Friday, 24 May 2024
น้ำแล้ง

กรุงเทพฯ - "ลุงป้อม" ห่วงน้ำท่วมขังเสีย สั่งเตรียมรับมือฤดูฝนภาคใต้ เร่งวางแผนแก้น้ำเค็ม - น้ำท่วม - น้ำแล้งซ้ำซาก

พล.อ.คงชีพ ตันตระวาณิชย์ เปิดเผยว่า เมื่อ  พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีได้เรียกประชุม คณะอนุกรรมการอำนวยการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ครั้งที่ 2/64 ณ ห้องประชุม สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เพื่อเตรียมรับมือฤดูฝนภาคใต้ รวมทั้งติดตามบริหารจัดการสถานการณ์ท่วมและน้ำแล้งในภาพรวม

ที่ประชุมรับทราบสถานการณ์สภาพอากาศ รวมทั้งการบริหารจัดการน้ำปัจจุบัน ในพื้นที่ลุ่มต่ำ แหล่งน้ำขนาดใหญ่ - กลาง และเขื่อนระบายน้ำ ซึ่งในภาพรวมยังสามารถควบคุม โดยมีแหล่งน้ำขนาดใหญ่ 38 แห่งที่ต้องเฝ้าระวัง สำหรับการคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงอุทกภัยในพื้นที่สำคัญทั่วประเทศ ระหว่าง ต.ค.- ธ.ค.64 มีแนวโน้มลดลง เว้นภาคใต้ มีพื้นที่เสี่ยงเพิ่มขึ้นจากฤดูฝนที่กำลังมาถึง โดยมีโอกาสสูงในการเกิดพายุเคลื่อนผ่านภาคใต้ มีพื้นที่เสี่ยง 725 ตำบล 43,495 หมู่บ้านใน 16 จว. ทุกหน่วยงานได้เตรียมความพร้อมรับมือกับอุทกภัย โดยได้ขุดลอกคูคลอง กำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ ทำพนังกั้นน้ำและก่อสร้างทางระบายน้ำไปยังพื้นที่รับน้ำ เพื่อลดความเสี่ยงและความเสียหายที่จะเกิดขึ้น

สำหรับการบริหารจัดการน้ำฤดูแล้ง ได้พิจารณาวางแผนจากการคาดการณ์น้ำต้นทุน ปริมาณการใช้น้ำและพื้นที่เสี่ยงน้ำแล้ง พบความเสี่ยงขาดแคลนน้ำอุปโภค บริโภคใน 5 จว. 9 อำเภอ 25 ตำบล มีพื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงน้ำแล้งด้านการเกษตร นอกเขตชลประทาน 11 จว. ซึ่งอยู่ระหว่างเร่งกำหนดมาตรการรองรับ ทั้งการเก็บกักน้ำ จัดหาแหล่งน้ำสำรองในพื้นที่เสี่ยง การเติมน้ำ การจัดสรรน้ำฤดูแล้ง การวางแผนเพาะปลูกพืช การเตรียมน้ำสำรองในพื้นที่ลุ่มต่ำ การเฝ้าระวังคุณภาพน้ำ รวมทั้งการติดตามประเมินผล

พล.อ.ประวิตร ได้ย้ำแสดงความห่วงใยถึงประชาชนที่ยังได้รับผลกระทบจากอุทกภัยในพื้นที่ทั่วประเทศ โดยกำชับ สทนช.บูรณาการทำงานร่วมกับทุกหน่วยงาน ยังคงต้องติดตามสถานการณ์สภาพอากาศที่อาจพัฒนาก่อตัวเป็นพายุซ้ำเติมพื้นที่น้ำท่วมเดิม พร้อมทั้งให้เร่งระบายน้ำในพื้นที่น้ำท่วมขังเข้าแหล่งน้ำขนาดใหญ่และลำน้ำสายหลักตามแผนและสถานการณ์ ทั้งนี้ให้นำจุลินทรีย์มาใช้ปรับปรุงคุณภาพน้ำในพื้นที่ท่วมขังนานและเกิดการเน่าเสียหวั่นกระทบสร้างปัญหาโรคระบาด โดยเฉพาะพื้นที่ภาคใต้ ขอให้ทบทวนปรับปรุงและซักซ้อมแผนเผชิญเหตุร่วมกัน และให้ตรวจสอบระบบเตือนภัยให้สามารถแจ้งเตือนภัยล่วงหน้าในพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมที่เคยเกิดปัญหา เพื่อลดผลกระทบและความเสียหายที่เกิดขึ้น

 

