย ) จำนวน 75 ลำ วงเงินช่วยเหลือ  490.8 ล้านบาท 

รวมทั้งการดำเนินงานบังคับใช้กฎหมาย เพื่อแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมายโดยเฉพาะ มาตรการเร่งรัดการดำเนินคดีตามกฏหมายว่าด้วยการประมง และการอุดหนุนประมง ( Fisheries subsidies ) ภายใต้องค์การการค้าโลก ( WTO ) ซึ่งเป็นการให้ความช่วยเหลือทางการเงินโดยรัฐ แก่ผู้ประกอบการ ธุรกิจ หรือ กลุ่มอุตสาหกรรม กับกลุ่มที่ทำประมงถูกกฎหมาย โดยร่วมกันกำหนดท่าทีการเจรจาของไทยที่เหมาะสมกับการอุดหนุนประมงดังกล่าว ต่อจากนั้นได้เห็นชอบ แต่งตั้งคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมายและคณะอนุกรรมการตรวจสอบและติดตามการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ในการแก้ไขปัญหาการทำประมงและแรงงานในภาคประมง เพื่อติดตามเร่งรัดแก้ปัญหาการทำประมงผิดกฎหมายรวมทั้งความเดือดร้อนของผู้ปกครองการประมงในทุกภาคส่วน

ทั้งนี้พล.อ.ประวิตร ได้ย้ำนโยบายด้านการประมงของไทย มุ่งเน้นการสร้างความยั่งยืนแก่ภาคการประมง ทั้งมิติด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ให้ความสำคัญกับการปฏิรูปภาคการประมงโดยมีกลไกที่มีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการประมงภายใต้แผนบริหารจัดการประมงทะเลไทย โดยไม่สนับสนุนและต่อต้านการทำประมงผิดกฎหมาย 

21 กันยายน ‘วันประมงแห่งชาติ’ ยกย่องสนับสนุนคนทำอาชีพประมง พร้อมสร้างขวัญกำลังใจให้กับชาวประมงไทย

วันประมงแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 21 กันยายนของทุกปี เพื่อเป็นการสนับสนุนในการทำอาชีพประมง และเป็นที่ระลึก สร้างขวัญกำลังใจในการประกอบอาชีพของชาวประมงไทย

'วันประมงแห่งชาติ' มีที่มาจากสหกรณ์ประมงจังหวัดสมุทรสาครทำหนังสือ ลงวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2525 ถึงนายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น ซึ่งคือ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เสนอให้รัฐบาลกำหนดวันประมงแห่งชาติขึ้น เพื่อให้เป็นกำลังใจในการประกอบอาชีพ และอาสาปกป้องประเทศทางด้านทะเล นายกรัฐมนตรีจึงได้คำสั่งให้สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีมอบให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นผู้พิจารณา ซึ่งได้มอบเรื่องต่อให้กับกรมประมงเนื่องจากมีความเกี่ยวข้องโดยตรง 

'อลงกรณ์' ดัน 5 มติ เตรียมเสนอ 'รมต.เฉลิมชัย' เร่งแก้ปัญหาความเดือดร้อนของชาวประมง

'อลงกรณ์' เร่งแก้ปัญหาความเดือดร้อนชาวประมง สรุปมติ 5 ข้อเตรียมเสนอ 'รัฐมนตรีเฉลิมชัย' ยกเลิกคำสั่งคสช.พร้อมชะลอประกาศกรมประมงเรื่องรางวัลนำจับเพื่อความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย

วานนี้ (8 ก.พ.66) นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้รับมอบหมายจาก ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุมหารือแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของชาวประมงโดยมีนายมงคล สุขเจริญคณา ประธานสมาคมการประมงแห่งประเทศไทยและกรรมการตลอดจนตัวแทนนายกสมาคมชาวประมง เจ้าของเรือประมงที่ได้รับผลกระทบจากพระราชกำหนดประมงปี 2558, นายณฐกร สุวรรณธาดา คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีเกษตรฯ, นายอภัย สุทธิสังข์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์, นายบัญชา สุขแก้ว รองอธิบดีกรมประมง, นายเดชา ปรัชญารัตน์ ผู้อำนวยการกองกฎหมาย กรมประมง และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วม ณ ห้องประชุม 123 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์  

นายอลงกรณ์ แถลงถึงผลการประชุมวันนี้ว่า ที่ประชุมมีข้อสรุปเป็นแนวทางแก้ไขปัญหาโดยจะเสนอ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดังนี้....

