Sunday, 5 May 2024
บางซื่อ

กรุงเทพมิติใหม่!! ส่องวิสัยทัศน์​ ว่าที่​ 'ผู้สมัคร​ สก.'​ พรรคประชาธิปัตย์ | Click on Clear THE TOPIC EP.173

📌สัมผัสกรุงเทพฯ จากมุม ‘ว่าที่ผู้สมัคร ส.ก.’ ไปกับ! ‘เรวัตร คงชาติ’ ว่าที่ผู้สมัคร สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตบางซื่อ พรรคประชาธิปัตย์ และ ‘ทนายประสิทธิ์ รักสลาม’ อดีตและว่าที่ผู้สมัคร สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตวัฒนา พรรคประชาธิปัตย์!

📌 ใน Topic : กรุงเทพมิติใหม่!! ส่องวิสัยทัศน์​ ว่าที่​ 'ผู้สมัคร​ สก.'​ พรรคประชาธิปัตย์

ในรายการ Click on Clear THE TOPIC จับประเด็น เน้นความรู้

ดำเนินรายการโดย ปริม กุญชนิตา กุญชร ณ อยุธยา PROGRAM DIRECTOR THE STATES TIMES

.

.

ค่าจอดรถภายใน 'สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์' แพงไหม? ชั่วโมงละ 20 บาท วันละ 250 บาท เดือนละ 2,000 บาท

(27 ม.ค.66) เพจ 'โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure' ได้โพสต์ข้อความ ระบุว่า...

ค่าจอดรถ ภายในสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ชั่วโมงละ 20 บาท วันละ 250 บาท เดือนละ 2,000 บาท แพงจริงมั้ย??? มาลองเทียบกัน

หลังจากที่มีข่าวการเปิดราคา ค่าจอดรถภายในสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ซึ่งล่าสุดผมเองก็เห็นป้ายที่ติดประกาศอยู่ในสถานี โดยแบ่งเป็น 3 เรทราคา คือ...

- รายชั่วโมง ชั่วโมงละ 20 บาท

- รายวัน วันละ 250 บาท

- รายเดือน เดือนละ 2,000 บาท (ต้องลงทะเบียน)

ทำให้มีกระแสดราม่าจากในหลายๆ สื่อ และหลายกลุ่ม มาแสดงความคิดเห็นว่าค่าจอดรถใน สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ แพงเกินไป…บางคนลามไปถึงจอดรถรายวันเกือบเท่าค่าแรงขั้นต่ำ

ผมเองก็สงสัยว่ามันแพงจริงมั้ย ผมเลยลองไปเปรียบเทียบกับค่าจอดรถ ของระบบ ขนส่งมวลชนอื่นๆ ว่าราคาเท่าไหร่กัน ตั้งแต่ สนามบิน, อาคารจอดแล้วจร ของ MRT และลานจอดรถของสถานีรถไฟหัวลําโพง

—————————

มาลองเทียบค่าจอดรถกันดู…

เริ่มต้นกันที่สนามบิน...

- สนามบินดอนเมือง 

1. อาคารจอดรถทั่วไป เริ่มต้นชั่วโมงละ 20 บาท รายวัน วันละ 250 บาท

2. บริการ valet Parking เริ่มต้น 4 ชั่วโมงแรก 150 บาท รายวัน วันละ 250 บาท

- สนามบินสุวรรณภูมิ

1. อาคารจอดรถทั่วไป เริ่มต้นชั่วโมงละ 25 บาท รายวัน วันละ 250 บาท

2. ลานจอดรถระยะไกล (ห่างจากอาคารผู้โดยสาร 2 กิโลเมตร) เริ่มต้นชั่วโมงละ 20 บาท รายวัน วันละ 140 บาท

อาคารจอดแล้วจร และลานจอดรถ MRT

- อาคารและลานจอดในโซนเมือง (ศูนย์วัฒนธรรม,ลาดพร้าว และลานจอดรถสถานีอื่นๆ) เริ่มต้นชั่วโมงละ 15 บาท (สำหรับผู้โดยสาร MRT และ 50 บาท (สำหรับบุคคลทั่วไป) รายเดือน เดือนละ 2,000 บาท

- อาคารนอกโซนเมือง (หลักสอง) เริ่มต้นชั่วโมงละ 10 บาท (สำหรับผู้โดยสาร MRT) และ 20 บาท (สำหรับบุคคลทั่วไป) รายเดือน เดือนละ 1,000 บาท

สำคัญที่สุด สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง)

- เริ่มต้นชั่วโมงละ 20 บาท 

- 10 ชั่วโมงขึ้นไป เหมาจ่ายรายวัน วันละ 300 บาท

—————————

ซึ่งถ้าเทียบแบบนี้ ผมว่าค่าจอดรถของสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ราคาเหมาะสม 

