Monday, 29 April 2024
ท้าวสุรนารี

30 ตุลาคม พ.ศ. 2370 วันสถาปนา ‘ท้าวสุรนารี’ เชิดชูหญิงกล้าเมืองนครราชสีมา

วันนี้เมื่อ 195 ปีก่อน พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ‘คุณหญิงโม’ เป็นท้าวสุรนารี วีรกรรมหญิงไทยที่ประวัติศาสตร์ต้องจารึก!!

ท้าวสุรนารี มีนามเดิมว่า 'โม' หรือท้าวมะโหโรง เป็นชาวเมืองนครราชสีมาโดยกำเนิด เกิดเมื่อปีระกา พ.ศ. 2314 มีนิวาสสถานอยู่ ณ บ้านตรงกันข้ามกับวัดพระนารายณ์มหาราช (วัดกลางนคร) ทางทิศใต้ของเมืองนครราชสีมา เป็นธิดาของนายกิ่มและนางบุญมา มีพี่สาวหนึ่งคนชื่อ แป้นาผล ไม่มีสามี จึงอยู่ด้วยกันจนวายชนม์ มีน้องชายหนึ่งคน ชื่อ จุก

23 มีนาคม พ.ศ. 2369 วีรกรรมหญิงกล้า ‘ท้าวสุรนารี’ วันแห่งชัยชนะเหนือทัพลาว

วันนี้ในอดีต เมื่อ 23 มีนาคม พ.ศ. 2369 'ท้าวสุรนารี' (คุณหญิงโม) นำทัพต่อสู้ปกป้องเมืองนครราชสีมา กอบกู้อิสรภาพเเละกำชัยเหนือทัพลาวได้สำเร็จ จนเป็นที่มาของ 'วันแห่งชัยชนะท้าวสุรนารี'

ถ้าเอ่ยนาม ท้าวสุรนารี คนไทยจะรู้จักกันดีว่า หมายถึง ย่าโมของชาวจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งที่จริงแล้วคนไทยทั้งประเทศก็ให้ความเคารพบูชาและรำลึกถึงในวีรกรรมที่ท่านทรงทำไว้เพื่อชาติบ้านเมืองอยู่เสมอ

วันนี้เมื่อ 197 ปีก่อน หรือตรงกับวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2369 คือวันที่ประวัติศาสตร์ไทย ได้จารึกพระนามของท่าน ที่สามารถปกป้องอธิปไตยของชาวไทยไว้ได้อย่างกล้าหาญ เกินกว่าสตรีทั่วไปจะทำได้

ตามประวัติศาสตร์ที่จารึกไว้ ในช่วงปี พ.ศ. 2369 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ก็ตรงกับรัชสมัยของ เจ้าอนุรุทธราช (เจ้าอนุวงศ์) ผู้ครองนครเวียงจันทร์ ได้ขอเกณฑ์ครอบครัวคนลาวที่เมืองสระบุรี ซึ่งถูกกวาดต้อนมาจากเวียงจันทน์ ในคราวสงครามครั้งที่ได้พระพุทธปฏิมากรแก้วมรกตมาประดิษฐานไว้ ณ กรุงธนบุรีนั้น กลับนครเวียงจันทร์ แต่ได้รับการปฏิเสธ

เมื่อไม่ได้ดังประสงค์ก็ก่อการกบฏ โดยยกกองทัพจะลงมาตีกรุงเทพมหานคร โดยเดินทัพมาอย่างเงียบๆ ให้กรุงรัตนโกสินทร์ไม่ทราบความเคลื่อนไหว โดยมีกองทัพหน้าเดินทางไปทางทิศตะวันตกตรงไปยังเมืองสระบุรี (ปากเพรียว)

ต่อมาวันเสาร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2369 เมื่อกองทัพมาถึงเมืองนครราชสีมา ได้ตั้งมั่นฐานทัพอยู่จนถึงวันพุธที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2369 จึงได้เข้าโจมตี ซึ่งเป็นช่วงที่พระยาปลัดทองคำ (พระยาสุริยเดชวิเศษฤทธิ์ทศทิศวิชัย) สามีของคุณหยิงโม ผู้รักษาเมืองไม่อยู่พอดี ด้วยติดปราบการจลาจลที่เมืองขุขันธ์