‘บิ๊กปัอม’ ยกบทเรียนอุทกภัย 65 สู้ ‘น้ำท่วม-ภัยแล้ง’ ยั่งยืน ดันแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี

‘พล.อ.ประวิตร’ เรียกประชุม กนช. เร่งแผนปฏิบัติการทรัพยากร น้ำท่วม/ภัยแล้ง 22 ลุ่มน้ำ ห่วงซ้ำรอย สั่งถอดบทเรียน อุทกภัยปี 65 ลุ่มเจ้าพระยาใหญ่ ลดผลกระทบ ปชช.ให้น้อยที่สุด

(28 ธ.ค.65) ที่ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล พล.ท.พัชร์ชศักดิ์ ปฏิรูปานนท์ ผู้ช่วยโฆษก รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุม คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) ครั้งที่ 4/2565 


 

'รัฐบาล' โชว์ผลงานแก้ปัญหา 'น้ำท่วม-น้ำแล้ง' มุ่งบริหารจัดการน้ำทั้งประเทศอย่างเป็นระบบ

(1 ก.พ. 66) นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ว่า รัฐบาลได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาอุทกภัยและน้ำแล้งมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) ขับเคลื่อนแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี

โดยในช่วงที่ผ่านมาได้มีการดำเนินการขับเคลื่อนแผนแม่บทการบริการจัดการน้ำร่วมกับส่วนราชการต่าง ๆ มากกว่า 48 ส่วนราชการ มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาเรื่องทรัพยากรน้ำในทุกมิติ ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำ และมุ่งเน้นขับเคลื่อนแผนงานโครงการขนาดใหญ่ ที่สามารถแก้ไขปัญหาในวงกว้างได้อย่างมีนัยสำคัญ

ปัจจุบันได้มีการขับเคลื่อนโครงการไปแล้ว จำนวน 44 โครงการ เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จสามารถเพิ่มปริมาณน้ำเก็บกักรวม 1,414 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) มีพื้นที่รับประโยชน์ 1.48 ล้านไร่ ครัวเรือนรับประโยชน์ 319,765 ครัวเรือน

เป็นโครงการที่ได้รับงบประมาณในการดำเนินการแล้ว จำนวน 24 โครงการ ซึ่งอยู่ระหว่างก่อสร้าง ตัวอย่างเช่น โครงการบรรเทาอุทกภัยนครศรีธรรมราช โครงการป้องกันและบรรเทาอุทกภัยเมืองชุมพร โดยกรมชลประทาน ช่วยป้องกันพื้นที่น้ำท่วมได้ 61,000 ไร่ แม้ปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินการ แต่สามารถช่วยป้องกันบรรเทาอุทกภัยเมืองชุมพรได้บางส่วนแล้ว

การดำเนินงานโครงการด้านทรัพยากรน้ำที่ผ่านมา รัฐบาลได้อนุมัติโครงการสำคัญที่ได้รับการขับเคลื่อนแล้ว ในช่วงปี 2559-2565 จำนวน 241 โครงการ เมื่อโครงการแล้วเสร็จสามารถเพิ่มน้ำต้นทุนได้ 1,371 ล้าน ลบ.ม. มีพื้นที่รับประโยชน์กว่า 1,400,000 ไร่ พื้นที่ป้องกันน้ำท่วม 1,250,541 ไร่ ครัวเรือนรับประโยชน์ 505,828 ครัวเรือน ตัวอย่างเช่น ประตูระบายน้ำ ศรีสองรัก จ.เลย (62), อ่างเก็บน้ำลำสะพุง (พรด.) จ.ชัยภูมิ (62), ประตูระบายน้ำลำน้ำพุง-น้ำก่ำ จ.สกลนคร (62), ปรับปรุง คลองยม-น่าน จ.สุโขทัย (64), คลองระบายน้ำหลาก บางบาล-บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา (62), ฟื้นฟูพัฒนา คลองเปรมประชากร (คลองผดุง-คลองรังสิต) (63), อุโมงค์ระบายน้ำใต้คลองเปรมประชากร จ.กรุงเทพมหานคร (63) และบรรเทาอุทกภัยอำเภอบางสะพาน (พรด.) จ.ประจวบคีรีขันธ์ (64) เป็นต้น

การดำเนินการของรัฐบาลได้เน้นการแก้ไขปัญหาในพื้นที่วิกฤต (Area-Base) ทั่วทั้งประเทศ โดยพิจารณาในทุกมิติ เช่น ด้านศักยภาพการแก้ไขปัญหาเป็นหลัก โดยมีผลการศึกษารองรับ ไม่มีปัญหาทางสังคมรุนแรง รวมถึงพิจารณาด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน

'กาฬสินธุ์' นายกลุยแก้น้ำท่วม-น้ำแล้ง พนังกั้นน้ำชีทรุดตัวในพื้นที่กาฬสินธุ์

'เศรษฐา ทวีสิน' นายกรัฐมนตรีลงพื้นที่ลุยแก้ไขปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง และป้องกันปัญหาพนังกั้นแม่น้ำชีทรุดตัวในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์

วันที่ 2 มีนาคม 2567 นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง พร้อมคณะลงพื้นที่ตรวจราชการในพื้นที่ จ.กาฬสินธุ์ โดยในช่วงเช้าเวลา 10.45 น.เข้าติดตามการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง ที่สถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้ากุดแคน ต.เจ้าท่า อ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์ โดยมีนางมนพร เจริญศรี รมช.คมนาคม นายสนั่น พงษ์อักษร ผวจ.กาฬสินธุ์ นายวิรัช พิมพะนิตย์ ส.ส.กาฬสินธุ์ เขต 1 นายพลากร พิมพะนิตย์ ส.ส.กาฬสินธุ์ เขต 2 นายทินพล ศรีธเรศ ส.ส.กาฬสินธุ์ เขต 5 นายประเสริฐ บุญเรือง ส.ส.กาฬสินธุ์ เขต 6 นายชูชาติ รักจิตร อธิการบดีกรมชลประทาน นางเฉลิมขวัญ หล่อตระกูล นายกอบจ.กาฬสินธุ์ นายเดช เล็กวิชัย รองอธิการบดีกรมชลประทาน พร้อมด้วยส.ส.ภาคอีสาน ส่วนราชการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นายอำเภอ ผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน ผู้นำหมู่บ้าน และประชาชนรายงานสภาพปัญหาและให้การต้อนรับ

โดยนายกรัฐมนตรีได้เข้ารับฟังบรรยายสรุปการนำเสนอโครงการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้งจากกรมชลประทานก่อนจะเดินพบปะประชาชนที่มาให้การต้อนรับ

ทั้งนี้จากสภาพปัญหาอุทกภัยบริเวณพื้นที่เพาะปลูกโดยรอบกุดวังซอ, กุดกว้างน้อย,กุดกว้างใหญ่ และกุดแคน (กุดขวาง) ซึ่งเป็นพื้นที่ชลประทานของโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำปาวนั้น เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี บริเวณสองฝั่งลำห้วยเกิดปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากกว่า 20,000 ไร่ สาเหตุมาจากระดับน้ำในลำน้ำชีมีระดับสูง ทำให้ไม่สามารถระบายน้ำพื้นที่ด้านในออกลงสู่แม่น้ำชีได้ 

ดังนั้นทางโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำปาว จ.กาฬสินธุ์ จึงได้เสนอโครงการป้องกันและบรรเทาอุทกภัย บริเวณพื้นที่ บ.แจ้งจม ต.เจ้าท่า อ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์ ให้สำนักชลประทานที่ 6 พิจารณาศึกษาโครงการ และเห็นว่ามีความเหมาะสมที่จะดำเนินการก่อสร้างสถานีสูบน้ำถาวร เพื่อสูบน้ำออกจากพื้นที่ชลประทานไม่ให้น้ำท่วมพื้นที่ในฤดูน้ำหลากเมื่อปีพ.ศ. 2552 ทำการก่อสร้างปี 2563 และก่อสร้างแล้วเสร็จปี 2565 ซึ่งประโยชน์ที่ได้รับสามารถช่วยเหลือพื้นที่น้ำท่วม และป้องกันอุทกภัยในพื้นที่ประมาณ 20,000 ไร่

อย่างไรก็ตามปัจจุบันเกิดปัญหาแหล่งน้ำมีสภาพตื้นเขิน และมีวัชพืชปกคลุมจำนวนมาก ทำให้น้ำไหลเข้าไม่สะดวก และไม่สามารถระบายน้ำได้ทันในช่วงหน้าฝน ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมเป็นบริเวณกว้าง ซึ่งเรื่องดังกล่าวประชาชน และผู้นำหมู่บ้านได้ร้องขอเข้ามายังหน่วยงานของกรมชลทาน และ นายทินพล ศรีธเรศ ส.ส.กาฬสินธุ์ เขต 5 นำเรื่องดังกล่าวเข้าหารือในที่ประชุมสภาฯ เพื่อให้ช่วยแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน และติดตามการแก้ไขปัญหาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการขอรับการสนับสนุนงบประมาณดำเนินการขุดลอกแก้มลิงกุดกว้างน้อย งบประมาณ 24 ล้านบาท แก้มลิงกุดกว้างใหญ่ พร้อมก่อสร้างอาคารประกอบ งบประมาณ 61 ล้านบาท และกำจัดวัชพืชในกุดแคนโดยเครื่องจักร งบประมาณ 5 ล้านบาท เพื่อให้สามารถกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้งให้กับประชาชน และระบายน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพในช่วงฤดูฝน 

