Monday, 29 April 2024
นักวิทยาศาสตร์

14 มีนาคม พ.ศ. 2422 วันเกิด ‘อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์’ นักวิทยาศาสตร์อัจฉริยะชาวเยอรมนี

14 มีนาคม พ.ศ. 2422 เป็นวันเกิด อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ นักวิทยาศาสตร์อัจฉริยะ เจ้าของทฤษฎีสัมพัทธภาพและสูตรอันโด่งดัง E=mc2 เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์เมื่อปี 2465 

อัลแบร์ท ไอน์ชไตน์ (Albert Einstein) หรือ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เป็นศาสตราจารย์ทางฟิสิกส์และนักฟิสิกส์ทฤษฎี ชาวเยอรมันเชื้อสายยิว ไอน์สไตน์เป็นชาวยิวที่เกิดในเยอรมนี เมื่อฮิตเลอร์ขึ้นสู่อำนาจตัดสินใจอพยพจากเยอรมนีไปอเมริกา และคัดค้านการขยายอิทธิพลของลัทธินาซี มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนให้สหรัฐสร้างอาวุธนิวเคลียร์ ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่าเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 20 เขาเป็นผู้เสนอทฤษฎีสัมพัทธภาพ และมีส่วนร่วมในการพัฒนากลศาสตร์ควอนตัม กลศาสตร์สถิติ และจักรวาลวิทยา เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ใน 2464 จากการอธิบายปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริก และจาก 'การทำประโยชน์แก่ฟิสิกส์ทฤษฎี'

27 กันยายน พ.ศ. 2448 ‘อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์’ สุดยอดนักวิทยาศาสตร์ เสนอสมการก้องโลก ‘E=mc2’ เป็นครั้งแรก

วันนี้ เมื่อ 118 ปีก่อน เผยแพร่บทความเรื่อง ‘Does the Inertia of a Body Depend Upon Its Energy Content ?’

วันที่ 27 กันยายน ค.ศ. 1905 (พ.ศ. 2448) อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein) นักวิทยาศาสตร์เอกของโลก เผยแพร่บทความเรื่อง ‘Does the Inertia of a Body Depend Upon Its Energy Content ?’ (จริงหรือไม่ที่ความเฉื่อยขึ้นอยู่กับพลังงานภายในของวัตถุ) เป็นครั้งแรก ซึ่งได้นำเสนอสมการก้องโลก E=mc2 สมการนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่างมวลและพลังงาน อธิบายได้ว่า เมื่อให้พลังงานกับมวลเพื่อให้มีความเร็วเพิ่มขึ้น มวลนั้นก็จะมีค่าเพิ่มขึ้นด้วย จากทฤษฎีนี้ทำให้นำสู่ผลที่ว่าไม่มีอะไรเคลื่อนที่ได้เร็วกว่าแสง หลักการนี้จึงเป็นหลักการเบื้องต้นของ ‘ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป’ (theory of relativity) 

แม้ว่าไอน์สไตน์จะใช้เวลาเพียงแค่ 4 เดือน ในการสร้างผลงานปฏิวัติโลกด้วยผลงานเด่น ๆ 3 ผลงานในปีนี้ คือ ‘ปรากฏการณ์โฟโตอิเลกตริก’ (Photoelectric Effect) ‘การเคลื่อนที่แบบบราวเนียน’ (Brownian Motion) และ ‘ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ’ (special relativity) แต่โลกต้องใช้เวลาอีกหลายทศวรรษเพื่อทำความเข้าใจและเห็นคุณค่าในผลงานเหล่านี้ 

ต่อมาได้มีการประกาศให้ปี 2448 เป็นปีมหัศจรรย์ของไอน์สไตน์และในปี 2548 วงการวิทยาศาสตร์โลกได้ประกาศให้เป็น ‘ปีฟิสิกส์โลก’ (World Year of Physics 2005) และมีการจัดงานฉลองครบรอบ 1 ศตวรรษปีมหัศจรรย์ไอน์สไตน์


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top