Monday, 20 May 2024
นายกรัฐมนตรีอังกฤษ

ผู้นำอังกฤษพบเซเลนสกีในเคียฟ ประกาศจัดหาอาวุธ-เงินกู้ผ่านธนาคารโลก ย้ำยูเครนต้องไม่ถูกรังแกอีก

นายบอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีอังกฤษ เป็นผู้นำชาติตะวันตกคนล่าสุดที่เดินทางเยือนกรุงเคียฟ เมืองหลวงของยูเครน เพื่อพบกับนายโวโลดิมีร์ เซเลนสกี ประธานาธิบดียูเครน พร้อมกับแจ้งถึงการให้การสนับสนุนของอังกฤษเพิ่มเติมต่อยูเครนทั้งทางด้านการเงินและการทหาร

การเยือนกรุงเคียฟของนายจอห์นสันเมื่อวันที่ 9 เมษายน ไม่มีการประกาศแจ้งล่วงหน้า แต่มีการโพสต์คลิปวิดีโอบนทวิตเตอร์ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผู้นำอังกฤษและยูเครนพากันเดินไปบนท้องถนนในกรุงเคียฟ ท่ามกลางทหารที่ถือปืนอารักขาจำนวนหนึ่ง

‘ริชิ ซูนัก’ เต็งนายกฯ อังกฤษ ประกาศศึกล่วงหน้า จะจัดหนักจีน หากได้ครองทำเนียบบ้านเลขที่ 10

ริชิ ซูนัก (Rishi Sunak) อดีตรัฐมนตรีคลังอังกฤษเชื้อสายอินเดีย ตัวเต็งอันดับหนึ่งการเลือกตั้งหัวหน้าพรรคอนุรักษ์ ที่จะกลายเป็นนายกรัฐมนตรีอังกฤษต่อจาก นายบอริส จอห์นสัน ในเดือนกันยายน 2022 นี้ ประกาศกร้าวว่า จีนเป็นภัยคุกคามอันดับ 1 ต่อประเทศอังกฤษ และความมั่นคงของโลก ซึ่งเขาสัญญาว่าจะใช้นโยบายแข็งกร้าวกับจีนอย่างแน่นอน หากมีชัยในการเลือกตั้งภายในพรรคอนุรักษ์และรับตำแหน่งผู้นำอังกฤษ 

คำให้สัมภาษณ์จาก ริชิ ซูนัก เกิดขึ้นหลังจากที่เขาได้รับชัยชนะรอบ 2 ของการหยั่งเสียงลงคะแนนคัดเลือกตัวแทนที่จะขึ้นเป็นหัวหน้าพรรคอนุรักษ์อย่างท่วมท้น แต่กลับถูก ลิซ ทรัสส์ (Liz Truss) รัฐมนตรีต่างประเทศหญิงที่เป็นคู่แข่งคนสำคัญ ออกมาโจมตีว่า ริชิ ซูนัก อ่อนในเรื่องนโยบายต่างประเทศ โดยเฉพาะการรับมือภัยคุกคามจากทั้งรัสเซีย และจีน 

อย่างไรก็ตาม ด้านสำนักข่าว Global Times ของจีน กลับให้การสนับสนุน ริชิ ซูนัก โดยวิเคราะห์ว่าเขาเป็นผู้สมัครชิงตำแหน่งหัวหน้าพรรคเพียงคนเดียวที่มีมุมมองในเชิงปฏิบัติต่อการสานสัมพันธ์ระหว่างอังกฤษและจีน จนโดนสื่ออังกฤษที่สนับสนุน ลิซ ทรัสส์ ค่อนแคะ ริชิ ซูนัก ว่าไม่ต้องการได้ผู้นำที่ทำตัวเป็นตรายางให้จีน 