ไม่ได้แพงเกินไปสำหรับคนเดินทางและเชื่อมต่อ และไม่ถูกเกินที่จะให้คนเอารถมาจอดทิ้งไว้จนทำให้เป็นภาระของสถานี (เหมือนกับมักกะสันในอดีต) 

แล้วอย่าลืมว่าปกติผู้โดยสารรถไฟไม่ได้เช้าไป-เย็นกลับ แบบการเดินทาง ทางเครื่องบิน (ผมก็เอารถไปจอดสนามบินบ่อย) ยกเว้นคนจะมาจอดเพื่อเดินทางต่อไปสนามบินดอนเมือง ซึ่งก็มีที่จอดสะดวกกว่าตัวสนามบิน (ลานจอดรถเต็มตั้งแต่ 7 โมงเช้า)

บทสรุปการเปลี่ยนแปลง 'สถานีกลางฯ' หลังผ่านไป 2 สัปดาห์ รถไฟตรงเวลา - ผู้โดยสารปรับตัว - เจ้าหน้าที่คุ้นเคย

(6 ก.พ. 66) เพจ 'โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure' ได้โพสต์ข้อความ ระบุว่า...

สรุปการเปลี่ยนแปลง สถานีกลางฯ หลังผ่านไป 2 สัปดาห์ รถไฟตรงเวลา, ผู้โดยสารปรับตัว, เจ้าหน้าที่คุ้นเคย สู่ศักราชใหม่ของระบบราง 

เมื่อวานผมได้ไปสังเกตการณ์ การพัฒนาการของสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ หลังจากที่เปิดให้บริการมา 2 สัปดาห์ ผ่านดรามาต่าง ๆ และการเปลี่ยนแปลงระบบการให้บริการใหม่

เลยขอมาเล่าให้เพื่อน ๆ ฟังกันหน่อยครับ ขอแบ่งเป็นส่วน ๆ คือ...

- ผู้โดยสาร
ผมต้องชื่นชมผู้โดยสารที่ปรับตัว และทำความเข้าใจกับขั้นตอนในการใช้บริการใหม่ ซึ่งพอทุกคนเข้าใจ ทุกอย่างก็ราบรื่นยิ่งขึ้น

เริ่มตั้งแต่การเข้าแถว รอขึ้นชานชาลา ไปจนถึงการขึ้นรถ เพื่อเตรียมออกเดินทางภายใน 20 นาที

แต่ในหลาย ๆ ส่วนก็ยังต้องปรับปรุงอยู่บ้าง เช่น ป้ายสัญลักษณ์ และหน้าจอแสดงผลในระดับดิน ซึ่งทราบจากพี่ ๆ ที่อยู่ในการรถไฟว่า ตอนนี้กำลังออกแบบ และเตรียมติดตั้งอยู่

- เจ้าหน้าที่การรถไฟแห่งประเทศไทย
ก็ต้องชื่นชมทีมงานทุกส่วนของการรถไฟที่ได้ปรับเปลี่ยน รวมถึงจัดเตรียมระเบียบใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับการให้บริการในสถานีกลาง

โดยเฉพาะทีมงานที่อยู่หน้างานทั้งฝ่ายประชาสัมพันธ์ เจ้าหน้าที่สถานี และทีมบริหารจัดการเดินรถ

จนทำให้ ระยะเวลาที่เลท ในวันแรกบางขบวนถึง 3 ชั่วโมง จนล่าสุด ก็ตรงเวลามา 2 วันติดต่อกันแล้ว ซึ่งก็หวังว่าจะรักษามาตรฐานนี้กันอย่างต่อเนื่อง

‘สุกฤษฏิ์ชัย-ปชป.’ แนะ!! ลดใช้แคดเมียม พัฒนาวัสดุทดแทน ชี้!! แม้มีประโยชน์มาก แต่โทษมหันต์ต่อมนุษย์ ถ้าคุมได้ไม่ดี

(11 เม.ย. 67) นายสุกฤษฏิ์ชัย ธีระเริงฤทธิ์ ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า…

ปัจจุบันแคดเมียมถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมเป็นจำนวนมาก มีความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ โดยแร่แคดเมียมเป็นโลหะหนัก ได้มาจากการถลุงแร่สังกะสี ตะกั่วและทองแดง แคดเมียมสามารถนำไปทำประโยชน์ได้ อาทิ การชุบโลหะ เพื่อเพิ่มความทนทานต่อการกัดกร่อน การสึกหรอ ป้องกันสนิม เป็นสารเคลือบ ใช้ในชิ้นส่วนยานยนต์ อุปกรณ์ทางทะเล เม็ดสี ทำแบตเตอรี่ ปุ๋ยและอื่นๆ ซึ่งดูเหมือนแคเมียมจะมีประโยชน์ต่อการผลิตสิ่งต่างๆที่พวกเราต้องใช้งานกันชีวิตประจำวันของทุกคน