1.) เห็นควรเสนอให้มีการปรับปรุงประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง คณะกรรมการเปรียบเทียบ และหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาของคณะกรรมการเปรียบเทียบ พ.ศ. 2561 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 170 วรรคสองและวรรคสาม แห่ง พรก.การประมง พ.ศ.2558 

2.) เห็นควรยกเลิกคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ 22/2560 เรื่อง การแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม

3.) กรณีที่มีการออกกฎระเบียบใดๆ จะต้องกำหนดห้วงเวลาก่อนการบังคับใช้เพื่อสร้างความเข้าใจแก่ชาวประมง โดยกำหนดระยะเวลาที่เหมาะสมในการบังคับใช้ หลังวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา 

4.) มอบหมายกรมประมงหารือกับคณะกรรมการกฤษฎีกาประเด็นความคลุมเครือในมาตรา 38 และมาตราอื่น ๆ เช่น มาตรา 19 และมาตรา 20 และมาตรา 105 เป็นต้น เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการบังคับใช้และการตีความกฎหมายเพื่อความเป็นธรรม

‘บิ๊กตู่’ สั่งแก้ไข เรือประมงพื้นบ้านปิดอ่าวคลองปากบารา ชี้!! ต้องให้ความเป็นธรรมทุกฝ่าย-ไม่กระทบการท่องเที่ยว

(2 มี.ค. 66) นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม รับทราบถึงปัญหากลุ่มเรือประมงที่ใช้เครื่องมือพาณิชย์กว่าร้อยลำ ปิดอ่าวคลองปากบารา ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล ไม่ให้มีการเดินเรือเข้าออก เพื่อเรียกร้องให้ภาครัฐเร่งแก้ไขปัญหากรณีต้องหยุดเรือ เนื่องจากในทะเลมีกฎหมายทับซ้อนกัน 2 ฉบับ คือกฎหมายประมงและกฎหมายอุทยานแห่งชาติ ทำให้เรือประมงขนาดเล็กเครื่องพาณิชย์ ซึ่งส่วนใหญ่มีขนาดไม่เกิน 25 ตันกรอสไม่สามารถออกทำมาหากินได้กว่า 1 เดือน ซึ่งการปิดอ่าวเรือประมงดังกล่าวจนส่งผลกระทบต่อนักท่องเที่ยวนั้น 

รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ยืนยันไม่มีการดำเนินคดีกับเรือประมงพื้นบ้าน ที่ทำประมงในเขตพื้นที่ทับซ้อนอุทยานฯ

รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ยืนยันไม่มีการดำเนินคดีกับเรือประมงพื้นบ้าน ที่ทำประมงในเขตพื้นที่ทับซ้อนอุทยานฯ เพราะเป็นการทำประมงเพื่อการยังชีพ แต่ที่ต้องจับประมงพาณิชย์ 27 ลำ โดยไม่อาจผ่อนผันได้ เพราะเป็นการทำประมงรุกล้ำและใช้เครื่องมือ ที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมรอบพื้นที่ท่องเที่ยว

จากกรณีเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 ที่มีเรือประมงพื้นบ้านออกมาชุมนุมประท้วงปิดปากอ่าวจนส่งผลกระทบต่อการนำเรือเข้าออกของเรือท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดสตูล ทำให้มีนักท่องเที่ยวตกค้างจำนวนมาก 

โดยเรือเหล่านี้ อ้าง เหตุผลของการชุมนุมปิดปากอ่าวว่า กังวลจะถูกดำเนินคดี หลังจากที่ตำรวจได้ร่วมกับกรมอุทยานฯ แจ้งดำเนินคดีกับเรือประมง 27 ลำที่ทำประมงในพื้นที่เขตทับซ้อนก่อนหน้านี้ 

พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ เข้ม ผลักดันเรือประมง IUU ขนปลาทูน่ากว่า 250 ล้านบาท ออกนอกราชอาณาจักร หลังพบทำประมงผิดกฎหมาย