กองทหารของเจ้าอนุวงศ์ จึงตีเมืองโคราชได้โดยง่าย แล้วกวาดต้อนกรมการเมือง ตลอดจนพลเมืองทั้งชายหญิงไปเป็นเชลย รวมถึง คุณหญิงโม และราชบริพารไปด้วย โดยมี เพี้ยรามพิชัย เป็นหัวหน้าควบคุม เหล่าเชลยออกเดินทางสู่เมืองเวียงจันทน์โดยผ่านเมืองพิมาย ส่วนเจ้าอนุวงศ์นั้น ยังตั้งฐานทัพอยู่ที่เมืองนครราชสีมา

ต่อมาวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2369 ในระหว่างการเดินทางเป็นเชลยศึกนั้น คุณหญิงโม ได้คิดแผนการกอบกู้อิสรภาพกับกรมการเมือง ซึ่งมีนางสาวบุญเหลือ บุตรีหลวงเจริญกรมการเมืองนครราชสีมา ได้มีส่วนร่วมให้ข้อปรึกษาอย่างใกล้ชิด

คุณหญิงโมได้มอบหมายให้นางสาวบุญเหลือ ซึ่งเสมือนเป็นหลาน เป็นผู้รับแผนการไปปฏิบัติ โดยใช้อุบายให้ชาวบ้านเชื่อฟังทหารผู้ควบคุม แกล้งทำกลัวเกรง และประจบเอาใจจนทหารของเจ้าอนุวงศ์ทั้งหลายหลงตายใจ และพยายามถ่วงเวลาในการเดินทาง กับทั้งยังลอบส่งข่าวถึงเจ้าเมืองนครราชสีมา เจ้าพระยากำแหงสงครามรามภักดี (ทองอินทร์ ณ ราชสีมา) และพระยาปลัดทองคำ อีกด้วย

ที่สุดเมื่อเดินทางมาถึง ทุ่งสัมฤทธิ์แขวงเมืองพิมาย ได้พักตั้งค่ายค้างคืนอยู่ คุณหญิงโมจึงได้ออกอุบายให้ชาวเมืองนำอาหารและสุราไปเลี้ยงดูผู้ควบคุมอย่างเต็มที่ จนทหารต่างก็เมามายไม่ได้สติ หมดความระมัดระวัง

ครั้นถึงเวลาสองยามไปแล้วของวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2369 แผนการทุกอย่างจึงเริ่มเปิดฉากขึ้นโดยชาวนครราชสีมา พากันระดมยื้อแย่งอาวุธจากเหล่าทหารลาว และได้โห่ร้องขึ้นทำให้กองทัพเวียงจันทน์เกิดความโกลาหล

30 ตุลาคม พ.ศ. 2370 วันสถาปนา ‘คุณหญิงโม’ ขึ้นเป็น ‘ท้าวสุรนารี’ ตำนานหญิงกล้าศูนย์รวมจิตใจของชาวโคราช

วันนี้ เมื่อ 196 ปีก่อน พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ สถาปนา ‘คุณหญิงโม’ ขึ้นเป็น ‘ท้าวสุรนารี’ พร้อมกับพระราชทานเครื่องยศ จากวีรกรรมอันกล้าหาญที่ต่อสู้กับทหารเจ้าอนุวงศ์ จากลาว จนแตกพ่าย

ท้าวสุรนารี มีนามเดิมว่า ‘โม’ (แปลว่า ใหญ่มาก) หรือ ท้าวมะโหโรง เป็นชาวเมืองนครราชสีมาโดยกำเนิด เกิดเมื่อปีระกา พ.ศ. 2314 มีนิวาสถานอยู่ ณ บ้านตรงกันข้ามกับวัดพระนารายณ์มหาราช (วัดกลางนคร) ทางทิศใต้ของเมืองนครราชสีมา เป็นธิดาของนายกิ่มและนางบุญมา 