แต่เมื่อมีประโยชน์มาก โทษก็เยอะตามมาด้วย หากการบริหารจัดการแร่หรือกากแคดเมียมไม่ดีพอ ไม่เป็นไปตามมาตรฐานและตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งในปัจจุบันมักใช้วิธีฝังกลบกากลงดินในการทำลาย ก็เป็นเหตุให้สามารถปนเปื้อนในดิน น้ำ อากาศในบริเวณโดยรอบได้อย่างง่ายดาย มิหนำซ้ำยังเกิดกรณีการลักลอบขุดกากขึ้นมาขายต่ออีกที่กำลังเป็นข่าว และเกิดขึ้นในหลายจังหวัดรวมถึงเขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร ถือเป็นศูนย์กลางของประเทศ การลักลอบดังกล่าว ก็กระทำโดยผิดกฎหมาย ขาดองค์ความรู้และหลักปฏิบัติที่ถูกต้อง ตลอดจนการเก็บในโกดังหรือคลังสินค้าก็ไม่ได้มาตรการ จึงเป็นความอันตรายและเป็นภัยต่อสังคมโดยองค์รวม

ในส่วนของความเสี่ยงต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพจากแคดเมียมนั้น มีหลายผลกระทบมาก ไม่ว่าจะเป็น การปนเปื้อนในดินและน้ำ หากยิ่งใกล้แหล่งน้ำไม่ว่าจะเป็นห้วย หนอง คลอง แม่น้ำ ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงในการแพร่กระจาย ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ ลดความอุดมสมบูรณ์ของดิน ลดความหลากหลายทางชีวภาพ ปนเปื้อนห่วงโซ่อาหาร ส่งผลต่อระบบสืบพันธุ์ของสัตว์และสุขภาพของประชาชนในบริเวณโดยรอบ มลพิษทางอากาศ ที่อาจเกิดขึ้นจากการขนย้ายกากอย่างไม่ได้มาตรฐานอาจปล่อยฝุ่นละออง เกิดการฟุ้งกระจาย ส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจของประชาชนได้ การสัมผัสหากมีปริมาณเกินไป ร่างกายจะสะสมพิษได้นานหลายปี มีผลร้ายต่อระบบต่างๆ ของร่างกาย เช่น มีปฏิกิริยากับระบบไต ปอด กระดูกพรุน ก่อให้เกิดมะเร็ง ระบบสืบพันธุ์รวมถึงโรคอิไต อิไตด้วย

จากที่กล่าวมาทั้งหมด ควรมีการลดใช้แคดเมียม ด้วยการเร่งพัฒนาวัสดุและเทคโนโลยีใหม่ขึ้นมาทดแทน ภาครัฐควรออกมาตรการควบคุมให้ธุรกิจรับซื้อของเก่า เศษเหล็ก, เศษพลาสติก, พอลิเมอร์ เพื่อนำไปรีไซเคิลหรือผ่านกระบวนการเพื่อนำกับมาใช้ซ้ำใช้ใหม่ รวมถึงโรงงานหลอมโลหะในทุกที่ทั่วราชอาณาจักร มีมาตรฐาน มีความปลอดภัย มีกฎหมายออกมาบังคับเฉพาะ เพื่อเป็นการป้องปรามผู้กระทำความผิดในอนาคต ภาคเอกชนต้องให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม บำบัดน้ำเสียก่อนปล่อยสู่สาธารณะ ส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ภาคประชาชนร่วมกันสอดส่องดูแลความเป็นไปในพื้นที่ และที่สำคัญที่สุดคือให้ความรู้แก่ประชาชน ทางสาธารณสุข สุขอนามัย หลีกเลี่ยงการสัมผัส การอยู่ใกล้ หากมีความจำเป็นต้องเข้าใกล้ ควรใส่หน้ากากป้องกันสารพิษ หลีกเลี่ยงอาหารที่มาจากแหล่งที่มาไม่ชัดเจน เพราะแคดเมียมเป็นโลหะหนักที่ขยับเข้าใกล้ตัวเรามากขึ้นทุกที อาจปนเปื้อนในอาหารที่เรากำลังรับประทาน ในน้ำที่เรากำลังดื่มหรือในอากาศที่เรากำลังหายใจอยู่ก็เป็นได้


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top