ตามนโยบายของรัฐบาล มีเป้าหมายที่จะให้ประเทศไทยสามารถคงสถานะธงเขียวจากสหภาพยุโรปไว้ให้ได้ จากการที่ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รอง นรม. ในฐานะ ประธานกรรมการนโยบายการประมงแห่งชาติ ได้มอบหมายให้ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รอง ผบ.ตร. ในฐานะ ประธานคณะทำงานวิเคราะห์สถานการณ์การตรวจ ติดตาม ควบคุม เฝ้าระวังการทำการประมง และแรงงานในภาคประมง ดำเนินการบังคับใช้กฎหมายในการดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดที่ลักลอบทำประมงผิดกฎหมาย (IUU Fishing) รวมทั้งแก้ไขปัญหาแรงงานในภาคประมงโดยการคัดกรองและร่วมบูรณาการในการดูแลสภาพการทำงานของแรงงานประมงให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล ได้รับการยอมรับจากนานาประเทศกรณีดังกล่าว 

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี/ประธานกรรมการนโยบายการประมงแห่งชาติ ได้สั่งการให้ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รอง ผบ.ตร. /กรรมการนโยบายประมงแห่งชาติ ให้มีการจัดการประชุมร่วมกับผู้แทนชาวประมงพื้นบ้าน เพื่อรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับการมีใบอนุญาตทำการประมงพื้นบ้าน เพื่อให้การดำเนินการดังกล่าวสามารถบังคับใช้ได้จริงอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สูงสุดทั้งกับประเทศชาติ และพี่น้องชาวประมงไทยให้มากที่สุด

เมื่อวันที่ 24 ม.ค.66 ที่ผ่านมา พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ ได้รับแจ้งข้อมูลว่า มีเรือประมงชื่อ Sun Flower 7 สัญชาติเกาหลีใต้ เข้าเทียบท่าเรือกรุงเทพ ถนนราษฎร์บูรณะ เพื่อนำเข้าปลาทูน่าน้ำหนักกว่า 4,000 ตัน รวมมูลค่ากว่า 250 ล้านบาท ที่ได้จากการทำประมงขึ้นที่ท่าดังกล่าว นำเข้าสู่อุตสาหกรรมแปรรูปปลากระป๋อง พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ จึงได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการตรวจสอบกลับไปยังต้นทางที่เรือประมงได้ไปทำการประมงมานั้น โดยตรวจสอบเอกสารที่เกี่ยวข้องทุกประเภท เส้นทางการเดินเรือ ตลอดจนร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญจาก มูลนิธิความยุติธรรมเชิงสิ่งแวดล้อม (Environmental Justice Foundation: EJF) องค์กรภาคประชาสังคมระดับนานาชาติ สืบสวนหาข้อมูลจากคนประจำเรือที่ท่าเทียบเรือ 

จึงได้ทราบว่า เรือประมงดังกล่าวได้ไปทำประมงในเขตพื้นที่น่านน้ำของคณะกรรมการการประมงแปซิฟิกตะวันตกและแปซิฟิกกลาง (WCPFC) และเขตน่านน้ำของสาธารณรัฐคิริบาสโดยไม่ได้รับอนุญาต และมีพฤติการณ์ต้องสงสัยในการทำประมงผิดกฎหมายด้วยวิธีการเก็บทุ่นลอยน้ำที่ใช้สำหรับแพล่อสัตว์น้ำ

‘ธนาธร’ ช่วยหาเสียงชลบุรี-ระยอง รับฟังปัญหาชาวประมง ย้ำหลักการกระจายอำนาจ เพิ่มเสียงชาวประมง-ท้องถิ่น

(19 เม.ย.66) ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า และผู้ช่วยหาเสียงพรรคก้าวไกล ออกเดินสายช่วยหาเสียงให้กับผู้สมัคร ส.ส.พรรคก้าวไกล อย่างต่อเนื่อง โดยวันนี้เดินทางไปที่ จ.ชลบุรี และ จ.ระยอง ช่วยหาเสียงให้กับผู้สมัครหลายคน ทั้ง ชวาล พลเมืองดี ผู้สมัคร ส.ส.ชลบุรี เขต 3 (เบอร์ 3), นภัสวรรณ มณีรัตน์โรจน์ ผู้สมัคร ส.ส.ชลบุรี เขต 4 (เบอร์ 8), กฤช ศิลปชัย ผู้สมัคร ส.ส.ระยอง เขต 2 (เบอร์ 5) และ ชุติพงศ์ พิภพภิญโญ ผู้สมัคร ส.ส.ระยอง เขต 4 (เบอร์ 2)