เมื่อปี พ.ศ. 2339 โม เมื่ออายุได้ 25 ปี ได้แต่งงานกับนายทองคำขาว พนักงานกรมการเมืองนครราชสีมา ต่อมานายทองคำขาว ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น ‘พระภักดีสุริยเดช’ ตำแหน่งรองปลัดเมืองนครราชสีมา นางโม จึงได้เป็น คุณนายโม และต่อมา ‘พระภักดีสุริยเดช’ ได้เลื่อนเป็น ‘พระยาสุริยเดช’ ตำแหน่งปลัดเมืองนครราชสีมา คุณนายโมจึงได้เป็น คุณหญิงโม ชาวเมืองนครราชสีมาเรียกท่านทั้งสองเป็นสามัญว่า ‘คุณหญิงโม’ และ ‘พระยาปลัดทองคำ’

ในปี พ.ศ. 2369 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 เจ้าอนุวงศ์ (วีระกษัตริย์ของชาวลาว) บุตรเจ้าศิริบุญสาร ผู้ครองกรุงศรีสัตนาคนหุต ล้านช้างและเวียงจันทน์ ซึ่งขณะนั้นเป็นเมืองประเทศราชของกรุงสยาม ต้องการเป็นเอกราชจากสยาม จึงประพฤติเป็นกบฏยกทัพหมายจะเข้าตีกรุงเทพมหานคร นำชาวลาวที่มาอยู่ในแผ่นดินสยามกลับมาตุภูมิ เจ้าอนุวงศ์ใช้อุบายลวงเจ้าเมืองตามรายทาง โดยปลอมท้องตราพระราชสีห์ว่า สยามขอให้เจ้าอนุวงศ์ยกทัพมาช่วยรบกับอังกฤษ (ขณะนั้นมีข่าวลือหนาหูว่า สยามจะมีศึกกับอังกฤษ) ซึ่งยกทัพเรือจะมาตีกรุงเทพ ๆ จึงไม่มีผู้ใดขัดขวาง

วันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2369 เจ้าอนุวงศ์ยกทัพมาถึงเมืองนครราชสีมา ซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านสยามและ มีความอุดมสมบูรณ์ ในขณะที่เจ้าพระยามหานครราชสีมา ไม่อยู่ และพระยาปลัดเมืองนครราชสีมาไปราชการเมืองขุขันธ์ กองทัพเจ้าอนุวงศ์มาถึง จึงเข้ายึดเมือง ยึดทรัพย์สินและให้เพี้ยรามพิชัย หรือพระยารามพิชัย กวาดต้อนชาวเมืองไปเป็นเชลยศึก เดินทางกลับไปเวียงจันทน์

ส่วนทัพเจ้าอนุวงศ์เดินทัพต่อไปยังสระบุรีเพื่อเข้ากรุงเทพฯ ในบรรดาเชลยศึกที่ถูกกวาดต้อนกลับเวียงจันทน์ มีคุณหญิงโมรวมอยู่ด้วย คุณหญิงโม เป็นหญิงที่ฉลาดหลักแหลมและออกอุบายให้ทหารเวียงจันทน์ ตายใจ โดยให้หญิงที่ถูกต้อนเป็นเชลย หน่วงเหนี่ยวทหารให้เดินทัพช้าลง และวางแผนให้พวกผู้หญิง หลอกขอมีด จอบ เสียม มาใช้ซ่อมเกวียนและทำอาหาร แท้จริงแล้วกลับนำมีด จอบ เสียมนั้นมาลอบตัดไม้เป็นอาวุธแอบซ่อนไว้

