Monday, 29 April 2024
บีโอไอ

‘บีโอไอ’ โชว์เทพ!! สร้างความสำเร็จจับคู่ธุรกิจผ่านออนไลน์ 248 คู่ เชื่อมโยงมูลค่าซื้อขายชิ้นส่วนกว่าพันล้านบาท

บีโอไอเผยตัวเลขการจัดงาน SUBCON Thailand 2021 Virtual Edition รูปแบบออนไลน์เต็มรูปแบบครั้งแรก จับคู่ธุรกิจได้มากถึง 248 คู่ คาดสร้างมูลค่าการซื้อขายชิ้นส่วนในอนาคต 952 ล้านบาท ตลอด 8 วันพบผู้เข้าชมงาน 2,833 ราย มีผู้สนใจเข้าร่วมฟังสัมมนา 29 หัวข้อผ่านแพลตฟอร์มมากถึง 2,695 คน 

นางสาวดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) กล่าวว่า ผลการจัดงาน SUBCON Thailand 2021 Virtual Edition งานแสดงชิ้นส่วนอุตสาหกรรม และการจับคู่ธุรกิจชั้นนำของภูมิภาคอาเซียน ระหว่างวันที่ 20 - 27 กันยายน 2564 ที่ผ่านมา ซึ่งปีนี้เป็นปีแรกที่จัดงานบนแพลตฟอร์มออนไลน์เต็มรูปแบบ และตลอดการจัดงาน 8 วัน มีผู้เข้าชมงานจำนวน 2,833 ราย จาก 16 ประเทศ โดย 5 อันดับแรกของผู้เข้าชมงาน คือ ไทย, อินเดีย, เวียดนาม, ญี่ปุ่น และสิงคโปร์ ตามลำดับ ในกิจกรรมเจรจาจับคู่ธุรกิจที่เป็นไฮไลต์ของงานทุกปี

สำหรับปีนี้มีข้อสังเกตที่น่าสนใจ คือ ผู้ซื้อในประเทศที่เป็นผู้ผลิตรายใหญ่ให้ความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมอย่างชัดเจน อาทิ เมอร์เซเดส-เบนซ์, อีซูซุมอเตอร์, ดูคาติ มอเตอร์, เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ และ อีเลคโทรลักซ์ เป็นต้น ซึ่งน่าจะเป็นปัจจัยสะท้อนการเปลี่ยนแปลงการจัดการซัพพลายเชนของบริษัทใหญ่ๆ เหล่านี้ โดยมีการปรับแผนการจัดซื้อจัดหาชิ้นส่วนในอนาคตจากแหล่งที่มีความเสี่ยงลดลง หรือกระจายความเสี่ยงในการจัดหาแหล่งผลิตวัตถุดิบและชิ้นส่วนเพิ่มขึ้น แทนการซื้อจากแหล่งเดียว ส่วนผู้ซื้อจากต่างประเทศก็จะมาจากแหล่งที่เป็นฐานการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมสำคัญๆ ของโลก เช่น ญี่ปุ่น, เกาหลี, ยุโรป, สหรัฐอเมริกา, อินเดีย และอาเซียน เกิดการจับคู่ธุรกิจได้มากถึง 248 คู่ สร้างมูลค่าการซื้อขายชิ้นส่วนประมาณ 952 ล้านบาท 

บีโอไอ ชี้เทรนด์ลงทุนอุตสาหกรรม BCG พุ่ง เผยสถิติ 6 ปี ขอรับส่งเสริมเกือบ 7 แสนล้าน

บีโอไอ ชี้ทิศทางการลงทุนตามนโยบายโมเดลเศรษฐกิจ BCG ทวีบทบาทสำคัญ สอดรับกับแนวทางพัฒนาที่ยั่งยืน SDGs ขององค์การสหประชาชาติ ระบุสถิติการขอรับการส่งเสริมการลงทุนในกิจการกลุ่ม BCG ตั้งแต่ปี 2558 ถึง กันยายน 2564 มีมูลค่ารวมเกือบ 7 แสนล้านบาท

นางสาวดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) กล่าวว่า ด้วยสภาพการณ์การแข่งขันที่ทวีความรุนแรงอันเนื่องมาจากเทคโนโลยีที่ปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว การปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำธุรกิจ และการที่ประเทศไทยต้องมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ รัฐบาลจึงได้กำหนดให้โมเดลเศรษฐกิจ BCG หรือการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio - Circular - Green Economy) เป็นวาระแห่งชาติ ซึ่งเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจที่ต้องการต่อยอดจุดแข็งของไทยที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ โดยแนวทางพัฒนานี้ยังถูกจัดอยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 ด้วยเช่นกัน 

ปัจจุบันมาตรการส่งเสริมการลงทุนครอบคลุมกิจการจำนวนมากตลอดห่วงโซ่อุปทานที่เกี่ยวข้อง และบีโอไอได้ปรับปรุงให้สอดคล้องกับบริบทของเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอตามแนวทาง BCG ในหลายด้าน เช่น 

• มาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพ ภายใต้มาตรการปรับเปลี่ยนเครื่องจักรเพื่อประหยัดพลังงาน ใช้พลังงานทดแทน หรือลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และมาตรการด้านการยกระดับไปสู่มาตรฐานเพื่อความยั่งยืนในระดับสากล เช่น มาตรฐานการรับรองป่าไม้ตามแนวทางขององค์การพิทักษ์ป่าไม้ (Forest Stewardship Council : FSC) เป็นต้น

• มาตรการส่งเสริมการลงทุนเศรษฐกิจฐานราก ซึ่งครอบคลุมถึงการสนับสนุนองค์กรท้องถิ่น
ในการพัฒนากิจการเกษตรที่ยั่งยืน เช่น การปลูกข้าวแบบปล่อยมีเทนต่ำ เป็นต้น

• ปรับปรุงประเภทกิจการและสิทธิประโยชน์ โดยให้ความสำคัญต่อเทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อม คือ กิจการผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีและโรงแยกก๊าซ ในกรณีใช้เทคโนโลยีการดักจับ การใช้ประโยชน์และการกักเก็บคาร์บอน โดยให้สิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 8 ปี และกิจการห้องเย็น หรือกิจการห้องเย็นและขนส่งห้องเย็น หากใช้สารทำความเย็นธรรมชาติ ให้สิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 3 ปี 

จากสถิติคำขอรับการส่งเสริมการลงทุนกิจการในกลุ่ม BCG ตั้งแต่ ปี 2558 - กันยายน 2564 มีจำนวน 2,829 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนรวม 677,157 ล้านบาท โดย 5 อันดับแรกกิจการ BCG ที่มีมูลค่าการลงทุนสูงสุด ได้แก่

1.) กิจการผลิตพลังงานไฟฟ้า ที่เป็นพลังงานหมุนเวียน (รวมถึงไฟฟ้าจากขยะ) 289,007 ล้านบาท 
2.) กิจการผลิตหรือถนอมอาหาร เครื่องดื่ม วัตถุเจือปนอาหาร (Food Additive) หรือสิ่งปรุงอาหาร (Food Ingredient) โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย 94,226 ล้านบาท 
3.) กิจการผลิตเคมีภัณฑ์หรือพอลิเมอร์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ขึ้นรูปต่อเนื่องจากการผลิตพอลิเมอร์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ในโครงการเดียวกัน 40,998 ล้านบาท 
4.) กิจการผลิตผลิตภัณฑ์จากผลพลอยได้หรือเศษวัสดุทางการเกษตร 25,838 ล้านบาท 
และ 5.) กิจการผลิตผลิตภัณฑ์จากยางธรรมชาติ 22,250 ล้านบาท

โดยเฉพาะในช่วง 9 เดือนแรก ปี 2564 (ม.ค. - ก.ย.) มีสัญญาณบ่งชี้อัตราเติบโตที่ดี โดยมีกิจการขอรับการส่งเสริมการลงทุน 564 โครงการ จำนวนโครงการเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 74 และมีมูลค่าลงทุน 128,370 ล้านบาท เพิ่มขึ้นสูงกว่าช่วงเดียวกันกับปีก่อนร้อยละ 160 และสูงกว่ามูลค่าการลงทุนในปี 2563 ทั้งปี (93,883 ล้านบาท) โดยมีตัวอย่างบริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนภายใต้กิจการ BCG อาทิ

o กลุ่มโปรตีนทางเลือก (Alternative Protein)
- บริษัท โกลบอล บั๊กส์ เอเชีย โครงการผลิตโปรตีนจากจิ้งหรีด 
- บริษัท ฟลายอิ้ง สปาร์ค (ประเทศไทย) จำกัด โครงการผลิตโปรตีนผงจากหนอนแมลงวันผลไม้