โดยช่วงบ่ายมีการเปิดวงพบปะพูดคุยกับประชาชน ที่ท่าเทียบเรือสหกรณ์กลุ่มประมงบ้านเพ ต.บ้านเพ อ.เมือง จ.ระยอง ร่วมกับ กฤช ศิลปชัย ผู้สมัคร ส.ส.ระยอง เขต 2 เพื่ออัปเดตความคืบหน้าร่างกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.ก.การประมง 2558 และสิ่งที่พรรคก้าวไกลจะเดินหน้าทำต่อในสภาฯ สมัยหน้า เพื่อแก้ปัญหาชาวประมงที่ได้รับผลกระทบจาก พ.ร.ก. ดังกล่าว

ในวงดังกล่าว ตัวแทนชาวประมงหลายคนได้สะท้อนปัญหาในทิศทางเดียวกัน ว่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจากปัญหา พ.ร.ก.การประมง ไม่ได้ดีขึ้นและยังย่ำแย่ลงในบางเรื่อง โดยเฉพาะยังคงมีการออกกฎระเบียบมาควบคุมชาวประมงเพิ่มเติมอีกหลายเรื่อง แม้ช่วงหลังชาวประมงจะออกไปเรียกร้องกันบ่อยขึ้น แต่ก็มีแต่การรับฟังโดยไม่มีการแก้ไขปัญหา

ในส่วนของธนาธร ได้สรุปความเป็นไปล่าสุดของการแก้ไข พ.ร.ก.ประมง โดยระบุว่าในรอบ 4 ปีที่ผ่านมาตั้งแต่ยังเป็นพรรคอนาคตใหม่มาจนเป็นพรรคก้าวไกล ตนและเพื่อนร่วมงานได้พูดคุยและรับฟังปัญหาจากชาวประมงทั่วประเทศอย่างต่อเนื่อง จนได้ประเด็นในการแก้ไข พ.ร.ก.การประมง และทำการยื่นร่างกฎหมายไปฉบับหนึ่งในเดือนตุลาคม 2564 และอีกฉบับในเดือนกันยายน 2565

แต่เสียดายที่อำนาจในการดึงร่างกฎหมายที่มีการยื่นเข้าสภาฯ ขึ้นมาพิจารณาก่อนหรือหลัง อยู่ที่ฝ่ายบริหาร ประธานสภาฯ และเสียงข้างมากในสภาฯ พรรคอนาคตใหม่และพรรคก้าวไกลมีเสียงไม่มากพอ ร่างกฎหมายประมงจึงไม่ได้รับการผลักดันเข้าสู่การพิจารณาเสียที จนใกล้เลือกตั้งทุกพรรคต่างยื่นร่างเข้ามาประกบรวมกันเป็น 7 ร่าง แต่ก็ยังต้องผ่านอุปสรรคปัญหาสภาล่มบ่อยครั้ง แม้จะผ่านวาระ 1 ไปได้พอดี แต่ก็ยังจบไม่ได้ในสภาฯ ชุด 2562 ต้องยกยอดไปสู่การพิจารณาต่อในสภาฯ ชุด 2566 ต่อไป

ธนาธรยังกล่าวต่อไป ว่าหลังจากการเลือกตั้ง 14 พฤษภาคมสิ้นสุดลง การเปิดสมัยประชุมสภาฯ ครั้งแรกน่าจะเริ่มต้นในราวต้นเดือนกรกฎาคม หากสภาฯ นำเรื่องนี้ขึ้นมาพิจารณาต่อเลย ร่างแก้ไขกฎหมายประมงก็น่าจะผ่านสภาฯ ได้ในช่วงปลายไตรมาส 3 หรือต้นไตรมาส 4 ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับประธานสภาฯ จะเป็นใคร ทิศทางของฝ่ายบริหาร และเสียงข้างมากของสภาฯ เป็นอย่างไร แต่จากที่ตนติดตามพรรคก้าวไกล ไม่ว่าพรรคก้าวไกลจะเป็นฝ่ายค้านหรือรัฐบาลหลังการเลือกตั้งครั้งหน้า เมื่อไรก็ตามที่ พ.ร.บ.ประมงเข้าสู่วาระ 2 และ 3 เชื่อว่าพรรคก้าวไกลจะเป็นหนึ่งในพรรคที่ผ่านให้แน่นอน

ทั้งนี้ ในรายละเอียดของร่างกฎหมาย ชาวประมงทุกคนที่เฝ้าติดตาม แสดงความเห็น และขับเคลื่อนเรียกร้องน่าจะเข้าใจดีอยู่แล้ว แต่สิ่งที่พรรคก้าวไกลมองว่ามีความสำคัญเป็นพิเศษ นอกจากเรื่องการปรับลดโทษให้เหมาะสมได้สัดส่วนแล้ว ก็คือการให้มีตัวแทนชาวประมง ทั้งพาณิชย์และพื้นบ้าน รวมทั้งตัวแทนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เข้าไปอยู่ในกรรมการประมงจังหวัดให้มากขึ้น