ระหว่างพักที่ทุ่งสัมฤทธิ์ แขวงพิมาย ซึ่งห่างจากตัวเมืองนครราชสีมา ประมาณ 40 กิโลเมตร ในวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ.2369 สบโอกาสเหมาะ พวกผู้หญิง ช่วยกัน หลอกล่อ มอมเหล้าทหารจนเมามายไร้สติไปทั้งกองทัพ แล้วช่วยกันทั้งหญิงและชายแย่งอาวุธฆ่าฟัน จนทหารล้มตายเป็นจำนวนมาก กองทัพแตกพ่ายไป เมื่อได้รับชัยชนะแล้ว จึงตั้งค่ายอยู่ที่ทุ่งสัมฤทธิ์ ชาวเมืองที่หนีรู้ข่าวการชนะศึก จึงพากันกลับมาสมทบ และพระยาปลัดก็ยกทัพตามมาช่วยทันเวลา ส่วนเจ้าอนุวงศ์รู้ข่าวว่ากรุงเทพฯ ยกทัพขึ้นมาช่วย จึงเลิกทัพกลับไปเวียงจันทน์

การศึกที่ทุ่งสัมฤทธิ์นี้ มีสตรีผู้กล้าหาญได้พลีชีพจุดไฟทำลายเกวียน ที่บรรทุกดินระเบิดจนตัวตาย คือ นางสาวบุญเหลือ ชาวบ้านทุ่งสัมฤทธิ์และชาวโคราชได้ให้ความเคารพนับถือ ไม่ยิ่งหย่อนกว่าย่าโมและเรียกนางบุญเหลือว่า ย่าเหลือ และกำหนดให้วันที่ 4 มีนาคมของทุกปี เป็นวันสดุดี วีรกรรมของนางสาวบุญเหลือ และทางจังหวัดนครราชสีมา กำหนดให้วันที่ 23 มีนาคม เป็นวันแห่งชัยชนะของท้าวสุรนารี

เมื่อความทราบไปถึง ‘พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว’ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนา ‘คุณหญิงโม’ ขึ้นเป็น ‘ท้าวสุรนารี’ พร้อมกับพระราชทานเครื่องยศเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2370 ซึ่งในตอนนั้นคุณหญิงโมมีอายุ 57 ปี
เครื่องยศทองคำประดับเกียรติ ดังนี้

-ถาดทองคำใส่เชี่ยนหมาก 1 ใบ
-จอกหมากทองคำ 1 คู่
-ตลับทองคำ 3 เถา
-เต้าปูนทองคำ 1 อัน
-คณโฑทองคำ 1 ใบ
-ขันน้ำทองคำ 1 ใบ

ท้าวสุรนารี ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อ พ.ศ. 2395 รวมสิริอายุ 81 ปี อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี ประดิษฐานอยู่ที่หน้าประตูชุมพล ตั้งแต่วันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2477 และได้บูรณะใหม่ให้งามสง่ายิ่งขึ้นเมื่อ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2510 
 
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2524 เวลา 14.00 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ ทรงวางพวงมาลา ณ อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี ท่ามกลางพสกนิกร ที่เข้าเฝ้าถวายความจงรักภักดีอย่างเนืองแน่น ในโอกาสนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ได้พระราชทานบรมราโชวาท มีความตอนหนึ่งว่า

“ท้าวสุรนารีเป็นผู้ที่เสียสละเพื่อให้ประเทศชาติได้อยู่รอดปลอดภัย ควรที่อนุชนรุ่นหลังจะได้ระลึกถึงคุณงามความดีของท่าน บ้านเมืองทุกวันนี้เป็นสิ่งที่ต้องหวงแหน การหวงแหน คือ ต้องสามัคคี รู้จักหน้าที่ทุกฝ่ายต้องช่วยกัน ชาวนครราชสีมา ได้แสดงพลังต้องการ ความเรียบร้อยความสงบเป็นปัจจัยสำคัญทำให้ชาติกลับปลอดภัยอีกครั้งหนึ่ง แม้ว่าสถานการณ์รอบตัวเราและรอบโลก จะผันผวนและ ล่อแหลมมาก แต่ถ้าทุกคนเข้มแข็ง สามัคคี กล้าหาญ และเอื้อเฟื้อต่อกันชาติก็จะมั่นคง”