o กลุ่มเทคโนโลยีชีวภาพ Biotechnology
- บริษัท เจเนพูติก ไบโอ จำกัด โครงการผลิตผลิตภัณฑ์เซลล์และยีนบำบัด เพื่อรักษาโรคสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาหลัก 
- บริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด โครงการผลิตยาจากเทคโนโลยีชีวภาพหรือชีวเภสัชภัณฑ์ที่ได้จากการใช้
ต้นยาสูบเป็นเจ้าบ้าน (HOST)

o กลุ่มพลาสติกชีวภาพ Bioplastic
- บริษัท โททาล คอร์เบียน พีแอลเอ (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท เนเชอร์เวิร์คส์ เอเชีย แปซิฟิก จำกัด โครงการผลิตโพลีแลคติค แอซิด (Polylactic Acid : PLA) ซึ่งเป็นพอลิเมอร์ชีวภาพที่สามารถย่อยสลายได้ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สามารถนำไปใช้งานได้หลากหลายประเภท
- บริษัท พีทีที เอ็มซีซี ไบโอเคม จำกัด โครงการผลิตเม็ดพลาสติกชีวภาพชนิด PBS (Polybutylene Succinate)          
- บริษัท ไทยวา จำกัด โครงการผลิตพลาสติกชีวภาพชนิด TPS (THERMOPLASTIC STARCH) ซึ่งเป็นบริษัทผลิตและส่งออกผลิตภัณฑ์จากมันสำปะหลังของไทย
- บริษัท ฟรุตต้า ไบโอเมด จำกัด โครงการผลิตพลาสติกชีวภาพชนิด PHA (POLYHYDROXYALKANOATE) และ PHA BIOPLASTIC COMPOUND และผลิตภัณฑ์ขึ้นรูปจากพลาสติก PHA ซึ่งเป็นกิจการที่นำของเหลือทางการเกษตร 

'บีโอไอ' เคาะมาตรการกระตุ้นการลงทุนปี 65 เน้นดึงลงทุนขนาดใหญ่

น.ส.ดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ บีโอไอ ที่มีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เห็นชอบมาตรการกระตุ้นการลงทุนปี 65 เน้นส่งเสริมการลงทุนของภาคเอกชนในโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่จะมีผลในวงกว้างต่อการสร้างกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศ ครอบคลุมกิจการที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ซึ่งต้องเป็นโครงการที่มีการลงทุนจริงไม่น้อยกว่า 1,000 ล้านบาท ภายใน 12 เดือนหลังออกบัตรส่งเสริม โดยจะได้รับสิทธิประโยชน์ด้วยการลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล 50% รวม 5 ปี แต่ต้องยื่นขอรับการส่งเสริมได้ถึงสิ้นปี 65

ขณะเดียวกันที่ประชุมยังเห็นชอบให้ขยายเวลามาตรการส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ออกอีก 1 ปีถึงสิ้นปี 65 ยกเว้นโครงการที่ตั้งในเขตส่งเสริมเพื่อกิจการพิเศษ 5 แห่ง ได้แก่ เมืองการบินภาคตะวันออก หรืออีอีซีเอ เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซีไอ เขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล หรืออีอีซีดี ศูนย์นวัตกรรมการแพทย์ครบวงจร ธรรมศาสตร์ (พัทยา) หรืออีอีซีเอ็มดี และการแพทย์จีโนมิกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา (บางแสน) หรืออีอีซีจี สามารถยื่นคำขอตามมาตรการนี้ได้โดยไม่กำหนดระยะเวลาสิ้นสุดในการยื่นคำขอ ส่วนในปี 66 จะมีการปรับปรุงมาตรการของอีอีซีใหม่ทั้งหมดอีกครั้งให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์การลงทุนฉบับใหม่

'บีโอไอ' ไฟเขียว เปิดประเภทกิจการใหม่หนุนภาคเกษตร

น.ส.ดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ บอร์ดบีโอไอ ที่มี นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เห็นชอบให้เปิดประเภทกิจการใหม่ โดยจะได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 5 ปี เพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยก้าวสู่ Bio Hub ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน รองรับการขยายตัวในอุตสาหกรรมเกษตร โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่มีการแข่งขันสูงมากในตลาดโลก ประกอบด้วย