จากนั้นเวลา 11.30 น.นายกรัฐมนตรี พร้อมคณะเดินทางไปติดตามการแก้ไขปัญหาพนังกั้นลำน้ำชีทรุดตัว ที่บริเวณพนังกั้นลำน้ำชีชั่วคราวกม.ที่ 2 บ้านโนนแดง ต.ลำชี อ.ฆ้องชัย จ.กาฬสินธุ์ โดยมีนายสุทิน คลังแสง รมว.กลาโหม นายพลากร พิมพะนิตย์ ส.ส.กาฬสินธุ์ เขต 2 พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กรมทางหลวงชนบท และประชาชนในพื้นที่รายงานสภาพปัญหาความเดือดร้อนที่เกิดจากพนังกั้นน้ำชีทรุดตัวทำให้ปริมาณน้ำเอ่อเข้าท่วมบ้านเรือน และพื้นที่การเกษตรของประชาชนทุกปี โดยเฉพาะในปี 2565  ส่งผลให้เกิดความเสียหายเป็นบริเวณกว้างพื้นที่เกษตรกรเสียหายหลายหมื่นไร่ และมีบ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบหลายพันหลังคาเรือน ซึ่งทำให้พี่น้องประชาชนเกิดความวิตกกังวลว่าจะเกิดเหตุการณ์ซ้ำขึ้นอีก จึงทำให้นายพลากร พิมพะนิตย์ หรือ ส.ส.บอล เขต 2 นำเรื่องปัญหาความเดือดร้อนดังกล่าวเข้าหารือในประชุมสภาฯ เพื่อแก้ไขปัญหา ก่อนที่นายกรัฐมนตรี ได้ให้ความสำคัญกับพี่น้องประชาชนชาวกาฬสินธุ์ และพี่น้องประชาชนทั่วประเทศ และลงพื้นที่มารับปัญหา และกำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งแก้ปัญหาให้กับประชาชน

โดยในวันนี้ได้เสนอโครงการแก้ไขปัญหาคันทางพังทลายและป้องกันน้ำท่วม  ซึ่งเป็นการก่อสร้างพนัง เพื่อป้องกันคันทาง หรือพนังแม่น้ำชีพังทลายจากกระแสน้ำชีกัดเซาะคันทางความยาว 425 เมตร งบประมาณกว่า 51 ล้านบาท ซึ่งจะสามารถแก้ไขปัญหาอุทกภัยป้องกันน้ำท่วมในพื้นที่ อ.กมลาไสย และอ.ฆ้องชัย ป้องกันความเสียหายต่อพื้นที่การเกษตรกว่า 100,000 ไร่ และระบบสาธารณูปโภคบ้านเรือนประชาชนในพื้นที่

ทั้งนี้ภายหลังจากนายกรัฐมนตรีได้ลงพื้นที่และรับฟังปัญหาทั้ง 2 จุด โดยนายกฯระบุว่าวันนี้มาดูการขุดลอกการแก้ปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง และการก่อสร้างพนัง ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดี 

อย่างไรก็ตามผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังเสร็จสิ้นภารกิจในช่วงเช้า นายกรัฐมนตรีได้รับประทานอาหารที่ อ.ยางตลาด จ.กาฬสินธุ์ และในช่วงบ่ายเวลา 13.15 น.มีกำหนดการลงพื้นที่บึงอร่าม อ.ยางตลาด จ.กาฬสินธุ์ เพื่อหารือการพัฒนาพื้นที่ให้เป็นแลนด์มาร์ค และจุดแวะพักของ จ.กาฬสินธุ์ และ เวลา 14.15 น.เดินทางไปประชุมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อหารือประเด็นปัญหาและแผนพัฒนา จ.กาฬสินธุ์ ที่ศาลากลาง จ.กาฬสินธุ์ และในช่วงเวลา 15.45 น.จะลงพื้นที่ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยส้มป่อย ต.นาขาม อ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์ เพื่อหารือประเด็นการบริหารจัดการน้ำ เพื่อเป็นแหล่งกักเก็บน้ำ และใช้สำหรับการอุปโภค บริโภคให้กับประชาชน


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top