‘นศ.ราชมงคลอีสาน’ ออกแบบ อาร์ตทอย ‘ย่าโม’ วีรสตรีประจำเมือง   ผลักดันให้เป็น ‘ซอฟต์พาวเวอร์’ ของฝากของสะสม ให้กับนักท่องเที่ยว

(7 เม.ย.67) กลายเป็นไวรัล ที่หลายคนแห่ชื่นชมในไอเดียสุดสร้างสรรค์ หลังได้เห็นผลงานการออกแบบ อาร์ตทอย (Art Toy) ‘ท้าวสุรนารี’ หรือ ‘คุณย่าโม’ วีรสตรีแห่งเมือง โคราช ที่หลายคนต่างเคารพนับถือ

ผลงานการออกแบบโดย ‘ก้องพิภพ หมู่โสภณ’ นักศึกษา ปี 3 ซึ่งเป็นส่วนหนี่ง ของรายวิชา ศิลปวัฒนธรรมอีสานเพื่องานออกแบบนิเทศศิลป์ หลักสูตรการออกแบบนิเทศศิลป์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และสื่อสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (มทร.) จังหวัดนครราชสีมา

ล่าสุด กลับมาเป็นที่ฮือฮาอีกครั้ง หลังผู้ออกแบบ ออกมาเปิดใจผ่านทางเพจเฟซบุ๊ก ‘Korat : เมืองที่คุณสร้างได้’ โดยระบุว่า

ท้าวสุรนารี หรือ คุณหญิงโม หากเป็นภาษาพูดเรียกว่า ‘ย่าโม‘ เป็นบุคคลในประวัติศาสตร์ชาติไทยในฐานะวีรสตรีมีส่วนกอบกู้เมืองนครราชสีมา จากกองทัพเจ้าอนุวงศ์ พระมหากษัตริย์เวียงจันทน์ เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2369 ในรัชสมัย ‘พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3)’

ต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น ‘ท้าวสุรนารี’ และได้สร้างอนุสาวรีย์ฯของสามัญชนสตรีคนแรกของประเทศไทย

ปัจจุบันทุกภาคส่วนในจังหวัดนครราชสีมา ร่วมจัดงาน ‘วันฉลองชัยชนะของท้าวสุรนารี’ ซึ่งเป็นงานประจำของทุกปีที่จัดยิ่งใหญ่ระหว่างวันที่ 23 มีนาคม ถึง 3 เมษายน 12 วัน 12 คืน

โดยมีสตรีชาวโคราชหลายพันคนรำบวงสรวงหน้าอนุสาวรีย์พร้อมการแสดงแสงสีเสียง เรื่อง ‘วีรกรรมท้าวสุรนารี’ ตลอดทั้งปีมีจำนวนนักท่องเที่ยวมากราบไหว้สักการะขอพรท้าวสุรนารี หากเดินทางมาที่โคราช ก็ต้องหาเวลามากราบไหว้ขอพรด้วย

จากกระแสในโลกออนไลน์ให้ความชื่มชมผลงานการออกแบบผลงานศิลปะ ‘อาร์ตทอย ท้าวสุรนารี’ (Art toy THAO SURANARI ) ‘ย่าโม’ Artist -Dodeedope ของนักศึกษาหนุ่ม ชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (มทร.) นครราชสีมา อาร์ทอยชิ้นนี้ ได้รับแรงบันดาลใจจากลักษณะเอกลักษณ์ของท้าวสุรนารี หรือย่าโม วีรสตรีของชาวโคราช

มีรูปร่างหน้าตาน่ารักโดนใจคนรุ่นใหม่ พร้อมสอดแทรกวีรกรรมความรู้ในรูปแบบการ์ตูนมินิคอมมิคให้กับนักสะสม ขณะนี้จัดแสดงอยู่ที่อาคาร 37 หอศิลป์ตะโกราย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และศิลปกรรมสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (มทร.) นครราชสีมา