1.กิจการศูนย์การค้าผลิตผลทางการเกษตรระบบดิจิทัล เพื่อเป็นการยกระดับภาคเกษตรให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น โดยเน้นการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ตอบสนองความต้องการของภาคอุตสาหกรรม ทั้งนี้ ต้องมีแพลตฟอร์มสำหรับให้บริการเกษตรกรและผู้ประกอบการ และสนับสนุนให้เกิดระบบการติดตามและปรับปรุงควบคุมคุณภาพผลผลิต โดยจะต้องจำหน่ายผลิตผลทางการเกษตรในรูปแบบ B2B (Business-to-Business) เท่านั้น

บีโอไอ ฟุ้งต่างชาติลงทุนในไทยพุ่ง โชว์ยอดขอส่งเสริมทะลุ 6.4 แสนล้านบาท โต 59%

บีโอไอโชว์ปี 64 ยอดขอส่งเสริมทะลุ 6.4 แสนล้านบาท โต 59% ชี้ FDI หนุนเพิ่มขึ้นกว่า 163% ด้านบอร์ดไฟเขียวมาตรการส่งเสริมภาคเกษตร หนุนไทยสู่ ไบโอ ฮับภูมิภาคอาเซียน ส่งเสริมศูนย์การค้าผลผลิตทางการเกษตรระบบดิจิทัล

4 ก.พ. 65 นางสาวดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า สถิติการขอรับการส่งเสริมการลงทุนในปี 2564 ที่ผ่านมา มีมูลค่ารวม 642,680 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 59% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จำนวนโครงการรวม 1,674 โครงการ เพิ่มขึ้น 5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมการแพทย์ มีอัตราการขยายตัวสูง จากนโยบายส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายที่เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในอนาคต

ขณะที่การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) มีโครงการยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนรวม 783 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนรวม 455,331 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 163% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยประเทศที่ยื่นขอรับการส่งเสริมที่มีมูลค่าเงินลงทุนมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ญี่ปุ่น มีมูลค่าเงินลงทุน 80,733 ล้านบาท รองลงมา คือ จีน มีมูลค่าเงินลงทุน 38,567 ล้านบาท และสิงคโปร์ มีมูลค่าเงินลงทุน 29,669 ล้านบาท ตามลำดับ

สำหรับคำขอรับการส่งเสริมการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย มีมูลค่าลงทุนรวมทั้งสิ้น 340,490 ล้านบาท คิดเป็น 53% ของมูลค่าคำขอรับการส่งเสริมการลงทุนรวม ขณะที่สำหรับพื้นที่เป้าหมายอีอีซี มีการขอรับการส่งเสริมจำนวน 453 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนรวม 220,500 ล้านบาท โดยจังหวัดระยองมีมูลค่าเงินลงทุนสูงสุด 112,740 ล้านบาท รองลงมาเป็นจังหวัดชลบุรี มูลค่าเงินลงทุน 74,550 ล้านบาท และจังหวัดฉะเชิงเทรา มูลค่าเงินลงทุนรวม 33,210 ล้านบาท

นอกจากนี้กิจการในกลุ่ม BCG ซึ่งครอบคลุมในหลากหลายกลุ่มอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมเกษตรและแปรรูปอาหาร เทคโนโลยีชีวภาพ มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยคำขอรับการส่งเสริมการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรม BCG ในปี 2564 มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 152,434 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 123% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากจำนวนโครงการ 746 โครงการ เพิ่มขึ้น 63% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และตั้งแต่ปี 2558 - 2564 คำขอรับการส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรม BCG มีมูลค่ารวม 675,781 ล้านบาท รวม 2,996 โครงการ

นางสาวดวงใจ กล่าวถึงผลการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บอร์ดบีโอไอ) โดยมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ว่า ที่ประชุมได้เห็นชอบการปรับปรุงมาตรการส่งเสริมการลงทุนภาคเกษตร และเปิดประเภทกิจการใหม่ ได้แก่ กิจการศูนย์การค้าผลิตผลทางการเกษตรระบบดิจิทัล และกิจการนิคมหรือเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร และทบทวนสิทธิประโยชน์และเงื่อนไขสำหรับผลิตภัณฑ์สมุนไพร เพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยก้าวสู่ไบโอ ฮับตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี

BOI เผยยอดขอส่งเสริมการลงทุน 6 ด.กว่า 2 แสนลบ. พร้อมเคาะ 4 โครงการใหญ่มูลค่าหลายหมื่นล้าน

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บอร์ดบีโอไอ) โดยที่ประชุมมีมติอนุมัติโครงการส่งเสริมการลงทุนขนาดใหญ่ รวม 4 โครงการ ได้แก่ กิจการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ และรถยนต์ไฟฟ้าแบบผสมเสียบปลั๊ก มูลค่า 17,891 ล้านบาท จากประเทศจีน กิจการผลิตก๊าซธรรมชาติ ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) มูลค่า 18,000 ล้านบาท กิจการขนส่งทางเรือของบริษัท ฐิตติ ภูมิ จำกัด มูลค่า 4,310 ล้านบาท และบริษัท ศานติ ภูมิ จำกัด มูลค่า 4,310 ล้านบาท  

รวมทั้งได้เห็นชอบให้เพิ่มประเภทกิจการผลิตภัณฑ์ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง 4 ประเภท ได้แก่ 1.กิจการผลิตเครื่องจักรที่มีความแม่นยำสูง รวมถึงการผลิตอุปกรณ์และชิ้นส่วน และการซ่อมแซมเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่ผลิตเอง ได้สิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี และ 2. กิจการซ่อมแซมเครื่องจักรที่มีความแม่นยำสูง ได้สิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 5 ปี (ไม่จำกัดวงเงิน) 3.กิจการผลิตชิ้นส่วนโลหะด้วยเครื่องพิมพ์ 3 มิติ (Additive Manufacturing) ได้สิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 5 ปี และ 4.กิจการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ใช้ไมโครเทคโนโลยีในการผลิต ได้สิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี 

ทั้งนี้การเพิ่มประเภทกิจการใหม่ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจูงใจให้เกิดการลงทุนที่รองรับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีการผลิตที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การผลิตและการซ่อมแซมเครื่องจักรที่มีความแม่นยำสูงเป็นอุตสาหกรรมที่เป็นพื้นฐานสำคัญของการสร้างความเข้มแข็งให้แก่อุตสาหกรรมในภาพรวม นอกจากนี้ การผลิตแบบ Additive Manufacturing ได้กลายเป็นแนวโน้มใหม่ในการผลิต จึงจำเป็นต้องสร้างนโยบายสิทธิประโยชน์ที่ปรับเปลี่ยนให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง

บีโอไอ เผย ไทยขยับใกล้ขึ้นเป็นฮับ EV คาดต้นปี 66 ยอดผลิตแตะ 1 ล้านคัน

เผยยอดขอบีโอไอรถ EV ทะลุเป้า 830,000 คัน คาดต้นปี 2566 ผลิตได้แตะ 1 ล้านคัน ล่าสุด BYD จากจีนได้บีโอไอ ทุ่ม 17,891 ล้านบาท เริ่มผลิตปี 2567 จับตาค่ายจีน ยุโรป เตรียมยื่นขอส่งเสริมอีกเพียบ

นางสาวดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า นโยบายสนับสนุนให้เกิดยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ขึ้นในประเทศไทย โดยอาศัยมาตรการต่าง ๆ เข้ามาช่วยเป็นเครื่องมือผลักดันให้เกิดการลงทุน ซึ่งจากสถิติยอดขอรับส่งเสริมการลงทุนทั้งหมดที่ผ่านมาของ XEV หรือรถยนต์ไฟฟ้าทั้งแบบปลั๊กอิน (HEV) แบบปลั๊กอินไฮบริด (PHEV) และแบบแบตเตอรี่ (BEV) ได้รับการอนุมัติไปแล้วถึง 26 โครงการ จาก 17 บริษัท มีกำลังการผลิตแบบเต็ม (capacity) 830,000 คัน ซึ่งหากเป็นเฉพาะ BEV เพียว มีจำนวน 256,000 คัน นับว่าเป็นจำนวนที่สูง