และนั่นก็เลยทำให้วันนี้ ริชิ ซูนัก ต้องออกมายืนยันหนักแน่นว่า เขาจะไม่อ่อนข้อให้กับภัยคุกคามจากจีนอย่างแน่นอน โดยเสนอนโยบายที่จะปิดสถาบันขงจื๊อทั้งหมด 30 แห่งทั่วประเทศ เพื่อป้องกันไม่ให้รัฐบาลจีนเข้ามาเผยแพร่ Soft Power ผ่านการเรียน การสอน ศิลปะ วัฒนธรรม และภาษาบนแผ่นดินอังกฤษได้อีกต่อไป 

นอกจากนี้ เขายังบอกว่าจะถีบส่งรัฐบาลจีนคอมมิวนิสต์ ออกจากสถาบันการศึกษาของอังกฤษ ด้วยการออกกฏหมายบังคับให้มหาวิทยาลัยในอังกฤษต้องเปิดเผยแหล่งเงินทุนสนับสนุนจากต่างประเทศที่มีมูลค่ามากกว่า 50,000 ปอนด์ขึ้นไป และจะตรวจสอบผู้ร่วมโครงการวิจัยในสถาบันอังกฤษทั้งหมด ทั้งนี้เพื่อสกัดการเข้าถึงองค์ความรู้ และเทคโนโลยีสำคัญของอังกฤษ ที่จีนมักถูกกว่าหาว่าแอบส่งนักวิชาการเข้ามาขโมยงานวิชาการของชาติตะวันตกอยู่เสมอ

นายกฯ อังกฤษ อาจไม่ได้ไปต่อ หลังกระแส ‘จบ’ หนาหู ขึ้นอยู่กับเวลา

เรื่อง: อนุดี เซียสกุล

“Credibility is one of the most prized assets in politics.
When it drains away, dredging it back is difficult, often impossible.”
Chris Mason, Political editor, BBC News

ผู้เขียนขอยกข้อเขียนของนายคริส เมสัน บรรณาธิการข่าวการเมืองของบีบีซีมาเริ่มต้นเรื่องอนาคตของนางลิซ ทรัสส์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ เพราะมันเป็นสัจธรรมทางการเมืองที่แน่นอนที่สุด 

นายคริส เมสันบอกว่า “ความน่าเชื่อถือ คือสมบัติที่ล้ำค่าที่สุดในทางการเมือง หากว่ามันได้สูญหายไปแล้ว ก็ยากยิ่งนักที่จะดึงมันกลับคืนมาและบ่อยครั้งที่ยากที่จะเป็นไปได้”

Credibility หรือความน่าเชื่อถือในตัวนางลิซ ทรัสส์ กระทบกระเทือนอย่างนัก เมื่อเธอได้ปลดรัฐมนตรีคลังนาย กวาซี กวาร์เทง (Kwasi Kwarteng) ออกเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว หลังจากแผนงบประมาณที่เรียกว่า mini-budget ที่นายกวาร์เทงประกาศออกมาในปลายเดือนที่แล้ว ถูกตำหนิติเตียนอย่างหนักว่าไม่สมเหตุสมผลกับสภาวะเศรษฐกิจของอังกฤษ เมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนั้นนางลิซ ทรัสส์ จึงต้องกลับลำเปลี่ยนแปลงนโยบายที่เคยประกาศไว้ตอนหาเสียงเป็นหัวหน้าพรรคคอนเซอร์เวทีฟในเรื่องภาษี เช่น กลับลำในเรื่องการเก็บภาษีนิติบุคคลที่เธอประกาศแต่แรกว่าจะไม่ขึ้น แต่พอโดนวิจารณ์หนักเธอก็บอกว่าต้องขึ้น หรือเรื่องภาษีเงินได้เป็นต้น

ที่จริงการเปลี่ยนแผนในเรื่องภาษีนั้นรัฐ อาจสามารถทำได้ แต่ไม่ใช่ในเวลาแค่ไม่ถึงเดือนที่เธอเข้ามาเป็นรัฐบาล เพราะไม่เพียงแต่ตลาดเท่านั้นที่หวั่นใจในการเปลี่ยนแปลง แต่บรรดาลูกพรรคที่เป็นส.ส. ของพรรคคอมเซอร์เวทีฟเองก็พลอยวิตกกังวลไปด้วย เพราะมันหมายถึงอนาคตในการเลือกตั้งของพวกเขาต่อไปด้วย