นายก้องพิภพ หมู่โสภณ หรือ ‘น้องโด้’ นักศึกษาหลักสูตรการออกแบบนิเทศศิลป์ ชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน เจ้าของผลงาน อาร์ททอยท้าวสุรนารี ‘ย่าโม’ เปิดเผยว่า

‘โปรเจ็กต์นี้ทางอาจารย์ต้องการให้เอาของดี ของโบราณ ของเมืองโคราชมาออกแบบ มาดีไซน์ใหม่ในแนว “อาร์ตทอย” (Art toy) ให้โดนใจคนรุ่นใหม่ ซึ่งจากการลงสำรวจ จุดที่คนร่วมตัวกันเยอะที่สุดก็ คือ บริเวณอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี หรือย่าโม ที่นักท่องเที่ยวจากทั่วโลกเลยต้องเดินทางมาตรงจุดนี้เป็นหลัก’

ที่ผ่านมาไม่กล้านำย่าโมมาเกี่ยวข้องเลย เพราะกลัวเรื่องของกระแสดราม่าต่าง ๆ นานา แต่เมื่อย่าโมมีความสำคัญมากกับชาวโคราช เมื่อค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับของฝากของที่ระลึกถึงย่าโม กลับไม่มีอะไรที่สื่อเลย นอกจากรูปปั้นย่าโมในกรอบทองที่นำไปบูชาเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อ

ตนจึงเกิดไอเดียต้องการสร้างของฝาก ของสะสม ที่สื่อถึงคุณย่าโมมากกว่านี้ ประกอบกับกระแสความนิยม ‘อาร์ตทอย’ กำลังมาแรง ได้ลงมือออกแบบคอลเลคชั่น คุณย่าโม เป็นเหมือนของสะสม ของฝากให้กับนักท่องเที่ยว

นอกเหนือไปจากผัดหมี่โคราช เกิดการสร้างรายได้หมุนเวียนในท้องถิ่นมากขึ้น จากกระแสในโลกโซเชียลส่วนใหญ่มีแต่คนเห็นด้วยและชื่นชม เพราะเป็นผลงานที่ดูแปลกตา ไม่เหมือนกับที่เคยพบเห็นทั่วไป”

ขณะที่ “อาจารย์บิว -ศศิรดา พันธ์วิเศษศักดิ์” อาจารย์ผู้สอนรายวิชา ศิลปวัฒนธรรมอีสานเพื่องานออกแบบนิเทศศิลป์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และศิลปกรรมสร้างสรรค์ มทร.อีสาน เผยว่า

“ได้นำองค์ความรู้จากการไปศึกษาปริญญาเอกสาขาออกแบบอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (Creative Industries Design) วิทยาลัยการผังเมืองและการออกแบบ (College of Planning) มหาวิทยาลัยแห่งชาติเฉิงกุง ประเทศไต้หวัน เมื่อปี 2019

มีแรงบันดาลใจจากการเรียนการสอน วัฒนธรรม รวมทั้งได้เห็นสัมผัสซึมซับเรียนรู้ พื้นที่ทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ มีโซนแสดงนิทรรศการ กิจกรรมกลางแจ้ง เต็นท์ขายของแฮนด์เมด งานคราฟต์ งานอาร์ตทั้งหลาย…”

อาจารย์บิว กล่าวอีกว่า “สำหรับผลงาน อาร์ตทอย คุณย่าโม ถือเป็นผลงานต้นแบบที่โดดเด่น มีการนำอัตลักษณ์ เรื่องราวทางประวัติศาสตร์มาตีความออกมาในมุมมองของคนรุ่นใหม่ และเป็นผลงานออกแบบที่สามารถจำหน่ายได้จริง นำไปสู่การต่อยอดครีเอเตอร์อีโคโนมี เศรษฐกิจสร้างสรรค์ รวมทั้งสามารถเป็นซอฟต์พาวเวอร์ สินค้าอันเป็นอัตลักษณ์คนโคราชที่สร้างรายได้ให้กับท้องถิ่นในอนาคต”


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top