ล่าสุดคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บอร์ดบีโอไอ) ที่มี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธานบอร์ด ยังได้อนุมัติการลงทุนให้กับบริษัท BYD จากประเทศจีน ซึ่งจะเป็นการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ BEV และรถยนต์ไฟฟ้าแบบผสมเสียบปลั๊ก PHEV มูลค่าการลงทุน 17,891 ล้านบาท ที่จะต้องลงทุนในกรอบเวลา 3 ปี นับจากได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุน ดังนั้น คาดว่า BYD จะเริ่มผลิตในปี 2567

ซึ่งตามเงื่อนไขการลงทุนนั้น จะต้องใช้แบตเตอรี่ในประเทศ จะเป็นการลงทุนเอง ดึงพาร์ตเนอร์ให้เข้ามาลงทุนเพื่อผลิตให้กับโครงการที่ได้รับอนุมัติก็ได้ หรือจะใช้แบตเตอรี่ที่มีผู้ผลิตอยู่แล้วในประเทศก็ได้ เพื่อประเทศไทยจะได้อานิสงส์จากการลงทุนครบทุกด้าน

บีโอไอ ฟุ้งยอดส่งเสริมอุตสาหกรรม EV สุดปัง ไฟเขียวลงทุนกว่า 1 แสนล้าน ผลิตแบต-ชิ้นส่วน

บีโอไอ เผยยอดส่งเสริม EV กว่า 1 แสนล้านเร่งกระตุ้นลงทุน ทั้งการผลิตรถยนต์ แบตเตอรี่ ชิ้นส่วน และสถานีชาร์จ เร่งผลักดันนโยบายส่งเสริมลงทุน รองรับทิศทางอุตสาหกรรมและดีมานด์ในประเทศขยายต่อเนื่อง

(6 เม.ย. 66) นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนที่สำคัญของโลก ในส่วนของบีโอไอ ได้ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมกิจการยานยนต์ไฟฟ้าทั้งระบบ ซึ่งถือเป็นอุตสาหกรรมมุ่งเป้าตามยุทธศาสตร์การส่งเสริมการลงทุนเพื่อสร้างเศรษฐกิจใหม่ของไทย โดยได้มีมาตรการให้สิทธิประโยชน์กับผู้ผลิตยานยนต์ไฟฟ้าทุกประเภท ทั้งรถยนต์ไฟฟ้า รถจักรยานยนต์ไฟฟ้า รถสามล้อไฟฟ้า รถโดยสารไฟฟ้า รถบรรทุกไฟฟ้า รถจักรยานไฟฟ้า และเรือที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า รวมถึงชิ้นส่วนและอุปกรณ์ สถานีอัดประจุไฟฟ้าและสถานีสับเปลี่ยนแบตเตอรี่ ซึ่งจากข้อมูลล่าสุด บีโอไอได้ให้การส่งเสริมการลงทุนกิจการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า แบตเตอรี่ ชิ้นส่วนสำคัญ และสถานีชาร์จ คิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 114,000 ล้านบาท

‘บีโอไอ’ เดินสายชวนนักลงทุน ‘เยอรมัน-ฝรั่งเศส’ ให้เข้ามาตั้งฐาน ผลิตรถอีวี

นายวิรัตน์ ธัชศฤงคารสกุล รองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยถึงความสำเร็จจากการเดินสายเพื่อชักจูงการลงทุน ณ ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และสาธารณรัฐฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ 18 – 23 มิถุนายน 2566 

ว่าได้รับการตอบรับที่ดีจากนักลงทุนต่างชาติในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า และชิ้นส่วนยานยนต์ (อีวี) อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ รวมไปถึงอุตสาหกรรมการแพทย์และบริการด้านสุขภาพ โดยผู้ประกอบการขนาดใหญ่ และ SMEs แสดงความสนใจเลือกบริษัทผู้ผลิต (Sourcing) ในไทยผลิตสินค้าป้อนลูกค้าเอเชีย 

“การเดินสายชักจูงการลงทุนในครั้งนี้ถือว่าได้รับการตอบรับที่ดีจากนักลงทุนจากเยอรมันและฝรั่งเศส ที่สนใจในการขยายฐานการผลิต รวมไปถึงการหาบริษัทผู้รับจ้างผลิตเพื่อป้อนตลาดลูกค้าที่อยู่ในภูมิภาคเอเชีย นอกจากนี้ประเทศไทยเป็นเสมือนเซฟโซนของนักลงทุนต่างชาติ มีโครงสร้างพื้นฐาน บุคลากร รวมถึงมีอุตสาหกรรมสนับสนุนที่แข็งแกร่ง” นายวิรัตน์ กล่าวย้ำ 

สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และสาธารณรัฐฝรั่งเศส ถือเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ที่สำคัญ ที่ได้พัฒนาความสัมพันธ์และความร่วมมือมายาวนาน โดยเกือบครึ่งปีแรกปี 2566 (3 มกราคม – 21 มิถุนายน) พบว่ามีการขอรับการส่งเสริมการลงทุนจากเยอรมนี 12 โครงการ มูลค่ากว่า 5,900 ล้านบาท ส่วนใหญ่อยู่ในอุตสาหกรรมเครื่องจักรและยานยนต์ สำหรับฝรั่งเศส มีการขอรับการส่งเสริมการลงทุน 6 โครงการ มูลค่ากว่า 2,900 ล้านบาท
 

บีโอไอ เผย รถยนต์อีวีจีน ปักหมุดฐานผลิตในไทย ดันมูลค่าลงทุนจากแดนมังกรปีนี้ทะลุ 7.7 หมื่นลบ.

บีโอไอนำธุรกิจไทยโรดโชว์จีน ร่วมมหกรรมแสดงสินค้าที่สำคัญที่สุดของภูมิภาคตะวันตก เปิดเวทีจับคู่ธุรกิจ ดึงดูดการลงทุนอุตสาหกรรมอีวี - พลังงานสะอาด

นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยผลการจัดกิจกรรมชักจูงการลงทุน ณ มหานครฉงชิ่ง และนครเฉิงตู มณฑลเสฉวน สาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างวันที่ 28 - 30 มิ.ย. 2566 โดยคณะได้พบกับผู้บริหารของบริษัทรถยนต์ EV รายใหญ่ของจีน ได้แก่ บริษัท ฉงชิ่ง ฉางอัน ออโตโมบิล จำกัด และบริษัท เฌอรี่ ออโตโมบิล จำกัด ผู้ผลิตรถยนต์ EV อันดับที่ 5 - 6 ของจีน โดยได้หารือกันถึงความคืบหน้าของแผนการลงทุนในประเทศไทย นโยบายส่งเสริมการลงทุนและมาตรการสนับสนุนอุตสาหกรรมรถยนต์ EV ของไทย

นอกจากนี้ บีโอไอได้นำคณะผู้ประกอบการจากสมาคมส่งเสริมการรับช่วงการผลิตไทย เข้าร่วมงานมหกรรมแสดงสินค้าที่สำคัญที่สุดของภูมิภาคตะวันตกของจีน (WCIF) ซึ่งถือเป็น 1 ใน 10 งานระดับชาติของจีน และประเทศไทยได้รับเกียรติเป็นประเทศเกียรติยศ เพียงประเทศเดียวในการจัดงานครั้งนี้ โดยภายในงาน บีโอไอได้ร่วมกับมณฑลเสฉวนและสถานกงสุลใหญ่ ณ นครเฉิงตู จัดสัมมนาในหัวข้อ China (Sichuan) - Thailand Investment Cooperation Conference โดยบีโอไอ ได้นำเสนอโอกาสการลงทุนใหม่ ๆ ในอุตสาหกรรมเป้าหมาย โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่จีนมีความเชี่ยวชาญ เช่น EV, อิเล็กทรอนิกส์, ดิจิทัล และ BCG รวมทั้งมาตรการสนับสนุนจากภาครัฐในด้านต่าง ๆ

นอกจากนี้ ยังได้ร่วมกับสำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งนครเฉิงตู และศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีแห่งเมืองเทียนฟู จัดกิจกรรมสัมมนาและเชื่อมโยงธุรกิจระหว่างผู้ประกอบการไทยและผู้ประกอบการจีนในอุตสาหกรรมพลังงานสะอาด เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม รวมทั้งระบบชาร์จไฟฟ้าและอุปกรณ์กักเก็บพลังงาน เป็นต้น โดยบีโอไอได้นำผู้ประกอบการไทยเข้าร่วมงานจับคู่ธุรกิจหลายราย เช่น สมาคมส่งเสริมการรับช่วงการผลิตไทย และบริษัทในกลุ่ม ปตท., ทีซีซี และสหยูเนี่ยน เป็นต้น