คริส เมสัน บอกว่าแม้เธอจะฉลาดในการตั้งนายเจเรมี่ ฮันท์ เข้ามาเป็นร.ม.ต. คลังคนใหม่เพื่อที่อาจจะสงบปากของกลุ่มนายริชชี่ สุหนักลงบ้าง (นายเจเรมี่ เป็นผู้ที่สนับสนุนนายริชชี่ในระหว่างการแข่งขันเป็นหัวหน้าพรรค) แต่ก็มีเสียงจากส.ส. บางคนว่าอาจเป็นเพียงการซื้อเวลาเท่านั้น และบางคนถึงกับพูดว่านายเจเรมี่ คือ นายกรัฐมนตรีตัวจริง ซึ่งเขาได้ปฏิเสธและยืนยันว่านางทรัสส์ยังเป็นนายกรัฐมนตรีเต็มตัว

อย่างไรก็ดีผู้สื่อข่าวบีบีซีรายงานคำพูดของอดีตรัฐมนตรีของพรรคคอนเซอร์เวทีฟคนหนึ่งว่า “คนทั่วไปรู้ดีว่า มันจบแล้ว แต่มีคำถามเพียงว่า จะจบอย่างไรและเมื่อไหร่เท่านั้น”

ในช่วงเวลา 72 ชั่วโมงที่ผ่านมามีการถกเถียงกันว่า นายกฯ ทรัสส์ จะอยู่ในบ้านเลขที่ 10 ถนนดาวท์นิ่งอีกได้นานเพียงใด หลังมี ส.ส. กลุ่มเล็กๆ ของพรรคคอนเซอร์เวทีฟได้เรียกร้องอย่างเปิดเผยให้เธอลาออก และอีกจำนวนมากอาจจะตามมา

ท่ามกลางเสียงวิจารณ์และเรียกร้องเช่นนี้ ทำเนียบรัฐบาลก็ยังอยู่ในโหมดของการรับฟังเท่านั้น ขณะเดียวกันเพื่อให้ทันกับสถานการณ์และให้เกิดความชัดเจนในเรื่องภาษีของรัฐบาล ด้านรมต.คลัง หมาดๆ (เจเรมี ฮันท์) ก็ได้แถลงต่อสภาเมื่อบ่ายวันจันทร์ที่ 17 ต.ค.ว่า จะลดหรือเพิ่มในเรื่องใดบ้าง ซึ่งก็เป็นที่ต้อนรับของ ส.ส. บางคน แต่ธุรกิจบางอย่างก็ไม่ยินดี โดยนโยบายที่แถลงต่อสภานั้น มีการเปลี่ยนแปลงในประเด็นสำคัญ ๆ หลายอย่างจากที่นางลิซเคยประกาศไว้

มีการคาดการว่าในสัปดาห์นี้นายกฯ ทรัสส์จะใช้เวลาพูดคุยทำความเข้าใจกับลูกพรรคของเธอเพื่อให้ได้รับเสียงสนับสนุน เช่นเดียวกับนายฮันท์ที่จะชี้แจงให้ส.ส. พรรคเข้าใจในแผนการที่สำคัญและยากของเขาที่จะประกาศในปลายเดือนนี้

เมื่อดูสถานการณ์แล้วทั้งนางทรัสส์และนายฮันท์อาจจะทำงานยากอยู่กับเสียงของส.ส.ลูกพรรค แต่ก็ยังมีความหวังอยู่บ้าง เมื่อมีเสียงจากผู้อาวุโสในพรรคออกมาเตือนว่าควรจะฟังแผนเศรษฐกิจทั้งหมดของ รมต.คลัง เสียก่อน เช่นเดียวกับ ส.ส. รุ่นใหญ่ในพรรคที่ขอให้สงบสติอารมณ์กันลงบ้างและ ส.ส.อีกกลุ่มใหญ่เตือนว่า ให้ดูๆ กันไปอีกหน่อยอย่าวู่วามเกินไป