‘เวียดนาม’ โวย!! ‘จีน’ สั่งห้ามทำประมงฝ่ายเดียวในทะเลจีนใต้ ชี้ ละเมิดอธิปไตยประเทศ-ทวีความขัดแย้งในเขตน่านน้ำ

เมื่อวันที่ 20 เม.ย. 66 ทางเวียดนามได้ออกมาคัดค้านคำสั่งฝ่ายเดียวของจีน ที่ห้ามการทำประมงในทะเลจีนใต้ โดยยืนยันว่า ‘เป็นการละเมิดอธิปไตยของเวียดนาม’ พร้อมกับเรียกร้องไม่ให้จีนทำให้สถานการณ์ยุ่งยากซับซ้อนมากขึ้น

จีนออกคำสั่งห้ามทำประมงในทะเลจีนใต้มาตั้งแต่ปี 2542 โดยให้เหตุผลว่าคำสั่งห้ามดังกล่าวซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม ถึง 16 สิงหาคม มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการทำประมงอย่างยั่งยืนและปรับปรุงระบบนิเวศทางทะเล ซึ่งเวียดนามก็ออกมาคัดค้านคำสั่งของจีนตลอดเวลาเช่นเดียวกัน

คำสั่งห้ามดังกล่าวครอบคลุมน่านน้ำ 12 องศาเหนือของเส้นศูนย์สูตร รวมถึงกินเข้าไปยังพื้นที่บางส่วนของเขตเศรษฐกิจจำเพาะ (อีอีแซด) ในพื้นที่ 200 ไมล์ทะเลของเวียดนาม ทั้งยังรวมถึงหมู่เกาะพาราเซล ซึ่งเป็นดินแดนที่ทั้งจีนและเวียดนามต่างอ้างกรรมสิทธิ์เหนือพื้นที่ดังกล่าว

‘อลงกรณ์’ ชู 10 นโยบายพัฒนาอุตสาหกรรมประมงครบวงจร ภายใต้ยุทธศาสตร์เศรษฐกิจสีฟ้า หวังดันไทย สู่ ‘ผู้นำด้านประมง’

(5 พ.ค. 66) นายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเพชรบุรี เขต 1 ในฐานะทีมเศรษฐกิจกล่าวในเวทีดีเบต ‘อนาคตประมงไทยหลัง
การเลือกตั้ง’ เมื่อวันที่ 4 พ.ค. 66 ที่องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ThaiPBS) ว่า พรรคประชาธิปัตย์เชื่อมั่นในศักยภาพประมงไทยโดยยกระดับนโยบายประมงเป็นวาระเร่งด่วนแห่งชาติ บนแนวทางการพัฒนาประมงอย่างยั่งยืน สู่เป้าหมายประเทศผู้นำประมงโลกภายใต้ยุทธศาสตร์เศรษฐกิจสีฟ้า (Blue Economy) สร้างมูลค่า 6 แสนล้าน สร้างฐานเศรษฐกิจใหม่ 5 แนวทาง ได้แก่

1. เร่งรัดพัฒนาอุตสาหกรรมประมง กระจายการลงทุน 18 กลุ่มจังหวัด 
2. สร้างฐานใหม่ เขตเศรษฐกิจพิเศษประมง อ่าวตัว ก., อันดามัน, อ่าวไทย, 4 จังหวัดใต้สุด และทุกภาค 
3. ส่งเสริมการลงทุนประมงไทยในต่างประเทศ 
4. ฟื้นฟูพัฒนาประมงสู่ศักยภาพใหม่ ทั้งประมงนอกน่านน้ำ ประมงพาณิชย์ ประมงพื้นบ้าน อุตสาหกรรมกุ้งไทย และประมงเพาะเลี้ยงรวมถึงอุตสาหกรรมประมงแห่งอนาคต เช่น อุตสาหกรรมอาหารสัตว์เลี้ยง อาหารแห่งอนาคต (สาหร่าย โปรตีนทางเลือกใหม่) ประมงอินทรีย์ ประมงมูลค่าสูง (เวชสำอาง วิตามิน ยา อาหารเสริม) และประมงท่องเที่ยว
5. เดินหน้าการทูตเศรษฐกิจเชิงรุก


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top