นายนฤตม์ กล่าวว่า จากการเข้าพบบริษัท ฉางอัน ออโตโมบิล จำกัด บริษัทได้ให้ความสำคัญกับประเทศไทย และยืนยันแผนการลงทุนจัดตั้งโรงงานผลิตรถยนต์ EV ในประเทศไทย ด้วยเงินลงทุนในเฟสแรกประมาณ 9,000 ล้านบาท เพราะเล็งเห็นถึงโอกาสของตลาดไทยและภูมิภาคอาเซียน และความพร้อมของไทยในการเป็นแหล่งผลิตรถยนต์ที่โดดเด่นของภูมิภาค โดยบริษัทมีแผนเปิดตัวรถยนต์ EV ในไทยช่วงปลายปีนี้ สำหรับการลงทุนจัดตั้งโรงงานผลิตรถยนต์ EV ขณะนี้มีความคืบหน้าไปมาก โดยได้เตรียมการฝั่งประเทศไทยพร้อมหมดแล้ว รอเพียงการอนุมัติในขั้นตอนสุดท้ายจากรัฐบาลจีนเท่านั้น

สำหรับบริษัท เฌอรี่ ออโตโมบิล จำกัด บีโอไอได้หารือกับผู้บริหารที่รับผิดชอบด้านการลงทุนต่างประเทศของบริษัท ซึ่งมองว่าไทยเป็นประเทศยุทธศาสตร์ที่เหมาะสำหรับการเป็นฐานการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าขับพวงมาลัยขวา เพื่อส่งออกไปยังประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก โดยบริษัทให้ความสนใจประเทศไทยอย่างมาก ขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจากับพันธมิตรและพิจารณารูปแบบการลงทุนที่เหมาะสมในไทย ในส่วนของการเข้าสู่ตลาดไทย บริษัทมีแผนนำรถยนต์ไฟฟ้าแบบ SUV รุ่น OMODA 5 เข้ามาเปิดตลาดในไทยเป็นรุ่นแรกในช่วงต้นปี 2567 เพื่อรองรับการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของตลาดรถยนต์ไฟฟ้าไทย

“จากการหารือกับผู้ผลิตรถยนต์ EV รายใหญ่ของจีนทั้งสองราย มองว่าประเทศไทยมีศักยภาพในการเป็นฐานการผลิตและส่งออกรถยนต์ EV พวงมาลัยขวา เพราะมีความพร้อมด้านระบบนิเวศของอุตสาหกรรมยานยนต์ และมีตลาด EV ที่เติบโตสูงที่สุดในภูมิภาค ซึ่งบีโอไอได้ตอกย้ำมาตรการสนับสนุน EV แบบครบวงจรของภาครัฐ รวมทั้งความต่อเนื่องของนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรม EV เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนในช่วงเปลี่ยนผ่านรัฐบาล” นายนฤตม์ กล่าว

สำหรับประเทศไทย ได้ชื่อว่า เป็นฐานการผลิตรถยนต์อีวีที่สำคัญของค่ายรถยนต์จากจีน หลายค่ายได้ขยายการลงทุนมายังประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด บริษัท GAC AION New Energy Automobile หรือ GAC AION ซึ่งเป็นบริษัทรถยนต์ไฟฟ้ารายใหญ่อันดับ 3 ของประเทศจีน ซึ่งมียอดขายรถยนต์ไฟฟ้ากว่า 2.7 แสนคันในปี 2565 และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 6 แสนคันในปีนี้ ทางบริษัทฯ ได้ตอบรับเดินหน้าลงทุนครั้งใหญ่ในประเทศไทยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยจะใช้เงินลงทุนในเฟสแรกกว่า 6,000 ล้านบาท

ทั้งนี้ ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2566 (ม.ค. - พ.ค.) มีโครงการจากจีนยื่นขอรับการส่งเสริมจำนวน 93 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนกว่า 31,000 ล้านบาท ขึ้นมาอยู่อันดับ 3 แซงหน้าญี่ปุ่น โดยส่วนใหญ่อยู่ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์และชิ้นส่วน และเคมีภัณฑ์

และคาดว่า ตลอดทั้งปี 2566 จะมีโครงการจากจีนยื่นขอรับการลงทุนมากกว่าปี 2565 ที่มีมูลค่าการลงทุนอยู่ที่ 7.7 หมื่นล้านบาท ได้อย่างแน่นอน


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top