การเมืองอังกฤษเคลื่อนไหว หลัง 'ลิซ ทรัสส์' ลาออก พรรคคู่แข่งแง้ม!! คืนอำนาจเลือกตั้งให้ประชาชน

นายกรัฐมนตรีลิซ ทรัสส์ของอังกฤษประกาศลาออกเมื่อวานนี้ 20 ตุลาคม 2565 และจะมีการเลือกหัวหน้าพรรคคอนเซอร์เวทีฟคนใหม่ภายในวันศุกร์หน้านี้ หลังจากที่ได้รับเลือกให้เป็นหัวหน้าพรรคคนใหม่เมื่อวันที่ 5 กันยายนและเป็นนายกรัฐมนตรีในวันที่ 6 กันยายนปีนี้ 

นางลิซ ทรัสส์ เป็นนายกรัฐมนตรีอังกฤษที่อยู่ในตำแหน่งที่สั้นที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศคือ เพียง 45 วัน

สาเหตุที่ทำให้เธอต้องลาออกก็เพราะ "พรรคคอนเซอร์เวทีฟได้เลือกข้าพเจ้าเข้ามาภายใต้อาณัติที่มอบหมายให้ลดภาษีและกระตุ้นความเจริญทางเศรษฐกิจของประเทศ" และเนื่องจากสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทั้งในและนอกประเทศ “ข้าพเจ้ายอมรับว่าไม่สามารถที่จะทำตามสิ่งที่ได้รับการมอบหมายตามที่พรรคได้เลือกข้าพเจ้าเข้ามาได้ ข้าพเจ้าได้เข้าเฝ้าพระเจ้าอยู่หัวและกราบทูล ให้ทรงทราบว่าข้าพเจ้าจะลาออกจากการเป็นหัวหน้าพรรคคอนเซอเวทีฟ”

(ระบบพรรคคอนเซอเวทีฟ คือ ถ้าพรรคเป็นรัฐบาล หัวหน้าพรรคจะได้เป็นนายกรัฐมนตรีด้วย)

หลังจากนั้นเธอได้พบหารือกับเซอร์เกรแฮม บราดี ประธานคณะกรรมการ 1922 (ผู้ที่ ส.ส. ภายในพรรคจะปรึกษาหารือในเรื่องต่างๆ ของพรรค) และตกลงกันว่าจะเลือกหัวหน้าพรรคคนใหม่ภายในวันศุกร์หน้า และเธอจะรักษาการนายกรัฐมนตรีไปจนกว่าจะได้หัวหน้าพรรคคนใหม่

สาเหตุสำคัญที่ทำให้นางทรัสส์ต้องลาออก ก็เพราะนโยบายการลดภาษีของเธอในระหว่างที่หาเสียงเป็นหัวหน้าพรรคนั้น ไม่เป็นที่ยอมรับของตลาดส่งผลให้ค่าเงินปอนด์ตกฮวบกับอัตราแลกเปลี่ยนกับเงินดอลลาร์สหรัฐ กระทบต่อความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของอังกฤษอย่างมาก และเมื่อมีเสียงต่อต้านกับแผนการลดภาษีของเธอ เธอก็กลับลำไม่ลดภาษีตามที่เคยประกาศไว้ เธอต้องปลดรัฐมนตรีคลังเพื่อนสนิทไปเมื่อวันศุกร์ที่แล้ว และเมื่อวานรัฐมนตรีมหาดไทยก็ประกาศลาออก บวกกับลูกพรรคคอนเซอเวทีฟบางกลุ่มก็ประกาศอย่างชัดเจนว่าไม่ต้องการให้เธออยู่อีกต่อไป


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top